เพื่อการกุศล หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม บูชา วัตถุมงคล ถึงวัดฯ โดยตรง

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย มหาหินทร์, 8 ธันวาคม 2008.

  1. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    [​IMG]

    ประวัติหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศา โดยย่อ

    หลวงปู่ ถือกำเนิดในครอบครัวชาวไร่ชาวนา ที่ยากจน นามเดิมมีชื่อว่า ด.ช. ชัยวงศ์ ต๊ะแหงม เกิดเมื่อ วันอังคารที่ ๒๒ เมษยน ๒๔๕๖ ตรงกับวันแรม ๒ ค่ำ เดื่อน ๗ เหนือ (เดือน ๕ ใต้) ปีฉลู ณ บ้านก้อหนอง ม.๒ ต.ก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน เป็นบุตรของพ่อน้อยจันทะ - แม่บ่อแก้ว ต๊ะแหงม เป็นบุตรคนที่ ๓ ในจำนวนพี่น้อง ๙ คน

    ด.ช. ชัยวงศ์ อยู่กับพ่อแม่ เจริญอายุขึ้นมาถึง ๑๒ ปี ก็ได้ไปอยู่ที่วัดแม่ปิงเหนือ (วัดก้อท่า) ขณะนั้นมีพระภิกษุนามว่า พุทธิมา ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ได้อยู่กับหลวงน้าพุทธิมาราว ๔ เดือน หลวงน้าพุทธิก็ได้พาไปช่วยสร้างพระธาตุเกศสร้อย (แก่งสร้อย) ซึ่งท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้ไปช่วยทำการบูรณะก่อสร้างอยู่ ด.ช. ชัยวงศ์ ได้ช่วยแรงย่ำดินปั้นดินจี่ (อิฐดินเผา) อยู่เป็นเวลา ๓ เดือน

    ระหว่างนั้น ก็ได้พบกับ พระครูชัยลังก๋า ซึ่งไปนั่งหนักเป็นประธาน สร้างพระธาตุสร้างพระธาตุเกศสร้อย ด้วยและ ได้มอบตัวเป็นศิษย์ พระครูบาชัยลังก๋า จึงได้ให้ ด.ช. ชัยวงศ์ บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันพุธที่ ๖ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ (เดือน ๖ ใต้) ณ วัดแก่งสร้อย ต. มืดกา อ. ฮอด จ. เชียงใหม่ พระครูบาชัยลังก๋า เป็นอุปัชฌาย์ ตั้งชื่อให้ว่า “ชัยยะลังก๋าสามเณร”

    ...........................................................................................................................................

    กระทู้แห่งนี้เปิดโอกาสให้กับ....
    ท่านเจ้าของ สิ่งอันเป็นมงคล ของหลวงปู่ครูบาวงศ์ฯ
    ที่ประสงค์ จะออกตัว เพื่อให้เช่าบูชา

    ได้นำมาโพสแสดง ลงในกระทู้แห่งนี้

    โดยไม่ถือว่า เป็นการผิดมารยาท หรือผิดวิสัย ใด ๆ นะครับ
    เพื่อสานสร้างผลประโยชน์ ให้กับ ท่านเจ้าของ และ ผู้ประสงค์จะเช่าบูชา

    จะเป็นการเผยแผ่ บุญญาธิการของหลวงปู่ฯ ไปด้วย นั่นเองครับ

    .............................................................................................................................................<!-- / message --><!-- sig -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LP-Wong04.jpg
      LP-Wong04.jpg
      ขนาดไฟล์:
      85.2 KB
      เปิดดู:
      25,395
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2012
  2. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    [​IMG]

    เมื่องานก่อสร้าง วัดพระธาตุเกศสร้อย เสร็จแล้วไปส่วนใหญ่

    ท่านพระครูบาชัยลังก๋า ได้พาสามเณรชัยลังก๋าออกเดินธุดงค์ไปเรื่อย ๆ จนถึง เมืองตื๋น (รวมเวลาเดินธุดงค์ได้ ๔ ปี) ระหว่างทาง ก็ได้แวะไปกราบรอยพระพุทธบาทห้วยต้ม ขณะนั้น ยังเป็น วัดร้าง อยู่

    เดินธุดงค์มาถึง วัดจอมหมอกก ก็ได้พบกับ ท่านพระครูบาเจ้าพรหมจักร
    จึงได้พำนักอยู่จำพรรษากับครูบาพรหมจักรได้ ๑ พรรษา พอออกพรรษาแล้วอยู่ถึง เดือน ๕ เหนือ (เดือน ๓ ใต้) ขึ้น ๒ ค่ำ พระครูบาชัยลังก๋าก็ได้มอบสามเณรชัยลังก๋าให้อยู่อุปฐาก และศึกษาเล่าเรียนกับท่านครูบาเจ้าพรหมจักร ที่วัดจอมหมอก

    จากนั้นมา ก็ได้ติดตามครูบาเจ้าพรหมจักรออก เดินธุดงค์ไปเรื่อย ๆ จนถึงเขตอังกฤษ (ปัจจุบันเป็นประเทศพม่า) ที่บ้านกะเหรี่ยงยางแปง ต. บ้านใหม่ อ. เล็งปอย จ. ผาอ่าง และอยู่จำพรรษาที่บ้านยางแปง ได้ ๑ พรรษา

    ......................................................................................................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2012
  3. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    [​IMG]

    อยู่มาถึงเดือน ๕ เหนือ (เดือน ๓ ใต้) ขึ้น ๘ ค่ำ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๕ ปีวอก สามเณรชัยลังก๋ามีอายุครบ ๒๐ ปี ก็อุปสมบทที่นั้น โดยท่านครูบาเจ้าพรหมจักรโก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระจันทร์ กับ พระจัยยา เป็นพระคู่สวด ตั้งฉายาว่า “พระชัยยะวงศาภิกษุ”

    ครั้งถึงเดือน ๕ เหนือ (เดือน ๓ ใต้) แรม ๑ ค่ำ ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๕ พระชัยยะวงศาก็กราบลาท่านครูบาเจ้าพรหมจักรกลับมาอยู่วัดจอมหมอก และได้อยู่จำพรรษาที่นั่นได้ ๒ พรรษา พอถึงเดือนยี่เหนือ (เดือน ๑๒ ใต้) ขึ้น ๓ ค่ำ ตรงกับวันศุกร์ที่ ๙ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๗ ก็ออกจากวัดจอมหมอกไปช่วยท่านครูบาศรีวิชัยสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ ที่เชียงใหม่ ได้ ๗ เดือนก็สำเร็จ แล้วก็ลาครูบาศรีวิชัยกลับไปจำพรรษาที่วัดจอมหมอกตามเดิม

    พอออกพรรษาอยู่มาถึง เดือนยี่เหนือ (เดือน ๑๒ ใต้) ขึ้น ๓ ค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ ๒๙ เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๘ ปีกุน พระชัยยะวงศาก็ออกจากวัดจอมหมอกไปยังวัดพระสิงห์หลวง จ. เชียงใหม่ เพื่อไปร่วมทำบุญฟังธรรมมหาชาติ ในงานครบอายุ ๕๘ ปี ของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ถึงเดือนยี่เหนือ (เดือน ๑๒ ใต้) แรม ๑ ค่ำ ก็กลับมาอยู่วัดจอมหมอกตามเดิม

    .................................................................................................................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2012
  4. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    [​IMG]

    ถึงเดือน ๗ เหนือ (เดือน ๕ ใต้) ขึ้น ๖ ค่ำ ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒๘ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๗๙ พระสิทธิอ้าย เจ้าคณะหมวดเป็นเจ้าอธิการ วัดดอนชัย ต. แม่ตื๋น อ. อมก๋อย จ. เชียงใหม่ ได้จัดให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ๑ นาย มาเกาะเอาพระชัยยะวงศา (ขณะนั้นอุปสมบทได้เพียง ๒ พรรษา) พาไปที่วัดดอนชัย เจ้าคณะหมวด (เจ้าคณะตำบล) ได้เรียกพระชัยยะวงศาเข้ามาแล้วพูดว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LP-Wong57.jpg
      LP-Wong57.jpg
      ขนาดไฟล์:
      28.3 KB
      เปิดดู:
      14,095
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2012
  5. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    [​IMG]

    ถึงเดือน ๑๐ เหนือ (เดือน ๘ ใต้) ขึ้น ๙ ค่ำ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๒๘ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๙ พระชัยยะวงศาผ้าขาวก็ลาครูบาเจ้าศรีวิชัย จากวัดบ้านปาง เพราะพวกกะเหรี่ยงชาวเขา ได้นิมนต์ไปโปรดเข้าพรรษาที่บ้านดอยห้วยเปียง ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ก็อนุญาตเพื่อไปโปรดพวกชาวเขา และให้ไปอยู่จำศีลภาวนาให้สงบในป่าเขา ถึงเมื่อคณะสงฆ์ และบ้านเมืองสงบดีแล้ว ค่อยกลับมาวัดบ้านปาง เหมือนเดิม

    พระชัยยะวงศาผ้าขาวก็เดินทางไปทางทิศตะวันตก ผ่านเมืองตื๋น ถึงบ้านดอยห้วยเปียง เมื่อเดือน ๑๐ เหนือ (เดือน ๘ ใต้) ขึ้น ๑๓ ค่ำ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๙ พวกชาวเขา และญาติโยมก็ยินดี พากันรีบทำกระต๊อบในป่าหลังดอย ให้อยู่จำพรรษาที่นี่ไม่ให้ครูบาเจ้าไปไหนอีก พระชัยยะวงศาก็รับนิมนต์อยู่จำพรรษาที่วัดป่า ดอยห้วยเปียง เป็นเขต ต. แม่ตื่นใต้ อ. แม่ระมาด จ. ตาก อยู่กับชาวเขาได้ ๔ พรรษา เมื่อเดือน ๑๒ เหนือ (เดือน ๑๐ ใต้) แรม ๖ ค่ำ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กันยายน

    พ.ศ. ๒๔๘๒ ก็ลาจากอารัญญะวาสี ชาวเขาดอยห้วยเปียง กลับคืนมาเยี่ยมโยมแม่ ที่บ้านก้อหนอง แล้วเลยเดินต่อไปยังวัดบ้านปาง เพื่อช่วยครูบาอภิชัยขาวปีเหมียด (เก็บ) พระศพท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย บรรจุไว้ในหอเมรุ

    ถึงเดือนยี่เหนือ (เดือน) ๑๒ ใต้) แรม ๗ ค่ำ เป็นวันจันทร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ. ศ, ๒๔๘๒ ครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี และพระชัยยะวงศาผ้าขาว ก็ลาออกจากวัดปาง ไปอยู่บ้านกะเหรี่ยงห้วยหละห้วยโทก ต. ป่าพลู อ. บ้านโฮ่ง จ. ลำพูน เป็นกำลังสำคัญในการสร้างถนน ตั้งแต่บ้านห้วยหละบ้านห้วยโทก เป็นระยะทาง ๓ กิโลเมตร รวมเป็นเวลาได้ ๗ เดือน แล้วทำบุญฉลองถนน

    จากนั้น ครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี ก็ลาจากบ้านห้วยหละ ไปอยู่ที่พระบาทตะเมาะ ซึ่งเป็นวัดเดิมของท่าน <O:p</O:p
    ส่วนพระชัยยะวงศาผ้าขาว ก็อยู่จำพรรษา ที่อารามสบหละ ตามคำนิมนต์ของพวกยางบ้านห้วยหละอีก ๑ พรรษา ก็พอดี ปีนั้นเกิดสงครามกับญี่ปุ่น (สงครามโลกครั้งที่ ๒)

    ออกพรรษาแล้วถึงเดือนยี่เหนือ (เดือน ๑๒ ใต้) เป็นวันแรม ๒ ค่ำ วันพุธทีที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ก็ลาออกจากวัดป่าห้วยหละ เพราะมีคณะศรัธาวัดป่าพลูมานิมนต์ ให้ไปอยู่ที่วัดป่าพลู เพื่อไปสร้างกำแพง และพระวิหาร

    ถึงเดือน ๙ เหนือ (เดือน๗ ใต้) ขึ้น ๑๓ ค่ำ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔ คณะสรัทธาวัดป่าพลูได้นิมนต์ให้พระชัยยะวงศาผ้าขาว อุปสมบท ต่อนิสัย ขึ้นอีกใหม่ ที่วัดป่าพลู มีเจ้าอธิการบุญมา เจ้าอาวาสวัดบ้านโฮ่ง เป็นอุปัชฌาย์ มีพระจันทร์ พระมหาทองคำ เป็นพระคู่สวดกรรมวาจาจารย์ ให้ฉายว่า จันทวํโสภิกขุ

    ทางคณะสงฆ์ บัญญัติให้พระจันทวํโส อยู่จำพรรษาที่วัดพลู ๕ พรรษา พระจันทวํโสได้อยู่จนครบ ๕ พรรษา ในช่วงออกพรรษา ก็ได้ออกจากวัดป่าพลู ไปช่วงพระครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี คุมงานการก่อนสร้าง ที่วัดพระบาทตะเมาะ พอใกล้เข้าพรรษาก็กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าพลู ตามเดิม

    ...................................................................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2012
  6. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    [​IMG]

    การก่อสร้าง วิหารครอบรอยพระพุทธบาท

    จนถึงเดือน ๑๐ เหนือ (เดือน ๘ ใต้) ขึ้น ๑๐ ค่ำ ตรงกับวันจันทร์ ๘กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ทางคณะสงฆ์ อำเภอลี้ นายอำเภอและศรัทธาประชาชน ผู้เฒ่า ผู้แก่ บ้านนาเลี้ยง หมู่ ๑ ต. นาทราย อ. ลี้ จ ลำพูน พร้อมใจกันไปนิมนต์ พระจันทวํโส มาพักอยู่ที่วัดนาเลี่ยง เพื่อบูรณปฎิสังขรณ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ซึ่งร้างอยู่นานแล้ว ทำการก่อสร้างวิหารครอบรอยพระพุทธบาท และสร้างเสนาะ เพิ่มเติม จนพอพักอาศัยได้ และได้อยู่จำพรรษาที่ วัดห้วยต้ม แห่งนี้ ตั้งแต่นั้นมา

    <O:pถึงพรรษาที่ ๒ เดือน ๑๒ เหนือ (เดือน ๑๐ใต้) ขึ้น ๑ ค่ำ เป็นวันจันทร์ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๐ ปีกุน ก็วางศิลาฤกษ์ สร้างวิหารครอบรอยพระพุทธบาท ระหว่างนั้นโดยขณะที่ท่านพระจันทวํโส ได้ไปทำถนนที่ทุ่งหัวช้าง ผาเบ้อ ก็ได้มอบหมายให้ พระครูบาพรรณ (พระครูพินิจสารธรรม) สั่งให้ศรัทธาชาวบ้านนาเลี้ยง ปั้น ดินจี่ (อิฐ) หลังคาเรือนละ ๕๐๐ ก้อน และคณะพระภิกษุ–สามเณร วัดแม่หว่าง โดยการนำของพระไวย ก็มาช่วยศรัทธาญาติโยมปั้นดินจี่ (อิฐ) นี้ด้วย เพื่อนำมาก่อสร้างพระวิหาร การก่อสร้างได้ดำเนินเรื่อยๆ ตลอดมา พระวิหารครอบรอยพระพุทธบาท ได้สำเร็จลงในที่ ในปี พ.ศ.๒๕๔๓ รวมเวลาการที่ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ เป็นเวลาถึง ๕๓ ปี

    นับตั้งแต่ หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศา ได้มาอยู่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๙ ที่หลวงปู่ ได้เข้ามาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จนกระทั่งมรณภาพในเวลา ๐๑.๐๐ น. ของวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๓ เป็นเวลาถึง ๕๔ ปี หลวงปู่ ได้ใช้ความพยายามพัฒนาวัด จนสามารถพลิกสภาพความเป็น วัดร้าง ให้เป็น วัดที่มีความเจริญถึงสุดขีด จนทำให้ผู้คนจากทุกสารทิศ ทั้งใน และต่างประเทศ ทุกระดับชั้นทางสังคม หลั่งไหลเข้ามาสักการะ สมกับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง ของประเทศไทย

    ผลงานของ หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา

    <O:p</O:pด้านการก่อสร้างถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนา และสาธารณะ <O:p</O:p
    ๑) วัดที่หลวงปู่สร้างและอุปถัมภ์ ทั่งในจังหวัดลำพูน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงราย จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดกำแพงเพชร เท่าที่รวบรวมได้มีทั้งหมด ๔๘ วัด <O:p</O:p
    ๒) โรงเรียนในความอุปถัมภ์ของหลวงปู่ ในจังหวัดลำพูนและจังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวน ๓๖ แห่ง <O:p</O:p
    ๓) มูลค่าการก่อสร้างถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนา และสาธารณะประโยชน์ สิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่แล้ว หลวงปู่ จะเป็นผู้ออกแบบเอง รวมทั้งควบคุม และติดตามผลงานเอง (ยกเว้นโรงพยาบาลลี้แห่งใหม่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน) และนอกจากนี้ แรงงานที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นชาวเขา ที่หลวงปู่ให้การดูแล แทบทั้งสิ้น

    ................................................................................................................................................................................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LP-Wong22.jpg
      LP-Wong22.jpg
      ขนาดไฟล์:
      45.1 KB
      เปิดดู:
      14,086
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2012
  7. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    [​IMG]

    รางวัลเกียรติคุณ

    ด้วยเหตุที่หลวงปู่เป็นนักพัฒนาทั้งทางวัตถุ (ศาสนวัตถุและสาธารณะวัตถุ) และด้านจิตใจ (สร้างทั้งคนและวัตถุไปพร้อมกัน) จึงทำให้ ได้รับการยกย่องเกียรติทางสังคม ดังต่อไปนี้

    ) รางวัลครูบาศรีวิชัย ในฐานะบุคคลที่มีผลงานการส่งเสริมพัฒนาพระพุทธศาสนา กิจการสาธารณะ และเป็นแบบอย่างที่ดี มีปฏิปทา เดินตามรอยเยี่ยงครูบาเจ้าศรีวิชัย ในปี พ.ศ.๒๕๓๖

    ๒) โล่เชิดชูเกียรติ ในฐานะเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านศิลปินดีเด่น จ. ลำพูน สาขาศิลปะ สถาปัตยกรรม จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในปี พ.ศ.๒๕๔๒

    ๓) รางวัลเสมาธรรมจักร ในฐานะบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาส่งเสริมการพัฒนาชุมชน ในปี พ.ศ.๒๕๔๒

    ...................................................................................................................................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2012
  8. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    [​IMG]

    ประวัติวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม โดยสังเขป

    วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตั้งอยู่เลขที่ ๔๙๙ หมู่ที่ ๘ ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ห่างจากที่ว่าการอำเภอลี้ไปทางทิศใต้ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร เป็นวัดที่มีรอยพระพุทธบาท ซึ่งปัจจุบันทางวัดได้สร้างวิหารครอบรอยพระพุทธบาทไว้ เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั้งชาวเผ่ากะเหรี่ยงและชาวไทยพื้นราบโดยทั่วไปนับได้ว่าเป็นปูชนียสถานที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน

    ตามตำนานพื้นเมือง กล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ ณ บริเวณสถานที่แห่งนี้ และได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้บนแผ่นหิน เพื่อให้ชาวลั๊วะ และนายพรานทั้งหลาย ได้สักการบูชา

    กาลเวลาผ่านไปศาสนสถานแห่งนี้ ได้ถูกปล่อยทิ้งร้างไป ขาดผู้อุปถัมภ์บำรุงมาเป็นเวลาหลายร้อยปี ต่อมา ทางการคณะสงฆ์อำเภอลี้ ซึ่งมีครูบามหาอินทร์ เจ้าคณะอำเภอลี้ เป็นต้น พร้อมด้วยลูกศิษย์ได้ทราบเรื่องราวจากผู้รู้ที่เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง จึงได้ออกค้นหา และได้ตรวจสอบหลักฐาน จนทราบแน่ชัดว่าเป็นรอยพระพุทธบาทตามที่ปรากฏในตำนานจริง จึงได้เชิญชวนศรัทธาประชาชนช่วยกันแผ้วถางและบูรณะโดยก่อสร้างมณฑปไว้เพื่อเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านทั่วไป

    ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๘ สิ่งก่อสร้างทั้งหลาย ชำรุด ทรุดโทรม ลงไป ตามกาลเวลา ครูบาคำผุย มหาชโย วัดบ้านแวน และคณะศรัทธา ได้พร้อมใจกันไปนิมนต์ พระครูพัฒนากิจจานุรักษ์(ครูบาเจ้าชัยยะวงศา พัฒนา) เมื่อครั้งเป็นพระจันทวังโส ภิกขุ จากวัดป่าพลู อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน มาจำพรรษา อยู่ที่ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม เพื่อทำการบูรณะปฎิสังขรณ์ เนื่องจากเห็นว่าท่านเป็นพระนักพัฒนา

    ท่านครูบาเจ้าชัยยะวงศาฯรับคำนิมนต์ และได้เดินทางมาจำพรรษาเป็นการถาวร ณ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม พร้อมด้วยบรรดาศิษย์ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๙ และ ได้ร่วมกับคณะศรัทธาชาวบ้าน ดำเนินการบูรณะ ปฎิสังขรณ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม เริ่มงานก่อสร้างวิหาร ครอบรอยพระพุทธบาทห้วยต้ม โดยวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๐ จนถึงปัจจุบัน ผลงานของท่านเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของชาวบ้านและประชาชนโดยทั่วไปทำให้วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ซึ่งเดิมเป็นวัดร้างเจริญขึ้นมาเป็นลำดับ

    ปัจจุบัน วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม มีพระภิกษุจำพรรษากว่า ๓๐ รูป สามเณร เกือบ ๒๐๐ รูป รวม เกือบ ๓๐๐ รูป มีพระครูพินิจสารธรรม เป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแล มีการจัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม-บาลี และ สามัญศึกษาถวายความรู้แด่พระภิกษุ สามเณร พร้อมทั้ง ให้การอบรม สั่งสอนประชาชน ให้ตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติตามแนวทางคำสอน ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สร้างสรรค์จรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบต่อไป

    ..................................................................................................................................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2012
  9. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    [​IMG]

    ถาวรวัตถุภายในวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม<O:p</O:p

    .วิหารครอบรอยพระพุทธบาทห้วยต้ม<O:p</O:p
    เป็นวิหารทรงล้านนาไทย สร้างครอบแผ่นหินที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ขนาดกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๔๔ เมตร สูง ๘ เมตร ภายในมีซุ้มมณฑปครอบรอยพระพุทธบาท ประดิษฐานพระพุทธปฏิมาประธาน บริเวณฐานผ้าทิพย์ที่เป็นแท่นแก้วรองรับพระพุทธรูปองค์นี้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้พระปรมาภิไธยย่อ ภปร. มาประดิษฐานไว้เป็นมิ่งขวัญ และสิริมงคล แก่ทางวัด ตลอดถึง ศรัทธาประชาชน ผู้มาเคารพสักการะ <O:p</O:p
    เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๐จนแล้วเสร็จบริบูรณ์ <O:p</O:p
    และสิ้นค่าก่อสร้างทั้งหมดประมาณ ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท (แปดล้านบาทถ้วน)

    . เจดีย์ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์<O:p</O:p
    มีเจดีย์ประธาน ๑ องค์ แวดล้อมด้วยเจดีย์เล็กประกอบรอบเจดีย์องค์ใหญ่ ๘ องค์ ซุ้มพระพุทธรูป ๘ ซุ้ม เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗<O:p</O:p
    สิ้นค่าก่อสร้างทั้งหมด ๓๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามสิบสองล้านบาทเศษ)

    ..................................................................................................................................................

    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2012
  10. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    [​IMG]

    . ศาลาบำเพ็ญบุญ (วิหารคด) <O:p</O:p
    ล้อมรอบวิหารครอบรอยพระพุทธบาท จัดศาลาบำเพ็ญบุญ มีลักษณะคล้ายวิหารคด ตามฝาผนังมีการวาดภาพประวัติพระนางเจ้าจามเทวี ปฐมกษัตรีผู้สร้างนครหริภุญชัยแบ่งเป็น ๔ ตอน ด้วยกัน คือ

    ตอนที่ ๑ <O:p</O:p
    สร้างติดกับเสาล่อฟ้า ขนาดความกว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๔๐ เมตรเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗

    ตอนที่ ๒ <O:p</O:p
    สร้างทางทิศตะวันออก ขนาดความกว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๗๐ เมตรเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘

    ตอนที่ ๓ <O:p</O:p
    สร้างด้านที่ตะวันตกขนาดความกว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๑๕.๕๐ เมตรเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐

    ตอนที่ ๔ <O:p</O:p
    สร้างทางด้านที่ใต้ ขนาดความกว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๙๗,๓๐ เมตรเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ สิ้นค่าก่อสร้างทั้ง ๔ ตอน รวมประมาณ ๒,๑๐๔,๔๓๔ บาท (สองล้านหนึ่งแสนสี่พันสี่ร้อยสามสิบสี่บาทถ้วน)

    . ศาลาเสาล่อฟ้า<O:p</O:p
    เป็นศาลาทรงมณฑปแหลมความกว้าง ๘ เมตร ยาว ๘ เมตร สูง ๕๐ เมตรส่วนบนสุดติดตั้งเสาล่อฟ้า เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ สิ้นค่าก่อสร้างทั้งหมดประมาณ ๒๕๗,๒๐๐ (สองแสนห้าหมื่นเจ็ดพันสองร้อยบาทถ้วน)

    ...................................................................................................................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2012
  11. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    [​IMG]

    ๕. หอระฆัง<O:p</O:p
    ขนาดความกว้าง ๖ เมตร ยาว ๖ เมตร สูง ๒๐ เมตร ใช้เป็นที่แขวนกลองและระฆัง สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๑,๔๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านสี่แสนบาทเศษ)

    . พระอุโบสถทรงล้านนาไทย <O:p</O:p
    ตั้งบริเวณด้านทิศตะวันตกของเจดีย์ใหญ่ขนาดความกว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๒๒ เมตรเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ในเป็นสถานที่ประกอบสังฆกรรมของพระสงฆ์ และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จแทนพระองค์ ทรงตัดสาแหรกลูกนิมิต เมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ ที่ผ่านมา สิ้นค่าก่อสร้างทั้งหมด ๑๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท(สิบสองล้านบาทเศษ)

    ..................................................................................................................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2012
  12. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    [​IMG]

    ๗. มณฑปพระเจ้าเก้าตื้อ (จำลอง)<O:p</O:p
    มีโดมหลังคา ภายในปิดกระจกเงารอบ และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทองเหลือง ปางมารวิชัย จำลองจากพระเจ้าเก้าตื้อวัดสวนดอกเชียงใหม่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกได้เมตตาเสด็จมาเป็นองค์ประธานในการเททองที่โรงหล่อบางแค เขตตลิ่งชัน กรุงเทพ ฯ ทำพิธีเททองเมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๓๑ โดยมีฐานกว้าง ๔ ศอก สูง ๕ ศอก ปัจจุบันพระเจ้าเก้าตื้อจำลองประดิษฐานเป็นประธานอยู่ในมณฑป ณ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จแทนพระองค์ ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ ที่ผ่านมา สิ้นมูลค่าการก่อสร้างประมาณ ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท(สิบห้าล้านบาทเศษ)

    .หอพระไตรปิฎก<O:p</O:p
    เป็นทรงศิลปะล้านนา ขนาดความกว้าง ๑๐.๖๕ เมตร ยาว ๑๐.๖๕ เมตรใช้เป็นสถานที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกและพระธรรมคัมภีร์ ใบลานแบบล้านนา สิ้นมูลค่าการก่อสร้างประมาณ ๒,๒๑๓,๖๕๒ บาท(สองล้านสองแสนหนึ่งหมื่นสามพันหกร้อยห้าสิบสองบาทถ้วน)

    ..................................................................................................................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2012
  13. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    [​IMG]

    ๙. โรงเรียนพระปริยัติธรรมพระชัยยะวงศาพัฒนา<O:p</O:p
    เป็นอาคาร ๒ ชั้น กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๓๒ เมตรเริ่มทำการก่อสร้างเมื่อ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ใช้เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม และสามัญศึกษาของพระภิกษุสามเณร สิ้นค่าก่อสร้างทั้งหมด ๒,๒๗๒,๕๐๖ บาท (สองล้านสองแสนเจ็ดหมื่นสองพันห้าร้อยหกบาทถ้วน)

    ๑๐. พิพิธภัณฑ์วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม<O:p</O:p
    เป็นวิหารทรงศิลปะล้านนาไทย ใช้เป็นสถานที่เห็บรักษาศิลปวัตถุ และอัฏฐบริขาร และปัจจุบันได้ตั้งสรีระของท่านครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา ชั่วคราว ขนาดความกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๔ เมตรสิ้นค่าก่อสร้างทั้งหมดประมาณ ๓,๐๓๙,๓๖๐ บาท (สามล้านสามหมื่นเก้าพันสามร้อยหกสิบบาทถ้วน)

    ..................................................................................................................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2012
  14. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    [​IMG]

    ๑๑. วิหารแก้วประดิษฐานสรีระของหลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศา พัฒนา <O:p</O:p
    อยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง ขณะนี้สิ้นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างไปแล้วประมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านบาทเศษ) โดยคาดว่างบประมาณในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ ประมาณ ๑๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท(สิบสองล้านบาทเศษ)

    ๑๒. กุฏิศรัทธานิมิต<O:p</O:p
    เป็นกุฏิไม้ ๒ ชั้น ทรงศิลปะล้านนาไทย ใช้เป็นที่พักจำพรรษาของพระคุณเจ้าพระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ (หลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา) จนกระทั่งมรณภาพ มีขนาดความกว้าง ๑๐.๖๐ เมตร ยาว ๑๘.๖๐ เมตร เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อปี พ. ศ. ๒๕๓๔ สิ้นมูลค่าการก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ ๖,๓๐๐,๐๐๐ บาท (หกล้านสามแสนบาทเศษ)

    ..................................................................................................................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2012
  15. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    [​IMG]

    ๑๓. หอพระนิพพานเวียงแก้ว<O:p</O:p
    เป็นวิหารโถง ผนังโดยรอบประดับกระจกใส ประดิษฐานพระพุทธปฏิมาประธานสร้างด้วยหินอ่อนสีขาว ศิลปะแบบพม่าใช้เป็นบำเพ็ญสมณธรรมเจริญสมาธิภาวนาของพระภิกษุสามเณร เริ่มก่อสร้างเมื่อ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ กว้าง ๑๒.๒๐ เมตร ยาว ๒๖ เมตร สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๓,๙๓๑,๑๑๖ บาท ( สามล้านเก้าแสนสามหมื่นหนึ่งพันหนึ่งร้อยสิบหกบาทถ้วน)

    ๑๔. กุฏิสุพรหมยานเถรานุสรณ์<O:p</O:p
    เป็นกุฏิสงฆ์ทรงศิลปะล้านนาไทย สร้างด้วยไม้ มีขนาดความกว้าง ๑๒ เมตร ความยาว ๒๐ เมตร สร้างอุทิศเป็นอนุสรณ์แด่พระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมา พรหมจักโก)พระอุปัชฌาย์ ใช้เป็นพักรับรองพระเถรผู้ใหญ่ สิ้นค่าก่อสร้างทั้งหมดประมาณ ๒,๔๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านสี่แสนบาทเศษ)

    ...................................................................................................................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2012
  16. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    [​IMG]

    ๑๕ . ศาลาบาตร<O:p</O:p
    เป็นศาลาโถงโล่งตลอด มีขนาดความกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๐๐ เมตร ใช้เป็นสถานที่รับรองศรัทธาประชาชนที่มาร่วมทำบุญในงานประจำปีของทางวัด สิ้นค่าก่อสร้างทั้งหมดประมาณ ๔๕๐,๐๐๐ บาท (สี่แสนห้าหมื่นบาทถ้วน)

    ๑๖. มณฑปพระพุทธบาทกบ<O:p</O:p
    เป็นอาคารสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่ออิฐถือปูน สร้างครอบรอยพระพุทธบาทที่ปรากฏอยู่บนแผ่นหินซึ่งสถานคล้ายกบเรียกว่าพระพุทธบาทกบ มีขนาดความกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๐ เมตร สิ้นค่าก่อสร้างทั้งหมดประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ (สองแสนห้าหมื่นบาทเศษ)

    ..................................................................................................................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2012
  17. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    [​IMG]

    ๑๗. ศาลาบ่อน้ำทิพย์<O:p</O:p
    เป็นศาลาทรงไทยโล่งทั้งสี่ด้าน สร้างครอบบ่อน้ำทิพย์มีขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๓ เมตร สิ้นค่าก่อสร้างทั้งประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทเศษ)

    ๑๘. กุฏิสงฆ์<O:p</O:p
    เป็นกุฏิไม้ทรงไทยศิลปะล้านนา กว้าง ๕ เมตร ยาว ๗ เมตร ใช้เป็นที่พักจำพรรษาของพระภิกษุสามเณรและลูกศิษย์ในวัด มีทั้งหมด ๓๐ หลัง สิ้นค่าก่อสร้างทั้งประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดแสนบาทถ้วน)

    ๑๙. ฉางข้าว สหกรณ์<O:p</O:p
    เป็นอาคารไม้มีใต้ถุนสูง กว้าง ๑๒ เมตร ใช้เป็นที่เก็บข้าวเปลือกที่มีผู้นำมาถวายวัด สิ้นค่าก่อสร้างทั้งหมดประมาณ ๑,๐๓๒,๐๗๙ บาท (หนึ่งล้านสามหมื่นสองพันเจ็ดสิบเก้าบาทถ้วน)

    ...................................................................................................................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2012
  18. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    [​IMG]

    รายละเอียด การเสด็จพระราชดำเนิน ทรงเยี่ยมวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม<O:p</O:p
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<O:p</O:p
    สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ<O:p</O:p
    สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี<O:p</O:p
    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า จุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี<O:p</O:p
    ได้เสด็จพระราชดำเนินเมื่อ <O:p</O:p
    - ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙<O:p</O:p
    - ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒<O:p</O:p
    - ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๓

    ...................................................................................................................................................

    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามกุฏราชกุมาร<O:p</O:p
    ได้เสด็จพระราชดำเนิน เมื่อ - ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๔

    ..................................................................................................................................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2012
  19. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    [​IMG]


    ......................................................................................................................................................................................................................
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2008
  20. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786

แชร์หน้านี้

Loading...