ผีบรรพบุรุษ..สงกรานต์อุษาอาคเนย์

ในห้อง 'เรื่องผี' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 9 เมษายน 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489
    สงกรานต์ ไม่ได้มีที่ไทยแห่งเดียว แต่มีทั้งอุษาคเนย์ และลังกา

    คอลัมน์ สุวรรณภูมิ สังคมวัฒนธรรม

    ตัดทอนมาปรับปรุงใหม่จากหนังสือ ประเพณี 12 เดือน ในประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมเพื่อความอยู่รอดของคน สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2548



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    เข้าทรงแม่สี (แม่ศรี) วันสงกรานต์ ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2547)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>สงกรานต์ เป็นช่วงเวลาการปลดปล่อย เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดที่คนเรามีทั้งปีที่ผ่านมา

    เมื่อถึงสงกรานต์ เลยเล่นสนุกสนานอย่างหัวหกก้นขวิด แล้วละเมิดข้อห้ามต่างๆ ได้ โดยไม่ถือว่าเป็นความผิด

    แต่ต้องมีขอบเขตไม่ล่วงล้ำไปทำร้ายคนอื่นๆ

    สงกรานต์ไม่ได้มีที่ไทยแห่งเดียว

    แต่มีทั้งอุษาคเนย์และลังกา

    สงกรานต์บางทีเรียกตรุษสงกรานต์ ในประเทศไทยเชื่อว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย สมมุติให้ตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุกปี

    เมื่อถึงกำหนดจะมีงานประเพณีฉลอง เช่น ทำบุญเลี้ยงพระ ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว สรงน้ำพระ ก่อเจดีย์ทราย รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ขอพร เล่นสาดน้ำ แล้ว มีการละเล่นหลากหลายทั่วประเทศ

    แต่ความจริงสงกรานต์ไม่ได้เป็นแค่ปีใหม่ไทยเท่านั้น เพราะกลุ่มชนชาติในอุษาคเนย์ที่นับถือพุทธศาสนาล้วนมีประเพณีสงกรานต์เหมือนกัน เช่น ลาว เขมร มอญ พม่า รวมทั้งลังกา และสิบสองพันนาในประเทศจีน ทั้งหมดทุกแห่งล้วนมีงานประเพณีเฉลิมฉลอง ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของตนด้วย

    เหตุที่เป็นอย่างนั้น เพราะสงกรานต์เป็นคติของพราหมณ์ในศาสนาฮินดูของชมพูทวีป (คืออินเดีย) แล้วพวกพราหมณ์นำเข้ามาเผยแพร่ในราชสำนักของดินแดนสุวรรณภูมิยุคต้นพุทธกาล หลังจากนั้นแพร่กระจายทั่วไปถึงบ้านเมืองที่อยู่ภายในผืนแผ่นดินใหญ่ที่นับถือฮินดู-พุทธแล้วเรียกสงกรานต์ แต่คนทั่วไปบางทีก็เรียกตรุษสงกรานต์



    ประเพณี พิธีกรรม และการละเล่นเฉลิมฉลองสงกรานต์

    สงกรานต์เป็นพิธีพราหมณ์ฮินดูจากอินเดีย เมื่อราชสำนักจารีตโบราณของอุษาคเนย์รับมาปฏิบัติเป็นแบบแผนเหมือนๆ กันหมด จึงจัดให้มีงานเฉลิมฉลองเพื่อแสดงความมั่นคงและมั่งคั่งของราชอาณาจักร มีทั้งส่วนที่คล้ายคลึงและแตกต่าง โดยขึ้นอยู่กับรัฐนั้นๆ นับถือศาสนาฮินดูเป็นหลักหรือนับถือพุทธเป็นสำคัญ แต่ส่วนที่มีคล้ายคลึงกันคือการละเล่นของชาวบ้านที่มีมาแต่ดั้งเดิมก่อนรู้จักสงกรานต์จากพราหมณ์ อาจแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ประเพณีหลวง กับประเพณีราษฎร์ <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    (ซ้าย) ก่อพระเจดีย์ทราย สรงน้ำพระพุทธรูปและพระสงฆ์ในพิธีสงกรานต์ จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ เขียนสมัยรัชกาลที่ 5 (ขวา) รดน้ำขอพรผู้เฒ่าผู้แก่ในครอบครัวและหมู่บ้าน จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ วัดราชประดิษฐสถิมหาสีมาราม กรุงเทพฯ เขียนสมัยรัชกาลที่ 5



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ประเพณีหลวง เป็นพระราชพิธีในราชสำนัก มีกำหนดแบบแผนไว้ในกฎมณเฑียรบาลยุคต้นกรุงศรีอยุธยา มีพราหมณ์เป็นผู้ทำพิธี ผู้เข้าร่วมพิธีมีแต่ชนชั้นสูงในราชสำนัก เช่น พระเจ้าแผ่นดิน มเหสี โอรส-ธิดา เจ้านายเชื้อพระวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน

    ประเพณีราษฎร์ ไม่ใช่สิ่งที่รับจากอินเดีย แต่เป็นประเพณีดั้งเดิมของชุมชนคนพื้นเมืองไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ที่มีอยู่ก่อนรับศาสนาและสงกรานต์จากอินเดีย เรียกรวมๆ กว้างๆ ว่าประเพณีหลังการเก็บเกี่ยวในฤดูการ ผลิตเก่า เพื่อเตรียมตัวรับฤดูการเพาะปลูกใหม่ที่จะมาถึงในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า เช่น เลี้ยงผี มีผีนางด้ง,ผีลอบ, ผีไซ, ผีข้อง, ผีลิงลม, ฯลฯ

    ประเพณีพิธีกรรมเหล่านี้มีในชุมชนดึกดำบรรพ์ของอุษาคเนย์ ราว 3,000 ปีมาแล้ว จะจัดให้มีขึ้นทุกปีหลังฤดูเก็บเกี่ยว หรือราวหลังเดือนมกราคม โดยไม่มีกำหนดแน่นอน แต่จะเสร็จสิ้นเอาเมื่อใกล้ถึงฤดูการผลิตใหม่ เพราะเริ่มมีฝนตกตั้งแต่หลังเดือนพฤษภาคม

    ครั้นราชสำนักที่อยู่ใกล้ทะเล เช่น บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา รับสงกรานต์ ของพราหมณ์ฮินดูจากอินเดียมาปฏิบัติ มีกำหนดเวลาแน่นอนราวกลางเดือนเมษายน แล้วเผยแพร่พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ลงสู่ชาวบ้าน ผ่านพระสงฆ์ในพุทธศาสนา ทำให้ประชาชนชาวบ้านรับเอาสงกรานต์ไปปฏิบัติเป็นประเพณีด้วย เลยรวบเอาพิธีเลี้ยงผีมารวมไว้ในช่วงสงกรานต์ที่รับจากราชสำนัก แล้วกลายเป็นประเพณีสืบมาจนถึงปัจจุบัน <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    1.แข่งวัวเทียมเกวียน งานรื่นเริงช่วงสงกรานต์ที่จังหวัดเพชรบุรี 2.เล่นผีข้อง 3.เล่นผีลิงลม 4.เล่นผีกระด้ง 5.เล่นผีลอบผีไซ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    ขบถข้อห้ามตามประเพณี เพื่อผ่อนคลายความเครียด ในวันสงกรานต์

    เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาการปลดปล่อยเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดที่คนเรามีทั้งปีที่ผ่านมา เช่น ตึงเครียดจากการทำมาหากิน จากการรักษาจารีตประเพณี ฯลฯ

    เมื่อถึงช่วงเวลาสงกรานต์จะมีประเพณีพิธีกรรมการละเล่นสนุกสนาน ละเมิดข้อห้ามต่างๆ ได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิด แต่ต้องมีขอบเขตไม่ทำร้ายบุคคลอื่นให้บาดเจ็บหรือล้มตาย

    มีเอกสารบันทึกว่า สงกรานต์ในอดีตอนุญาตให้พระสงฆ์ในหมู่บ้านร่วมเล่นแข่งขันกับชาวบ้านได้ เช่น พระสงฆ์แข่งเรือ แข่งเกวียน แข่งจุดบั้งไฟ ฯลฯ

    ขณะเดียวกันผู้หญิงชาวบ้านที่มีข้อห้ามรุนแรงว่าถูกเนื้อต้องตัวพระสงฆ์ไม่ได้ในยามปกติ แต่ในช่วงสงกรานต์บางชุมชนอนุญาตให้ผู้หญิงทำได้ เช่น ในชุมชนหมู่บ้านสมัยก่อน ผู้หญิงร่วมกันอุ้มพระสงฆ์ที่นิมนต์มาฉันอาหารโยนลงไปในแม่น้ำลำคลองหนองบึงได้ และอาจละเมิดกฎเกณฑ์ได้มากกว่านี้ด้วย แต่ไม่ถึงขั้นละเมิดผิดทางเพศ

    เอกสารเก่าของรัฐล้านนาโบราณ มีคำบอกเล่าว่า ในวันสงกรานต์ชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ในหุบเขาจะทำพิธีกรรมอย่างหนึ่งด้วยการพากันสาดน้ำไล่ พระเจ้าแผ่นดินของตนที่ประทับในท้องพระโรง พระเจ้าแผ่นดินต้องวิ่งหนี แต่ยามปกติทำอย่างนั้นต้องถูกฆ่านอกเหนือจากเป็นการปลดปล่อยเพื่อความสนุกสนานแล้ว พิธีกรรมทั้งหมดล้วนมีความหมายเชิงสัญลักษณ์เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของฤดูกาลใหม่ที่จะมาถึงทั้งสิ้น



    แม่สรี-แม่ศรี "ผีบรรพบุรุษ"รากเหง้าเก่าแก่ในสงกรานต์ทั่วอุษาคเนย์

    แม่ศรี มีศัพท์ 2 คำรวมกัน คือ แม่ เป็นคำพื้นเมืองดั้งเดิมของอุษาคเนย์ กับ ศรี เป็นคำสันสกฤต

    คำผสมว่า แม่ศรี นี้ผิด

    ที่ถูกต้องเขียนว่า แม่สรี เป็นคำจากภาษาเขมร อ่าน "แม่-สะ-รี" ฉะนั้นบางท้องถิ่นในประเทศไทยใกล้เขมรจะเขียนว่า แม่สี ซึ่งถูกต้องใกล้เคียงรากเหง้าเก่าแก่ที่สุด

    แม่สรี หรือ แม่สี หมายถึงบรรพบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่เป็นผู้หญิง ก็คือ นางนาค นั่นเอง มีเพลงนางนาค ชุดทำขวัญเป็นพยาน

    แม่สี คือผีบรรพบุรุษที่ปกป้องคุ้มครองเผ่าพันธุ์บ้านเมืองและรัฐจนถึงราชอาณาจักรที่ทุกคนต้องเซ่นวักไหว้ดีพลีถูก หากละเลยเพิกเฉยก็จะถูกอำนาจเหนือธรรมชาติบันดาลให้ล่มจมถึงล่มสลายได้รับความวิบัติ

    ด้วยเหตุดังนี้ คนแต่ก่อนจึงต้องทำพิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ ที่พูดกันต่างๆ ว่า พิธีเลี้ยงผี ในวันขึ้นปีใหม่คือเดือนอ้าย แล้วภายหลังเปลี่ยนเป็นมหาสงกรานต์เดือนห้า ด้วยการเชิญผีมา ลงทรง หรือ เข้าทรง เพื่อขอคำทำนายทายทักว่าพืชพันธุ์ธัญญาหารปีต่อไปที่จะมาถึง (ในเดือน 6 แล้วฝนตกในเดือน 8) จะอุดมสมบูรณ์หรือจะล่มแล้งแห้งตาย จะได้เตรียมตัวรับสถานการณ์ได้ถูกต้อง

    สงกรานต์เป็นประเพณีของพราหมณ์จากชมพูทวีป (อินเดีย) แพร่หลายเข้ามาอยู่ในหมู่ชนชั้นสูง ราชสำนักยุคสุวรรณภูมิ-ทวารวดีเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นแพร่หลายลงสู่ชาวบ้านทั่วไปทั้งภูมิภาคอุษาคเนย์ ฉะนั้นจึงมีประเพณีสงกรานต์เหมือนกันหมดตั้งแต่พม่า (มอญ) ลาว เขมร จนถึงสิบสองพันนา (ในยูนนาน) รวมทั้งไทย

    ดูรายละเอียดฉบับเต็มไม่ตัดทอนใน www.sujitwongthes.com
    ------
    ที่มา:ข่าวสดออนไลน์
    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra01090452&sectionid=0131&day=2009-04-09
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. ชาหอม

    ชาหอม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    119
    ค่าพลัง:
    +119
    สาธุ สาธุ ครับสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นมีอีกเยอะเป็นกุศโลบายที่ดีครับ
     
  3. เบญจขันธ์

    เบญจขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2007
    โพสต์:
    196
    ค่าพลัง:
    +144
    ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...