๒๑ วิธี ของ สติปัฏฐาน เส้นทางแห่งการบรรลุธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ๑๓อักษร, 11 กันยายน 2021.

  1. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
     
  2. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
  3. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    ผมฟังแล้ว จิตตานุภาพ ในที่หลวงปู่ท่านพูด เป็น พื้นฐานพลังงาน ของทางสมถะ เป็นพลังจิต ...
    เมื่อพร้อมก็ น้อมไปในวิปัสนา.....
    เมื่อ น้อมไปในวิปัสนา นั่นละครับ สัมมาสติจึงจะเกิดขึ้น
     
  4. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    กัณฑ์ที่ ๔ อภิธรรมปิฎก ป.มหาปัฏฐาน

    คัมภีร์พระมหาปัฎฐาน(เล่มที่ ๑ หน้า ๒๐-๒๖)

    ว่าด้วย กุสลติกะ ในปฏิจจวาร
    สิยา กุสลํ ธมฺมํ ปฏิจจ กุสโล ธมฺโม อุปปชฺเชยย เหตุปจฺฉยาติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงคัมภีร์พระมหาปัฏฐาน กัณฑ์ที่ ๔

    ว่าด้วย กุสลติกะ ในปฏิจจวาร สืบต่อไป เพื่อให้เป็นประโยชน์ แก่พระพุทธศาสนา และ พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ตลอดกาลนาน

    บาลี

    ดำเนินความตามวาระพระบาลี ที่ได้ยกขึ้นไว้เป็นเบื้องต้นแห่งเทศนานั้น ว่า

    กุศลธรรมอาศัยกุศลธรรมแล้วเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี ฯ
    อกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี
    อัพยากตธรรมอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี
    กุศลธรรมและอัพยากตธรรมอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี
    อกุศลธรรมและอัพยากตธรรมอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี
    กุศลธรรมและอกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี
    กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น
    เพราะเหตุปัจจัยก็มี ดังนี้ ๑

    อกุศลธรรม อาศัย อกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยก็มี
    กุศลธรรม อาศัย อกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยก็มี
    อัพยากตธรรม อาศัย อกุศลธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี
    กุศลธรรม อัพยากตธรรม อาศัย กุศลธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี
    อกุศลธรรม อัพยากตธรรม อาศัย อกุศลธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี
    กุศลธรรม อกุศลธรรม อาศัย อกุศลธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี
    กุศลธรรมอกุศลธรรม อัพยากตรรรม อาศัย อกุศลธรรมเกิดขึ้น
    เพราะเหตุปัจจัยก็มี ดังนี้ ๑

    อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี
    กุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยก็มี
    อกุศลธรรมอาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี
    กุศลธรรม อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มิ

    อกุศลธรรม อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี
    กุศลธรรม อกุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี

    กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม
    อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี ดังนี้ ๑

    กุศลธรรม อาศัย อกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี
    อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี
    อัพยากตธรรมอาศัยกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี
    กุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากดธรรม
    เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี

    อกุศลธรรม อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรม
    เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี

    กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี

    กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมและอัพยากตธรรม
    เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี ดังนี้ ๑


    กุศลธรรม อาศัย อกุศลธรรม
    และอัพยากตธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี

    อกุศลธรรม อาศัยธรรมอันเป็นอกุศลและเป็นอัพยากตธรรม
    เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี

    อัพยากตธรรม อาศัยธรรมอันเป็นอกุศลและเป็นอัพยากฤต
    เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี

    กุศลธรรม อัพยากตธรรม อาศัยธรรมอันเป็นอกุศลและเป็นอัพยากฤต
    เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี

    อกุสลธรรม อัพยากตธรรม อาศัยธรรมอันเป็นอกุศล และเป็นอัพยากฤต
    เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี

    กุศลธรรม อกุศลธรรม อาศัยธรรมอันเป็นอกุศล และเป็นอัพยากฤต
    เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี

    กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม อาศัยธรรมอันเป็นอกุศล
    และเป็นอัพยากฤต เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี ดังนี้ ๑

    กุศลธรรม อาศัยธรรมอันเป็นกุศล และอกุศล เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี
    อกุศลธรรม อาศัยธรรมอันเป็นกุศล และอกุศล เกิดขึ้นเพราะเหตุ ปัจจัยก็มี
    อัพยากตธรรม อาศัยธรรมอันเป็นกุศลและเป็นอกุศล
    เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี
    กุศลธรรม อัพยากตธรรมอาศัยธรรมอันเป็นกุศลเป็นอกุศล
    เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี
    อกุศลธรรม อัพยากตธรรมอาศัยธรรมอันเป็นกุศลเป็นอกุศล
    เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี

    กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม อาศัยธรรมอันเป็นกุศล เป็นอกุศล
    เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี ดังนี้ ๑


    กุศลธรรม อาศัยธรรมอันเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต
    เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี
    อกุศลธรรมอาศัยธรรมอันเป็นกุศล เป็นอกุศลเป็นอัพยากฤต
    เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี
    อัพยากตธรรม อาศัยธรรมอันเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต
    เกิดขี้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี
    อัพยากตธรรม อาศัยธรรมอันเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต
    เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี

    กุศลธรรม อัพยากตธรรม อาศัยธรรมอันเป็นกุศลเป็นอกุศลเป็นอัพยากฤต
    เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี

    อกุศลธรรม อัพยากตธรรมอาศัยธรรมอันเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต
    เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี

    กุศลธรรม อกุศลธรรม อาศัยธรรมอันเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต
    เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มี

    กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม อาศัยธรรมอันเป็นกุศล เป็นอกุศล
    เป็นอัพยากฤต เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก็มีดังนี้ ๑

    กุศลธรรม อาศัยธรรมอันเป็นกุศล เกิดขึ้นเพราะ อารัมณปัจจัย
    ซึ่งมีการแจกเหมือนเหตุปัจจัย ดังที่แจกมาแล้วนั้นก็มี ดังนี้ ๑


    กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย ตลอดถึงวิคตปัจจัยก็มีดังนี้ ๑

    กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะ อวิคตปัจจัยก็มี
    กุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมและ
    อัพยากตธรรม อาศัย อกุศลธรรมและ
    อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และ
    อกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม เกิดขึ้นก็มี
    อกุศลธรรม อาศัยสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นก็มี
    อัพยากตธรรม อาศัยสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นก็มี
    กุศลธรรมและ อัพยากตธรรม อาศัยสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นก็มี
    อกุศลธรรม อัพยากตธรรม อาศัยสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นก็มี
    กุศลธรรม อกุศลธรรม อาศัย สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นก็มี
    กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม อาศัยสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นก็มี ดังนี้ ๑

    จบเอกมูละ คือ คำตั้งเพียง๑ แต่เท่านี้

    คำว่า คำตั้งเพียง ๑ นั้น
    คือ คำว่า เพราะเหตุปัจจัย
    ส่วนต่อไปมีคำ ตั้ง ๒๓ ตลอดจนถึง ๕ อันได้แก่ มีการแจกไปว่า

    กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
    ทีละ ๒ ก็มี
    ทีละ ๓ ก็มี
    ทีละ ๔ ก็มี
    ทีละ ๕ ก็มี
    ตลอดทั้งปัจจัย ๒๔ ก็มี

    เช่น คำว่า กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
    เพราะอารัมณปัจจัย ก็มี
    เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมณปัจจัย เพราะ อธิปติปัจจัยก็มี
    เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมณปัจจัย เพราะ อธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัยก็มี

    เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมณปัจจัย เพราะ อธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย เพราะ สมนันตรปัจจัยก็มี ดังนี้
    แล้วมีการแจกโดยกลับคำต้น ไว้ข้างหลังก็มี
    แจกไปโดยประการต่างๆ ดังที่ปรากฏในพระบาลีแล้วนั้น
    แต่
    ได้ใจความ ว่า
    กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม
    เกิดขึ้นเพราะปัจจัย ๒๔ อย่างใดอย่างนึง ดังนี้
    จบ ปัณณัตติวาร ในอุเทศเพียงเท่านี้

    ต่อนี้ไป เป็นเนื้อความในนิเทศแห่ง ปฏิจจวาร
    ซึ่งได้ ยกหัวข้อขึ้นแสดงแล้วนั้น
    ว่า
    คำว่า กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยนั้น คือ

    ขันธ์๓ อาศัยขันธ์๑ ซึ่งเป็นกุศล
    ขันธ์๑ อาศัยขันธ์๓ ขันธ์๒ อาศัยขันธ์๒ ฯ

    อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยนั้น
    คือ รูปขันธ์ อันมีจิตเป็น สมุฏฐาน อาศัยชันธ์อันเป็นกุศล ฯ

    กุศลธรรม อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยนั้น
    คือ ขันธ์๑ กับรูป อันมีจิตเป็น สมุฏฐาน อาศัยขันธ์๑ ซึ่งเป็นกุศลขันธ์๑
    กับรูป อันมีจิตเป็นสมุฏฐาน อาศัย ขันธ์๓ ขันธ์๒ กับรูป อันมีจิตเป็นสมุฏฐาน
    อาศัยขันธ์๒ ฯ

    อกุศลธรรมอาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยนั้น
    คือ ขันธ์๓ อาศัยขันธ์๑
    ซึ่งเป็นอกุศลธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยนั้น
    คือ รูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐาน อาศัยขันธ์อันเป็นอกุศล ฯ

    อกุศลธรรม อัพยากตธรรม อาศัยธรรมอันเป็นอกุศล
    เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยนั้น คือ ขันธ์ ๓ กับรูปอันมิจิตเป็นสมุฏฐาน
    อาศัยขันธ์๑ ซึ่งเป็นอกุศลขันธ์๑
    กับรูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐาน อาศัยขันธ์ ๓ขันธ์ ๒
    กับรูปอันมีจิตเป็นสมุภูฐาน อาศัยขันธ์ ๒ ฯ

    อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรม
    เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยนั้น
    คือ ขันธ์๓ กับรูป
    อันมีจิตเป็นสมุฏฐาน อาศัยขันธ์๑
    ซึ่ง
    เป็นวิบากอัพยากฤต
    เป็นกิริยาอัพยากฤต
    ขันธ์๑ กับรูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐาน อาศัยขันธ์๓ ขันธ์๒
    กับรูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐาน อาศัยขันธ์ ๒
    ส่วนขันธ์๓ กับรูปที่กรรมตกเต่ง อาศัยขันธ์ ๑
    ซึ่งเป็นวิบากอัพยากฤตในขณะปฏิสนธิ
    ขันธ์๑ กับรูปที่กรรมตกแต่ง อาศัยขันธ์ ๓ ขันธ์ ๒
    กับรูปที่กรรมตกแต่ง อาศัยขันธ์ ๒
    วัตถุอาศัยขันธ์
    ขันธ์อาศัยวัตถุ
    มหาภูต ๓ อาศัยมหาภูต ๑
    มหาภูต ๑ อาศัยมหาภูต ๓
    มหาภูต ๒ อาศัยมหาภูต ๒
    รูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐาน กับรูปที่กรรมตกแต่ง
    และอุปาทายรูป อาศัยมหาภูต ฯ

    อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอาศัยอัพยากตธรรม
    เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยนั้น คือ
    รูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐาน อาศัยขันธ์และมหาภูตทั้งหลาย ซึ่งเป็นกุศลธรรม ฯ

    อัพยากตธรรม อาศัยธรรมอันเป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต
    เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยนั้น คือ รูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐาน
    อาศัยขันธ์และมหาภูตรูปซึ่งเป็นอกุศล
    ดังนี้ ๑

    คำว่า กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัยนั้น คือ
    ขันธ์๓ อาศัยขันธ์๑ ซึ่งเป็นกุศล
    ขันธ์๑ อาศัยขันธ์๓
    ขันธ์๒ อาศัยขันธ์ ๒ ฯ

    คำว่า อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัยนั้น คือ
    ขันธ์๓ อาศัยขันธ์๑ ซึ่งเป็นอกุศล
    ขันธ์๑ อาศัยขันธ์๓
    ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์๒ ฯ

    อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัยนั้น คือ
    ขันธ์๓ อาศัยขันธ์๑
    ซึ่งเป็นวิบากอัพยากฤต กิริยาอัพยากฤต
    ขันธ์๑ อาศัยขันธ์๓
    ขันธ์๒ อาศัยขันธ์๒
    ขันธ์๑ อาศัยขันธ์๑
    ซึ่งเป็นวิบากอัพยากฤต ในขณะปฏิสนธิ
    ขันธ์๓อาศัยขันธ์ ๓
    ขันธ์๒ อาศัยขันธ์๒
    ขันธ์อาศัยวัตถุ ดังนี้ ๑


    คำว่า กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัยนั้น
    คือ
    ขันธ์๓ อาศัยขันธ์ ๑ ซึ่งเป็นกุศล
    ขันธ์๑ อาศัยขันธ์ ๓
    ขันธ์๒ อาศันยขันธ์ ๒ ฯ

    คำว่า อัพยากตธรรมอาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้นเพราะอธิปติบัจจัยนั้น
    คือ รูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐานอาศัยขันธ์อันเป็นกุศล ฯ
    คำว่า กุศลธรรม อัพยากตธรรม
    อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัยนั้น
    คือ ขันธ์ ๓ กับรูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐาน อาศัยขันธ์๑ ซึ่งเป็นกุศล
    ขันธ์๑ กับรูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฎฐาน
    อาศัยขันธ์๓ ขันธ์๒ กับรูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐานอาศัยขันธ์๒ ฯ

    คำว่า อกุศลธรรมอาศัยอุกศลธรรมเกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัยนั้น
    คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ซึ่งเป็นอกุศล
    ขันธ์๑ อาศัยขันธ์๓
    ขันธ์๒ อาศัยขันธ์๒ ฯ

    คำว่า อัพยากตธรรมอาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัยนั้น
    คือ รูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐาน อาศัยขันธ์อันเป็นอกุศล ฯ

    คำว่า อกุศลธรรม อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัยนั้น
    คือ ขันธ์๓ กับรูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐาน
    อาศัย ขันธ์๑ ซึ่งเป็นอกุศล
    ขันธ์๑ กับรูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐานอาศัยขันธ์๓
    ขันธ์๒กับรูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฎฐานอาศัยขันธ์๒ ฯ

    คำว่า อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรม
    เกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัยนั้น คือ
    ขันธ์๓ กับรูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐาน
    อาศัยขันธ์๑ ซึ่งเป็นวิบากอัพยากฤต
    เป็นกิริยาอัพยากฤต
    ขันธ์๑ กับรูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐานอาศัยขันธ์ ๓
    ขันธ์ ๒ กับรูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน อาศัยขันธ์๒
    มหาภูต ๓ อาศัยมหาภูต ๑
    มหาภูต ๑ อาศัยมหาภูต ๓
    มหาภูต ๒ อาศัยมหาภูต ๒
    รูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐาน กับอุปาทายรูป
    อาศัยมหาภูต ฯ

    คำว่า อัพยากตธรรม อาศัยธรรมอันเป็นกุศล เป็นอัพยากฤต
    เกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัยนั้น
    คือ รูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐาน
    อาศัยขันธ์และมหาภูตทั้งหลายซึ่งเป็นกุศล ฯ

    คำว่า อัพยากตธรรมอาศัยธรรมอันเป็นอกุศล
    และเป็นอัพยากฤต เกิดขึ้นเพราะ อธิปติปัจจัยนั้น
    คือ รูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐานอาศัยขันธ์ และมหาภูตทั้งหลาย
    ซึ่งเป็นอกุศล ดังนี้

    คำว่า กุศตธรรมอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้นเพราะอนันตรปัจจัย
    สมนันตรปัจจัยนั้น
    คือ ขันธ์๓ อาศัยขันธ์๑ ซึ่งเป็นกุศล
    เหมือนกับที่ว่ามาแล้วในอารัมมณปัจจัยโน้น


    ก็คำว่า
    ขันธ์นั้นอาศัยขันธ์นี้
    หรือขันธ์นี้อาศัยขันธ์นั้น เช่น คำว่า

    ขันธ์๓ อาศัยขันธ์๑
    หรือขันธ์๑ อาศัยขันธ์ ๓
    ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ นั้น ฟังดูแล้วน่าเบื่อหู

    เพราะช้ำ ๆ ซาก ๆ ทั้งเข้าใจยาก
    ว่า ได้แก่สิ่งใด
    เพราะฉะนั้น

    ขันธ์๑ นั้น หมายขันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
    ซึ่งมีในขันธ์๔ มีเวทนาขันธ์เป็นต้น

    คำว่า ขันธ์๓ นั้น หมายขันธ์๓ นอกจากขันธ์ที่มีจิตเป็นปัจจัย ฯ
    คำว่า เพราะอาศัยขันธ์ ๓ นั้น
    คือ เพราะอาศัยขันธ์๑ นอกจากขันธ์ที่เกิดขึ้นฯ
    คำว่า เพราะอาศัยขันธ์๒ นั้น คือ เพราะอาศัยเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ ฯ
    คำว่า ขันธ์ ๒ นั้น หมาย ขันธ์๒ อย่าง นอกจากขันธ์ ที่จัดเป็นปัจจัย ดังนี้ ฯ

    ได้ใจความว่า ขันธ์ที่แสดงมาแล้วนั้น

    ได้แก่ อรูปขันธ์๔ คือ

    เวทนาขันธ์
    สัญญาขันธ์
    สังขารขันธ์
    วิญญาณขันธ์ ฯ

    ขันธ์๑ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์๑
    หรือเป็นปัจจัยแก่ขันธ์๒
    หรือขันธ์๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์๑ ไม่มี

    เพราะฉะนั้น
    จึงไม่ได้กล่าวไว้ในพระบาลี ว่า
    ขันธ์๑ อาศัยขันธ์๑
    ขันธ์๒ อาศัยขันธ์๑
    ขันธ์๑ อาศัยขันธ์๒ ดังนี้ ฯ


    สิ้นเนื้อความในเทศนากัณฑ์นี้เพียงเท่านี้.

    เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้ ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มิถุนายน 2022
  5. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    พระอภิธรรมปิฎก มหาวิตถารนัย
    พระอภิธรรมปิฎก มี ๗ คัมภีร์ ๗๐๐ กัณฑ์ จบ
    คัมภีร์ที่ ต มหาปัฎฐาน มี ๒๐๐ กัณฑ์ (มี ๔ เล่ม จบ)

    กัณฑ์ที่ ๑

    คัมภีร์พระมหาบัฏฐาน
    ว่าด้วยเหตุปัจจัยเป็นต้น ในปัจจยวิภังควาร

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมมาสมพุทฺธสฺส ฯ
    เหตุปจุจโย อารมุมณปจุจโย อธิปติปจจโย อนนฺตรปจฺจโย
    สมนนุตรปจฺจโยติ


    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงคัมภีร์พระมหาปัฎฐาน
    อนันตนัย

    กัณฑ์ที่๑

    ว่าด้วยเหตุปัจจัยเป็นต้น
    ในปัจจยวิภังควาร สืบต่อไป เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่
    พระพุทธศาสนา และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ตลอดกาลนาน


    ก็แลคัมภีร์มหาปัฎฐานอนันตนัยนั้น ในอรรถกถา ว่า

    เทวาติเทโว เทวานํ เทวตานรปูซิโต
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ผู้เป็นเทพเจ้ายิ่งกว่าเทพเจ้าทั้งหลาย

    ผู้ที่เทพยดา มนุษย์ นาค ครุฑ อินทร์ พรหม ทุกถ้วนหน้า
    สักการบูชานั้น ครั้นทรงแสดงคัมภีร์พระยมก จบลงแล้ว
    จึงไค้ทรงแสดงคัมภีร์พระมหาปัฏฐาน อันลึกด้วยอรรถธรรมนี้
    เป็นลำดับต่อไป ฯ

    ปฎฺฐานํ นาม นามรูปนิโรธโธ
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงดับนามรูปแล้ว ได้ทรงแสดงคัมภีร์
    อันลึกยิ่ง ซึ่งประดับด้วยนัยหาประมาณมิได้ ซึ่งมีชื่อว่า
    คัมภีร์พระมหาปัฎฐานแล้ว ดังนี้ ฯ

    คำว่า คัมภีร์พระมหาปัฎฐานนั้น เมื่อแยก คำว่ามหา ออกแล้ว

    ก็เหลือแต่ คำว่า ปัฏฐาน ฯ เกนฏฺเฐน ปฏฺฐานํ มีคำปุจฉา ที่ชื่อว่า ปัฎฐาน


    นั้นเพราะเหตุใด
    มีคำวิสัชนาแก้ไขว่า เพราะเหตุแสดงปัจจัยต่าง ๆ ฯ

    คำว่า ป นั้น แปลว่า แสดงเนื้อความมีประการต่าง ๆ ฯ

    คำว่า ฐาน นั้น แปลว่า ปัจจัย

    อีกนัยหนึ่งว่า ที่เรียกว่า ปัฏฐาน นั้น
    เพราะหมายความว่า จำแนก คือ
    จำแนกซึ่งเนื้อความต่าง ๆ มีเหตุปัจจัยเป็นต้น ฯ

    อีกนัยหนึ่งว่า ที่เรียกว่า
    ปัฏฐาน นั้น เพราะเป็นที่แผ่ไปแห่งพระสัพพัญญูตญาณ
    ในธรรมอันลึกซึ้งทั้งสิ้น ดังนี้

    บาลี

    ส่วนเนื้อความในคัมภีร์พระมหาปัฏฐาน อนันตนัยนี้นั้น มีเป็นอุเทศ คือ

    ข้อใหญ่ใจความอยู่ ๒๔ ข้อ คือ

    ข้อว่าด้วยเหตุปัจจัย ๑
    ว่าด้วยอารัมมณปัจจัย๑
    อธิปติปัจจัย ๑
    อนันตรปัจจัย ๑
    สมนันตรปัจจัย ๑
    สหชาตปัจจัย ๑
    อัญญมัญญ ปัจจัย ๑
    นิสสยปัจจัย ๑
    อุปนิสสยปัจจัย๑
    ปุเรชาตปัจจัย ๑
    ปัจฉาชาตปัจจัย ๑
    อาเสวนปัจจัย ๑
    กรรมปัจจัย ๑
    วิปากปัจจัย ๑
    อาหารปัจจัย ๑
    อินทริยปัจจัย ๑
    ฌานปัจจัย ๑
    มรรคปัจจัย ๑
    สัมปยุตตปัจจัย ๑
    วิปปยุตตปัจจัย ๑
    อัตถปัจจจัย ๑
    นัตถิปัจจัย ๑
    วิคตปัจจัย ๑
    อวิคตปัจจัย๑ ดังนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มิถุนายน 2022
  6. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    ส่วนการแจกปัจจัยทั้ง ๒๔ นี้ มีตามวาระพระบาลีต่อไปว่า

    เหตุปัจจัย นั้น
    ได้แก่ เหตุอันเป็นปัจจัยแห่งธรรม อันประกอบกับเหตุด้วย
    เป็นปัจจัยด้วย ความเป็นเหตุแห่งรูปทั้งหลาย
    อันมีธรรมนั้นเป็นสมุฏฐานด้วย


    คำว่า อารัมมณปัจจัยนั้น คือ
    รูปายตนะ เป็นปัจจัยด้วย
    ความเป็นอารมณ์แห่งจักขุวิญญาณธาตุด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับ จักขุวิญญาณธาตุนั้นด้วย


    สัททายตนะ คือ
    เสียง เป็นปัจจัย คือ
    เป็นอารมณ์แห่งโสตวิญญาณธาตุด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้นด้วย


    คันชายตนะ คือ กลิ่น เป็นปัจจัย คือ
    เป็นอารมณ์แห่งฆานวิญญาณธาตุด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้นด้วย ๆ


    รสายตนะ คือ รส เป็นบปัจจัย
    คือ เป็นอารมณ์แห่งชิวหาวิญญาณธาตุด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้นด้วย ฯ


    โผฎฐัพพายตนะ
    คือ โผฎฐัพพะ เป็นปัจจัย คือ
    เป็นอารมณ์แห่งกายวิญญาณธาตุนั้นด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับกายวิญญาณชาตุนั้นด้วยฯ

    รูปายตนะ คือรูป

    สัททายตนะ คือ เสียง

    คันธายตนะ คือ กลิ่น

    รสายตนะ คือ รส

    โผฎฐัพพายตนะ คือ โผฎฐัพพะ

    เป็นปัจจัย คือ เป็นอารมณ์แห่งมโนธาตุด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับมโนธาตุนั้นด้วย ฯ

    ธรรมทั้งปวงเป็นปัจจัย คือ เป็นอารมณ์แห่งมโนวิญญาณธาตุด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับมโนวิญญาณธาตุนั้นด้วย ฯ

    ธรรมใด ๆ คือ ธรรมอันเป็นจิตและเจตสิก
    เกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรม์ใด ๆ ธรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัย
    คือ เป็นอารมณ์แห่งธรรมนั้น ๆ ดังนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มิถุนายน 2022
  7. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    คำว่า อธิปติปัจจัยนั้น ได้แก่
    ฉันทาธิปติ อันเป็นปัจจัย

    คือ เป็นใหญ่แห่งธรรมอันประกอบกับฉันทะด้วย
    แห่งรูปอันมีฉันทะนั้นเป็นสมุฏฐานด้วย ๑
    ได้แก่
    วิริยาธิปติอันเป็นปัจจัย คือ
    เป็นใหญ่แห่งธรรมอันประกอบกับวิริยะด้วย แห่งรูป
    อันมีวิริยะนั้นเป็นสมุฏฐานด้วย ๑
    ได้แก่
    จิตตาธิปติอันเป็นปัจจัย คือ
    เป็นใหญ่แห่งธรรมอันประกอบกับจิตด้วย
    แห่งรูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐานด้วย ๑
    ได้แก่
    วิมังสาธิปติ อันเป็นปัจจัย คือ
    เป็นใหญ่แห่งธรรมอันประกอบกับวิมังสาด้วย
    แห่งรูปอันมีวิมังสานั้น เป็นสมุฏฐานด้วย ๑
    ธรรมใด ๆ คือ ธรรมอันมีจิตและเจตสิกเกิดขึ้น
    เพราะกระทำธรรมใด ๆ ให้เป็นที่เคารพ ธรรมนั้น ๆ
    ก็ย่อมเป็นปัจจัย คือ เป็นใหญ่แห่งธรรมนั้น ๆ ดังนี้


    คำว่า อนันตรปัจจัยนั้น คือ
    จักขุวิญญาณธาตุด้วย
    ธรรมอันประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้นด้วย
    เป็นอนันตรปัจจัย คือ
    เป็นของไม่มีระหว่างคั่นแห่งมโนธาตุด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับมโนธาตุนั้นด้วย ฯ
    มโนธาตุด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับมโนธาตุนั้นด้วย
    เป็นอนันตรปัจจัย คือ
    เป็นของไม่มีระหว่าง คั่น
    แห่งมโนวิญญาณธาตุด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับมโนวิญญาณธาตุด้วย
    โสตวิญญาณธาตุด้วย
    ธรรมอันประกอบกับโสตวิญญาณธาตุด้วย
    เป็นอนันตรปัจจัย คือ
    เป็นของไม่มีระหว่างคั่นแห่งมโนธาตุด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับมโนธาตุนั้นด้วย

    ฆานวิญญาณธาตุด้วย
    ธรรมอันประกอบกับฆานวิญญาณธาตุด้วย
    เป็นอนันตรปัจจัย คือ
    เป็นของไม่มีระหว่างคั่นแห่งมโนธาตุด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับมโนธาตุนั้นด้วย ฯ

    มโนธาตุด้วย
    ธรรมอันประกอบกับมโนธาตุด้วย เป็นอนันตรปัจจัย คือ
    เป็นของไม่มีระหว่างคั่นแห่งมโนวิญญาณธาตุด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับมโนวิญญาณธาตุด้วย ฯ

    ชิวหาวิญญาณธาตุด้วย
    ธรรมอันประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้นด้วย
    เป็นอนันตรปัจจัย คือ
    เป็นของไม่มี ระหว่างคั่นแห่งมโนธาตุด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับมโนธาตุนั้นด้วย ฯ
    มโนธาตุด้วย
    ธรรมอันประกอบกับมโนธาตุนั้นด้วย
    เป็นอนันตรปัจจัยแห่งมโนวิญญาณธาตุนั้นด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับมโนวิญญาณธาตุด้วย ฯ

    กายวิญญาณธาตุด้วย
    ธรรมอันประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้นด้วย
    เป็นอนันตรปัจจัยแห่งมโนธาตุด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับมโนธาตุนั้นด้วย
    มโนธาตุด้วย
    ธรรมอันประกอบกับมโนธาตุด้วย
    เป็นอนันตรปัจจัยแห่งมโนวิญญาณธาตุด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับมโนวิญญาณธาตุนั้นด้วย

    กุศลธรรมก่อน ๆ เป็นอนันตรปัจจัยแห่งกุศลธรรมหลัง ๆ ฯ
    กุศลธรรมก่อน ๆ เป็นอนันตรปัจจัยแห่งอัพยากตธรรมหลัง ๆ ฯ


    อกุศลธรรมก่อน ๆ
    เป็นอนันตรปัจจัยแห่งกุศลธรรมหลัง ๆ
    และแห่งอัพยากตธรรมหลัง ๆ ฯ
    อัพยากตธรรมก่อน ๆ เป็นอนันตรปัจจัยแห่งอัพยากตธรรมหลัง ๆ
    และแห่งกุศลหลัง ๆ แห่งอกุศลธรรมหลัง ๆ

    ธรรมใด ๆ คือ ธรรมอันเป็นจิตและเจตสิก
    เกิดขึ้นโดยไม่มีระหว่างคั่น กับธรรมใด ๆ

    ธรรมนั้น ๆ เป็นอนันตรปัจจัยแห่งธรรมนั้น ๆ ดังนี้


    คำว่า สมนันตรปัจจัยนั้น คือ จักจุวิญญาณธาตุด้วย
    ธรรมอันประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุด้วย
    เป็นสมนันตรปัจจัย คือ เป็นของมีระหว่างคั่นเสมอกัน
    แห่งมโนธาตุด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับมโนธาตุนั้นด้วย
    ส่วนมโนธาตุ กับธรรมที่ประกอบกับมโนธาตุ
    ก็เป็นสมนันตรปัจจัย คือ
    เป็นของมีระหว่างคั่นเสมอกันแห่งมโนวิญญาณธาตุนั้น
    แห่งธรรมอันประกอบกับมโนวิญญาณธาตุด้วย ฯ

    โสตวิญญาณธาตุ กับธรรมอันประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น
    เป็น สมนันตรปัจจัย
    แห่งมโนธาตุด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับมโนธาตุด้วย ส่วนมโนธาตุกับธรรม
    อันประกอบกับมโนธาตุ ก็เป็นสมนันตรปัจจัยแห่งมโนวิญญาณธาตุด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับมโนวิญญาณธาตุนั้นด้วย ฯ

    ฆานวิญญาณธาตุกับธรรมอันประกอบกับฆานวิญญาณธาตุก็ดี
    ชิวหาวิญญาณธาตุ กับธรรมที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุก็ดี
    วิญญาณธาตุก็ดี
    กายวิญญาณธาตุกับธรรมที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุ
    ก็เป็น เป็นสมนันตรปัจจัยแห่งมโนธาตุด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับมโนธาตุด้วย
    ส่วนมโนธาตุกับธรรมที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น
    ก็เป็นสมนันตรปัจจัย แห่งมโนวิญญาณธาตุด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับมโนวิญญาณธาตุด้วย ฯ

    กุศลธรรมก่อน ๆ ก็เป็นสมนันตรปัจจัยแห่งกุศลธรรมหลัง ๆ
    และแห่งอัพยากตธรรมหลัง ๆ ฯ

    อกุศลธรรมก่อน ๆ ก็เป็นสมนันตรปัจจัยแห่งอกุศลธรรมหลัง ๆ
    และแห่งอัพยากตธรรมหลัง ๆ ฯ

    อัพยากตธรรมก่อน ๆ ก็เบ็นสมนันตรปัจจัยแห่งอัพยากตธรรมหลัง ๆ
    และแห่งกุศลธรรมหลัง ๆ แห่งอกุศลธรรมหลัง ๆ ฯ

    ธรรมใด ๆ คือ ธรรมอันมีจิตและเจตสิกเกิดขึ้น
    โดยไม่มีระหว่างคั่นเสมอกัน คือ ในลำดับกันแห่งธรรมใด ๆ
    ธรรมนั้น ๆ ก็เป็นสมนันตรปัจจัย คือ
    เป็นของมีในลำดับกันแห่งธรรมนั้น ๆ ดังนี้


    คำว่า สหชาตปัจจัยนั้น คือ ธรรม ๔ประการ ซึ่งเป็นธรรมไม่มีรูป
    ก็เป็นสหชาตปัจจัยแห่งกันและกัน
    มหาภูต ๔ ก็เป็นสหชาตปัจจัยแห่งกันและกัน
    นามรูปในขณะก้าวลง ก็เป็นสหชาตปัจจัยแห่งกันและกัน ๆ

    ธรรมอันเป็นจิตและเจตสิกก็เป็นสหชาดปัจจัยแห่งรูป
    อันมีจิตเป็นสมุฏฐานฯ
    มหาภูตก็เป็นสหชาตปัจจัยแห่งอุปาทายรูป ฯ

    ธรรมอันมีรูป ก็เป็นสหชาตปัจจัยในบางคราวแห่งธรรมอันไม่มีรูป
    แต่ในบางคราวก็ไม่เป็นสหชาตปัจจัย ดังนี้

    คำว่า อารัมมณปัจจัยนั้น คือ
    ขันธ์ ๔ อันไม่มีรูป เป็นอัญญูมัญญปัจจัย
    มหาภูต ๔ ก็เป็นอัญญมัญญปัจจัย ฯ

    นามรูปในขณะก้าวลง ก็เป็นอัญญมัญญปัจจัย ดังนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มิถุนายน 2022
  8. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    คำว่า นิสสยปัจจัยนั้น คือ
    ขันธ์ ๔ อันไม่มีรูป เป็นนิสสยปัจจัยแห่งกันและกัน ฯ

    มหาภูต ๔ ก็เป็นนิสสยบัจจัยแห่งกันและกัน ฯ
    นามรูปในขณะก้าวลง ก็เป็นนิสสยปัจจัยแห่งกันและกัน ฯ
    ธรรมอันเป็นจิตและเจตสิกก็เป็นนิสสยปัจจัย
    แห่งรูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐาน ฯ
    มหาภูตก็เป็นนิสสยปัจจัยแห่งอุปาทายรูป ฯ

    จักขวายตนะก็เป็นนิสสยบัจขัยแห่งจักจุวิญญาณธาตุ
    และแห่งธรรมอันประก่อบกับจักชุวิญญาณธาตุ ฯ

    โสตายตนะ ก็เป็นนิสสยปัจจัยแห่งโสตวิญญาณธาตุ
    และแห่งธรรมอันประกอบกับโสตวิญญาณธาตุ ฯ

    ฆานายตนะ ก็เป็นนิสสยปัจจัยแห่งฆานวิญญาณธาตุ
    และแห่งธรรมอันประกอบกับฆานวิญญาณธาตุ ฯ

    ชิวหายตนะก็เป็นนิสสยปัจจัยแห่งชิวหาวิญญาณธาตุ
    และแห่งธรรมอันประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุ ฯ

    กายายตนะก็เป็นนิสสยปัจจัยแห่งกายวิญญาณ
    และแห่งธรรมที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุ ฯ

    มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุเป็นไปได้เพราะอาศัยรูปใด
    รูปนั้นก็เป็นนิสสยปัจจัยแห่งมโนธาตุนั้นด้วย
    แห่งมโนวิญญาณธาตุด้วย
    แห่งธรรมอันประกอบกับมโนวิญญาณธาตุด้วย ดังนี้

    ของดเนื้อความในพระบาลีไว้เพียงเท่านี้.



    อรรถกถา

    ต่อนี้ไป จะได้อธิบายเนื้อความ ซึ่งได้แสดงมาแล้วนี้

    ตามอรรถกถา กล่าว
    คือ คำว่า เหตุปัจจัยนั้น มีอยู่ ๒ คำด้วยกัน
    เหตุ คำหนึ่ง ปัจจัย คำหนึ่ง
    แต่ว่าในที่นี้ เป็นคำเดียวกัน คือ เหตุปัจจัย
    ซึ่งแปลมาจาก
    คำว่า เหตุปจฺจโย นั้น
    ได้แก่ ปัจจัย คือเหตุ เพราะฉะนั้น จึงได้ใจความว่า

    เหตุปัจจัยนั้น ได้แก่ ปัจจัยคือเหตุ
    ถึงในคำว่า อารัมมณปัจจัยเป็นต้น ก็เหมือนนัยนี้


    คำว่า เหตุนั้น
    หมายอวัยวะแห่งคำพูด ๑
    หมายการณ์ ๑
    หมายมูลราก ๑ ฯ

    คำว่า หมายอวัยวะแห่งคำพูดนั้น
    คือ หมายคำปฏิญญาณ เพราะโลกถือว่า
    คำปฏิญญาณ คือ คำยืนยันในสิ่งนั้น ๆ เป็นเหตุ ฯ

    คำว่า หมายการณ์นั้น ได้ในคำว่า
    ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด ฯ
    คำว่า หมายมูลรากนั้น ได้ในคำว่า กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ๓
    ดังนี้ เป็นต้น ฯ
    ในที่นี้ คำว่า เหตุ หมายมูลราก


    คำว่า ปัจจัยนั้น
    มีวิเคราะห์ในอรรถกถาว่า ปฏิจฺจ เอตสฺมา เอตีติ ปจฺจโย

    ซึ่งแปลว่า สิ่งใดมาจากสิ่งนั้น เพราะอาศัยสิ่งนั้น ชื่อว่า ปัจจัย ฯ


    อธิบายว่า สิ่งนั้นเป็นไปโดยไม่ประจักษ์
    คือ ธรรมใดตั้งอยู่หรือเกิดขึ้นโดยไม่ประจักษ์แก่ธรรมใด
    ธรรมนั้น เรียกว่า เป็นปัจจัยแห่งธรรมนั้น ฯ
    แต่เมื่อว่า โดยลักษณะแล้ว ก็ได้แก่การเป็นอุปการะ
    คือ การช่วยเหลือ ฯ ด้วยว่าธรรมใดเป็นอุปการะ
    คือ เป็นของช่วยเหลือแก่การตั้งอยู่
    หรือแก่การเกิดขึ้นแห่งธรรมใด
    ธรรมนั้น เรียกว่า เป็นปัจจัยแห่งธรรมนั้น ฯ

    เมื่อว่าโดยใจความแล้ว คำว่า

    ปัจจัยก็ดี
    เหตุก็ดี
    นิพพานก็ดี
    สัมภวะก็ดี
    ปภวะก็ดี

    ต่างกันโดยพยัญชนะเท่านั้นส่วนใจความนั้นเป็นอันเดียวกัน ฯ



    โดยเหตุนี้
    คำว่า เหตุ ก็คือ มูลราก
    คำว่า ปัจจัย ก็คือ อุปการะ ธรรมอันเป็นอุปการะ คือ เป็นมูลราก
    เรียกว่า เหตุปัจจัย ฯ
    อธิบายแห่งอาจารย์ทั้งหลายว่า
    เหตุปัจจัยนั้นให้สำเร็จความเป็นกุศลเป็นต้น
    แห่งกุศลเป็นต้น
    เหมือนกับพันธ์ข้าวสาลีเป็นต้น อันให้เกิดเป็นข้าวสาลีเป็นต้น

    หรือ เหมือนสีแก้วมณีเป็นต้น
    อันให้สำเร็จความเป็นแว่นแก้วมณีเป็นต้น ดังนี้ฯ
    แต่เมื่อเป็นอย่างนั้น

    ความเป็นเหตุปัจจัยในรูป
    อันมีจิตนั้นเป็นสมุฏฐานก็ไม่สำเร็จ ฯ
    ด้วยว่าธรรมนั้นไม่ให้สำเร็จความเป็นกุศลเป็นต้น
    แห่งรูปอันมีจิตเป็นสมฏฐานนั้น
    แต่จะไม่เป็นปัจจัยนั้นหามิได้

    ข้อนี้สมกับเนื้อความในพระบาลีว่า
    เหตุเป็นปัจจัย คือ เป็นเหตุแห่งธรรม
    อันประกอบกับธาตุ
    และแห่งรูปอันมีเหตุนั้นเป็นสมุฎฐาน ดังนี้

    แต่ด้วยคำนี้
    ได้สำเร็จความว่า เป็นอัพยากฤต โดยเว้นจากจิตอันไม่มีเหตุฯ

    ความเป็นกุศลเป็นต้น อันเนื่องด้วยโยนิโสมนสิการเป็นต้น
    แม้แห่งธรรมอันมีเหตุทั้งหลายก็ย่อมมี ฯ
    แต่เหตุอันประกอบกันไม่เกี่ยวกัน ฯ

    ถ้าว่าความเป็นกุศลเป็นต้น มีขึ้นโดยสภาพ
    ในเหตุอันประกอบกับความเป็นกุศลเป็นต้นนั้น
    ก็ต้องเนื่องกับเหตุ
    ในสิ่งที่ประกอบกับอโลภะ
    ก็ต้องเป็นกุศลบ้าง
    เป็นอกุศลบ้าง ฯ
    แต่ก็ย่อมมีโดยประการทั้ง ๒ เพราะฉะนั้น

    ความเป็นกุศลเป็นต้น ก็เกี่ยวเนื่องกับเหตุตามที่ประกอบกัน


    คำว่า อารัมมณปัจจัยนั้น ได้แก่ปัจจัย คือ อารมณ์ ฯ

    อารมณ์นั้นมีอยู่ ๖ ประการ
    คือ
    รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรม ฯ

    บุรุษที่ไม่มีกำลังย่อมลุกได้ยืนได้
    เพราะจับไม้หรือเหนี่ยวเชือกฉันใด
    ธรรมอันเป็นจิตและเจตสิกก็เกิดขึ้นได้ ตั้งอยู่ได้
    เพราะหน่วงเหนี่ยวอารมณ์ มีรูปเป็นต้น ฉันนั้น

    เพราะฉะนั้น
    ธรรมอันเป็นอารมณ์แห่งจิตและเจตสิกแม้ทั้งสิ้น
    จึงควรลงมติ เป็นอารัมมณปัจจัย

    คำว่า อธิปติปัจจัยนั้น แปลว่า ปัจจัยที่เป็นใหญ่
    ได้แก่ธรรมที่เป็นใหญ่ในการช่วยเหลือ ฯ

    อธิปติปัจจัยนั้น มีอยู่ ๒ อย่าง คือ
    สหชาต๑
    อารมณ์๑ ฯ

    ธรรม ๔ อย่าง คือ
    ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นสหชาตอธิปติปัจจัย

    เพราะในพระบาลีว่า ฉันทาธิปติ
    เป็นอธิปติปัจจัยแห่งธรรมอันประกอบกับฉันทะ
    และแห่งรูปอันมีฉันทะนั้นเป็นสมุฏฐาน ดังนี้

    แต่ว่าธรรมทั้ง๔ นี้
    ไม่ได้เป็นอธิปติปัจจัยด้วยกันพร้อมทั้ง ๔

    เป็นต่างเวลากัน

    คือ เวลาใด
    จิตทำฉันทะให้เป็นใหญ่ แล้วเป็นไป ในเวลานั้น
    ฉันทะก็เป็นอธิปติ คือ ฉันทะก็เป็นใหญ่

    อีก ๓ อย่างนั้นไม่ได้เป็นอธิปติ ฯ

    อรูปธรรมทำธรรมใดให้เป็นที่เคารพ แล้วเป็นไป ธรรมนั้น
    ก็เป็นอารัมมณาธิปติแห่งอรูปธรรมเหล่านั้น


    คำว่า อนันตรปัจจัยนั้น
    ได้แก่ธรรมอันเป็นอุปการะโดยไม่มีระหว่างคั่นฯ


    คำว่า สมนันตรปัจจัยนั้น
    คือ ธรรมอันเป็นอุปการะ โดยไม่มีระหว่างคั่นเสมอกัน ๆ
    อนันตรปัจจัยนั้น ได้แก่ธรรมอันสามารถทำให้จิต
    อันสมควรเกิดขึ้นติด ๆ กันไปโดยไม่มีระหว่างคั่น ฯ
    สิ่งใดเป็นอนันตรปัจจัย สิ่งนั้นก็เป็นสมนันตรปัจจัย ฯ
    คำทั้ง ๒ นี้ มีพยัญชนะต่างกัน แต่ใจความอันเดียวกัน

    ถ้าอย่างนั้น ต่างกันอย่างไร ?

    ต่างกันอย่างนี้ คือ อนันตรปัจจัยนั้น ไม่มีระหว่างคั่น ฯ
    สมนันตรปัจจัยนั้นไม่มีสัณฐาน


    คำว่า สหชาตปัจจัยนั้น
    ได้แก่สิ่งที่เกิดด้วยกัน
    เหมือนกับดวงไฟและแสงสว่างซึ่งเกิดด้วยกัน ฉะนั้น ฯ
    สิ่งที่เกิดด้วยกันนั้น มีอยู่ ๖ ประการ
    มี รูปขันธ์ เป็นต้น ดังที่แสดงมาแล้วตามพระบาลี


    คำว่า อัญญมัญญปัจจัยนั้น ได้แก่ธรรมอันเกื้อกูลกัน คือ
    ช่วยกันในการเกิดขึ้น เปรียบเหมือนกับไม้ ๓ อัน อันตั้งพิงกัน

    ฉะนั้น อัญญมัญญปัจจัยนั้น
    มีอยู่ ๓ ตามที่แสดงมาแล้วโดยพระบาลีนั้น


    คำว่า นิสสยปัจจัยนั้นได้แก่ธรรมที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
    โดยเป็นที่ตั้งแห่งกันและกัน
    เปรียบเหมือนแผ่นดินอันเป็นที่ตั้งแห่งต้นไม้
    และการยึดเป็นต้น
    ฉะนั้น ฯ อัญญมัญญปัจจัย มี ๖ อย่าง

    คือ อายตนะ ๖ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะอาศัยกันและกัน เช่น

    จักขวายตนะเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุวิญญาณธาตุเป็นต้น ดังนี้

    สิ้นเนื้อความที่ควรอธิบายในกัณฑ์นี้เพียงเท่านี้

    เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้ ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มิถุนายน 2022
  9. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,070
    ค่าพลัง:
    +372
    อ่านมาเยอะ ฟังมาเยอะ บางทีก็เหมือนกับ มีสติความเพียรพยายามมักพบแต่ความทุกข์ ถ้าไม่มีอะไรเลยก็ไม่มีความทุกข์ แต่ที่จริงมันก็ต่างอีก ในแง่ที่ว่า มีทุกข์หรือไม่มีทุกข์ กับรู้ว่านี่ทุกข์หรือไม่รู้ว่านี่คือทุกข์ มันคงเป็นยุคที่คิดว่า อะไรๆก็แทนกันได้มั้ง แต่ไม่รู้ว่าได่รึเปล่านะ (มันไม่เคยจริง)ถ้าสิ่งนั้นเป็นไปตามอำนาจกิเลสที่ไม่ยอมรับความจริงหรือ กรรม อาจจะนะแต่ไท่เสมอไปที่ หมดกรรมหรือรับกรรมก่อนจึงจะรู้ความจริงใน อริยะสัจธรรมสี่ประการที่กำหนดที่มาและที่ไปจนไปถึง สิ้นสุดทุกประการ
     
  10. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    หลักฐาน ของการปฏิบัติธรรม ที่ไม่มีผิดเพี้ยน
    คือ ลงกับปริยัติได้...

    อย่างใน พระสูตร มหาปัฏฐาน

    อกุศลก็เป็นเหตุของกุศล

    กุศลก็เป็นเหตุของอกุศล

    ทั้งกุศลและอกุศล ก็เป็นเหตุ ของอัพยากฤต

    ทั้ง กุศล อกุศล อัพยากฤต ล้วนเป็นปัจจัย ให้กันและกันได้หมด

    คนที่กลั๊ว กลัว กิเลส กลัวความอยากอะไรแบบนี้
    มันทำให้การฝึกขาดความสมบูรณ์ ขาดศรัทธาที่ สมบูรณ์
    การฝึกก็จะไม่สมบูรณ์แต่ต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มิถุนายน 2022
  11. Piccola Fata

    Piccola Fata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,590
    ค่าพลัง:
    +1,142
    เมื่อวานก่อนหลวงลุงไป ก็พูดถึงเรื่องนี้กันกับแนน
    ว่าราคะ ที่ทำให้กายเบาจิตเบา เป็นปิติ เป็นกุศลนั้นมี

    กะว่ารอพี่มาแล้วจะชวนท่านคุยเรื่องนี้ ท่านไปก่อน
     
  12. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    คนเคยประสบก็พูดได้เต็มปาก
    ทั้งยังมีหลักฐาน ในปริยัติ รับรอง

    หลวงลุงท่านว่าง ก็คงมาใหม่
     
  13. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    พี่เก่ง
    ไม่ไปในกลุ่มเฟสบุ๊คกะเขาเหรอ
    เขาไปถกกัน อยู่กลุ่มเฟสกันหมดแล้ว
     
  14. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    กัณฑ์ที่ ๓

    คัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (เล่มที่ ๑ หน้า๑๓-๑๘)

    ว่าด้วยญาณ ๗๓ ประการ ตาม บทมาติกา

    โสตาวธาเน ปญฺญา สุตมเย ณาณํ สุตฺวาน สํวเร ปญฺญา สีลมเย

    ณาณํ สํวริตฺวา สมาทหเน ปญฺญาสมาธิภาวนามเย ญาณนฺติ


    ณ บัดน อาตมภาพจักไต้แสดงคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค

    ว่าด้วยญาณ ๗๓ ประการ ตามบทมาติกา สืบต่อไป
    เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
    ตลอดกาลนาน หาประมาณมิได้


    บาลี

    ดำเนินความตามวาระพระบาลี อันมีในบทมาติกาว่า

    ปัญญาในการทรงจำด้วยหูเรียกว่า สุตมยญาณ
    ซึ่งแปลว่า ความรู้อันสำเร็จด้วยการฟัง ฯ


    ปัญญาในการสำรวมเพราะได้ฟัง ชื่อว่า
    สีลมยญาณ แปลว่า ความรู้สำเร็จด้วยศีล ฯ


    ปัญญาในการตั้งไว้ชอบเพราะสำรวม เรียกว่า
    สมาธิภาวนามยญาณ แปลว่า ความรู้สำเร็จด้วยการอบรมสมาธิฯ

    ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เรียกว่า ธัมมฐิติญาณ
    แปลว่า ความรู้จักการตั้งอยู่แห่งธรรม ฯ


    ปัญญาในการย่อธรรมอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน
    เข้ามากำหนดไว้ เรียกว่า สัมมสนญาณ แปลว่า
    ความรู้ในการพิจารณา ฯ


    ปัญญาในการเล็งเห็น ซึ่งความแปรปรวนแห่งธรรมทั้งหลาย
    อันเป็นปัจจุบัน เรียกว่า อุทยัพยานุปัสสนาญาณ แปลว่า
    ความรู้จัก ความเกิด ความเสื่อม


    ปัญญาในการเล็งเห็นความแตกหัก เพราะพิจารณาอารมณ์ เรียกว่า
    วิบัสสนาญาณ แปลว่า ความรู้อันเป็นเครื่องแจ่มแจ้ง ฯ



    ปัญญา ในการปรากฏแห่งความกลัว
    เรียกว่า อาทีนวญาณ แปลว่า ความรู้จักโทษ ฯ


    ปัญญาอันตั้งอยู่ด้วยการพิจารณา แห่งผู้ใคร่จะไปให้พ้น
    เรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ แปลว่า
    ความรู้ในความเพิกเฉยด้วยการพิจารณาฯ


    ปัญญาในการไม่หมุนเวียนแห่งการออกไปภายนอก เรียกว่า
    โคตรภูญาณ แปลว่า ความรู้ในโคตรภู ฯ


    ปัญญาในการไม่หมุนเวียนแห่งการออกจากส่วนทั้ง ๒ เรียกว่า
    มัคคญาณ แปลว่า ความรู้ในเรื่องมรรค ฯ


    ปัญญาอันเกิดจากความสงบแห่งการประกอบ เรียกว่า
    ผลญาณ แปลว่า ความรู้จักผล


    ปัญญาในการเล็งเห็นความตัดขาด เรียกว่า วิมุตติญาณ
    แปลว่า ความรู้ในเรื่องความหลุดพ้น ฯ


    ปัญญาในการเห็นธรรมซึ่งเกิดขึ้น ในคราวนั้น เรียกว่า ปัจจเวกขณญาณ
    แปลว่า ความรู้ในการพิจารณา ฯ


    ปัญญาในการกำหนดภายใน เรียกว่า วัตถุนานัตตญาณ
    แปลว่า ความรู้ในความต่างกันแห่งวัตถุ


    ปัญญาในการกำหนดเรียกว่า โคจรนานัตตญาณ แปลว่า
    ความรู้ในความต่างกันแห่งโคจร ฯ


    ปัญญาในการกำหนดจริยา เรียกว่า จริยานัตตญาณ แปลว่า
    ความรู้ในการต่างกันแห่งจริยา ฯ


    ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ เรียกว่าภูมินานัตตญาณ
    แปลว่า ความรู้ในความต่างกันแห่งภูมิ ฯ


    ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ เรียกว่า ธัมมนานัตตญาณ แปลว่า
    ความรู้ในความต่างกันแห่งธรรม ฯ


    ปัญญารู้ยิ่ง เรียกว่า ญาตัฎฐญาณ แปลว่า
    ความรู้ในความหมายแห่งสิ่งที่รู้แล้ว ฯ


    ปัญญารอบรู้ เรียกว่า ตีรณัฎฐญาณ แปลว่า ความรู้ในความไตร่ตรอง


    ปัญญาในการละ เรียกว่า ปริจจาคัฎฐญาณ แปลว่า ความรู้ในการสละ ฯ


    ปัญญาในการอบรม เรียกว่า เอกรสัฏฐญาณ แปลว่า
    ความรู้ในรสอันเดียว ฯ


    ปัญญาอันกระทำให้แจ้ง เรียกว่า ผัสสนัฎฐญาน แปลว่า
    ความรู้ในความหมายแห่ง คำว่า ถูกต้อง ฯ

    ปัญญาในความต่างกันแห่งอรรถ เรียกว่า
    อัตถปฏิสัมภิทาญาณ แปลว่า ความรู้อันแตกฉานในอรรถ ฯ


    ปัญญาในความต่างกันแห่งธรรม เรียกว่า
    ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ แปลว่า ความรู้อันแตกฉานในธรรม ฯ


    ปัญญาในความต่างกันแห่งนิรุตติ เรียกว่า
    นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ แปลว่า ความรู้แตกฉานในนิรุตติ


    ปัญญาในความต่างกันแห่งปฏิภาณ เรียกว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
    แปลว่า ความรู้อันแตกฉานในปฏิภาณ ฯ

    ปัญญาในความต่างกันแห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่เรียกว่า วิหารัฏฐญาณ
    แปลว่า ความรู้ในความหมายแห่ง คำว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ ฯ


    ปัญญาในความต่างกันแห่งสมาบัติ เรียกว่า สมาปัตตัฏฐญาณ
    แปลว่า ความรู้ในความหมายแห่ง คำว่า สมาบัติ ฯ


    ปัญญาในความต่างกันแห่งวิหารสมาบัติ เรียกว่า วิหารสมาปัตตัฏฐญาณ
    แปลว่า ความรู้ในความหมายแหง คำว่า วิหารสมาบัติ ฯ


    ปัญญาในการตัดขาดซึ่งอาสวะ เพราะความไม่กำเริบ เพราะความบริสุทธิ์
    เรียกว่า อนันตริกสมาธิญาณ แปลว่า
    ความรู้ในสมาธิอันไม่มีระหว่างคั่น


    ความมีการเห็นเป็นใหญ่ ความได้วิหารธรรมอันสงบ และปัญญา
    อันน้อมไปในธรรมอันประณีต เรียกว่า อรณวิหารญาณ แปลว่า
    ความรู้ในธรรมเป็นเครื่องอยู่ อันหาข้าศึกมิได้ ปัญญาอันชำนาญด้วยญาณจริยา ๑ และสมาธิจริยา๙ ซึ่งมีขึ้นเพราะประกอบด้วยกำลัง ๒ และ
    เพราะความระงับไปแห่งสังขาร ๓ เรียกว่า นิโรธสมาปัตติญาณ แปลว่า
    ความรู้สึกดี เรียกว่า ปรินิพพานญาณ แปลว่า ความรู้ในการดับโดยรอบ


    ปัญญาอันไม่ปรากฏในความตัดขาดโดยรอบ และในความดับไป
    แห่งธรรมทั้งปวง เรียกว่า สมสีสัฏฐญาณ แปลว่า
    ความรู้ในความหมายว่า เสมอกับศีรษะ ฯ


    ปัญญาในการกำหนดซึ่งเดชแห่งความต่างกันเป็นอันมาก เรียกว่า
    สัลเลขัฏฐญาณ แปลว่า ความรู้ในความหมายแห่งความขัดเกลา ฯ


    ปัญญาในการประครองไว้ด้วยความไม่ย่อหย่อน
    และด้วยความมุ่งหมายแน่วแน่ เรียกว่า วิริยารัมภญาณ
    แปลว่าความรู้ในการปรารภความเพียรฯ


    ปัญญาอันประกาศซึ่งธรรมต่าง ๆ เรียกว่า
    อัตถสันทัสสนญาณ แปลว่า ความรู้ในการชี้ซึ่งอรรถ ฯ


    ปัญญาในการแทงตลอดซึ่งความต่างกัน และซึ่งความเป็นอันเดียวกัน
    อันสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเข้าด้วยกัน เรียกว่า ทัสสนวิสุทธิญาณ แปลว่า
    ความรู้อันบริสุทธิ์ในการเห็น


    ปัญญาอันรู้แจ่มแจ้ง เรียกว่า ขันติญาณ แปลว่า ความรู้ในเรื่องสมควรฯ


    ปัญญาที่ถูกต้อง เรียกว่า ปริโยคาหนญาณ แปลว่า
    ความรู้ในเรื่องอันเป็นเครื่องกำหนด ฯ


    ปัญญาในการตั้งอยู่ดี เรียกว่า ปเทสวิหารญาณแปลว่า
    ความรู้ในธรรมเป็นเครื่องอยู่บางส่วน ฯ


    ปัญญาที่เป็นใจ เรียกว่า สัญญาวิวัฏฏญาณ แปลว่า
    ความรู้ในความไม่หมุนเวียนแห่งสัญญา ฯ


    ปัญญาในความต่างกัน เรียกว่า เจโตวิวัฏฏญาณ แปลว่า
    ความรู้ในความไม่หมุนเวียนแห่งใจ ฯ


    ปัญญาในการอธิษฐาน เรียกว่า จิตตวิวัฏฏญาณ
    แปลว่า ความรู้ในการไม่หมุนเวียนแห่งจิต ฯ


    ปัญญาในความว่างเปล่า เรียกว่า ญาณวิวัฏฏญาณ แเปลว่า
    ความรู้ในความไม่หมุนเวี่ยนแห่งญาณ


    ปัญญาในการสลัด เรียกว่า วิโมกขวิวัฏฏญาณ แปลว่า
    ความรู้ในการไม่หมุนเวียนแห่งวิโมกข์ ฯ


    ปัญญาในความหมายว่าแท้ เรียกว่า
    สัจจวิวัฏฏญาณ แปลว่า ความรู้ในการไม่หมุนเวี่ยนแห่งสัจจะ ฯ


    ปัญญาในความหมายว่าสำเร็จ ด้วยอำนาจแห่งการอธิษฐาน
    ซึ่งความสำคัญว่า เป็นสุข และความสำคัญว่าเร็วพลัน
    อันกำหนดซึ่งความเป็นอันเดียวกันแห่งกายและจิต เรียกว่า
    อิทธิวิธญาณ แปลว่าความรู้ในอิทธิวิธี ฯ


    ปัญญาในการกำหนดเครื่องหมายแห่งเสียงอันต่างกัน
    และเป็นอันเดียวกันด้วยอำนาจแห่งความแผ่ไปแห่งวิตก
    เรียกว่า โสตธาตุวิสุทธิญาณ แปลว่า ความรู้ในความบริสุทธิ์แห่งโสตธาตุ


    ปัญญาในการกำหนด ซึ่งความเที่ยวไปแห่งวิญญาณอันต่างกัน
    และเป็นอันเดียวกัน ด้วยอำนาจแห่งความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย
    เพราะความแผ่ไปแห่งจิตทั้ง ๓ เรียกว่า เจโตปริยญาณ แปลว่า
    ความรู้อันกำหนดใจ ฯ


    ปัญญาในการกำหนดด้วยอำนาจ แห่งความแผ่ไปแห่งกรรมอันต่างกัน
    และเป็นอันเดียวกันแห่งธรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปตามปัจจัย เรียกว่า
    บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แปลว่า ความรู้ในการระลึกได้ซึ่งที่เคยอยู่มาแล้ว


    ปัญญาในความหมายซึ่งเครื่องหมายแห่งรูปอันต่างกัน แห่งการเห็น
    และเป็นอันเดียวกัน ด้วยอำนาจแห่งแสงสว่าง เรียกว่า ทิพพจักขุญาณ
    แปลว่า ความรู้ในทางทิพพจักษุ ฯ


    ปัญญาอันชำนาญในอินทรีย์ ๑ ด้วยอาการ ๖๔ เรียกว่า
    อาสวักขยญาณ แปลว่า ความรู้ในความสิ้นไป แห่ง อาสวะ ฯ


    ปัญญาในความหมายแห่งการละ
    เรียกว่า สมุทยญาณ แปลว่า ความรู้ในสมุทัย ฯ



    ปัญญาในความหมายแห่งการกระทำให้แจ้ง เรียกว่า
    นิโรธญาน แปลว่าความรู้ในริโรธ


    ปัญญาในความหมายแห่งการอบรม เรียกว่า มัคคญาณ แปลว่า
    ความรู้ในมรรค ฯ


    ความรู้ในทุกข์
    ความรู้ในการเกิดขึ้นแหงทุกข์
    ความรู้ในตวามดับทุกข์
    ความรู้ในทางไปถึงความดับทุกข์
    ความรู้ใน อัตถปฏิสัมภิทา
    ความรู้ในธัมมปฏิสัมภิทา
    ความรู้ในนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ความรู้ในปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ความรู้ในความต่างกันแห่งอินทรีย์
    ความรู้ในอาสยานุสัยแห่งสัตว์ทั้งหลาย
    ความรู้ในยมกปาฏิหาริย์
    ความรู้ในมหากรุณาสมาบัติ
    ความรู้ในสิ่งทั้งปวง
    ความรู้อันไม่มีสิ่งใดขัดข้อง เหล่านี้ เรียกว่า ญาณ ทั้งนั้น

    ญาณเหล่านี้ มีอยู่ในญาณ ๗๓ ในญาน ๗๓ นี้
    แยกออกไปเป็น ๒

    คือ ญาณ ๖๗ ทั่วไปแก่สาวกทั้งหลาย
    ญานอีก ๖ ไม่ทั่วไปแก่สาวกทั้งหลาย ฯ


    จบเนื้อความในมาติกา คือ แม่บทเพียงเท่านี้


    เมื่อท่านทั้งหลายได้ฟังเนื้อความ ซึ่งแสดงมาแล้วตามแม่บทนี้
    จะเห็นได้ว่า คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เป็นคัมภีร์มีเนื้อความลึกซึ้ง
    ยากที่จะเข้าใจได้ แต่ขอให้เข้าใจว่า

    คัมภีร์ที่ว่าด้วยญาณ ๗๓ ประการ
    คือ ว่าด้วยความรู้ ๗๓ ประการ
    อันพระสารีบุตรเถรเจ้า ได้แสดงไว้

    เพื่อให้เกิดความยินดีในการเห็นอุบายนั้น ๆ ๑
    เพื่อให้หายไปแห่งสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่กุศลจิตดังนั้น ๑

    ด้วยความประสงค์จะประกาศ พระสัทธรรมอันรุ่งเรือง
    ด้วยการกำจัดกิเลส ในหทัยของเวไนยชน
    และด้วยความประสงค์จะไห้พระสัทธรรมรุ่งเรื่อง
    อยู่ตลอดเวลา ๕,๐๐๐ พรรษา

    ดังที่แสดงมาแล้วในกัณฑ์ก่อนโน้น

    สิ้นเนื้อความในเทศนากัณฑ์นี้เพียงเท่านี้.

    เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้ ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มิถุนายน 2022
  15. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    กัณฑ์ที่ ๒๙
    คัมภีร์พระวิภังค์

    ว่าด้วยทุกขอริยสัจ ในสัจจวิภังค์

    จตฺตาริ อริยสจฺจามิ ทุกข์ อริยสจฺจํ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ทุกฺขนิโรโธ
    อริยสจฺจํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจนฺติ


    ณ บัดนี้ อาตมภาพ จักได้แสดงคัมภีร์พระวิภังค์ กัณฑ์ที่ ๒๙ ว่าด้วย

    ทุกขอริยสัจ ในสัจจวิภังค์ สืบต่อไป
    เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา
    และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดกาลนาน

    ดำเนินความตามวาระพระบาลี
    ที่ได้ยกขึ้นไว้เป็นเบื้องต้นแห่งเทศนานั้นว่า

    อริยสัจมีอยู่ ๔ ประการ คือ

    ทุกขอริยสัจ
    ทุกขสมุทัยอริยสัจ
    ทุกขนิโรธอริยสัจ
    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

    ในอริยสัจ ๔ นั้น
    ทุกขอริยสัจ ได้แก่สิ่งใด ได้แก่

    ชาติทุกข์ ๑
    ชราทุกข์ ๑
    อุปายาสทุกข์ ๑
    มรณทุกข์ ๑
    โสกทุกข์ ๑
    ปริเทวทุกข์ ๑
    ทุกขทุกข์ ๑
    โทมนัสทุกข์ ๑
    อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ ๑
    ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ ๑
    ยัมปิจฉังนลภติทุกข์ ๑
    อุปาทานขันธทุกข์ ๑

    ชาตินั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ความเกิดขึ้น ความปรากฎขึ้น ของขันธ์ทั้งหลาย
    ความได้อายตนะทั้งหลาย ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์นั้นๆ

    ชรานั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ความแปรไป การแปรไป ความมีฟันหลุด
    ผมหงอก ผิวหนังหดหู่ อายุเสื่อมไป
    อินทรีย์แก่ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์นั้น ๆ

    มรณะนั้น ได้แก่สิ่งใด ได้แก่ความเคลื่อน การเคลื่อน
    ความแตกหายไป ความตาย การตาย การถึงเวลา ความแตกแห่งขันธ์
    ความขาดแห่งชีวิตอินทริย์ในหมู่สัตว์นั้นๆ

    โสกะนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ความเศร้าใจ การเศร้าใจ กิริยาเศร้าใจ
    ความแห้งในภายใน ความแห้งรอบในภายใน ความตรอมใจ
    ความโทมนัส ลูกศร คือ ความเศร้าใจของผู้ที่ญาติเสื่อมสูญ
    หรือทรัพย์เสื่อมสูญ หรือเบ็นโรคภัยไข้เจ็บ
    หรือเสียศีล เสียความเห็น
    หรือได้รับความเสื่อมเสีย อย่างใดอย่างหนึ่งในสัตว์นั้น ๆ ของหมู่สัตว์นั้นๆ


    ปริเทวะนั้น ได้แก่สิ่งใด ได้แก่ความบ่นเพ้อรำพันของผู้ที่มีญาติเสื่อมสูญ
    หรือทรัพย์เสื่อมสูญ หรือเกิดโรคภัยไข้เจ็บ หรือเสียศีล เสียความเห็น หรือได้รับทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง


    ทุกข์นั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ความไม่สบายกาย ความไม่สบายอันเกิดจาก
    สัมผัสทางกาย


    โทมนัสนั้น ได้แก่สิ่งใด ได้แก่ความไม่สบายใจ
    ได้แก่ ความไม่สบายอันเกิดจากสัมผัสทางใจ

    อุปายาสนั้น ได้แก่สิ่งใด ได้แก่ความอึดอัดใจ ความคับใจของผู้ที่ได้รับ
    ความเสื่อมเสียต่าง ๆ เช่น ญาติเสื่อมสูญ หรือทรัพย์เสื่อมสูญ
    หรือเกิดโรคภัยไข้เจ็บ หรือเสียศีล เสียทิฏฐิ หรือได้รับทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่ง


    อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์นั้น ได้แก่สิ่งใด
    ใด้แก่ความประจวบกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ
    ซึ่งไม่เป็นที่รักใคร่พอใจ

    ปิเยหิวิปปโยคทุกข์นั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ความไม่ประจวบกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
    ซึ่ง ไม่เป็นที่รักใคร่พอใจ
    คือ ความไม่ประจวบกับมารดา บิดา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง
    มิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิต ซึ่งเป็นผู้มุ่งประโยชน์
    มุงเกื้อกูล มุ่งความสำราญ มุ่งความปลอดภัยให้แก่ตน


    ยัมปิจฉังนลภติทุกข์นั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ทุกข์ที่ไม่สมประสงค์ของสัตว์โลกทั้งหลาย
    คือ สัตว์โลกทั้งหลายย่อมมีความประสงค์ว่า
    ขออย่าให้เราเกิด แก่ เจ็บตายเลย
    ขออย่าให้เราโศกเศร้าเสียใจพิไรรำพัน ทุกข์กาย ทุกข์ใจ
    คับอก คับใจเลย
    แต่ก็ไม่ได้สมประสงค์


    สังขิตตทุกข์นั้น ได้แก่สิ่งใด ได้แก่ทุกข์ในอุปาทานขันธ์ ๔
    ซึ่งอัดว่าเป็นทุกข์โดยย่อ อุปทานชันธ์ ๕ นั้น
    คือ
    รูป๑
    เวทนา๑
    สัญญา๑
    สังขาร๑
    วิญญาณ๑ ดังนี้ สิ้นเนื้อความในบาลี อันว่าด้วยทุกขอริยสัจเพียงเท่านี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กรกฎาคม 2022
  16. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    ต่อนี้ไป เป็นเนื้อความสมุทัยอริยสัจว่า
    ทุกขสมุทัยอริยสัจนั้น

    ได้แก่สิ่งใด ได้แก่ ตัณหา อันทำให้เกิดอีก
    อันประกอบด้วยความรักใคร่ยินดี อันทำให้ยินดี
    ในสิ่งนั้น ตัณหานั้น คือ กามตัณหา๑ ภวตัณหา๑ วิภวตัณหา๑

    ก็ตัณหานั้นเมื่อจะเกิด ๆ ในที่ไหน เมื่อจะดับ ๆ ในที่ไหน ฯ

    เมื่อจะเกิดก็เกิดในปิยรูป สาตรูป
    เมื่อจะดับก็ดับในปิยรูป สาตรูป คือ สิ่งที่เป็นที่รักใคร่พอใจ ฯ

    ก็สิ่งใดเล่าเป็นสิ่งที่รักใคร่พอใจฯ สิ่งที่รักใคร่พอใจนั้น ได้แก่

    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หมวด ๑

    ได้แก่รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรม หมวด๑

    ได้แก่
    จักขุวิญญาณ๑
    โสตวิญญาณ๑
    ฆานวิญญาณ๑
    ชีวหาวิญญาณ๑
    กายวิญญาณ๑
    มโนวิญญาณ๑ นี้หมวด๑

    ได้แก่จักขุสัมผัส๑
    โสตสัมผัส๑
    ฆานสัมผัส๑
    ชิวหาสัมผัส๑
    กายสัมผัส๑
    มโนสัมผัส๑ นี้หมวด๑

    ได้แก่เวทนาอันเกิดจากจักขุสัมผัส๑
    เกิดจากโสตสัมผัส๑
    เกิดจากฆานสัมผัส๑
    เกิดจากชิวหาสัมผัส๑
    เกิดจากกายสัมผัส๑
    เกิดจากมโนสัมผัส๑ นี้หมวด๑

    ได้แก่สัญญา คือ
    ความจำชี่งรูป๑
    ความจำซึ่งเสียง๑
    ความจำซึ่งกลิ่น๑
    ความจำซึ่งรส ๑
    ความจำซึ่งโผฎฐัพพะ๑
    ความจำซึ่งธรรม๑ นี้หมวด๑

    ได้แก่ความจงใจในรูป๑ ในเสียง๑ ในกลิ่น๑ ในรส๑ ในโผฏฐัพพะ๑
    ในธรรม๑ นี้หมวด๑

    ได้แก่ความดิ้นรนในรูป๑ ในเสียง๑ในกลิ่น๑ ในรส๑ ในโผฎฐัพพะ๑ ในธรรม๑
    นี้หมวด๑

    ได้แก่ความนึกในรูป๑ ในเสียง๑ ในกลิ่น๑ ในรส๑ ในโผฎฐัพพะ๑
    ในธรรม๑ นี้หมวด๑

    ได้แก่ความตรองในรูป๑ ในเสียง๑ ในกลิ่น๑ ในรส๑ ในโผฎฐัพพะ๑
    ในธรรม๑ นี้หมวด๑ ดังนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กรกฎาคม 2022
  17. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    ทุกขนิโรธอริยสัจนั้น ได้แก่สิ่งใด

    ได้แก่ความดับ ซึ่งตัณหานั้น ด้วยวิราคธรรมโดยไม่เหลือ
    ได้แก่ความสละซึ่งตัณหานั้น ด้วยวิราคธรรมโดยไม่เหลือ
    ได้แก่ความเลิกซึ่งตัณหานั้น ด้วยวิราคธรรมโดยไม่เหลือ
    ได้แก่ความปล่อยซึ่งตัณหานั้น ด้วยวิราคธรรมโดยไม่เหลือ
    ได้แก่ความไม่อาลัยซึ่งตัณหานั้น ด้วยวิราคธรรมโดยไม่เหลือ


    ก็ตัณหานั้น เมื่อจะละ ละไปในที่ไหน เมื่อจะดับ ดับไปที่ไหน ฯ
    แก้ว่า
    เมื่อจะละ ก็ละไปในปิยรูป สาตรูป
    เมื่อจะดับ ก็ดับไปในปิยรูป สาตรูป คือ สิ่งที่รักใคร่พอใจ ฯ
    ก็สิ่งใดเล่าเป็นสิ่งที่รักใคร่พอใจ ฯ

    สิ่งที่รักใคร่พอใจนั้น
    ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หมวด ๑
    ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรม หมวด๑
    ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ
    กายวิญญาณ มโนวิญญาณ หมวด๑
    ได้แก่ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส
    มโนสัมผัส หมวด ๑

    ได้แก่ เวทนา
    อัน เกิดจากจักขุสัมผัส เกิดจากโสตสัมผัส เกิดจากฆานสัมผัส
    เกิดจากชิวหาสัมผัส เกิดจากกายสัมผัส เกิดจากมโนสัมผัส หมวด๑
    ได้แก่ สัญญา คือ ความจำ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรม หมวด๑
    ได้แก่สัญญา เจตนา คือ ความจงใจในรูป เสียง กลิ่น
    โผฏฐัพพะ ธรรม หมวด ๑

    ได้แก่ ตัณหา คือ ความดิ้นรนในรูป เสียง กลิ่น รส
    โผฏฐัพพะ ธรรม หมวด๑

    ได้แก่ วิตก คือ ความนึกใน รูป เสียง กลิ่น รส
    โผฏฐัพพะ ธรรม หมวด๑

    ได้แก่ วิจาร คือ ความตรองซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรม หมวด ๑ ดังนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กรกฎาคม 2022
  18. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ

    สัมมาทิฏฐิ
    สัมมาสังกัปโป
    สัมมาวาจา
    สัมมากัมมันโต
    สัมมาอาชีโว
    สัมมาวายาโม
    สัมมาสติ
    สัมมาสมาธิ

    สัมมาทิฏฐินั้น ได้แก่สิ่งใด ได้แก่
    ความรู้จักทุกข์
    ความรู้จักเหตุให้เกิดทุกข์
    ความรู้จักความดับทุกข์
    ความรู้จักทางให้ถึงความดับทุกข์

    สัมมาสังกัปโปนั้น ได้แก่สิ่งใด ได้แก่
    ความดำริในการออกจากกามคุณ๑
    ความดำริไม่พยาบาท๑
    ความดำริไม่เบียดเบียน ๑

    สัมมาวาจานั้น ได้แก่สิ่งใด ได้แก่
    การงดเว้นจากมุสาวาท๑
    งดเว้นจากการส่อเสียด๑
    งดเว้นจากการพูดหยาบคาย๑
    งดเว้นจากการพูดเหลวไหล๑


    สัมมากัมมันโตนั้น ได้แก่สิ่งใด ได้แก่
    การงดเว้นจากปาณาติบาต
    อทินนาทาน
    กาเมสุมิจฉาจาร

    สัมมาอาชีโวนั้น ได้แก่สิ่งใด ได้แก่
    การเลี้ยงชีวิตด้วยทางที่ชอบตามเยี่ยงอย่างอริยสาวก

    สัมมาวายาโมนั้น ได้แก่สิ่งใด ได้แก่
    การพยายาม
    เพื่อไม่ให้สิ่งที่เป็นบาปอกุศลเกิดขึ้น
    เพื่อละสิ่งที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
    เพื่อให้สิ่งที่เป็นกุศลเกิดขึ้น
    เพื่อให้สิ่งที่เป็นกุศลซึ่งเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ หรือเจริญยิ่งขึ้น


    สัมมาสตินั้น ได้แก่สิ่งใด ได้แก่
    การระลึกใน กาย เวทนา จิต ธรรม โดยความเพียร ความรู้สึกตัว


    สัมมาสมาธินั้น ได้แก่สิ่งใด ได้แก่
    การตั้งใจมั่นในฌาน ๔ คือ
    ปฐมฌานที่ปราศจากกาม
    ปราศจากสิ่งที่เป็นอกุศล
    ซึ่ง มีวิตก มีวิจาร มีบีติ สุข อันเกิดจากวิเวก ๑

    ทุติยฌานซึ่งระงับวิตก วิจาร ทำใจให้ผ่องใส
    ทำใจให้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่บีติสุขอันเกิดจากสมาธิ๑

    ตติยฌานอันไม่มีปีติ มีแต่อุเบกขา สติ สัมปชัยญะ
    เสวยสุขด้วยกาย ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า
    ผู้มีอุเบกขา ผู้มีสติ ผู้อยู่ด้วยสุข


    จตุตถฌานอันละสุข ละทุกข์ อันตั้งอยู่ไม่ได้แห่งโสมนัส โทมนัส
    ในก่อน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข อันบริสุทธิ์ด้วยอุเบกขาและสติ ดังนี้


    จบอริยสัจ ๔

    ในสุตตันตภาชนีย์ที่จำแนกแจกตามพระสูตรโดยวาระพระบาลี
    เพียงเท่านี้
    ส่วนเนื้อความที่เป็นคำอธิบายในเรื่องอริยสัจ ๔ นั้น
    จักมีแจ้งในกัณฑ์ข้างหน้า
    ส่วนในกัณฑ์นี้ของดไว้เพียงเท่านี้

    เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้ฯ
     
  19. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    กัณฑ์ที่ ๓๗
    คัมภีร์พระวิภังค์
    ว่าด้วยอริยสัจ ๔ ตามอภิธรรมภาชนีย์

    จตฺตาริ สจฺจานิ ทุกขํ ทุกฺขสมุทโย ทุกฺขนิโรโธ ทุกฺขนิโรธคามินี
    ปฏิปทาติ

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงคัมภีร์พระวิภังค์
    กัณฑ์ที่ ๓๗ ว่าด้วย
    อริยสัจ ๔ ตามอภิธรรมภาชนิย์ สืบต่อไป เพื่อให้เป็นประโยชน์
    แก่พระพุทธศาสนาและพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดกาลนาน
    ดำเนินความตามวาระพระบาลี ที่ได้ยกขึ้นไว้เป็นเบื้องต้นแห่งเทศนานั้นว่า


    สัจจะนั้นมีอยู่ ๔ คือ

    ทุกข์๑
    ทุกขสมุทัย๑
    ทุกขนิโรธ๑
    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา๑

    แล้วท่านแจกไปเป็นนัยที่๑ ที่ ๒ ที่๓ ที่ ๔ เป็นต้น

    นัยที่ ๑ ว่า
    ทุกขสมุทัยนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ตัณหา

    ทุกข์นั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่กิเลสนอกจากตัณหา ๑
    อกุศลธรรมนอกจากตัณหา๑
    กุศลมูล ๓ ที่มีอาสวะ ๑
    กุศลธรรมที่มีอาสวะ นอกจากกุศลมล ๓ นั้น วิบากแห่งธรรม
    ที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งมีอาสวะ ๑
    ธรรมที่เบีนกิริยาไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล๑
    วิบากแห่งกรรม๑
    รูปทั้งปวง๑

    ทุกขนิโรธนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่การละตัณหา

    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ มรรคที่ประกอบด้วย องค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น
    มีสัมมาสมาธิเป็นที่สุด ซึ่งเกิดในปฐมฌาน ที่เป็นโลกุตระ
    ที่เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา

    สัมมาทิฏฐินั้น ได้แก่สิ่งใด ได้แก่ปัญญา
    ได้แก่การรู้จักความสอดส่อง
    ความสอดส่องทั่ว ความสอดส่องธรรม การกำหนดดี
    การเข้าไปกำหนด การเข้าไปกำหนดเฉพาะ การเป็นบัณฑิต
    การฉลาด การละเอียด การหลักแหลมความคิด ความพิจารณา
    ความมีปัญญาดังแผ่นดิน หัวคิด วิบัสสนา สัมปชัญญะ
    ปัญญาดังปะฏัก ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาสาตรา
    ปัญญาปราสาท ปัญญาแสงสว่าง ปัญญารัศมี ความรุ่งโรน์คือปัญญา
    ดวงแก้วคือปัญญา ความไม่โง่เขลา ความสอดส่องธรรม ความเห็นชอบ
    ธัมวิจยสัมโพชฌงค์ องค์มรรคนับเข้าในมรรค คำเหล่านี้เรียกว่า
    สัมมาทิฏฐิทั้งนั้น

    สัมมาสังกัปปะนั้น ได้แก่สิ่งใด ได้แก่ความนึก ความตรีก ความดำริ
    ความแนบ ความแน่น ความกำหนดในใจ ความดำริชอบ
    องค์มรรคนับเข้าในมรรค

    สัมมาวาจานั้น ได้แก่สิ่งใด ได้แก่การงด การเว้น การเว้นเฉพาะ
    เจตนาเครื่องงดเว้น ความไม่กระทำ การไม่กระทำ การไม่ล่วง
    การไม่ล่วงเขตแดน สะชักพาน ในเรื่องวจีทุจริต ๔ องค์
    มรรคนับเข้าในองค์มรรค

    สัมมากัมมันตะนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่การงุดเว้นกายทุจริต ๓ คือ
    การไม่ทำทุจริต๓
    การไม่ล่วงละเมิดในทุจริต๓
    การชักสะพานในทุจริต ๓
    การทำชอบ การทำอันเป็นองค์มรรคอันนับเข้าในมรรค

    สัมมาอาชีวะนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่การงดมิจฉาอาชีวะ
    การเว้นมิจฉาอาชีวะ
    การเว้นจากมิจฉาอาชีวะ
    เจตนาอันละเว้นมิจฉาอาชีวะ
    ความไม่ทำมิจฉาอิชีวะ
    การไม่ทำมิจฉาอาชีวะ
    การไม่ล่วงมิจฉาอาชีวะ
    การไม่ล่วงเขตแดนมิจฉาอาชีวะ
    การชักสะพานในมิจฉาอาชีวะ
    การหาเลี้ยงชีพชอบ
    องค์มรรคนับเข้าในมรรค

    สัมมาวายามะนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ความเพียรทางใจ ความก้าวออกไป ความก้าวหน้า ความย่างขึ้นไป
    ความพยายาม ความอุตสาหะ ความมีอุตสาหะ ความเรี่ยวแรง
    ความมั่นคง ความก้าวหน้าไม่ย่อหย่อน ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ
    ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประครองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ
    ความพยายามชอบ วิริยสัมโพชฌงค์ องค์มรรค นับเข้าในองค์มรรค

    สัมมาสตินั้นได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ การระลึกตาม การระลึกเฉพาะ การระลึกได้ ความระลึกได้ ความจำได้ ความปรากฎ ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์
    องค์มรรค นับเข้าในองค์มรรค

    สัมมาสมาธินั้น ได้แก่สิ่งใด ได้แก่ ความตั้งอยู่ ความตั้งอยู่ดี ความตั้งลง
    ความไม่ส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน ความไม่มีใจส่าย ความสงบแห่งจิต และ
    สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ องค์มรรคนับเข้าในมรรค
    ธรรมที่ว่านี้และ เป็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    ส่วนธรรมนอกจากนี้เป็นธรรมที่ประกอบกับ ทึกขนิโรธคามินีปฏิปทา ทั้งนั้น


    นัยที่ ๒ ว่า
    ทุกขสมุทัยนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ตัณหา ๑
    กิเลสนอกจากตัณหา ๑

    ทุกข์นั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่อกุศลธรรม นอกจากตัณหา ๑
    ได้แก่กุศลมูล ๓ ทมอาสวะ ๑
    ได้แก่กุศลธรรมที่มีอาสวะ นอกจากกุศลมูลนั้น ๑
    ได้แก่วิบากแห่งธรรม ทเป็นกุศล และอกุศล ซึ่งมีอาสวะ ๑
    ได้แก่ธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
    ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม ๑
    ได้แก่รูปทั้งปวง ๑

    ทุกขนิโรธนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ การละตัณหา ๑
    ได้แก่การละกิเลสนอกจากตัณหา ๑
    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่องค์มรรค ๘ ที่เกิดขึ้นในโลกุตตรฌาน ที่เป็นปฐมณาน
    เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา

    นัยที่ ๓ ว่า
    ทุกขสมุทัยนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ตัณหา ๑
    ได้แก่กิเลสนอกจากตัณหา ๑
    ได้แก่อกุศลธรรมนอกจากนั้น ๑

    ทุกข์นั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่กุศลมูล ๓ ที่มีอาสวะ ๑
    ได้แก่กุศลธรรมที่มีอาสวะนอกจากนั้น ๑
    ได้แก่วิบากแห่งธรรม ที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งมี อาสวะ ๑
    ได้แก่ธรรมที่เป็นกิริยา คือ ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล
    ไม่ใช่วิบากแห่งธรรม ๑
    ได้แก่รูปทั้งปวง ๑

    ทุกขนิโรธนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่การละตัณหา๑
    การละกิเลสนอกจากนั้น๑
    การละธรรมที่เป็นอกุศลธรรมนอกจากนั้น๑
    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ องค์ มรรค ๘ ที่เกิดขึ้นในปฐมฌาน ที่เป็นโลกุตระ
    ที่เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา

    นัยที่ ๔ ว่า
    ทุกขสมุทัยนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ตัณหา ๑
    ได้แก่กิเลสนอกนั้น๑
    ได้แก่กุศลธรรมนอกนั้น๑
    ได้แก่ กุศลมูล ๓ ที่มีอาสวะ๑

    ทุกข์นั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่กุศลธรรมที่มีอาสวะนอกนั้น๑
    ได้แก่วิบากแห่งธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งมีอาสวะ๑
    ได้แก่ธรรมที่เป็นกิริยา คือไม่เป็นกุศล และไม่เป็นอกุศลไม่เป็นวิบากแห่งธรรม๑
    ได้แก่รูปทั้งปวง๑

    ทุกขนิโรธนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่การละตัณหา๑
    การละกิเลสนอกนั้น๑
    การละอกุศลธรรมนอกนั้น๑
    การละกุศลมูล ๓ ที่มีอาสวะ๑
    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ องค์ มรรค ๘ ในปฐมฌาน ที่เป็นโลกุตระ
    ที่เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา
    ส่วนธรรมนอกนั้นเป็นธรรมที่ประกอบกับทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

    นัยที่ ๕ว่า
    ทุกขสมุทัยนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ตัณหา ๑
    ได้แก่กิเลสนอกนั้น๑
    ได้แก่อกุศลธรรมนอกนั้น๑
    ได้แก่ กุศลมูล ๓ ซึ่งมีอาสวะ๑
    ได้แก่ กุศลธรรมซึ่งมีอาสวะนอกนั้น๑

    ทุกข์นั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่วิบากแห่งธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งมีอาสวะ๑
    ได้แก่ธรรมที่เป็นกิริยา คือไม่เป็นกุศล และไม่เป็นอกุศล
    ไม่เป็นวิบากแห่งธรรม๑
    ได้แก่รูปทั้งปวง๑

    ทุกขนิโรธนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่การละตัณหา๑
    การละกิเลสนอกนั้น๑
    การละกุศลธรรมนอกนั้น๑
    การละอกุศลมูล ๓ ที่มีอาสวะ๑
    การละอกุศลธรรมซึ่งมีอาสวะนอกนั้น๑

    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ องค์ มรรค ๘ ในปฐมฌาน ที่เป็นโลกุตระ
    ที่เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา
    ส่วนมรรคนอกนั้นเป็นธรรมที่ประกอบกับทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


    นัยที่ ๖ว่า
    ทุกขสมุทัยนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ตัณหา

    ทุกข์นั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่กิเลสนอกนั้น ๑
    อกุศลธรรมนอกนั้น ๑
    กุศลมูล ๓ ซึ่งมีอาสวะ ๑
    กุศลธรรมซึ่งมีอาสวะนอกนั้น ๑
    วิบากแห่งธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งมีอาสวะ ๑
    ธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม ๑
    รูปทั้งปวง ๑

    ทุกขนิโรธนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่การละตัณหา
    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ องค์ มรรค ๕ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
    สัมมาสมาธิ ซึ่งเกิดในปฐมฌาน อันเป็นโลกุตระ
    ที่เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา
    ส่วนธรรมนอกนั้นเป็นธรรมประกอบกับทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

    นัยที่ ๗ว่า
    ทุกขสมุทัยนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ตัณหา ๑
    ได้แก่กิเลสนอกนั้น๑
    ได้แก่อกุศลธรรมนอกนั้น๑
    ได้แก่ กุศลมูล ๓ ซึ่งมีอาสวะ๑
    ได้แก่ กุศลธรรมซึ่งมีอาสวะนอกนั้น๑

    ทุกข์นั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่วิบากแห่งธรรม ซึ่งเป็นกุศลและอกุศลซึ่งมีอาสวะ๑
    ได้แก่ธรรมที่เป็นกิริยา คือไม่เป็นกุศล และไม่เป็นอกุศล
    ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม๑
    ได้แก่รูปทั้งปวง๑

    ทุกขนิโรธนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่การละตัณหา๑
    การละกิเลสนอกนั้น๑
    การละอกุศลธรรมนอกนั้น๑
    การละกุศลมูล ๓ ที่มีอาสวะ๑
    การละกุศลธรรมซึ่งมีอาสวะนอกนั้น๑

    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ องค์มรรค ๕ เหมือนที่แล้วมา ในปฐมฌาน ที่เป็นโลกุตระ
    ที่เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ส่วนธรรมนอกนั้น
    เป็นธรรมประกอบกับทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

    นัยที่ ๘ว่า
    ทุกขสมุทัยนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ตัณหา ๑
    ทุกข์นั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่กิเลสนอกนั้น๑
    ได้แก่อกุศลธรรมนอกนั้น๑
    ได้แก่ กุศลมูล ๓ ซึ่งมีอาสวะ๑
    ได้แก่ กุศลธรรมซึ่งมีอาสวะนอกนั้น๑
    ได้แก่วิบากแห่งธรรม ซึ่งเป็นกุศลและอกุศลซึ่งมีอาสวะ๑
    ได้แก่ธรรมที่เป็นกิริยา คือไม่เป็นกุศล และไม่เป็นอกุศล
    ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม๑
    ได้แก่รูปทั้งปวง๑

    ทุกขนิโรธนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่การละตัณหา
    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ ธรรม มีผัสสะเป็นต้น มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นที่สุด
    ซึ่งมีในปฐมฌาน ที่เป็นโลกุตระ
    ที่เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา
    ส่วนธรรมนอกนั้น เป็นธรรมประกอบกับทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

    นัยที่ ๙ว่า
    ทุกขสมุทัยนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ตัณหา ๑
    ได้แก่กิเลสนอกนั้น๑
    ได้แก่อกุศลธรรมนอกนั้น๑
    ได้แก่ กุศลมูล ๓ ซึ่งมีอาสวะ๑
    ได้แก่ กุศลธรรมซึ่งมีอาสวะนอกนั้น๑

    ทุกข์นั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่วิบากแห่งธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งมีอาสวะ๑
    ได้แก่ธรรมที่เป็นกิริยา คือไม่เป็นกุศล และไม่เป็นอกุศล
    ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม๑
    ได้แก่รูปทั้งปวง๑

    ทุกขนิโรธนั้น ได้แก่สิ่งใ ด ด
    ได้แก่การละตัณหา๑
    การละกิเลสนอกนั้น๑
    การละกุศลธรรมนอกนั้น ๑
    การละอกุศลมูล ๓ ซึ่งมีอาสวะ๑
    การละอกุศลธรรมซึ่งมีอาสวะนอกนั้น๑

    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ ธรรมมีผัสสะเป็นต้น มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นที่สุด
    ซึ่งเกิดขึ้นในปฐมฌาน ที่เป็นโลกุตระ
    ที่เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา

    จบเนื้อความในอภิธรรมภาชนีย์เพียงเท่านี้ ฯ
    เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้ ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กรกฎาคม 2022
  20. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    กัณฑ์ที่ ๔๕

    คัมภีร์พระวิภังค์
    ว่าด้วยปัจจยาการฝ่ายกุศลนิเทศ

    กตเม ธมฺมา กุสลา ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ กุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ
    โหติ โสมนสฺสหคตํ ฌาณสมฺปยุตฺตํ รูปารมฺมณํ วา ฯลฯ
    ธมฺมารมฺมณํ ยํ ยํ วา ปนารพฺภ ตสฺมี สมเย กุสลปจฺจยาติ

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงคัมภีร์พระวิภังค์
    กัณฑ์ที่ ๔๕ ว่าด้วยปัจจยาการฝ่ายกุศลนิเทศ คือ
    ฝ่ายที่เกิดขึ้นด้วยกุศล สืบต่อไป เพื่อให้เป็นประโยชน์ แก่
    พระพุทธศาสนา และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ตลอดกาลนาน

    บาลี
    ดำเนินความ ตามวาระพระบาลี ที่ได้ยกขึ้นไว้เป็นเบื้องต้น
    แห่งเทศนานั้นว่า
    ธรรมเหล่าไหนเป็นกุศล มีคำแก้ว่า ในคราวใด

    กามาวจรกุศลจิต ประกอบด้วยโสมนัสและญาณ
    มี รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์
    อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ในคราวนั้น
    กุศลมูลก็เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
    สังขารก็เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
    วิญญาณก็เป็นปัจจัยให้เกิดนาม
    นามก็เป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะที่ ๖
    อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ
    ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
    เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดปสาทะ
    ปสาทะเป็นปัจจัยให้เกิดอธิโมกข์
    อธิโมกข์เป็นปัจจัยให้เกิดภพ
    ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ
    ชาติเป็นปัจจัยให้เกิดชรามรณะ
    เป็นอันว่า กองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้



    กุศลมูลนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่อโลภะ อโทสะ อโมหะ

    อโลภะนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ความไม่โลภ ความไม่ยินดี ความไม่มุ่งอยากได้ ฯ

    อโทสะนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ความไม่ขุ่นเคือง ความไม่ปองร้าย ฯ

    อโมหะนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ความรอบรู้ในทางที่ชอบ ฯ

    สังขารที่เกิดขึ้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัยนั้น
    ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ ความจงใจคิดนึก ส่วนข้ออื่นๆเหมือนกับที่มีมาแล้วใน
    กัณฑ์ก่อนโน้น ฯ

    คำว่า ปสาทะนั้น ได้แก่ความเชื่อถือ ฯ
    คำว่า อธิโมกข์นั้นได้แก่ความร้อนใจไปในสิ่งนั้น ดังนี้

    มีคำถามต่อไปว่า ธรรมเหล่าไหนเป็นกุศล มีคำแก้ว่า
    ในคราวใด กามาวจรกุศลจิต ประกอบด้วยโสมนัสและญาณ
    เป็นสสังขาริก และอสังขาริกเกิดขึ้นก็ดี
    ประกอบด้วยโสมนัสปราศจากญาณ
    เป็นสสังขาริก และอสังขาริก เกิดขึ้น ในคราวนั้น

    กุศลมูลก็เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
    แล้วสังขารก็เป็นปัจจัย ให้เกิดวิญญาณ
    วิญญาณก็เป็นปัจจัยให้เกิดนาม
    นามก็เป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะที่ ๖
    อายุตนะที่ ๖ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ
    ผัลสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
    เวทนาก็เป็นปัจจัยให้เกิดปสาทะ
    ปสาทะก็เป็นปัจจัยให้เกิดอธิโมกข์
    อธิโมกข์ก็เป็นปัจจัยให้เกิดภพ
    ภพก็เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ
    ชาติเป็นปัจจัยให้เกิดชรามรณะ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมเกิดอย่างนี้ ดังนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กรกฎาคม 2022

แชร์หน้านี้

Loading...