พิธีรับพระเสวยอายุ

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 13 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <TABLE border=0 width="97%" align=center><TBODY><TR><TD>
    พิธีรับพระเสวยอายุ
    (พิธีสะเดาะเคราะห์)
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width="97%" align=center><TBODY><TR><TD>คัมภีร์มหาทักษา : ตำนานเทวดาเป็นมิตร - ศัตรูกัน <HR SIZE=1></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width="97%" align=center><TBODY><TR><TD>ก่อนที่ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงเทวดาที่เสวยอายุและเข้าแทรก ข้าพเจ้าจะขอกล่าวถึงตำนานความเป็นมาของเทวดา ที่เป็นมิตรและเป็นศัตรูกันเสียก่อน เพื่อให้ท่านทั้งหลายเข้าใจในปฐมเหตุว่า เป็นเพราะเหตุใด จึงได้เป็นมิตรและศัตรูกัน

    ตำนานที่ ๑
    ในกาลก่อนนั้น ตำนานได้กล่าวไว้ว่า ยังมีพระอาทิตย์ ๑ พระอินทร์ ๑ พญาครุฑพญานาค ๑ พญาราชสีห์ ๑ ได้พร้อมกันประชุมปรึกษาหาลือกันว่า เราจงมาแบ่งส่วนฟ้า ป่าหิมพานต์ ภูเขา และมหาสมุทรกันเถิด พระราชาทั้ง ๕ องค์นั้น ก็ชวนกันไปยังสำนักพระราหู จึงว่ากับพระราหู เพื่อชักชวนพระราหูให้ร่วมความคิดด้วยที่จะแบ่งส่วนนั้น พระราหูก็ว่า เรานี้มิได้อยู่ในน้ำและบนบก เป็นสาธกนิทานแต่บรรพกาลของตำนาน เรื่องเทพยดาเป็นศัตรูกันมีดังนี้แล ครั้นเมื่อพระราชาทั้ง ๕ องค์ องค์หนึ่งองค์ใดมาพบกันเข้าแล้ว จึงเกิดเป็นวาทะแห่งกันและกันแล.

    ต่อมาพระราชาทั้ง ๕ องค์ ก็ได้แบ่งเขตซึ่งกันและกันทั้ง ๓,๐๐๐ โยชน์ ส่วนพระอินทร์นั้น ก็ได้เขาพระสุเมรุราช พญาครุฑก็ได้เขาคีรีบรรพต พญานาคก็ได้มหาสมุทรทั้ง ๔ พญาราชสีห์ก็ได้ป่าหิมพานต์ พระอาทิตย์ก็ได้เบื้องบนอากาศ

    ครั้นอยู่มา พญาครุฑเห็นพญานาคก็ไล่ พญานาคก็ได้หนีไปถึงพระราหู พระราหูก็ว่าแก่พญาครุฑว่า ทำไมท่านมาไล่พญานาคดังนี้ แล้วพระราหูก็ไล่ครุฑ ครุฑหนีไปถึงพระอินทร์ ในเวลาที่ไล่ครุฑไปนั้น พระราหูเหนื่อยนักหนา จึงลงไปสู่แม่น้ำมหาสมุทรใหญ่ แล้วพระอาทิตย์ก็ว่าแก่พระราหูว่า ดูก่อนท่านพระราหู เราชวนท่านวันนั้น ท่านว่าท่านไม่ร่วมความคิดที่จะแบ่งส่วนที่อยู่อาศัยกับใคร นี่ท่านมากินน้ำใยหรือ เมื่อพระอินทราธิราชได้ยินพระอาทิตย์พูดกับพระราหูดังนั้น ก็โกรธแก่พระราหู จึงทรงจักรขว้างไปต้องกายพระราหูขาดออกกึ่งกรัชกาย

    เหตุมีมาดังนี้แล พระราหูกับพระอาทิตย์ มาถึงกันเมื่อใด ตัวจะเจ็บไข้แล อนึ่งจะได้รับความแค้นเคืองใจ จะพลัดพรากจากกันแล พระพฤหัสบดี ๕ พระอาทิตย์ ๑ ได้เป็นศัตรูกับพระราหูตั้งแต่วันนั้นมาแล

    ตำนานที่ ๒
    ปางเมื่อพระพฤหัส ๕ เป็นทิศาปาโมกข์ และพระอาทิตย์ ๑ เป็นศิษยานุศิษย์ จึงยกนางจันทร์ธิดาให้เป็นภริยาแก่พระอาทิตย์นั้น เมื่อพระอาทิตย์มีกิจไป ได้ฝากภริยานั้นไว้กับพระพฤหัส พระพฤหัสรำพึงว่า อันลูกสาวกูนี้ ประกอบไปด้วยรูปโฉมงดงาม เกลือกว่าจะมีอันตรายเกิดขึ้น ที่ยกให้พระอาทิตย์นั้นก็พ้นทุกข์ไปแล้ว บัดนี้พระอาทิตย์มาฝากไว้อีกเล่า จำกูจะต้องนิรมิตผอบใส่ไว้ให้พ้นอันตรายเถิด ครั้นนิรมิตเสร็จแล้ว ก็เอาผอบใส่นางไว้ พระอังคารรู้แยบคายเช่นนั้น ก็นิรมิตเป็นเพ็ชพระยาธร แอบเข้าไปในผอบ ลอบทำสังวาสด้วยนางจันทร์ตั้งแต่วันนั้น

    ในกาลนั้นพระพฤหัสก็รู้ว่าเพ็ชพระยาธรเข้าไปทำชู้ด้วยนางจันทร์ตั้งแต่วันนั้น แล้วพระพฤหัสก็แต่งพานหมากเป็น ๒ ที่ มาสู่พระอาทิตย์ผู้เป็นบุตรเขยเพื่อเมื่อกลับมาจะได้เสวย ฝ่ายพระอาทิตย์ก็ประหลาดใจ จึงถามพระพฤหัสว่าดังนี้
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <TABLE border=0 width="97%" align=center><TBODY><TR><TD>พระเสวยอายุ และ ธงสี <HR SIZE=1></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="97%" align=center><TBODY><TR><TD width="11%" align=middle>วันเกิด</TD><TD align=middle>อายุของเรา และ พระเสวยอายุ </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="97%" align=center><TBODY><TR bgColor=#cc3300 align=middle><TD class=style15 width="11%">อาทิตย์</TD><TD class=style11 width="11%">
    ๖​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๒๑​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๒๙​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๔๖​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๕๖​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๗๕​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๘๗​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๑๐๘​
    </TD></TR><TR align=middle><TD class=style11 width="11%">พระเสวยอายุ</TD><TD class=style11 width="11%">อาทิตย์ </TD><TD class=style11 width="11%">จันทร์ </TD><TD class=style11 width="11%">อังคาร</TD><TD class=style11 width="11%">พุธ</TD><TD class=style11 width="11%">เสาร์ </TD><TD class=style11 width="11%">พฤหัส</TD><TD class=style11 width="11%">ราหู </TD><TD class=style11 width="11%">ศุกร์ </TD></TR><TR align=middle><TD class=style11 width="11%">ใช้ธงสี</TD><TD class=style11 width="11%">แดง</TD><TD class=style11 width="11%">เหลือง</TD><TD class=style11 width="11%">ชมพู</TD><TD class=style11 width="11%">เขียว</TD><TD class=style11 width="11%">ม่วง</TD><TD class=style11 width="11%">ส้ม</TD><TD class=style11 width="11%">ดำ</TD><TD class=style11 width="11%">ฟ้า</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="97%" align=center><TBODY><TR bgColor=#ffff00 align=middle><TD class=style11 width="11%">จันทร์</TD><TD class=style11 width="11%">
    ๑๕​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๒๓​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๔๐​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๕๐​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๖๙​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๘๑​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๑๐๒​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๑๐๘​
    </TD></TR><TR align=middle><TD class=style11 width="11%">พระเสวยอายุ</TD><TD class=style11 width="11%">จันทร์ </TD><TD class=style11 width="11%">อังคาร</TD><TD class=style11 width="11%">พุธ</TD><TD class=style11 width="11%">เสาร์ </TD><TD class=style11 width="11%">พฤหัส</TD><TD class=style11 width="11%">ราหู </TD><TD class=style11 width="11%">ศุกร์ </TD><TD class=style11 width="11%">อาทิตย์ </TD></TR><TR align=middle><TD class=style11 width="11%">ใช้ธงสี</TD><TD class=style11 width="11%">เหลือง</TD><TD class=style11 width="11%">ชมพู</TD><TD class=style11 width="11%">เขียว</TD><TD class=style11 width="11%">ม่วง</TD><TD class=style11 width="11%">ส้ม</TD><TD class=style11 width="11%">ดำ</TD><TD class=style11 width="11%">ฟ้า</TD><TD class=style11 width="11%">แดง</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="97%" align=center><TBODY><TR bgColor=#ff80c0 align=middle><TD class=style11 width="11%">อังคาร</TD><TD class=style11 width="11%">
    ๘​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๒๕​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๓๕​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๕๔​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๖๖​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๘๗​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๙๓​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๑๐๘​
    </TD></TR><TR align=middle><TD class=style11 width="11%">พระเสวยอายุ</TD><TD class=style11 width="11%">อังคาร</TD><TD class=style11 width="11%">พุธ</TD><TD class=style11 width="11%">เสาร์ </TD><TD class=style11 width="11%">พฤหัส</TD><TD class=style11 width="11%">ราหู </TD><TD class=style11 width="11%">ศุกร์ </TD><TD class=style11 width="11%">อาทิตย์ </TD><TD class=style11 width="11%">จันทร์ </TD></TR><TR align=middle><TD class=style11 width="11%">ใช้ธงสี</TD><TD class=style11 width="11%">ชมพู</TD><TD class=style11 width="11%">เขียว</TD><TD class=style11 width="11%">ม่วง</TD><TD class=style11 width="11%">ส้ม</TD><TD class=style11 width="11%">ดำ</TD><TD class=style11 width="11%">ฟ้า</TD><TD class=style11 width="11%">แดง</TD><TD class=style11 width="11%">เหลือง</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="97%" align=center><TBODY><TR bgColor=#009900 align=middle><TD class=style11 width="11%">พุธ</TD><TD class=style11 width="11%">
    ๑๗​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๒๗​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๔๖​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๕๘​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๗๙​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๘๕​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๑๐๐​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๑๐๘​
    </TD></TR><TR align=middle><TD class=style11 width="11%">พระเสวยอายุ</TD><TD class=style11 width="11%">พุธ</TD><TD class=style11 width="11%">เสาร์ </TD><TD class=style11 width="11%">พฤหัส</TD><TD class=style11 width="11%">ราหู </TD><TD class=style11 width="11%">ศุกร์ </TD><TD class=style11 width="11%">อาทิตย์ </TD><TD class=style11 width="11%">จันทร์ </TD><TD class=style11 width="11%">อังคาร</TD></TR><TR align=middle><TD class=style11 width="11%">ใช้ธงสี</TD><TD class=style11 width="11%">เขียว</TD><TD class=style11 width="11%">ม่วง</TD><TD class=style11 width="11%">ส้ม</TD><TD class=style11 width="11%">ดำ</TD><TD class=style11 width="11%">ฟ้า</TD><TD class=style11 width="11%">แดง</TD><TD class=style11 width="11%">เหลือง</TD><TD class=style11 width="11%">ชมพู</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="97%" align=center><TBODY><TR bgColor=#990099 align=middle><TD class=style15 width="11%">เสาร์</TD><TD class=style11 width="11%">
    ๑๐​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๒๙​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๔๑​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๖๒​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๖๘​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๘๓​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๙๑​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๑๐๘​
    </TD></TR><TR align=middle><TD class=style11 width="11%">พระเสวยอายุ</TD><TD class=style11 width="11%">เสาร์ </TD><TD class=style11 width="11%">พฤหัส</TD><TD class=style11 width="11%">ราหู </TD><TD class=style11 width="11%">ศุกร์ </TD><TD class=style11 width="11%">อาทิตย์ </TD><TD class=style11 width="11%">จันทร์ </TD><TD class=style11 width="11%">อังคาร</TD><TD class=style11 width="11%">พุธ</TD></TR><TR align=middle><TD class=style11 width="11%">ใช้ธงสี</TD><TD class=style11 width="11%">ม่วง</TD><TD class=style11 width="11%">ส้ม</TD><TD class=style11 width="11%">ดำ</TD><TD class=style11 width="11%">ฟ้า</TD><TD class=style11 width="11%">แดง</TD><TD class=style11 width="11%">เหลือง</TD><TD class=style11 width="11%">ชมพู</TD><TD class=style11 width="11%">เขียว</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="97%" align=center><TBODY><TR bgColor=#ff8000 align=middle><TD class=style11 width="11%">พฤหัส</TD><TD class=style11 width="11%">
    ๑๙​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๓๑​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๕๒​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๕๘​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๗๓​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๘๑​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๙๘​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๑๐๘​
    </TD></TR><TR align=middle><TD class=style11 width="11%">พระเสวยอายุ</TD><TD class=style11 width="11%">พฤหัส</TD><TD class=style11 width="11%">ราหู </TD><TD class=style11 width="11%">ศุกร์ </TD><TD class=style11 width="11%">อาทิตย์ </TD><TD class=style11 width="11%">จันทร์ </TD><TD class=style11 width="11%">อังคาร</TD><TD class=style11 width="11%">พุธ</TD><TD class=style11 width="11%">เสาร์ </TD></TR><TR align=middle><TD class=style11 width="11%">ใช้ธงสี</TD><TD class=style11 width="11%">ส้ม</TD><TD class=style11 width="11%">ดำ</TD><TD class=style11 width="11%">ฟ้า</TD><TD class=style11 width="11%">แดง</TD><TD class=style11 width="11%">เหลือง</TD><TD class=style11 width="11%">ชมพู</TD><TD class=style11 width="11%">เขียว</TD><TD class=style11 width="11%">ม่วง</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="97%" align=center><TBODY><TR bgColor=#000000 align=middle><TD class="style11 style14" width="11%">ราหู</TD><TD class=style15 width="11%">
    ๑๒​
    </TD><TD class=style15 width="11%">
    ๓๓​
    </TD><TD class=style15 width="11%">
    ๓๙​
    </TD><TD class=style15 width="11%">
    ๕๔​
    </TD><TD class=style15 width="11%">
    ๖๒​
    </TD><TD class=style15 width="11%">
    ๗๙​
    </TD><TD class=style15 width="11%">
    ๘๙​
    </TD><TD class=style15 width="11%">
    ๑๐๘​
    </TD></TR><TR align=middle><TD class=style11 width="11%">พระเสวยอายุ</TD><TD class=style11 width="11%">ราหู </TD><TD class=style11 width="11%">ศุกร์ </TD><TD class=style11 width="11%">อาทิตย์ </TD><TD class=style11 width="11%">จันทร์ </TD><TD class=style11 width="11%">อังคาร</TD><TD class=style11 width="11%">พุธ</TD><TD class=style11 width="11%">เสาร์ </TD><TD class=style11 width="11%">พฤหัส</TD></TR><TR align=middle><TD class=style11 width="11%">ใช้ธงสี</TD><TD class=style11 width="11%">ดำ</TD><TD class=style11 width="11%">ฟ้า</TD><TD class=style11 width="11%">แดง</TD><TD class=style11 width="11%">เหลือง</TD><TD class=style11 width="11%">ชมพู</TD><TD class=style11 width="11%">เขียว</TD><TD class=style11 width="11%">ม่วง</TD><TD class=style11 width="11%">ส้ม</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="97%" align=center><TBODY><TR bgColor=#00ccff align=middle><TD class=style11 width="11%">ศุกร์</TD><TD class=style11 width="11%">
    ๒๑​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๒๗​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๔๒​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๕๐​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๖๗​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๗๗​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๙๖​
    </TD><TD class=style11 width="11%">
    ๑๐๘​
    </TD></TR><TR align=middle><TD class=style11 width="11%">พระเสวยอายุ</TD><TD class=style11 width="11%">ศุกร์ </TD><TD class=style11 width="11%">อาทิตย์ </TD><TD class=style11 width="11%">จันทร์ </TD><TD class=style11 width="11%">อังคาร</TD><TD class=style11 width="11%">พุธ</TD><TD class=style11 width="11%">เสาร์ </TD><TD class=style11 width="11%">พฤหัส</TD><TD class=style11 width="11%">ราหู </TD></TR><TR align=middle><TD class=style11 width="11%">ใช้ธงสี</TD><TD class=style11 width="11%">ฟ้า</TD><TD class=style11 width="11%">แดง</TD><TD class=style11 width="11%">เหลือง</TD><TD class=style11 width="11%">ชมพู</TD><TD class=style11 width="11%">เขียว</TD><TD class=style11 width="11%">ม่วง</TD><TD class=style11 width="11%">ส้ม</TD><TD class=style11 width="11%">ดำ</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="97%" align=center><TBODY><TR><TD><HR SIZE=1></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="97%" align=center><TBODY><TR><TD>* อุดร(เหนือ), อิสาน(ตะวันออกเฉียงเหนือ), บูรพา(ตะวันออก), อาคเณย์(ตะวันออกเฉียงใต้), ทักษิณ(ใต้), หรดี(ตะวันตกเฉียงใต้), ปัจจิม(ตะวันตก), พายัพ(ตะวันตกเฉียงเหนือ)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    วิธีนับ ว่าตัวเราตกพระเสวยอายุอะไร ใช้ธงสีอะไร


    <TABLE border=0 width=353 align=center><TBODY><TR><TD width=10>[​IMG]</TD><TD width=333><TABLE border=0 width="100%"><TBODY><TR vAlign=center align=middle><TD bgColor=#ff0000 height=111 width=111>

    พระเสวยอายุประจำวันอาทิตย์
    </TD><TD bgColor=#ffff00 height=111 width=111>
    ๑๕
    พระเสวยอายุประจำวันจันทร์ ​
    </TD><TD bgColor=#ff80c0 height=111 width=111>

    พระเสวยอายุประจำวันอังคาร ​
    </TD></TR><TR vAlign=center align=middle><TD bgColor=#00ccff>
    ๒๑
    พระเสวยอายุประจำวันศุกร์ ​
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD bgColor=#009900>
    ๑๗
    พระเสวยอายุประจำวันพุธ ​
    </TD></TR><TR vAlign=center align=middle><TD bgColor=#000000 height=111 width=111>
    ๑๒
    พระเสวยอายุประจำวันราหู ​
    </TD><TD bgColor=#ff8000 height=111 width=111>
    ๑๙
    พระเสวยอายุประจำวันพฤหัสบดี​
    </TD><TD bgColor=#990099 height=111 width=111>
    ๑๐
    พระเสวยอายุประจำวันเสาร์ ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=10>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    วิธีนับ การนับเพื่อทราบจำนวนธงและสีของธง คือนับจากวันเกิดของท่านเป็นหลัก (ตามเข็มนาฬิกา) และบวกตัวเลขที่เป็นกำลังของวันจนถึงอายุปัจจุบัน ตรงกับวันใดให้ใช้สีและธงตามจำนวนกำลังวันที่เสวยอายุ
    ตัวอย่าง เกิดวันอาทิตย์ อายุ ๔๐ ปี นับจากวันอาทิตย์ ๖ + จันทร์ ๑๕ + อังคาร ๘ + พุธ ๑๗ = ๔๖ เราตกพระเสวยอายุประจำวันพุธ ใช้ธงสีเขียว จำนวน ๑๗ อัน
    สีประจำวัน
    อาทิตย์ สีแดง
    จันทร์ สีเหลือง
    อังคาร สีชมพู
    พุธ สีเขียว
    พฤหัสบดี สีส้ม , สีแสด
    ศุกร์ สีฟ้า
    เสาร์ สีม่วง
    ราหู(หรือพุธกลางคืน) สีดำ

    เครื่องบูชา ตามกำลังพระเสวยอายุ
    ๑. ธงสี
    ๒. ข้าวตอก
    ๓. ดอกไม้
    ๔. ธูป และเทียน
    (นำเครื่องบูชาทั้งหมดใส่ไว้ในกระทง)
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <TABLE border=0 width="97%" align=center><TBODY><TR><TD>พิธีรับพระเสวยอายุ (พิธีสะเดาะเคราะห์) <HR SIZE=1></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="97%" align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top width=170>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>การสะเดาะเคราะห์ก็ดี การรับพระเสวยอายุก็ดี ทั้ง ๒ ประการนี้ถือว่าเป็นอันเดียวกัน แต่ว่าจะมีผลดีเป็นประการใดนั้นก็ไม่ขอยืนยัน ถ้าหากจะถามว่า ถ้าไม่ยืนยันแล้วเอามาทำกันทำไม เรื่องนี้ขอให้ฟังกันตอนหลังก็แล้วกัน ตอนต้นนี้ทราบแต่เพียงว่า ต้องการให้ทุกคนมีความสบายใจไว้ก่อน เรื่องความละเอียดที่มีเหตุมีผลเป็นประการใดฟังกันตอนหลัง

    ตอนนี้ก็ขอบอกกันในตอนต้นว่า ทุกคนที่จะมารับพระเสวยอายุก็ดี จะมาส่งพระเสวยอายุก็ดี รับหรือส่งน่ะ พระเสวยอายุเองก็ดี พระแทรกก็ดี ทุกคนไม่ต้องเตรียมดอกไม้ ธูป เทียน ไม่ต้องเตรียมเครื่องสักการะมา ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าการทำขึ้นก็เพื่อหวังจะให้ลูกให้หลานทุกคนไม่ต้องจ่ายสตางค์มาก เพราะว่าการไปกรุงเทพฯ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๒๘ มีลูกสาวคนหนึ่งมาบอกว่า
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <TABLE border=0 width="97%" align=center><TBODY><TR><TD>สำหรับพระสวด <HR SIZE=1></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="97%" align=center><TBODY><TR><TD>พระสวดนี่ใช้ ๒๑ องค์ ฉะนั้นคนที่มาน้อยๆ อย่ามานะ งานสะเดาะพระเคราะห์น้อยๆ นะอย่ามา เดี๋ยวจ่ายสตางค์มาก ถ้าหากว่ามากันคนละนิดคนละหน่อยจ่ายสตางค์มาก เพราะอะไร เพราะพระสวดกัน ๒๑ องค์ เราก็เกรงใจ จะไม่ถวายท่านก็เกรงใจ มันก็ไม่คู่ไม่ควร โดยมากคนไทยเราขี้เกรงใจ ไอ้ถวายน้อยก็หนักใจ ถวายมากก็ไม่ไหว ก็มากันซะหลายๆ คน

    พระสวด ๒๑ องค์ ท่านจะสวด ๕ บท ๕ บท ตามคำแนะนำของครูใหญ่
    บทที่ ๑ อิติปิ โส เจริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ คุณพระพุทธเจ้า

    พุทโธ อัปปมาโณ คุณพระพุทธเจ้าหาประมาณไม่ได้
    ธัมโม อัปปมาโณ คุณของพระธรรมหาประมาณไม่ได้
    สังโฆ อัปปมาโณ คุณพระสงฆ์หาประมาณไม่ได้

    เราฟังไปก็ซึ้งใจ นึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ บุญหรือความดีของท่านและความดีของเราสามารถจะทำเหตุร้ายให้ค่อยๆ สลายตัวไปได้

    บทที่ ๒ พาหุง บทนี้แสดงถึงพระพุทธเจ้าทรงชนะทุกอย่าง ประกาศความชนะของพระพุทธเจ้า เราตั้งใจฟังสดับในความเคารพในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระอริยสงฆ์ อธิษฐานขอให้ชนะศัตรูทุกอย่างตามที่พระพุทธเจ้าทรงชนะ

    บทที่ ๓ อุเทตยัญจักขุมา บทนี้พระพทุธเจ้า สมัยที่เป็นนกยูง ท่านสวดแล้วท่านไม่ติดบ่วง คืออันตรายภัยต่างๆ บ่วงภัยต่างๆ จะแคล้วคลาดกันเวลากลางวัน

    บทที่ ๔ อเปตยัญจักขุมา บทนี้จะแคล้วคลาดภัยในเวลากลางคืน

    บทที่ ๕ มหาการุณิโก แสดงถึง มหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้า บทนี้ตั้งใจคิด จะมี บทชยันโต ต่ออยู่ข้างใน

    ตอนนี้ทุกคนเมื่อเวลาพระเริ่มสวด ชยันโต ให้ตั้งใจรับ พระพุทธมนต์ เจ้าพิธีจะพรมน้ำมนต์แก่ทุกคน ถ้าคนมากจะเริ่มพรมน้ำมนต์ตั้งแต่ขึ้น มหาการุณิโก ถ้าคนน้อยจะพรมน้ำมนต์ตั้งแต่ ชยันโต เป็นอันว่าพิธีแค่นี้สำหรับคน

    ต่อไปเวลาที่จะเข้ามาทำพิธีสะเดาะเคราะห์หรือรับพระเสวยอายุ ให้ไปหาพระขอหมายเลข ท่านจะให้มาเป็นคนหมายเลขที่เท่าไร ส่วนของเงินถวายพระสวด เงินถวายพระสวดนี่ใครจะเต็มใจถวายเท่าไรก็ได้นะ ไม่ถวายพระก็ไม่ว่า ถวายเข้ามาก็ใส่ขันรวมกัน เพราะอาตมาจะหารถวายท่านเป็นสังฆทาน เป็นสังฆทานพิเศษสำหรับพระสวด แล้วก็เงินที่บูชาพระเคราะห์ทั้งหมดก็จะทำเป็นสังฆทาน วิหารทาน และธรรมทาน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <TABLE border=0 width="97%" align=center><TBODY><TR><TD>สำหรับเจ้าพิธี <HR SIZE=1></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="97%" align=center><TBODY><TR><TD>เจ้าพิธีต้องทำตามนี้ (ถ้าใครจะทำนะ) เมื่อทุกคนเข้าที่สงบ ทุกคนบูชาพระเคราะห์ตามกำลังวันแล้ว ตามใจนะจะรับทีเดียวหมดทั้ง ๑๐๘ องค์ ก็ได้ ใส่ตู้ไปตามกำลังของแต่ละองค์ ไม่จำเป็นต้องใช้เงิน เงินเหรียญจะหนักมาก มันจะแย่ ถ้าใช้วิธีรวม ๑๐๘ ให้ใส่ขัน ชันนี่พระจะตั้งไว้ ๑๐๘ สตางค์ ๑๐๘ สลึง ๑๐๘ อะไรก็ได้ไม่ได้ว่า ถ้าจะรับแต่ละองค์ตามพระแทรก และพระเสวยอายุก็ตามใจไม่ได้ว่าอะไร
    ถามว่า "องค์พระองค์ละเท่าไร ถ้าเสวยอายุ"

    ก็บอกว่า "ตามใจ ๑ สตางค์ ก็ได้ ๑ สลึงก็ได้" กำลังละ อย่างพระอาทิตย์ ๖ ก็ ๖ สตางค์ หรือ ๖ สลึง หรือ ๖ ของ ๒ สลึง ๖ ของ ๑ บาท ก็ว่ากันไปตามเรื่องตามราวตามกำลังไม่จำกัด
    พิธีตอนต้น

    เมื่อเริ่มเข้ามานั่ง พระเจ้าพิธีจะให้ศีล ตอนนี้ ให้ทุกคนรับศีลด้วยความเคารพ การทำนี่ต้องมีศรัทธานะ ถ้าไม่มีศรัทธาก็อย่ามาทำ หรือนักปราชญ์ที่ฉลาดมากจะหาว่าแนะนำถือว่าคนตื่นข่าวก็อย่าเสือกนะ ชาวบ้านน่ะเขาถือกันมานานแล้ว ที่ทำให้สบายใจ เราไม่ถือก็จงอย่าถือ อย่าเสือกเข้ามายุ่งกับเขา เพราะเขาต้องไปสะเดาะเคราะห์เสียกันเป็นพันเป็นหมื่น ไอ้นี่อุตส่าห์ทำให้เสียเล็กๆ น้อยๆ ไอ้ของแพงๆ ก็ไม่ให้เสียไม่ต้องไปซื้อจัดให้ ถ้านึกจะให้สตางค์หรือไม่ให้สตางค์ก็ไม่ว่า

    ฉะนั้น นักปราชญ์ที่เสือกก็จงอย่าพยายามเสือก จะไม่ยั้งตัวนะ ถือขืนพูดมากลิ้นจะเน่า นี่ไม่ได้แช่งนะ ไอ้ที่เขาว่าลิ้นเน่านะ เพราะพูดไม่ดี ชาวบ้านเขาเกลียด ก็เหมือนคนลิ้นเน่า เออ จะเน่าเสียจริงๆ ก็ตามใจ ไม่ได้ว่าอะไร ก็ดีจะได้ไม่ต้องพูดต่อไป นักปราชญ์เสือกๆ นี่มีมาก
    เมื่อเริ่มต้นพิธี เจ้าพิธีจะให้ทุกคนสมาทานศีล สมาทานศีล ๕ แล้วเจ้าพิธีจะเชิญเทวดา ตามพิธีกรรมที่เราทำกันเวลาสวดมนต์

    เมื่อเจ้าพิธีเชิญเทวดาเสร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท้าวมหาราช เชิญท้าวมหาราชก่อน เพราะท้าวมหาราชมีหน้าที่ปกป้องรักษามนุษย์โดยตรง ท้าวจาตุโลกบาลผู้รักษาโลก คนไม่เชื่ออย่าเสือกมายุ่งนะ นี่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าอย่างนั้น นี่ทำเฉพาะคนเชื่อนะ ถ้ามาถามจุกจิกๆ ได้ผลเป็นอย่างไร ระวังๆ ให้ดี ระวังให้ดี ไม่ได้เชิญให้เข้ามาเสือก นี่พูดกันตรงไปตรงมา เพราะคนเสือกนี่มีมาก ขี้เกียจพูดดีแล้ว พูดดีเท่าไรมันก็เสือกมากเท่านั้นละ พูดชั่วซะมั่งจะได้ไม่เสือก ถ้าขืนเสือกอีกจะแช่งซะดีไหม ไม่แช่งละ ให้มันเป็นของมันเอง ปากคอเน่า ลิ้นเน่า มันก็หมดเรื่องหมดราวให้มันเป็นเอง ไม่แช่งละ ทำให้คนสบายใจ
    เจ้าพิธีจะต้องถามท้าวมหาราช คนหมายเลขเท่าไรเป็นกรณีพิเศษอะไรบ้าง ถ้าท้าวมหาราชบอกว่าต้องทำอย่างไรก็บันทึกไว้ บางทีจะมีหลายๆ คน และก็สั่งให้บุคคลปฏิบัติตามนั้น เขาจะเชื่อเขาจะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติเป็นเรื่องของเขา เรามีหน้าที่บอกก็บอกไป

    ถ้าจะปล่อยสัตว์ ปล่อยสัตว์นี่อย่ามาปล่อยที่วัดนี้ ราคามันแพง ไอ้เจ้าพวกขายสัตว์ต่างๆ มันก็ดันขึ้นราคา ถ้าคนมากก็ขึ้นราคา อย่าไปซื้อมัน ไปหาที่อื่นถมเถไป ไม่จำเป็นต้องที่นี่ละ ถ้าราคาถูกๆ ก็ซื้อ ถ้าแพงไปบ้านเรา ไปถึงโน่นทำมัน ไม่จำเป็นต้องวัดนี้หรอก ปล่อยวัดอื่นก็ได้ ที่อื่นเขาขายถูกๆ ไปซื้อที่นั่น
    สัตว์ที่จะพึงถูกฆ่า ถ้าท่านสั่งปล่อยหรือทำอย่างไรก็ตามใจท่านท้าวมหาราช ท่านว่าอย่างไรก็ตามนั้น เจ้าพิธีห้ามเปลี่ยนแปลงคำสั่งของท้าวมหาราช และก็บุคคลใดจะมีผลเป็นประการใด ถ้าคนอื่นจะให้สวด ท่านจะให้สวดอะไร จะทำพิธีแบบไหน บอกเขา

    ่ต่อไปคนที่กรรมไม่หนัก ท่านจะบอกให้ทำเหมือนๆ กัน ทำอย่างไรก็ว่าตามท่าน แต่พิธีลอยเครื่องบูชานี่ไม่เป็นไร ทางวัดจะจัดให้ ไม่ต้องลอยเอง จะจัดกระทงใหญ่ จัดลอยรวมให้ มีอะไรบ้างที่จะพูด หลังจากนั้นท่านสั่งให้สวดอะไรก็สวด

    ถ้าหลังจากเชิญท่านท้าวมหาราชแล้ว ขอให้ตั้ง สัคเค ชุมนุมเทวดาทั่วไป ตอนนี้ขออาราธนาพระรัตนตรัยโดยตรง ท่านจะมีคำสั่งให้เจ้าพิธีใช้อะไรละ ใช้อะไรดี เรียกอะไรดีล่ะ ใช้ ทิพยจักขุญาณ และ ปัจจุปันนังสญาณ ถามพระท่านว่า คนไหนมีเคราะห์ที่มีความสำคัญจะแก้ด้วยวิธีไหน คือท้าวมหาราชท่านบอกมาแล้วก็ถามพระอีกที หรือจะแก้วิธีไหนทำอย่างไรถึงจะมีลาภสักการะดี

    ถามว่า "เคราะห์จะหมดไหม"

    ก็ขอตอบว่า หมดไม่ได้นะ อย่าไปเชื่อใครว่าเคราะห์หมด ถ้ายังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด เรายังต้องมีเคราะห์ แต่เคราะห์มันน้อยลงไป

    เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คนสวดมนต์ตามคำสั่งแล้วก็หลังจากนั้นก็เป็นการเลิกพิธีและพิธีกรรมจะเอาอย่างนี้ก็ได้ ให้ศีลเสร็จ ชุมนุมเทวดาเบื้องต้น เชิญท้าวมหาราช ถามท่านท้าวมหาราช ชุมนุมเทวดาใหญ่ ถามพระ หลังจากนั้นเมื่อท่านตอบเสร็จ บอกบทกรรมเสร็จ ท่านสั่งให้ทุกคนสวดอะไร หรือจะทำเวลาไหน ให้ฟังคำท่านนะ หลังจากนั้นให้ทุกคนฟังพระสวดพระปริตรตามที่ท่านสั่ง ด้วยความเคารพ หากว่าท่านสั่งให้สวดอะไรอีก เฉพาะพวกที่สะเดาะเคราะห์ก็สวดตามนั้น รับพระพุทธมนต์เสร็จเป็นอันเสร็จพิธี
    สำหรับน้ำพระพุทธมนต์นั้นต้องรับเวลาที่พระสวด มหาการุณิโก หรือตอน ชยันโต สุดแล้วแต่คนมากคนน้อย ก็พอจำกันได้นะ
    <TABLE border=0 width="100%"><TBODY><TR vAlign=center align=middle><TD>[​IMG]
    ๑. พระอาทิตย์ ทรงราชสีห์ </TD><TD>[​IMG]
    ๒. พระจันทร์ ทรงอาชาไนย
    </TD><TD>[​IMG]
    ๓. พระอังคาร ทรงมหิงสา </TD><TD>[​IMG]
    ๔. พระพุธ ทรงคชสาร
    </TD></TR><TR vAlign=center align=middle><TD>[​IMG]
    ๕. พระพฤหัสบดี ทรงมฤคราช
    </TD><TD>[​IMG]
    ๖. พระศุกร์ ทรงอุสุภราช
    </TD><TD>[​IMG]
    ๗. พระเสาร์ ทรงพยัคฆราช
    </TD><TD>[​IMG]
    ๘. พระราหู ทรงพญาครุฑ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ตอนนี้มาว่ากันถึงว่า การเชื่อถือว่ามันมีคุณ มีโทษ มีประโยชน์ ไม่มีประโยชน์
    อาตมาหรือว่าฉันเองนี่ เอาฉันก็แล้วกัน ถ้าเป็นเด็กๆ กว่านี่ ไอ้ฉันมันโตกว่า ใช้ฉันนะ อาตมาอาตเมอเดี๋ยวเด็กมันฟังไม่รู้เรื่อง เดี๋ยวจะนึกว่าเอ้าไปเอาม้าที่ไหนมา จะหาว่าพระเป็นม้าไป

    ฉันนี่เมื่อสมัยตอนเมื่อยังหนุ่ม ตอนนั้น ปรากฏว่ามีโยมท่านผู้น่าเคารพผู้หนึ่ง ท่านเมตตา ท่านเป็นหมอดูหลายแบบ ดูดวงชะตาก็ได้ เลขเจ็ดตัวก็ได้ มหาทักษาก็ได้ กร๊าฟก็ได้ ลายมือก็ได้ ท่านช่วยมาดูให้ทุกๆ ๑๕ วัน เฉพาะลายมือ

    มาตอนหนึ่งท่านมาบอกว่า "คุณ ตอนนี้ราหูเข้าเสวยอายุ เป็นตอนที่มีความสำคัญมาก จะมีโทษทางท้อง จะเป็นโรคเกี่ยวกับท้อง ให้รับพระราหูเสีย"

    อาตมาก็คนหนึ่งในตองอูเหมือนกัน ยอมพิสูจน์ บอก "โยม อาตมาถือว่าราหูมาก็ไม่ได้เชิญมา เมื่อไปก็ให้เชิญไปเอง ไม่ส่งละ ไม่รับไม่ส่ง เป็นอย่างไรก็เป็นไป"

    ท่านบอก "ไม่ได้นะคุณนะ ไอ้เจ้าเฉลิม(คือเจ้าเสือปืนคู่สมัยนั้นอยู่ฝั่งธนบุรี) มันต้องตายเพราะตำรวจ เพราะว่าชะตาแบบนี้ ราหูเสวยอายุแบบนี้ ถ้าคุณไม่ทำ ฆราวาสก็มีโทษ จะให้โทษให้เต็มอัตรา ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้าเป็นพระ โทษจะเหลือประมาณ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ คุณจะมีเรื่องหนักทางท้อง"
    ฉันก็เลยบอกว่า "เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน รอซะก่อน ถ้ามันมีโทษจริงจะเชื่อ"
    แน่ะ แกดูอย่างอื่นเชื่อมาหมด อีตอนนี้ไม่ค่อยจะเชื่อ คนไม่ค่อยเต็มบาทนี่ ถ้าไม่ ๘๐ สตางค์ก็ ๖ สลึง ไม่มีวันครบบาทหรอกฉันน่ะ

    อยู่ต่อมาไม่กี่วันไม่นานนัก ไม่เกิน ๑๐ วัน โยมก็มาเตือนอีกว่า "คุณ อีก ๑๕ ภายใน ๑๕ วัน นะเข้าจุดสำคัญแล้วนะ เส้นลายมือก็บอก มหาทักษาก็บอก ดวงก็บอก เลขเจ็ดตัวก็บอก คุณนิ่งไม่ได้"
    บอก "รอก่อนโยม ให้มันเจอะเองซะก่อน" ก็พอดีมียาขนานหนึ่ง พระเขาฉันมาดีทุกองค์ๆ ก็ไปฉันบ้าง เท่านั้นแหละ ท้องถ่าย ๓ ครั้ง เท่านั้นแหละ หมดสติเลย สิ้นเวลาไปประมาณ ๘ ชั่วโมง ฟื้นขึ้นมาง๊อกแง๊กโงเง
    ก็รวมความว่า คราวนี้เชื่อซิ เอาเข้าจริงๆ ตามวันเวลาที่โยมบอก โยมมาถามว่า "ไงคุณ ว่าไง?" บอก "เอาละ" เชื่อซิคราวนี้ เชื่อแน่ มันต้องเจอะกันจริงๆ แบบนี้ ดีไม่ดีเสือกตายไปซะเลยแน่ะ นี่พูดภาษาไทยนะ ผู้ดีเกินไปอย่าฟังนะ ไม่ได้พูดให้ผู้ดีฟังนะ พูดให้ลูกๆ หลานๆ ฟัง

    หลังจากนั้นตอนพระราหูออก โยมบอก "ส่งราหูเสีย ให้ไปรับพระศุกร์" โยมก็ดี ไอ้การส่งการรับนี่โยมทำหมด สตางค์หนึ่งก็ไม่ได้เสีย โยมทำให้เรียบร้อยทุกอย่าง พอโยมทำแล้วโยมก็บอกว่า "อีตอนพระศุกร์เสวยอายุนี่คุณ มีลาภหนัก เงินจะมา เงินจะทรงตัว" สมัยนั้นหากินไม่ค่อยพอกิน เป็นนักเทศน์ แต่ได้มาก็เลี้ยงพระเลี้ยงลูกศิษย์หมด ไอ้พระไอ้ลูกศิษย์นี่ก็ดีเหมือนกัน เพราะว่าคนชะตาอาตมานี่ ท่านบอกว่า "เกิดมาทำคุณกับใครนี่เหมือนไฟตกน้ำ" ตามชะตานะ โยมบอกอย่างนั้น บอก "คุณทำคุณกับใครอย่าหวังผลตอบแทนนะ มันไม่รู้คุณนะไอ้คนพวกนั้นนะ"

    แต่เวลานี้ดี ลูกหลานทรงธรรม ตอนนี้ไม่ใช่อาตมามีคุณกับลูกหลาน ลูกหลานมีคุณนะ เอาอย่างฉันดีกว่า เพราะอะไร ลูกหลานเลี้ยงเวลานี้ แต่ไอ้คนที่เลี้ยงไว้เองมันไม่ได้โผล่หน้ามาให้เห็นเลย เยอะแยะไอ้พวกนี้ ไม่ใช่คนอกตัญญูไม่รู้คุณคน คือเป็นคนลืมคน ลืมข้าวแดงแกงร้อน นี่ไม่ใช่ประณามนะ พูดให้ฟัง อย่าสะเทือนใจ เราถือว่าเราให้เป็นการให้ทาน

    หลังจากนั้นรับพระศุกร์ส่งราหู รับพระศุกร์เสร็จต่อมาประมาณไม่เท่าไร เดือนไม่ถึงละมั๊ง เดินมาส่งเพื่อนที่ท่าเตียน กลับ เวลานั้นอยู่วัดประยุรวงศ์ฯ เจอเจ๊กขายขวดนั่งยิ้มแต้ แกนั่งอยู่บนลังขวด ไอ้หาบขวดที่แกขาย เห็นหน้าแกก็ยิ้ม

    ถาม "เถ้าแก่ ยิ้มทำไม" "ท่านวันนี้ไม่นับ วันพรุ่งนี้ มะรืน มะเรื่อง ภายใน ๓ วัน ท่านจะได้เงินเป็นหมื่น" เราก็นึก เอาละ เจอะ พิเภกเจ๊ก เข้าอีกแล้ว เจอะเหมือนกับ ร. ๑ กับพระเจ้าตากสิน เจ๊กเห็นหน้าบิณฑบาตมาด้วยกัน เจ๊กยิ้ม ถาม "ทำไม" บอก "เอ้า ท่านทั้งสององค์จะได้เป็นพระราชา เป็นพระเจ้าแผ่นดิน" ท่านทั้ง ๒ องค์ ก็เลยนึกว่าเจ๊กบ้า เพราะอะไร อายุไล่เลี่ยกัน พระเจ้าตากสิน กับ ร. ๑ แล้วบวชพระด้วยกัน ถ้าเป็นพระเจ้าแผ่นดินก็ต้องเป็นพร้อมกัน พระเจ้าแผ่นดินเป็น ๒ องค์ได้เมื่อไร ถ้าเป็นได้ ๒ องค์ ก็ต้องอยู่คนละประเทศ นี่เจ๊กคนนั้นก็พยากรณ์ตามนั้นก็นึกว่า เอ้า ว่าอย่างไรก็ว่าไป

    ถาม "เถ้าแก่ จะได้อย่างไร ฉันเทศน์กัณฑ์ละ ๑๐๐ ๒๐๐ บาท ยังแย่เลย จะเอาเงินหมื่นเงินแสนมาจากไหน คนอย่างฉันไม่มี" เขาบอก "ได้แน่ วันที่ ๔ จากวันที่ผมพยากรณ์ ผมจะไป ถ้าหากว่าไม่มีจริงๆ จะต่อว่า จะลงโทษอย่างไรก็ได้" พอกลับมาถึงวัด ตอนนั้นมันท้ายสงครามโลกครั้งที่ ๒ สบู่หายาก โซดาไฟหายาก มีเพื่อนคนหนึ่ง เอาโซดาไฟใส่รถโกดังมาเลย เวลานั้นพระหนีระเบิด มาฝากไว้เต็มกุฏิหมด
    ถาม "มีที่กว้างไหม บ้านผมมันแคบ"

    ถามว่า "มาจากไหน"
    บอก "ไม่รู้ละ ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ ไม่ต้องกลัวตำรวจจับ ฝากไว้ตีราคาไว้เลย ถ้าใครเขาจะซื้อบอกเขาด้วยครับว่าราคาถังละเท่านี้" ก็จำไว้

    ปรากฏว่ารุ่งขึ้นอีกวัน มีโทรศัพท์มาถามว่า "รู้จักใครมีโซดาไฟไหม เขามีที่ขาย"
    บอกว่า "ที่กุฏิมี เพื่อนฝากไว้" ไอ้คนที่โทรมาก็เพื่อนเหมือนกัน บอกว่าไอ้เพื่อนคนนั้นมันฝากไว้ "มาดูได้ว่าแท้หรือไม่แท้" ก็ไม่รู้ไม่ได้เปิดดูของมัน ก็เลยบอก "ต้องการพบเจ้าของ" เลยโทรศัพท์ไปบอกเจ้าของ ทั้งสองฝ่ายมาเจอะกันเข้า สมมุติเอานะว่าเจ้าของจะขาย กระป๋องละ ๑,๐๐๐ บาท ไอ้เพื่อนคนที่ซื้อบอกว่า "จะซื้อ ๑,๔๐๐ บาท"

    ถามว่า "ทำไมเป็นอย่างนั้น" ฉันก็นั่งฟังว่าไอ้สองคนนั่นใครมันบ้ากันแน่
    บอก "ก็เอาพันเดียว"
    ไอ้นั่นบอก "กูเอาพันเดียว"
    ไอ้นั่นบอก "กูจะซื้อ ๑,๔๐๐" สมมุติเอา ก็เป็นอันว่าตกลง ก็เลยถามว่า "แกทำไมซื้อแพงล่ะ"
    บอก "ผมจะไปขาย ๑,๘๐๐ ครับ เขาบอกผมมาอย่างนั้น เขาว่ากระป๋องละ ๑,๘๐๐ ยี่ห้อแบบนี้นะ ลักษณะแบบนี้" ก็เลยตกลงกัน เขาวางเงินกันเสร็จ ไอ้เงินส่วนที่เหลือ ไอ้เพื่อนก็บอกว่า "เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน กูได้ ๑,๐๐๐ บาท กูได้กำไรแล้ว" ไอ้นั่นบอก "กูซื้อไป ๑,๔๐๐ นี่กูก็ได้กำไรแล้ว เงิน ๔๐๐ บาท ที่เกินนี่ถวายพระไป"

    โอโฮ้ ได้ตังค์ตั้ง ๓๐,๐๐๐ กว่า
    รุ่งขึ้นวันที่ ๔ เจ๊กมาซิ
    ถาม "ได้ไหม?"
    บอก "ได้ ขอแบ่งให้หมื่นหนึ่ง"
    แก่บอก "ไม่เอาสตางค์หรอก ผมต้องการพิสูจน์ความรู้ของผม" ก็เลยเลี้ยงก๋วยเตี๋ยวไปชาม แกกินชามเดียว
    ถามว่า "ทำไมถึงไม่ต้องการ"
    บอกว่า "ผมต้องการพิสูจน์ตำราของผม ตำราดูหน้าคน ถ้าตำรานี้ถูก อีก ๓ ปี ผมรวยมากกว่านี้เยอะ"
    รวมความว่าเจ๊กก็ไม่เอา เงินที่เหลือเพื่อนก็ไม่เอา ทำไงล่ะ ตาอยู่ก็ได้ ตาอยู่ก็ใคร คืออาตมา ก็ฉันอยู่ ฉันอยู่ที่กุฏินั่น ไอ้เพื่อนมาทิ้งไว้ที่นั่น เราก็ได้ เขาบอกให้ไว้เลย

    นี่แหละผลมันเป็นอย่างนี้นะ หลายคนที่เขาบอกว่ามีผล แต่ว่าคนที่มาทำนี่จะมีผลหรือไม่มีผลก็ตามใจ ไม่ได้ว่าอะไรนะ แต่ว่าอย่าลืมนะไม่ได้ประกาศให้ใครมา ..
    [​IMG]

    พิธีรับพระเสวยอายุ (พิธีสะเดาะเคราะห์) โดย พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. chanin

    chanin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2005
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,332
    ขอบคุณมากครับ ที่นำเสนอ
    เนื้อเรื่องยาวแต่มีประโยขน์ต่อทุกคนที่เกิดในวันนั้นๆ
     
  8. benjaminben

    benjaminben Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2009
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +31
    กระทู้นี้Work มาก เป็นประโยชน์มากหลาย ควรเก็บไว้นานๆ เป็นวิทยาทานต่อไปนานๆ นะ
     
  9. pbsut

    pbsut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2009
    โพสต์:
    451
    ค่าพลัง:
    +436
    ขอบคุณมากนะ ที่ มาช่วยบอกกล่าวนะครับ อนุโมทนาด้วยนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...