แนวทางปฏิบัติธรรมของ หลวงปู่ต่างๆ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย aprin, 20 เมษายน 2008.

  1. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

    [​IMG]


    เราอย่าเห็นว่าโลกกว้างแสนกว้าง แล้วสนุกคิดสนุกปรุงนำมายุ่งเหยิงวุ่นวายภายในจิตใจ ตัวที่แคบที่สุดก็คือใจของเรานี้แล ไม่แคบจะเดือนร้อนอย่างไร ไม่แคบจะเป็นทุกข์อย่างไร จะได้รับความทรมานอย่างไร

    ไม่แคบจะหมุนวกไปเวียนมาอยู่ในของเก่านี้กี่หมื่นกี่แสนกี่ร้อยครั้งได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เคยรู้เคยเห็นเคยสัมผัสสัมพันธ์มามากมายก่ายกอง แต่เราก็ไม่เคยคิดว่าเป็นสิ่งที่เคยสัมผัส และให้ผลเป็นทุกข์มาแล้วซึ่งควรจะเข็ดหลาบ

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  3. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

    [​IMG]

    สมาธิ

    แม้เราสวดมนต์อยู่ ก็คือสมาธิ
    แม้เรานั่งสมาธิบริกรรมภาวนา ก็คือการฝึกสมาธิ ต้องมีความเข้าใจให้มันสัมพันธ์กัน

    แม้ว่าเราทำธุรกิจอย่างอื่นถ้าเรามีสติสัมปชัญญะ
    รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ก็คือการฝึกสมาธิ

    จุดหมายปลายทางที่ถูกต้องของการปฏิบัติสมาธิคืออะไร

    ความประสงค์ของผู้ทำสมาธิว่าจะทำสมาธิเพื่ออะไรแยกตามกิเลสของคน

    <DIR><DIR><DIR><DIR>· บางท่านทำสมาธิเพื่อให้เกิดอิทธิฤทธิ์
    · บางท่านทำสมาธิเพื่อให้รู้ยิ่งเห็นจริงในเรื่องราวต่าง ๆ
    · บางท่านทำสมาธิ ไม่ต้องการอะไร ขอให้จิตสงบให้รู้ความเป็นจริงของจิตเมื่อประสบกับอารมณ์อะไรเกิดขึ้นเพื่อจะอ่านจริตของเราให้รู้ว่าเราเป็นราคจริต โทสจริต โมหจริต วิตกจริต พุทธจริตศรัทธาจริต อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อจะดูให้รู้แจ้งเพื่อจะเป็นพื้นฐานที่เราจะแก้ไขดัดแปลงจิตของเรา เมื่อเรารู้ชัดลงไปแล้วเรามีกิเลสตัวไหน เป็นจริตประเภทไหน เราจะได้แก้ไขดัดแปลงตัดทอนสิ่งที่เกินแล้วเพิ่มสิ่งที่หย่อนให้อยู่ในระดับพอดีพองามเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา


    </DIR></DIR></DIR></DIR>ในการปฏิบัติ ถ้าจะว่ากันโดยสรุปแล้วเราต้องการสร้างสติให้เป็นมหาสติ เป็นสติพละ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติวินโยไม่ได้มุ่งถึงสิ่งที่เราจะรู้จะเห็นในสมาธิ

    การภาวนา แม้จะเห็นนิมิตต่าง ๆในสมาธิ หรือรู้ธรรมะซึ่งผุดขึ้นเป็นอุทานธรรมสิ่งนั้นไม่ใช่เป็นเปอร์เซ็นต์ที่เราเก็บเอาเป็นผลงานที่เราปฏิบัติได้เพราะสิ่งนั้นเป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติเป็นอารมณ์กรรมฐานที่เกิดขึ้นในสมาธิ จะเป็นสัญลักษณ์ของปัญญาที่เกิดขึ้นในสมาธิซึ่งเรียกว่า สมาธิปัญญา

    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  4. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่สิม พุทธาจาโร
    สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

    ธรรมโอวาท จาก พระธรรมเทศนา พุทธาจารานุสรณ์ และ ธรรมลิขิต
    1. คำว่า จิต ได้แก่ ดวงจิต ดวงใจผู้รู้อยู่ ผู้เห็นอยู่ ผู้ได้ยินได้ฟังอยู่ เราฟังเสียง ได้ยินเสียง ใครเป็นผู้รู้อยู่ในตัวในใจ นั่นแหละมันอยู่ตรงนี้ ให้รวมให้สงบเข้ามาอยู่ตรงนี้ ตรงจิตใจผู้รู้อยู่

    2. ตาเห็นรูป ก็จิตดวงนี้เป็นผู้เห็น ดีใจก็จิตดวงนี้หลงไป เสียใจก็จิตดวงนี้หลงไป เสียงผ่านเข้ามาทางโสต ทางหูก็จิตดวงเก่านี่แหละ กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็จิตดวงนี้เป็นผู้หลง เมื่อจิตใจดวงนี้เป็นผู้หลงผู้เมาไม่เข้าเรื่อง เราก็มาแก้ไขภาวนาทำใจให้สงบ ไม่ให้หันเหไปกับอารมณ์ใดๆ เห็นสิ่งต่างๆ ที่เกิดดับอยู่ในตัว ในใจ ในสัตว์ ในบุคคลนี้ว่า มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็แตกดับไปเป็นธรรมดาอย่างนี้

    3. การปฏิบัติบูชา ภาวนานี้ เป็นการปฏิบัติภายใน เป็นการเจริญภายใน พุทโธภายใน ให้ใจอยู่ภายใน ไม่ให้จิตใจไปอยู่ภายนอก

    4. การภาวนา ไม่ใช่เป็นของหนัก เหมือนแบกไม้หามเสา เป็นของเบาที่สุด นึกภาวนาบทใดข้อใด ก็ให้เข้าถึงจิตถึงใจ จนจิตใจผ่องใสสะอาดตั้งมั่นเที่ยงตรงคงที่อยู่ ภายในจิตใจของตน ใจก็สบาย นั่งก็สบาย นอนก็สบาย ยืนไปมาที่ไหนก็สบายทั้งนั้น ในตัวคนเรานี้ เมื่อจิตใจสบาย กายก็พลอยสบายไปด้วย อะไรๆ ทุกอย่างมันก็สบายไป มันแล้วแต่จิตใจ

    5.ทำอย่างไรใจจะสงบระงับ มีอุบายอะไร ก็อุบายไม่ขึ้เกียจไงละ ให้มีความเพียร จะสู้กับกิเลสราคะ โทสะ โมหะ ในใจได้ ไปสู้ที่ไหน ก็สู้ด้วยความเพียร สู้ด้วยความตั้งใจมั่น เราตั้งใจลงไปแล้วให้มันมั่นคง อย่าไปถอย

    6. เพียรพยายามฝึกตนเองอยู่เสมอ บนแผ่นดินนี้ผู้มีความเพียร ผู้ไม่ท้อแท้อ่อนแอในดวงใจ ไม่ว่าจะทำอะไร ย่อมสำเร็จได้ ดูตัวอย่างพระพุทธเจ้า เมื่อเห็นแล้วเราต้องตั้งความเพียรลงไป ภาวนาลงไป เมื่อมันยังไม่ตายจะไปถอยความเพียรก่อนไม่ได้

    7. สู้ด้วยการละทิ้ง อย่าไปยึดเอาถือเอา เขาว่าให้เรา เขาดูถูกเรา เสียงไม่ดีเข้าหูก็เพียรละออกไปให้มันหมดสิ้น มนุษย์มีปาก ห้ามมันไม่ให้พูดไม่ได้ มนุษย์มีตา ห้ามไม่ให้มันดูไม่ได้ มันเป็นเรื่องของโลก ท่านจึงตรัสว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจมันเป็นความร้อน ความร้อน คือกิเลส กิเลสเหมือนกับไฟ ไฟมันเป็นของร้อน

    8. เราได้คลานภาวนาจนเข่าแตกเลือดออกมีไหม ไม่มี มีแต่นอนห่มผ้าให้มัน ตลอดคืน มันจะได้สำเร็จมรรคผลอะไร ก็ได้แต่กรรมฐานขี้ไก่ กรรมฐานขี้หมู ไม่ลุกขึ้นภาวนาเหมือนพระแต่ก่อน พระแต่ก่อนท่านเดินไม่ได้ท่านก ็คลานเอา

    9. พุทโธในใจ หลงใหลทำไม ไม่ต้องหลง ไม่ต้องลืม นั่งก็พุทโธในใจ นอนก็พุทโธในใจ ยืนก็พุทโธในใจ เดินไปไหนมาไหน ก็พุทโธในใจ กิเลสโลเลละให้หมด โลเลทางตา โลเลทางหู โลเลทางจมูก ทางกลิ่น โลเลในอาหารการกิน เลิกละให้หมด

    10. ไม่ต้องไปรอท่าว่า เมื่อถึงวันตายข้าพเจ้าจะภาวนาพุทโธเอาให้ได้ อย่างนี้ไม่ได้ เราต้องทำไว้ก่อน เตรียมตัวเตรียมใจไว้ก่อน ตั้งแต่บัดนี้ เดี๋ยวนี้เวลานี้เป็นต้นไป

    11. ความตายนี้ไม่มีใครหลบหลีกได้ ท่านให้นึกให้น้อมให้ได้ว่า ทุกลมหายใจเข้าไปก็เตือนใจของตนให้นึกว่า นี่ถ้าลมหายใจนี้เข้าไปแล้วออกมาไม่ได้ เกิดติดขัดคนเราก็ตายได้ แม้ลมหายใจออกไปแล้ว เกิดอะไรขัดขึ้นมาสูดลมหายใจเข้า มาไม่ได้คนเราก็ตายได้

    12. เราทุกคนดวงใจที่มีชีวิตอยู่ ณ ภายในนี้ ก็อย่าพากันนิ่งนอนใจ อยู่ที่ไหน กายกับใจอยู่ที่ไหน ก็ที่นั่นแหละเป็นที่ปฏิบัติบูชาภาวนา อยู่บ้านก็ภาวนาได้ อยู่ วัดก็ภาวนาได้ บวชไม่บวชก็ภาวนาได้ทั้งนั้น

    13. ตั้งจิตดวงนี้ให้เต็ม ในขั้นสมถกรรมฐาน พร้อมกับวิปัสสนา กรรมฐาน ให้แจ่มแจ้งในดวงใจทุกคนเท่านั้น ก็พอ เพราะว่าเมื่อเราเกิดมาทุกคน ก็ไม่ได้มีอะไรติดมา ครั้งเมื่อเราทุกคนตายไปแล้วแม้สตางค์แดงเดียวก็เอาไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ จงพากันนั่งสมาธิภาวนาให้เต็มที่จนกิเลสโลภะอันมันนอนเนื่องอยู่ใน จิตนี้ให้หมดเสียวันนี้ๆ ถ้ากิเลสความโลภนี้ยังไม่หมดจากจิต ก็ยังไม่หยุดยั้งภาวนาจน วันตายโน้น

    14. การภาวนาละกิเลสให้หมดไปจริงๆ นั้น ต้องปฏิบัติดังนี้ เมื่อกำหนดรูปร่างกายของเรา บริกรรมกำหนดลมหายใจจนจิตตั้งมั่นดีแล้ว ต้องกำหนดรูปร่างของเราเอง นับตั้งแต่ ผม ขน เล็บ ไปตลอดหมดในร่างกายนี้ ให้เห็นตามความเป็นจริง ที่มันตั้งอยู่และมันเสื่อมไป ด้วยความเจ็บไข้ได้ป่วยมีทวารทั้ง 9 เป็นสถานที่ไหลออกไหลเข้าซึ่งของไม่งาม

    15. อันความตายนั้น จงระลึกดูให้รู้แจ้งด้วยสติปัญญาของตนเอง ยกจิตใจตั้งให้มั่นอย่าได้หวั่นไหว เจ็บจะเจ็บไปถึงไหนก็แค่ตาย อยู่ดีสบาย อยู่ไปถึงไหนก็แค่ตาย แก่ชราแล้วไม่ตายไม่ได้ เมื่อมาถึงบุคคลผู้ใดจะให้ผู้อื่นช่วยไม่ได้ ต้องภาวนาให้พ้นจากความตาย ความตายนั้นมีทางพ้นไปได้ อยู่ที่การละกิเลส ล้างกิเลสในใจให้หมดสิ้น

    16. วันคืนเดือนปี หมดไป สิ้นไป แต่อย่าเข้าใจว่าวันคืนนั้นหมดไป วันคืนไม่หมด ชีวิตของแต่ละบุคคลหมดไปสิ้นไป มันหมดไปทุก ลมหายใจเข้าออก ฉะนั้น ภาวนาดูว่า วันคืนล่วงไป เราทำอะไรอยู่ ทำบุญหรือทำบาป เราละกิเลสได้หรือยัง เราภาวนาใจสงบหรือยัง

    17. ทุกข์อยู่ที่ไหน ทุกข์อยู่ที่ใจยึดมั่นถือมั่น ยึดมั่นถือมั่นในชาติตระกูล ในตัว ในตน ในสัตว์ในบุคคล ความยึดอันนี้แหละที่ยึด ไม่ให้มีทุกข์ให้มีความสุข มันเป็นไปไม่ได้ เหมือนกับว่าเราจะไม่ให้แก่ ก็แก่เรื่อยไป ต้องรู้ว่าแก่เพราะอะไร ก็เพราะว่าจิตมายึดถือ เมื่อจิตมายึดมาถือ จิตจึงมาเกาะอยู่ มาเกิด มาแก่ชรา เจ็บไข้ได้พยาธิ ผลที่สุดก็ถึงซึ่งความตาย

    18. บทภาวนาบทใดก็ดีทั้งนั้น ถ้าภาวนาได้ทุกลมหายใจ ก็เป็นอุบายธรรมอันดีทั้งนั้น ความตั้งมั่นในสมาธิภาวนาของจิตใจคนเรานั้น ย่อมมีเวลาเจริญขึ้น มีเสื่อมลงเป็นธรรมดา ถ้าเรามารู้เท่าทันว่า การรวมจิตใจเข้าเป็นดวงหนึ่งดวงเดียว เป็นความสงบสุขเยือกเย็น อย่างแท้จริง ก็ให้ทุกคนตั้งใจปฏิบัติบูชาภาวนา อย่าได้มีความท้อถอย เมื่อใจไม่ท้อถอยแล้วก็ไม่มีอะไรที่จะมาทำให้เราท้อแท้อ่อนแอได้ เพราะคนเรามีใจเป็นใหญ่เป็นประธาน สำเร็จได้ด้วยใจทั้งสิ้น

    19. ความเที่ยงแท้แน่นอนในโลกนี้ จะเอาที่ไหนไม่มี ผู้ปฏิบัติจงรู้เท่าทัน รู้เท่านั้นแล้วก็ปล่อยว่าง อย่าเข้าไปยึดไปถือ อย่าไปยึดว่าตัวกูของกู ตัวข้าของข้า ตัวเราของเรา เราเป็นนั้นเป็นนี้ ตัวเราของเราไม่มี มีแต่ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม มีแต่หลัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งโลก

    20. ให้ทานข้าวของ วัตถุภายนอกก็เป็นบุญ แต่ยังไม่ลึกซึ้ง ให้ทำบุญภายในใจ ให้เป็นบุญอยู่เสมอ ภาวนาพุทโธ นึกน้อมเอาคุณพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอยู่ภายใน นี่แหละ บุญภายใน

    21. อวิชชา แปลว่าไม่รู้ ไม่รู้ต้น ไม่รู้ปลาย ไม่รู้อยู่ จิตจึงได้วนเวียน หลงไหล เข้าใจผิดว่า โลกนี้ยังมีความสุขซ่อนอยู่ ความจริงแล้วในมนุษย์โลกก็ดี เทวโลกก็ตาม พรหมโลกก็ช่าง ลวนแล้วแต่ตกอยุ่ในกองทุกข์ กองภัย ต้องมีภัย อันตรายรอบด้าน

    22. ชีวิตของคนเราไม่นาน ชีวิตนี้มีน้อยที่สุด เวลาเรายังไม่ตาย ก็ได้ข่าวคน นั้นว่าตาย ที่เขาเอาไปฝังทิ้ง หรือเอาไปเผาไฟ เพื่อไม่ให้กลิ่นมันเหม็นจมูกเขาต่างหาก เราต้องพิจารณา ต้องทำด้วยกำลังศรัทธาของเรา ทำไมพระพุทธเจ้า พระอริยเจ้าทั้ง หลาย ท่านจึงเกิดอสุภกรรมฐานเห็นแจ้งในจิตในใจได้ เห็นคนก็เห็นก้อนอสุภกรรมฐาน เห็นคนก็เห็นความตายของคนนั้น

    23. สงบแต่ปาก ใจไม่สงบ ก็ไม่ได้ ต้องให้ใจสงบ ใจสงบ ก็คือว่า เมื่อฟุ้งซ่านรั่วไหลไปที่อื่นก ็ให้คอยระวัง นึกน้อมสอนใจของตัวเองด้วยว่า ความเกิดเป็นทุกข์ เกิดมาแล้วเป็นทุกข์อย่างนี้แหละ จะไปเอาสุขที่ไหนในโลก ที่ไหน มันก็ทุกข์เท่าๆ กัน เอาสิ่งเหล่านี้มาเตือนใจตนเอง

    24. เวลาความตายมาถึงเข้า กายกับจิตจะอยู่ด้วยกันไม่ได้ เรียกว่าแยกกันไป จิตทำบาปไว้ก็ไปสู่บาป จิตทำบุญไว้ก็ไปสู่บุญ จิตละกิเลสราคะ โทสะ โมหะ ได้ก็ไปสู่นิพพาน จิตละไม่ได้ก็มาเวียนตายเวียนเกิด วุ่นวายอยู่อย่างนี้ พระพุทธเจ้ามา ตรัสรู้ในโลก มนุษย์ทั้งหลายก็ยังไม่หมดไปจากโลก ยิ่งในปัจจุบันนี้ ยิ่งมากกว่าในสมัย ก่อน มันเกิดมาจากไหน ก็เกิดมาจากจิตที่เต็มไปด้วย อวิชชา-ความไม่รู้ ตัณหา-ความดิ้นรน ไม่สงบตั้งมั่น ก็สร้างตัวขึ้นมาในแต่ละบุคคล แล้วก็มาทุกข์มาเดือดร้อน วุ่นวายอยู่ในวัฏสงสารอย่างนี้แหละ

    25. ให้ละกิเลสออกจากจิตให้หมดทุกคน กิเลสนี้แหละทำให้คนเราเดือดร้อนวุ่นวายอยู่ไม่สิ้นสุด กิเลสนั้นเมื่อย่นย่อเข้ามาก็คือ ความโกรธ ความโลภ ความหลง 3 อย่างเท่านี้ ทำไมจึงเกิดมาสร้างกิเลสให้มากขึ้นไปทุกภพทุกชาติ ทำไมหนอ ใจคนเราจึงไม่ยอมละ การละก็ไม่หมดสักที ในชาติเดียวนี้ตั้งใจละ ทั้งพระเณรและญาติโยมทั้งหลาย ความโกรธเมื่อเกิดขึ้นอย่าโกรธไปตาม ถ้าไม่โกรธไปตาม มันจะตายเชียวหรือ ทำไมจึงไม่ระลึกอยู่เสมอว่า คนเราจะละความโกรธให้หมดสิ้นไป ในเวลาเดี๋ยวนี้ อย่าให้มีการท้อถอยในการสร้างความดี มีการรักษาศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 พร้อมทั้งการเจริญสมาธิภาวนา ฆ่ากิเลสตัณหาให้หมดไป ใจจึงจะเย็นเป็นสุขทุกคน

    26. ภาวนาให้ได้ทุกลมหายใจเข้าออก เมื่อมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จิตของผู้ภาวนาก็สูง คำว่าสูง ก็เหมือนกับเรือที่ลอยลำอยู่ในแม่น้ำ ลำคลองหรือที่มหาสมุทรสาคร ก็คือ จิตมันอยู่เหนือน้ำ

    27. จิตอยู่เหนืออารมณ์ เหมือนเรืออยู่เหนือแม่น้ำ มันก็ไม่ทุกข์ไม่ร้อน จึงจำต้องฝึกอบรมตัวเองให้มีความอดทน

    28. เวลาความสุขมาถึงเข้า เราจะไปเอาความสุขในความสรรเสริญเยินยอ มั่งมีศรีสุขอย่างเดียว แต่เราหารู้ไม่ว่า "ความสุขมีที่ไหน ความทุกข์ก็มีที่นั่น"

    29. มรณกรรมฐานนี้เป็นยอดกรรมฐาน คนเราเมื่ออาศัยความประมาท มัวเมาไม่ได้มองเห็นภัยอันตรายจะมาถึงตน คิดเอาเอง หมายเอาเอง ว่าเราคงไม่เป็นไรง่ายๆ เราสบายดีอยู่ เรายังเด็กยังหนุ่มอยู่ ความตายคงไม่กล้ำกรายได้ง่ายๆ อันนี้เป็นความประมาท มัวเมา...

    30. ถ้ามองเห็นความตายทุกลมหายใจเข้าออก สบายไปเลย กูก็จะตาย สูก็จะตาย จะมากังวลวุ่นวายกันทำไม่

    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 569.jpg
      569.jpg
      ขนาดไฟล์:
      35.7 KB
      เปิดดู:
      289
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2015
  5. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงพ่อชา สุภทฺโท (พระโพธิญาณเถร)
    วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี (๒๔๖๑ - ๒๕๓๕)

    [​IMG]

    สติก็คือชีวิตถ้าขาดสติเมื่อใดก็เหมือนตาย

    คนตายแล้วเดินได้พูดได้หายใจได้ใครเคยเห็นไหมใครเคยคิดไหมตายทางจิต.. ตายทางสติปัญญา

    ผู้ไปยึดอารมณ์จะเป็นทุกข์เพราะอารมณ์มันไม่เที่ยง

    ดูซิ..เราข้ามกันไปหมดพากันทำบุญแต่ว่าไม่พากันละบาป ..ผ้าสกปรกไม่ฟอกแต่อยากจะรับน้ำย้อมนะ

    ..เราจึงไม่จำกัดรูปแบบการปฏิบัติแต่มักสอนให้ภาวนาพุทโธหรืออานาปานสติคือการกำหนดลมหายใจเข้าออกทำไปพอสมควรแล้วจึงค่อยทำความรู้ความเห็นของเราให้ถูกต้องเรื่อยไป

    ที่เรามาปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้ก็เพื่อให้เห็นจิตเดิมเราคิดว่าจิตเป็นสุขจิตเป็นทุกข์แต่ความจริงจิตไม่ได้สร้างสุขสร้างทุกข์อารมณ์มาหลอกลวงต่างหากมันจึงหลงอารมณ์ฉะนั้นเราจึงต้องมาฝึกจิตใจให้ฉลาดขึ้นให้รู้จักอารมณ์ไม่ให้เป็นไปตามอารมณ์จิตก็สงบ

    เรื่องแค่นี้เองที่เราต้องมาทำกรรมฐานกันยุ่งยากทุกวันนี้

    หลวงปู่ชา สุภัทโท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  6. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่จันทร์ สิริจนฺโท
    วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ


    [​IMG]


    ธรรมโอวาท

    ท่านได้กล่าวไว้มากมาย ขอคัดลอกมาบางส่วน ดังนี้ คือ ที่ว่าร่างกายจิตใจเป็นแก้วสารพัดนึกนั้น พึงพิเคราะห์ดู เรามีตา นึกจะดูอะไรก็ดูได้เรามีหู นึกจะฟังอะไรก็ฟังได้ เรามีจมูก อยากจะรู้กลิ่นอะไรก็รู้ได้ เรามีปาก มีลิ้น นึกอยากจะรู้รสอะไรก็รู้ได้ นึกอยากจะกินอะไรก็กินได้ เรามีมือ นึกอยากจะทำอะไรก็ทำได้ เรามีเท้านึกอยากเดินไปไหนก็ไปได้ เรามีจิตมีใจ นึกอยากจะน้อมนึกตรึกตรองอะไร ก็ได้สมประสงค์ ผู้รู้ตนว่า เป็นของวิเศษอย่างนี้ ย่อมเป็นเหตุให้ได้ความสุข คือ ใช้ตามหน้าที่ ไม่ให้วัตถุเหล่านั้นเป็นข้าศึกแก่ตน คือ เกิดปฏิฆะโทมนัสยินดี ยินร้ายเพราะวัตถุของตน นิสัยของผู้ฉลาด ย่อมไม่ให้วัตถุวิเศษของตนเป็นข้าศึกแก่ตน อารมณ์ที่ผ่านไปผ่านมา เลือกเอาแต่ส่วนที่เป็นประโยชน์ ส่วนที่จักเป็นโทษ จงปล่อยฝ่านไปเสีย ไม่รับไม่เก็บเข้ามาไว้ คือ หัดชำระวัตถุภายในนี้ ให้ผ่องใส สมกับที่ว่า เป็นแก้วสารพัดนึกอยู่ทุกเมื่อ อาศัยความหัดบ่อยๆ สติก็แก่ขึ้น วัตถุภายในก็ปราศจากโทษ คือ ไม่เป็นข้าศึกแก่ตน ให้ความสุขแก่ตนทุกอิริยาบถ จึงสมกับพุทธโอวาทที่ทรงสั่งสอนว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน

    ถ้าว่าโดยสมมติ สกลกายนี้เองเป็นตน ถ้าว่าโดยสกลกายนี้เองเป็นธรรม ที่ว่า อตฺตสรณา ธมฺมสรณา ให้มีตนเป็นที่ระลึกนี้ คือ ให้เห็นว่า ตนเป็นธรรม ธรรมเป็นตน ความรู้ธรรมเป็นพุทธะ สกลกายที่ทรงคุณความดีไว้เป็นธรรม ความประพฤติให้คุณความดีมีขึ้นในตนเป็นสังฆะ ผู้ที่มีพุทธะ ธรรมะ สังฆะในตนอย่างนี้ ชื่อว่า ผู้ถึงไตรสรณคมน์ในชาตินี้ ตลอดชาติชั้นศีล ชั้นสมาธิ ชั้นปัญญา ชั้นวิมุตติ ชั้นวิมุตติญาณทัสสนะ สุดแท้แต่วาสนาของใครจะถึงได้ในชั้นใด จะต้องได้รับผล คือ ความสุขตามชั้นตามภูมิของตนทั้งนั้น อย่าเป็นคนสงสัยลังเลยึดให้มั่นคั้นให้ตาย อย่างมงายเชื่อเกจิอาจารย์ที่สอน นอกรีตนอกทาง อย่าพากันหลงใหลไปตามเขา

    เพราะพระนิพพานของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า นิพพานสมบัติ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา และ โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ มีสติปัฏฐาน เป็นต้น มีอัฏฐังคิกมรรค เป็นที่สุด เหล่านี้เป็นนิพพานสมบัติ อย่างอื่นๆ ถ้าไม่เป็นไปตามนี้เป็นอวิชชาทั ้งนั้น พวกเราเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ต้องประพฤติตนให้มั่งมีเหมือนพระพุทธเจ้า ทั้งสมบัติภายนอกแลสมบัติภายใน

    หลวงปู่จันทร์ สิริจนฺโท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  7. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่คำดี ปภาโส
    วัดถ้ำผาปู่นิมิตร ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย

    ท่านมักจะอบรมลูกศิษย์ของท่านอยู่เสมอๆ ว่า "เรามีตาเท่ากับว่าไม่มีตา มีหูเท่ากับว่าไม่มีหู มีท้องก็ฉันอยู่ได้ไปวันๆ เท่านั้น ไม่ต้องแสดงความโลภและตะกละ" ให้พากันสำเหนียกไว้เรื่องของความโลภ ความโกรธ ความหลวง จะต้องมีด้วยกันทุกคนถ้าพูดถึงความโลภ เมื่อมันมีเจตนาบันดาลเกิดขึ้นมาแล้ว มันจะมืด ไม่รู้จักบาปบุญ ไม่กลัวคุกกลัวตะราง อันนี้เรียกว่าฤทธิ์ของมัน ท่านจงให้ระวังดีๆ ในเรื่องของสามประการนี้ท่านสอนว่า

    อย่าไปปรุงแต่งตามมัน ให้มีสติรู้เท่าทันมัน เมื่อเราปฏิบัติได้อย่างนี้แล้วความโลภ ความโกรธ ความหลวง เหล่านี้ก็จะเสื่อมอำนาจไป ตัวอย่างเช่น เมื่อเราประสงค์จะเอาสิ่งใด เราจะต้องพิจารณาเหตุเสียก่อน เมื่อพิจารณาดูแล้วว่ามันไม่ผิดศีลธรรม เราก็สามารถเอาได้ แต่เมื่อพิจารณาดูแล้วว่ามันผิดศีลผิดธรรม เราก็ละเสียไม่เอานี่แสดงว่าเราไม่ปรุงแต่งตามมัน ในความอยากได้หรือความโลภ และเราก็มีสติรู้เท่ามัน คือมีการพิจารณาในเหตุในผลเสียก่อน ถ้าเราประพฤติได้ในลักษณะนั้น เราก็จะได้ชื่อว่าเป็นคนดี กระทำแต่ในสิ่งที่ดี มีแต่บุญกุศล ถ้าพูดสั้นๆ ก็หมายความว่า ทุกสิ่งทุกอย่างก็มีผลเท่านั้น คือถ้าเราทำเหตุดีก็จะได้รับผลดี แต่ถ้าเราทำเหตุชั่ว เราก็จะได้รับผลชั่ว

    "แต่การที่จะทำเหตุที่ดีนั้น มนุษย์เราทำกันอย่างนักยากหนา ที่ว่าทำยากเพราะอะไร? คือมนุษย์บางเหล่าไม่รู้จักเหตุและผล จึงไม่รู้จักเลือกเฟ้นทำเหตุที่ดีกัน และอีกอย่างหนึ่งก็คือพวกเรานี้ไม่ค่อยชอบกระทำเหตุที่ดีกัน แต่ผลดีของมันนั้นชอบกันทุกคน" ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย คำว่าตาย ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าร่างกายเราตาย หมายถึงจิตใจคนเราตาย คือตายจากมรรคผลนิพพานต่างหาก ความไม่ประมาทเป็นหนทางแห่งความไม่ตาย คือไม่ประมาทต่อการทำความดี ได้แก่ ศีล สมาธิปัญญา มีโอกาสจะได้ไปสวรรค์ พรหมโลกหรือมรรคผลชั้นใดชั้นหนึ่ง ตอลดถึงพระนิพพานข้างหน้าแน่นอน ช้าหรือเร็วแล้วแต่บุญบารมีหรือความพากเพียรของตนเอง


    หลวงปู่คำดี ปภาโส
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  8. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,210
    ค่าพลัง:
    +23,196
    [​IMG]

    สิ่งที่ล่วงไปแล้วไม่ควรไปทำความผูกพัน เพราะเป็นสิ่งของที่ ล่วงไปแล้วอย่างแท้จริง แม้จะทำความผูกพัน และมั่นใจในสิ่งนั้น กลับมา เป็นปัจจุบันก็เป็นไปมิได้ ผู้ทำความสำคัญมั่นหมายนั้นเป็นทุกข์แต่ผู้เดียว โดยความไม่สมหวังตลอดไป อนาคตที่ยังไม่มาถึงก็เป็นสิ่งไม่ควรยึดเหนี่ยว เกี่ยวข้องเช่นกัน อดีตควรปล่อยไว้ตามอดีต อนาคตก็ควรปล่อยไว้ตามกาล ของมัน ปัจจุบันเท่านั้นที่จะสำเร็จเป็นประโยชน์ได้ เพราะอยู่ในฐานะที่ควร ทำได้ไม่สุดวิสัย
     
  9. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]

    พระธรรมเทศนาและโอวาท
    หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร
    วัดประชาชุมพลพัฒนาราม ต.บ้านจั่น อ.เมือง จ.อุดรธานี

    *********************************************

    การที่มาขอธรรมะนโยบายปฏิบัตินั้น..ในสมัยพระอาจารย์ใหญ่มั่น ท่านก็ให้ ถ้าได้มาขอท่านก็บอกอุบาย อันแยบคายให้..แต่นั่นก็เป็นธรรมะท่ออกมาจากจิตใจของท่าน มันยังไม่ใช่ธรรมะที่ออกจากจิตใจเรา โดยแท้..แม้จะเอาของดีไปก็ไม่สามารถรักษาให้อยู่กับตัวได้ บางทีขอไปวันนี้ พรุ่งนี้ก็ลืมวางไว้ที่ไหน ก็ไม่รู้นะ..! ก็ไม่ใช่ของเรานั่นเอง..ถ้าเป็นของเราแล้วจะอยู่กับเราตลอด จำได้แม่นยำ เราตื่นก็มีอยู่ เราหลับก็มีอยู่เราตายไปธรรมนั้นก็ตามไปกับจิตเราด้วยเสมอ..ก็เหมือนกับสภาวะปัจจุบัน ไหนใคร ลองบอกมาหน่อยซิว่า..วันนี้เป็นโชคของเรา..ไม่มีใข่ไหม?..ถ้าเป็นของเราละก็ มันต้องอยู่กับเรา ตลอดไป ถ้ากลางวันก็ต้องอยู่อย่างนี้ จะมืดค่ำไม่ได้ต้องอยู่กับเรา ฉะนั้นธรรมะก็เช่นนั้..ทุกวันนี้พวกเราชาวพุทธนักปฏิบัติเขาว่าอย่างนั้นนะ เที่ยววิ่งขอธรรมะแต่ไม่ ยอมปฏิบัติเลยสักที เหลาะ ๆ ..แหละๆ เดี๋ยวน้ำ เดี๋ยวแห้งไม่เอาจริงสักที...ระวังเน้อ.สะสมธรรมะมาก ไม่ดี พุงจะแตกเอา..! ต้องนำออกมาระบาย คือการพิจารณาแยกเหตุแยกผล ของธรรมะบ้าง เราเรียก ว่า..วิปัสสนาก็ได้..เอาลองดูซิ ความจริงธรรมะนั้นไม่มีใครเขาให้มากหรอก มันจะฟุ้งซ่าน บางทีเกิดลังเลสงสัย..ต้องแสดงเลย ความลังเลจึงจะหมด แล้วจะคลายสงสัยได้เด็ดขาดเลย...
     
  10. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]

    ธรรมโอวาท และพระธรรมเทศนา
    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
    วัดป่านิโครธาราม อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    *******************************************

    จิตเป็นสิ่งสำคัญ สัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ คือ ตัวปัญญามันเกิดขึ้น พอปัญญาเกิดขึ้นเท่านนั้นแหละ สัมมาทิฐิตัวเดียวชัดเจนขึ้นมา นั่นเป็นอาการของมัน ปัญญาสัมมาทิฐิเกิดขึ้นมา มันเป็นองค์มรรค 8 สมบูรณ์เลย เบื้องต้นเรายังฟุ้งซ่านอยู่ก็ต้องมาแก้ เราจะเข้าใจสงบระงับด้วยอุบายนี้ ความฟุ้งขณะปฏิบัติเพราะเราไปยึดมั่น เรายังยึดเท่าไรมันก็ยิ่งฟุ้งซ่าน ดังนั้นท่านเรียกว่า สมุทัย ยุ่งไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง พอปัญหาสัมมาทิฐิเกิดขึ้น สมุทัยก็หาย นิโรธก็เกิดขึ้น การที่เรามาเห็นว่านี้เป็นสัมมาทิฐิ คือ ตัวมรรคทั้ง 8 มารวมกันอยู่ ณ ที่เดียวกันนี้ เมื่อจิตรรวมกันในสมาธิแน่วแน่เต็มที่แล้ว สัมมาทิฐิความเห็นชอบก็เกิดขึ้น ณ สัมมาทิฐินั่นเอง คือ เห็นทุกข์ เห็นสมุทัย ส่วนจะละได้มากน้อยขนาดไหนก็แล้วแต่กำลัง ของปัญญาสัมมาทิฐิของตน เมื่อละได้แล้ว นิโรธ ความดับเย็นสนิทขนาดไหนก็จะปรากฎขึ้นเฉพาะตนในที่นั้น... ธรรมะเป็นทางแก้ทุกข์ เมื่อจะแก้ ก็ต้องสอบทุกข์ก่อน ให้เห็นทุกข์ก่อน เหมือนกับเราทำงานอะไร เราต้องเห็นงานก่อน จึงจะทำได้ ทุกข์อันหนึ่ง ที่เป็นงานของพวกเราควรทำ ถ้าไม่ทำเราก็ไม่พ้น ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทรงสอน พวกเราให้รู้ทุกข์ เราได้ชื่อว่าผู้นับถือพระพุทธศาสนาประจำใจ ต้องให้เข้าใจหลักธรรมจริงๆ จึงจะถูกต้อง การเปิดจิตใจให้กว้างสว่างไสวนั้น เป็นนิสัยของชาวพุทธโดยตรง เราเชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ทาน ศีล ภาวนา หรือ การทำดีได้ดี การทำชั่วได้ชั่วจริง ก็ควรที่จะรีบขวนขวายหาทางสร้างความดีเสีย จะได้มีกำลังใจของจิตใจต่อไป คนเราในโลกนี้เกิดมาแล้วย่อมมีความดีและความชั่วประปนกันไป ไฉนเราจึงจะพบกับความดีเดียงอย่างเดียว อะไรๆ ก็ไม่สู้การสร้างความดีนะ ความดีนั้น ผู้ใดสร้าง ผู้นั้นย่อมมีความสุขเย็นอกเย็นใจ การให้อภัยนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญ ปัจจุบัน โลกเราต้องการคนดี โลกต้องการให้อภัย เพราะนั่นเป็น ทางแห่งความสันติสุขนะ ต้องให้อภัยทำให้ใจกว้างขวาง จึงจะได้ชื่อว่า เชื่อฟังคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแท้จริง ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ เป็นของเย็น เป็นของบริสุทธิ์ บุคคลผู้มีปัญญาจะไม่ปฏิเสธธรรมของพระพุทธเจ้า เพราะธรรมถ้าอยู่ในจิตใจของผู้ใด ผู้นั้นย่อมมีความสุขความเจริญ ธรรมชาติของธรรมนั้น ผู้ปฏิบัติผู้บำเพ็ญเท่านั้นจึงจะรู้ได้ ครูบาอาจารย์หลายองค์ท่านไม่เคยลดละในการปฏิบัติธรรม เพราะการปฏิบัติธรรม ที่เรากระทำอยู่เรื่อยๆ เป็นนิจโดยไม่หยุดยั้ง ผลย่อมเกิดขึ้นได้ทุกครั้งไป และจะสืบเนื่อง กันไม่ขาดระยะ ตราบเท่าที่เราไม่ทิ้งการปฏิบัติธรรมนั้น เราเป็นฆราวาส ต้องพยายามทำคุณงามความดี ทำทาน รักษาศีล บำเพ็ญภาวนาให้เจริญ แล้วปัญญาก็ย่อมเกิดตามมาเอง ท่านผู้รู้พูดเป็นปัญหาว่า กล้วย 4 หวี สำหรับอาหาร 4 สำหรับ สามเณรนั่งเฝ้า พระเจ้านั่งฉัน ปัญหานี้เป็นปัญหาธรรมะ เปรียบเทียบกับการปฏิบัติของบุคคล ส่วนมากคนจะไม่นำไปคิดกัน ข้อธรรมะที่ท่านให้ไว้แล้วให้นำไปตีความหมายให้ละเอียด กล้วย 4 หวี ได้แก่ ธาตุ 4 เณรน้อยนั่งเฝ้า ได้แก่ คงโง่เขลาเบาปัญญา ไม่รู้เท่าทันตามหลักของพระธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม นั่งเฝ้าตัวเองอยู่ ไม่รู้ในตัวของตนนั้นมีอะไรบ้าง กินแล้วก็นอน เลี้ยงร่างกายให้อ้วนท้วนสมบูรณ์ไม่ได้ทำอะไรที่ดีให้เกิดขึ้นแก่ตัวเองเลย อันนี้แหละชื่อว่าโง่เขลาเบาปัญญา ได้แต่นั่งเฝ้าตัวเองอยู่ สามเณรนั่งเฝ้าสำหรับที่มีอยู่แล้วโดยไม่ฉัน ก็หมายถึงบุคคลที่ไม่รู้ธาตุ 4 ตามความเป็นจริงว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เป็นอย่างไร ไม่ยอมกำหนด รู้แบบชนิดที่ให้เกิดปัญญา พระเจ้านั่งฉัน หมายความว่า พระอริยเจ้าทั้งหลายที่รู้หลักความจริงอันประเสริฐ เมื่อภาวนาได้ที่แล้วก็ยกธาตุ 4 (เปรียบด้วยกล้วย 4 หวี) มาพิจารณาตามหลัก แห่งความเป็นจริง จนท่านเหล่านั้นสำเร็จ คุณเบื้องสูง คือ พระอรหันต์ ก็เพราะพระอริยเจ้า ท่านเป็นผู้ฉลาดในอรรถ และพยัญชนะ จึงไม่นั่งเฝ้าอยู่เฉยๆ ธาตุ 4 ก็อยู่ที่ตัวของเรา ขันธ์ 5 ก็อยู่ที่ตัวของเรา มันไม่ได้อยู่ที่ไหนเลย แต่คนที่ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ก็เลยต้องนั่งเฝ้าเฉยๆ เหมือนลิง นั่งเฝ้าเม็ดทองคำ ไม่รู้ค่าของทองคำ คนที่โง่เขลาเบาปัญญาก็ได้แต่นั้งเฝ้ารูปธรรม นามธรรมที่มันอยู่ในตัวของเรานี่แหละ. ท่านหยิบยกเอาธาตุ 4 ขันธ์ 6 มาสับโขลกให้ละเอียด จนท่านรู้แจ้งเห็นจริง ให้อัตภาพร่างกายของท่านเอง และ อัตภาพร่างกายของคนอื่น ท่านนั่งฉัน คือ นั่งพิจารณาอัตภาพ คือ ธาตุ 4 ขันธ์ 5 เกิดมาแล้วมัน เป็นอย่างไร เกิดมาแล้วก็เป็นทุกข์ คือ ความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย พวกท่านทั้งหลายอย่าได้นั่งเฝ้าร่างกายอยู่เฉยๆ มันไม่เกิดปัญญา ปัญญามันเกิดจากการภาวนา คือ การอบรมจิต เพื่อจะทำลายกิเลสให้หลุดหาย ไปในที่สุด. หลักสำคัญก็คงจะมีกายนี่แหละสำคัญมาก กายก็คือขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามธรรมดาของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้อยู่กับตัวเรา คือ จิต ตกลงว่าขันธ์ 5 กับจิตนี่อยู่ร่วมกัน แยกกันไม่ออก แต่ถ้าคนไม่รู้ไม่เข้าใจก็แยกแยะออกเป็นส่วนว่า ส่วนไหนเป็นรูป ส่วนไหนเป็นเวทนา และส่วนไหนเป็นสัญญา สังขาร วิญญาณ ยุ่งเหยิงกันไปหมด นอกจากปล่อยให้เรื่องราวที่เกิดขึ้นเกี่ยวพันกันกับใจ ให้มันผ่านไปตามธรรมชาติของมัน เราต้องพิจารณาให้รู้เห็นตามความเป็นจริงในขันธ์ทั้ง 5 สู้กิเลสที่มันย่ำยีตัวเราอยู่นั้น ก็เท่ากับว่าพวกเราได้ทำอะไรให้เป็นประโยชน์แก่ตัวเอง ถึงแม้พวกเราจะบวชเข้ามาอยู่ใกล้พระพุทธองค์ ก็จะไม่มีความหมาย นักบวช ที่แท้จริงนั้น ต้องเป็นผู้ต่อสู้หรือปราบปรามกับกิเลส ถ้าเราไม่มีการต่อสู้กับมัน ปล่อยให้มันย่ำยีเราแต่ฝ่ายเดียวนั้น ตัวเราเองจะย่ำแย่ลงไปทุกที ผลสุดท้ายเราก็เป็นผู้แพ้ ยอมเป็นทาสรับใช้ของกิเลส ใช้การไม่ได้ สำหรับการสู้รบตบตีกับกิเลส จิตใจของเราจะรู้สึกว่า มีความทุกข์ยากลำบากเป็นกำลังอย่างมากทีเดียว แต่ก็ขอให้พวกเราทำต่อและยอมรับ ความทุกข์ยากลำบากลำบนอันนั้น ยิ้มรับกับความลำบากเพราะความเพียรพยายาม ของเรา เมื่อเรามีความท้อถอยอิดหนาระอาใจต่อความเพียรของตนนั้น ให้พึงระลึกถึงพระพุทธองค์ผู้เป็นบรมครูของพวกเราว่า พุทโธ ธมฺโม สงฺโฆจาติ นานาโหนฺคมฺปิ วตฺถุโต คือ ให้ยึดพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอารมณ์ โดยเฉพาะพระพุทธเจ้าของพวกเรา ก่อนที่พระองค์จะทำลายรังของกิเลสได้อย่างราบคาบ พระองค์ก็ใช้อาวุธ หลายอย่างหลายชนิดเข้าประหัตประหาร จนกิเลสยอมจำนนต่อหลักฐาน ยอมให้พระองค์โขกสับได้อยางสบาย ขันติ พระองค์ก็นำมาใช้ เช่น พระองค์บำเพ็ญทุกรกิริยา คือ การกระทำที่บุคคล ทั้งหลายในโลกทำได้ยากยิ่ง เพราะต้องใช้ความอดทนอย่างใหญ่หลวง จนเอาชนะกิเลส ทั้งหลายทั้งปวงได้ พวกท่านทั้งหลายเมื่อเข้ามาอยู่ป่าแล้ว ก็ได้ชื่อว่าทำตามคำสอน ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่นิยมอยู่บ้าน คลุกคลีด้วยหมู่ เพราะการคลุกคลีด้วยหมู่ จิตใจของเราก็จะไหลไปสู่อารมณ์ต่างๆ ได้ง่าย โอกาสที่จะทำให้จิตเป็นสมาธิ หรือทำให้จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งนั้นยากเหลือเกิน พระพุทธองค์ เมื่อพระองค์ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา พวกท่านปัญจวัคคีย์ 5 รูป ไปเฝ้าปฏิบัติพระองค์อย่างใกล้ชิดด้วยตั้งใจว่า เมื่อพระองค์บรรลุธรรมแล้วจักบอก แก่เราก่อน เมื่อเรามาสันนิษฐานดูแล้วจะเห็นได้ว่าการคลุกคลีหรือการอยู่ร่วมกันหลายคน นั้น เป็นปฏิปักษ์ต่อการทำสมาธิ พระองค์ก็เลยต้องทำวิธีใดวิธีหนึ่งให้พวก ปัญจวัคคีย์เกิดความเบื่อหน่าย แล้วจะได้หลีกหนีไปอยู่เสียที่อื่น พระองค์ต้องกลับมา เสวยพระกระยาหารอีก ทำให้ท่านเหล่านั้นไม่เชื่อมั่นในการกระทำความเพียร เลยต้องหลีกหนีไปอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมื่อท่านปัญจวัคคีย์หนีจากท่านไปแล้ว พระองค์ก้ได้ทำความเพียรทางใจ ให้อุกฤษฏ์ยิ่งขึ้น จนสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยกาลไม่นาน อันนี้จะเห็นได้ว่า พระองค์ทำเป็นตัวอย่างไว้ให้เราดูแล้ว เราผู้เป็นศิษย์ของพระองค์ท่าน ก็ควรจะสำเหนียกและดำเนินตามการทำความเพียร เพื่อทำลายกิเลส มันจะต้องลำบากทุกสิ่งทุกอย่าง การกินก็ลำบาก อดมื้อฉันมื้อก็ต้องยอมอด อดมันทำไม อดเพื่อปราบกิเลส กิเลสมันก่อตัวมานานแสนนาน หลายกัปป์หลายกัลป์มาแล้ว จากเราสาวหาตัว ต้นตอ โคตรเหง้าของมันไม่พบ นี่แหละ ท่านจึงสอนให้อยู่ป่าหาที่สงัด แม้แต่ในครั้งพุทธกาล มีท่านพระเถระหลายท่านที่มุ่งหมายต่อแดน พ้นทุกข์ ได้ออกปฏิบัติตนทรมานตนอยู่ในป่าในเขา และก็ได้บรรลุมรรคเป็นพระอริยบุคคลเป็นจำนวนมากนับไม่ถ้วน ท่านทำกันจริงจัง หวังผล คือ การหลุดพ้นจริงๆ ท่านสละเป็นสละตายมาแล้วทั้งนั้น ความทุกข์ยากลำบาก ทุกข์มากทุกข์น้อย ย่อมมีแก่ทุกคนในขณะปฏิบัติ เราต้องทำความเพียร ก็ไปทุกข์อยู่กับความเพียร ทำนา ทำไร่ ก็ไปทุกข์อยู่กับ ทำนาทำไร่ อันนี้เป็นของธรรมดา แต่จะทุกข์มากทุกข์น้อยก็ขึ้นอยู่กับการกระทำที่ฉลาด รู้วิธีการบ้างพอสมควร อย่างการทำความเพียรต้องเป็นผู้รักษาสัจจะ คือ ให้มีสัจธรรม ตั้งใจ อย่างไรอย่าทำลายสัจจะ สัจจะเมื่อตั้งให้ถูกต้องตามอรรถตามธรรมแล้วจะเกิดเป็นพลังของจิตอย่างดีเยี่ยม พวกเราทั้งหลายตั้งหน้าตั้งตาเข้ามาสู่สมรภูมิรบด้วยกันเช่นนี้แล้ว ต้องตั้งหน้า ตั้งตาถอดถอนสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อต้นด้วยกัน อย่าถือว่าเป็นเรื่องง่ายๆ ถ้าถือว่าเป็นเรื่องง่ายแล้วกิเลสมันจะหัวเราะเยาะดูถูกพวกเรา ทุกข์เพราะการทำความเพียร มิใช่ทุกข์ที่ไม่มีผล เป็นทุกข์ที่ทำลงไปแล้วคุ้มค่า เราอย่าไปท้อถอยจงอดทนต่อสู้อุปสรรคต่างๆ การปราบปรามกิเลส ก็คือ การแก้ความไม่ดีที่สถิตย์อยู่ภายในตัวของรา จึงต้องทำด้วยความเพียรของบุรุษ ทำด้วยความตั้งจิตตั้งใจจริงๆ ทำด้วยความพากเพียรจริงๆ หนักก็สู้เบาก็สู้ เช่นเดียวกับเราตกน้ำ เราต้องพยายามแหวกว่ายช่วยตัวเอง กำลังวังชามีเท่าไรเอามารวมกันหมด เพื่อจะเอาตัวรอด จนกว่าชีวิตจะหาไม่ เมื่อไม่ไหวจริงๆ จึงจะยอมจมน้ำตาย หากมี กำลังเพียงพออยู่ตราบใด จะไม่ยอมจมน้ำตายเป็นอันขาด อันนี้ก็เช่นเดียวกัน การจะทำความเพียรเพื่อหลุดพ้นนั้น จะทำเหลาะแหละไม่ได้ ต้องทำจริงๆ จังๆ จึงจะเห็นความจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ เรามาอยู่ร่วมกันมาก จงประพฤติตามธรรมตามวินัยอย่างเคร่งครัด อย่าเป็นคนมักง่าย วันหนึ่งคืนหนึ่งผ่านไป ผ่านไปอยู่เรื่อยๆ สังขารร่างกายนับเวลาที่จะผ่านไปๆ โดยลำดับ พวกเราอย่าปล่อยให้วันคืนล่วงไปเฉยๆ ต้องให้มันผ่านไปด้วยการปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรม ก็เพื่อจะกำจัดสิ่งปลอมแปลงนั้นออกให้เหลือแต่ของจริง คือ แก่นแท้ของธรรม เฉพาะอย่างยิ่งคือ การหัดภาวนา ควรจะทำให้เกิดให้มีความแท้จริง งานอย่างอื่นเราก็เคยต่อสู้มาแล้ว ตั้งแต่ไหนแต่ไรก็ต่อสู้กับงานหนักงานเบามาแล้ว จนกระทั่งเวลาผ่านมาจนบัดนี้ เราก็ทำได้มาเรื่อยๆ แต่เวลานี้เราจะฝึกหัดภาวนา คือ การทำจิตใจโดยเฉพาะ และการทำภาวนานี้ก็เป็นงานที่จำเป็นจะต้องทำเช่นเดียวกับงานชิ้นอื่นๆ หรือควรที่จะทำให้หนักยิ่งไปกว่างานอื่นๆ เสียอีก เพราะเป็นงานหนักและละเอียดกว่างานทั้งหลาย การทำภาวนาแรกๆ จิตของเราย่อมกวัดแกว่งดิ้นรน ล้มลุกคลุกคลาน เป็นของธรรมดา เพราะจิตยังไม่เคยกับการภาวนามาก่อน จึงถือได้ว่าการภาวนาเป็นงานใหม่ของจิต ถึงจะยากลำบากแค่ไหนเราต้องฝึก เพื่อที่จะฉุดกระชากลากจิตที่กำลังถูกกิเลสย่ำยีอยู่นั้นให้พ้นภัยอันตราย ให้เป็นจิตที่ปราศจากกิเลสเรื่องเศร้าหมอง จึงเป็นสิ่งที่พวกเราทั้งหลายควรทำอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น ในโอกาสต่อไปนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่พวกเราจะพากันมาบำเพ็ญเพียร ทางด้านจิตใจ อันเป็นจุดหมายปลายทางให้เกิดความสุขความสมหวังขึ้นภายในใจของ ตัวเองด้วย จิตภาวนา เหนื่อยบ้าง ลำบากบ้างก็ทนเอา การปล่อยให้จิตคิดไปในแง่ต่างๆ ตามอารมณ์ของจิตนั้น ไม่สามารถที่จะทำให้เกิดอะไรขึ้นมา นอกจากไปเที่ยวเก็บรวบรวมเอาความทุกข์ความร้อนจาก อารมณ์ภายนอก มาเผาลนจิตใจของตนให้วุ่นวายเดือดร้อน ไม่ขาดระยะเท่านั้น ท่านกล่าวว่า สมาธิก็คือการทำใจให้สงบ สงบจากอะไร สงบจากอารมณ์ เครื่องก่อกวนทั้งหลาย เมื่อไม่มีอะไรมารบกวน ถ้าเป็นน้ำก็จะใสสะอาดดุจน้ำฝน ที่ตกลงมาจากท้องฟ้า ยังไม่มีอารมณ์ภายนอกมารบกวน ก็จะเป็นจิตที่ใสสะอาดหมดจด แต่ขณะนี้จิตของเราถูกกิเลสหรืออารมณ์ภายนอกเล่นงานแทบจะเอาตัวไม่รอดอยู่แล้ว แต่เราจะมาฝึกเพื่อให้จิตสงบจากอารมณ์ภายนอกเหล่านั้น การทำนั้นต้องค่อยทำค่อยไป จะกำหนดเอาวันนั้นเวลานั้นจะเกิดผลแน่นอนนั้นย่อมไม่ได้ เพราะการทำจิตให้ปราศจาก อารมณ์ภายนอกนั้นต้องใช้เวลาพอสมควร ยิ่งถ้าเราไม่เคยฝึกมาก่อน จะเป็นการลำบากมากทีเดียว แต่ก็ไม่เหลือวิสัยที่เราจะทำ ในขั้นแรกของการอบรมจิตนั้น ท่านสอนให้ยึดเอาข้ออรรถ ข้อธรรม บทใดบทหนึ่งมาเป็นอารมณ์ บทใดก็ได้สำหรับเป็นเครื่องกำกับความคุมใจ ไม่เช่นนั้นจิตจะส่ายกวัดแกว่งไปสู่อารมณ์ต่างๆ ที่เราเคยชินกับอามรณ์นั้นๆ แล้วก่อความทุกข์ให้เป็นที่เดือดร้อนอยู่เสมอ ท่านจึงสอนให้นำบทธรรมะข้อใดข้อหนึ่งมาเป็นอารมณ์ เช่น เราภาวนาบริกรรมว่า พุทโธๆ ธัมโมๆ หรือสังโฆๆ หรือ จะกำหนดให้มีอานาปานสติ คือ การกำหนดลมหายใจ เข้าออกควบคู่ไปด้วยก็ได้ เช่น จะบริกรรมว่า พุท เข้า โธ ออก ดังนี้ คำว่าเข้าออกก็คือหมายกำหนดกองลมนั่นเอง หายใจเข้าก็กำหนดว่า พุธ หายใจออกก็กำหนดว่าโธ ดังนี้ และในขณะที่บริกรรมเราต้องมีสติควบคู่ไปด้วย เมื่อเรามีสติตามระลึกอยู่โดยการเป็นไปติดต่อโดยลำดับ จิตก็ไม่มีโอกาสจะแวะไปเกี่ยวข้องกับอารมณ์ภายนอก จิตก็จะค่อยหยั่งเข้าสู่ความสงบโดยลำดับ จิตใจขณะนั้น จะมีความสงบมาก ในขณะที่จิตสงบไม่ยุ่งเหยิงวุ่นวาย กาลเวลาและสถานที่จะไม่มีเลย ในขณะนั้นจิตจะสงบอย่างเดียว เพราะจิตที่สงบจะไม่สำคัญมั่นหมายติดอยู่กับสถานที่ กาลเวลาที่ไหนเลย มีแต่ ความรู้ ที่ทรงตัวอยู่เท่านั้น นี่เรียกว่า ความสุขที่เกิดขึ้นจากการภาวนา จะเรียกว่าเป็นผลจากการภาวนาก็ได้ เราอยู่ในโลกนี้ เราต้องอยู่ให้ฉลาด ประกอบด้วยปัญญา ตัวเรารู้ว่า เราปฏิบัติผิด ไม่ถูกต้องตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ต้องพยายามแก้ไขที่ตัวเรา ให้ถูกต้อง คือ เราต้องหาอุบายวิธีอยู่เสมอว่า ทำอย่างไรตัวเองจึงจะอยู่ให้เป็นสุขไม่วุ่นวายใจ อันนี้สำคัญมากทีเดียว สิ่งทั้งปวงพระพุทธเจ้าสอนพวกเราว่า ถ้าใครละความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือ กำจัดความโลภ ความโกรธ ความหลงเสียได้ ผู้นั้นจะพบเห็นพระนิพพาน พระนิพพานอยู่เหนือความโลภ โกรธหลง ท่านว่าอย่างนี้ ความโลภ โกรธ หลง เป็นรากเหง้าของโลก ชาติใด ภาษาใด ก็มีสิ่งทั้งสามนี้ ทุกคนหนีไม่พ้น มีปัญหาอยู่ ถ้าทุกคนมีกันแล้วอย่างนี้จะทำประการใดดี ไม่คิดจะละสิ่งเหล่านี้บ้างหรือ บางคนถ้าจะละมันออกไปก็ยังเสียดายมันอยู่ ถือว่ามัน เป็นมิตรที่ดีต่อเราอยู่ ไม่ยอมให้มันตีตัวจากเราเลย อันนี้ก็ได้ชื่อว่าเราโง่กว่ากิเลส ปล่อยให้กิเลสเป็นนายเรา
     
  11. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]
    พระภาวนาวิสุทธิญาณเถร (หลวงปู่แบน ธนากโร)
    วัดดอยธรรมเจดีย์ ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
    *******************************************

    เรื่อง ชีวิตนี้ ไม่นาน โลกอันนี้เพียงแต่เป็นทางผ่าน
    เทศน์เมื่อ 4 เมษายน 2541




    เรื่องดีขนาดไหน เรื่องไม่ดีขนาดไหน ผ่านไปแล้ว จะเป็นอดีตไปเสีย
    ถึงเรื่องปัจจุบันทั้งหมด ที่สุดก็จะต้องกลายเป็นเรื่องอดีตไป ผ่านไปทั้งนั้น ไม่มีอะไรที่จะไม่เป็นอดีต
    จึงว่าอะไรที่เป็นปัจจุบันนี่ อะไรที่คิดแล้ว ทำแล้ว พูดแล้ว หากเป็นอกุศล อันนั้นให้หลีก อันนั้นให้ระวัง
    คิดแล้ว ทำแล้ว พูดแล้ว เกิดความเศร้าหมอง อย่าไปคิด อย่าไปพูด อย่าไปทำ ทำแล้วเกิดความเศร้าหมอง
    ความเศร้าหมองนี้ฝังลึก ทั้ง ๆ ที่เรื่องทุกเรื่อไม่ได้มีอะไร เกิดขึ้นแล้วผ่านไป เกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไป
    นาย ก. นาย ข. นายอะไรต่ออะไร อีกไม่เกิด 100 ปี เป็นอดีตไปหมด คนเดี๋ยวนี้อีกสัก 100 ปี ไม่มีในโลก เรา ๆ นี่ก็ไม่รู้เป็นอดีตมาแล้วกี่ครั้งกี่หน หาประมาณมิได้
    จึงว่าแผ่นดินอันนี้ก้อนโลกอันนี้ เพียงแต่ว่าเป็นทางผ่านทางเดิน
    เต็มไปด้วยขวากด้วยหนาม คนไหนที่ตาดีหูดี คนนั้นไม่บาดเจ็บ คนไหนตาไม่ดีหูไม่ดี ไม่มีสติปัญญา คนนั้นจะมีแต่บาดแต่แผล คือมีอกุศลธรรมฝังแน่นอยู่ในจิตในใจ
    อกุศลธรรมจะหลุดไปได้ ไม่ใช่เพราะมีการเกิดการตายยาวนาน จะหลุดจะสิ้นจะหมดไปได้ ต้องอาศัย มีข้อปฏิบัติ มีสติ มีปัญญา
    ข้อปฏิบัติจึงมีความจำเป็น สติปัญญาจึงมีความจำเป็น
    ขาดข้อปฏิบัติไม่มีข้อปฏิบัติแล้ว สติปัญญาที่จะแก้อกุศลความเศร้าหมอง ที่เป็นอยู่ในจิตในใจนี่ ไม่มีทางที่จะแก้ให้หลุดไปได้



    ********************************************

    [​IMG]

    เทศน์เมื่อ 2 มีนาคม 2541
    ของภายนอกช่วยไม่ได้แม้แต่น้อย


    ข้าวของพัสดุภายนอก เวลาเราเจ็บเราไข้ ไม่เป็นประโยชน์เลย ช่วยเราไม่ได้แม้แต่น้อย
    บ้านจะงามก็นอนไม่มีความสุข นอนที่บ้านก็ไม่ได้ ที่นอนไม่ได้ก็เพราะต้องหามไปโรงพยาบาล
    ข้าวของจะมากมายเท่าไร ก็ช่วยบรรเทาความร้อนรนอันเกิดจากทุกขเวทนา ช่วยบรรเทาให้น้อยลงจากความเจ็บความไข้ไม่ได้
    เวลาจะตายจริง ๆ ใจของเราไม่ได้สนใจเลย ไม่ได้สนใจกับข้าวของสมบัติที่เรามีอยู่ มาสนใจกับทุกขเวทนาคือความเจ็บความปวดแต่อย่างเดียว


    ******************************************

    เทศน์เมื่อ 30 กรกฎาคม 2524
    ของภายนอกช่วยไม่ได้แม้แต่น้อย

    ข้าวของพัสดุภายนอก เวลาเราเจ็บเราไข้ ไม่เป็นประโยชน์เลย ช่วยเราไม่ได้แม้แต่น้อย
    บ้านจะงามก็นอนไม่มีความสุข นอนที่บ้านก็ไม่ได้ ที่นอนไม่ได้ก็เพราะต้องหามไปโรงพยาบาล
    ข้าวของจะมากมายเท่าไร ก็ช่วยบรรเทาความร้อนรนอันเกิดจากทุกขเวทนา ช่วยบรรเทาให้น้อยลงจากความเจ็บความไข้ไม่ได้
    เวลาจะตายจริง ๆ ใจของเราไม่ได้สนใจเลย ไม่ได้สนใจกับข้าวของสมบัติที่เรามีอยู่ มาสนใจกับทุกขเวทนาคือความเจ็บความปวดแต่อย่างเดียว


    ******************************************

    [​IMG]


    แสวงหาเพื่อพลัดพราก

    สมบัติภายนอกที่เราได้ ที่เราว่าเราได้ เราต่างแสวงหากันมาแทบล้มแทบตาย ถึงกับเสียสละชีวิตชีวาก็พากันแสวงหา สิ่งที่เราแสวงหาด้วยการเสียสละชีวิตชีวาด้วยความเหน็ดเหนื่อยทุกข์ยากนั้น ล้วนแต่เป็นของที่เราจะต้องพลัดพรากทั้งนั้น สิ่งเหล่านั้นจะต้องเสียหายไปจากเราทั้งนั้น เพราะอันนั้นเขาเกิดมาเพื่อพลัดพราก
    เราจะสมมุติเขาว่า เป็นเงินเป็นทอง เป็นข้าวของวัตถุอะไรก็ช่าง อันนั้นก็เกิดมาเพื่อที่จะแตกจะสลาย
    เราก็เหมือนกัน เกิดมาก็เพื่อเพื่อแตกเพื่อสลาย เกิดมาก็เพื่อแตกเพื่อตาย
    จึงว่าไม่มีอะไรที่จะเป็นสมบัติของใครได้หรอก


    ********************************************

    เทศน์เมื่อ 24 กรกฎาคม 2526
    ไม่มีใครได้อะไรไป


    ไม่มีใครได้อะไร
    ใครได้ความเกิดมา ก็คือคนนั้นจะได้ความตาย ความเกิดก็คือความตาย ความตายก็คือความเกิด สิ่งที่เกิดกับสิ่งที่ตายก็อันเดียวกัน ต้นไม้ที่เกิดกับต้นไม้ที่ตายก็อันเดียวกัน คนที่เกิดกับคนที่ตาย ก็คนคนเดียวกัน
    ในเมื่อคนเกิดมา เกิดมาตาย แล้วตรงไหนจะเป็นคน ตรงไหนจะเป็นตัวตนของเรา ยังไม่ทันตาย ก็ไม่ใช่อยู่แล้ว เพราะมันเสื่อม มันเสียไปทุกวัน
    คำว่าตาย ๆ เป็นการเสียครั้งสุดท้าย เสียจนหมดตัว แสวงหามา แสวงหามาตั้งแต่เกิด คืนทีเดียวหมด คืนเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟไป
    จึงว่าไม่มีใครได้อะไรไป สิ่งที่ได้ก็คือความตาย

    *********************************************


     
  12. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>โอวาทหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ
    วัดประสิทธิธรรม
    ต.ดงเย็น อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
    *********************************************

    “คนเราเกิดมาทุกรูปทุกนาม รูปสังขารเป็นของไม่เที่ยง
    เกิดขึ้นแล้วล้วนตกอยู่ในกองทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น
    ไม่ว่าพระราชามหากษัตริย์ พระยานาหมื่น คนมั่งมี เศรษฐี และยาจก
    ล้วนตกอยู่ในกองทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น
    มีทางพอจะหลุดพ้นได้ คือ ทำความเพียรเจริญภาวนา
    อย่าสิมัวเมาในรูปสังขารของตน มัจจุราชมันบ่ไว้หน้าผู้ใด
    ก่อนจะดับไป ควรจะสร้างความดีเอาไว้”

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]

    ธรรมโอวาท
    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    วัดอรัญญบรรพต ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
    *******************************************

    "นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีราคะ โทสะ โมหะเป็นโทษทั้งนักบวชทั้งคฤหัสถ์ ถ้าใครสะสมกิเลสให้แน่นหนาทั้งในใจ ใจก็ให้ทุกข์ ให้โทษกับผู้นั้น ไม่ใช่จะให้ทุกข์แก่นักบวชฝ่ายเดียว"

    "อันสตินี้ สัมปชัญญะนี้ ก็สมมติเป็นโชเฟอร์ผู้กำพวงมาลัย ได้แก่เป็นผู้มีสติคอยระมัดระวังกาย วาจา จิตอยู่เสมอๆ คอยระวังเรื่องต่างๆ ที่มันจะกระทบกระทั่งที่จะให้เกิดความเสียหาย ดีใจ ความโกรธ ความเกลียดต่างๆ ระมัดระวังไปเรื่อยๆ แต่ก็มิได้หมายความว่าเราต้องเที่ยวประกาศ ห้ามมิให้ใครมาติมาชมเราอย่างนั้นอย่างนี้นะ ไม่ได้หมายอย่างนั้น ที่ว่าระวังในที่นี้หมายความว่า เมื่อมีเรื่องเช่นนั้นกระทบกระทั่งเข้ามา เราจะรู้ทันทันที เราจะห้ามจิตไม่ให้มันหวั่นไหวไปตามนั้นๆ เราระวังอย่างนี้ต่างหาก เราจะระวังไม่ให้คนนินทาว่าร้าย หรือพูดจาเสียดแทงต่างๆนานา ห้ามไม่ได้เลย เพราะว่านั่นก็เป็นเรื่องของเขา เขามีสิทธิ์ที่จะพูด แต่เราก็มีสิทธิ์ที่จะรู้เท่าทันเช่นเดียวกัน มันก็ต้องเข้าใจอย่างนี้ ที่จะทำให้จิตใจของเราไม่ฉุนเฉียวง่าย ที่เป็นเช่นนั้น ไม่ใช่อย่างอื่น คือมันขาดสติ คือสติสัมปชัญญะ ควบคุมจิตไม่ได้ เรียกว่าสติมันห่าง สติการควบคุมจิตมันห่างไป มันไม่ถี่ ดังนั้นเราจะต้องกระชับสติสัมปชัญญะให้มันถี่เข้า"

    ถ้าจิตนั้นมันสงบลงไป มีกำลังแล้วเรียกว่ามันพักผ่อน มันมีกำลังเต็มที่แล้ว มันก็เกิดผลอย่างหนึ่งขึ้นมาละทีนี้ คือต้องการอยากรู้แล้วบัดนี้ นั่นมันเป็นอย่างนั้น มันมีกำลังแล้วนี่เหมือนอย่างคนเรานี้แหละ ทำงานเหนื่อยแล้วพักผ่อนนอนหลับไป มีกำลังรู้สึกตื่นขึ้นมาแล้วอยากทำงานแล้วที่นี้ มีกำลังแล้ว นี่ก็เหมือนกันแหละ จิตใจนี้เมื่อมันไปสู่ความสงบได้เต็มกำลังของมันแล้ว มันก็อยากจะรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งที่ควรจะรู้แจ้งเห็นจริง มันก็ต้องกำหนดหาเรื่องที่ควรจะรู้ สิ่งใดที่เรายังไม่รู้ เราก็จะต้องกำหนดพิจารณาทีนี้ อย่างที่ยกตัวอย่างให้ฟังว่า เรื่องกำหนดพิจารณาทุกข์อย่างว่ามาแล้วนั่นแหละ เมื่อมันกำหนดในขณะที่ปัญญามันเกิดขึ้นอย่างนั้น มันก็เห็นทุกข์แจ่มกระจ่างไปเลย เมื่อเห็นทุกข์มันก็เบื่อในทุกข์เท่านั้น ในทุกข์ ปัญญามันก็ย่อมมองเห็นว่าทุกข์นี้มันเป็นเรื่องของขันธ์ 5 ต่างหาก ทำไมจึงว่าเป็นเรื่องของขันธ์ 5 ก็เพราะขันธ์ 5 มันไม่เที่ยง เมื่อขันธ์ 5 มันไม่เที่ยงแล้วมันแปรปรวน มันกระทบกระทั่งกัน หวั่นไหว อาการที่มันหวั่นไหวกระทบกระทั่งกันไปมานั้นแหละ เรียกว่าทุกขลักษณ์ เป็นลักษณะของทุกข์ เราก็โยนให้เป็นเรื่องของขันธ์ 5 ไปเสียอย่างนี้ เมื่อโยนให้เป็นเรื่องของขันธ์ 5 แล้ว จิตจะเป็นอย่างไร ทีนี้รู้เอง ทีนี้เห็นเองแหละ ถ้าไปยึดเอาของที่ไม่เที่ยงมาเป็นตัว ไม่มีอิสระเลย ก็ต้องหวั่นไหวไปตามของไม่เที่ยงนั่นแหละ มันเป็นอย่างนั้น เรื่องของเรื่องน่ะ
     
  14. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]


    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1>
    <!-- / icon and title --><!-- message -->
    โอวาทหลวงปู่กินรี จนฺทิโย
    วัดกันตศิลาวาส อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

    ******************************************


    ธรรมโอวาท หลวงปู่กินรี จนฺทิโย กลับมาพำนักอยู่สำนักสงฆ์เมธาวิเวก แล้วต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่วัดกันตศิลาวาส แม้ว่าปฏิปทานของหลวงปู่จะไม่นิยมและเผยแพร่ศาสนาด้ว ยการเทศนาเชิงโวหารหรือคำพูด หลวงปู่เป็นตัวอย่างของการทำให้ดูปฏิบัติให้เห็นมากก ว่าแต่อุบายธรรมคำสั่งสอนของท่านทรงปัญญาและลุ่มลึกม าก เช่น

    - เตือนและให้สติหลวงปู่ชา ผู้เป็นลูกศิษย์ที่จะขอลากลับสู่บ้านเกิดว่า "ระวังให้ดีถ้าท่านรักใครคิดถึงใครเป็นห่วงใครผู้นั้ นจะให้โทษแก่ท่าน"
    - ให้รักษาศีลให้ดี ทำความเพียรให้มาก มันก็จะรู้เองเห็นเอง เป็นคำสอนที่หลวงปู่บอกกับลูกศิษย์เสมอ
    - สตินี้ เป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าเราทราบระเบียบวินัยที่มีอยู่มากมายอย่างละเอียดร อบครอบแล้ว และตามรักษาได้อย่างครบถ้วน สติของเราก็จะต่อเนื่องกัน จิตใจก็จักจดจ่ออยู่แน่ในข้อวัตรปฏิบัติของตน ไม่มีโอกาสที่จะแส่ส่ายไปภายนอก ถ้าขาดสติ โอกาสที่จิตใจจะวิ่งไปตามอารมณ์ภายนอกมันก็มีมากขึ้น และอารมณ์ทั้งหลายก็ย่อมครอบงำจิตให้หลงไหลมัวเมาได้ ง่ายขึ้น
    - ไม่ควรคลุกคลี ให้อยู่คนเดียวมากๆ สาธยายด้วยตัวเองให้มาก มีจิตใจกำหนดจดจ่ออยู่ในพระธรรมให้มากนี้เป็นการดีที ่สุด
    - สังขาร คือ ร่างกาย จิตใจนี้ เป็นของไม่เที่ยง และจะหาสาระแก่สารอะไรมิได้ โดยประการทั้งปวง
    - จะให้ลูกเป็นคนดี ต้องทำดีให้ลูกดู
    - บุรุษพึงพยายามไปกว่าจะสำเร็จประโยชน์
    - ผู้ขยันในหน้าที่ การงานไม่ประมาทเข้าใจการเลี้ยงชีวิต ตามสมควรจึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้
    - คนโกรธที่วาจาหยาบ
    - วาจา เช่น เดียวกับใจ
    - ธรรมเป็นของแน่นอน แต่รูปเป็นของไม่แน่นอน
    - กิเลสคือตัวมารอันร้ายกาจ แม่น้ำเสมอด้วยความอยากไม่มี
    - ความอยากไม่มีขอบเขต ความอยากย่อมผลักดันให้คนวิ่งวุ่น
    - โลกถูกความอยากนำไป ความอยากเป็นแดนเกิดของความทุกข์

    ปัจฉิมบท
    หลวงปู่พระอาจารย์กินรีจนฺทิโยได้ยึดมั่นถือปฏิบัติตามบูรพาจารย์ใหญ่หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มั่นภูริทตฺโตและหลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล ที่อยู่อย่างสมถะเรียบง่ายไม่เปิดเผยตน เก็บตัว ไม่ชอบคนหมู่มาก ไม่มักมากไม่ต้องการความมีชื่อเสียง พูดน้อยไม่ชอบเทศน์ถ้าไม่นิมนต์ให้เทศน์ หลวงปู่อยู่อย่างสงบๆ เหมือนพระผู้เฒ่าไม่มีอะไรดี<O:p</O:p
    การปฏิบัติภาวนาของหลวงปู่กินรี เพียงวิธีการสังเกตดูกิริยาภายนอกนั้นอยากที่จะเข้าใจเพราะกิริยาพฤติกรรมที่แสดงออกกับภูมิจิต ภูมิธรรมภายในนั้นเป็นคนละเรื่องดังคำปรารถของพระอาจาย์ชา สุภทฺโท ครั้นปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่ทั้งก่อนและหลังที่เดินธุดงค์สู่ภูลังกา นครพนม ได้กล่าวว่าท่านเองทำความเพียรอย่างสาหัส เดินจงกรมทั้งวันไม่ว่าฝนจะตกแดดจะออกจนแผ่นดินทรุดทางเดินเป็นร่องลึกหลายต่อหลายร่องปฏิบัติมิได้หยุดหย่อนยังไม่รู้ไม่เป็นอะไรแล้วท่านอาจารย์ปฏิบัติเพียงเดินจงกรมก็ไม่เคยเดินจะนั่งสมาธินานๆก็ไม่เห็นนั่ง คอยแต่จะทำนั่นทำนี่แล้วจะไปถึงไหนกันแล้วหลวงปู่ชาได้กล่าวภายหลังว่าเรามันคิดผิดไปท่านพระอาจารย์ทำความเพียรขั้นอุกฤกษ์มากต่อมากหลายต่อหลายปีรู้อะไรมากกว่าเราเป็นไหนๆ คำเตือนสั้นๆ ห้วนๆ แม้จะนานๆ ครั้งแต่ก็เป็นสิ่งที่เราไม่เคยคิด ไม่เคยเห็นมาก่อน อุปมาเหมือนแสงจันทร์กับแสงเทียนการปฏิบัติแท้ๆ นั้นไม่ใช่กิริยาอาการภายนอก ไม่ใช่การเดินจงกรมด้วยเท้าไม่ใช่การนั่งสมาธิ มิใช่การศึกษาตำราตัวหนังสือมิใช่เพียงคำพูดและมิใช่สิ่งที่จะยกเป็นตัวเป็นตนได้แต่การปฏิบัติภาวนาที่แท้จริงนั้นเป็นกิริยาภายใน เป็นอาการภายใน เป็นการปฏิบัติทางใจ นั่งนิ่งอยู่ที่จิตทำอารมณ์ให้นิ่ง ทำจิตให้นิ่ง มีสมาธิจนเป็นหนึ่งอยู่ทุกขณะจิต ตลอดภาวนาทุกเวลาทุกอริยาบทแม้การทำจิตอันใดฉะนั้นการจะไปจับเอาการกระทำด้วยการนั่งสมาธิกายเดินจงกรมของครูบาอาจารย์นั้นไม่ได้และไม่ถูก<O:p</O:p
    หลวงปู่กินรี เป็นพระที่ยึดมั่นในศีลธรรมอบรมลูกศิษย์อย่าประมาทในศีลแม้สิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ ในพระวินัยจะประมาทไม่ได้เด็ดขาดแม้เพียงการตากผ้าสงบจีวรแล้วมิได้เฝ้าดูรักษาหลวงปู่ก็ตำหนิพระลูกศิษย์ว่าประมาทในสิกขาบทเล็กๆน้อยๆ การเป็นสมณะต้องเป็นผู้มักน้อยสันโดษ เป็นอยู่ง่ายๆกินแต่น้อยมีทรัพย์สิ่งของน้อยและไม่สะสม จะต้องทะนุถนอมรักษาใช้ให้นานๆเป็นผู้ไม่สิ้นเปลืองมาก ถ้าใช้สุรุ่ยสุร่ายแสดงถึงการขาดสติในการประคับประคองตัวให้อยู่ในครอบร่างรอยของสมณะแล้วจะมีอะไรเป็นเครื่องมือปฏิบัติภาวนา สตินั้นต้องมั่นคงและต่อเนื่องด้วยการสังวรระวังในวินัยสิกขาบท สติเราก็จะมั่นคงต่อเนื่องถ้าขาดวินัยย่อมขาดสติจิตจะวิ่งไปตามอารมณ์ภายนอกอารมณ์ทั้งหลายก็ย่อมครอบงำจิตให้หลงใหลมัวเมาการมีสติอยู่กับข้อวัตรพระวินัยย่อมเป็นเครื่องกั้นอารมณ์ทั้งปวงและทำให้สติต่อเนื่องจิตใจย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิจิตตลอดกิริยาบถ คำสอนของหลวงปู่จึงเป็นคำสอนที่ง่ายๆเป็นการสอนด้วยข้อปฏิบัติและกระทำทันที<O:p</O:p
    หลวงปู่กินรี จนฺทิโย ท่านเป็นคนพูดน้อยแต่ละคำพูดที่พูดจึงมีแต่ความบริสุทธิ์และจริงใจท่านยึดถือคติธรรม "สติโลกสฺมิ ชาคโร"สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่เสมอ จงเอาสติตามรักษาจิตไว้เพราะคนมีสติย่อมประสบแต่ความสุข จะพูดจะคิดจึงควรมีสติทุกเมื่อท่านมักจะอยู่คนเดียวไม่ชอบ คลุกคลีกับหมู่คณะพยายามให้พระเณรในวัดมีการร่วมกันน้อยที่สุดให้เร่งทำความเพียรอย่าได้อยู่ด้วยความเกียจคร้าน อย่าเป็นผู้พูดมากเอิกเกริกเฮฮาไม่จำเป็นท่านจะไม่ให้ประชุมกันแม้การสวดมนต์ทำวัตรยังให้ทำร่วมกันสัปดาห์ละครั้งเท่านั้นแต่เป็นสิ่งที่ต้องทำด้วยตนเองอยู่แล้ว ให้อยู่คนเดียวทำคนเดียวมากๆจิตจดจ่ออยู่ในพรรษาให้มาก โดยเฉพาะเตือนลูกศิษย์ให้อยู่ในป่าช้าให้มากอนิสงฆ์ของการอยู่ในป่าช้าทำให้จิตใจกล้าองอาจจิตตื่นอยู่เสมอพิจารณาข้อธรรมได้ถี่ถ้วน เพราะจิตปราศจากนิวรณ์<O:p</O:p
    หลวงปู่กินรี จนฺทิโย เคยอยู่กับหลวงปู่เสาร์นานถึง 6 ปี อยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น 2 ปีและอยู่กับหลวงปู่ทองรัตน์ 4 ปีหลังจากนั้นได้กราบคารวะบูรพาจารย์ให้ทั้งสามอยู่เนืองนิจท่านได้กล่าวกับพระอาจารย์ชาจึงประกาศประดิษฐานพระพุทธศาสนาเชิงปฏิบัติธรรม ขยายไปยังทวีปต่างๆ ทั่วโลกแต่ชีวิตปั้นหลายของหลวงปู่กินรี จนฺทิโย ทุกสิ่งทุกอยางปกติคือพูดน้อยเก็บตัวอยู่เรียบง่ายสงบระงับ หยุดการเดินทาง หยุดการธุดงค์ มีนานๆครั้งจะไปเยี่ยมพระอาจารย์ชา ผู้เป็นศิษย์ที่วัดหนองป่าพงด้วยลักษณะนิสัยต้องการอยู่ตามลำพัง อยู่คนเดียว ไม่เปิดเผยตัวเองจึงไม่มีผู้ใดที่จะเคยได้ยินคำพูดที่จะเป็นไปในทางโอ้อวดการมีดีการอวดคุณธรรมวิเศษจากหลวงปู่ ท่านสมณะที่สงบเสงี่ยมเจียมตนจึงไม่อุดมด้วยศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและฆราวาส หลวงปู่ชา สุภทฺโทจึงส่งพระลูกศิษย์ 2 รูปมาอุปัฏฐานดูแลท่าน<O:p</O:p
    หลวงปู่มีโรคประจำตัว คือ ไออยู่เป็นนิจ เนื่องจากเกี่ยวกับปอดชื้นแต่ไม่ยอมให้หมอรักษาไม่ว่าท่านจะเป็นอะไร จะอาการหนักหรือไม่หนักท่านจะไม่ยอมให้ใครนำตัวท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลอย่างเด็ดขาดอะไรมันจะเกิดก็ต้องเกิด จนกระทั่งวันพุธที่ 26 พฤศจิกายน 2523 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำเดือน 12 ปีวอก หลวงปู่จึงได้ละสังขารจากพวกเราไป สิริรวมอายุ 84 ปี 7 เดือน 16 วัน 58 พรรษา<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <!-- text below generated by server. PLEASE REMOVE --></OBJECT></LAYER>
    </SPAN></STYLE></NOSCRIPT></TABLE></SCRIPT></APPLET><SCRIPT language=JavaScript src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc1.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc2.js"></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript src="http://us.js2.yimg.com/us.js.yimg.com/lib/smb/js/hosting/cp/js_source/geov2_001.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript>geovisit();</SCRIPT>[​IMG] <NOSCRIPT>[​IMG]</NOSCRIPT>[​IMG]

    <SCRIPT src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc1.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc2.js"></SCRIPT>
     
  15. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ธรรมโอวาท
    หลวงปู่พวง สุวีโร
    วัดป่าปูลูสันติวัฒนา ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
    (๒๔๗๑ - ๒๕๔๖)

    *********************************************

     
  16. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ขออนุโมทนาสาธุ.......
    กับคุณแดนโลกธาตุด้วยนะคะ
     
  17. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล

    หลักธรรมของพระอาจารย์เสาร์ กนฺสีโล

    จตุรารักขกัมมัฏฐาน

    (1) วิธีระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย
    ...
    อนึ่ง เมื่อระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ถึงระลึกดังนี้ก็ได้ว่า เพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ลุกโพลงรุ่งเรืองไหม้สัตว์เผาสัตว์ ให้รุ่มร้อนอยู่เป็นนิตย์ในภพทั้ง 3 เลิงกิเลสนั้น คือ ราคะ ความกำหนัดยินดี โทสะ ความเคืองคิด ประทุษร้าย และโมหะ ความหลงไม่รู้จริง

    ราคะ โทสะ โมหะ ทั้ง 3 นี้ ท่านกล่าวว่า เป็นเพลิงเพราะเป็นเครื่องร้อนรนกระวนกระวายของสัตว์ เพลิงทุกข์ นั้นคือ ชาติ ความเกิด คือ ขันธ์ อายตนะและนามรูปที่เกิดปรากฎขึ้น ชรา ความแก่ทรุดโทรมคร่ำคร่า และ มรณะ ความตายคือ ชีวิตขาดกายาแตกวิญญาณดับ

    โสกะ ความเหือดแห้งใจเศร้าใจ ปริเทวะ ความบ่นเพ้อคร่ำครวญร่ำไร ทุกข์ ทนยากเจ็บปวดเกิดขึ้นในกาย โทมนัส ความเป็นผู้มีใจชั่วเสียใจ อุปายาส ความคับแค้นอัดอั้นใจ

    ทุกข์
    มีชาติเป็นต้นเหล่านี้ ท่านกล่าวว่าเป็นเพลิง เพราะเป็นทุกข์ให้เกิดความร้อนรนกระวนกระวายต่างๆ แก่สัตว์ เพลิงกิเลส เพลิงทุกข์เหล่านี้ ยกพระพุทธเจ้าเสียแล้วไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งในโลกดับได้ แต่ผู้ที่จะรู้ว่าเป็นเพลิงเครื่องร้อนเท่านั้นก็หายากเสียแล้ว ผู้ที่จะดับเพลิงนั้นจะได้มาแต่ไหนเล่า ก็ในโลกหมดทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งดับได้ จึงพากันร้อนระกระวนกระวายอยู่ด้วยเพลิงหมดทั้งโลก ก็ไม่รู้สึกตัวว่าเพลิงมันไหม้มันเผาเอาให้เร่าร้อนอยู่เป็นนิตย์ เพราะอวิชชาความหลงไม่รู้จริง

    สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งของเราพระองค์ตรัสรู้ชอบตรัสดีแล้วเอง ตรัสรู้แจ้งเห็นจริง ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ของพระองค์ได้แล้ว คือทำให้แจ้งซึ่งกิเลสนิพพานได้แล้ว ทรงสั่งสอนสัตว์ให้รู้ตามเห็นตาม ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ด้วยพระองค์นั้น จึงเป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ ประเสริฐกว่าสัตว์ เป็นผู้อัศจรรย์ใหญ่ยิ่งนักควรเลื่อมใสจริงๆ

    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม พระธรรมที่เป้นที่พึ่งของเรามีพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ทรงคุณคือดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ของสัตว์ผู้ปฏิบัติชอบ ช่วยให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นได้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ผล นิพพาน พระธรรมนั้น ท่านทรงคุณ คือดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ได้อย่างนี้ จึงเป็นอัศจรรย์ใหญ่ยิ่งนัก ควรเลื่อมใสจริงๆ

    สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ พระสงฆ์ผู้สาวกของพระผู้มีพระภาค ที่เป็นที่พึ่งของเรา ท่านปฏิบัติดีแล้ว ทำให้บริบูรณ์ใน ศีล สมาธิ ปัญญา บรรลุมรรคผลทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ดังเลิงกิเลสเลพิงทุกข์ของตนได้แล้ว สั่งวสอนผุ้อื่นให้รู้ตามเห็นตาม ดับเพลิงกิเลสเพลิงทกุข์ได้ด้วย และเป็นเขตให้เกิดบุญเกิดกุศล แก่เทวดา มนุษย์มากมายนัก พระสงฆ์นั้นท่านปฏิบัติดีอย่างนี้ จึงเป็นอัศจรรย์ใหญ่ยิ่งนัก ควรเลื่อมใสจริงๆ

    เมื่อนึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 3 รัตนะนี้ ตรึกตรองด้วยปัญญา ครั้นเห็นจริงเกิดความเลื่อมในขึ้นแล้ว จะนึกแต่ในใจหรือจะเปล่งวาจาว่า

    อะโห พุทโธ พระพุทธเจ้าที่เป็นที่พึ่งของเรา ท่านทรงคุณคือดับกิเลส เครื่องร้อนใจของสัตว์ได้ นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เป็นอัศจรรย์ น่าเลื่อมใสจริงๆ
    อะโห ธัมโม พระธรรมที่เป็นที่พึ่งของเรา ท่านทรงคุณคือดับกิเลสเครื่องร้อนใจของสัตว์ได้ นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เป็นอัศจรรย์น่าเลื่อมใสจริงๆ
    อะโห สังโฆ พระสงฆ์ที่เป็นที่พึ่งของเรา ท่านปฏิบัติดีแล้ว เป้นเขตบุญอันเลิศ หาเขตบุญอื่นยิ่งกว่าไม่มี เป็นอัศจรรย์น่าเลื่อมใสจริงๆ
    ภาวนาดังนี้ ก็ได้ดีทีเทียว

    อนึ่ง ผู้ใดได้ความเชื่อความเลื่อมในในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 3 รัตนะนี้แล้ว ผู้นั้นได้ชื่อว่าเลื่อมใสแล้วในที่อันเลิศ ผลที่สุดวิเศษเลิศใหญ่ยิ่งกว่าผลแห่งกุศลอื่นๆทั้งสิ้น ย่อมีแก่ผู้เลื่อมใสใจรัตนะทั้งสามนั้น

    ....
    อนึ่ง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นี้ เป็นรัตนะอันเลิศวิเศษยิ่งกว่ารัตนะอื่นๆหมดทั้งสิ้น ย่อมให้สำเร็จความปรารถนาแก่สัตว์ผู้ที่เลื่อมในได้ทุกประการ เหตุนั้น เราทั้งหลาย จงอุตสาห์นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้เกิดความเลื่อมใสทุกๆวันเถิด จะได้ไม่เสียทีประสบพบพระพุทธศาสนานี้

    (2) วิธีเจริญเมตตา

    อนึ่ง เมื่อจะเจริญเมตตา พึงเจริญดังนี้ก็ได้ว่า
    สัพเพ สัตตา
    สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
    อะเวรา
    จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
    สัพเพ สัตตา
    สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
    อะพยาปัชยา
    จงเป็นสุขๆเถิด อย่าได้มีความเจ็บไข้ลำบากกายลำบากใจเลย
    สัพเพ สัตตา
    สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
    อะนีฆา
    จงเป็นสุขๆเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
    สัพเพ สัตตา
    สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
    จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนพ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น

    เมตตาภาวนานี้ เป็นข้าศึกแก่พยายาท โดยตรง เมื่อเจริญเมตตานี้ ย่อมละพยาบาทเสียได้ด้วยดี เมตตานี้เชื่อว่า เจโตวิมุต เพราะเป็นเครื่องหลุดพ้นจากพยาบาทของใจมี อานิสงฆ์ ยิ่งใหญ่กว่าทานและศีลหมดทั้งสิ้น
    เหตุนั้น เราทั้งหลาย จงอย่าประมาทในเมตตาภาวนานี้เลย อุตสาห์เจริญเถิด จะได้ประสบอานิสงฆ์วิเศษต่างๆซึ่งว่ามานี้ เทอญฯ
    ...

    (3)
    วิธีเจริญอสุภะ


    อนึ่ง เมื่อจะเจริญอสุภะ พึงเจริญดังนี้ก็ได้ว่า
    อัตถิ อิมัสมิง กาเย
    ของไม่งามเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดมีอยู่ในกายนี้
    เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ
    คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
    มังสัง นหารู อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง คือ เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม
    หะทะยัง ยะกะนัง กิโลมะกัง ปิหะกัง ปัปผาสัง
    คือ เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด
    อันตัง อันตะคุณัง อุทะริยัง กะรียัง
    คือ ไส้ใหญ่ สายเหนี่ยวไส้ ราก ขี้
    ปิตตัง เสมหัง ปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท
    คือ น้ำดี น้ำเสมหะ น้ำเหลือง (หนอง ) น้ำเลือด น้ำเหงื่อ น้ำมันข้น
    อัสสุ วะสา เขโฬ สังฆาณิกา ละสิกา มุตตัง
    คือ น้ำตาม น้ำมันเปลง น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำเยี่ยว

    ผม นั้นงอกอยู่ตามหนังศรีษะดำบ้างขาวบ้าง ขน นั้นงอกอยู่ตามขุมขนทั่วร่างกาย เว้นไว้แต่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เล็บ นั้นงอกอยู่ตามปลายมือ ปลายเท้า ฟัน นั้นงอกอยู่ตามกระดูก คางข้างบน ข้างล่าง สำหรับบดเคี้ยว อาหารชุ่มอยู่ด้วยน้ำลายเป็นนิตย์ หนัง นั้นหุ้มทั่วกาย ผิดนั้นลอกออกเสียแล้วมีสีขาว เนื้อ นั้นมีสีแดงเหมือนกะชิ้นเนื้อสัตว์ เอ็น นั้นรึงรัด รวบโครงกระดูดไว้ มีสีขาว กระดูด นั้นเป้นร่างโครงค้ำแข็งอยู่ในกาย มีสีขาว เยื่อในกระดูก นั้นมีสีขาวเหมือนกะยอดหวายที่เผาไฟอ่อนแล้ว ใส่ไว้ในกระบอกไม้ฉะนั้น เยื่อในขมอง ศรีษะ นั้นเป็นยวงๆ เหมือน กะเยื่อในหอยจุบแจง ม้าม นั้นคือแผ่นเนื้อมีสีแดงคล้ำๆ สองแผ่นมีขั้วอันเดียวกัน เหมือนกะผลมะม่วงสองผลมีขั่วอันเดียวกันฉะนั้น อยู่ข้างซ้ายเคียงกับหัวใจ เนื้อหัวใจ นั้นมีสีแดง สัณฐานดังดอกบัวตูม ตั้งอยู่ท่ามกลางอก ตับ นั้นคือแผ่นเนื้อสองแผ่นสีแดงคล้ำตั้งอยู่ข้างาขาวเคียงเนื้อหัวใจ พังผืด นั้นมีสีขาว เหนี่ยวหนังกับเนื้อ เอ็นกับเนื้อ กรดูกดับเอ็นติดกันไว้บ้าง ไต นั้นเป็นชิ้นเนื้อสีดำคล้ำเหมือนกะลิ้นโคดำอยู่ชายโครงซ้าย ปอด นั้น เป็นแผ่นเนื้อสีแดงคล้ำ ชายเป็นแฉกปกเนื้อหัวใจอยู่ท่ามกลางอก ไส้ใหญ่ นั้นปลายข้างหนึ่งอยู่คอหอย ปลายข้างหนึ่งอยู่ทวารทบไปทบมามีสีขาวชุ่มอยู่ด้วยเลือดในท้อง สายเหนี่ยวไส้ใหญ่ นั้นมีสีขาว ราก นั้นคือของที่กลืนกินแล้ว สำรอก ออกมาเสียฉะนั้น คูถ นั้นคือของที่กินขังอยู่ในท้องเสียแล้ว ถ่ายออกมาฉะนั้น น้ำดี นั้นสีเขียวคล้ำๆ ที่เป็นฝักตั้งอยู่ท่ามกลางอก ที่ไม่เป็นฝักซึมซาบอยู่ในกาย น้ำเสมหะ นั้นมีสีขาวคล้ำๆ เป็นมวกๆ ติดอยู่กับพื้น ไส้ข้างใน น้ำเหลือง (หนอง) นั้น มีอยู่ในที่สรีระมีบาดแผลเป็นต้น น้ำเลือด นั้นมีอยู่ตามขุมขนสในกาลเมื่อร้อนหรือกินของเผ็ด น้ำมันข้น นั้นมีสีเหลืองติดยอุ่กับหนังต่อเนื้อ น้ำตา นั้นไหลออกจากตาในกาลเมื่อไม่สบาย น้ำมันเปลว นั้นเป็นเปลวอยู่ในพุงเหมือนกับเปลวสุกร น้ำลายนั้น ใสบ้าง ข้นบ้าง น้ำมูก นั้นเหลวบ้าง ข้นบ้าง เป็นยวงออกจากนาสิก น้ำไขข้อ นั้นติดอยู่ตามข้อกระดูก น้ำเยี่ยว นั้นเกรอะออกจากรากและคูถ

    อะยะเมวะ กาโย
    กายคือประชุมส่วนเป็นของปฏิกูล น่าเกลียด นี้นั่นแหละ อุทธัง ปาทะตะลา เบื้องบนตั้งแต่เท้าขึ้นมา อะโธ เกสะ มัตถะกา เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงไป ตะจะปะริยันโต มันมีหนังหุ้มอยู่ที่สุดรอบ ปูโร นานัปปะการัสสะ อะสุจิโน มันเต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น เชคุจโฉ ปฏิกกุโล แต่ล้วนเป็นของไม่งาม มีกลิ่นเหม็น ปฏิกูลน่าเกลียดหมดทั้งสิ้น

    อสุภกัมมัฏฐาน
    (อสุภสัญญา) นี้ เป็นข้าศึกแก่ราคะความกำหนัดยินดีโดยตรง ผู้ใดมาเจริญอสุภะเห็นเป็นของไม่งามในกาย เห็นกายเป็นของไม่งาม ปฏิกูลน่าเกลียด จะเกิดความเบื่อหน่าย ไม่กำหนดยินดี ดับราคะ โทสะ โมหะ เสียได้ ผู้นั้นได้ชื่อว่าดื่มกินซึ่งรส คือ พระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง เหตุนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสรรเสริญกายะคตาสติอสุภกัมมัฏฐานนี้ว่า

    " ผู้ใดได้เจริญกายะคตาสตินี้ ผู้นั้น ได้เชื่อว่าบริโภค ซึ่งรส คือ นิพพาน เป็นธรรมมีผู้ตายไม่มี อมตธรรม ดังนี้
    นิพพาาน นั้นก็ดับราคะ โทสะ โมหะ นั้นเอง
    เหตุนั้น เราทั้งหลายจงอย่าได้ประมาทในกายะคตาสตินี้เลย อุตส่าห์เจริญเถิด จะได้ประสบพบพระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง เลิศกว่าธรรมหมดทั้งสิ้น.."

    (4)
    วิธีเจริญมรณสติ


    อนึ่ง เมื่อจะเจริญมรณสติ ถึงเจริญดังนี้ ก็ได้ว่า
    ธัมโมมหิ มะระณัง อนตีโต
    ชายว่า
    มะระณะ
    ธัมมามหิ มะระณัง อนตีตา
    หญิงว่า
    แปลว่า " เรามีความตายเป็นธรรมดา ล่วงความตายไปไม่ได้แล้ว"
    ความตายนั้น คือสิ้นลมหายใจ กายแตก วิญญาณดับ
    อนึ่ง พึงเจริญดังนี้ก็ได้ว่า อะธุวัง ชีวิตัง ชีวิตของเรามันไม่ยั่งยืน ธุวัง มะระณัง ความตายของเรามันยั่งยืน อะวัสสัง มะยา มะริตัพพัง เราคงจะตายเป็นแน่ มะระณะปะริ โยสานัง เม ชีวิตัง ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุด ชีวิตัง เม อะนิยะตัง ชีวิตของเรามันไม่เที่ยง มะระณัง เม นิยะตัง ความตายของเรามันเที่ยงแล้ว
    อนึ่ง พึงเจริญดังนี้ก็ได้ว่า สัพเพ มะรันติ จะ สัตว์ที่ตายอยู่เดี๋ยวนี้ก็ดี มะริงสุ จะ มะรันติ จะ สัตว์ที่ตายอยู่เดี๋ยวนี้ก็ดี มะริงสุ จะ มะริสสะเร ที่ตายดับสูญไปแล้วก็ดี จักตายต่อไปข้างหน้าก็ดี ตะถาวาหัง มะริสสามิ เราก็จะตายดับสูญไปเช่นนั้น เหมือนกันนั่นแหละ นัตถิ เม เอตถะ สังสะโย ความสงสัยในความตาย นี้ไม่มีแก่เรา เราไม่สงสัยในความตายนี้แล้ว

    เหตุนั้น เราจงเร่งขวนขวายก่อสร้างบุญกุศลซึ่งเป็นที่พึ่งของตนเสียให้ได้ทันเป็นมีชีวิตอยู่นี้เถิด อย่าให้ทันความตายมาถึงเข้า ถ้า ความตายมาถึงเข้าแล้ว จะเสียทีที่ได้เกิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานี้ทีเดียว

    ผู้ใดได้เจริญมรณสติ นึกถึงความตายได้เห็นจริง จนเกิดความสังเวชได้ ผู้นั้นย่อมไม่เมาในชีวิต ละอาลัยในชีวิตเสียได้เป็นผู้ไม่ประมาท รีบร้อนปฏิบัติละบาป บำเพ็ญบุญกุศล ชำระตนให้เป็นผู้บริสุทธิ์ โดยเร็วพลัน

    เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรั้สสรรเสริญมรณสติที่บุคคเจริญทำให้มากนี้ว่า มีผลานิสงส์ยิ่งใหญ่มากนัก นับเข้าพระนิพพานเป้นธรรมมีผู้ตายไม่มี ดังนี้ มรณสติ มีผลานิสงส์มากอย่างนี้

    อนึ่ง พระพุทธเจ้าก็ตรัสสั่งไว้ ให้คิดถึงความตายให้ได้ทุกวันๆมาในอภิณหะปัจเวกขณ์ เหตุนั้น เราทั้งหลายจงอุตส่าห์เจริญ มรณสติ คิดถึงความตายให้เห็นจริงจนเกิดความสังเวชให้ได้ทุกวันๆ เถิด จะได้ ประสบผลอานิสงส์ที่วิเศษ เป็นเหตุไม่ประมาทในอันก่อสร้างบุญกุศลซึ่งเป็นที่พึ่งของตน

    ที่นึกถึง คุณพระรัตนตรัย เจริญเมตตา อสุภะ และมรณสติ ทั้ง 4 อย่างซึ่งว่ามานี้ ท่านกล่าวว่า จตุรารักข์ เพราะเป็นธรรมป้องกันปกครองรักษาผุ้ที่เจริญนั้น ให้พ้นจากทุกข์ภัยอันตรายวิบัติทั้งสิ้นได้ และเป็นทางสวรรค์และนิพพานด้วย
    เหตุนั้น เราทั้งหลายจงอุตส่าห์เจริญให้ได้ทุกๆวันเถิด อย่าให้ขาดได้เลย จะได้เป็นความดี ความชอบ อย่างยิ่งของเราที่ได้มาเกิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานี้เทอญฯ......

    นี่คือ วิธีเจริญ " จตุรารักข์"


    หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  18. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    วัดป่าสุทธาวาส ต.ธาตุเชิงชิม อ.เมือง จ.สกลนคร


    namo.jpg

    มุตโตทัยลิขิตธรรมโดยหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    บันทึกโดยพระอาจารย์วิริยังค์สิรินฺธโร
    วัดป่าบ้านนามนกิ่ง. โคกศรีสุพรรณ.สกลนคร
    .. ๒๔๘๖

    . การปฏิบัติเป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าธรรมของพระตถาคตเมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชนแล้วย่อมกลายเป็นของปลอม (สัทธรรมปฏิรูป) แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยเจ้าแล้วไซร้ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริงและเป็นของไม่ลบเลือนด้วยเพราะฉะนั้นเมื่อยังเพียรแต่เรียนพระปริยัติถ่ายเดียวจึงยังใช้การไม่ได้ดีต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติจิตใจกำจัดเหล่ากะปอมก่าคืออุปกิเลสแล้วนั่นแหละจึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จเต็มที่และทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ไม่วิปลาสคลาดเคลื่อนจากหลักเดิมด้วย

    . การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่นชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
    ปุริสทมฺมสารถิสตฺถาเทวมนุสฺสานํพุทฺโธภควา
    สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทรมานฝึกหัดพระองค์จนได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพุทฺโธผู้รู้ก่อนแล้วจึงเป็นภควาผู้ทรงจำแนกแจกธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์สตฺถาจึงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์เป็นผู้ฝึกบุรุษผู้มีอุปนิสัยบารมีควรแก่การทรมานในภายหลังจึงทรงพระคุณปรากฏว่ากลฺยาโณกิตฺติสทฺโทอพฺภุคฺคโตชื่อเสียงเกียรติศัพท์อันดีงามของพระองค์ย่อมฟุ้งเฟื่องไปในจตุรทิศจนตราบเท่าทุกวันนี้แม้พระอริยสงฆ์สาวกเจ้าทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้วก็เช่นเดียวกันปรากฏว่าท่านฝึกฝนทรมานตนได้ดีแล้วจึงช่วยพระบรมศาสดาจำแนกแจกธรรมสั่งสอนประชุมชนในภายหลังท่านจึงมีเกียรติคุณปรากฏเช่นเดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้าถ้าบุคคลใดไม่ทรมานตนให้ดีก่อนแล้วและทำการจำแนกแจกธรรมสั่งสอนไซร้ก็จักเป็นผู้มีโทษปรากฏว่าปาปโกสทฺโทคือเป็นผู้มีชื่อเสียงชั่วฟุ้งไปในจตุรทิศเพราะโทษที่ไม่ทำตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์สาวกเจ้าในก่อนทั้งหลาย

    . มูลมรดกอันเป็นต้นทุนทำการฝึกฝนตน
    เหตุใดหนอปราชญ์ทั้งหลายจะสวดก็ดีจะรับศีลก็ดีหรือจะทำการกุศลใดๆก็ดีจึงต้องตั้งนโมก่อนจะทิ้งนโมไม่ได้เลยเมื่อเป็นเช่นนี้นโมก็ต้องเป็นสิ่งสำคัญจึงยกขึ้นพิจารณาได้ความว่านคือธาตุน้ำโมคือธาตุดินพร้อมกับบาทพระคาถาปรากฏขึ้นมาว่ามาตาเปติกสมุภโวโอทนกุมฺมาสปจฺจโยสัมภวธาตุของมารดาบิดาผสมกันจึงเป็นตัวตนขึ้นมาได้นเป็นธาตุของมารดาโมเป็นธาตุของบิดาฉะนั้นเมื่อธาตุทั้ง๒ผสมกันเข้าไปไฟธาตุของมารดาเคี่ยวเข้าจนได้นามว่ากลละคือน้ำมันหยดเดียวณที่นี้เองปฏิสนธิวิญญาณเข้าถือปฏิสนธิได้จิตจึงได้ถือปฏิสนธิในธาตุนโมนั้นเมื่อจิตเข้าไปอาศัยแล้วกลละก็ค่อยเจริญขึ้นเป็นอัมพุชะคือเป็นก้อนเลือดเจริญจากก้อนเลือดมาเป็นฆนะคือเป็นแท่งและเปสีคือชิ้นเนื้อแล้วขยายตัวออกคล้ายรูปจิ้งเหลนจึงเป็นปัญจสาขาคือแขน๒ขา๒หัว๑ส่วนธาตุพคือลมธคือไฟนั้นเป็นธาตุเข้ามาอาศัยภายหลังเพราะจิตไม่ถือเมื่อละจากกลละนั้นแล้วกลละก็ต้องทิ้งเปล่าหรือสูญเปล่าลมและไฟก็ไม่มีคนตายลมและไฟก็ดับหายสาปสูญไปจึงว่าเป็นธาตุอาศัยข้อสำคัญจึงอยู่ที่ธาตุทั้ง๒คือนโมเป็นเดิม

    ในกาลต่อมาเมื่อคลอดออกมาแล้วก็ต้องอาศัยนมารดาโมบิดาเป็นผู้ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมาด้วยการให้ข้าวสุกและขนมกุมมาสเป็นต้นตลอดจนการแนะนำสั่งสอนความดีทุกอย่างท่านจึงเรียกมารดาบิดาว่าบุพพาจารย์เป็นผู้สอนก่อนใครๆทั้งสิ้นมารดาบิดาเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อบุตรธิดาจะนับจะประมาณมิได้มรดกที่ทำให้กล่าวคือรูปกายนี้แลเป็นมรดกดั้งเดิมทรัพย์สินเงินทองอันเป็นของภายนอกก็เป็นไปจากรูปกายนี้เองถ้ารูปกายนี้ไม่มีแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ชื่อว่าไม่มีอะไรเลยเพราะเหตุนั้นตัวของเราทั้งตัวนี้เป็น

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  19. kamkaew

    kamkaew สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2008
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +3
    ยังไม่ได้อ่านค่ะ
    ดึกมากแล้ว จะกลับมาอ่านอีกครั้งค่ะ
     
  20. wichit_compong

    wichit_compong สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +13
    อนุโมทนาครับ
    พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรม...ปฏิบัติตนดีแล้ว...
    กระผมขอกราบ..พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
     

แชร์หน้านี้

Loading...