เรื่องเด่น เรื่องเล่า "นักขุดกรุ"มือขลัง ขมังเวทย์ที่สุดในแผ่นดิน

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย wanwi, 11 ตุลาคม 2016.

  1. wanwi

    wanwi ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,071,453
    เช้าวันหยุดอากาศแจ่มใส ภิกษุสงฆ์ออกบิณฑ์ฯไม่รกรุงรังด้วยร่ม คนทำบุญริมทางก็ทำอย่างเรียบง่าย ร่วมอนุโมทนาบุญง่ายๆแต่เป็นการบุญที่ต้องเสียสละไม่น้อย ทั้งตื่นเช้า หาภัตตาหารใส่บาตร ความง่ายที่มีความยากพอสมควร

    เป็นบุญที่พระอริยสงฆ์ทุกรูปสอนเสมอว่า ผู้ใดทำเป็นประจำ จักเป็นผู้ไม่ขาดแคลนทรัพย์สินเงินทอง ห่างไกลความยากไร้ และอุปสรรคขัดข้องต่างๆในชีวิตจะมลายหายรวดเร็ว
     
  2. wanwi

    wanwi ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,071,453
    พระสองแผ่นดิน-ย้อนพันปี
    "กริ่งตั๊กม้อ"ไทย-จีน 2537
    ===============

    จากบันทึกเก่าแก่ พระกริ่งจีนนอก สร้างในสมัย "เม็ง" กับ "เช็ง" อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 400-900 นั่นหมายถึงอายุกว่าพันปีในยุคปัจจุบัน

    การสร้างโดยฝีมือช่างหลวง ตกแต่งงามละเอียดและประณีตมาก ในด้านเนื้อหานั้นส่วนมากจะสร้างด้วยเนื้อทองเหลืองผสม นิยมเรียกกันว่า "เนื้อทองม้าฬ่อ" หรือเราเรียกเนื้อทองดอกบวบเป็นหลัก แล้วทำการอนุรักษ์ด้วยการเปียกทองทาหรือไม่ก็จะลงชาดและลงน้ำรักปิดทองทับไว้อีกชั้นหนึ่ง อาจแยกตามพุทธศิลปะเป็นพระกริ่งบาเก็ง เป็นส่วนใหญ่ที่เป็นพระกริ่งหนองแสก็มี

    ***((ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ อาณาจักร พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ฯ โดยท่านรองศาสตราจารย์นิพัทธ์ จิตรประสงค์))

    พระกริ่งจีนจึงเป็นยอดปรารถนาของนักสะสมทั้งรุ่นเดอะ รุ่นลายครามและคนรุ่นใหม่ แต่ต้องใช้กำลังเงินมหาศาลในการครอบครอง ทั้งยังมีสิทธิ์จ๊ะเอ๋ "กริ่งเจ็ก-ฝีมือไทยทำเทียม" เกือบจะร้อยทั้งร้อย!!!

    ปี 2537 ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์ไทย-จีน ได้ร่วมกับ วัดกวงซิ่ว เมืองกวางโจว ฟื้นฟูชีวิตวิญญาณสัมพันธ์ไทย-จีนครั้งใหญ่ในด้านพระพุทธศาสนา ด้วยการสร้าง พระกริ่งจีนนอกขึ้นด้วยรูปแบบและพิธีกรรมตามแบบฉบับบรรพกาลพันปีไม่ผิดเพี้ยน

    พระกริ่งจีนนอกแต่ร่วมมือกัน 2 แผ่นดินนี้ ขนานนามว่า "พระกริ่งตั๊กม้อ" เพราะจัดทำพิธีพุทธาภิเษกครั้งแรก ณ วัดกวงซิ่ว สำนักสงฆ์ตั๊กม้ออันยิ่งใหญ่ วันที่ 4-5 กันยายน 2537

    พระสงฆ์สายมหายานเมืองจีน พระสงฆ์ทิเบต มองโกเลีย และพระสงฆ์ไทยเข้าร่วมงานใหญ่ที่สุดหนแรกของผืนแผ่นดินใหญ่มากกว่า 500 รูปมีท่านพระพุทธิรังสี วัดโสธร เป็นประธานจุดเทียนชัย

    ต่อจากนั้นก็กลับมาทำพิธี หน2 วัดสุทัศน์เทพวราราม ตักศิลาแห่งพระกริ่งเมืองสยามในวันที่ 11 ธันวาคม โดยยอดเกจิคณาจารย์ทั่วไทยร่วมงานคับคั่งเป็นอีกหนึ่งประวัติการณ์ ประธานจุดเทียนชัย คือพระวิสุทธาธิบดีเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ฯ...

    --หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    --หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
    --หลวงพ่อแช่ม วัดดอนฯ
    --หลวงพ่อลำใย วัดลาดหญ้า
    --หลวงพ่ออุตมะ วัดวังวิเวการาม
    --หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก
    =======ฯลฯ=======

    การจัดสร้างพระกริ่งสองแผ่นดินครั้งนี้ ทำได้สมบูรณ์แบบเรียกว่าสร้างหนเดียวอยู่ในความทรงจำและเป็นประวัติศาสตร์ชั่วกาลนาน มีทั้ง เนื้อทองคำ/เงิน/นวะโลหะ/นวะทองม้าฬ่อ

    วาระวันที่ 9 เดือน 9 วันดีวันนี้ มาตรงกับเดือนและวันปลุกเสกพระกริ่งตั๊กม้อหนแรกที่มืองจีน จึงขอนำ "พระกริ่ง 2 แผ่นดิน" ให้ร่วมบุญบูชาเป็นศิริมงคล พระกริ่งใหญ่ ยิ่งใหญ่ บูชาแล้ว ทำการใด ใหญ่-เล็กก็ประสบแต่ความสำเร็จดังใจหมาย...

    =======1,800=======
    20230909_105622.jpg
    เนื้อนวะทองม้าฬ่อ(เขียนตามสูจิบัตรไม่ผิดแน่) กล่องเดิมแต่เปิดฝากล่องเพื่อถ่ายภาพ กริ่งใหญ่ถอดรูปแบบกริ่งจีนนอกที่เข้ามาสู่แผ่นดินไทยครั้งแรกเมื่อกว่าพันปี และเป็นพุทธลักษณะตั้งต้นให้กับการกำเนิดพระกริ่งในเมืองไทยหลากหลายสำนัก ตราบถึงทุกวันนี้
    20230909_105638.jpg

    พระกริ่งตั๊กม้อ กับเนื้อทองม้าฬ่อ อยู่ในกล่องยาวนาน กลายเป็นผิวหิ้งมีบางส่วนเนื้อกลับดำตามกาลเวลาที่ผ่านมาเกือบ 30 ปี เป็นเนื้อสองสีอย่างที่นักสะสมบูชาพระกริ่งชอบ
    20230909_105702.jpg 20230909_105714.jpg 20230909_110405.jpg
    ชมด้านข้างซ้าย-ขวาและ
    ใต้ฐานโค้ตดอกโบตั๋น ส่วน
    ฝาอุดกริ่งก็ประทับอักขระ
    ภาษาจีนกำกับไว้อีกชั้น กด
    ที่รูปขยายใหญ่ชมได้ครับ
    20230909_105821.jpg 20230909_105609.jpg
    ขนาดพระกริ่งใหญ่-ใหญ่สมชื่อ

    กล่องดั้งเดิมก็เก่าเก็บคร่ำคร่า
    20230909_105954.jpg

    ***ประชันกับพระกริ่งจีนนอก เวอร์ชั่นอายุพันปีของแท้ราคาหลักล้าน เนื้อทองม้าฬ่อเหมือนกัน องค์โบราณที่หาภาพดูยังยากนี้เปืยกทองทา
    ***ขอบพระคุณภาพจากหนังสือ ท่านรองศาสตราจารย์นิพัทธ์ จิตรประสงค์
     
  3. wanwi

    wanwi ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,071,453
    "พระบูชาเชียงรุ้ง"
    ศิลปะล้านช้าง1นิ้ว
    =============

    พระพุทธรูปขนาดเล็กย่อส่วนที่เรียกว่า "เชียงรุ้ง" ศิลปะช่างหลวงและช่างชาวบ้าน ถูกพบมากที่สุดเมื่อคราวพระธาตุพนมล้ม พระที่ถูกบรรจุอยู่ด้วยมหาศรัทธาแห่งผู้คน 2 ฝั่งโขงยาวไกลไปถึงล้านช้างดินแดนห่างไกลที่อดีตเคยเป็นของอาณาจักรสยาม

    "เชียงรุ้ง" เป็น 1 ใน "เมือง 7 เชียง" อันเก่าแก่แต่บรรพกาลประกอบด้วย เชียงราย/เชียงใหม่/เชียงแสน/เชียงขาง(หลวงพระบาง)/เชียงตุง/เชียงของ/เชียงรุ้ง

    ปัจจุบัน "เชียงรุ้ง" หรือเมือง "เชียงรุ่ง" อยู่ในมณฑลยูนานใต้ความครอบครองของจีนแผ่นดินใหญ่ เป็นจังหวัดปกครองตนเองของชนชาติไท สิบสองปันนา คนไทยสามารถใช้ภาษาไทยคุยกันรู้เรื่อง ก็เป็นเรื่องน่าเสียดายเหมือนกันที่เราสูญเสียอาณาจักรสวยงามผู้คนที่เปรียบเสมือนญาติมิตรเลือดเนื้อเชื้อไขดั้งเดิมคนไทไปในยุคนักล่าอาณานิคม

    --เชียง มีความหมายง่ายๆว่า เมือง
    --รุ่ง ก็แปลตามตัวง่ายๆว่า เจริญรุ่งเรือง

    เชียงรุ่งหรือเชียงรุ้งจึงเป็นเมืองความรุ่งเรือง เฉกเช่นเดียวกับพระพุทธศาสนาและศิลปะแห่งพระพุทธศาสนา เจริญเติบโตรุ่งเรืองยาวนานมานับพันปีบนอาณาจักรนี้

    พระบูชาเชียงรุ้งหน้าตัก 1 นิ้ว เนื้อสัมฤทธิ์ อายุสร้างอย่างน้อย 400 ปีขึ้นไปองค์นี้ นำมอบบูชาในวันที่ 9 เดือน 9 และ 9 ค่ำ เพื่อนิมิตหมายแห่งความก้าวหน้ารุ่งเรืองสืบไป...

    =======2,700=======
    20230909_162829.jpg
    ศิลปะช่างชาวบ้าน อายุใกล้เคียงกับพระเชียงแสน แต่รูปร่างและใบหน้าต่างกันมาก เนื้อสัมฤทธิ์หรือสำริดกลับดำละเอียดเป็นเนื้อเดียวกันด้วยกาลเวลา สมบูรณ์ไม่มีหักมีซ่อมเสริมศัลยกรรม ตรงคอและใบหูซึ่งเป็นส่วนเปราะบางสุดของพระพุทธรูปโบราณอยู่ครบถ้วน

    ปางมารวิชัย พระโอษฐ์(ปาก)หนา พระนาสิก(จมูก)โด่งงามไม่ถลอกปอกเปิก พระเนตร(ตา) อวบใหญ่ขึงขัง ทรงพลังอานุภาพมาก เป็นพระพุทธรูปที่สามารถเลี่ยมห้อยคอเช่นพระเครื่องก็ยังไหว

    หน้าตัก 1 นิ้ว ส่วนสูงเพียง 2 นิ้ว มีภาพให้ชมถัดไป
    20230909_162845.jpg
    ด้านหลังสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับด้านหน้า
    20230909_163338.jpg 20230909_163358.jpg
    เชิญชมข้างทุกมิติ
    ไม่ปิดบังอำพราง
    20230909_162907.jpg 20230909_163045.jpg 20230909_163115.jpg
    ใต้ฐานหล่อกลวงเนื้อโลหะหนา
    ตะไบขอบข้างเก็บงานละเอียด
    วัดความกว้างกับความสูงชัดเจน

    กดที่ภาพขยายใหญ่ชมได้เต็มตา
    20230909_163737.jpg
    ส่งท้ายกับภาพในท่าตั้งบูชา งามอย่างมีคุณค่า เก่าแก่ด้วยศิลปะระดับชาติอันล้ำค่า!
     
  4. wanwi

    wanwi ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,071,453
    "พระเชียงแสนปรกโพธิ์"
    ตะกั่วสนิมแดง-พิมพ์เล็ก
    ===============

    วันดีเป็นศรีวัน เปิดตู้ เปิดกรุพระโบราณทรงคุณค่าทั้งศิลปะและความหมายศิริมงคลล้ำค่าเกินกว่าราคาค่างวด และเป็นมรดกแห่งบรรพชนที่สมควรรักษา ดูแล สะสมให้ยาวนาน

    พระเชียงแสน ปรกโพธิ์ เนื้อตะกั่วสนิมแดง พิมพ์เล็ก!

    ปกติจะพบเจอกันแต่พิมพ์ใหญ่ ในกระบวนพระเชียงแสนเนื้อตะกั่วเก่าเทียบยุคได้กับกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง-ปลาย ก็อายุราวๆ 400-500 ปีโดยประมาณ เราไม่ใช่นักโบราณคดี เทียบเคียงแค่เข้าใจได้ก็พอ

    พระเชียงแสนปรกโพธิ์ขุดพบหลายที่หลายกรุดังนั้นการเจาะจงว่าขึ้นจากกรุไหนจึงยาก แต่ก็มีความเหมือนความคล้ายกัน ไม่จำเป็นต้องแยก

    องค์ที่นำมาให้ร่วมบุญนี้ เป็นพิมพ์เล็ก ความงามพอประมาณ เพราะผ่านการลงรัก-ปิดทองเอาไว้ สภาพจึงดีมาก ทองที่ปิดไว้เก่ายังสุกปลั่งสวยงาม แต่ดูเป็นจะรู้ว่าไม่ใช่ทองยุคใหม่

    มอบร่วมบุญเป็นศิริมงคลร่มเย็น ปรกโพธิ์ก็เสมือนนาคปรกตรงกับวันเสาร์ที่มีความหมายยอดเยี่ยม...

    =======2,500=======
    20230909_173208.jpg
    ความงามไปวัดไปวาได้ แต่ความเก่าความดั้งเดิมเต็มร้อย รักษาไว้ด้วยรัก-ทองทำให้ไม่ผุกร่อน ด้านขอบข้างความคมไม่มีเหลือ ลูบแรงแค่ไหนก็ไม่บาดมือ

    มีร่องรอยตอกตะปูตรึงไว้บูชากับผนังข้างพระเศียรด้านขวามือเรา
    20230909_173218.jpg
    ด้านหลัง-รักล่อนออกเกือบหมดเหลือฉาบเพียงบางเบา เนื้อบางส่วนที่เป็นสนิมแดงโผล่เห็นหลายจุด
    20230909_173243.jpg 20230909_173350.jpg
    ความสูง2นิ้ว ส่วน
    กว้างใต้ฐาน 1 นิ้ว
    เลี่ยมขึ้นคอยังได้
    20230909_173411.jpg
    เทียบขนาดพระหลายร้อยปีกับเหรียญปัจจุบัน วันนี้นำมาให้ชมให้ร่วมบูชาทั้ง เชียงรุ่ง เชียงแสน ถ้ามีครบก็เยี่ยมยอดพอคุยได้ว่าเป็นนักสะสมมีระดับ จะบูชาเป็นศิริมงคล เป็นเชียงไหนก็มากความหมายล้ำเลิศ ขึ้นชื่อนับถือกันแต่โบราณ...

    ชมเฉยๆเป็นความรู้ ดูเพลิน ก็เชิญตามสบาย ให้เป็นวันหยุดอันแสนสุขและอุดมมงคล!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2023
  5. daychar

    daychar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    738
    ค่าพลัง:
    +12,431
    ทั้งเชียงรุ้ง เชียงแสนงามขนาด หากมีพระแก้วกรุฮอดมาให้ชมด้วยก็จะดีไม่ใช่น้อยครับ
     
  6. wanwi

    wanwi ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,071,453
    น้องเดฯว่ามาได้ถูกใจ ผมก็บ้ายอเสียด้วย อาราธนาท่านลงจากครอบแก้วบนตู้มาให้ชมเสียเลย จะได้รู้ว่านักสะสมเก่าโบราณถ้าพระกรุแล้ว ผ่านมือผ่านตาแทบทุกอย่าง แต่จะยังอยู่ติดบ้านติดกรุหรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง

    ตามอ่าน ตามแลด้านล่างได้เลยครับ ขอเวลาร่ายมนต์อักษรแป็บ
     
  7. wanwi

    wanwi ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,071,453
    พระแก้วกรุฮอด
    "เนื้อบุศน้ำทอง"
    ศิลปะเชียงแสน
    ============

    ตามคำขู่...เอ้ย คำขอครับ พระแก้วกรุฮอด ตำนานของพระแก้วเมืองเหนืออันที่ใฝ่ฝันของนักสะสมตัวจริง ส่วนตัวปลอมซื้อแล้วขายอย่างเดียวก็อยากได้ เพราะของหายากมีราคาและมีของฝีมือ-เก๊มาก!

    จะเขียนเองก็เบื่อค้นคว้าหาตำนานมาตั้งต้นเขียนใหม่ อย่ากระนั้นเลย ลอกจาก "อมตะพระกรุ" ที่ "สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย" นำมาลงไว้ในเพจของสมาคมฯดีกว่า ซึ่งข้อมูลนี้สมาคมฯก็คัดลอกมาอีกที จากบันทึกที่เชื่อถือได้ของนักเขียนท่านหนึ่ง...

    *** พระหินสีเมืองฮอดเชียงใหม่ ***
    -----------------------

    พระพุทธรูปและพระเครื่องเนื้อแก้วผลึก ขุดค้นพบจากกรุตามเมืองในภาคเหนือและภาคกลาง มีแหล่งที่พบมากที่สุดคือ เมืองเชียงใหม่ เชียงราย และอยุธยา

    พระแก้วไม่ได้หล่อหรือทำขึ้นจากแก้วธรรมดาตามเข้าใจกัน เป็นแร่หินรัตนชาติแท้ๆ มีสีขาว สีเขียว และสีเหลือง แร่หินที่คนทั่วไปเรียกว่าแก้วผลึกนี้คือ พลอยหิน เนื้ออ่อนประเภทเปลือกหยก

    หินเขี้ยวหนุมาน หินเนื้ออ่อนสีเหลืองนี้จัดอยู่ในตระกูลหินบุษราคัม มีสีเหลืองใสวาวและสีเหลืองน้ำผึ้ง ในสมัยเชียงแสนและเชียงใหม่นิยมสร้างพระแก้วมากที่สุด ที่พบมากจะมีสีเหลืองและสีขาว

    พระแก้วสีเหลืองนี้เรียกว่า "บุศน้ำทอง" นั่นเอง

    พระแก้วสีขาวเรียกว่าเพชรน้ำค้าง สันนิษฐานว่าพระแก้ว การสร้างทำและสืบทอดมาจากเขตล้านนาตอนบนลงมาจนถึงเมืองเชียงใหม่

    ในปีพ.ศ. 2502-2503 กรมศิลปากรได้ขุดค้นพระเจดีย์ทุกวัดในเมืองฮอดเพื่อนำพระพุทธรูปและโบราณวัตถุทั้งหมด ขุดพบมาเก็บไว้ เนื่องจากสร้างเขื่อนภูมิพลเสร็จ น้ำจะท่วมเมืองฮอดทั้งหมด!

    ในครั้งนั้นทางการได้ขุดพบ "พระแก้ว" มากที่สุด และเป็นการขุดค้นพบพระแก้วครั้งใหญ่ที่สุดจะไม่มีการขุดพบพระแก้วมากมายเช่นนี้อีก มีประชาชนให้ความสนใจเดินทางไปดูเป็นจำนวนมาก

    แร่หินสีเหลืองที่นำมาสร้างพระแก้วนี้ เข้าใจว่าจะนำมาจากประเทศลังกาและจีน ส่วนหินเขี้ยวหนุมาน พบมากในประเทศไทยแต่เป็นแท่งหินขนาดเล็ก พวกขนาดใหญ่คงนำเข้ามาจากประเทศจีน เมืองเจียงซูมิ

    หินเขี้ยวหนุมานเนื้อดีน้ำงามที่สุดเรียกว่า...จุ๊ยเจีย ประกายแห่งพลัง !!!

    ชาวจีนโบราณถือกันว่าแก้วขาวจุ๊ยเจียป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่อต้านอาถรรพ์ต่างๆได้ด้วย

    พระแก้วของกรุเมืองฮอดที่ขุดได้ตามกรุเจดีย์ตามวัดหลายแห่งในเขตอำเภอฮอดที่พบมากจะมีพระแก้วเนื้อสีขาวและสีเหลืองที่ทางการได้ขุดรวบรวมไว้ รวมทั้งชาวบ้านได้ขุดค้นกันในระยะต่อมามีจำนวนมากพอสมควร มีขนาดใหญ่สุดหน้าตัก 3 นิ้วเศษ ขนาดเล็กสุด 0.5 นิ้ว

    พระแก้วของกรุเมืองฮอดที่ยังพอมีให้เห็นอยู่ในวงการพระเครื่องขณะนี้ เป็นงานสร้างศิลปะด้วยวัตถุมีค่าที่น่าศึกษาและควรเก็บอนุรักษ์ไว้ เพราะเป็นงานแกะที่ทำด้วยฝีมือของสกุลช่างเมืองฮอดแท้ๆ

    การสร้างพระแก้วต้องใช้ทักษะและการวางรูปแบบที่สูงมาก เป็นการสร้างที่ยากกว่าการหล่อพระพุทธรูปหรือทำพระเครื่องด้วยดินเผามาก พระแก้วของกรุเมืองฮอดเข้าใจว่าช่างแกะมีด้วยกันหลายคน เพราะแต่ละองค์มีฝีมือต่างกัน บางองค์มีฝีมือทำได้งดงามมาก มีปางสมาธิ และปางมารวิชัย ปางยืนก็มีบ้าง

    แต่ละองค์มีรูปแบบในศิลปะเชียงแสนมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 อันเป็นยุคทองของเชียงใหม่ ที่พระพุทธศาสนาแบบ "ลังกาวงศ์" กำลังเจริญรุ่งเรืองในเมืองเชียงใหม่!

    นอกจากพระแก้วที่ขุดพบแล้ว ยังพบพระเจดีย์แก้วบรรจุพระบรมธาตุอีกหลายองค์ รวมทั้งรูปสัตว์ เช่น ช้าง กวางหมอบ นกคุ้ม และภาชนะเครื่องใช้สอยขนาดเล็กอีกจำนวน มาก

    ข้าพเจ้ายังหาคำตอบไม่ได้ว่า ชุมชนโบราณที่เมืองฮอดในขณะนั้น นิยมสร้างแต่พระแก้วรวมทั้งเครื่องใช้สอยจำลอง อันเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ขึ้นมาเป็นจำนวนมากด้วยความศรัทธาต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยที่เมืองโบราณแห่งอื่น จะพบกรุพระแก้วเพียงแห่งละองค์เท่านั้น เข้าใจว่าจะเป็นพระแก้วของเจ้านายหรือบุคคลชั้นสูง สร้างขึ้นเพื่อเป็นพระชัยวัฒน์ประจำตัว หรือสร้างทำขึ้นในพิธีบวงสรวงสถานที่สำคัญ

    พระแก้วกรุเมืองฮอด พบในหลายวัดด้วยกันเช่น วัดหลวงฮอด วัดศรีโขง วัดเจดีย์สูง วัดดอกเงิน วัดสันหนอง ฯลฯ แต่กล่าวโดยรวมได้ว่า กรุวัดศรีโขง เป็นกรุที่พบพระแก้วมากที่สุดนับหมื่นองค์ เพราะเป็นกรุใหญ่มาก

    เมืองฮอดเป็นเมืองโบราณของอาณาจักรล้านนา(ในปัจจุบันเป็นอำเภอฮอด) ตัวเมืองเก่าตั้งอยู่ที่บ้านวังลุง พงศาวดารโยนกชี้ว่ามืองนี้คือ "ท่าเชียงทอง" ศูนย์กลางของเมืองคงอยู่ที่วัดหลวงฮอด ในอดีตพระนางจามเทวีได้นำไพร่พลขึ้นมา สร้าง เมืองลำพูน ได้แวะพักที่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ได้เห็นสถานที่นี้เป็นทำเลดี จึงได้สร้างเมืองขึ้นชื่อเมืองฮอดในปีพ.ศ. 1203 ได้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุไว้บนยอดเขาลูกหนึ่งชื่อดอยเกิ้ง(ดอยฉัตร) และได้สร้างวัดรวม 99 วัด

    วัดพระเจ้าโท้ วัดเก่าสร้างในสมัยจามเทวี นอกจากนั้นเมื่อปี 2513มีผู้ขุดพบพระรอดบังภัยมีลักษณะงดงามไม่แพ้พระรอดมหาวัน

    พระรอดบังภัยมีศิลปะแบบปาละ เทียบได้กับพระบางวัดดอนแก้ว ลำพูน มึอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 บ่งชี้ถึงศิลปะเมืองฮอดที่เก่าถึงสมัยหริภุญไชย จากหลักฐานเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์เหม็งหลายชิ้นที่ขุดพบในวัดเจดีย์สูง บอกชื่อจักรพรรดิสี่จง ตรงกับพ.ศ. 2065 -2110 เครื่องถ้วยจีนชิ้นเก่าที่สุดพบที่วัดศรีโขงมีอายุตรงกับสมัยจักรพรรดิสี่จง ปีศักราชซ้วนเต็ก พ.ศ. 1919 - 1978

    การได้พบสิ่งของอื่นๆและเครื่องใช้สอยต่างๆอีกจำนวนมากมาย อายุตรงกับสมัยพระเจ้าสามฝั่งแถน เป็นเวลาที่สมัยเชียงใหม่กำลังรุ่งเรือง ทำให้รู้ว่าเมืองฮอดยังคงเป็นเมืองท่าเชียงทองอยู่ เมืองท่าของชุมชนใหญ่แห่งนี้ เป็นเมืองท่าค้าขายหรือที่ผ่านพักของกลุ่มพ่อค้าก่อนจะนำสินค้าไปเมืองเชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา

    เมืองฮอดได้ดำรงฐานะเป็นสังคมเมืองต่อมาอีกเป็นเวลายาวนาน เมื่อสี่สิบปีก่อน ข้าพเจ้าได้ทันเห็นการรื้อโบราณสถานและขุดค้นรวบรวมศิลปะวัตถุของทางการครั้งนั้นด้วย เมื่อสายน้ำจากเขื่อนใหญ่ท่วมเข้ามาทำให้ชุมชนเมืองฮอดรวมทั้งศาสนสถานอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ต้องล่มสลายทำให้ศิลปะและงานฝีมือของเมืองฮอดถูกลืมเลือนไปจากผู้คนในยุคนี้

    แต่ตราบลมหายใจยังมีอยู่ศิลปะของเมืองฮอด ก็ยังคงได้รับการสืบทอดสานต่อ ณ ที่นี้ไปอีกนาน

    -------------------------

    20230909_200608.jpg
    พระแก้วเมืองฮอด ศิลปะเชียงแสนลังกาวงศ์ (ดูที่ใบหน้า-พระเศียร) ปางมารวิชัย เนื้อแก้วสีเหลืองที่เรียกว่า"บุศน้ำทอง" หรือเรียกง่ายๆว่าสีน้ำผึ้ง!

    แกะด้วยมือ เครื่องใช้สอยช่างโบราณรอยถาก รอยเซาะไม่มีร่องรอยเครื่องมือสมัยใหม่ เป็นไปตามจินตนาการช่างยุคนั้น ตามข้อเขียนด้านบน
    20230909_200618.jpg
    ด้านหลัง...แกะอย่างเรียบง่าย ปราศจากริ้วรอยลวดลายใดๆ พระองค์นี้ผ่านการล้างมายาวนานหลายสิบปี แต่เนื้อแก้วก็กลับเก่าเหมือนเดิมนานแล้ว ยกส่องกับแสงไฟจะเห็นเป็นสีน้ำผึ้งจริง สมแล้วที่เรียกว่า บุศน้ำทอง!
    20230909_200705.jpg 20230909_200748.jpg
    ขนาดหน้าตัก 1 นิ้วมาตรฐาน
    สูงจากฐานล่างถึงยอด 2 นิ้ว
    20230909_200537.jpg ตั้งถ่ายแบบพระบูชาหน้า-หลัง เนื้อแก้วสะท้อนแสงไฟ ถ่ายได้เท่าที่เห็น
    20230909_200549.jpg
    ก็อย่างที่บทความด้านบนเขียนไว้...ตราบลมหายใจยังมีอยู่ ศิลปะของเมืองฮอดยังคงได้รับการสืบทอด สานต่อไปอีกยาวนาน!
     
  8. Thot

    Thot เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2018
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +16,810
    เคาะครับ
     
  9. Thot

    Thot เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2018
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +16,810
    เสียดายเคาะไม่ทัน
    แต่อ่านดีๆองค์นี้เป็นพิมพ์เล็ก ก็ได้แต่หวังในใจว่าในกรุของคุณอาน่าจะมีพิมพ์อื่นที่หลงหูหลงตาอยู่อีกถ้าคุณอาพบเจอ ก็ถือโอกาสจองไว้ก่อนนะครับ
     
  10. Pattana

    Pattana ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2005
    โพสต์:
    12,944
    ค่าพลัง:
    +209,820
    วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๙ ปีเถาะ
    ใส่บาตรในเช้าวันนี้
    โมทนาบุญร่วมกันครับ
    สุทินนัง วะตะเม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง
    นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ ปัจจุบันเนกาเล

    IMG_20230910_065242.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. wanwi

    wanwi ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,071,453
    วันวานอยู่หน้าจอหลายยก ยกสุดท้ายปิดด้วยพระกรุฮอด จบแล้วปวดตาตุ้บ ตุ้บ รับปิดจอนอนยาว น้องโต้ดเข้ามาเคาะดูเวลาเกือบ 5 ทุ่ม ไม่หัวค่ำแต่ก็ไม่ดึกมาก

    พระบูชาเชียงรุ่งองค์น่ารักฝีมือภูมิปัญญาช่างพื้นเมืองนี้ จัดเป็นช่างฝีมือดีเอาการ อาจไม่ถึงช่างหลวงแต่ก็ไม่ใช่ช่างชาวบ้านทำอย่างขอไปที ทุกสัดส่วนเหมาะเจาะลงตัว เล็กดี ฝีมือล้ำเลิศ ก็ว่าได้

    พระบูชาสมัยเก่าเปิดดูตามเว็ปประมูล ส่วนใหญ่ราคาแพงเอาเรื่อง สำหรับของเราถูกบ้าง แพงบ้าง แล้วแต่กาละ มอบท่านให้น้องโต้ด จัดเดินทางวันพรุ่งนี้ ให้มีแต่ความเจริญรุ่งเรืองสมนาม "เชียงรุ่ง" โมทนาครับ
     
  12. wanwi

    wanwi ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,071,453
    องค์นี้ถ้าดูดีๆ น้องเดเพียงเข้ามาแสดงความชื่นชมและอยากขอชมพระแก้วกรุฮอด เพื่อความสมบูรณ์แบบของยุคสมัยใกล้เคียงกัน เชียงรุ่ง เชียงแสน เชียงใหม่

    น้องเดไม่ได้เคาะพระองค์นี้ไปครับ หากน้องโต้ดอยากได้ ก็จัดให้ไปพร้อมพระบูชาเชียงรุ่ง ถือซะว่ามอบให้ตามที่จองแต่ถ้าไม่ต้องการก็ บ่ บ่ เป็นหยังดอก แจ้งให้ผมทราบได้เลยครับ
     
  13. wanwi

    wanwi ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,071,453
    หลวงพี่ เณร ลูกศิษย์เรียงรายตามลำดับไหล่ รับการใส่บาตรจากพุทธศาสนิกและมอบพรยามเช้าอย่างแข็งขัน ส่งกระแสพลังให้ผู้ทำบุญรับความสุขราบรื่นตลอดทั้งวัน รวมทั้งเราผู้ตามร่วมอนุโมทนา
     
  14. daychar

    daychar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    738
    ค่าพลัง:
    +12,431
    รบกวนพี่วันอีกสักนิดครับ เพื่อให้ครบถ้วนในมิติ ขอชมด้านล่างที่ฐานพระด้วยว่ามีลักษณะอย่างไร ขอบคุณครับ
     
  15. wanwi

    wanwi ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,071,453
    เปิดมาเจอคำขอน้องเดช้าไป นำท่านกลับขึ้นไปสถิตอยู่บนแท่นหลังตู้เรียบร้อยแล้ว ไม่อยากปีนขึ้นปีนลงหลายหน อายุมากมันอันตรายกับตัวเอง

    แต่ก็บอกน้องเดเป็นอักษรให้เห็นภาพได้ว่า องค์นี้ฐานเซาะเรียบครับ ซึ่งกรุฮอดนับหมื่นองค์ (ไม่ต่ำกว่า2-3หมื่นคราวที่กรมศิลป์ตะลุยเปิดทุกกรุ) มีใต้ฐานเว้า ใต้ฐานเรียบ ใต้ฐานถูกเซาะเป็นมุมสามด้านเหมือนสามขาก็มี เรียกว่าพระนับหมื่นองค์แกะด้วยมือ จะทำให้เหมือนกันย่อมเป็นไปไม่ได้ ยังนึกภาพไม่ออกเหมือนกันว่า พระเหล่านั้นใช้ช่างกี่สิบ กี่ร้อยคนในการแกะ และใช้เวลากี่สิบปีเมื่ออดีต แต่คนโบราณทำได้เพราะคนมึเวลาว่างมากกว่าปัจจุบัน ก็คงทำกันไปเรื่อยๆ เด็กช่วยงาน ฝึกงาน ดูนานๆเข้าก็เป็นช่างได้ รับหน้าที่ทำสืบต่อกันไป

    ดังนั้นพระโบราณต้องดูความเก่าก่อน อย่าบ้าเรื่องพิมพ์ ไม่มีทางที่คนสิบคนร้อยคนจะแกะพระแบบเดียวกันได้เหมือน กันเด๊ะเช่นเครื่องจักร ทุกวันนี้คนเล่นพระรุ่นหลังถูกสอนให้ดูพิมพ์ก่อน จึงทำให้พระเก่า พระโบราณ กลายเป็นพระเก๊

    ดูพิมพ์ เล่นพิมพ์ต้องใช้กับพระเกจิที่มีเหรียญปั้ม มีรูปหล่อ ฯลฯ ก่อน 2500ไม่มากนัก-ปัจจุบันวันนี้ครับ ทุกอย่างใช้เครื่องจักร พิมพ์และตำหนิเป็นหลัก-ไม่เถียง

    แต่พระโบราณหลายร้อยปีอย่าว่าแต่เครื่องจักรเลย กาลเวลาก็ช่วยทำลายเสียจน "ตำหนิในพิมพ์" ที่เสี้ยนน้ำเน่ามันอุปโหลกกระโหลกกะลาขึ้นมาสอนคนเพื่อดูพระเก๊ที่พวกมันผลิตไว้ แล้วตีพระเก่า พระกรุเก๊เสียมากมายนั้น มันน่าอเนจอนาถใจเสียจริง

    ผมเล่นพระมาเกิน 40 ปี นานกว่าเสี้ยนวันนี้อย่างน้อยเกินครึ่งประเทศ ไม่เคยมีคนรุ่นนั้นสอนดูพิมพ์เลย มึแต่สอนดูเก่า ดูเนื้อ ดูคราบกรุ ฯลฯ ไว้ก่อน

    พิมพ์พระเขาเอาไว้ดูว่า พระนี้เรียกว่าอย่างนั้น พิมพ์นี้เรียกอย่างนี้ ก็เท่านั้น

    ถ้าเนื้อใช่ พิมพ์ใช่ เค้าโครงอัตลักษณ์ในทรงใช้ ก็แท้ แต่ถ้าดู"ตำหนิ" ฉิบหายวายตลิ่งก่อนเป็นอันดับแรก พระกรุทุกองค์เก๊หมด นอกจากของในมือเสี้ยน

    อีกสักพักไปชม "ของเก่ามากคุณค่า" ไม่กระโหลกกะลาอีกสักองค์ ก่อนนอนกันครับ
     
  16. wanwi

    wanwi ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    41,920
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,071,453
    ☆"พระบูชารัชกาล"☆
    ~~~~~~~~~~~~~~

    การสร้างพระพุทธรูปสมัย เชียงแสน สุโขทัย อยุธยา นั้นมักนิยมสร้างจีวรแนบพระวรกายและห่มเฉียงบ่า สืบต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ครั้งยังทรงผนวชและเป็นอธิบดีสงฆ์อยู่นั้น พระองค์ทรงออกแบบการครองจีวรพระพุทธรูปขึ้นมาใหม่ ให้เหมือนกับการ "ครองจีวรของจริง" โดยทำจีวรเป็นริ้วขึ้นเป็นครั้งแรก คือ "พระนิรันตราย" และถือเป็นแบบอย่างสืบต่อมา

    พระพุทธรูปที่กล่าวนี้นิยมเรียกว่า "พระรัชกาล"

    จากนั้นในรัชกาลต่อๆมาได้ทรงสน้างพระพุทธรูป โดยการประยุกต์ขึ้นมาใหม่ และไม่เข้าสมัย เชียงแสน อยุธยา สุโขทัย เรานิยมเรียกกันว่า "พระรัชกาล" เหมือนกัน ที่นิยมเล่นหากันนั้นมีทั้งโลหะผสมที่มีวรรณะค่อนข้างแดง และเนื้อทองดอกบวบ(เหลือง)
    20230910_212155.jpg
    (ภาพบน-ล่าง)พระรัชกาลเนื้อทองดอกบวบ ปางสมาธิ เทโดย เจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ ปี 2485

    ((( ขอบพระคุณ เรื่อง+ ภาพ จากหนังสือพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ฯ ท่านรองศาสตราจารย์นิพัทธ์ จิตรประสงค์)))
    20230910_212202.jpg
    พระรัชกาลอีกองค์จากหนังสือ เทที่วัดสุทัศน์ฯ
    ------------##########----------

    ต่อไปก็ชมองค์จริงที่ไม่ได้คัดลอกจากหนังสือ ยกจากหิ้งใหญ่มาถ่ายทอดให้ชม
    20230910_211309.jpg

    เนื้อทองดอกบวบ(เหลือง) หากขัดล้างสักหน่อยจะสุกปลั่งแต่ปล่อยให้มีคราบไคลกาลเวลาเกาะเล็กน้อย ภาษานักสะสมเขาเรียกว่า คลาสสิค

    หากไม่เกิดเหตุสุดวิสัยว่า ท่านเปื้อนสกปรกจนดูไม่ได้ละก้อ....ห้ามล้างท่านเป็นอันขาด!!!
    20230910_211330.jpg
    ความงามความคลาสสิคด้านหลัง ลืมบอกไปขนาดท่านหน้าตัก 3 นิ้วครึ่ง ถ้าวัดจากที่ฐานจะเป็น 4 นิ้วเศษ ความสูงจากพื้นถึงยอดพระเกศตุ่ม 8 นิ้วพอดี
    20230910_211432.jpg
    นำท่านถ่ายภาพในท่านนอน
    20230910_211449.jpg
    20230910_211626.jpg
    ดินที่ก้นเหลือติดด้านในเกือบลึกสุดไม่มาก คุณแม่เล่าว่าราวปี 2510 มีคนรับซื้อของเก่า จำพวกถ้วยชามตุ่มไห แต่ไม่ใช่เซียนพระมาเห็นในบ้านเพราะขอเข้ามาดูไหเก่าโบราณ และเห็นพระองค์นี้ขอซื้อ 10,000 บาท ราคามันช่างยั่วใจสำหรับยุคสมัยเมื่อกว่าครึ่งร้อยปี แต่ท่านไม่ตัดใจขายให้

    ก็เลยตกทอดมาให้สมาชิกได้ชมอย่างมีความสุขก่อนนอน สำหรับค่ำคืนวันหยุดที่เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝน แต่โชคดี แผ่นดินทองของเราไม่มีแผ่นดินไหวเหมือนหลายๆประเทศ...

    หมาดๆสดร้อนก็ "มอรอคโค" ที่ธรณีวิปโยคเล่นงานตายไปหลายพันคน!

    คนไทยเรา แผ่นดินธรรม แผ่นดินพุทธ พระคุ้มครอง ฝันดีมีความสุข ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ!!!
     
  17. Pattana

    Pattana ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2005
    โพสต์:
    12,944
    ค่าพลัง:
    +209,820
    วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ตรงกับวันจันทร์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๙ ปีเถาะ
    ใส่บาตรในเช้าวันนี้
    โมทนาบุญร่วมกันครับ
    สุทินนัง วะตะเม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง
    นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ ปัจจุบันเนกาเล

    IMG_20230909_065837.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. nott17

    nott17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,450
    ค่าพลัง:
    +20,992
    สวัสดีครับอาจารย์วันวิ พี่น้องทุกท่าน
    อนุโมทนาบุญกับอาจารย์ พี่น้องทุกท่าน
    ขอให้ทุกท่านมีแต่ความสุขกายสุขใจ ไร้โรคภัยอุปสรรค เจริญรุ่งเรืองร่ำรวยทุกท่าน สาธุ
     
  19. Thot

    Thot เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2018
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +16,810
    ผมว่าผมดูดีแล้ว ยังพลาดได้ แสดงว่าไอ้ที่เราว่าดีมันยังดีไม่พอต้องพยายามอีก
    นี่คงเป็นดังที่สำนวนในนิยายกำลังภายในกล่าวไว้ “ขิงแก่ ยังไงก็เผ็ดร้อนกว่า” อาจไม่ตรงตามตัวอักษร100% แต่ความหมายไม่ผิดนี้แน่นอน
    มัวแต่ฝอย รีบสรุปดีกว่า องค์นี้ผมก็เคาะครับ
     
  20. Thot

    Thot เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2018
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +16,810
    แจ้งโอนเงินร่วมทำบุญ พระบูชาเชียงรุ่ง กับ พระเชียงแสนปรกโพธิ์ ครับ
    ส่วนที่เกินสะสมไว้ร่วมบุญอื่นกับคุณอา ตามที่คุณอาเห็นสมควรครับผม
    IMG_1207.jpeg
     

แชร์หน้านี้

Loading...