สอบถามเรื่องการภาวนาพุทโธหรือนะมะพะทะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kamkling, 21 มกราคม 2009.

  1. kamkling

    kamkling เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2009
    โพสต์:
    222
    ค่าพลัง:
    +562
    เวลานั่งสมาธิผมเคยได้ยินมาที่นิยมมี 2แบบครับ แต่ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ รบกวนแนะนำด้วยครับ
    1. ภาวนาพุทโธ หายใจเข้าพุทธ แล้วหยุดหายใจสักครู่ แล้วหายใจออกโธ ไปเรื่อย ๆ ครับ
    2. ภาวนา นะมะพะทะ หายใจเข้าแล้วหยุดภาวนา นะมะ หายใจออกแล้วหยุด ภาวนาพะทะ

    และก่อนออกจากสมาธิแผ่เมตตากันยังไงครับ ใช้บทภาวนาแบบไหนครับ ซึ่งปกติผมใช้ สัพเพสัตตา อเวราโหตุ อัพพยาปัชญาโหนตุ อานีคาโหนตุ สุขีอัตนังปรหะรัตุ

    ไม่ทราบว่าถูกหรือเปล่าครับ ช่วยแนะนำด้วยครับ พอดีพึ่งสมัครเป็นสมาชิกใหม่ครับ ขอบคุณครับ
     
  2. กตเวทิตา

    กตเวทิตา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +79
    ปกติเป็นคนไฮเปอร์ ไม่สามารถอยู่นิ่งๆได้นาน หรือนั่งสมาธิโดยจับลมหายใจเข้า-ออกได้ค่ะ เลยเปลี่ยนเป็นยึดคำที่ใช้ภาวนาแทน โดยจะท่อง นะมะ-พะทะ ไปเรื่อยๆ พร้อมกับจับภาพพระพุทธชินราช ซักพักจิตก้อจะสงบเองค่ะ
    ลองทำดูนะคะ

    ขอโมทนาสำหรับจิตที่เป็นกุศลในการเริ่มนั่งสมาธิด้วยคะ
     
  3. พุทธนิรันดร์

    พุทธนิรันดร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,641
    ค่าพลัง:
    +5,039
    ขอโมทนาในจิตอันเป็นกุศลด้วยครับ...สาธุ
    ที่จริงแล้วคำภาวนา จะใช้อะไรก็ได้เป็นเพียงอุบาย ให้จิตรวมสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิได้เร็วเป็นใช้ได้ จากการเทศน์ของหลวงพ่อพุธ มีพระบางองค์ภาวนาอิติปิโสภะคะวือ ยังสามารถเสกก้อนหินเป็นข้าวฉันได้เลย
    ขอเสริมอีกนิด...ควรจะแผ่เมตตาให้ตนเองก่อนที่จะแผ่เมตตาให้คนอื่นเสมอ
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มันไม่ได้ขึ้นกับ ตัวหนังสือนะครับ คุณต้องเข้าถึงความหมายในตัวหนังสือ

    หากจะแผ่เมตตา หรือ ไมตรีจิต หรือ แสดงความรู้สึกถึงการเป็นเพื่อน เป็นสหาย

    ก็ต้องทำความรู้สึก อารมณ์ เป็น มิตร ให้เกิดขึ้นในจิตจริงๆ ไม่ใช่สักแต่ว่าเปล่ง
    เสียงตาม Vocab

    หากทำความรู้สึกได้ ที่นี้ก็ขึ้นกับว่า คุณใช้คำชนิดไหนแล้วทำให้ อารมณ์การ
    เป็นเพื่อนมันปรากฏในจิตคุณได้ ก็ให้ใช้คำนั้นเป็นหลัก

    อย่างผมนี่ชอบ แมวเหมียว ผมก็นึกถึง แมวเหมียว เป็นองค์บริกรรม พอคิดถึง
    นิดเดียว จิตใจเริ่มโอบล้อมด้วย เจตสิกเมตตา พร้อมทั้ง ปิติ และ สุข ผมก็ละทิ้ง
    แมวเหมียว แล้วปล่อยให้ ปิติ กับ สุขนั้นไปน้อมจับอารมณ์เมตตาให้หนักแน่น
    เป็นองค์สมาธิ(อารัมณปณิชฌาณ) แล้วค่อยเล็งไปในขอบเขตอันกว้างโดย

    ทำแล้วก็อย่าไปนิ่งแช่แป้ง ต้องน้อมระลึกดูด้วยว่า กำลังของสมาธิมันหมดแล้ว
    หรือยัง ถ้ามันหมดแล้วมันจะไปติดนิ่งๆ ว่างๆ ก็ให้รู้ว่าจิตเข้าไปติดอารมณ์ว่าง
    เข้าแล้ว ให้ดูเฉยๆ จนกว่ามันจะดับ แล้วค่อยเดินกรรมฐานต่อ จะทำให้เกิดเมตตา
    กรรมฐานอย่างเดิมก็ได้เพื่อความชำนาญ ตอนหลังๆจะได้ไม่ต้อง พึ่งแมวเหมียว
    หรือ คำบริกรรม -- แต่โดยหลักการเมตตากรรมฐานคุณต้องเดิน กรุณาเจตสิกเป็น
    อารมร์กรรมฐาน มุทิตาจิต และต้องทำให้ถึงอุเบกขา

    หากทำแต่เมตตาอย่างเดียว พอออกมาจากกรรมฐานจะเป็นพวก "นะจ๊ะ" ( ราคะคติ )

    หากหยุดที่ระดับกรุณา ก็จะเป็นพวก "มึง...กู" ( โทษะคติ )

    หากหยุดที่มุทิตา ก็จะเป็นพวก "มึง..." ( พยาคติ )

    ก็ถ้าทำถึง อุเบกขา ได้อะไรที่ไม่ดีๆ ก็จะกวาดไปหมด เต็มรอบ เต็มภูมิ
    เหลือแต่พรหมวิหาร สำเร็จเป็น พรหม ได้

    ที่สรุปว่า จะได้เป็น พรหม นั้นก็เพราะ ทำแต่ฌาณ เจโตวิมุตติ แต่ไม่ได้
    เจริญปัญญา ปัญญาวิมุตติ

    หากไม่อยากทำเมตตากรรมฐาน แล้ว พลาดไปเป็นพรหม ก็ให้ระลึกถึง
    การมีอยู่ของเจตสิกชนิดต่างๆ การมีอยู่ของความว่างลำดับต่างๆ เพื่อ
    ทำให้เห็น สักษณะของการมีอยู่ของสิ่งเหล่านั้น และการดับไปของสิ่ง
    เหล่านั้น ก็จะเป็นการทำ ลักขณูปณิชฌาณ หรือ ดูลงเป็นไตรลักษณ์
    ตามที่มันเป็น ไม่ใช่ที่เราไปแทรกแซงทำขึ้น หากไปอ่านพระสูตรจะ
    พบคำว่าให้ รู้ ก็คือ ให้ตามรู้ เห็นการเปลี่ยนแปลงไปมา แบบนี้ก็จะ
    ถือว่าได้เจริญ ปัญญาไปด้วย

    ถ้าเจริญ เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติได้ แล้วไม่กำเริบกลับ การทำ
    เมตตากรรมฐานก็จะเข้าถึง พรหมจรรย์แท้ๆ ที่ไม่ใช่แค่ ภพของ พรหม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2009
  5. Numsai

    Numsai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    5,778
    ค่าพลัง:
    +87,677
    --------------------------------------------------------------------
    ขออนุโมทนาในธรรมานกับทุก ๆ ท่านด้วยค่ะ ขออนุญาต chare ประสบการณ์การภาวนานะคะ

    - การภาวนาพุท-โธ เป็นการภาวนาแบบพุทธานุสติ + อานาปานสติ ช่วยระงับอาการฟุ้งซ่านของจิต เป็นอุบายทำให้ใจสงบ การภาวนาพุท-โธ จนจิตสงบถึงขั้นอัปปนาสมาธิ หรือทำให้ถึงฌาณ 4 ทำให้คล่องตัวสามารถฝึกกรรมฐานกองอื่น ๆ เช่น กสิน 10 หรืออื่น ๆ ได้

    การภาวนาพุท-โธ ในระยะแรกเห็นนิมิตอะไร อย่าเพิ่งสนใจ ให้ดูลมหายใจอย่างเดียว ทำไปเรือยๆ จะเห็นผลของการปฏิบัติเองค่ะ

    -ส่วนการภาวนานะมะ -พะธะ เป็นการฝึกแบบมโนมยิทธิ หรือเรียกอีกแบบว่า ฤทธิทางใจ ควรไปฝึกที่บ้านสายลม ถ.พหลโยธิน ซอย 8 หรือสถานที่อื่น ๆ ที่เปิดสอนค่ะ เพื่อจะปฏิบัติได้ถูกต้องตามคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

    ถ้าเราได้ผ่านการเรียนรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง เราสามารถนำมาปฏิบัติต่อที่ผ่านได้ค่ะ

    ไม่ว่าจะปฏิบัติแบบใด ถ้าจะให้ได้ได้ผล ควรทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และตลอดเวลาค่ะ ขอให้ก้าวหน้าในการปฏิบัตินะคะ

    สำหรับการแผ่เมตตานั้น ท่านอื่น ๆ ได้ตอบมาแล้ว ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ

    ขอให้ก้าวหน้าในการปฏิบัตินะคะ

    น้ำใส/วัชรธาตุ
     
  6. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    คำบริกรรมไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้แบบไหน แต่ขอให้เป็นคำที่เป็นกุศล
    และจำเป็นจะต้องมีเพื่อไม่ให้จิตเตลิดเปิดเปิง ให้เป็นที่ๆให้สติไปเกาะแล้วชักจูงจิตไม่ให้ไปไหนไกลๆนานๆ..

    สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ควรจะไปศึกษาเกี่ยวกับ สติปัฏฐาน4 ให้เข้าใจก่อน ให้ไปหาหลักการปฏิบัติก่อน
    เื่มื่อรู้หลัก ก็ปฏิบัติให้ได้ผลก่อน แล้วค่อยมาบอกต่อๆกันไป..

    สำคัญคืออย่าพึ่งไปหาอ่านอะไรที่มันนอกตัว เพราะมันจะพาเขวตั้งแต่เริ่มสตาร์ท

    ขอโมทนาบุญด้วยครับ
     
  7. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
  8. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,163
    ค่าพลัง:
    +3,739
    แผ่เมตตาแบบนี้แหละถูกอยู่ เป็นเบื้องต้น แต่อาจแผ่มากกว่านี้ก็ได้ และแผ่มเมตตาแบบให้ไปทั้วแบบไม่มีประมาณก้ยิ่งดี

    ส่วนการทำสมาธิแบบอานาปานนสติให้ดูที่ (หาธรรม)
    http://palungjit.org/showthread.php?t=170127
     
  9. Bkkianmar

    Bkkianmar Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    196
    ค่าพลัง:
    +55
    ขอเสนอความเห็นนะ
    เราว่าคำภาวนา จะเป็นคำไหนสำคัญนะ
    อย่างฝึกมโน นี่ หลวงพ่อท่านก็เน้นว่าต้องเป็น นะมะพะธะ เท่านั้นไม่ใช่หรอคะ
    หรือท่านอื่นว่ายังไง
     
  10. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถ้าเรารู้วิธีการ กับอารมณ์ที่ต้องใช้ บวกกับมีครูบาอาจารย์มาแนะนำ
    จะว่าพุทโธ จะว่าสัมมาอรหัง จะว่า นะมะพะธะ
    ก็สามารถจะทำเป็นมโนมยิทธิ หรืออภิญญาได้ครับ

    แต่ว่าครูบาอาจารย์ท่านสืบๆ คาถา สืบๆวิชามา มีอานุภาพมาก
    เราก็ให้ความเคารพอย่างถึงที่สุดครับ
    แต่ตัววิชาจริงๆ มีการแตกยอด และปรับปรุงขึ้นอยู่ เสมอๆครับ
    ดังนั้นใครถนัดอะไรก็ใช้ได้หมดครับ
    ถ้ามีวาสนาด้านอภิญญา ด้านมโนมยิทธิ เราว่าพุทโธ ก็ได้อภิญญา ได้มโนมยิทธิครับ
    ถ้าไม่มีวาสนาด้านนี้ ถึงจะภาวนา นะมะพะธะ ก็ทำไม่สำเร็จครับ
    แล้วแต่จริตแล้วแต่นิสัยด้วยครับ
    แต่ลูกศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ จะเป็นสายมโนมยิทธิ แทบจะทั้งหมด หรือทั้งหมดเลยก็ว่าได้
    ดังนั้นถ้าถึงวาระจริงๆ แค่จิตเข้าเป็นสมาธิ ก็ทรงมโนมยิทธิ ทรงอภิญญาได้ครับ
     
  11. SOMDEJ

    SOMDEJ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    611
    ค่าพลัง:
    +353
    อนุโมทนาสาระธรรม
    ดีดีทั้งนั้นเลยสำหรับเราที่ยังต้องเพียรอีกมากนัก
     
  12. Akazaba

    Akazaba เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    543
    ค่าพลัง:
    +435
    มโน ต้องตามครูบาอาจารย์ คือ นะมะพะทะ ครับ ไม่งั้นจะมีสายนั่น สายนี่เหรอ ทางมีหลายทาง แต่เมื่อปฏิบัติไป ก็จะ บรรลุเหมือนกันหมด
     
  13. Jintasak

    Jintasak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +1,920
    ++ถาม มโนมยิทธิ คืออะไรครับ?
    ++ตอบ มโนมยิทธิก็คือการฝึกสมาธิ การฝึกสมาธิอย่างที่เราฝึกอยู่นี่ ก็คือการฝึกมโนมยิทธิ แต่มโนมยิทธิเขามีวิธีการถ้าใครท่อง นะ มะ พะ ธะ แล้วตัวมันสั่นๆ นั่นคือมโนมยิทธิ ที่พวกปลุกพระนั้น เมื่อปลุกพระแล้วตัวสั่นขึ้นมานี่ไม่ให้เห็นนรก ไม่ให้เห็นสวรรค์ เพราะไม่มีผู้นำคือไม่มีผู้บอก

    มโนมยิทธินี่ใครคนหนึ่งมาภาวนา นะ มะ พะ ธะ พอรู้สึกว่า สั่นๆ ขึ้นนี่ เขาก็สังเกตุรู้แล้วว่า จิตกำลังเริ่มสงบสว่าง มีปิติเกิดขึ้นในช่วงนั้นเขาจะกรอกคำพูดคือคำสั่งเข้าไป เขาจะบอกว่า ทำตาให้สว่างมองไปไกลๆ แล้วจะเห็นโน่นเห็นนี่ แล้วเขาจะบอก ทีนี้พอบอกไปแล้ว ในขณะนั้นจิตของผู้ภาวนามันจะสะลึมสะลือครึ่งหลับครึ่งตื่น ไม่เป็นตัวของตัวเอง ลอยเคว้งคว้างอยู่ในเมื่อได้ยินคำสั่งแล้วจิตมันจะยึดคำพูดทันที พอจิตมายึดคำพูด ต่อไปผู้กำกับการแสดงสั่งไปอย่างไร จิตดวงนี้จะปฏิบัติตาม บอกว่าให้ไปข้างหน้าไปดูนรก หรือไปดูสวรรค์ แล้วผู้ภานาจะรู้สึกว่าเขามีกายเดินออกไปจากร่างของเขา แม้ว่าร่างนี้จะสั่นอยู่อย่างนี้ แต่ความรู้สึกในทางจิตของเขาเหมือนกับเขาเดินเที่ยวไปในที่ต่างๆ ไปดูนรกก็รู้สึกว่าไปเดินอยู่ที่ขอบปากหม้อนรกโน่นแหละ ไปดูสวรรค์ไปย่ำอยู่ที่ปราสาทวิมานของเทวดา ความรู้สึกของเขาจะเป็นอย่างนั้น อันนี้เป็นแบบฝึกสมาธิกับการสะกดจิต

    อย่างเราๆ นั่งสมาธิกันอยู่อย่างนี้ ถ้าหากว่าภาวนาพุทโธๆ ๆ เป็นต้น แล้วก็มีผู้คอยกล่าวนำ ให้ทำจิตให้สงบ ให้ทำจิตให้สว่าง กล่อมกันอยู่อย่างนี้ ในเมื่อจิตสงบสว่างแล้วจะเห็นโน่นเห็นนี่ แล้วกระแสจิตส่งออกไปข้างนอกจะเกิดภาพนิมิตขึ้นมาทันที ต่อไปถ้าหากสมมติว่าผู้ภาวนามีอาการสั่น ปิติกำลังเกิด ยิ่งสั่งให้ไปที่ไหนก็ไปได้ ไปดูอะไรที่ไหนได้ทั้งนั้น อันนี้คือมโนมยิทธิ มโนมยิทธิกับการฝึกสมาธิอย่างเดียวกัน อย่าว่าแต่มโนมยิทธิกับสมาธิก็ฝึกอย่างเดียวกัน แม้แต่พิธิเชิญวิญญาณเข้าประทับทรง ก็ฝึกอย่างเดียวกัน ผู้ที่เชิญวิญญาณเข้ามาทรง อย่างสมมติว่าจะทรงวิญญาณพระศิวะ เขาก็ให้นึกในใจว่า ศิวะๆๆ จนจิตสงบเป็นสมาธิ เมื่อจิตสงบลงเป็นสมาธิแล้วก็มีปิติ มีความสุขสบายเหมือนกัน กับเราทำสมาธิธรรมดาๆ เพราะความคิดและความตั้งใจจะเชิญวิญญาณมาประทับทรง จิตมันก็ส่งกระแสออกไปข้างนอก หลังจากที่เกิดความสงบแล้วก็มองหาตัววิญญาณประเดี๋ยวร่างของวิญญาณที่เรา เรียกหานั้นจะปรากฏรูปร่างมายืนอยู่ต่อหน้า แล้วผู้ทำพิธีการเชิญนั้นก็จะน้อมจิตน้อมใจให้วิญญาณเข้ามาประทับทรง

    เมื่อวิญญาณเข้ามาถึงตัว นิมิตที่มองเห็นด้วยตาหายไป แต่ความรู้สึกภายในตัวจะมีความรู้สึกเหมือนหัวใจถูกบีบหน่วงไปทั้งตัว ปิติและความสุขซึ่งมีอยู่ก่อนนี้หายไปหมดสิ้น ความรู้สึกอันเป็นส่วนตัวนั้นก็หายไป จิตตกอยู่ในอำนาจของวิญญาณที่มาประทับทรงต่อไปนั้นแล้วแต่วิญญาณจะพาไป ให้สมาธิเหมือนกันหมด
     
  14. Jintasak

    Jintasak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +1,920
    ส่วนหนึ่งของ หนังสืออบรมกรรมฐาน หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เรื่องสัมมาสมาธิ - มิจฉาสมาธิ
    [เนื้อหาทั้งบท http://readcarefully.blogspot.com/2005/04/11.html]

    ...จุดมุ่งหมายของการรู้เห็นของนักปฏิบัตินั้น คือหมายความว่ารู้เห็นสภาพความเป็นจริงของจิตของตนเอง และรู้เห็นสภาพความเป็นจริงของกายของตัวเอง เช่นอย่างนักปฏิบัติมาเจริญสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย – เวทนา – จิต – ธรรมานุปัสนา เมื่อกำหนดทำบริกรรมภาวนาลงไปด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องของการเจริญสติปัฏฐาน ๔ มี กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธรรมานุปัสสนา เมื่อกำหนดลงไปแล้วเราจะต้องมองเห็นกาย เมื่อมองเห็นกาย สิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องจากกายก็คือ เวทนา และผู้รู้ผู้เห็นกายและเวทนานั้นก็คือจิต ผู้รู้เห็นอารมณ์ที่เกิดกับจิตว่าอารมณ์ฟุ้งซ่าน อารมณ์สงบอย่างใดนั้น ก็เป็นหน้าที่ของจิต เรียกว่าเห็นธรรม เพราะฉะนั้น ผู้ที่มากำหนดจิต ดูกาย เวทนา จิต ธรรม พอกำหนดปั๊บก็เห็นกาย เวทนา จิต ธรรม ทันที เพราะสิ่งเหล่านี้เรารู้เราเห็นอยู่เป็นปกติแล้ว แต่การรู้การเห็นอันนี้ มันรู้เห็นเพียงเผินๆ จิตยังไม่ยอมรับสภาพอันเป็นจริง เพราะฉะนั้น การที่รู้ความจริงของกาย รู้ความจริงของเวทนา รู้ความจริงของจิต ความรู้ความจริงของอารมณ์ เป็นสิ่งที่นักปฏิบัติต้องให้รู้ให้เห็นด้วยความเป็นจริงโดยไม่มีข้อสงสัย เมื่อรู้เห็นแล้วจิตก็ปลงตกลงไป ยอมรับสภาพความเป็นจริงนั้นๆ ด้วย ไม่ใช่สักแต่ว่าเพียงรู้เห็นเฉยๆ

    เพราะฉะนั้น นักปฏิบัติผู้ที่รู้จริงเห็นจริง หรือเป็นจริงนั้น ต้องประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
    ๑) จิตรู้ตามความเป็นจริง
    ๒) จิตปลงตกเห็นตามความเป็นจริง
    ๓) สภาพจิตก็เป็นจริงตามที่รู้ที่เห็นนั้นด้วย
    จึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้จริงเห็นจริงในสภาวธรรมที่ตนพิจารณาอยู่

    และอีกนัยหนึ่ง ในขณะที่นักปฏิบัติมากำหนดบริกรรมภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่ง บางท่านอาจจะเกิดมีนิมิตมองเห็นพระพุทธเจ้าเข้ามา เช่นอย่างในสำนักวัดปากน้ำ ซึ่งเขาสอนกัน สอนให้บริกรรมว่า สัมมาอรหัง แล้วก็ให้น้อมจิตนึกอาราธนาเอาพระพุทธเจ้าให้เสด็จเข้ามาหาเรา เมื่อจิตสงบเคลิ้มๆ ลงไปเป็นอุปจารสมาธิ ด้วยความแน่วแน่ของจิต จะปรากฏนิมิตเห็นว่าพระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินมา ส่วนอาจารย์ ผู้ให้การอบรมก็จะคอบซักถามอยู่เสมอว่า เห็นพระพุทธเจ้าแล้วหรือยัง พระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้วหรือยัง ถ้าหากพระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว อาจารย์จะบอกให้อาราธนาพระพุทธเจ้าขึ้นเหยียบบนบ่าเบื้องขวา แล้วลูกศิษย์ก็จะทำการอาราธนาพระพุทธเจ้าให้ขึ้นเหยียบบนบ่าเบื้องขวา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นเหยียบบนบ่าเบื้องขวา นักปฏิบัตินั้นจำทำท่าเอียงลงไปข้างขวา เพราะหนักพระพุทธเจ้า แล้วอาจารย์จะบอกให้อาราธนาพระพุทธเจ้าเหยียบบ่าเบื้องซ้าย แล้วการของผู้นั้นจะตั้งตรง และก็ทำท่าหนักๆ พระพุทธเจ้า ต่อจากนั้นเขาจะให้อาราธนาเอาพระพุทธเจ้าเข้าไปไว้ที่ในดวงใจ แล้วก็ให้เด่งพระพุทธเจ้าจนกระทั่งใสเป็นแก้ว ใสจนไม่มีอะไรจะเปรียบเทียบ เพ่งพระพุทธรูปที่มองเห็นด้วยนิมิตนั้นให้เห็นกลายเป็นแก้วดวงที่ใสสะอาด เพ่งจนเกิดเป็นอุคคหนิมิตติดตา ในเมื่อทำแก้วให้ใสสะอาดจนไม่มีที่จะเปรียบเทียบแล้วเขาก็ถือว่าสำเร็จ ธรรมกาย ในเมื่อต้องการอยากรู้ อยากจะเห็นอะไร ก็ใช้ธรรมกายนั้นส่งไป แล้วก็เกิดนิมิตให้รู้ให้เห็น

    อาการทั้งหลายเหล่านี้เป็นเรื่องที่จิตปรุงแต่งขึ้นมาทั้งนั้น แต่ถ้าหากว่าผู้ที่มีปัญญา สามารถที่จะน้อมเอามาพิจารณาเป็นอารมณ์พระกรรมฐานได้ ก็ย่อมเกิดประโยชน์ได้เหมือนกัน อันนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดของนักปฏิบัติแต่ละท่าน

    ทีนี้ มีปัญหาที่จะนำมาเล่าอีกอย่างหนึ่งว่า การที่เขาภาวนากันไปดูนรก ดูสวรรค์ หรือติดต่อกับวิญญาณในโลกอื่นนั้น เขาทำกันอย่างไร อันนี้เป็นสิ่งที่นักศึกษาธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เคยผ่านประสบการณ์มีความ สงสัยและสำคัญว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งประเสริฐ

    การภาวนาหรือนั่งสมาธิไปดูนรกไปดูสวรรค์นั้น ตามตำรับของไสยศาสตร์มันมีแบบมีแผนให้ศึกษากัน ซึ่งมีหลักฐานปรากฏอยู่ในหนังสือ กรรมฐานสิบสองยุค ของเจ้าคุณพระเทพญาณวิศิษฐ์ (ใจ ยโสธโร) รวบรวมไว้ที่วัดบรมนิวาส (กรุงเทพฯ) มันมีคาถาบทหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าคาถาพระเจ้าเปิดโลก คาถาพระเจ้าเปิดโลกนี้ ตอนที่ ๒ ผมจำได้ว่า ข้อความว่า พุทโธ ทีปังกโรง โลกทีปัง วิโสธยิ ธัมโมทีปังกโร โลกทีปัง วิโสธยิ สังโฆ ทีปังกโร โลกทีปัง วิโสธยิ. เมื่อว่าถาถานี้จบแล้ว ก็อธิษฐานในจิตในใจว่า พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้า เป็นดวงประทีปส่องโลก ขอโปรดส่องทางนรกทางสวรรค์ให้ข้าพเจ้าเห็นจริงแจ่มแจ้งในการบัดนี้ด้วยเถิด พอเสร็จแล้วผู้บริกรรมภาวนา ถ้าจะไปดูนรก ก็นึกในใจว่า นรกๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ทีนี้พอจิตมันสงบเป็นอุปจารสมาธิ เกิดสว่างขึ้น ผู้ภาวนาจะมีอาการสั่นเหมือนกับผีสิง พอเสร็จแล้วสภาพจิตของผู้นั้นจะแสดงอาการไปดูนรกไปดูสวรรค์ตามที่ต้องการ ตามแบบแผนตำรับตำราที่กล่าวไว้ที่จำได้ อันนี้ได้เคยทดสอบพิจารณาดูแล้ว เมื่อใครก็ตามได้มานั่งภาวนาตามคาถาบทที่กล่าวมานี้ ไปเห็นนรกเห็นสวรรค์ได้แล้ว สามารถที่จะเชิญวิญญาณต่างๆ เข้ามาทรงภายในตัวเองก็ได้ สามารถที่จะเชิญวิญญาณปู่ย่าตายาย หรือครูบาอาจารย์ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วให้เข้ามาสิง แล้วก็สนทนากับผู้ที่นั่งฟังหรือผู้ที่ควบคุมการแสดงอยู่ อยากจะรู้ว่า คนตายแล้วไปเกิดที่ไหน ตกนรกหรือขึ้นสวรรค์อย่างไรก็ได้ ผู้นั่งสมาธิดูนรกดูสวรรค์นั้นสามารถที่จะนำชาวสวรรค์ชาวนรกมาคุยกับเราก็ ได้ อันนี้เป็นวิธีอันหนึ่งสำหรับวิธีการภาวนาไปดูนรกไปดูสวรรค์ แต่มันจะจริงแน่นอนหรือ อาจเกิดจากความจำก็ได้

    และอีกนัยหนึ่ง เขาใช้วิธีการที่เรียกว่า ปลุกพระ จะเอาพระเครื่องรางของขลัง เป็นพระเป็นเหรียญเป็นอะไรก็ตาม มากำไว้ในมือ แล้วก็บริกรรมภาวนาว่า นะ มะ พะ ธะ จนกระทั่งมีอาการสั่นขึ้น ในเมื่อมีอาการสั่นขึ้นแล้ว จะให้ไปเชิญวิญญาณที่ไหนๆ ให้มาทรงก็ย่อมเป็นได้ แต่วิญญาณที่มาทรงนั้น เท็จจริงอย่างไรก็ไม่กล้ายืนยันว่าจะเป็นจริงหรือไม่ บางทีสามารถเชิญกระทั่งวิญญาณของพระอรหันต์พระพุทธเจ้ามาทรงก็ได้ แต่สำหรับมติของผมนั้น เข้าใจว่า ในเมื่อประกอบพิธีเชิญวิญญาณขึ้นมา มันก็ต้องมีวิญญาณมาทรง แต่วิญญาณที่มาทรงนั้น จะใช่บุคคลที่เราเชิญมาทรงหรือเปล่า ในเมื่อทำพิธีกรรมแล้ว ต้องมีวิญญาณมาทรงอย่างแน่นอน แต่ทั้งนี้มิใช่ว่าจะเป็นไปได้หมดทุกคน แม้แต่ในสำนักทรงวิญญาณทั้งหลาย ผู้ที่ชำนาญในการเชิญวิญญาณทรง เขาก็มีกันเพียงคน ๒ คนเท่านั้น ในเมื่อผู้ใดต้องการรู้ต้องการทราบเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องอดีต อนาคต ปัจจุบัน เขาก็ให้คนที่ฝึกเอาไว้นั้นแหละมาทำาการทรง

    และอีกนัยหนึ่ง การทรงวิญญาณแบบฝรั่ง เขาเรียกว่าใช้วิธีการสะกดจิต คือ เอาเด็กชายตั้งแต่ ๑๐ ขวบ ไม่เกิน ๑๕ ขวบ มาทำการสะกดตามแบบวิธีของเขา ในเมื่อเขาสะกดเด็กให้หลับแล้ว เขาสามารถที่จะใช้เก็ดไปดูนรกไปดูสวรรค์ หรือไปติดต่อกับโลกข้างหน้าได้อย่างสบาย อันนี้ก็เป็นวิธีการอีกอันหนึ่งซึ่งก็แล้วแต่คนผู้สะกด

    เรื่องทั้งหลายที่กล่าวมานั้น มิได้เกี่ยวเนื่องด้วยการทำสมาธิภาวนาตามแบบที่ถูกต้องซึ่งเรียกว่าสัมมา สมาธิ และขอให้ท่านทั้งหลายพึงเข้าใจว่า การทำสมาธิตั้งแต่ขั้นปฐมฌานถึงขึ้นจตุตถฌานนั้น มันยังเป็นสมาธิสาธารณะทั่วไปแก่ทุกลัทธิศาสนา และแก่ลัทธิที่มีการปฏิบัติสมาธิโดยทั่วๆ ไป เพราะฉะนั้น สมาธิของพระพุทธศาสนานั้น จึงอาศัยหลักศีลตามขั้นนภูมิของแต่ละบุคคลผู้ปฏิบัติอยู่นั้นเป็นหลักตัดสิน ว่าสมาธิของเขาถูกต้องหรือไม่ อย่างไร

    ขอให้ถือคติว่า สมาธิหรือการปฏิบัติธรรมอันใด ถ้าหากมันเป็นไปเพื่อความอยากใหญ่ เป็นไปเพื่อพอกพูนกิเลส เป็นไปเพื่ออิทธิฤทธิ์ เป็นไปเพื่อการกระทำอะไรแปลกๆ ต่างๆ เช่นอย่างการเป็นหมอดูด้วยสมาธิเป็นต้น พึงเข้าใจเถิดว่า มันเป็นมิจฉาสมาธิ ซึ่งออกนอกหลักพระพุทธศาสนา

    สมาธิในพระพุทธศาสนา จะต้องเป็นสัมมาสมาธิ ที่ประกอบพร้อมด้วยองค์อริยมรรค ผู้ปฏิบัติเมื่อจิตประชุมพร้อมลงสู่องค์อริยมรรคแล้ว จิตจะดำเนินไปเพื่อความหมดกิเลสเท่านั้น ไม่เป็นไปเพื่อการพวกพูนกิเลส ตามที่กล่าวมาแล้ว

    การกล่าวโอวาทให้การอบรมเกี่ยวกับการสมาธิและประสบการณ์ต่างๆ ที่เล่ามา ก็เห็นว่าพอสมควรแก่กาลเวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี้.....
     
  15. อารมณ์สุนทรีย์

    อารมณ์สุนทรีย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    522
    ค่าพลัง:
    +1,740
    แผ่เมตตา ภาษาไทย ดีที่สุดครับ

    สวดบาลีไป ผี งง คนงง

    สรุป อดได้ทั้งคู่
     

แชร์หน้านี้

Loading...