ชนชั้นสูง ในสมัยพุทธกาล ไม่กินเนื้อครับท่าน...

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย หล่อลากดิน, 25 ตุลาคม 2008.

  1. หล่อลากดิน

    หล่อลากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,202
    ค่าพลัง:
    +235
    พระพุทธเจ้า พระองค์ผู้มีพระนามว่า พระอังคีระสัสะพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าในลำดับที่เจ็ด แห่งตำนานโคตะมะโคตรแห่งพระพุทธเจ้านั้น หรือที่เราคุ้นเคยกันในนาม พระบุตรแห่งพระศากยามุณีวงศ์ นั้น

    พระพุทธองค์มิได้ทรงห้ามการรับประทานเนื้อโดยสิ้นเชิง เพียงแต่ว่ามีการวางเงื่อนไขไว้บางอย่าง เช่น สัตว์นั้นต้องมิถูกฆ่าเพื่อการบริโภคในครั้งนั้นโดยเฉพาะ

    พระเทวทัตได้ทูลขอให้พระพุทธองค์บัญญัติพระวินัย ห้ามการฉันเนื้อโดยเด็ดขาด (แจ่มมั๊ยครับท่าน...อิอิ) แต่หลังจากที่พระองค์ท่านได้ไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วน (อนาคตญาณของพระองค์ท่านสุดยอดอยู่แล้วนี่ครับ) พระองค์ก็ทรงปฏิเสธเช่นนั้น

    เฮ่ๆๆ ... ยังไงต่อไปหนอ?
     
  2. หล่อลากดิน

    หล่อลากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,202
    ค่าพลัง:
    +235
    ก็ในสมัยนั้น ก็เช่นเดียวกับสมัยนี้แหล่ะ (เซมๆ โซๆ ) คือผู้คนส่วนใหญ่จะรับประทานเนื้อและผัก (แจ่มๆ )

    แต่ก็มีเพียงพวกพราหมณ์ หรือชนชั้นสูงที่เป็นมังสวิรัติ

    ทีนี้มาตีประเด็นต่อว่า ... พระสงฆ์จะออกบิณฑบาต ท่านต้องรับอาหารทุกชนิดใช่หรือไม่?

    น่าคิด ... น่าคิด
     
  3. anbang

    anbang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    143
    ค่าพลัง:
    +396
    ใช่ เพราะเลือกกินไม่ได้ อาบัติ
     
  4. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +5,398
    พระสงฆ์ไม่ได้กินทั้งเนื้อหรือผัก แต่ฉันเพียงธาตุ 4 เพื่อบำรุงร่างกายให้สามารถปฎิบัติธรรมได้เท่านั้น ตามบทพิจารณาอาหารก่อนฉัน หากยังคิดว่าตนบริโภคเนื้อหรือผักอยู่แสดงว่ายังยึดติดกับสมมติ และมิได้พิจารณาอาหารก่อนฉันตามที่พระวินัยระบุไว้
     
  5. longer_85

    longer_85 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2007
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +7
    เคยได้อ่านจากที่ไหนไม่รู้ (ต้องขออภัยอย่างยิ่งที่จำไม่ได้)

    พระท่านนั้น บอกไว้ว่า "แม้แต่วัว ควาย ซึ่งมันไม่กินเนื้อ กินแต่หญ้า มันก็ยังไม่เห็นบรรลุสักตัว"


    ข้อคิดนี้ แตกฉานยิ่งนัก
     
  6. cmhadtong

    cmhadtong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2008
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +2,034
    การขบฉันก็ดี เป็นเพียงบำรุงร่างกายไม่ใช่เหรอ
    จะกินเนื้อ หรือกินพืช ก็ดี
    การบรรลุธรรม สำคัญที่จิตที่ใจไม่ใช่เหรอ

    วันหนึ่งๆ มีความดีอะไรติดใจเราบ้าง

    การกินพืชเพราะความเคยชิน หรือ เพราะอยู่ในสถานที่ที่ต้องกินพืช ก็แค่การกิน

    อนุโมทนาสาธุ
     
  7. pskmoo

    pskmoo สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    การบริโภคเนื้อสัตว์เท่ากับเราเอาชีวิตและเลือดเนื้อเขามาหล่อเลี้ยงชีวิตเราผลกุศลกรรมจะทำให้เรามีโรคภัยเบียดเบียนอายุสั้น
    คิดดีทำดียอมได้ดีครับ
     
  8. lagus

    lagus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    112
    ค่าพลัง:
    +155
    แบบนี้ก็ไม่ถูกทั้งหมดนะครับ

    ที่บ้านผมทานอาหารปรกติ ทั้งเนื้อทั้งผัก ชีวิตก็ไม่ได้ไปเบียดเบียรใคร อยู่กันอย่างมีความสุข ตอนทำบุญถ้านึกขึ้นได้ก็เผื่อไปถึงสัตว์ที่เรากินไปด้วย
    ตอนไปตลาดไม่ได้คิดจะเอาชีวิตมันหรอกครับซื้อมาปรุงอาหารทาน เดี๋ยวหิวแล้วจะกลายเป็นเบียดเบียรตัวเองปล่าว

    ผมเห็นด้วยกับคุณ cmhadtong นะครับ เพราะกินผักอย่างเดียวไม่ได้ทำให้เราบรรลุธรรมได้หรอก

    ต่างคนต่างความคิด ขอเลืองทางสายกลางอย่างพระพุทธเจ้าสอนไว้ดีกว่ามีความสุข

    ว่าแต่ถ้าจำไม่ผิดมันเป็นแผนของ พระเทวทัต ที่จะต้องการให้เกิดการแตกแยกในหมู่พระสงฆ์ ใช่ปะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2008
  9. LuckyFriday

    LuckyFriday เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,153
    "บทสวดพิจารณาปัจจัย ๔"(แปล)
    (บทพิจารณาอาหาร)
    ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ,เราย่อมพิจารณาโดยแยบคาย แล้วฉันบิณฑบาต,

    เนวะทะวายะ,ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน,

    นะมะทายะ,ไม่ให้เป็นเพื่อความเมามันเกิดกำลังพลังทางกาย,

    นะมัณฑะนายะ.ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ,

    นะ วิภูสะนายะ,ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง,

    ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา, แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้,
    ยาปะนายะ,เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ,

    วิหิงสุปะระติยา,เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย,

    พรัหมะจะริยานุคคะหายะ,เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์,

    อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ, ด้วยการทำอย่างนี้,

    เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนาเก่า คือความหิว,

    นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ,และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น,

    ยาตะรา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติ,

    อนึ่ง ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตตภาพนี้ด้วย ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย,

    และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย, จักมีแก่เรา ดังนี้.

    (บทพิจารณาอาหาร)

    ยะถา ปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง,สิ่งเหล่านี้นี่เป็นสักว่าธาตุตาม
    ธรรมชาติเท่านั้น กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ,

    ยะทิทังปิณฑะปาโต ตะทุปะภุญชะโก จะปุคคะโล,สิ่งเหล่านี้ คือบิณฑบาต และ คนผู้บริโภคบิณฑบาตนั้น,

    ธาตุมัตตะโก,เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ,

    นิสสัตโต,มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน,

    นิชชีโว,มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล,

    สุญโญ,ว่างเปล่าจากความหมาย แห่งความเป็นตัวตน,

    สัพโพ ปะนะยัง ปิณฑะปาโต อะชิคุจ ฉะนิโย,ก็บิณฑบาตทั้งหมดนี้ ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม,

    อิมัง ปูติกายัง ปัตตะวา,ครั้นมาถูกเข้ากับกาย อันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว,

    อะติวิยะ ชิคุจฉะนีโย ชายะติ,ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่ง ไปด้วยกัน,
     
  10. mabilar

    mabilar Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2006
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +53
    ผมว่าเรื่องนี้ พระพุทธเจ้า ท่านตรัสไว้ชัดเจนครับ สาเหตุที่ท่านให้พระฉันเนื้อสัตว์ได้ก็เพื่อยืดอายุพระศาสนาให้นานที่สุด ถ้าให้พระฉันมังสวิรัติจะทำให้พระศาสนามีอายุสั้น เข้าใจว่า จะทำให้ชาวบ้านมีความยุ่งยากในการใส่บาตร เพราะต้องเตรียมภัตตาหารสำหรับพระแยกจากอาหารของตน อาจทำให้ศาสนาเสื่อมเร็วเพราะขาดคนดูแล

    สำหรับผม หัวข้อนี้เคยเป็นประเด็นที่ผมคิดและข้องใจมาแล้ว สมัยตอนเริ่มปฏิบัติธรรมใหม่ๆ ยอมรับครับว่า ตอนนั้นเห็นด้วยกับพระเทวทัต เพราะเห็นว่า การที่พระองค์ไม่ให้ฆ่าสัตว์แต่อนุญาติให้พระฉันเนื่อสัตว์ มันดูขัดแย้งกันยังไงก็ไม่รู้ แต่พอเริ่มปฏิบัติไปเรื่อยๆ ประกอบกับประสบการณ์ชีวิตที่มากขึ้น ก็เข้าใจในหลักการตรงนี้ครับ

    การที่พระองค์ทรงประทานอนุญาติให้พระฉันเนื้อได้ นอกจากจะเป็นการช่วยให้ชาวบ้านมีความสะดวกในการบำรุงพระศาสนาแล้ว ยังช่วยให้พระสงฆ์สามารถปฏิบัติธรรมได้ง่ายขึ้น ลองคิดดูสิครับ ถ้าพระฉันแต่มังสวิรัติคงไม่สามารถออกธุดงค์ได้ ขนาดฉันเนื้อได้ ยังหาคนใส่บาตรแทบไม่ได้ เวลาที่ธุดงค์ไปในที่กันดาร เช่น ในป่าเขา ถ้าฉันมังสวิรัติไม่ต้องพูดถึงเรื่องธุดงค์ครับ หรือดูอย่างพระจีนบางนิกาย ให้พระฉันมังสวิรัติ สุดท้ายก็ต้องปลูกผักและทำอาหารเอง ตื่นเช้าก็ต้องออกมารดน้ำแปลงผัก ตกบ่ายทำกับข้าว แทบจะหาเวลาปฏิบัติธรรมไม่ได้ เพราะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการหาเลี้ยงตัวเอง

    หลังจากที่เข้าใจในหลักการนี้แล้ว ทำให้ผมรู้สึกนับถือ ในพระปํญญาของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง ท่านทรงวางหลักการที่ทางสายกลางได้อย่างลึกซึ้งและมีวิสันทัศน์ยิ่งนัก
     

แชร์หน้านี้

Loading...