มาคุยกันเถอะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย albertalos, 22 เมษายน 2009.

  1. Mcafee.x

    Mcafee.x เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    92
    ค่าพลัง:
    +118
    ไม่รู้จะถูกใจคุณไหม ผมคิดแบบนี้ "สิ่งของทั้งหมดเป็นของโลก อีกหน่อยเราก็ตาย ตายแล้วก็เอาไปไม่ได้ แม้แต่ร่างกายที่เรารักนักหนาเวลาตายฟันเล่มเดียวก็เอาไปไม่ได้ "ก่อนที่ไฟจะไหม้บ้านหมดรีบขนออกกันเถอะครับ
    เจริญธรรม
     
  2. ..กลับตัวกลับใจ..

    ..กลับตัวกลับใจ.. Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +96
    วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    ๑. เริ่มต้นอริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก
    ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียว

    รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม

    เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ

    จากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป

    ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร

    ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป

    ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต

    พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง

    ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว

    เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้

    ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที

    เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง

    ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ

    เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล"

    การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป

    แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน

    ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ

    เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคย เปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย

    เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย

    เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้น ๆ

    บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ

    ๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต)

    ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ

    ๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน)

    ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖

    ๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ

    คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด

    ๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิต ทำความสงบอยู่ใน จิต ไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติของจิต ได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้

    คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง

    ๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น

    เรียกว่า "สมุจเฉทธรรมทั้งปวง"

    ๗. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า "พ้นเหตุเกิด"

    ๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง)

    เมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน

    เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร

    เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพาน"

    โดยปกติ คำสอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้น เป็นแบบ "ปริศนาธรรม" มิใช่เป็นการบรรยายธรรม ฉะนั้น คำสอนของท่านจึงสั้น จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมายหลายอย่าง ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า "พฤติของจิต" แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น

    คำว่า "ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต" เหล่านี้ ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่

    ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้ "พฤติแห่งจิต" อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลัง เพราะคำว่า "มรรคปฏิปทา" นั้น จะต้องอยู่ใน "มรรคจิต" เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ นานาเลย

    การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วย วิสุทธิศีล วิสุทธิธรรม พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้


    .....(good)

    ...ข้อมูลจาก http://www.wimutti.net/pudule/dharma1.htm

    "คําสอนทั้ง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั่น เป็นเพียงอุบายให้คนทั้งหลายหันมาดูจิตนั่นเอง คําสอนของพระพุทธองค์มีมากมายก็เพราะกิเลสมีมากมาย แต่ทางที่ดับทุกข์ได้มีทางเดียว พระนิพพาน การที่เรามีโอกาสปฏิบัติธรรมที่ถูกทางเช่นนี้มีน้อยนัก หากปล่อยโอกาสให้ผ่านไปเราจักหมดโอกาสพ้นทุกข์ได้ทันในชาตินี้ แล้วเราจะหลงอยู่ในความเห็นผิดอีกนานแสนนาน เพื่อที่จะพบธรรมอันเดียวกันนี้ ดังนั้น เมื่อเราเกิดมาพบพระพุทธศาสสนาแล้ว รีบปฏิบัติให้พ้นทุกข์เสีย มิฉนั้นจะเสียโอกาสอันดีนี้ไป เพราะว่าเมื่อสัจจธรรมถูกลืม ความมืดมนย่อมครอบงําปวงสัตว์ให้อยู่ในกองทุกข์สิ้นกาลนาน"

    ...หลวงปู่ดูลย์ อตุโล..
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    โลภะ โทษะ โมหะ เป็น สมุนครับ เป็นธรรมหยาบ จึงเอามาระลึกดูเพื่อฝึกสติ

    พอฝึกสติได้ ก็จะสามารถรู้ ธรรมละเอียดกว่า มูลจิตเหล่านี้ได้

    อนุสัย จริงๆ ก็แค่รองหัวหน้าโจร

    หัวหน้าโจร นั้นคือ อวิชชา

    ส่วนอาสวะนั้นจะอยู่นอกสายตา ต้องมี วิชชา เกิดขึ้นก่อน(อรหันต์) จึง
    จะมีปัญญาไปละ อาสวะ
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181

    ไม่มีวิธีที่ผิดหรอก หากว่ากระทำไป ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อดับทุกข์ เช่น ดับทุกข์ด้วยศีล คือ งดเว้น หรือ ทำใจให้ปกติ

    สมาธิเพื่อดับทุกข์ คือ ทำไปเพื่อ ดับทุกข์ด้วยการตั้งใจแน่วแน่ ไม่เอาอารมณ์ทุกข์มาปน
    ปัญญา เพื่อดับทุกข์ คือ หาหนทาง ตามความรู้ของตน เช่น ดับทุกข์ ด้วยพรหมวิหารบ้าง
    ดับทุกข์ด้วยปัญญา อย่างสูงบ้างเช่น การพิจารณาจนเข้าใจและ ยอมรับว่า สรรพสิ่ง เสื่อมได้ แล้วใจก็ไม่ไปกังวล


    ทีนี้บางคน และพระบางรูป บอกให้ ไปทำวิปัสสนาด้วยการ ไม่ทำอะไร ให้ดูเฉยๆ
    ก็ตอบว่า อันนั้น เป็น สมถะกรรมฐาน ในส่วนของ อุปสมานุสติ

    คำว่า อุปสมานุสติ นี้ คือ การระลึกในพระนิพพาน ระลึกในความสงบ
    มีบางคนพอจิตเกิดอารมณ์ต่างๆ ก็ไปนึกว่า ปล่อยมันไป มันไม่สงบ ความสงบนั่นมีอยู่
    ก็เทียบได้กับ อุปสมานุสติ ซึ่ง สมถะนี้ เป็นอุบายทำให้ใจคนสงบตัวลง

    สิ่งที่ผิดคือ เลิกทำความเพียร เข้าใจการดับทุกข์ผิดๆ ไปดับผิดที่ ไม่ได้ดับที่ใจ

    ใจเกิดทุกข์ ก็ต้องเรียนรู้ หาเหตุแห่งทุกข์นั้นที่ใจ จะดับอย่างไรก็ได้ ตามกำลังความสามารถของตน ที่มีในขณะนั้นแล้ว ค่อยๆ ประณีตขึ้น

    แต่ถ้าไปดับที่อื่น เช่น โมโหคน แล้วไปชกหน้าคน เรียกว่า ดับผิดที่
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เอากะเขามั่ง แหะ แหะ

    สำหรับเรานะ หัวหน้าโจร คือคนบงการ คืออวิชชา คือพญามาร

    ส่วนลูกน้องโจร คือ กิเลสตัณหา อารมณ์ นิวรณ์ ทิฏฐิ ความยึดในความคิด
    คือ พวกลูกสาวพญามารจำชื่อไม่ได้ แต่จำได้ว่ามี 3คน

    มารายงานตัวเลียนแบบดาราค่ะ อยู่เตรียมอนุบาลค่ะ บางทีก็เรียกว่าเนิสเซอรี่ (ขณิกะเลเวล ติดๆ ดับๆ วืดๆแต่ไม่วอกแวก) รร.แนวสติปัฏฐานสี่ เจริญสติเป็นกิจวัตร หลงเป็นปรกติ มีสติเป็นบางครั้ง รู้ดีรู้ชั่วเป็นบางคราว มีหิริโอปตัปะ(ละอายต่อบาป)เป็นสิ่งที่หวังจะมีตลอดเวลาแต่บางครั้งมันก็วืดเพราะชอบเป็นโรคหน้ามืดครอบงำ มีนิสัยชอบสนุก เอาตัวรอดไปวันๆ ไม่โดนน้ำร้อนลวกก็ยังไม่รู้สึกตัว กระล่อนเป็นบางครั้ง ใจดำเป็นบางเวลา ไม่เอาธุระกับใครเขา เวลาปิดสวิสช์ห้ามใครรบกวนเพราะไม่อยู่บ้านตัดขาดการติดต่อทุกรูปแบบ ทิ้งเรือนแบบไม่ห่วงไม่ใยดีกันเลย ใจดำจริงๆนะเนี่ย ตัดบัวไม่เหลือใย(เหลือแต่ซากไว้ให้คนอื่นดูต่างหน้า)

    ยังหนุกหนาน ได้อีกนะ ไฟจะครอกหัวอยู่แล้ว ก็ยังไม่สำนึกตัวอีกหนอ เรา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2009
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    โห ฉีกหน้ากากออกมาเป็น ฉากๆ

    แบบนี้ น่าส่งไปบำรุงธาตุขันธ์ของหลวงพ่อนัก

    น่าจับใส่พานถวาย.......จริงจริง

    ดีครับ ดีใจด้วย ที่รู้จักตัวเองได้ดีขนาดนี้

    เมื่อรู้จักตัวเอง ก็จะรู้จักคนอื่น
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    จำเอาไว้ว่า วิปัสสนากรรมฐาน จะพิจารณา เพียรอย่างไรก็ตาม ให้เกิด อาการ 3 อย่างคือ
    เห็น เซ็ง ปล่อย
    เห็นนี่ เห็นอาการของสรรพสิ่งในจิตใจ จนทั่ว แล้วมันจะเกิด อาการเซ็งว่า นี่เป็นอย่างนั้นๆ
    แล้ว ก็ปล่อย คือ ไม่เอาใจไปจับกับ ความไร้สาระนั้น
    พอไปจับกับ อีกเรื่องหนึ่ง ก็เป็นแบบเดียวกันอีก
    ไปเรื่อยๆ จน เห็นว่า อะไรๆ ก็ไม่น่าจับ ก็ปล่อยหมด

    ซึ่ง การจะเห็น ความเป็น อนัตตาในจิตนั้น ไม่ได้ มุ่งอยู่แต่ปัจจุบัน เพราะว่า เราต้องทวนไปดูเหตก่อนหน้าด้วย ดังนั้นแล้ว เราจำเป็นจะต้องระลึกให้ได้ว่า ใจก่อนหน้าจะมาเป็นแบบนั้นแบบนี้ นั้นเกิดอะไรมา ต้องพิจารณาดู ด้วยว่า ใจนั้น มีใจที่ละเอียดยิ่งๆขึ้นกว่าที่เห็นเกิดดับขณะนั้นหรือไม่

    เหล่านี้ ต้องศึกษา ไม่ใช่ ว่า ดูทีเดียว ดูเฉยๆ แล้วจบกันไป
     
  8. Mcafee.x

    Mcafee.x เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    92
    ค่าพลัง:
    +118
    สาธุครับ เหมือนมองตัวผมเองเลยครับ ไฟจะครอกหัวอยู่แล้ว ก็ยังไม่สำนึกตัวอีก ผมยังเลวอยู่มาก ขอบคุณที่ให้สติ อนุโมทนาครับ
     
  9. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ที่ คุณขวัญ หรือ ใครๆหลายๆ คนบอกว่า

    มันยัง หลงอยู่ เลย ยังสนุกกับโลกอยู่นั้น

    เพราะว่า ใจนี้พิจารณาความจริงยังไม่ถึงจุด เมื่อถึงจุด มันจะวิ่งไปเอง

    จึงบอกว่า ให้พิจารณาธรรม และ วิปัสสนาให้มาก

    ก็ให้ดูว่า เมื่อ ถึงจุด คือ ดูไปดูมา แล้ว เห็นธรรมเกิดขึ้น เป็นนิพพิทาญาณ นั้นมันเบื่อเหมือนกับ เขียดในปากงู นั้นแหละ จะต้องออกไปให้ได้จากปากงู

    ตรงนี้สำคัญนะครับ หากใจใครยังไม่ได้สัมผัสแบบนี้ ให้รู้ไว้ว่า นั่นเรายังดีไม่พอ

    ใจเรายังไม่เห็นธรรมที่ซึมเข้ามาในใจ จนเกิด นิพพิทาญาณ

    ดังนั้น เมื่อยังไม่ถึงจุดนี้ หน้าทีคือ ต้องดู รูปนาม และศึกษาใจเรานี้ให้มันมากขึ้นละเอียดขึ้น เรียกว่า จิตในจิต และ ธรรมในธรรม
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [​IMG] [​IMG]
     
  11. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ก็ เปรียบเหมือน แม่ดูลูกตาย

    เห็นลูกคนแรกตายไป นี่ใจแทบขาด
    ลูกคนที่สองตายไป ใจก็แทบขาด
    พอจนถึงลูกคนที่ 5 นี้ ก็ใจเห็นธรรมว่า ยังไงๆ เสีย ลูกคนที่ 5 นี้ก็ตายเหมือนกัน

    ใจก็เบื่อหน่าย ที่จะต้องมารับทุกข์ ก็วิ่งออกไป ใจปล่อยวางเอง

    หรืออีกอย่างหนึ่ง ที่ท่านพระพุทธโฆษาจารย์บอกไว้ใน พระวิสุทธิมรรค คือ

    ดุจดังชาย เห็น ภรรยาตนเอง ไปมีคนอื่นแล้ว ความรักที่เคยมีก็ สลายไป เหมือนไม่ใช่ของตนทันใด

    นี่แหละ ต้องพิจารณาธรรมให้ใจมันประจักษ์แบบนั้น

    แล้วจะเดินออกได้เอง
     
  12. Mcafee.x

    Mcafee.x เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    92
    ค่าพลัง:
    +118
    เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้าง
    อัตตนา โจทยัตตานัง จงกล่าวโทษโจทความผิดของตัวไว้เสมอ อย่าไปยุ่งกับคนอื่น
    <!-- Main -->[SIZE=-1]อัต ตนา โจทยัตตานัง จงกล่าวโทษโจทความผิดของตัวไว้เสมอ อย่าไปยุ่งกับคนอื่น คตินี้นักปฏิบัติทุกคนเขาจะประณามตัวเองเข้าไว้เสมอ อารมณ์ยุ่งอยู่กับกามราคะนิดหนึ่งเขาจะประณามว่าเลวทันที ของอะไรก็ดี ถ้าชมว่าสวย ชมว่างาม เมื่อรู้สึกขึ้นมาก็รู้สึกว่าใจของเรามันเลวเสียแล้วรึนี่ แค่นี้เขาตำหนิตัวเขาแล้ว แล้วยิ่งไปเพ่งโทษของบุคคลอื่นไปแสดงอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่น ทำให้บุคคลอื่นได้รับความเร่าร้อน นั่นแสดงว่ากิเลสมันไหลออกมาทางกายและทางวาจา มันล้นออกมาจากใจมันเลวเกินที่จะเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ นี่เราต้องประณามอย่างนี้ แล้วทางที่ไปจะไปไหน เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ยังเป็นไม่ได้ ต้องไปขึ้นต้นมาจากนรก มันไม่เหมาะสำหรับเรา นี่เราต้องประณามตัวไว้เป็นปกติอย่าเที่ยวประณามคนอื่นเขา

    จงอย่า คิดว่าคนอื่นจะต้องมาลงโทษเรา ก่อนที่คนอื่นจะลงโทษ กรรมที่เราทำความชั่วมันก็ทำความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นแก่เรา ใครเขาพูดความชั่วคราวใดเราก็สะดุ้งเพราะเรามันเลว พระพุทธเจ้าตรัสว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงเตือนตนไว้เสมอ และจงโจทตน กล่าวโทษตนไว้เป็นปกติ หาความชั่วของตัว อย่าไปหาความชั่วของบุคคลอื่น ถ้าเลวมากเมื่อไหร่ เราก็เพ่งเล็งความเลวของบุคคลอื่นมากเท่านั้น ถ้าเราดีมากเท่าไหร่เราก็ไม่มองเห็นความเลวของบุคคลอื่น เพราะยอมรับนับถือกฎของกรรม ที่เรายังไปหาความเลวของบุคคลอื่น เสียดสีเขาบ้าง พูดกระทบกระเทียบเขาบ้าง ทำลายความสุขใจเขาบ้างนั่นแสดงว่า เรามันเลวที่สุดของความเลว คือความเลวมันไม่ได้ ขังอยู่ เฉพาะในใจ มันไหลออกมาทางกายไหลออกมาทางวาจา เพราะมันล้น เลวจนล้น นี่ขอทุกท่านจงจำไว้ อย่าไปมองดูความเลวของคนอื่น มองดูความเลวของตน ไม่ต้องไปปรับปรุงบุคคลอื่น ปรับปรุงเราเองให้มันดีที่สุด


    สำหรับ คนที่เขามาสร้างความชั่วให้สะเทือนใจเรานั่นเขาเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม ไม่มีทางที่จะคืนตัวได้ เราจงคิดว่าคนประเภทนี้เขาไม่ใช่คน เขาคือสัตว์นรกในอบายภูมินั่นเอง เราคิดว่า ถ้าเราจะไปต่อล้อต่อเถียงจะกระทำตอบ เราก็จะเลวตามเขาเวลานี้จิตใจของเขาจมลงไปในนรก ถ้าเราทำตามแบบเขาบ้าง เราก็จะจมนรกเหมือนกันมันไม่มีประโยชน์จิตเราก็ระงับความโกรธด้วยอำนาจ ขันติ หรือ อุเบกขา เฉย เขาเลวก็ปล่อยให้เขาเลวไปแต่ผู้เดียว เราไม่ยอมเลวด้วย


    อย่าทำอารมณ์ให้วุ่นวาย อย่าใจน้อย อย่าคิดมาก จงคิดไว้เสมอว่า เราต้องตาย อย่าห่วงคนอื่นมากเกินกว่ากฎของกรรม จงนึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก อย่าทะเยอทะยานเรื่องยศศักดิ์ ถึงเวลามันได้ ถึงเวลามันมี ทำใจสบาย จะมีความสุข เรื่องลูกก็ขอให้ตั้งอารมณ์ไว้ ในฐานะพ่อแม่ที่ดี แต่อย่าดิ้นรนเกินพอดี จะเป็นทางตัดนิพพานให้ไกลออกไป


    ดีหรือ ชั่วมันอยู่ที่การควบคุมกำลังใจ ถ้าใจของเราบริสุทธิ์ผุดผ่องเสียอย่างเดียว ใครจะว่าดีหรือชั่ว ไม่มีความสำคัญ เขาจะประณามว่าเลวมันก็เลวไม่ได้ มันก็ต้องดีอยู่ตลอดเวลา ถ้าจิตของเราชั่วเขาจะสรรเสริญว่าดี มันก็ดีไม่ได้เหมือนกัน นี่เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าทรงให้รักษากำลังใจ เป็นสำคัญว่าควบคุมกำลังใจให้ดีไว้แล้วมันดีเอง ไม่ต้องไปฟังคำชาวบ้านเขา การที่เราดี เพราะรอให้ชาวบ้านสรรเสริญนั่นมันเป็นอารมณ์ของความชั่ว


    คน ที่เขามาสร้างความชั่วให้สะเทือนใจเรา นั่นเขาเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม ทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรมนี่ ไม่มีทางจะคืนตัวได้ ความเป็นอยู่ของเขาในสมัยปัจจุบันในชาติที่เป็นมนุษย์ เขาก็มีแต่ความเร่าร้อน มีแต่ความเศร้าหมอง เพราะกิเลสมันทำจิตใจให้เศร้าหมอง ตัณหาสร้างจิตใจให้เร่าร้อน อุปทานมีอาการเกาะความชั่วเป็นปกติ อกุศลกรรมทำความชั่วตลอดเวลา คนที่เป็นทาสของกิเลสตายแล้ว ไม่มีโอกาสจะเกิดเป็นคนแม้จะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ยังเกิดไม่ได้ ต้องไปเกิดในอบายภูมิ นี่ถ้าบุคคลผู้ใดทำใจของเราให้เร่าร้อนด้วยกายกรรม ทำด้วยกายก็ดี ด้วยวจีกรรม ทำด้วยวาจาก็ดี เราจงคิดว่าคนประเภทนี้เขาไม่ใช่คน เขาคือสัตว์นรกในอบายภูมินั่นเอง เราก็คิดว่าถ้าเราจะไปต่อล้อต่อเถียง จะกระทำตอบ เราก็จะเลวตามเขา เวลานี้จิตใจของเขาจมลงไปแล้วในนรก ถ้าเราทำตามแบบเขาบ้าง เราก็จะจมลงนรกเหมือนกัน มันไม่มีประโยชน์ จิตเราก็ระงับความโกรธด้วยอำนาจ ขันติ หรือ อุเบกขา นี่ อุเบกขา เราใช้กันตรงนี้เลย เฉย เขาเลวก็ปล่อยให้เขาเลวไปแต่ผู้เดียว เราไม่ยอมเลวด้วย

    <fieldset style="border: 1px solid rgb(255, 0, 0); padding: 10px;"><legend align="left">หลวงพ่อวัดท่าซุง</legend>ถ้า เราทุกคนปรับปรุงใจตนดีแล้ว มันก็ไม่มีเรื่องยุ่งกับคนอื่น ไม่สร้างคนอื่นให้มีความเร่าร้อนในการที่จะเพ่งโทษคนอื่น ต้องรู้ตัวว่าเราเลวเกินไป นี่จงรู้สึกตัวไว้เสมอ รู้สึกตัวว่าเรามันเลว เลวมากจนกระทั่งขังไว้ในใจไม่ได้ มันจึงอุตส่าห์ไหลออกมาทางวาจา ไหลออกมาทางกาย นี่แสดงว่าความเลวมันล้นออกมาจากจิต ในข้อนี้ต้องคิดไว้เป็นประจำ อย่าทะนงตนว่าเป็นคนดี ถ้าดีแล้ว ปากไม่เสีย กายไม่เสีย ถ้าปากเสีย กายเสีย ความเลวมันล้น มีความดีไม่ได้
    </fieldset>

    พระ พุทธเจ้าตรัสว่า ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นโลกธรรม ถ้าเราติด เราก็มีความทุกข์ ลาภที่เรา มีมาได้แล้ว มันก็หมดเสื่อมไปได้ ถ้าเรายินดีในการได้ลาภ ไม่ช้ากำลังใจก็ต้องเสีย สลดใจ เมื่อลาภหมดไป คำสรรเสริญก็เช่นเดียวกัน คำสรรเสริญไม่ใช่ของดี ถ้าเราติดในคำสรรเสริญ เราก็จะมีแต่ความทุกข์ เพราะว่าไม่มีใครเขามานั่งตั้งตา นั่งสรรเสริญเราตลอดวัน คนที่เขาสรรเสริญเราได้ เขาก็ติเราได้ ฉะนั้นจงจำไว้ว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า นินทา ปสังสา เป็น
    ธรรมดาของชาวโลก ชาวโลกทั้งหมดเกิดมาต้องพบนินทาและสรรเสริญ นี่ท่านมาติดลาภ ติดสรรเสริญก็ถือเป็นอุปกิเลสอย่างหนัก


    เรา ต้องการความเมตตาปรานีจากคนอื่นฉันใด บุคคลทั้งหลายก็ต้องการความเมตตาปรานี จากเราเหมือนกัน ฉะนั้น อารมณ์ใจของเราก็คิดไว้เสมอว่าเราจะรักคนและสัตว์ นอกจากตัวเราเหมือนกับเรารักตัวเรา เราจะสงสารเขาเหมือนกับที่เราต้องการให้คนอื่นสงสารเรา เราจะรักเขาเหมือนกับเราต้องการให้เขารักเรา เราจะไม่อิจฉาริษยาใคร เมื่อบุคคลอื่นใดได้ดี

    ทุกท่านที่ปฏิบัติพระกรรมฐานด้วยความจริงใจ ตั้งใจจริง มีศีลบริสุทธิ์ ตั้งใจทรงสมาธิให้ตั้งมั่น ตั้งใจรักษาปัญญาให้แจ่มใส รู้เท่าทันความเป็นจริง แต่ว่ายังไม่ถึง พระโสดาปัตติมรรค ก็ควรจะภูมิใจว่า เข้าอยู่ในเขตของความดี คือ ความอยู่ในเขตของคนดี แต่ว่าเราจะดีมาก จะดีน้อยนั่นประมาทไม่ได้ ถ้ารู้ตัวว่าดีเมื่อไรก็แสดงว่าเราเลวเมื่อนั้น จงจำพระพุทธภาษิต ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงกล่าวโทษโจทความผิดของตนไว้เสมอ

    เป็นธรรมะจากหนังสือโอวาทหลวง พ่อวัดท่าซุง คำสอนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเจ้าคุณพระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโรมหาเถระ) นำมาฝากชาวห้องศาสนากันครับ

    <fieldset style="border: 1px solid rgb(255, 0, 0); padding: 10px;"><legend align="left">หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต</legend>ถึง เขาจะผิดจริงก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเอง ให้ขุ่นมัวไปด้วยความเดือดร้อน วุ่นวายใจที่คิดแต่ตำหนิผู้อื่น จนใจอยู่ไม่เป็นสุขนั้น นักปราชญ์ถือเป็นความผิด และบาปกรรมไม่ดีเลย จะเป็นโทษให้ท่านได้สิ่งไม่พึงปรารถนา ทรมานอย่างไม่คาดฝัน

    การกล่าว โทษผู้อื่นโดยขาดการไตร่ตรองเป็นการสั่งสมโทษ และบาปใส่ตน ให้ได้รับความทุกข์ จึงควรสลดสังเวชต่อความผิดของตน งดความเห็นที่เป็นบาปภัยต่อตนเสีย ความทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ทำไมพอใจสร้างขึ้นเอง
    </fieldset>

    คนติ ก็น้อมเอาพระธรรมไปปฏิบัติ พึงพิจารณาธรรมในตนก่อน
    พึงตั้งธรรมไว้ในตนก่อน แล้วค่อยไปโจทผู้อื่น

    คนที่ถูกติ ถูกชม พึงพิจารณาว่านินทาและสรรเสริญเป็นของธรรมดาของโลก
    และสำรวมระวังความประพฤติ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ

    สามัคคีธรรม และความสันติสุขร่มเย็น ก็จะเกิดมีแก่ทั้งผู้โจทเอง ผู้ที่ถูกโจท
    และทั้งท่านอื่นๆทั้งหลาย ให้อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความร่มเย็นเป็นสุขได้ครับ
    ที่มา
    http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=library&date=23-08-2008&group=1&gblog=33

    ขอตัวไปประนามตัวเองก่อนครับความเลวมันเริ่มออกมามากไปแล้ว เจริญธรรมครับ
    [/SIZE]
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    รู้ว่า รู้อะไร รู้ว่า ไม่รู้อะไร ก็เพียรไปไม่หยุด ด้วยจังหวะ ไม่พัก ไม่เพียร

    ถ้ายังไม่รู้ ว่า ไม่รู้อะไร ก็ควรศึกษาก่อนพอรู้แล้ว ก็บึ๊ดจ้ำบึ๊ดไป ชาตินี้ก็คงยังได้มีหวังสำเร็จ กะเขาบ้าง เนาะ [​IMG]
     
  14. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    หน้าที่ ที่ต้องทำ คือ ทำไปตามทาง ตามกำลังของตน แต่ต้องทำอย่างจริงจัง

    จึงจะเจอผล และต้องทำถูกด้วย

    การทำถูกคือ อะไร ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ท่านสอนไว้หมดแล้ว พระไตรปิฎกสอนไว้หมดแล้ว นั่นให้ทำแบบนั้น อย่างจริงจัง

    ทำสมาธิ ก็ต้องให้มีเป้าหมาย
    ทำปัญญาก็ต้องให้มีเป้าหมาย
    สติ ก็ต้องมีเป้าหมาย

    แล้วจะถึง จุด ทีนี้
    ต้องระวังว่า ตัณหาจะมาแทรก ทุกข์จะมาแทรก เมื่อใดก็ตามที่สองตัวนี้มาแทรก ให้ละความเพียร ทำใจให้สงบ ด้วยการปล่อยวางบ้าง หาจุดพักใจ ที่ไม่ใช่การไปข่มสมาธิ
    หรือ ข่มใจ เพราะนั่นคือการแก้ไข

    ซึ่งไปพ้องเข้ากับวิธีการของพระปราโมทย์ เพราะว่า นั่นคือ สงครามที่ตั้งรับ ไม่มีวันชนะได้
    นี่คือ คนที่ล้มแล้ว เซแล้ว หาหนทางยืน จึงกล่าวแบบนี้

    เพราะว่า กว่าจะต้านทานไว้ได้ ก็ลากเลือดแล้ว นับประสาอะไรจะไปพิจารณา ก็ยิ่งแย่ใหญ่

    ดังนั้น ผมจึงบอกให้ เจริญ สมาธิ รู้จักนิวรณ์ เป็นพื้นฐาน แล้วทำใจ ให้มั่นคงดี แล้วจึงค่อยออกพิจารณา จึงจะก้าวหน้า
     
  15. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    "...คนเรานั้นเป็นคนเหมือนกันจริง แต่ก็ไม่เหมือนกันทั้งหมดในด้านพฤติกรรม เพราะเหตุปัจจัยที่ผ่านมาสร้างเป็นจริตนิสัยนั้นต่างกัน เมื่อทำอะไรบ่อยๆ เข้า รวมเป็นนิสัย ทำซ้ำๆ บ่อยมากขึ้นกลายเป็นอุปนิสัย (นิสัยที่แน่นอนหรือสันดาน) อุปนิสัยยิ่งพอกพูน กลายเป็นเรื่อง อธิวาสนา คือเป็นพฤติกรรมประจำตัวที่แก้ไม่ได้ ผู้ที่จะแก้อธิวาสนาได้มีเพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้น แม้พระอรหันต์ก็ไม่สามารถแก้อธิวาสนาได้ เช่น พระสารีบุตรนั้นท่านมีอธิวาสนาคล้ายลิง เชื่อกันว่าอดีตชาติท่านเคยเป็นลิงมาหลายชาติ ทำให้ท่านชอบกระโดด โยมที่ยังติดรูปแบบเคยนึกตำหนิความไม่สำรวมของท่าน ซึ่งน่ากลัวมาก เพราะพระสารีบุตรท่านเป็นพระอรหันต์ที่มีปัญญามาก เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า (ผู้ใดตำหนิพระอรหันต์บาปก็จะเข้าตัวเอง เพราะพระอรหันต์เป็นผู้ที่มีจิตบริสุทธิ์แล้ว) ในขณะที่พระอานนท์แม้ยังมิได้บรรลุอรหันต์ก็มีกริยานอบน้อม มีวาจาไพเราะ มีความสำรวมและเป็นระเบียบยิ่ง สิ่งเหล่านี้ทำให้พระอรหันต์ของพระพุทธศาสนา มีบุคลิกที่แตกต่างกันไปแล้วแต่อธิวาสนา แต่ทุกองค์จะเหมือนกันที่ ความบริสุทธิ์.."
    ... บทความจากหนังสือ "สุดสายธรรม" โดยพลวงพ่อชา สุภัทโท....

    นี่แหละคับ..ผมเอง ก็อธิบาย ขยายความ คำว่า อนุสัยผิดไปเช่นกันนะคับ อิอิ..
    คำแปล ละถูก คือ แปลว่า กิเลสที่นอนเนื่อง ในสันดาน..คือ อนุสัย มาจากคำว่า อนุ+นิสัย... อนุแปลว่าเล็ก...
    รวมความ อาการที่กระโดกกระเดก ไม่ใช่ อนุสัยนะคับ...และก็ไม่ใช่ "อาสวะ"ด้วย
    อาสวะ น่าจะมาจากคำเต็มที่ว่า "อาสวะกิเลส" คือ กิเลสทั้งหมด....ซึ่งจะละได้ก็ต่อเมื่อ สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วเท่านั้น...

    ก็ต้องขอบคุณ...คุณ นิวรณ์.. ที่ทำให้ผมต้องไปค้นหนังสือ เอาคำแปลมาให้อ่าน...
    เพราะ อ่านที่ คุณนิวรณ์ให้ความหมายไว้ มันรู้สึกแปลกๆ นะ ที่ว่า อาการกระโดกกระเดก เป็น "อาสวะ".. ก็สรุปความ ตามหลวงพ่อชาท่านกล่าวไว้นะคับ ว่า..ไม่ใช่คับ..

    ...สาธุ...
     
  16. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    มาช้าจังเลยคุณขวัญ เอ้า ยังดีกว่าไม่มา นะเอย นะเอย นะ ฮิฮิฮิ

    สำหรับเรา(นานา) หลงคิดว่าตัวดีแล้วนะเนี่ย เรือนเกือบทะลาย
    กิเลิศยังหนาอยู่ มาก ๆ ต้องค่อยปลดออกที่ละเปาะ
    ดีแล้วที่มาเปลี่ยนศาสนา ไม่ก็เอ่ยชื่อนะ เดี๋ยวเรื่องใหญ่

    สิ่งที่กลัวที่สุด คืออวิชา นี่แหละ แต่โลกธรรม 8 สอนฉันเสมอ
    คอยเตือนตลอดว่าอย่าลำพอง

    ฉันเกือบจะทำให้คนหนึ่งฆ่าตัวตายเพราะความงี่เง่าของฉัน
    แต่ตอนนี้เขาปลงและไปบวชได้

    สัญญาเก่ามาเตือนแล้ว(หิว)
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    แนวทางของคนกล้าที่หาญทางธรรม คืออะไร
    เผชิญหน้า กับทุกข์ เรียนรู้ทุกข์ รู้ให้แจ้งในทุกข์

    เป็นแนวทางหนึ่ง เหมาะกับจริตกับของใครก็น้อมไปใช้
    ไม่เหมาะก็รู้ว่าไม่เหมาะ ถ้ายังรู้ไม่สุดทางอย่าเพิ่ง ตัดสินคนอื่น บุคคลอื่น
    เพราะทาง และอุบาย มีหลายสาย เลือกให้ถูกกับจริตตน ก็เดินได้ต่อเนื่อง
    เลือกผิด ก็ถอยหน้าถอยหลังกันไป คนเดินเป็นเขาเดินหน้าแล้วไม่มีถอย
     
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็บึ๊ดจ้ำบึ๊ดไปเน๊าะ

    ส่วนพวกที่ไม่รู้ว่ารู้อะไร แล้วคิดว่ารู้ พวกมีปัญญาเป็นดั่งงูพิษ
    อันนี้ก็ปล่อยเขาไป เขาเห็นได้แค่นั้น ไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไรต่อ
    ก็หยุดพอใจแค่นั้น

    ไม่รู้จักแก่นไม้ ไม่เข้ามาเอาแก่นไม่ สำคัญว่านั่นคือแก่นไม้ ก็ด้นเด้าไปเรื่อย

    ก็คงเป็นธรรมดาของคน ของพรหม พ่อพราหมณ์ไป

    ใครเห็นทางแล้ว รู้จักแล้วว่า อะไรเป็นอะไร ฌาณและญาณเจริญอย่างไร
    กันแน่ก็ อาสวะมีตอนไหน การชดใช้กรรมทำอย่างไร ทำไมถึงรู้ว่าใช้กรรม
    หมด ทำไมถึงเดินไปล่ำลากันได้ ก็จะได้รู้จริง เพราะเรายังยึดแนวบึ๊ดจ๊ำบึ๊ด
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อนุโมทนา คุณนานา ด้วยค่ะ

    หูย... รู้ตัวตลอดเลยนะท่าน ริษยา เกิดอีกแระ วูบๆวาบๆ ใจเต้นไม่ปกติอีกแระ
     
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มันมีหลายคำหนะครับ จะใช้คำนั้นก็ได้ เพราะ อาสวะ นั้นมีมีทั้งที่เป็นกุศล
    อกุศล และกลางๆ ดังนั้น ก็จะมีอีกหลายชื่อ

    แต่อาสวะชนิดไหนก็ตาม ก็ต้องละกันที่ระดับอรหันต์ อย่างการละอาสวะ
    การเป็นคน เกิดพระท่านรู้ว่าอาสวะตัวนี้กำลังจะละในวันนี้ หมดกรรมในวันนี้
    เขาก็จะเดินไปร่ำลากัน ลาเข้าปรินิพพาน เพราะรู้ชัดแล้วว่า อาสวะกำลังหมด
    ไป ไม่มีเชื้อเกิดอีกแน่นอน เป็นต้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...