หลุมดำแห่งการรู้แจ้ง " อุปกิเลส 10 ของวิปัสสนา "

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 10 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    วิปัสสนูปกิเลสหรืออุปกิเลส ๑๐ แห่งวิปัสสนา หมายถึง สิ่งที่ทําให้ใจขุ่นมัวหรือหลง จึงทําให้รับธรรมได้ยาก ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติวิปัสสนา กล่าวโดยย่อก็คือ กิเลสที่เกิดขึ้นมาจากการปฏิบัติวิปัสสนานั่นเอง จึงหมายรวมถึงสมาธิและฌานอันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติวิปัสสนาด้วย เป็นกิเลสชนิดที่ทําให้ติดได้อย่างเหนียวแน่นและยาวนานและให้โทษรุนแรงได้


    ที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงญาณหรือความเข้าใจยังไม่พร้อมบริบูรณ์ จึงไปติดอยู่ในผลของสมาธิหรือฌานอย่างผิดๆคือติดเพลิน หรือมิจฉาญาณด้วยความเข้าใจยังไม่ถูกต้องหรืออวิชชาเป็นเหตุนั่นเอง และถ้าไม่รู้ระลึกเลยโดยไม่แก้ไขแล้วก็จักติดอยู่ที่นี่ทําให้ไม่สามารถเข้าไปถึงปัญญาชอบ(สัมมาญาณ)อย่างแท้จริงได้ เมื่อไม่แก้ไขจึงส่งผลร้ายตามมา คือ ก่อให้เกิดผลร้ายทั้งทางจิต เช่น หดหู่ วิกลจริต วิปลาส และทางกาย เช่น เจ็บปวด, เจ็บป่วยต่างๆ ตามมาได้อย่างคาดคิดไม่ถึง(อ่านรายละเอียดของอาการต่างๆได้ใน ติดสุข) และเมื่อเกิดผลร้ายขึ้นก็ยังไม่รู้ตัวอีกเสียด้วยว่า เป็นเพราะปฏิบัติผิดด้วยอวิชชา



    แต่พึงระลึกว่าเกิดแต่การปฏิบัติผิด อย่างไม่ถูกต้อง,ไม่แก้ไขนั่นเอง ไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะการปฏิบัติพระกรรมฐานโดยตรง จึงไม่ใช่เรื่องที่จะไปโทษหรือไปกลัวในการปฏิบัติธรรมหรือพระกรรมฐานแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะอวิชชาจึงไปติดเพลิน,เพลิดเพลินเสียแต่ในผลคือความสุข,สงบ,สบายต่างๆที่เกิดขึ้นจากฌาน,สมาธิ จึงยังให้เกิดวิปัสนูปกิเลสเหล่านี้ขึ้นนั่นเอง กล่าวคือก่อให้เกิดอาการต่างๆที่เรียกกันทั่วไปว่า ติดสุข ติดนิมิตหรือติดโอภาส ติดปีติ ติดสงบ ติดสบาย ติดผู้รู้ ติดแช่นิ่งอยู่ภายในหรือจิตส่งในโดยไม่รู้ตัว ฯ. ขึ้นนั่นเอง



    ถ้ากล่าวกันอย่างเน้นชัดแล้วก็กล่าวได้ว่า วิปัสสนูปกิเลส มักเกิดจากการปฏิบัติพระกรรมฐานหรือก็คือการปฏิบัติสมถวิปัสสนานั่นเอง แต่ไปหลงเน้นปฏิบัติแต่ฝ่ายสมถะหรือสมาธิจนเสียการ โดยขาดการวิปัสสนาเท่าที่ควรเสียนั่นเอง จึงเกิดการไปติดเพลินในผลของสมถะที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ ทั้งไม่รู้ตัวด้วยอวิชชานั่นเอง และเพราะขาดการวิปัสสนาย่อมขาดนิพพิทาอีกด้วย จึงขาดการปล่อยวาง จึงมีแต่ความฮึกเหิม จิตแกร่งจนกำเริบเป็นอวดเก่ง ฯ.


    ดังนั้นนักปฏิบัติที่นั่งแต่สมาธิประจำหรือเสมอๆโดยเฉพาะผู้ที่เข้าได้ถึงความสุข,สงบ,สบายได้บ้างแล้ว แต่ขาดการวิปัสสนาพิจารณาในธรรมหรือโยนิโสมนสิการอย่างจริงจังก็เป็นกันมากทุกราย มากน้อยต่างกันไปเท่านั้นเอง และเป็นไปโดยไม่รู้ตัว ต้องพิจารณาสำรวจตัวเองโดยแยบคายจริงๆ ถ้าไม่แยบคายแล้วถึงพิจารณาอย่างไรก็ไม่เกิดปัญญาเข้าใจขึ้นได้ จนถึงขั้นเสียผู้เสียคน ดังที่หลวงปู่เทส เทสก์รังสีได้กล่าวไว้ก็มี


    "เจ้าวิปัสสนูปกิเลสนี้ มีอิทธิและอํานาจ จะทําให้เกิดความน้อมใจเชื่อ(webmaster - อธิโมกข์)อย่างรุนแรงโดยไม่รู้เท่าทันว่าเป็นการสําคัญผิด ซึ่งเป็นการสําคัญผิดอย่างสนิทสนมแนบเนียน และเกิดความภูมิใจในตนเองอยู่เงียบๆ บางคนถึงสําคัญตนว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งด้วยซํ้า บางรายสําคัญผิดอย่างมีจิตกําเริบยโสโอหัง หรือถึงขนาดที่เรียกกันว่าเป็นบ้าวิกลจริตก็มี " (จาก อตุโล ไม่มีใดเทียม หน้า๑๑๙ )



    "อุปกิเลส ๑๐ นี้มิใช่จะเป็นโทษแก่วิปัสสนาเท่านั้น ยังสามารถทำให้เกิดวิปลาสต่างๆ จนต้องเสียผู้เสียคนไปก็ได้ เรื่องทั้งนี้เคยมีมาแล้วในอดีต หากอาจารย์ผู้สอนไม่เข้าใจมุ่งส่งเสริมศิษย์ให้ยึดเอาเป็นของจริงแล้ว ก็จะทำให้ศิษย์เสียจนแก้ไม่ตก........" (จาก โมกขุบายวิธี โดย หลวงปู่เทส เทสก์รังสี)



    "อาจารย์ผู้สอนก็ดี ลูกศิษย์ผู้เจริญภาวนาก็ดี เมื่อเข้าใจวิถีจิตที่เข้าเป็นฌานแล้ว จงระวังอุปกิเลส ๑๐ จะเกิดขึ้น ถ้าจิตเข้าถึงฌานแล้ว อุปกิเลสไม่ทั้งหมด ก็อย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องเกิดขึ้น........." (จาก โมกขุบายวิธี โดย หลวงปู่เทส เทสก์รังสี)
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    วิปัสสนูปกิเลส<SCRIPT language=javascript>//---- Choice of variables ----glow_color="blue"glow_min=2glow_max=5glow_speed=300function f_glow(){glow_size+=glow_constif (glow_size>glow_max || glow_size<glow_min) glow_const*=(-1)document.all.glow_text.style.filter="glow(color="+glow_color+", strength="+glow_size+")"}if(document.all){glow_const=1;glow_size=glow_min;document.all.glow_text.style.width="100%";setInterval("f_glow()",glow_speed)} </SCRIPT>



    วิปัสสนูปกิเลส หรือ อุปกิเลส ๑๐ นี้ ดูจากหัวข้อทั้ง ๑๐ แล้ว ดูอย่างไม่พิจารณา ดูแต่ตามสภาพ ดูแต่ชื่อ ดูแล้วน่าชื่นชมน่ายินดี ชื่อเหมือนข้อธรรมสําคัญๆทางพระพุทธศาสนา แต่กลับหมายถึงการปฏิบัติแบบผิดๆที่เป็นโทษ ความหมายจึงตรงข้ามกับข้อธรรมนั้นๆ เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งการปฏิบัติสมถวิปัสสนา ซึ่งเกิดแก่ผู้ได้สมถวิปัสสนาอ่อนๆ แล้วเกิดความหลงผิด,เข้าใจผิดคิดว่า ตนประสพความสําเร็จ หรือบรรลุมรรคผลขั้นใดขั้นหนึ่งแล้ว อันมักเกิดขึ้นจากผลของการปฏิบัติสมถสมาธิหรือฌานอย่างผิดๆเป็นเหตุปัจจัย คือเน้นปฏิบัติแต่สมาธิหรือฌานแต่ขาดการวิปัสสนาให้เกิดปัญญา


    จึงพาให้เกิดการทะนงตน(มานะ)และหลงผิด หลงยึดด้วยทิฏฐุปาทานหรือสีลัพพตุปาทานโดยไม่รู้ตัว และบังเกิดผลร้ายบางประการ ทั้งต่อกายและจิตและบุคคลรอบข้างอย่างรุนแรง และทำให้ไม่สามารถดําเนินก้าวหน้าต่อไปใน "วิปัสสนาญาณ" อันถูกต้องดีงามได้



    อุปกิเลส๑๐แห่งวิปัสสนา อันมี ๑๐ มีดั่งนี้
    ๑. โอภาส- แสงหรือภาพ เห็นแสงสว่างสุกใสหรือนิมิต เห็นแสงต่างๆ ภาพต่างๆ เห็นแสงสว่างรอบๆสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น พระพุทธรูปที่เป็นกสิณ หรือเห็นเจิดจ้าสว่างไสวไปทั่ว หรือแสงออกจากร่างกายตน, รูปนิมิตต่างๆ แล้วไปน้อมเชื่อด้วยอธิโมกข์อย่างเป็นจริงเป็นจัง สิ่งเหล่านี้ความจริงแล้วต้องเกิดขึ้นอันเป็นปกติตามธรรมชาติของจิตเมื่อเป็นฌานสมาธิ เกิดจากภวังค์ ยิ่ง


    โดยเฉพาะในระยะแรกๆ แต่ทําให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจผิดไปน้อมเชื่อ น้อมคิดปรุงแต่งไปว่า เป็น บุญ อิทธิปาฏิหาริย์ อันตื่นตา ตื่นใจ ไม่เคยประสบมาก่อน เลยไปยึดมั่นหมายมั่นพึงพอใจหรือน้อมเชื่ออย่างรุนแรงด้วยความไม่รู้ตามความเป็นจริงในโอภาสหรือนิมิตต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นด้วยอวิชชา จึงทําให้ติดเพลิน(นันทิ-อันคือตัณหา)อยู่ในวังวนของความตื่นตาตื่นใจ เมื่อเกิดนันทิอันคือตัณหา ย่อมเกิดอุปาทาน ภพ(รูปภพ) ชาติ
    คือการเกิดขึ้นของกองทุกข์ตามมาโดยไม่รู้ตัว และเกิดความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆไปทางฤทธิ์ ทางเดช ทางบุญ ทางกุศลโดยไม่รู้ตัว ทำให้เกิดอาการที่เรียกกันทั่วๆไปว่า ติดนิมิต กล่าวคือเกิดการไปน้อมดู,น้อมทำ,น้อมเชื่อในนิมิตในภาพเหล่านั้นอย่างงมงายในที่สุด



    ๒. ปีติ - ความอิ่มใจ ความอิ่มเอิบ ซาบซ่าน อันเกิดขึ้นทั้งต่อกายและใจอันได้จากการปฏิบัติสมถะหรือสมาธิ ปีติมีอยู่ ๕ แบบซึ่งก่อให้เกิดความอัศจรรย์ ความสุข ความสบาย ความพิศวง พึงพอใจ หรือลุ่มหลง แปลกใจ ทําให้หลงใหลอยู่ในเวทนาและสังขารขันธ์นี้ว่าเป็นของดีของวิเศษ โดยลืมตัวเพราะอวิชชาความไม่รู้ว่าเป็นธรรมชาติธรรมดาๆ


    อันพึงเกิดแก่ผู้ปฏิบัติถูกต้องทั่วๆไปเป็นธรรมดา จึงเกิดการติดเพลิน ไปยึดไปอยากด้วยอธิโมกข์, จริงๆแล้วองค์ฌานต่างๆอันมี วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกคตา อุเบกขา ล้วนเป็นเพียงแค่ทางผ่านของฌานสมาธิ อันบังเกิดแก่ทุกผู้นาม ทุกเผ่าพันธ์ ทุกชาติ ทุกศาสนา อันมีมาแต่ก่อนพุทธกาลเสียอีก (ดู ติดปีติ,สุข ในฌาน) ทำให้เกิดอาการที่เรียกกันว่า ติดปีติ กล่าวคือ มีอาการจิตส่งไปภายในตนไปคอยจ้องเสพความอิ่มเอิบต่างๆเสมอๆโดยไม่รู้ตัว



    ๓. ญาณ - ความรู้หรือปัญญา แต่ญาณในวิปัสสนูปกิเลสหมายถึงเป็นมิจฉาญาณนั่นเอง เป็นเพียงความรู้สึกว่าตนเองมีภูมิรู้ภูมิธรรมหรือความรู้ความเข้าใจสิ่งต่างๆหรือธรรมต่างๆดีแล้ว ถูกต้องถ่องแท้แล้ว หรือเกิดแต่นามนิมิต(ความคิดหรือความรู้ที่ผุดแสดงขึ้นในใจ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นสำคัญ มิได้เกิดแต่ปัญญาหรือเป็นไปตามหลักเหตุผล) เสียงนิมิต(เสียงที่ผุดขึ้นได้ยินแต่นักปฏิบัติ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นสำคัญ) แต่เกิดแต่ความเข้าไม่ถูกต้องหรือมิจฉาญาณ แล้วน้อมเชื่อด้วยอธิโมกข์


    ดังนั้นเมื่อคิดว่ามีความรู้ความเจ้าใจจากมิจฉาญาณดังกล่าว จึงทำให้เข้าใจผิด หรือหยุดการพิจารณาด้วยปัญญาเสียกลางคัน ก่อนที่จะไปถึงจุดหมายด้วยคิดว่าเข้าใจดีถูกต้องแล้ว หรือคิดว่าได้มรรคผลใดแล้ว จึงทําให้เกิดทิฏฐิ ไม่รับฟังความคิดความเห็นจากผู้รู้หรือผู้อื่นที่แนะนําข้อผิดพลาดได้ เพราะหลงคิดและเข้าใจไปว่าตนเองเข้าใจถูกต้องแล้วอย่างแรงกล้าด้วยอธิโมกข์, เมื่อผู้ใดพูดก็โกรธหรือไม่รับฟังไปพิจารณา ทําให้การเจริญวิปัสสนาในธรรมต้องสะดุดหยุดชงักไปโดยไม่รู้ตัว


    และเพราะญาณความเข้าใจนั้นไม่ถูกต้อง อันยิ่งทำให้การปฏิบัติผิดไปจากแนวทางและจุดมุ่งหมายอันคือนิโรธ อันมักเกิดขึ้นเป็นประจําในการปฏิบัติ, หรือไปยึดติดแต่ปัญญาความรู้ความเข้าใจ(ญาณ)ที่เกิดขึ้นจนขาดการปฏิบัติ, หรือเมื่อญาณความเข้าใจนั้นไม่ถูกต้องและไปยึดปฏิบัติตามเข้าจึงเกิดการออกนอกลู่นอกทางเป็นโทษโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา (อ่านประกอบการพิจารณา ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น) ทำให้เกิดอาการติดผู้รู้ หรือมิจฉาญาณ



    ๔. ปัสสัทธิ - ความสงบกายและจิต จึงเกิดอาการที่เรียกกันว่าติดสงบ มีความรู้สึกสงบกาย สงบใจ จากการผ่อนคลายกายใจ จึงไม่ทุกข์ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กระวนกระวาย จึงไปติดอยู่ในความสบายเหล่านั้น ทําให้หยุดการปฏิบัติด้วยคิดว่า สงบกาย สงบใจดีแล้ว พอใจแล้ว พอพ้นทุกข์แล้ว หรือมีปัญญาแค่นี้ ทําให้ตัดทอนโอกาสอันดีงามในการก้าวต่อไปข้างหน้า เกิดการหยุดชงักงัน ไม่ภาวนาให้เจริญต่อไป และเกิดการติดเพลินจมแช่อยู่ในความสงบ ซึ่งในบางครั้งเกิดจากการจดจ้อง จดจ่อ หรือหมกมุ่นความสงบในกายในจิตของตนเองหรืออาการจิตส่งในนั่นเอง


    จนไม่สังเกตุรู้สภาวะรอบข้างใดๆอย่างมีสติเท่าที่ควร และทำให้ธาตุขันธ์แปรปรวน เป็นผลของฌานสมาธิอันไม่เที่ยง ซึ่งมีการแปรปรวนเป็นธรรมดา เกิดการครอบงําโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา ที่คิดว่าดีแล้ว ถูกแล้วจนขาดการพิจารณา อาการนี้มักเป็นมากในผู้ที่ปฏิบัติไปในทางมิจฉาสมาธิต่างๆ เช่น นั่งเอาู่แต่ในความสงบ หรือสวดมนต์หรือบริกรรมซ้ำซ้อนยาวนานแต่อย่างเดียว แต่ขาดการเจริญปัญญา เมื่อถูกกระทบจนความสงบหวั่นไหว ก็มักมีโทสะหรืออ่อนเปลี้ย



    ๕. สุข- ความสบายกายสบายจิต ทำให้เกิดอาการที่เรียกกันว่า ติดสุข เพราะมีความรู้สึกเป็นสุข ความสบาย ทั้งทางใจและทางกาย สบายกาย สบายใจล้วนแต่เป็นผลจากสมถะอันยังให้เกิดสารคัดหลั่ง จึงทำเกิดการติดเพลิน(นันทิ-ตัณหา)ไปยึดในความพึงพอใจในผลของสุข อันเกิดแต่ฌานและสมาธินี้ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวเพราะความไม่รู้ จึงทําให้ก่อเกิดโทษต่างๆตามมา อันเป็นผลเสียทั้งต่อกายและต่อจิตอย่างรุนแรง ทําให้การปฏิบัติธรรมต้องหยุดชงักงัน เพราะหลงติดด้วยจิตส่งในไปเพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจ (ติดปิติ,สุข,อุเบกขา ในฌาน)
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    ๖. อธิโมกข์ - ความน้อมใจเชื่อ เป็นศรัทธาจึงน้อมใจไปเชื่อแต่ไม่ประกอบด้วยปัญญา กล่าวคือขาดเหตุผลหรืองมงาย ไม่มีที่มาที่ไป หรือไม่มีเหตุมีผลนั่นเอง เนื่องจากประสบผลสําเร็จบางส่วนในการปฏิบัติ ทำให้เกิดผลบางสิ่งขึ้น จึงทําให้เกิดซาบซึ้ง เลื่อมใส ศรัทธาอย่างแรงกล้า จิตสว่างเจิดจ้าหมดความเศร้าหมองจึงเกิดการหมายยึดเป็นที่พึ่งทางใจโดยไม่รู้ตัวแต่เป็นไปแบบงมงาย กล่าวคืออย่างขาดเหตุผล ดังเช่น หมายยึดอย่างผิดๆใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และครูบาอาจารย์ เจ้าลัทธิ ตลอดจนน้อมเชื่อในนิมิตต่างๆ อย่างแรงกล้า แต่เป็นไปอย่างผิดๆคืออย่างงมงายขาดปัญญา เกิดแต่ความเชื่อมิได้เกิดแต่ความเข้าใจ

    เช่น อยากสร้างโบสถ์วิหารใหญ่เกินตัวเพื่อทดแทนพระคุณ อยากสอน, อยากให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติบ้างเหมือนตน อยากทําบุญทําทานต่างๆเกินฐานะ ทําบุญสะเดาะเคราะห์กรรมต่างๆ น้อมเชื่อในน
    นิมิตที่เห็นอย่างแน่นแฟ้น น้อมเชื่อปฏิบัติตามคำสอนแต่อย่างงมงายคือน้อมเชื่อโดยขาดการพิจารณาและความเข้าใจ เช่นน้อมเชื่อในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ อย่างขาดปัญญา คือเชื่ออย่างเดียวว่าถูกโดยขาดการพิจารณาด้วยปัญญา ซึ่งล้วนแต่เป็นไปในลักษณะของทั้งทิฏฐุปาทานและสีลัพพตุปาทานคืออุปาทานชนิดยึดมั่นในกิเลสเพื่อความพึงพอใจในความคิดความเชื่อของตน แบบผิดๆหรืออย่างงมงาย ขาดปัญญาในการไตร่ตรองว่าถูกหรือผิด, ศรัทธาที่ถูกนั้นเป็นสิ่งจําเป็นในการปฏิบัติ แต่ต้องไม่เป็นไปอย่างงมงาย ประกอบด้วยเหตุผล จึงดําเนินไปด้วยปัญญา(สัมมาปัญญา)จึงจักถูกต้อง ไม่ใช่ด้วยอธิโมกข์


    ๗. ปัคคาหะ- ความเพียรที่พอดี แต่ในวิปัสสนูปกิเลสหมายถึง เพียรมากจนเกินพอดี เกินเหตุชนิดมุทะลุ จึงย่อมตึงเครียดต่อการปฏิบัติมักเนื่องจากปฏิบัติผิดวิธี หรือติดตรึงใจในผลความสุขความสงบความสบาย หรือมีความเข้าใจแล้วต้องการให้บรรลุหรือสมประสงค์โดยไวด้วยความเพียร แต่ลืมทางสายกลาง ทําให้เกินพอดี ทําให้เกิดอาการเครียดต่างๆทั้งต่อจิต และกาย และมักเกิดจากผลที่ดีที่บังเกิดขึ้นในระยะแรกๆจากการปฏิบัติสมถสมาธิอันเกิดแต่อำนาจขององค์ฌานหรือสมาธิ จึงเป็นแรงขับดันให้เพียรปฏิบัติอย่างมุทะลุลืมตัว โดยไม่รู้ตัว


    ๘. อุปัฏฐานะ - สติชัด แต่ที่นี้หมายถึง สติแก่กล้าเกินพอดี สติมากเกินพอดีไปในการปฏิบัติ เช่น จดจ้อง จดจ่อ อย่างต่อเนื่อง อย่างแรงกล้าแต่เฉพาะในสิ่งที่ยึดเป็น
    อารมณ์ หรือเฉพาะการปฏิบัติที่ปฏิบัติอยู่แต่เท่านั้น กล่าวคือ สติจดจ่อแช่นิ่งในอารมณ์เดียว แต่ไม่มีสติหรือขาดสติในสิ่งอื่นๆอันควรแก่การใช้งาน กล่าวคือ ขาดสัมปชัญญะความมีสติต่อเนื่องสัมพันธ์ในสิ่งอื่น เพ่งจดจ่อแต่สิ่งที่ปฏิบัติแต่เกินพอดี ทําให้สติล้าตึงเครียด จนเกิดอาการต่างๆเพราะความตึงเครียดจากการปฏิบัติผิดมากเกินไป ขาดสติในสิ่งที่ไม่ได้กำหนด จนไม่รู้ผิดชอบชั่วดี หรือไม่รู้ในสิ่งที่ถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควร

    กล่าวโดยย่อก็คือเป็น
    มิจฉาสติ, สตินั้นก็เป็นสังขารขันธ์อย่างหนึ่ง จึงมีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา มีการเกิดดับๆๆเป็นธรรมดา จึงเป็นไปในลักษณะรู้เท่าทันแล้วเกิดขึ้นจนชำนาญอย่างยิ่ง โดยไม่ได้ตั้งใจคล้ายดั่งมหาสติแต่กอบด้วยอวิชชานั่นเอง กล่าวคือ ตั้งจิตอยู่กับสติตลอดเวลาในอารมณ์เดียวอย่างจดจ้องจดจ่อ จนในที่สุดเป็นสังขารในปฏิจจสมุปบาทที่ประกอบด้วยอวิชชา จึงทำเองโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย สติจึงชัดเกินไป จนขาดสัมปชัญญะ รู้แต่สิ่งที่สติหรือจิตไปกำหนด(ยึดอารมณ์ หรือวิตก)แต่อย่างเดียวจนเป็นไปในลักษณะสมาธิควบไปด้วย จนไม่รับรู้ในสิ่งอันควรอื่นๆด้วยนั่นเอง จนในที่สุดสติอยู่แต่กับสิ่งนั้นๆที่เป็นอารมณ์จนถอนไม่ขึ้น [​IMG]


    ๙. อุเบกขา - ความวางจิตเป็นกลาง ยังให้เกิดอาการที่เรียกกันว่า ติดอุเบกขา ติดแช่นิ่ง เพราะติดแช่นิ่งอยู่ภายในเป็นกลางวางเฉยอย่างขาดปัญญา, เป็นกลางวางเฉยแต่อย่างงมงายผิดๆ, วางเฉยเสียสิ้นโดยขาดปัญญา แต่ย่อมรู้สึกสงบ ไม่ทุกข์ไม่ร้อน จึงไปเข้าใจผิดว่าดีแล้ว ถูกต้องแล้ว แต่เป็นไปในลักษณะแช่นิ่งอยู่ภายในจิต อย่างติดเพลิน เฉื่อยชา ใจลอย ไม่ยินดียินร้าย ไม่นิ่มนวลควรแก่การใช้งาน ขาดความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เวลาจิตหวั่นไหวหลุดจากองค์ฌานก็จะโกรธได้ง่ายๆ,
    แล้วไปเข้าใจผิดว่าเป็น
    อุเบกขาในโพชฌงค์ ที่หมายถึงการวางเฉยหรือใจเป็นกลางอันดงามคือรู้เห็นตามความเป็นจริงในคุณโทษของสภาวะธรรมนั้นๆ แล้ววางใจเป็นกลางอุเบกขา วางทีเฉยดูโดยการไม่เอนเอียงไม่แทรกแซงไปปรุงแต่งทั้งในด้านดีหรือด้านร้าย,ดีหรือชั่วเช่น เราดี หรือเขาชั่ว, เราถูก หรือเขาผิด,
    แต่กลับกลายเป็นอุเบกขาที่เกิดจากการปล่อยแช่นิ่งอยู่ในความสงบของมิจฉาสมาธิหรือฌานแบบผิดๆทั้งในสภาพที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว หรือเกิดจากการปฏิบัติชนิดกดข่มไว้ มิได้เกิดแต่ปัญญาที่เข้าใจ ล้วนแต่เป็นผลของการปฏิบัติสมถะสมาธิและวิปัสสนาผิดวิธีอย่างแน่นอน


    ๑๐. นิกันติ - ความพอใจ มีความพึงพอใจในการปฏิบัติต่างๆของตนที่ผ่านมา พอใจในผลของ
    องค์ฌานหรือสมาธิ เช่น ปีติ สุข อุเบกขา อันยังให้เกิดความสุข ความเบาสบาย, หรือโอภาส-ความสว่าง แสงสีต่างๆ หรือนิมิต, หรือมิจฉาญาณที่เข้าใจผิดไปว่าได้บุญได้กุศล ตลอดจนพอใจในนิมิตหรือปาฏิหาริย์ต่างๆที่เกิดขึ้น หรือคิดขึ้นภายใต้อํานาจของสมถะที่ปฏิบัติและสารคัดหลั่งบางตัวที่มากเกินขนาดจากการปฏิบัติไปติดจมแช่อยู่เป็นระยะเวลานานๆ
    จะโดยรู้ตัวก็ดี ไม่รู้ตัวก็ดี จึงทําให้เกิดผลร้ายต่อการปฏิบัติอย่างรุนแรง ทั้งต่อกายอันจะเกิดการเจ็บป่วยได้และต่อจิต, จึงก่อให้เกิดความพยายามปฏิบัติในสิ่งต่างๆเหล่านั้น เพื่อให้คงอยู่ ทำให้เป็นขึ้น อยู่ตลอดเวลา<!-- / message --><!-- sig -->

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    นักปฏิบัติใหม่ ที่เพิ่งเริ่มปฏิบัติจึงควรมีความเข้าใจในฌานสมาธิอย่างถูกต้อง ต้องรู้ว่าเมื่อปฏิบัติไปถูกต้องทางฌานสมาธิแล้ว จักมีอาการหรือผลขององค์ฌาน หรือผลของสมาธิเกิดขึ้นเป็นธรรมดา จึงต้องมีความเข้าใจอย่างแน่วแน่ว่านั่น เป็นอาการของจิตตามธรรมชาติธรรมดาๆ อันต้องเป็นเช่นนั้นเองเมื่อจิตมีอาการรวมตั้งมั่นขึ้น จึงอย่าได้ไปหลงใน แสง สี เสียง โดยเฉพาะภาพนิมิต เสียงนิมิต นามนิมิต ไม่ว่าจะเป็นนิมิต รูปของพระพุทธเจ้า อรหันต์ เทวดา สวรรค์ วิมานต่างๆ ตลอดจนความรู้สึกใดๆ,


    สมาธิหรือฌานเป็นเพียงทางผ่าน หรือแค่ขั้นบันได(บาทฐาน)เป็นเครื่องสนับสนุนเพื่อก้าวต่อไปข้างหน้าในวิปัสสนาญาณเท่านั้น คือใช้กําลังของจิตและความสงบไม่ซัดส่ายที่เกิดขึ้นนั้น อันย่อมมีกำลังมากกว่าปกติธรรมดา ไปพิจารณาธรรมเพื่อให้เกิดปัญญาญาณ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมอย่างถูกต้องถึงแก่นถึงแกน


    วิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้เกิดแก่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาอันต้องมีสมาธิหรือฌานเป็นบาทฐานนั่นเอง แต่สมาธิหรือฌานนั้นเป็นมิจฉาสมาธิเสีย จึงเกิดการติดขัดไม่สามารถก้าวหน้าต่อไปได้ จนเกิดผลเสียร้ายแรงได้ ก็เพราะอุปกิเลสทั้ง ๑๐ แห่งวิปัสสนาเหล่านี้ นั่นเอง กล่าวคือ มิได้เกิดขึ้นเพราะธรรม จริงๆแล้วสามารถกล่าวได้ว่า สิ่งที่เป็นเหตุคือเกิดขึ้นจากการปฏิบัติเบี่ยงเบนผิดแนวทางด้วยอวิชชาไปในแนวทางมิจฉาสมาธินั่นเอง


    จึงส่งผลให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสขึ้น
    ผลของอุปกิเลสนี้อาจเป็นข้อใดข้อหนึ่งรุนแรง แต่มักเกิดหลายๆข้อ และบางข้อเมื่อเป็นแล้วก็ส่งผลให้เกิดอุปกิเลสในข้ออื่นๆด้วย อย่างผู้เขียนเองเคยเกิดเคยเป็นครบทุกข้อ แทบเอาตัวไม่รอด จึงควรหมั่นตรวจสอบตนเองเป็นครั้งคราว โดยต้องเห็นตามความเป็นจริง ยอมรับตามความเป็นจริง เพราะโดยปกตินั้นมายาจิตของตัวตนทำให้หลง โดยการโกหกหรือหลอกลวงแมเตัวตนเอง จึงไม่ยอมรับหรือไม่เห็นเป็นไปตามความเป็นจริง โดยเฉพาะถ้าเกี่ยวกับตัวตนเอง(ทิฏฐุปาทาน) โดยการเลี่ยงไปไม่คิดให้เห็นตามความเป็นจริงบ้าง เพราะปัญญายังไม่แก่กล้าพอบ้าง หมั่นสังเกตุว่ามีวิปัสสนูปกิเลสใดเกิดขึ้น และเพียรพยายามแก้ไขเสียแต่ต้นๆมือ หรือปรึกษาผู้รู้ ก่อนที่จะสายเกินแก้หรือติดปลักอยู่กับสิ่งไร้สาระที่ให้โทษนี้ เป็นเวลานานๆ อันทําใจให้เศร้าหมองในที่สุด และทําให้รับคุณธรรมได้ยาก ตลอดจนส่งผลร้ายอย่างรุนแรงต่อกายและจิตของผู้ปฏิบัติเอง ตลอดจนบุคคลรอบข้างอันเป็นที่รัก



    ผู้เขียนขอเน้นวิปัสสนูปกิเลสนี้ ในหัวข้อทั้ง ๑๐ ชื่อเหมือนกันกับหลักธรรมอันสําคัญยิ่ง อันฟังดูน่าปฏิบัติ แต่หมายถึงเป็นไปอย่างผิดๆ ผู้เขียนมีความรู้จากการอ่านในเรื่องนี้มาเกือบปีก่อนเข้าใจในธรรมบ้าง และครั้งนั้นก็ได้พิจารณาตนเองในอุปกิเลส ๑๐ นี้ แต่กลับมองไม่เห็น คือคิดว่าน้อยมากจนไม่ต้องใส่ใจ เพราะไม่ได้วางใจเป็นกลางด้วยอำนาจของทิฏฐุปาทานอันต้องมีในปุถุชน กาลต่อมาเมื่อเข้าใจในธรรมดีขึ้น แล้วมองย้อนระลึกขันธ์หรือชาติภพที่เคยเกิดเคยเป็น จึงรู้ตัวว่าผู้เขียนหลงจมปลักอยู่ในวิปัสสนูปกิเลสอย่างงมงายหรืออวิชชานั่นเอง



    ต้องการชี้ให้เห็นว่า แม้รู้จักวิปัสสนูปกิเลสดีแล้ว ยังต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและที่สําคัญที่สุดคือใจเป็นกลาง วางความเชื่อความยึดลงสักชั่วขณะ พิจารณาตามความเป็นจริง อย่าให้เป็นไปตามแต่ความเชื่อความคิดของตนเองแต่ฝ่ายเดียว คือ ไม่ถูกครอบงําโดย "ทิฏฐุปาทาน" ในความเชื่อ, ความเข้าใจ หรือทฤษฎีของตน, แล้วพิจารณาเพื่อจักได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติ อันส่งผลร้ายแก่นักปฏิบัติเอง ดังที่เกิดมาแล้วกับผู้เขียน
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    ข้อสำคัญ วิปัสสนูปกิเลสนี้เกิดขึ้นตลอดสายของการปฏิบัติ !



    ถึงแม้ว่าปฎิบัติวิปัสสนาอย่างถูกต้อง วิปัสสนูปกิเลสนี้ก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้ แต่เบาบางและเป็นไปในลักษณะลดน้อยถอยลงไปทุกขณะตามภูมิรู้ภูมิญาณที่เกิดขึ้น จึงควรมีความระมัดระวังเสียแต่แรกๆด้วย, แต่เมื่อใดที่การปฏิบัตินั้นเป็นไปอย่างผิดๆหรือเป็นมิจฉาสมาธิ เมื่อนั้นวิปัสสนูปกิเลสจะรุนแรงและเฟื่องฟูขึ้นตลอดเวลาในลักษณะเพิ่มพูนสะสมจนเป็นอันตรายต่อตนเองอย่างรุนแรงโดยไม่รู้ตัว เพราะการถูกครอบงำของจิต



    มีพระอรรถกถาจารย์ ได้กล่าวไว้ว่า "วิปัสสนูปกิเลสนี้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อเริ่มเกิด อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หรือญาณที่ ๔ใหม่ๆ อันเป็นญาณเกี่ยวกับการเห็นการเกิดขึ้นและดับไปของขันธ์ ๕ หรือสังขารในปัจจุบันจิตหรือปัจจุบันธรรม ในขณะที่เริ่มเกิดขึ้นใหม่ๆนี้ เรียกย่อยลงไปว่า ดรุณวิปัสสนา(วิปัสสนาญาณอ่อนๆ) ถ้ารู้เท่าทันผ่านพ้นไปได้ ไม่ไปติดไปยึดในสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นเช่นโอภาส สุข ปีติ ฯลฯ. อันแสนเย้ายวน ชวนให้หลงผิดและติดใจอยู่ในวังวนของความพิศดาร ก็ถือว่าพ้นวิกฤติของวิปัสสนูปกิเลสไปได้"


    ข้อสังเกตุง่ายๆอีกประการหนึ่งคือ ถ้าปฏิบัติแล้วเกิดอาการกระหยิ่มยิ้มย่องว่า ข้ารู้แล้ว ข้าเข้าใจแล้ว ข้าดีแล้ว มีมานะและทิฏฐิ จิตเก่ง จิตกล้า คิดเข้าใจว่าได้มรรคได้ผลทั้งๆที่ไม่ได้วิปัสสนาจนเกิดความเข้าใจเกิดนิพพิทา หรือไปยึดหมายใดๆ ตลอดจนการฝักใฝ่หรือสนใจในอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ นั่นล้วนเป็นอาการของวิปัสสนูปกิเลสล้วนสิ้น
    เพราะการปฏิบัติที่ถูกต้องนั้นต้องเกิดนิพพิทา คือเกิดความหน่ายคลายกำหนัด คลายความชื่นชมความยินดี เนื่องจากไปรู้ตามความเป็นจริงของธรรม จึงคลายความยึดความอยากหรือตัณหาในสังขารอันหมายถึงสิ่งต่างๆเหล่านั้น จึงไม่ใช่อาการของเหล่าผู้มีจิตเก่ง จิตกล้า มีมานะทิฏฐิสูง
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    ผู้เขียนขอกราบอารธนาคําสอนของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ในเรื่องโทษของอุปกิเลส๑๐ จากหนังสือโมกขุบายวิธี



    โทษของอุปกิเลส ๑๐
    ลักษณะอาการและการละกิเลส เป็นต้น ของฌานและสมาธิ ผิดกันดังแสดงมา ฌานมีความน้อมเชื่อมาก วิริยะและปีติแรง กำลังใจกล้า โลดโผนทุกๆ อย่าง สรุปแล้ว เมื่อจิตน้อมไปตามอารมณ์ของฌาน ถ้าผู้ติดฌาน หลงฌานอย่างหนักหน่วงแล้ว จิตของตนแทบจะไม่เป็นตัวของตัวเองเสียเลยก็ว่าได้ ที่จริงฌานเมื่อเกิดขึ้นเป็นของน่าตื่นเต้น ผู้ฝึกหัดใหม่จึงชอบนัก แต่ฌานเป็นของได้ง่ายพลันหาย เพราะตกอยู่ใต้อำนาจของโลกธรรม๘ ส่วน(สัมมา)สมาธิเมื่อเกิดขึ้นแล้วเป็นไปอย่างเรียบๆ เพราะมีสติรอบคอบตามภูมิของตน และยึดเอาไตรลักษณะเป็นอารมณ์ (webmaster - หมายถึง จิตตั้งมั่นแล้วพิจารณาอยู่ในธรรมดังพระไตรลักษณ์ได้อย่างแนบแน่น)


    ไม่หลงลืมตัว ค่อยได้ค่อยเป็นไปละเอียดลงโดยลำดับ ได้แล้วไม่ค่อยเสื่อมเป็นโลกุตตรธรรม บางคนจะไม่รู้สึกตื่นเต้นในเมื่อตนได้สมาธิ เพราะไม่ได้คำนึงถึงอาการที่ตนได้มี แต่ตั้งหน้าจะทำสมาธินั้นให้มั่นและละเอียดถ่ายเดียว ฌานเป็นของน่าสนุกสนาน มีเครื่องเล่นมาก มีเรื่องแปลกๆ ทำให้ผู้ไม่รู้เท่าตามความเป็นจริงหลงติดจมอยู่ในฌาน อาการที่จิตหลงติดจมอยู่นั้นคือโทษ ของอุปกิเลส๑๐ พึงสังเกตต่อไป


    [webmaster - สมาธิและฌานต่างเป็นอาการของจิตหรือเจตสิกอย่างหนึ่ง จึงคล้ายดั่งการกำมือและการแบมือ ต่างล้วนเป็นอาการหรือกริยาของ"มือ"ที่แปรเปลี่ยนไปได้ ดังนั้นจึงควรทำความรู้จักไว้ทั้งสอง เพราะย่อมต้องมีกริยาของการแบมือบ้าง,กำมือบ้างเป็นธรรมดา กล่าวคือบางครั้ง, บางสถานการณ์จึงมีการสลับเปลี่ยนกันบ้างโดยธรรมคือธรรมชาติได้เป็นธรรมดา
    ส่วนสมาธินั้น ถ้าไม่เป็นสัมมาสมาธิ คือไม่ได้นำไปพิจารณาธรรมให้เกิดปัญญาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ก็จะเกิดอุปกิเลสเช่นกัน มักติดในความสงบ(ปัสสัทธิ) ติดแช่นิ่ง(อุเบกขา) ]


    โอภาสแสงสว่างย่อมปรากฏในมโนทวารวิถี ขณะเมื่อจิตเข้าถึงฌาน (ภวังค์) เมื่อจิตน้อมเชื่อไปตามแสงสว่าง และแสงสว่างนั้นก็ขยายวงกว้างออกไป มีอาการแปลกๆ ต่างๆ เหลือที่จะพรรณา


    ญาณ ความรู้สิ่งต่างๆ บางทีจนกำหนดตามไม่ทัน ไม่ทราบว่ารู้อะไรบ้าง ทั้งสิ่งที่เคยรู้เคยเห็น ทั้งสิ่งที่ไม่เคยรู้เคยเห็น มิใช่รู้อยู่กับสิ่งที่รู้ ยังสอดส่ายไปตามอาการตลอดถึงคนอื่น สัตว์อื่น ทีแรก จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง นานๆ เข้าก็เหลว
    ปีติ ทำให้อิ่มใจจนลืมตัว


    ปัสสัทธิ ทำให้สงบจากอารมณ์ภายนอก กลับเข้ามายุ่งอยู่กับอารมณ์ภายในจนไม่เป็นอันกินอันนอน เมื่อเป็นอย่างนี้นานเข้า ธาตุย่อมกำเริบ จิตก็ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ
    สุข ทำให้สบายอยู่ด้วยอาการทั้งหลายดังกล่าวมา ถึงกับไม่ต้องรับประทานข้าวน้ำก็มี


    อธิโมกข์ ทำให้เกิดจิตน้อมเชื่อไปในนิมิตและแสงสว่าง ความรู้มีมากเท่าไร อุปกิเลสทั้ง ๑๐ ก็ยิ่งมีกำลังรุนแรงทวีขึ้น


    ปัคคาหะ ทำให้เพียรกล้าไม่หยุดหย่อนท้อถอย มีญาณความรู้คอยกระซิบตักเตือนให้ทำอยู่เสมอ


    อุปัฏฐาน ช่วยให้สติแข็งแกร่งอยู่เฉพาะในอารมณ์นั้น แต่ขาดสัมปชัญญะ ไม่รู้สิ่งที่ควรและไม่ควร
    ถ้าอุปกิเลสทั้ง ๘ ตัวดังกล่าวมาหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่งยังเกิดมีอยู่ อุเบกขา(ในวิปัสสนูปกิเลส)ก็จะไม่เกิด ถ้าทั้ง ๘ นั้นสงบลงแม้ชั่วขณะหนึ่ง อุเบกขา และ นิกันต จึงจะเกิดขึ้น


    อุปกิเลส ๑๐ นี้มิใช่จะเป็นโทษแก่วิปัสสนาเท่านั้น ยังสามารถทำให้เกิดวิปลาสต่างๆ จนต้องเสียผู้เสียคนไปก็ได้ เรื่องทั้งนี้เคยมีมาแล้วในอดีต หากอาจารย์ผู้สอนไม่เข้าใจ มุ่งส่งเสริมศิษย์ให้ยึดเอาเป็นของจริงแล้วก็จะทำให้ศิษย์เสียจนแก้ไม่ตก เมื่อมีเรื่องวิปลาสเกิดขึ้นเช่นนั้น ผู้รู้เท่าและเคยผ่านมาแล้วจึงจะแก้ได้
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    วิธีแก้วิปลาส


    (Webmaster - หมายถึง อาการติดสุข ติดนิมิต ฯ. ด้วย)


    อาจารย์ผู้สอนก็ดี ลูกศิษย์ผู้เจริญภาวนาก็ดี เมื่อเข้าใจวิถีจิตที่เข้าเป็นฌานแล้ว จงระวังอุปกิเลส ๑๐ จะเกิดขึ้น ถ้าจิตเข้าถึงฌานแล้ว อุปกิเลสไม่ทั้งหมดก็อย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องเกิดขึ้นสำหรับนิสัยของบางคน แต่บางคนก็ไม่มีเลย(Webmaster - หมายถึงปฏิบัติอย่างถูกต้องจริงๆ มีน้อยมาก)ถ้ามันเกิดขึ้นเราควรปฏิบัติดังต่อไปนี้



    ๑. เมื่ออุปกิเลสเกิดขึ้นแล้ว พึงทำความรู้เท่าว่า นี่เป็นอุปกิเลสเป็นอุปสรรคแก่วิปัสสนาปัญญา และอุปกิเลสนี้เกิดจากฌาน หาใช่อริยมรรคไม่ ถึงแม้วิปัสสนาญาณ ๙ แปดข้อเบื้องต้นก็เช่นเดียวกัน อย่าได้น้อมจิตส่งไปตามด้วยเข้าใจว่าเป็นของจริงของแท้ พึงเข้าใจว่านั่นเป็นแต่เพียงภาพอันเกิดจากมโนสังขาร คือจิตปรุงแต่งขึ้นด้วยอำนาจของฌานเท่านั้น พึงหยิบยกเอาพระไตรลักษณญาณขึ้นมาตัดสินว่า อุปกิเลสทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะฌาน ฌานก็เป็นโลกิยะ อุปกิเลสก็เป็นโลกิยะ โลกิยะทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ถาวรนั้นแหละเป็นทุกข์ เพราะทนต่อความเที่ยงแท้ถาวรไม่ได้


    แล้วก็แตกสลายดับไปตามสภาพของมันเอง ซึ่งไม่มีใครจะมีอำนาจห้ามปรามไม่ให้มันเป็นเช่นนั้นได้ ซึ่งเรียกว่า อนัตตา เมื่อยกเอาพระไตรลักษณญาณขึ้นมาตัดสิน ถ้าจิตเกิดปัญญาน้อมลงเห็นตามพระไตรลักษณะแล้ว จิตก็จะถอนออกจากอุปาทานที่เข้าไปยึดอุปกิเลสนั้น แล้วจะเกิดปัญญาญาณเดินตามทางอริยมรรคได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าแก้อย่างนั้นด้วยตนเองไม่ได้ผล คนอื่นช่วยแก้ก็ไม่สำเร็จ เพราะผู้เป็นหลงเข้าไปยึดมั่นสำคัญเอาเป็นจริงเป็นจังเสียแล้ว บางทีจนทำให้ซึมเซ่อมึนงงไปหมดก็ดี จึงควรใช้วิธีที่ ๓ วิธีสุดท้าย



    ๒. เมื่อรู้เท่าทันและเห็นโทษอย่างนั้นแล้ว จงคอยระวังจิตอย่าให้จิตน้อมเข้าสู่ความสุขเอกัคคตารวมเป็นหนึ่งได้ และอย่ายึดเอาอารมณ์ใดๆ อันเป็นความสุขภายในของใจ แล้วจงเปลี่ยนอิริยาบถ ๔ ให้เสมอ อย่ารวมอินทรีย์อันเป็นเหตุจะให้จิตรวม(เป็นสมาธิหรือฌานได้ - webmaster) แต่ให้มีการงานทำเพื่อให้มันลืมอารมณ์ความสุขสงบเสีย (แต่ไม่ควรเป็นแบบซ้ำซ้อนและต่อเนื่อง - webmaster) แต่ถ้าจิตรวมลงไปจนเกิดวิปลาสขึ้นแล้ว จิตเข้าไปยึดถือจนแน่นแฟ้นจนสำคัญตัวว่าเป็นผู้วิเศษไปต่างๆ นานา มีทิฐิถือรั้นไม่ยอมฟังเสียงใครๆ ทั้งหมด เมื่อถึงขั้นนี้แล้วก็ยากที่จะแก้ตัวเองได้ ถึงแม้อาจารย์หากไม่ชำนาญรู้จักปมด้อยของศิษย์ หรือไม่เคยผ่านเช่นนั้นมาก่อนแล้ว ก็ยากที่จะแก้เขาได้ ฉะนั้น จึงควรใช้ ...


    วิธีที่ ๓ วิธีสุดท้าย คือใช้วิธีขู่ขนาบให้กลัวหรือให้เกิดความโกรธอย่างสุดขีดเอาจนตั้งตัวไม่ติดยิ่งดี แต่ให้ระวังอย่าให้หนีได้ ถ้าหนีไปแล้วจะไม่มีหนทางแก้ไขเลย เมื่อหายจากวิปลาสแล้วจึงทำความเข้าใจกันใหม่ วิธีสุดท้ายนี้ โดยมากมักใช้กับผู้ที่ติดในภาพนิมิตได้ผลดีเลิศ


    ผู้ที่หลงติดในภาพนิมิต มีหัวรุนแรงกว่าความเห็นวิปลาส ฉะนั้น วิธีแก้จึงไม่ค่อยผิดแผกกันนัก............


    .........พระศาสดาได้เสด็จอุบัติขึ้นในภพในขันธ์ และสาวกก็เช่นนั้นเหมือนกัน แต่คำสอนของพระองค์สอนให้ละภพละขันธ์อันเป็นโลกิยะจนเข้าถึงโลกุตตระ ดังนั้นธรรมอุบายที่จะให้ละจึงมีทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ แม้ปัญญาซึ่งเกิดแต่การฝึกหัดนั้นก็มีทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระเหมือนกัน จึงเป็นการยากแก่ผู้ที่มีภูมิ (คือฌานและสมาธิ) ไม่เพียงพอ ปัญญาไม่ละเอียดพอ จะเฟ้นเอาสาระประโยชน์จากชีวิตอันนี้ได้ ถ้าหลงเข้าใจผิดยึดเอาสิ่งที่มิใช่สาระว่าเป็นสาระแล้ว ก็ลงเอวังกันเลย



    ผู้ปฏิบัติพึงระลึกเสมอว่า ภพกายหลงง่ายละยาก ภพจิตหลงยากละยาก นิมิตและญาณที่เกิดแต่ฌานก็หลงง่ายละยาก แต่ที่เกิดแต่สมาธิหลงยากละง่าย เพราะเกิดแต่สมาธิเป็นอุบายของปัญญาเพื่อให้ละถอนอุปธิเข้าถึงสารธรรมโดยตรง



    ข้อคิด
    "ทุกข์ของขันธ์๕ทางกายและใจ นั้นเป็นสภาวะธรรมยังคงมีอยู่ แต่ไม่มี "อุปาทานทุกข์"
    จริงๆแล้วที่มนุษย์ทั้งหลายเป็นทุกข์กันอยู่ทุกขณะก็คือ "อุปาทานทุกข์ "นี้นั่นเอง
    แต่ไม่รู้จึงจําแนกไม่ออก
    พนมพร



    ที่มา : http://www.nkgen.com/
     
  8. radian235

    radian235 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +17
    ดัน.....
     
  9. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    สาธุ...อนุโมทนาครับ
    ....เพื่อนนักปฎิบัติส่วนใหญ่ ขาดความรู้ก่อนจะฝึกปฏิบัติ จึงได้หลงทางกันมาก ไม่เข้าใจว่าพุทธศาสนาสอนอะไร แล้วก็ไปปฏิบัติ ทั้งๆที่ยังไม่รู้วิธีการ การเรียนรู้วิธีการที่ถูกต้องจึงเป็นส่วนช่วยที่ดีมาก
     
  10. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ผมว่าปติบัติยังไงก้ต้องเจอคับ เจอก้ดีคับหลุดแล้วจาได้รู้ว่าเราเคยติดแล้วหลุดแล้วไม่หลงอยู่อีกส่วนที่ยังไม่เจอรึเจอกับตัวแล้วก้ยังไม่รู้ เหมือนยังไม่ผ่านไปได้อ่ะคับสำหรับท่านที่เคยประสบกันมาแล้วก้ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆๆขึ้นไปผู้ที่ยังติดอยู่ก้ขอไห้เห็นโดยไวนะคับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...