ร่วมทําบุญทอดกฐินวัดพุทธานุภาพ วัดห่างไกล บนยอดดอยสูง อ.ท่าวังผา จ.น่าน 19ตค.67

ในห้อง 'กฐิน - ผ้าป่า - งานวัด' ตั้งกระทู้โดย ศิษย์รุ่นจิ๋ว, 29 กันยายน 2024.

  1. ศิษย์รุ่นจิ๋ว

    ศิษย์รุ่นจิ๋ว นิพพานัง ปัจจโยโหตุ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2017
    โพสต์:
    62,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    5
    ค่าพลัง:
    +79,565
    FB_IMG_1727616687271.jpg

    #กฐินเพื่อร่วมเผยแพร่ศาสนาให้กับชาวเขาบนดอยพื้นที่ห่างไกลจังหวัดน่าน
    .
    กฐินวัดพุทธานุภาพ
    .
    *** วัดห่างไกล บนยอดดอยสูง ณ อำเภอท่าวังผา
    จ.น่าน ปี 2567
    #ร่วมบุญเป็นเจ้าภาพตามกำลังศรัทธา...

    สามารถร่วมได้ที่
    ✅ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
    (ธ.ก.ส)
    ✅ เลขบัญชี 02-014-2-47229-4
    ✅ ชื่อบัญชี วัดพุทธานุภาพ
    .
    ** ทอดถวาย วันเสาร์ ที่ 19 ตุลาคม 2567
    ** เวลา 8.00 น. เป็นต้นไป

    วัดพุทธานุภาพตั้งอยู่บนบ้านสันเจริญ ต.ผาทอง อ.ท่าวังผา จ.น่าน เป็นวัดในหมู่บ้านที่อยู่บนพื้นที่สูงลาดชันห่างจากตัวเมือง 80 km ใช้เวลาเดินทางร่วม 2 ชั่วโมง การเดินทางต้องผ่านยอดเขายอดดอยหลายลูกจนนับไม่ถ้วนและมีคนไทยเชื้อสายเมี้ยนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
    .
    แต่เดิมในพื้นที่แม้จะมีชาวพุทธอยู่เยอะ ทว่ามีเพียงโบสถ์คริสต์ ไร้ซึ่งพุทธสถานที่พึ่งพาของจิตใจของคนส่วนใหญ่ ในปี 2552 สมเด็จช่วง(วัดปากน้ำ)ได้ขึ้นไปเยี่ยมเยือนชาวบ้านสันเจริญ ความต้องการให้มีวัดในชุมชนจึงทราบแก่สมเด็จท่าน ท่านจึงถามถึงความหนักแน่นของชาวบ้าน เพราะถ้ามีวัด ชาวบ้านต้องช่วยกันดูแล ชาวบ้านจึงตอบด้วยความยินดีว่าพร้อมที่จะบำรุงวัดให้อย่างดี
    .
    นับเป็นความโชคดีของชาวบ้านที่สมเด็จช่วงท่านมีกำลังมีความต้องการที่จะสร้างวัดขึ้น 3 แห่ง โดยจะให้นามมงคลที่แสดงถึงความเคารพต่อพระรัตนตรัยว่า พุทธานุภาพ ธรรมนุภาพ สังฆานุภาพ เหตุนี้จึงได้ฤกษ์ชัยในการสถาปนาพุทธศาสนาสถานขึ้นแห่งแรกบนดอยสูงบ้านสันเจริญในนาม “ วัดพุทธานุภาพ ”
    .
    วัดพุทธานุภาพเริ่มก่อสร้างในปี 2552 และได้ผูกพัทธสีมาขึ้นในปี 2559 สมเด็จท่านเล็งเห็นว่าวัดนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่บนเขาห่างไกล พระที่เหมาะสมในการจำวัดอยู่นี้ควรเป็นพระป่า จึงได้นิมนต์พระจากวัดคอวัง จ.น่าน ซึ่งเป็นวัดสาขาของวัดหนองป่าพงมาจำพรรษา ณ อารามแห่งนี้
    .
    ความโชคดีอีกอย่างขององชาวบ้านที่ได้พระปฏิบัติดีมาอยู่ในพื้นที่ ซึ่งพระในสายหลวงพ่อชา สุภัทโท ก็เป็นหนึ่งในคณะสงฆ์ที่ขึ้นชื่อเรื่องการรักษาวินัย ข้อวัตร ปฏิบัติอันงดงามของครูบาอาจารย์ที่สืบๆทอดกันมาตั้งหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อาจารย์ใหญ่แห่งสายวัดป่า นับเป็นอีกหนึ่งเนื้อนาบุญที่ดี ชาวบ้านบังเกิดความเสื่อมต่อพระสงฆ์ และช่วยกันบำนุทำรุงวัดจนมีความพัฒนาขึ้นมาตามลำดับถึงปัจจุบัน พุทธศาสนาจึงเริ่มตั้งขึ้นบนดอยแห่งนี้ได้
    .
    นอกจากกิจของศาสนา พระอาจารย์รชา เจ้าอาวาสวัดพุทธานุภาพท่านยังมีส่วนพัฒนาชุมชนบำรุงศาสนา การช่วยเหลือญาติโยมแจกของ/ปัจจัยช่วยเหลือชาวบ้านตามเหมาะสท จัดกิจกรรมบวรเณรฤดูร้อน ให้ทุนการศึกษา รวมไปถึงแจกรางวัลสำหรับเด็กๆที่ตื่นเช้าขึ้นมาใส่บาตร เข้ามาช่วยงานกิจกรรมต่างๆของวัด กวาดวัดวา ตัดหญ้าทำความสะอาด โดยท่านสามารถจดจำเด็กได้ทั้ง 3 หมู่บ้าน ท่านจะแจกเป็นเงินรางวัลเป็นแรงผลักดันเพื่อรักษากำลังใจเด็กๆให้อยากทำต่อไปเรื่อยๆ นับเป็นการปลูกต้นกล้ารดน้ำศรัทธาต่อศาสนาลงในใจเด็กๆรอวันเป็นต้นไม้ใหญ่ในวันข้างหน้า
    .
    นับเป็นเวลากว่า 16 ปีที่วัดพุทธานุภาพได้ถือกำเนิดขึ้นบนดอยบ้านสันเจริญ เพื่อเป็นร่มเงาทางใจให้แก่พุทธศาสนิกชนชาวไทยเมี้ยน พร้อมทั้งหยั่งรากลงหัวจิตหัวใจเด็กๆ สร้างความคุ้นเคยใกล้ชิดกับวัดและพระสงฆ์ เพื่อให้ศาสนาพุทธงอกเงยเจริญรุ่งเรืองบนดอยแห่งนี้ไปได้หลายชั่วอายุคนสืบๆไป
    .
    ติดต่อสอบถาม
    ติอต่อรับใบอนุโมทนาบัตร
    โทร /ไลน์ 063 - 596 - 1999 (คุณ อานันท์)
    .
    ✨#อานิสงส์ในการทอดกฐิน
    “ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง อุทัยธานี เมตตาบอกเคล็ดลับแก่ศิษยานุศิษย์ว่า หากใครปรารถนาความร่ำรวยระดับเศรษฐี มีวาสนาดี เงินทองคล่องมือ ไม่มีวันตกต่ำ ขอให้ร่วมเป็นเจ้าภาพในการทอดกฐิน ผ้าป่าติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปีติดกัน ”
     
  2. ศิษย์รุ่นจิ๋ว

    ศิษย์รุ่นจิ๋ว นิพพานัง ปัจจโยโหตุ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2017
    โพสต์:
    62,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    5
    ค่าพลัง:
    +79,565
    ขอร่วมบุญครับ สาธุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. Super Bank

    Super Bank จงทำดีอย่าทำชั่ว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2017
    โพสต์:
    27,775
    ค่าพลัง:
    +16,372
    นายภานุมาศ
    และครอบครัวจตุรพิพัฒนพร
    ร่วมบุญกุศลครั้งนี้ด้วยครับ
    สาธุ...☺️♥️
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3807.jpeg
      IMG_3807.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      265.8 KB
      เปิดดู:
      13

แชร์หน้านี้

Loading...