นั่งสมาธิทีไรคันในหูทุกที

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย maxza8com, 16 มีนาคม 2009.

  1. maxza8com

    maxza8com Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +33
    คือหลายครั้งแล้วครับที่นั่งสมาธิพอนั่งไปได้สักพักเรารู้สึกว่าใจนั้นค่อยๆสงบก็จะมีอาการคันอยู่ในหูทั้ง2ข้างอยู่เรื่อยๆเหมือนมีอะไรอยู่ในหู แต่เราก็พยายามนึกรู้อยู่ตลอดเวลานะครับ มันก็เกิดๆดับๆอยู่อย่างนี้หลายทีเหมือนกัน
    ขอความกรุณาไขข้อข้องใจให้ด้วยนะครับ
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    จิตไม่ตั้งมั่นอยู่ที่ฐานของสติ

    หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง

    จิตไม่ตั้งมั่นหยุดอยู่ที่รู้

    * * * * *

    ไม่ตั้งแล้วมันวิ่งไปไหน

    มันก็วิ่งไปที่หู ตรงจุดที่คัน ไปจ่ออยู่ตรงที่คัน ไปรู้อยู่แต่อาการคัน ไปแนบกับ
    จุดที่คัน ไม่คันก็คันขึ้นมา ยิ่งคันก็ยิ่งแนบ ยิ่งเอาจิตไปจมจ่อมคอยรู้ว่าเมื่อไหร่
    จะคัน เมื่อไหร่จะหายคัน เกิด ตัณหาอยากเห็นคัน สลับวิภวตัณหาไม่อยากเห็น
    คัน กลับกลายเป็นการเติมอาหารให้กับเวทนา สัญญา จึงเกิดเป็นสังขารคันอยู่
    ตรงนั้นอย่างนั้น เลิกคันไปแล้วก็ยังนึกย้อนไปที่คันที่หายไปแล้วได้อีกนะ เลย
    คันไม่เลิก

    * * *

    วิธีแก้ ไม่มี

    * * *

    วิธีตามรู้(วิปัสสนา) มี ก็ตามรู้ไปว่า จิตไม่ตั้งมั่น วิ่งไปแนบยังอยาตนะที่คัน
    ตามรู้ไปว่า จิตไม่ตั้งมั่น กระโดดไหลไปไหลมา ตามเวทนา หากตามรู้ไปเรื่อยๆ
    จิตที่ตามรู้คือจิตที่อยู่ที่ฐานของสติ เมื่อนั้นจะเห็นว่า ผู้รู้ ผู้ดู ไม่ได้คัน และไม่ใช่
    จิตดวงเดียวกันที่วิ่งไปแนบที่จุดคัน จิตที่วิ่งไปแนบที่จุดคันคือขันธ์5 สิ่งอันนำทุกข์
    มาให้จิต ทำให้จิตผู้รู้ ผู้ดู หายไป ไม่เที่ยง เพราะวิ่งแส่ส่ายออกไป
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อ้อ เห็นแล้วก็อย่าไปทำให้มันเที่ยงนะ อย่าไปทำให้ผู้รู้ ผู้ดู มันเที่ยง

    จิตผู้รู้ ผู้ดู เขาเกิดขึ้นมา เป็นสัจจปรากฏให้เราได้ระลึกรู้ เราก็แค่ระลึก
    รู้ตามไปว่ามี แต่ไม่ต้องไปทำให้มันเที่ยง ทั้งนี้เพื่อจะอาศัยระลึกดู
    เหตุของการเกิดจิตผู้รู้ และผลของการปรากฏของจิตผู้รู้ เรียกว่า

    ตามอาศัยระลึกการมีอยู่ (สัจญาณ) แล้วคอยระลึกเพื่อเห็นเหตุของ
    การมี (กิจญาณ) และพอมีแล้วมีผลอย่างไรต่อจิต (กตญาณ) รู้ไป
    อย่างนี้ เนืองๆ เรียกดูหมุนรอบ หมุนไปเรื่อยๆ ก็เรียกว่า หมุนธรรมจักร

    ดูไปเรื่อยๆ เพื่อแจ้งในอริยสัจจ อีกทีหนึ่ง ดังนั้น อย่าไปแนบ อย่าไป
    จมจ่อม อย่าไปประคอง อย่าไปจ้อง ...อันนี้เป็นขั้นการยกวิปัสสนาญาณ
     
  4. เกลี่ยง

    เกลี่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +428
    อาการคันหู มันคือวิบาก
    เพียงรู้ว่ามันเกิดขึ้น เมื่อมันหายไป ก็เพียงรู้ว่าหายไป เท่านั้นพอ ไม่ต้องจ่อ หรือเพ่ง

    เมื่อออกจากสมาธิแล้ว ให้อุทิศส่วนกุศลให้กับนายเวรที่มาทวง ที่ทำให้เกิดอาการคันหู ให้รับผลบุญ และอโหสิกรรมให้ (เพราะเขารู้ว่าเรากำลังสร้างบุญ มีกำลังจะจ่ายเขาได้)
     
  5. maxza8com

    maxza8com Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +33
    ขอขอบพระคุณทุกคำแนะนำครับ
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    แบบธรรมะ ฟังไปแล้วนะ

    ขอแบบ สุขอนามัยบ้าง

    บางที บางจังหวะ มันก็ไม่แน่ไม่นอน เกิดเราเจอฟุ่นละอองอะไรพัดเข้าหู
    สิ่งที่ปรากฏคือ น้ำหูมันจะหลั่งออกมา เพื่อจับสิ่งสกปรกนั้น ก่อนทะยอย
    พัดโบกเคลื่อนออกจากหู จังหวัที่น้ำหูมมันหลัง และการพัดโบกของขนหู
    มันจะคัน

    บางทีก็เป็นเพราะน้ำเข้าหู หากน้ำเข้าหูจะกลับกัน แทนที่หูจะมีน้ำมันมาก
    มันจะแห้ง เพราะน้ำมันถูกชำระออก ยิ่งใครชอบเอาสำลีปั่นหู ปั่นทั้งๆที่มีน้ำ
    หูก็จะแห้ง ก็จะเกิดเป็นหนังหูมันแห้ง แล้วก็ลอก ตอนที่หนังหูมันปริลอก หาก
    เราทำสมาธิสงัดอยู่ ก็ไม่แน่อาจจะได้ยินเสียงเปรี้ยง ยังกะลูกตาลตกใกล้ๆ
    แต่ถ้ามันค่อยๆลอก ก็จะคันยิกๆ เหมือนกัน

    ก็ต้องดูๆแลๆ ด้านสุขอนามัยด้วย
     
  7. Faithfully

    Faithfully เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    656
    ค่าพลัง:
    +2,459
    โมทนาด้วยค่ะ นั่งแล้วมีอาการเหมือนกันค่ะ แต่เป็นที่ขานี่แหละค่ะ (อาจมีหลายคนเป็นเหมือนกัน) คือ เหน็บชา เหมือนกับขาค่อย ๆ บวมขึ้นมาค่ะ ถ้าไม่ไปใส่ใจก็จะค่อย ๆ หาย
    แต่ก็จะกลับมารู้สึก เป็น ๆ หาย ๆ ไปเรื่อย ๆ นะคะ ต้องฝึกบ่อย ๆ ให้ชินกับการนั่งขัดสมาธิ
    ด้วยละมั้งคะ สาธุค่ะ
     
  8. humanbeing

    humanbeing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +214
    ก็มักจะคันเวลานั่งสมาธิเหมือนกันค่ะ เคยใช้วิธีไม่ไปสนใจมัน และไม่ไปเกา ท้ายที่สุด มันก็รู้สึกชิน และหายคันไปเองค่ะ แต่ตอนนั้นต้องข่มความอยาก(เกา)เต็มที่เหมือนกัน

    ไม่แน่ใจว่า เคยคิดตามว่า คันหนอ แล้วได้ผลหรือไม่ เพราะไม่ได้นั่งสมาธินานแล้ว
     
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    เหน็บชานี่ผมก็เป็นนะครับ.......เคยถามครูบาอาจารย์พระป่าท่านบอกว่าเรื่องธรรมดาไม่ต้องไปสนใจ.......บางครั้งพอออกจากสมาธิ.....ต้องยกออกเลยนะ...มันแข็ง....ยกเหยียดออก.......รู้เลยไอ่ร่างกายนี้มันก็ศพดีๆนี่เอง.......
    พระท่านบอกว่าถ้าออกจากสมาธิแล้วก็เดินจงกรมต่อครับ....เลือดจะได้หมุนเวียนได้ดี.......

    ไอ่เรื่องคันหู....ก็คงไม่ต่างกันหละครับ.....ถ้าเอาจิตไปติดมันก็ยิ่งคัน.....ไม่ต้องไปสนใจหละครับ...เดียวมันก็หายไปเอง.....ลองดูนะครับ.....ถ้าสมาธิพอใช้ได้....มันก็หายไปเอง.....พยายามอย่าขาดจากองค์ภาวนาที่เรากำหนด......
     
  10. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    ไม่ต้องไปใส่ใจครับถ้าเป็นเเค่ความรู้สึกนะ เเต่ถ้ามีอะไรอยู่ในหูจริงก็จงเอามันออกครับ เเต่คิดว่าเป็นเเค่ความรู้สีกมากกว่า เอาจิตจับอยู่ที่สมาธิพุทโธพอครับ อนุโมทนาครับท่าน
     
  11. ทรงกลด

    ทรงกลด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +109
    ผมว่ามันเป็นอาการของปิติ ไม่ต้องใส่ใจมัน มันเกิดเอง มันก็ดับเอง
     
  12. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    สัญญา และเวทนาเก่าค่ะ เพราะไปอุปทานทานว่า นั่งเมือไร ฉันต้องคันเมื่อนั้น
     
  13. ^บัวหลวง^

    ^บัวหลวง^ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    543
    ค่าพลัง:
    +661
    ชนิดของปีติ

    ผู้ที่ได้ศึกษาคัมภีร์วิสุทธิมรรค
    จะเห็นว่าพระพุทธโฆษาจารย์ได้บรรยายแบ่งแยกลักษณะของปีติไว้ ๕ ประการ
    ซึ่งเกิดจากกิจกรรมฝ่ายกุศลตามธรรมดา กับฝ่ายปฏิบัติทางจิต ดังต่อไปนี้

    ๑.ขุททกาปีติ คือ ปีติเล็กน้อย หรือปีติอย่างเบา ซึ่งทำให้ขนลุกแล้วก็ดับไป,
    ไม่เกิดขึ้นอีก บางทีก็ทำให้ขนหัวลุก ใจสั่น ตัวหนักก็ได้.

    ๒.ขณิกาปีติ คือ ปีติที่เกิดขึ้นบ่อยๆชั่วขณะ แล้วก็หายไปดังฟ้าแลบ
    มักเกิดขึ้นตามร่างกาย เช่น ทำให้ตาเห็นแสงดังฟ้าแลบเป็นประกาย
    เนื้อเต้นเอ็นกระตุก รู้สึกเหมือนมีแมลงมาไต่ ใจสั่นหวั่นไหว.

    ๓.โอกกันนิกาปีติ คือ ปีติที่ก้าวลงสู่ร่างกาย ทำให้กายกระเพื่อม หวั่นไหว
    สั่นระรัว คล้ายๆกับนั่งเรือในกระแสน้ำวน เกิดคล้ายลมพัดหัวอก หัวไหล่
    ท้องน้อย หรือพัดไปทั่วร่างกาย หรือพัดวาบดังไฟลุก.

    ๔.อุพเพ็งคาปีติ คือ ปีติที่มีกำลังมาก บางทีก็ทำให้ตัวลอยขึ้นไปในอากาศ
    ทำให้เนื้อตัวหวั่นไหว เกิดเต้นเหยงๆแล้วลุกขึ้นวิ่งไป เกิดร้อนทั่วตัวและสันหลัง
    ศีรษะ สะเอว ท้องน้อย เกิดแสบร้อนเป็นไอขึ้นทั่วตัว
    ปวดท้อง ปวดน่องดังเป็นบิด กายเบาและดูสูงขึ้น หนักแข้งหนักขาบั้นเอว
    และศีรษะคล้ายจะจับไข้ เกิดเป็นสมาธิขึ้น.

    ๕.ผรณาปีติ คือ ปีติที่แผ่ไปทั่วกาย เกิดในจักษุทวาร ทำให้ดูสูงและใหญ่ขึ้น
    เนื้อตัวเย็นดังแช่น้ำ คันยิบๆแย็บๆเหมือนมีไรมาไต่ เป็นดังประกายไฟพุ่งออกจากกระบอกตา กายเบาดุจนั่งนอนเหนือสำลี หนาวตัวสั่นตัวงอ หนักหางตา
    ดุจอาบน้ำในฤดูหนาว บางทีก็กายอุ่นเป็นไอขึ้นหรือกายเย็นซาบซ่าทั่วตัว

    จากหนังสือ ธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์

    [SIZE=-1]http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=nulek&date=01-05-2008&group=5&gblog=13[/SIZE]


    <!-- End main-->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2009
  14. ^บัวหลวง^

    ^บัวหลวง^ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    543
    ค่าพลัง:
    +661
    ปีติและสุข
    <!-- Main -->ปีติและสุข เป็นนามธรรมที่เกิดทางใจของบุคคลต่างๆได้ ๒ กรณี คือ

    ๑. เกิดขึ้นแก่บุคคล ที่รับรู้อารมณ์ฝ่ายกุศลอันประทับใจ
    ที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส ….อย่างหนึ่ง.
    ๒. เกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้รวมจิตเป็นสมาธิได้สำเร็จ เพราะเพิกอารมณ์ที่น่ารักใคร่
    ออกไปอย่างหมดสิ้น จนรู้สึกเบากาย เบาจิตใจ ...อีกอย่างหนึ่ง
    .

    สำหรับข้อ ๒ นี้ สามารถกล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้นได้อีกดังนี้ คือ
    ความรู้สึกเบากาย เบาจิตใจหรือ อิ่มใจ ที่เรียกว่า ปีติ
    กับความรู้สึกพอใจ สบายใจ ยินดี เพลิดเพลินใจ ที่เรียกว่า สุข
    เกิดขึ้นมาพร้อมๆกัน หลังจากที่ได้สลัดความกระสับกระส่าย
    จากการรับรู้อารมณ์ต่างๆอันหนักอึ้ง,ออกไปได้สำเร็จ.

    ตัวอย่าง ปีติและสุข ที่เกิดจากการปฏิบัติ อานาปานสติ ก็คือ
    ถ้าผู้ปฏิบัติสลัดอารมณ์เฉพาะหน้าออกไป ด้วยการยกจิตเข้าไปตั้งไว้ที่ฐานที่ตั้งสติ
    แล้วประคองไว้ไม่ให้แลบออกไปได้สำเร็จ ปีติย่อมเกิดขึ้นที่ส่วนหนึ่งส่วนใด
    ของร่างกายผู้ปฏิบัติ เช่น ทำให้รู้สึกคล้ายกับว่ามีมดหรือไรมาไต่ตอมตามร่างกาย
    แล้วก็จะจางหายไปอย่างรวดเร็วมาก
    ส่วน สุข นั้นจะแสดงขึ้นเป็นความรู้สึกสบายอกสบายใจ ยินดี พอใจ และตั้งอยู่นาน
    กว่าปีติมาก และอาจแสดงออกทางสีหน้าหรือแววตาก็ได้สำหรับอารมณ์ฝ่ายกุศล.

    ผู้ปฏิบัติควรศึกษาให้ชัดเจนว่า
    เมื่อสุขเกิดขึ้นนั้น ปีติอาจเกิดขึ้นหรือไม่เกิดด้วยก็ได้
    แล้วแต่ว่าอารมณ์ที่กำลังรับรู้อยู่นั้นจะประทับใจมากน้อยเพียงใด
    จิตก็จะออกไปอยู่กับปีติและสุขด้วยความรู้สึกกระเหิมใจ
    และภาคภูมิใจที่ทำงานทางจิตได้สำเร็จ, แทนอารมณ์ทั้งหลายที่เพิกออกไปเหล่านั้น.

    ๑.ปีติและสุขที่เกิดขึ้นจากอารมณ์ฝ่ายกุศล

    ในข้อที่ ๑ ข้างต้นนี้ เราจะพบเห็นได้ไม่น้อยว่าปีติได้เกิดขึ้นแก่บิดา-มารดา,วงศ์ญาติ
    ที่ได้จัดงานบวชพระให้แก่บุตรชายของตน เมื่อวันบวช
    พร้อมกับความสุขใจอันมากมายท่วมทับจิตใจอย่างที่ไม่เคยพบมาในชีวิตประจำวันเลย
    ถึงกับน้ำตาแห่งปีติไหลพรากทีเดียว
    ทั้งนี้เพราะชาวพุทธนับถือกันอย่างมั่นใจว่า
    การบวชพระให้บุตร เท่ากับได้ฝากชีวิตจิตใจไว้กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วนั่นเอง.

    เป็นที่น่าสังเกตว่า ปีติ และ สุข นี้จะเกิดขึ้น
    เมื่อบิดา-มารดา,วงศ์ญาติ เห็นบุตรชายของตนครองผ้าเหลืองครบองค์ในโบสถ์
    ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ปีติและสุข เกิดขึ้นจากการกระทำกุศลอันประทับใจได้สำเร็จ
    สมความตั้งใจแต่แรก.

    ๒. ปีติและสุขเกิดขึ้นแก่ผู้ที่รวมจิตเป็นสมาธิได้สำเร็จ

    ในข้อที่ ๒ นี้ เป็นเรื่องของการปฏิบัติสมาธิ
    ในระยะเริ่มแรก ปีติและสุข จะเกิดขึ้นพร้อมกัน
    หลังจากที่ได้สลัดอารมณ์ภายนอกออกไปหมดสิ้นแล้ว

    ในตอนเริ่มแรกของการปฏิบัตินั้น ทั้ง ปีติและสุข จะเกิดขึ้นพร้อมกัน
    และรู้สึกได้เด่นชัดมาก แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปนานๆก็จะรู้สึกชิน
    ทำให้รู้สึกว่าไม่เด่นชัดนัก เมื่อพลังสติเกิดมากขึ้นอีก
    ก็จะสลัดทั้งปีติและสุขออกไปได้ดีขึ้น จนไม่ได้สนใจปีติและสุขนั่นเอง.

    อุปมาดังลูกคลื่นขนาดใหญ่ (คืออารมณ์) ในท้องมหาสมุทร
    ได้ลดตัวหายไปๆ จนเหลือแต่ระลอกน้ำขนาดเล็กอยู่ที่ผิวน้ำ (คือปีติและสุข)
    ซึ่งจะต้องระงับให้หมดไปอย่างสิ้นเชิงให้ได้
    ระดับผิวน้ำจึงจะราบเรียบถึงขีดสุดอย่างแท้จริง.

    วิธีระงับปีติและสุข

    วิธีระงับปีติและสุข ที่เกิดขึ้นจากการทำสมาธิ ก็คือ
    ใช้สติกำหนดลมหายใจเข้าออกให้แนบแน่นมากขึ้นจากที่กำลังเป็นอยู่
    เพราะจิตได้แลบออกจากฐานที่ตั้งสติไปอยู่กับปีติและสุขเสียแล้ว

    ผู้ปฏิบัติจะต้อง
    ทำความรู้สึกให้รู้ลมหายใจเข้าออกที่กระทบฐานที่ตั้งสติให้ชัดเจนตลอดเวลา

    จึงจะสลัดปีติและสุข รวมทั้งมโนภาพทั้งหลายออกไปได้หมดสิ้นเชิง
    กล่าวคือ
    เมื่อลมหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า ลมหายใจเข้ายาว
    เมื่อลมหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า ลมหายใจออกยาว
    หรือ เมื่อลมหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า ลมหายใจเข้าสั้น
    เมื่อลมหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า ลมหายใจออกสั้น.

    ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษาวิธีทำลมหายใจซึ่งหยาบ, ให้ละเอียด
    และให้ละเอียดยิ่งขึ้นตามลำดับต่อไปด้วย
    เพราะเมื่อลมหายใจหยาบ ความรู้สึกนึกคิดก็หยาบ
    เมื่อลมหายใจละเอียด ความรู้สึกนึกคิดก็ย่อมละเอียดตามไปด้วย.

    ดังนั้น เมื่อทำลมหายใจให้ละเอียดได้ถึงขีดหนึ่ง
    ปีติก็ดี สุขก็ดี ความรู้สึกนึกคิดก็ดี ย่อมดับไปด้วย
    จิตก็จะสงบตัวเป็นสมาธิมากขึ้นๆ จนสงบถึงขีดสุด, ในที่สุด
    ผู้ปฏิบัติก็จะรู้สึกเสมือนว่าไม่มีลมหายใจเคลื่อนไหวเลย
    ทั้งนี้เพราะจิตมีพลังการปล่อยวางมากที่สุดนั่นเอง.

    งานปฏิบัติทางจิตเหล่านี้ นับตั้งแต่เริ่มอธิษฐานจิต ปล่อยวางอารมณ์หยาบ
    แล้วยกจิตเข้าไปตั้งที่ฐานที่ตั้งสติ ประคองจิตไว้ไม่ให้แลบหนีออกไป
    เป็นงานขั้นสำคัญที่ผู้ปฏิบัติจะต้องลงมือกระทำเอง
    จำทางที่ได้เคยทำไว้ให้แม่นและทำให้ชำนาญ จนถึงขนาดที่ว่า
    เพียงแต่กำหนดลมหายใจเท่านั้น จิตก็จะน้อมเข้าสู่ความสงบถึงขีดสุดทันที
    โดยไม่ต้องใช้เวลาเลย แม้แต่เพียงวินาทีเดียว.

    การเกิดขึ้นของปีติและสุขในขณะสุดท้ายของชีวิต

    จากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้
    เราจะเห็นว่าปีติและสุขเป็นผลจากการกระทำกิจกรรมฝ่ายกุศล
    ที่ผู้ปฏิบัติจะต้องใช้ ขันติ (ความอดทน) สกัดไม่ให้ธรรมฝ่ายอกุศลเกิดแทรกเข้ามา

    ถ้าขาดขันติเสียอย่างเดียวเท่านั้น อารมณ์ฝ่ายอกุศลจะแทรกเข้ามาทันที
    แต่ถ้ามีขันติสูงเพียงพอ อกุศลย่อมไม่เกิดขึ้น ปีติและสุขก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
    ถ้าปีติและสุขเกิดขึ้นในขณะสุดท้ายแห่งชีวิตด้วยแล้ว,สุคติย่อมเป็นที่หวังได้แน่นอน

    ผู้ปฏิบัติจึงต้องคอยระวังไม่ให้อารมณ์ฝ่ายอกุศลเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
    โดยใช้สติคอยระลึกไว้ตลอดเวลา และรู้จักหาหรืออุปโลกน์ฐานลมหายใจกระทบ
    ภายในช่องจมูกของตน ไว้เป็นหลักประจำใจ
    แล้วเพียรพยายามบ่อยๆเนืองๆ ที่จะยกจิตเข้าไปตั้งไว้ ณ ฐานดังกล่าวนี้
    และประคองไว้ให้ได้ ปีติและสุข ก็จะเกิดตามมาเป็นธรรมดา
    ตามวาสนาบารมีของตน.

    ทั้งนี้หมายความว่า วิตกกับวิจาร เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดปีติและสุข,
    ซึ่งเป็นผลตามมาเอง หลังจากที่ได้เพียรประคองจิตไว้,
    ไม่ให้แลบหนีออกไปจากฐานที่ตั้งสติได้สำเร็จเท่านั้น

    ดังนั้นผู้ปฏิบัติจึงไม่ต้องสนใจว่าปีติจะเกิดขึ้นที่ไหนของร่างกายหรือเมื่อใด
    แต่ให้คอยเพิ่มความระมัดระวัง ควบคุมจิตให้รู้อยู่ที่ฐานลมกระทบให้แนบแน่นมากขึ้นโดยต่อเนื่องต่อไปจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต คือ ลมหายใจเฮือกสุดท้าย
    อารมณ์ที่เป็นอกุศลย่อมไม่มีโอกาสสอดแทรกเข้ามาเลย
    ทำให้มีสุคติเป็นที่หวังข้างหน้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
    ดังที่มีผู้กระซิบบอกผู้กำลังจะสิ้นใจที่หูว่าให้ภาวนาอรหังไว้นั่นเอง

    กิจกรรมที่ทำให้ปีติเกิด

    กล่าวโดยทั่วไปแล้ว
    ปีติและสุข เป็นสภาพธรรมที่เกิดหลังจากได้ทำกิจกรรมที่เป็นกุศล
    มีคุณประโยชน์มากได้สำเร็จ
    ไม่ว่าจะเป็นแค่ระดับศีลธรรมหรือระดับปฏิบัติทางจิตก็ตาม

    โดยใช้โยนิโสมนสิการประกอบ คือใช้เหตุผลเป็นหลัก
    สำหรับลงมือกระทำกิจกรรมนั้นๆประกอบด้วยจนสำเร็จบริบูรณ์,เป็นสำคัญ
    ปีติย่อมเกิดตามมาเองด้วยเป็นธรรมดา

    แต่ถ้าใช้อโยนิโสมนสิการ คือไม่ใช้เหตุผลที่ถูกต้อง,
    ฝ่าฝืนความสงบสุขจนทำให้เป็นอกุศล เกิดโทษแก่ตนและสังคมขึ้นมาแล้ว
    ย่อมทำให้จิตใจหดหู่เศร้าหมอง ปีติย่อมไม่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา.

    สรุปความแล้ว ปีติและสุข เป็นธรรมฝ่ายกุศล ที่เกิดร่วมกับกิจกรรมฝ่ายกุศลเท่านั้น .

    ตัวอย่างกิจกรรมที่ทำให้เกิดปีติและสุข

    ๑. เพิกจิตออก ไม่คิดละเมิดศีลที่ปรากฏเฉพาะหน้าได้.
    ๒. ยกจิตออกจากเรื่องที่กำลังนึกคิด ไปตั้งที่ฐานที่ตั้งสติได้.
    ๓. ยกจิตไปตั้งที่ฐานที่ตั้งสติแล้ว,ประคองไว้ไม่ให้แลบได้.
    ๔. เมื่อกระทบกับอารมณ์ใดๆแล้ว ทำจิตให้ตั้งมั่นคงได้.
    ๕. กำหนดรู้ว่าอารมณ์และความรู้สึกที่เกิดตามมาเป็นทุกข์.
    ๖. ควบคุมจิตไม่ให้แล่นออกจากฐาน,ไปรับอารมณ์ได้.
    ๗. เปลี่ยนความคิดถึงอารมณ์ไปคิดถึงลมหายใจได้สำเร็จ.
    ๘. รักษาจิตให้อยู่ในสภาพที่ผ่องใสในท่ามกลางอารมณ์ได้.
    ๙. จำวิธีละนิวรณ์ได้อย่างแม่นยำ,เมื่อกระทบกับอารมณ์.
    เหล่านี้ เป็นกิจกรรมทางจิตที่ทำให้เกิดปีติและสุขทั้งสิ้น.

    นอกจากนี้ ปีติและสุขยังเกิดขึ้นทางอื่นได้อีกหลายทาง
    ไม่เฉพาะแต่ผู้ที่ปฏิบัติสมาธิเท่านั้น
    คนที่มีอุปนิสัยชอบทำบุญ ทำทาน มีเมตตากรุณาต่อบุคคลอื่นและสัตว์ทั้งหลาย
    คนที่รักษาศีลไว้ได้ เมื่ออยู่ต่อสถานการณ์เฉพาะหน้า
    นึกถึงกุศลกรรมที่ได้เคยทำมาแต่ก่อน นึกถึงพิธีกรรมทางศาสนา
    ได้เห็นพระสงฆ์ เจดีย์ โบสถ์ วิหาร เหล่านี้ เป็นต้น
    ปีติและสุขก็เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน

    ปีติเป็นสังขารขันธ์ สุขเป็นเวทนาขันธ์ ซึ่งจะเกิดร่วมกันเสมอ.

    ปีติเป็นสภาพธรรมแก้ง่วงและช่วยให้จิตเป็นสมาธิ

    ปีติเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้จิตเป็นสมาธิ
    ผู้ที่ลงมือปฏิบัติสมาธิแล้ว ชอบง่วงบ่อยๆนั้น
    เกิดจากเผลอปล่อยให้จิตตกภวังค์ ไม่บริหารจิตตามสมควร จึงง่วง
    มีทางที่จะแก้ได้โดยการยกจิตเข้าไปตั้งไว้ที่ฐานที่ตั้งสติทันที
    พร้อมกับประคองไว้ด้วยอุบายอันแยบคาย ที่จะไม่ให้จิตแลบหนีออกไป

    ถ้าจิตแลบครั้งใด ก็ให้ยกกลับมายังฐานที่ตั้งสติอีกทุกครั้ง
    จนกว่าจิตจะเชื่องเข้าๆและไม่แลบต่อไปอีก
    เมื่อทำได้ดังนี้สำเร็จ ปีติก็จะเกิดขึ้น ความง่วงก็จะหายไป และจิตก็จะเป็นสมาธิทันที
    จากฌาน๑, ฌาน๒, ฌาน๓ และฌาน๔ อันเป็นสภาวะที่สงบถึงขีดสุด
    หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
    ความกระเพื่อมของจิตได้ลดน้อยลงตามลำดับ จนสงบราบคาบที่ฌาน ๔ ก็ได้เช่นกัน.

    ชนิดของปีติ

    ผู้ที่ได้ศึกษาคัมภีร์วิสุทธิมรรค
    จะเห็นว่าพระพุทธโฆษาจารย์ได้บรรยายแบ่งแยกลักษณะของปีติไว้ ๕ ประการ
    ซึ่งเกิดจากกิจกรรมฝ่ายกุศลตามธรรมดา กับฝ่ายปฏิบัติทางจิต ดังต่อไปนี้

    ๑.ขุททกาปีติ คือ ปีติเล็กน้อย หรือปีติอย่างเบา ซึ่งทำให้ขนลุกแล้วก็ดับไป,
    ไม่เกิดขึ้นอีก บางทีก็ทำให้ขนหัวลุก ใจสั่น ตัวหนักก็ได้.

    ๒.ขณิกาปีติ คือ ปีติที่เกิดขึ้นบ่อยๆชั่วขณะ แล้วก็หายไปดังฟ้าแลบ
    มักเกิดขึ้นตามร่างกาย เช่น ทำให้ตาเห็นแสงดังฟ้าแลบเป็นประกาย
    เนื้อเต้นเอ็นกระตุก รู้สึกเหมือนมีแมลงมาไต่ ใจสั่นหวั่นไหว.

    ๓.โอกกันนิกาปีติ คือ ปีติที่ก้าวลงสู่ร่างกาย ทำให้กายกระเพื่อม หวั่นไหว
    สั่นระรัว คล้ายๆกับนั่งเรือในกระแสน้ำวน เกิดคล้ายลมพัดหัวอก หัวไหล่
    ท้องน้อย หรือพัดไปทั่วร่างกาย หรือพัดวาบดังไฟลุก.

    ๔.อุพเพ็งคาปีติ คือ ปีติที่มีกำลังมาก บางทีก็ทำให้ตัวลอยขึ้นไปในอากาศ
    ทำให้เนื้อตัวหวั่นไหว เกิดเต้นเหยงๆแล้วลุกขึ้นวิ่งไป เกิดร้อนทั่วตัวและสันหลัง
    ศีรษะ สะเอว ท้องน้อย เกิดแสบร้อนเป็นไอขึ้นทั่วตัว
    ปวดท้อง ปวดน่องดังเป็นบิด กายเบาและดูสูงขึ้น หนักแข้งหนักขาบั้นเอว
    และศีรษะคล้ายจะจับไข้ เกิดเป็นสมาธิขึ้น.

    ๕.ผรณาปีติ คือ ปีติที่แผ่ไปทั่วกาย เกิดในจักษุทวาร ทำให้ดูสูงและใหญ่ขึ้น
    เนื้อตัวเย็นดังแช่น้ำ คันยิบๆแย็บๆเหมือนมีไรมาไต่ เป็นดังประกายไฟพุ่งออกจากกระบอกตา กายเบาดุจนั่งนอนเหนือสำลี หนาวตัวสั่นตัวงอ หนักหางตา
    ดุจอาบน้ำในฤดูหนาว บางทีก็กายอุ่นเป็นไอขึ้นหรือกายเย็นซาบซ่าทั่วตัว

    จากหนังสือ ธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์
    <!-- End main-->
    http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=nulek&date=01-05-2008&group=5&gblog=13
     
  15. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676

    ปฏิบัติดีแล้วครับๆๆๆ...ทำต่อไปนะครับ...
    มันจะคันก็กำหนดรู้ไปเรื่อยๆนะครับ พิจารณาตอนมันเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป นะครับ
    ไม่ต้องไปอยากให้มันหาย หรือ ไม่ต้องไปหาคำตอบว่ามันมายังไง

    ไม่ว่าจะอะไรเกิดขึ้นก็ตามไม่ต้องไปสนใจ ขอให้มีสติไว้มากๆนะครับ มันจะคันหูเหมือนจะมีน้ำไหลออกมาก็ช่างมันปล่อยมันไป
    เราแค่ตามรู้เท่านั้น รู้ตามความเป็นจริง..

    หรือมันจะนิ่ง เบาวิ้งๆๆๆ..ก็ช่างไม่ต้องไปสนใจอะไรนะครับ
    หรือจิ้งจกมันจะร้องก็อย่าไปทึกทักอะไรๆอย่างที่คนอื่นๆเขาว่ากัน
    ลองไม่ต้องไปหาอ่านอะไรเลย (อย่างประสบการณ์ตนเอง) ไม่ต้องรู้อะไรเลย
    ปฏิบัติไปๆๆ..ด้วยการที่สติรู้ตัวทั่วพร้อม และมีความคิดเห็นทีุ่ถูกต้องว่า สิ่งทุกอย่างทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่น มันไม่ใช่แก่นสาร มันไม่เที่ยง
    ขอให้สติยึดไว้กับอาการเหล่้านั้น รู้หนอ รู้หนอ..

    อนุโมทนาด้วยครับ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2009
  16. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    ฟังอันนี้ได้เลยครับ จขกท เจริญในธรรมครับ

    อาการของปีติ - Buddhism Audio

    อาการของปีติ<!-- google_ad_section_end -->

    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1">
    Artist: ศจ.อุบาสิกา คุณรัญจวน อินทรกำแหง
    <fieldset class="fieldset"> <legend>ไฟล์ แนบข้อความ</legend> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="3"> <tbody><tr> <td width="20"><input id="play_8721" onclick="document.all.music.url=document.all.play_8721.value;" name="Music" value="attachment.php?attachmentid=8721" type="RADIO">ฟัง</td> <td>[​IMG]</td> <td>035 อาการของปีติ.mp3 (2.48 MB, 3549 views)</td></tr> </tbody></table> </fieldset>
    <!-- google_ad_section_start -->อาการของปีติ โดย ศจ.อุบาสิกา คุณรัญจวน อินทรกำแหง
     

แชร์หน้านี้

Loading...