ความเข้าใจเกี่ยวกับ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 31 กรกฎาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    เรื่องที่ 2 ภิกษุ 7 รูป เดินทางเพื่อจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ระหว่างทางได้แวะพักในถ้ำ ปรากฏว่า แผ่นหินก้อนใหญ่ได้เคลื่อนมาปิดปากถํ้า ต้องอดข้าวอดนํ้าอยู่ในถํ้าถึง 7 วัน และแผ่นหินได้กลิ้งกลับออกไปเองในวันที่ 7 เมื่อได้มาเฝ้าพระศาสดาจึงได้ทูลถามกรรมของพวกตน

    พระศาสดาได้ทรงแสดงบุรพกรรมของภิกษุ 7 รูป ดังนี้
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ขณะใดที่ได้รับอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ให้ทราบว่าขณะนั้นเป็นการให้ผลของอกุศลกรรมในอดีตที่ได้กระทำมาแล้ว เช่น เห็นสิ่งของปฏิกูล ได้ยินเสียงคนนินทาว่าร้ายตนเอง ได้รับประทานอาหารที่ไม่อร่อย ได้รับทุกข์ทางกาย (เป็นโรคร้าย หรือถูกคนทำร้าย หรือประสบอุบัติเหตุ) ล้วนเป็นผลของอกุศลกรรมที่ตนได้กระทำไว้แล้วทั้งสิ้น หาไม่เช่นนั้นแล้วก็จะไม่ต้องประสบอารมณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจนั้นเลย

    การที่เราจะเข้าใจสิ่งที่กล่าวมาแล้วนี้ ก็ต่อเมื่อได้ศึกษาเรื่องของจิต กุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต และกิริยาจิตอย่างละเอียด พระพุทธเจ้าทรงแสดงความจริงว่า ขณะที่เราประสบความสุขหรือความทุกข์ทางกายนั้น แท้จริงแล้วไม่มีใครมาทำให้ แต่เป็นเพราะกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้แล้วนั่นเองให้ผล

    ดังนั้นเมื่อใดที่เราประสบกับความทุกข์ทางกาย เช่น ถูกทำร้าย หรือขณะได้ยินเสียงที่ไม่น่าพอใจ เช่น ถูกดุด่า ว่าร้าย ถ้าเรารู้ความจริงว่าเป็นผลของกรรมหนึ่งที่เราได้เคยทำไว้แล้ว กล่าวคือเราได้เคยทำร้ายคนอื่น ได้เคยว่าคนอื่นไว้ แล้วเราจะโกรธใคร เราไม่ควรโกรธเคือง ผู้ที่มาทำร้ายเรา เพราะ โดยความเป็นจริงแล้ว อกุศลกรรมเก่าของเรานั่นเองที่มาทำร้ายเรา ดังเรื่องที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นทั้งสองเรื่อง เพราะโดยสภาพธรรมแล้วไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล มีแต่จิต เจตสิก รูป เท่านั้น
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    แล้วจะให้อนุโมทนากับการกระทำชั่วกระนั้นหรือ

    การกระทำชั่วย่อมมาจากจิตที่เป็นอกุศล เราอยู่ในฐานะที่จะเตือนหรือห้ามปรามเขาได้หรือไม่ ถ้าเราอยู่ในฐานะที่จะเตือนได้ก็ควรรีบกระทำด้วยจิตที่เป็นกุศล (เมตตา) แต่ถ้าเราไม่อยู่ในฐานะที่จะพูดได้ เนื่องจากเขามีอำนาจวาสนาหรือเขาเป็นคนพาล พูดไปเขาก็คงไม่เชื่อฟัง ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะพูด แล้วเราจะทำอะไรได้ ดังนั้น เราควรมีอุเบกขา และเชื่อในการให้ผลของกรรม

    ทุกคนอยากเป็นคนดี เพราะรู้ว่าคนดีใครๆ ก็ไม่รังเกียจ คนดีย่อมเป็นที่รัก แต่เราจะอดทนที่จะกระทำความดีได้มาก ได้นานแค่ไหน ในเมื่อเรายังมีจิตที่เต็มไปด้วยอกุศล (กิเลส) คือ มีความรักตน เห็นแก่ตัว ความอิจฉา ความริษยา ความแข่งดี ที่เราสะสมมาช้านาน และยังนอนเนื่องอยู่ในจิตทุกขณะ ผู้ที่อบรมจิตมาดี ก็จะมีจิตเมตตาเห็นแก่ประโยชน์สุขของคนอื่นบ้างตามกำลังของความเห็นแก่ตน หรือความรักตน ถ้ารักตนเองมาก ก็ย่อมเห็นประโยชน์ผู้อื่นน้อย ถ้ารักตนเองน้อยลง ก็จะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมได้มาก

    จิตของมนุษย์นั้นไซร้ยากแท้หยั่งถึง ไม่มีใครสามารถทราบจิตของคนอื่นได้จริงๆ มีแต่ตนเองเท่านั้นที่จะรู้สภาพจิตของตนเอง การกระทำดีของแต่ละคน แม้ภาพภายนอกจะดูว่าผู้นั้นเป็นคนดี แต่เราจะรู้จิตใจที่แท้จริงของเขาหรือไม่ เราไม่สามารถทราบสภาพจิตที่แท้จริงของใครได้ แต่เราสามารถทราบสภาพจิตของเราเองว่า การที่เราทำดีกับผู้อื่น เป็นเพราะหวังผลอะไรหรือไม่ เช่น

    *** ขยันทำงาน เพราะหวังให้เป็นที่ยกย่องสรรเสริญ

    *** อ่อนน้อมถ่อมตน เพราะหวังให้ผู้บังคับบัญชารัก

    *** ให้ของผู้อื่น เพราะหวังให้ตนเองเป็นที่รักใคร่ หรือหวังได้รับสิ่งหนึ่งสิ่งใดตอบแทน

    *** บริจาคเงินช่วยเหลือสังคมช่วยเหลือการกุศลต่างๆ เพื่อให้คนยกย่องสรรเสริญ

    *** บอกบุญเรี่ยไรเพราะหวังให้ตนเองได้บุญมากๆ

    *** พูดจาอ่อนหวาน ประจบช่วยเหลือกิจการงานของผู้บังคับบัญชา เพราะหวังจะเป็นที่รักใคร่เอ็นดู จะได้มีโอกาสเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานเป็นพิเศษ

    *** พูดตำหนิการกระทำของผู้อื่น เพราะหวังให้ผู้ฟังเข้าใจว่าตนเองฉลาดกว่า เก่งกว่า ดีกว่า

    *** จำใจทำดีเพราะเกรงจะถูกตำหนิ หรือกลัวจะถูกลงโทษ (หวังในความปลอดภัย)

    *** ออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือออกกฎหมาย เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ตน และ/หรือพวกพ้องของตน เป็นต้น

    ความหวังที่แอบแฝงซ่อนเร้นอยู่ในจิตนั้น แท้จริงแล้วเป็นความรักตน เห็นแก่ตน ที่เหนียวแน่นและฝังลึกยากจะถ่ายถอน เป็นอกุศลจิตที่ถ้าไม่มีความเข้าใจธรรมขั้นละเอียดแล้ว จะไม่เห็นเลยว่าเป็นโทษเป็นภัย และขัดขวาง


    การอบรมเจริญบารมีเพื่อถึงฝั่ง (พระนิพพาน)

    การทำความดีเพราะหวังในผลของการทำความดีนั้นเป็นอกุศล (โลภะ) บางคนอาจจะรู้สึกไม่เห็นด้วยที่กล่าวเช่นนี้ เพราะคิดว่าทำความดีก็ดีแล้ว จะทำดีด้วยมูลเหตุจูงใจอะไรก็ไม่เห็นจะสำคัญตรงไหน หากเราจะพิจารณาอย่างผิวเผิน ก็น่าจะใช่ แต่หากพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว จะทราบว่า ความหวัง ความต้องการทุกชนิดเป็นลักษณะของโลภะ สำหรับผู้ที่ทำความดีเพราะความเกรงกลัวต่างๆ นั้นเป็นอกุศลประเภทโทสะ

    สำหรับผู้ที่ทำดีและพูดจายกย่องตนเองนั้น พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญ โดยได้ทรงแสดงธรรมว่า ผู้เป็นบัณฑิตย่อมไม่สรรเสริญตนเอง ดังนั้น จะไม่เป็นการดีกว่าหรือ ถ้าเราจะทำความดีเพราะความดีเป็นสิ่งที่ควรกระทำ ทำความดีด้วยจิตที่มีเมตตา คิดจะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น

    เราควรตั้งจิตไว้ชอบ คือ ทำความดีเพื่อประโยชน์ส่วนรวม หรือเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นโดยแท้ ไม่หวังแม้คำชมหรือคำสรรเสริญ เพื่อเป็นการเจริญกุศลให้ยิ่งๆ ขึ้นไป เราควรทำบุญแม้เพียงนิดหน่อยก็ไม่ควรละเลย เพื่อขัดเกลาจิตตนเอง เพื่อลดความตระหนี่ ความเห็นแก่ได้ของตนลง เราควรมีเมตตาแบ่งปันสิ่งต่างๆ ให้เพื่อนฝูงหรือญาติมิตร เพื่อให้เขาได้รับประโยชน์ ไม่ใช่ให้เพราะหวังประโยชน์ตอบแทน

    เราควรมีความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เพราะจิตที่อ่อนน้อมเป็นสภาพจิตที่ดีงาม ไม่ใช่อ่อนน้อมเพราะหวังประจบ การทำความดีโดยไม่หวังผลตอบแทน (ลาภ ยศ สรรเสริญ) เป็นสิ่งที่ควรกระทำ เพราะขณะที่ทำความดีโดยไม่หวังผลตอบแทนนั้น เป็นขณะที่กุศลจิตมีกำลัง กุศลกรรมในขณะนั้นทำให้อกุศลกรรมระงับไป

    ดังนั้น ทุกคนควรหมั่นพิจารณาจิตของตน ว่าในแต่ละวันจิตเป็นอกุศลหรือกุศลมากน้อยแค่ไหน ซึ่งเป็นการเจริญกุศลอย่างยิ่งประการหนึ่ง อีกทั้งเป็นการสะสมเหตุแห่งความสุขความเจริญทั้งในชาติปัจจุบันและชาติต่อๆ ไป ทุกคนมีความรักตัวเองอย่างเหนียวแน่น จึงรักสุข (สุขเวทนา) เกลียดทุกข์ (ทุกขเวทนา) กันทั้งนั้น ทำกุศลก็เพื่อตนเองจะได้รับผลของกุศล เช่น ทำบุญเพราะหวังจะได้ไปเกิดบนสวรรค์ ทำอกุศลก็เพื่อให้ตนเองได้รับสุขในชาตินี้ เช่น

    บางคนพูดเท็จใส่ร้ายคนอื่นเพื่อให้ตนเองได้ดี บางคนประกอบอาชีพทุจริต เช่น ลักขโมย ขายยาเสพย์ติด บางคนมีอาชีพที่ดูจะสุจริตแต่ประพฤติทุจริต เช่น คอรัปชั่นในวงการต่างๆ เพราะความเห็นแก่ตัว รักตนเองทั้งสิ้น อยากให้ตนเองรํ่ารวย อยากให้ตนเองเป็นใหญ่เป็นโต มีคนนับหน้าถือตา อยากให้ตนเองเป็นที่ยกย่องสรรเสริญว่ารํ่ารวย มีวาสนาบารมี มียศฐาบรรดาศักดิ์กว่าผู้อื่น ความอยาก (โลภะ) ของมนุษย์มีมากมายไม่รู้จบ

    มีคำกล่าวว่า ภูเขาทองสองลูก ก็ยังไม่พอแก่โลภะ ยังอยากได้มากขึ้นไปอีก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ เมื่อถึงคราวเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บรรดาผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหลาย ต่างคนต่างภาวนาขอให้ได้รับเลือกตั้ง แม้ได้รับเลือกเป็นลำดับสุดท้ายก็ยังดีกว่าไม่ได้เลย พอได้รับเลือกตั้งเป็น สส. เข้าจริง ก็ภาวนาขอให้ได้ตำแหน่งใหญ่โต เป็นรัฐมนตรีสักกระทรวงหนึ่งกระทรวงไหนก็ได้เอาทั้งนั้น พอได้เป็นสมใจหวังก็คิด (โลภะ) อีกว่า น่าจะได้เป็นเจ้ากระทรวงที่มีอำนาจมากๆ หน่อยก็จะดี จะได้เป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล เมื่อได้เป็นรัฐมนตรีไปสักระยะหนึ่ง ก็ไผ่ฝันอยากเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอีก พอได้เป็นนายกรัฐมนตรี ก็อยากเป็นต่อไปเรื่อยๆ ให้นานที่สุด

    การที่ผู้ใดจะได้ลาภ ได้ยศ ไม่ได้เกิดจากความอยาก ทุกคนย่อมปราถนาอยากได้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตนเองและผู้ที่ตนรักใคร่ผูกพัน แต่จะมีสักกี่คนที่สมหวัง กรรมดีที่ได้กระทำไว้ดีแล้วเท่านั้น เป็นเหตุให้ได้รับสิ่งต่างๆที่ดี ที่น่าปรารถนา เพราะ เหตุ นั้นย่อมสมควรแก่ ผล เสมอ กล่าวคือเมื่อทำเหตุมาดีย่อมได้รับผลที่ดี เมื่อทำเหตุไว้ไม่ดีหรือดีไม่พอ จะหวังหรืออยากอย่างไรก็ไร้ผล

    สังคมคงจะสงบร่มเย็นขึ้นถ้าทุกคนรู้จักคำว่า
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กรรมนำเกิด

    เราเวียนว่ายตายเกิดมานับชาติไม่ถ้วนแล้ว ชาตินี้ก็เป็นอีกชาติหนึ่งที่กุศลกรรมให้ผลทำให้ได้เกิดเป็นมนุษย์ แต่อีกไม่นานเราก็ต้องเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติกันอีกแล้ว เราจะมีชีวิตยืนยาวอยู่อีกกี่ปี กี่เดือน กี่วัน ถ้าคิดว่าเราจะอยู่อีก 10 ปี ก็เพียง 3650 วัน ถ้า 20 ปี ก็เพียง 7300 วัน เท่านั้นเอง แต่ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง เราอาจจะตายวันนี้ พรุ่งนี้หรือเย็นนี้ก็ได้ เมื่อผลของกุศลกรรมที่ทำให้เกิดเป็นมนุษย์หมดสิ้นแล้ว

    การได้เกิดเป็นมนุษย์เป็นเพราะ ชวนวิถีจิต [ชวนวิถีจิต โดยศัพท์
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ข้อความในจูฬกัมมวิภังคสูตร พระพุทธองค์ทรงแสดงถึงผลดีผลร้าย 7 คู่ อันเนื่องมาจากกรรมที่ได้กระทำไว้แล้วดังนี้

    1. มีอายุน้อย เพราะฆ่าสัตว์ มีอายุยืน เพราะไม่ฆ่าสัตว์

    2. มีโรคมาก เพราะเบียดเบียนสัตว์ มีโรคน้อย เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์

    3. มีผิวพรรณทราม เพราะมักโกรธ มีผิวพรรณดีเพราะไม่มักโกรธ

    4. มีศักดาน้อย เพราะริษยา มีศักดามาก เพราะไม่ริษยา

    5. มีโภคทรัพย์น้อย เพราะไม่ให้ทาน มีโภคทรัพย์มาก เพราะให้ทาน

    6. เกิดในตระกูลตํ่า เพราะกระด้าง ถือตัว ไม่อ่อนน้อม เกิดในตระกูลสูง เพราะไม่กระด้าง ถือตัว แต่รู้จักอ่อนน้อม

    7. มีปัญญาทราม เพราะไม่เข้าไปหาสมณพราหมณ์ไต่ถามเรื่องกุศล อกุศล เป็นต้น มีปัญญาดี เพราะเข้าไปหาสมณพราหมณ์ ไต่ถามเรื่องกุศล อกุศล เป็นต้น

    (พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน ย่อความจากพระไตรปิฎกฉบับบาลี)

    การที่เรามีความรู้และมีความเข้าใจเรื่องของกรรมตามที่ได้ทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎก มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน สรุปโดยสังเขปดังนี้

    1. มีความมั่นคงในการทำความดีต่อผู้อื่น ทั้งกาย วาจา ใจ

    2. มีความเพียรที่จะละเว้นการทำชั่ว ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ทั้งทางกาย วาจา ใจ

    3. ให้อภัยผู้กระทำให้เราเดือดร้อน

    4. คลายความคับแค้นใจเมื่อได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม

    5. มีความอดทนที่จะไม่โกรธผู้ที่ทำให้เราเดือดร้อน

    6. มีเมตตาแม้กับผู้ประพฤติมิชอบ

    7. ไม่ประมาทในชีวิต โดยหมั่นเจริญกุศลและเพียรพยายามละอกุศล

    8. ไม่มีศัตรู

    9. มีมิตรมาก


    ปัญหาของประเทศ กรรมของใคร

    การที่บ้านเมืองของเรากำลังประสบปัญหาเดือดร้อนต่างๆ อยู่ในขณะนี้ ได้แก่ ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในวงราชการ ปัญหาธุรกิจล้มละลายในภาคธุรกิจ ปัญหาทุจริตในการเลือกตั้งระดับต่างๆ ตลอดจนมีเรื่องอื้อฉาวในวงการสงฆ์ เพราะเราเป็นชาวพุทธแต่เพียงในนาม เราเป็นชาวพุทธตามใบทะเบียนบ้าน และเรายังมีความเข้าใจพระพุทธศาสนาที่ผิวเผินมาก

    เมื่อไม่มีความเข้าใจหลักธรรมก็ไม่สามารถจะขจัดความเห็นผิดได้ ก็ย่อมต้องประสบทุกข์เดือดร้อน เพราะไม่สามารถมีพระธรรมเป็นที่พึ่งได้ เราจึงหวังพึ่งนักการเมืองบ้าง หวังพึ่งข้าราชการระดับสูง หวังพึ่งหมอดู หวังพึ่งกระทั่งต้นไม้หรือสัตว์ที่มีรูปร่างประหลาด และพร้อมจะกราบไหว้อย่างเต็มอกเต็มใจ

    นับวันชาวพุทธยิ่งถอยห่างจากพระธรรม เพราะเห็นว่าไม่มีประโยชน์อะไร พระธรรมไม่สามารถให้ลาภ ให้ยศ ให้ตำแหน่งที่ทุกคนปรารถนาได้ แต่พระธรรมให้ความจริงของสิ่งทั้งปวง และทำให้สามารถอบรมขัดเกลากิเลสจนเป็นบุคคลที่ประเสริฐได้ พระธรรมให้ความสุขที่สงบประณีตเพราะดับความเร่าร้อน (กิเลส) ในจิตตามลำดับความเข้าใจ ถ้าผู้บริหารบ้านเมือง ได้แก่ นักการเมือง นักธุรกิจ ข้าราชการทุกระดับ มีความเข้าใจพระธรรมคำสอนที่ถูกต้อง มีความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม และตั้งในละกิเลสซึ่งเป็นศัตรูภายในตนแล้ว บ้านเมืองของเราต้องรอดพ้นจากวิกฤตแน่นอน

    แต่ทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่มีใครสามารถบังคับบัญชาให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างที่ตนปรารถนาได้ ดีที่สุดคือเข้าใจความจริงว่า เราและคนอื่นๆ ต่างก็มีกรรมเป็นของตนเอง ทำให้ต้องเห็นต้องได้ยินสิ่งที่นำความทุกข์ใจมาให้ (ปัญหาทั้งของส่วนรวมและส่วนตัว) ทำให้ได้เกิดในสมัยที่บ้านเมืองต้องประสบปัญหาเศรษฐกิจแบบนี้ แต่ก็ยังดีที่กว่าเกิดในประเทศที่มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง มีการรบพุ่งฆ่าฟัน จนหาความสงบสุขไม่ได้

    การที่เรามีความรู้ความเข้าใจในพระธรรมมากขึ้น ทำให้เรารู้ความจริงของชีวิตซึ่งไม่เคยรู้มาก่อน ความจริงซึ่งพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้พากเพียรอบรมพระปัญญาบารมีที่ถึงพร้อมแล้วเท่านั้นจึงสามารถค้นพบได้ จึงไม่ใช่สิ่งที่คนธรรมดาจะคาดคะเนและพยายามจะเข้าใจได้เองโดยไม่ศึกษาความจริง ซึ่งยากจะมองเห็น ละเอียด ลุ่มลึกและยากจะเข้าใจ แต่เป็นความจริงที่ผู้ใดได้สนใจศึกษาจนมีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว จะรู้ด้วยตนเองว่าพระธรรมนี่เองคือคำตอบของชีวิต ดังนั้นจึง ไม่ควรประมาทในพระธรรมโดยเห็นว่าพระธรรมเป็นของง่าย ไม่จำเป็นต้องศึกษาก็สามารถจะเป็นคนดีมีปัญญาได้

    การที่เรามีความเข้าใจเรื่อง บาป บุญ และการให้ผลของบาปหรือบุญ คือมีความรู้เรื่องการให้ผลของกรรมนั่นเอง ทำให้ชีวิตมีความสงบสุขขึ้น เราไม่ควรประมาทในอกุศลของตนเอง โดยสะสมอกุศลอยู่เป็นประจำบ่อยๆ เนืองๆ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย หรือเห็นเป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่มีใครสามารถรู้วันตายของตนเอง

    ดังนั้นก่อนจากโลกนี้ไปเราจึงควรสะสมกุศล ไม่ละเลยกุศลแม้เพียงเล็กน้อย เพราะเมื่อละโลกนี้ไปแล้ว ที่พึ่งอื่นนอกจากกุศลแล้วไม่มีเลย และสิ่งที่สำคัญยิ่ง คือการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดา ควรสะสมความรู้ ความเข้าใจในพระธรรมเพื่อขัดเกลากิเลสของตนเองให้เบาบางลง เพราะกิเลสน้อยลงเท่าไร ความสุขสงบก็เพิ่มขึ้นเท่านั้น และความสุขเช่นนี้มิใช่หรือที่ทุกคนควรแสวงหา
     
  6. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    ยอมรับนับถือกรรม
     
  7. annita

    annita สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2008
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +3
    สิ่งที่น่ากลัวที่สุดก็คือ "กรรม" เพราะมันแก้ไม่ได้ อ่านแล้วเริ่มทำใจให้ยอมรับ "กรรม" ได้มากขึ้นค่ะ ขอบคุณค่ะที่ช่วยให้ความกระจ่างในผลของ "กรรม"
     
  8. วุ่นวือ

    วุ่นวือ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2008
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +11
    อนุโมทนาด้วยนะ ครับ โดยเฉพาะ คำขึ้นต้นที่ว่า กฎแห่งกรรม คือ กฎแห่งการกระทำ หมายถึงการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา หรือความตั้งใจ จงใจ ที่เราทำไว้เอง ทั้งในอดีตและปัจจุบัน แล้วเราก็รับผลแห่งกรรมนั้น เรียกว่า
     
  9. Nutuk

    Nutuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +347
    [​IMG] ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ

    " การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง "




    ขอบอกบุญต่อด้วยค่ะ บริจาคอวัยวะที่ http://www.organdonate.in.th/
    บริจาคดวงตาที่ http://www.eyebankthai.com/
    ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ต้องการบริจาคนะคะ สาธุ สาธุ สาธุ<O:p</O:p<O:p</O:p
     

แชร์หน้านี้

Loading...