กรุณาทำความเข้าใจใหม่ เรื่อง ศาสนาพุทธ กับ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 19 พฤษภาคม 2008.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    พระพุทธศาสนา


    เป็นศาสนาที่มุ่งการพ้นทุกข์หรือพ้นจากการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย

    พ้นจากโลภ โกรธ หลง และอวิชชา (การไม่รู้ความจริงของธรรมชาติ)

    เน้นการปฏิบัติด้วยปัญญา การทำความเข้าใจ และพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง

    จนมองเห็นเหตุและผล และความเป็นไปตามธรรมชาติ

    ที่หมุนเวียนเป็นวัฏจักร จนสามารถนำตัวเองออกจากวัฏจักรที่ทำให้เกิดทุกข์

    หรือวัฏสงสารสรณะอันประเสริฐของพระพุทธศาสนา

    [​IMG]

    เรียกว่า พระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์

    โดย " พระพุทธเจ้า" ทรงตรัสรู้"พระธรรม" แล้ว

    ทรงสอนให้พระภิกษุได้รู้ธรรมจนหลุดพ้นตามในที่สุด

    ทรงจัดตั้งชุมชนของพระภิกษุให้อยู่ร่วมกันเพื่อศึกษา

    และฝึกฝนตนเองให้หลุดพ้น เรียกว่า "พระสงฆ์" (สงฆ์แปลว่าหมู่,ชุมนุม)

    แล้วทรงมอบหมายให้พระสงฆ์ทั้งหลายเผยแผ่พระธรรม

    เพื่อประโยชน์สุขของชาวโลกหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาในยุคก่อน

    จะบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรจะเรียกว่า "พระธรรมวินัย"

    ประกอบด้วย "พระธรรม" คือความรู้ในสัจธรรมต่างๆ

    ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้วและได้นำมาแสดงแก่ชาวโลก กับ "พระวินัย"

    คือกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ทรงบัญญัติไว้สำหรับผู้ที่ออกบวช

    เพื่อให้ผู้บวชสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีกฏเกณฑ์เป็นคณะสงฆ์

    อันเป็นชุมชนตัวอย่างที่ดำเนินชีวิตเพื่อความพ้นทุกข์

    โดยมีหมวดอภิธรรมไว้อธิบายคำจำกัดความของศัพท์ในหมวดพระธรรม

    และมีหมวดอภิวินัยไว้อธิบายคำจำกัดความคำศัพท์ในส่วนพระวินัย

    ในภายหลังเมื่อเริ่มมีการบันทึกคำสอนทั้งหลายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

    เรียกว่าคัมภีร์พระธรรม และคัมภีร์พระวินัย

    พระเถระผู้ทรงคุณในยุคสมัยนั้นได้เรียบเรียงคำอธิบายในหมวดอภิธรรม

    เพิ่มเติมอย่างละเอียด จนสามารถบันทึกเป็นคัมภีร์ "พระอภิธรรม"

    ต่างหาก เมื่อรวมเรียกทั้งสามคัมภีร์แล้ว

    บันทึกหลักธรรมคำสอนทั้งหมดในศาสนาพุทธจึงเรียกว่า พระไตรปิฏก

    พระพุทธเจ้าได้ทรงเริ่มออกเผยแผ่คำสอนในภูมิภาคที่เป็นประเทศอินเดีย

    ในปัจจุบัน ตั้งแต่เมื่อ 45 ปีก่อนพุทธศักราช

    ปัจจุบันศาสนาพุทธได้เผยแผ่ไปทั่วโลก

    โดยมีจำนวนผู้นับถือส่วนใหญ่อยู่ใน ทวีปเอเชีย ทั้งในเอเชียกลาง

    เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    โดยเฉพาะมีผู้นับถือเป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศไทย

    ผู้นับถือศาสนาพุทธที่ได้บวชเพื่อศึกษาและฝึกฝนตามคำสอน

    เพื่อความหลุดพ้นจะเรียกว่า พระภิกษุสงฆ์ (ชาย) และ พระภิกษุณีสงฆ์ (หญิง)

    ส่วนผู้นับถือที่ไม่ได้บวชจะเรียกว่าฆราวาส หรือ อุบาสก (ชาย) / อุบาสิกา (หญิง)

    โดยเมื่อรวมบุคคลสี่ประเภทคือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

    จะเรียกว่า พุทธบริษัท 4 อันหมายถึง พุทธศาสนิกชน

    พุทธมามกะ พุทธสาวก อันเป็นกลุ่มผู้ร่วมกันนับถือ

    ร่วมกันศึกษา และร่วมกันรักษาพุทธศาสนาไว้







    ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู


    [​IMG]




    ศาสนาเกิดที่ดินแดนชมพูทวีป (ประเทศอินเดีย)

    ก่อนพุทธศาสนา ซึ่งไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีคัมภีร์ศาสนา

    เรียกว่า พระเวท มีพัฒนาการสืบต่อยาวนาน นับจากลัทธิพราหมณ์

    จนถึงยุคที่เรียกว่าศาสนาฮินดู จึงมักเรียกรวมๆ กันว่า ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

    ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม"

    เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป

    ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ

    แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไป ถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด 3 องค์

    คือ พระพรหม ซึ่งเป็นผู้สร้างโลก พระศิวะ เป็นผู้ทำลาย

    และพระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ เป็นผู้ปกป้องและรักษาโลก

    คัมภีร์ทางศาสนา คัมภีร์พระเวท


    ชนชั้น-วรรณะ
    (*)ถ้ามีการแต่งงานข้ามวรรณะ บุตรที่เกิดมาก็จะกลายเป็น จัณฑาล (ในภาษาไทยคือ กาลกิณี) เป็นผู้อยู่นอกวรรณะซึ่งเป็นที่รังเกียจของทุกวรรณะ
    (*)ส่วนในอินโดนีเซียจะไม่ค่อยเคร่งวรรณะเหมือนกับในอินเดีย
    (*)มีการบอกในหนังสือบางเล่มไว้ว่า วรรณะพราหมณ์,กษัตริย์และแพศย์ เป็นวรรณะของคนอารยัน คือชนผิวขาวผู้ริเริ่มศาสนา ส่วนวรรณะศูทร เป็นของคนดราวิเดียน ชนผิวดำชนพื้นเมืองเก่าของอินเดีย

    นิกายนิกาย นิกายไวษณพ, นิกายไศวะ,นิกายศักติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤษภาคม 2008
  2. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    จะได้เลิก ...เถียงกันเสียที

    รู้ซะทีนะ ว่า ตัวเอง

    กำลังนับถือศาสนาอะไรกันอยู่?

    อย่าเอามาปะปนกัน

    เพราะไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

    ถึงแม้จะมาจาก รากฐานเดียวกัน

    แต่ก็เป็นคนละอย่าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤษภาคม 2008
  3. dhammadasa

    dhammadasa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    679
    ค่าพลัง:
    +69
    พุทธ สอน พระนิพพาน
    พราหม์ สอน อาตมัน
    ต่างกันอย่างไร
     
  4. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    อาตมัน แปลว่า "ตน" หมายถึง ตัวเรา หรือตัวตน

    ปรมาตมัน มาจาก ปรมะ(อย่างยิ่ง) + อาตมัน(ตัวตน)

    แต่ไม่ได้แปลตรงตัวว่าตัวเราผู้ยิ่งใหญ่ กลับแปลไปอีกทางหนึ่ง

    ตามความเชื่อของฮินดู แปลว่า ตัวตนที่สูงสุด

    หมายถึงภาวะที่จิตหมดจดสะอาดที่สุด(เท่าที่เขาจะทำได้)

    หรือจิตของพระเจ้า แต่เขาใช้ศัพท์เดียวกันคือ นิพพาน
     
  5. ป่าวอันถัง

    ป่าวอันถัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +114

    เป็นไปได้ไหมครับว่า ผู้สอนเรื่องอาตมันยังไม่บรรลุนิพพาน
    แต่ผู้มาเรียนคนหนึ่งบรรลุได้ คือ พระพุทธเจ้า ดังนั้น จะอาศัย
    อาตมันเป็นมรรคา ย่อมเป็นมรรคาเดียวกับพระพุทธเจ้าของเรา
    ซึ่งยากหน่อย เพราะไปด้วยกำลังโพธิญาณ


    แต่สำหรับกำลังระดับสาวกภูมิ คิดว่าเดินตามปกติดีกว่านะครับ
    กรรมฐานสี่สิบวิธี เลือกสักวิธี ทำให้ดี เพียรให้คล่อง ย่อมถึงได้แน่ครับ
     
  6. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    ปรมาตมัน อาตมันสูงสุด หรืออัตตาสูงสุด

    (บรมอาตมัน หรือบรมอัตตาเป็นสภาวะแท้จริง และเป็นจุดหมายสูงสุด

    ตามหลักความเชื่อของศาสนาฮินดู (เดิมคือศาสนาพราหมณ์)

    ซึ่งถือว่า ในบุคคลแต่ละคนนี้ มีอาตมัน คือ อัตตาหรือตัวตน สิงสู่อยู่ครอง

    เป็นสภาวะเที่ยงแท้ถาวรเป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้เสวยเวทนา เป็นต้น

    ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่แบ่งภาคออกมาจาก

    ปรมาตมันนั้นเองเมื่อคนตาย อาตมันนี้ออกจากร่างไปสิงอยู่ในร่างอื่นต่อไป

    เหมือนถอดเสื้อผ้าเก่าสวมเสื้อผ้าใหม่

    หรือออกจากเรือนเก่าไปอยู่ในเรื่องใหม่ ได้เสวยสุขหรือทุกข์ เป็นต้น

    สุดแต่กรรมที่ได้ทำไว้ เวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไป

    จนกว่าจะตระหนักรู้ว่าตนเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปรมาตมัน

    แลเข้าถึงความบริสุทธิ์จากบาปโดยสิ้นเชิง

    จึงจะได้กลับเข้ารวมกับปรมาตมันดังเดิม

    ไม่เวียนตายเวียนเกิดอีกต่อไป ; ปรมาตมันนี้ ก็คือ พรหม หรือ พรหมัน นั่นเอง
     
  7. ป่าวอันถัง

    ป่าวอันถัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +114

    อาตมัน คือ อะไรหนอ? เราที่แท้จริงคืออะไรหนอ?

    นี่คงเป็นปริศนาธรรม ในบำเพ็ญทางจิต
    ค้นหาไป วิญญาณก็ไม่ใช่เรา กายก็ไม่ใช่เรา
    เพราะขันธ์ทั้งห้าล้วนสูญไป สุดท้าย ค้นพบ "จิต"
    พบความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในจิตนั้นเอง


    อ้อ จิตนี้เอง คือ พุทธะ หรือว่านี่คือเรา เราคือพุทธะ?
     
  8. dhammadasa

    dhammadasa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    679
    ค่าพลัง:
    +69
    พรหม รึเปล่า
    เพราะดูจากการบำเพ็ญ ไม่ได้เป็นเพื่อรู้แจ้ง
    แต่เป็นการเพื่อ สนอง อัตตาจนถึงที่สุด
     
  9. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    นิกายและลัทธิ มีสี่นิกายด้วยกัน คือ

    นิกายไศวะ ถือพระอิศวรเป็นใหญ่ และนับถือพระนารายณ์ พระพรหม กับเทพอื่น ๆ ด้วย

    นิกายไวษณพ ถือพระนารายณ์เป็นใหญ่ และนับถือพระศิวะ พระพรหมา กับเทพอื่น ๆ ด้วย

    นิกายศากฺต ถือว่าพระแม่อาทิศักตี หรือพระแม่ปราศักตี เป็นใหญ่ และนับถือพระพรหมา พระนารายณ์ กับเทพอื่น ๆ ด้วย

    นิกายสมารฺต ถือเทพห้าองค์ด้วยกัน คือ พระพิฆคเณศวร พระแม่ภวานี คือ พระศักตี พระพรหมา พระนารายณ์ พระศิวะ ไม่มีองค์ใดใหญ่กว่าโดยเฉพาะ

    มีลัทธิที่แยกจากทั้งสี่นิกาย อีกหลายร้อยนิกาย แต่ละนิกายมีเทพสำหรับสักการะบูชา มีปรมาจารย์ผู้กำเนิดนิกาย

    แต่ทุกนิกายถือว่า พระปรมาตมัน เป็นพระเจ้าสูงสุด และใช้ตัวอักษร โอม เป็นสัญลักษณ์ทั้งสิ้น

    จุดมุ่งหมายของศาสนา เพื่อนำบุคคลไปสู่ความหลุดพ้น ทั้งจากกองกิเลส และกองทุกข์

    ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อหลุดพ้นไปแล้วก็จะกลายเป็นเอกภาพ

    มีภาวะเป็นอันหนึ่งอันเดียวไปกับพระ

    ภาวะดังกล่าวเรียกว่า โมกฺษคติ ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

    ในโลกนี้มีโยนิ (คือ สัตว์ทั้งหลาย) อยู่ถึงแปดล้านสี่แสนชนิดด้วยกัน

    มีสัตว์เพียงประเภทเดียวเท่านั้น ที่มีลัทธิพิเศษเฉพาะคือ มนุษย์ ที่จะเข้าถึงโมกฺษ ได้

    ศาสนาพรหมณ์ฮินดู ไม่ปล่อยให้เป็นภาระของเทพเจ้า เป็นที่พึ่งฝ่ายเดียว

    แต่ยังอาศัยกรรมของตน

    ฉะนั้นคัมภีร์พระเวทจึงได้สอนไว้ว่า

    มนุษย์ทั้งหลายควรปฎิบัติตามคติสี่ประการคือ ธรรมะ อรรถะ กามะ และโมกษะ

    อรรถ แปลว่า ทรัพย์สมบัติ หรือสิ่งของที่ต้องการ

    กาม แปลว่า ความปรารถนา ความประสงค์ ความต้องการ การอุปโภค บริโภค สิ่งต่าง ๆ ก็จัดเป็นกามเหมือนกัน มนุษย์ เมื่อสำเร็จโมกษธรรมแล้ว ยังไม่ควรจะละเลิก อรรถะ กับกามะ โดยสิ้นเชิง
     
  10. dhammadasa

    dhammadasa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    679
    ค่าพลัง:
    +69
    แสดงว่าจิตเป็นของเที่ยง จิตมีอยุ่ จิตเป็นเรา จิตเป็นอัตตาหรือ
     
  11. ป่าวอันถัง

    ป่าวอันถัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +114

    ปรมาตมัน อยู่ในทุกสิ่ง?
    หรือคือปริศนาธรรม?
    แก่นธรรมอยู่ในทุกสิ่ง?
    สรรพสิ่งมีธรรม? มีแก่น?
    ภายนอกเป็นเปลือก เป็นสมมุติ
    หรือ "สรรพสิ่งคือธรรมะ"
    มีสัจจะอันเที่ยงแท้อยู่ภายในสรรพสิ่งนั้น
    หรือว่า ปรมาตมัน คือ ธรรม อันเป็นสัจจะ?
    คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันเป็นลักษณะ
    ที่พออธิบายได้ในสามแง่มุม ของสัจธรรมนั้น?


    หรือว่าอย่างไรหนอ?
     
  12. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    สัญลักษณ์ทางศาสนา สำคัญที่สุดคือ ตัวอักษรที่อ่านว่า โอม

    มาจาก อ + อุ + มะ เป็นแทนพระตรีมูรตีเทพ คือ

    ทนพระนารายณ์หรือพระวิษณุ อุ แทนพระพรหมา

    แทนพระศิวะ หรือพระอิศวร

    เมื่อรวมกันเข้าเป็นอักษรเดียวกลายเป็นอักษร โอม

    แทนพระปรมาตมัน พระเจ้าสูงสุด ไม่มีตัวตน

    สัญลักษณ์นี้ทุกนิกาย ทุกลัทธิ ในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ต้องใช้เป็นประจำ
     
  13. ป่าวอันถัง

    ป่าวอันถัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +114

    จิตพุทธะย่อมพ้นจากการเกิดและตาย (พ้นอนิจจัง?)
    จิตพุทธะย่อมพ้นจากการทุกข์ (พ้นทุกขัง?)


    มีผู้กล่าวว่า นิพพาน มีลักษณะเดียวคือ อนัตตา
    ไม่มีลักษณะแห่งอนิจจัง และทุกขัง

    แต่ข้าพเจ้ามองว่า แม้ความไม่เที่ยงก็คือความเที่ยง
    แม้ความเที่ยงนั่นแหละ ทรงได้เพราะความไม่เที่ยง


    เช่นนี้ จะกล่าวว่า "เที่ยง" เกรงว่าจะไม่ครบด้าน
     
  14. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    พระปรมาตมันเป็นพระเจ้าสูงสุด มีอุปาสยเทพอยู่สามองค์ คือ

    พระพรหมา พระวิษณุ และพระศิวะ

    พระปรมาตมันไม่มีรูปและไม่มีตัวตน

    จึงกล่าววกันว่าเป็นนิรังการ หรือนิรากาลคือไม่มีอาการ

    หรือปราศจากอาการ ต่ อมาเมื่อพระปรมาตมัน

    ประสงค์จะสร้างโลกก็เลยกลายเป็นสาการภาพ คือ

    เกิดภาวะอันมีอาการและเป็นสามรูป

    ได้แก่พระพรหมธาดา พระวิษณุ และพระศิวะ

    พระพรหมา เป็นผู้สร้างโลกต่าง ๆ
    พระวิษณุ เป็นผู้คุ้มครองโลกต่าง ๆ
    พระศิวะ เป็นผู้สังหารหรือทำลายโลกต่าง ๆ
     
  15. dhammadasa

    dhammadasa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    679
    ค่าพลัง:
    +69
    คิดเอง ตอบเอง เบื่อ Google
     
  16. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    เทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ฮินดู มีอยู่เป็นจำนวนมาก

    แต่ละสถานีมีเทพเจ้าแต่ละองค์ ดูไม่ออกว่าองค์ไหนสำคัญกว่าหรือสูงกว่า

    แต่ละกลุ่มนับถือแต่ละองค์ บางทีในครอบครัวเดียวกัน

    แต่ละคนในครอบครัวก็นับถือเทพเจ้าต่าง ๆ กัน เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก
     
  17. ป่าวอันถัง

    ป่าวอันถัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +114

    ผู้เป็นสาวกภูมิ ย่อมพบเทพเจ้าของเขาในมรรคาแห่งพราหมณ์นี้ เขาย่อมเป็นสาวกที่ดี
    แต่สำหรับ "มหาบุรุษ" แล้ว เดินเข้าสู่มรรคาแห่งพราหมณ์
    กลับพบความหลุดพ้นจากความเป็นสาวก หรือสิ่งใดๆ เขากลับเป็น "ศาสดาที่ดี"
     
  18. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    เมื่อพระปรมาตมัน ประสงค์จะมีโลกต่าง ๆ ก็จะแบ่งภาคเป็นสามภาค คือ

    พระพรหมา พระนารายณ์ และพระศิวะ

    ขณะเดียวกันพระแม่อาทิศักตี ก็แบ่งภาคเป็นสามองค์คือ

    มหาสรัสวดี มหาลักษมี และมหากาลี หรืออุมาเทวี

    ทั้งหกองค์แบ่งปางต่าง ๆ หรือสร้างเทพต่าง ๆ ขึ้นตามความต้องการเช่น

    พระโลกปาล ๕ องค์ พระทิศปาล ๑๐ องค์

    พระเกษตรปาล (เจ้าที่เจ้าทาง) ๔๙ องค์ นพเคราะห์ ๙ องค์ เป็นต้น

     
  19. ป่าวอันถัง

    ป่าวอันถัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +114

    มรรคาย่อมมิใช่ปลายทางฉันใด พราหมณ์ ก็มิใช่ ที่สุดฉันนั้น
    มหาบุรุษ พึงเที่ยวหาราชรถแล่นไป เพื่อทำที่สุดแห่งจุดหมายปลายทาง
    เขาจึ่งอาศัยมรรคาแห่งพราหมณ์ไป สุดท้าย จึงพบ "จุดหมายปลายทาง"
     
  20. dhammadasa

    dhammadasa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    679
    ค่าพลัง:
    +69
    นิพพานเป็นแบบนี้นี่เอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...