มีวัตถุมงคลสายพระป่ากรรมฐานให้บูชาราคาเบาๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Somchai 2510, 8 กันยายน 2019.

  1. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 815 กริ่งหล่อรูปเหมือนลอยองค์หลวงพ่อเกษม เขมโก+ระฆังสวรรค์เฮง เฮง เฮงหลวงพ่อเกษม สร้างปี 2538 พระอรหันต์เจ้าเเห่งสุสานไตรลักษณ์ อ.เมือง จ.ลำปาง รูปหล่อสร้างปี 2526 เนื้อทองเเดงรมดำ บูชาที่ 495 บาทฟรีส่งems
    พระเกษม เขมโก
    (เจ้าเกษม ณ ลำปาง เขมโก)

    หลวงพ่อเกษม
    %B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A1.jpg
    พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการหลวงพ่อเกษม เขมโก ณ สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2536
    เกิด 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455
    จังหวัดลำปาง
    มรณภาพ 15 มกราคม พ.ศ. 2539
    จังหวัดลำปาง
    อายุ 83
    อุปสมบท พ.ศ. 2475
    พรรษา 64
    วัด สุสานไตรลักษณ์
    จังหวัด ลำปาง
    25px-Dharma_wheel.svg.png ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
    หลวงพ่อเกษม เขมโก
    (นามเดิม เจ้าเกษม ณ ลำปาง) เป็นพระเถระและเกจิอาจารย์ ผู้เคร่งครัดในธุดงควัตร ปลีกวิเวก พุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำปางและชาวไทยเคารพนับถือยิ่งนักว่าท่านเป็นพระมหาเถราจารย์ปูชนียบุคคลรูปหนึ่งของประเทศไทย และมีผู้ให้ความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน อีกทั้งท่านยังเป็นเจ้านายในราชวงศ์ทิพย์จักร ที่ออกผนวชอีกด้วย

    ประวัติ[แก้]
    หลวงพ่อเกษม เขมโก เดิมมีนามว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131 เป็นบุตรใน เจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง (ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ) รับราชการเป็นปลัดอำเภอ กับ เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง และเป็นราชปนัดดาในเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย

    สมัยตอนเด็กๆมีคนเล่าว่าท่านซนมากมีอยู่ครั้งหนึ่งท่านปีนต้นบ่ามั่น(ต้นฝรั่ง)เกิดผลัดตกจนมีแผลเป็นที่ศีรษะ เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งเป็นการบรรพชาหน้าศพ (บวชหน้าไฟ) ของเจ้าอาวาสวัดป่าดั๊ว 7 วันได้ลาสิกขาและท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งเมื่ออายุ 15 ปีและจำวัดอยู่ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง ท่านได้ศึกษาด้านพระปรัยัติธรรมจนสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ในปี พ.ศ. 2474 และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปีถัดมา โดยมีพระธรรมจินดานายก (ฝ่าย) เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า "เขมโก" แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม โดยพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ได้ศึกษาภาษาบาลีที่สำนักวัดศรีล้อม ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาแผนกนักธรรมที่สำนักวัดเชียงราย

    พ.ศ. 2479 ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก ท่านเรียนรู้ภาษาบาลีจนสามารถเขียนและแปลได้ รวมทั้งสามารถแปลเป็นภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี แต่ท่านไม่ยอมสอบเอาวุฒิ จนครูบาอาจารย์ทุกรูปต่างเข้าใจว่าพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ไม่ต้องการมีสมณะศักดิ์สูง ๆ เรียนเพื่อจะนำเอาวิชาความรู้มาใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาเท่านั้น

    เมื่อสำเร็จทางด้านปริยัติธรรมแล้ว ท่านแสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนา จนกระทั่ง ท่านทราบข่าวว่ามีพระเกจิรูปหนึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนา คือ ครูบาแก่น สุมโน ท่านจึงฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านได้ตามครูบาแก่น สุมโน ออกท่องธุดงค์ไปแสวงหาความวิเวกและบำเพ็ญเพียรตามป่าลึก จนถึงช่วงเข้าพรรษาซึ่งพระภิกษุจำเป็นต้องยุติการท่องธุดงค์ชั่วคราวท่านจึงต้องแยกทางกับพระอาจารย์ และกลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืนตามเดิม พอครบกำหนดออก ก็ติดตามอาจารย์ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนา

    ต่อมา เจ้าอธิการคำเหมย เจ้าอาวาสวัดบุญยืน มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์ได้ประชุมกันเพื่อหาเจ้าอาวาสรูปใหม่และต่างลงความเห็นพ้องต้องกันเห็นควรว่า พระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อท่านได้รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ท่านก็ไม่ยินดียินร้าย แต่ท่านก็ห่วงทางวัดเพราะท่านเคยจำวัดนี้ ท่านเห็นว่าถือเป็นภารกิจทางศาสนาเพราะท่านเองต้องการให้พระศาสนานี้ดำรงอยู่ จึงยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน หลังจากนั้นท่านก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสหลายครั้งเนื่องจากท่านอยากจะออกธุดงค์ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ดังนั้น ท่านจึงออกจากวัดบุญยืนไปที่ศาลาวังทานพร้อมเขียนข้อความลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสไว้ด้วย

    หลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นพระสายวิปัสสนาธุระ ไม่ยึดติดแม้แต่สถานที่ ท่านได้ปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ตลอดชนชีพ ท่านปฏิบัติศีลบริสุทธิ์ตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ติดยึดในกิเลสทั้งปวง ท่านเป็นพระที่เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำปางและพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ หรือแม้กระทั่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ก็ทรงมีความเคารพศรัทธาในความที่ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการท่านหลายครัง และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2536 หลวงพ่อเกษม เขมโก มรณภาพ ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 เวลา 19:40 น. ซึ่งตรงกับวันจันทร์ แรม 11 ค่ำ เดือน 2 ปีกุน ยังความอาลัยเศร้าโศกเสียใจมายังหมู่สานุศิษย์ทั่วประเทศ ส่วนสรีระของท่านนั้นก็ยังความอัศจรรย์ด้วยเนื่องจากไม่เน่าเปื่อยเหมือนอย่างสังขารทั่วไป ทั้งยังเขียนป้ายบอกผู้ที่มาเคารพสรีระ ท่านด้วยว่าให้พนมมือไหว้ที่หน้าอกเพียงครั้งเดียวแล้วไม่ต้องกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์อย่างศพของพระเถระทั่วไปนับว่าท่าน นั้นถือสมถะเป็นอย่างมาก SAM_9288.JPG SAM_9289.JPG SAM_9292.JPG SAM_9293.JPG SAM_9299.JPG SAM_9291.JPG

     
  2. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 816 เหรียญเจริญพรบนหน้าหลวงปู่ฝั้น อาจาโร อฐิษฐานจิตโดยหลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน พระอรหันตืเจ้าวัดป่าโสติถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร หลวงปู่บุญหนาท่านเป็นหลานชายเเท้ของหลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ฝั้นพาบวชตั้งเเต่เป็นเณรเเล้วพาใาฝากเป็นลูกศิษย์หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม เหรียญมีตอกโค๊ตตัวเลข 1764 หลังเหรียญ เนื้อทองเเดงผิวไฟ ********มีเกศาหลวปู่บุญหนามาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ >>>>บูชาที่ 175 บาทฟรีส่งems


    Angel_both.gif

    lp-boon-na-01.jpg
    ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินโน

    วัดป่าโสตถิผล ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    ๏ อัตโนประวัติ

    “หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินโน” เป็นพระสายวิปัสสนากัมมัฏฐานที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยชื่อดังรูปหนึ่งแห่งเมืองสกลนคร ที่มีชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอันมาก โดยเฉพาะความเป็นพระสงฆ์ที่มากด้วยเมตตาธรรม ท่านเป็นหลานแท้ๆ ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    เมื่ออายุ ๑๒ ปี ได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดแจ้ง บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่านเอง ได้ญัตติฝ่ายมหานิกาย

    ๏ อุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์

    ท่านได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์นานถึง ๑๒ ปี ตั้งแต่ครั้งสมัยเป็นสามเณร อาทิเช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ซึ่งเป็นหลวงอาได้นำท่านมาอยู่ด้วย และโดยเฉพาะกับ “พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ” ศิษย์สายธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในช่วงที่เป็นสามเณรอยู่กับพระอาจารย์อ่อน เคยไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นประจำ โดยมีพระอาจารย์อ่อนนำพาไป

    สาเหตุที่ได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้พระอาจารย์อ่อน ด้วยพระอาจารย์อ่อนเดินธุดงค์มาพำนักหาความสงบวิเวกอยู่ที่บริเวณป่าช้าบ้านหนองโดก (ปัจจุบันคือ วัดป่าโสตถิผล หรือวัดป่าบ้านหนองโดก) ตอนนั้น ได้บรรพชาเป็นสามเณร แต่เป็นฝ่ายมหานิกาย ได้ ๔ พรรษา พักอยู่วัดแจ้ง บ้านหนองโดก เป็นวัดบ้านของท่านเอง และไม่ไกลจากป่าช้าที่พระอาจารย์อ่อนไปพักอยู่นั้นมากนัก ประกอบด้วยตัวท่านเองมีความเลื่อมใสการปฏิบัติอยู่แล้ว จึงเป็นโอกาสให้ท่านสนใจไปฟังการอบรมภาวนาและอุปัฏฐากใกล้ชิดกับพระอาจารย์อ่อนตั้งแต่นั้น ภายหลังจึงได้เปลี่ยนเป็นสามเณรฝ่ายธรรมยุติกนิกาย และติดตามพระอาจารย์อ่อนเรื่อยมา

    ๏ กราบนมัสการพระอาจารย์มั่น

    ท่านเล่าต่อไปว่า ตอนที่ไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ครั้งแรกไปกับพระอาจารย์อ่อน พร้อมกับสามเณรอีกรูปหนึ่ง (จำชื่อไม่ได้) และญาติโยม ๔-๕ คน ออกจากวัดป่าบ้านหนองโดกหลังฉันจังหันเสร็จประมาณ ๓ โมงเช้า โดยเดินมุ่งหน้าสู่เทือกเขาภูพานที่อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านหนองโดก ผ่านไปทางบ้านโคกกะโหล่งหรือบ้านคำแหวปัจจุบัน แล้วปีนเขาขึ้นสู่ถ้ำน้ำหยาด อันเป็นที่พักแห่งหนึ่งของคนเดิน

    คณะของท่านก็เดินตามทางนั้นไปเรื่อยๆ ใช้เวลานานพอสมควร จึงไปถึงที่พักของคนเดินทางอีกแห่ง ตรงนั้นเป็นลำห้วยเล็กๆ อยู่ฟากเขาใกล้บ้านหนองผือ น้ำใสเย็นไหลตลอดแนว ชื่อว่าห้วยหมากกล้วย ถึงช่วงนี้พระอาจารย์อ่อนผู้เป็นหัวหน้า จึงพูดขึ้นอย่างเย็นๆ ว่า “เอาล่ะ ถึงที่นี่แล้ว ให้พักผ่อนเอาแฮงสาก่อน...”

    และพระอาจารย์ก็รับผ้าอาบจากสามเณร เอามาพับครึ่งแล้วปูลงบนพลาญ (ลาน) หิน เสร็จแล้วท่านก็นั่งลงขัดสมาธิหลับตา ซึ่งเป็นการพักเหนื่อยตามวิธีของท่าน สำหรับสามเณรพร้อมญาติโยมที่ไปด้วยต่างแยกย้ายหาที่พักเหนื่อย โดยการหามุมสงบทำสมาธิของแต่ละคนไปตามอัธยาศัย จนตะวันบ่ายคล้อยอากาศเริ่มเย็นสบาย จึงพากันออกจากสมาธิแล้วเตรียมเดินทางต่อไป จนกระทั่งถึงวัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) เวลาประมาณบ่าย ๓ โมง พอเข้าไปภายในบริเวณวัด รู้สึกว่าภายในวัดร่มรื่นสงบเงียบ เหมือนกับไม่มีพระเณร แต่ลานวัดสะอาด เห็นแล้วพลอยทำให้จิตใจสงบเย็นไปด้วย ดูสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ภายในวัด จัดเก็บเป็นระเบียบเรียบร้อยดีมาก เดินไปอีกหน่อยหนึ่ง เห็นพระเณรกำลังทำกิจวัตรกวาดลานวัดด้วยไม้ตาด

    ส่วนพระอาจารย์อ่อน พร้อมคณะ เข้าไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่นบนกุฏิ เสร็จแล้วก็กลับที่พัก ปัดกวาดลานวัด ตักน้ำใช้น้ำฉันจากบ่อน้ำ ซึ่งบ่อน้ำนั้นอยู่ท้ายวัด ตักขึ้นเทใส่ปี๊บ ใช้ผ้าขาวกรองที่ปากปี๊บ เมื่อเต็มแล้ว พระเณรผู้ที่จะหาม ๒ รูปใช้ไม้คานหามสอดที่ห่วงปี๊บ ถ้าต้องการหลายปี๊บก็สอดเรียงซ้อนกันมากน้อยตามกำลังสามารถ อย่างมากประมาณ ๔ ถึง ๖ ปี๊บ ในแต่ละเที่ยว เอาไปเทตามโอ่งที่ล้างบาตรที่ล้างเท้าหน้าศาลาหอฉัน และตามกุฏิพระเณร ห้องถาน (ห้องส้วม) จนกระทั่งเต็มหมดทุกที่

    เสร็จจากนั้นก็เตรียมรอสรงน้ำพระอาจารย์มั่นบริเวณหน้ากุฏิท่าน ซึ่งมีพระเตรียมน้ำสรงไว้โดยใช้น้ำร้อนผสมพอให้อุ่นๆ เมื่อพระอาจารย์มั่นเข้ามานั่งบนตั่งแล้ว คราวนี้พระเณรทั้งหลายห้อมล้อม เพื่อเข้าไปถูหลังขัดไคลถวายอย่างเปี่ยมล้นด้วยศรัทธา ส่วน สามเณรบุญหนา (หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินโน) มีโอกาสเข้าไปร่วมสรงน้ำท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนี้ด้วย

    เนื่องจากสามเณรบุญหนามีรูปร่างเล็ก พอได้แทรกเข้าไปกับพระ ซึ่งส่วนมากมีร่างกายใหญ่โตทั้งนั้น เช่น พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ, พระอาจารย์คำพอง ติสฺโส, พระอาจารย์อ่อนสา สุขกาโร, พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน และอีกหลายๆ ท่าน

    เมื่อพระอาจารย์มั่นเห็นท่านซึ่งเป็นสามเณรมาใหม่ พระอาจารย์มั่นจึงพูดสำเนียงอีสานขึ้นว่า “เณรมาแต่ไส...” เสียงท่านน่าฟังสดับจับใจมาก บ่งบอกถึงความเมตตา แต่สามเณรบุญหนาไม่ทันตอบ มีพระอาจารย์ทองคำตอบแทนว่า “เณรมากับครูบาอ่อน ข้าน้อย” จากนั้นท่านไม่ได้ว่าอะไรต่อไป จนเสร็จจากการสรงน้ำท่านในวันนั้น ซึ่งเหตุการณ์ในวันนั้นเป็นสิ่งที่ท่านประทับใจมาจวบจนกระทั่งทุกวันนี้

    สำหรับที่เป็นคติธรรมตามที่ได้เข้าสัมผัสวัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ครั้งสมัยพระอาจารย์มั่นพำนักจำพรรษาอยู่ที่นั่น ได้สังเกตเห็นว่า แม้พระเณรจะมีเป็นจำนวนมาก การทำกิจวัตร เช่น ตักน้ำใช้ น้ำดื่ม กวาดลานวัด ขัดห้องน้ำห้องส้วม ตลอดทั้งล้างกระโถน กาน้ำ กรองน้ำใส่โอ่งไห และทำการงานอื่นๆ จะไม่ปรากฏเสียงพระเณรพูดคุยกันเลย ถึงจะพูดคุยกันก็เพียงกระซิบกระซาบ เห็นแต่อาการปากขมุบขมิบเท่านั้น คนอื่นไม่ได้ยินด้วย นี่เป็นคติธรรมอันหนึ่ง ให้มีสติระมัดระวังตัวไม่ประมาท

    จึงเกิดอุบายธรรมขึ้นมาว่า เรื่องสติเป็นสิ่งสำคัญมาก สติระลึกรู้ในกาย สติระลึกรู้ในวาจาคำพูด สติระลึกรู้ในใจ เมื่อสติรูซักซ้อมอยู่ภายในกาย วาจา และใจแล้ว ทำ พูด คิด ถูกและผิด ก็ระลึกรู้อยู่ ปรับปรุงอยู่อย่างนี้เสมอ

    พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ได้เล่าเรื่องของ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เทศน์แสดงธรรมสั้นๆ ว่า “กายสุจริตํ วจีสุจริตํ มโนสุจริตํ กายบริสุทธิ์ วาจาบริสุทธิ์ ใจบริสุทธิ์ เอวัง...” แล้วท่านก็เดินลงจากธรรมาสน์ไป

    หลังจากพักอยู่วัดป่าบ้านหนองผือได้ระยะหนึ่งแล้ว จึงได้ออกเดินธุดงค์ต่อไปกับพระอาจารย์อ่อน เพื่อหาความสงบวิเวกอยู่ใกล้ละแวกนั้น จนกระทั่งทราบข่าวว่าพระอาจารย์มั่นออกจากวัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) แล้วไปพำนักอยู่ที่วัดป่ากลางโนนภู่ ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร สุดท้ายท่านได้มรณภาพลงที่วัดป่าสุทธาวาส ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร

    สามเณรบุญหนาได้ติดตามไปกับพระอาจารย์อ่อนโดยตลอด และไปพักอยู่ช่วยงานเตรียมเมรุชั่วคราว เพื่อถวายเพลิงศพพระอาจารย์มั่นที่วัดป่าสุทธาวาส จนแล้วเสร็จเรียบร้อยหมดทุกอย่าง จึงออกเที่ยวเดินธุดงค์ต่อไป

    นอกจากนี้แล้ว ท่านยังได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์อื่นๆ อีก อาทิเช่น พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม พระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม พระอาจารย์ลี ธัมมธโร พระอาจารย์แหวน สุจิณโณ พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร และพระอาจารย์จาม มหาปุญโญ เป็นต้น

    ต่อมา หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินโน ได้มาพำนักจำพรรษาอยู่ ณ วัดวัดป่าโสตถิผล บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน นับได้ว่าท่านเป็นพระอริยสงฆ์ที่ควรค่าแก่การกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจอีกรูปหนึ่งที่ยังเหลืออยู่

    เมื่อวันที่ ๖ เม.ย. ๒๕๕๙ เวลา ๑๔.๕๒ น. หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน เจ้าอาวาสวัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ได้มรณภาพอย่างสงบ สิริอายุ ๘๔ ปี ๙ เดือน ๑ วัน ๖๔ พรรษา หลังจากก่อนหน้านี้หลวงปู่บุญหนาได้อาพาธด้วยโรคมะเร็งปอด และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ เป็นระยะๆ ทั้งนี้เมื่อวันที่ ๕ เม.ย. ๒๕๕๙ หลวงปู่บุญหนาได้เดินทางมาโรงพยาบาลศรีนครินทร์อีกครั้งเนื่องจากอาการทรุดลง จนเมื่อเวลา ๐๓.๐๐ ของวันที่ ๖ เม.ย. หลวงปู่มีอาการหายใจไม่ออก จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจประคอง ทางศิษยานุศิษย์จึงนิมนต์หลวงปู่กลับวัดตามที่หลวงปู่ได้สั่งไว้ กระทั่งเวลา ๑๔.๕๒ น. หลวงปู่บุญหนาจึงละสังขารอย่างสงบ ในกุฏิ วัดป่าโสตถิผล SAM_9300.JPG SAM_9301.JPG SAM_7609.JPG SAM_8721.JPG
     
  3. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 817 เหรียญปัญญา อิทธิฤทธิ์หลวงตาสมหมาย อัตตมโน พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี หลวงตาสมหมายเป็นศิษย์เอกของหลวงปู่บุญจันทร์ กมโล วัดป่าสันติกาวาส เหรียญเนื้อทองเเดงผิวไฟ มีตอกโค๊ตยันต์หน้าเหรียญ มีพระเกศาหลวงตามาบูชาด้วยครับ *********บูชาที่ 175 บาทฟรีส่งems
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงตาสมหมาย อัตตมโน

    วัดป่าสันติกาวาส
    อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี

    8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AA-0-767x1024.jpg
    หลวงตาสมหมาย อตฺตมโน วัดป่าสันติกาวาส
    หลวงตาสมหมาย อตฺตมโน หรือ พระครูเมตตากิตติคุณ เป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองอุดรธานีให้ความศรัทธา กราบไหว้ยกย่องนับถือในข้อวัตรปฏิบัติและปฏิปทา รวมทั้ง การเทศนาสอนธรรมพระกัมมัฏฐานแก่คณะศรัทธาญาติโยม ท่านบริหารจัดการวัดตามแนวทางของ พระครูศาสนูปกรณ์ (หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสันติกาวาส ด้วยการสร้างศรัทธาปสาทะให้คณะศรัทธาโดยรอบวัดเลื่อมใสก่อน ส่วนการปฏิบัติภาวนาได้ยึดตามแนวทางของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ดังนั้น พระธรรมเทศนาหรือบทธรรมขององค์หลวงปู่ ส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องหลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ภัยในชีวิตประจำวันของผู้คน

    หลวงตาสมหมาย อตฺตมโน มีนามเดิมว่า “สมหมาย จันทรรักษ์” เกิดเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ตรงกับวันศุกร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๘ ปีขาล จุลศักราช ๑๓๑๒ ณ บ้านไชยวาน ต.ไชยวาน อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายขันตี และนางสุดี จันทรรักษ์

    ◎ ชีวิตปฐมวัย
    ในวัยเด็กมีอุปนิสัยใฝ่ทางธรรม ครั้งหนึ่งได้มีโอกาสพบกับพระครูศาสนูปกรณ์ (หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล) พระภิกษุชื่อดังสายธรรมพระกัมมัฏฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้ออกเดินธุดงค์มาสร้างวัดป่าสันติกาวาส ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓ รวมทั้ง เพื่ออบรมสั่งสอนคณะศรัทธาญาติโยมในพื้นที่ให้สนใจการปฏิบัติภาวนา โดยท่านได้ติดตามโยมบิดาไปฟังเทศน์จากหลวงปู่บุญจันทร์ แล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง

    ◎ การบรรพชาและอุปสมบท
    พออายุ ๑๒ ขวบ โยมบิดาได้ล้มป่วย และต่อมาได้เสียชีวิตลง ทำให้ท่านเกิดความปลงตกในชีวิต เบื่อหน่ายทางโลก จิตใจขอมุ่งแสวงหาทางธรรมเพื่อความหลุดพ้น จึงได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๗ ณ วัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชเมธาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์
    ครั้นเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๓ ณ พัทธสีมาวัดอัมพวัน (วัดม่วง) ต.หนองหาร อ.หนองหาร จ.อุดรธานี โดยมี หลวงปู่ทัน ปภสฺสโร เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงปู่พวง สุวีโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ หลวงปู่บุญมาก อุตฺตโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “อตฺตมโน” อันมีความหมายเป็นมงคลว่า “มีใจของตน คือมีจิตยินดีแล้ว”

    ◎ อุปัฏฐากหลวงปู่บุญจันทร์ กมโล
    ภายหลังอุปสมบทแล้ว ท่านได้ทำหน้าที่อุปัฏฐากรับใช้ หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล ณ วัดป่าสันติกาวาส จ.อุดรธานี มาโดยตลอด ต่อมาได้เดินทางออกไปปฏิบัติธุดงค์หลายแห่งด้วยเท้าเปล่า และมีโอกาสได้ไปกราบ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ณ วัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี ครั้นเมื่อเดินทางกลับมาอยู่ที่วัดป่าสันติกาวาส ท่านมีหน้าที่อุปัฏฐากรับใช้ หลวงปู่บุญจันทร์ มาโดยตลอดเช่นเดิม

    กระทั่งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕ หลวงปู่บุญจันทร์ อาพาธเป็นวัณโรคกระดูก รักษาตัวอยู่ที่ตึก ๗๒ ปี โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ ด้วยการทำหน้าที่การอุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่บุญจันทร์ ขณะอยู่โรงพยาบาลหลังการผ่าตัด ทำให้ หลวงพ่อสมหมาย ได้พิจารณาธรรมหลายอย่าง ได้เห็นทุกข์ ความเปลี่ยนแปลงของสังขาร ได้อุบายธรรมจากการเจ็บป่วย อุบายธรรมดังกล่าวได้น้อมเข้ามาให้เห็นทุกข์ของสังขาร เกิด แก่ เจ็บ ตาย รู้สึกเข้าใจสังขาร รูป กาย จิต อย่าไปสำคัญมั่นหมายหลงตัวเอง หลงว่าเป็นของเรา จึงเกิดทุกข์วุ่นวายเดือดร้อน

    พระอาจาย์สมหมาย ท่านมีความรู้สึกผูกพันกับหลวงปู่มาก ช่วงหนึ่งหลังจากบวชพระได้ ๘-๙ ปี มีพระอาจารย์รูปหนึ่งมาคุยกับหลวงปู่ ท่านบอกว่าต่อไปจะมอบให้ท่านสมหมายดูแลรับผิดชอบวัดป่าสันติกาวาส

    อยู่ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ มีเหตุบังเอิญต้องออกไปสร้างวัดป่าโนนม่วง (วัดโคกใหญ่) รวมทั้งได้อบรมสั่งสอนคณะศรัทธาญาติโยมในพื้นที่ให้เลิกไหว้ผี และหันมานับถือพระพุทธศาสนา

    %B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AA.jpg
    หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล วัดป่าสันติกาวาส
    ◎ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าสันติกาวาส
    จนกระทั่ง หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล ได้มรณภาพลง เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๘ หลวงพ่อสมหมาย ท่านจึงกลับมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าสันติกาวาสสืบแทน กระทั่งถึงปัจจุบัน ส่วนวัดป่าโนนม่วง (วัดโคกใหญ่) นั้น ท่านได้มอบหมายให้พระอาจารย์อัศวินไปดูแลแทน

    หลวงตาสมหมาย เคยปรารภว่า.. “แต่ก่อนมักจะสงสัยว่าหลวงปู่ถึงที่สุดหรือยัง (ความบริสุทธิ์ของจิต) จึงคิดจะทดสอบจิต หลังสรงน้ำ หลวงปู่บุญจันทร์เสร็จ คิดในใจว่าท่านบริสุทธิ์แน่จริงไหม ทันใดนั้นท่านได้พูดออกมาเลยว่าจะมาสงสัยอะไรในครูบาอาจารย์ วันต่อมายังคิดอีก ในเวลาเดียวกัน หลวงปู่ท่านก็พูดเหมือนเดิม แต่จิตก็ยังคิดอีก วันที่ ๓ ท่านก็พูดอีก แต่คราวนี้ท่านพูดเหน็บว่า น่าจะสงสัยตัวเจ้ามากกว่า พอไปภาวนาก็เห็นหลวงปู่ใสสว่างมาก จึงหมดความสงสัยในตัวท่าน”

    %B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AA.jpg
    หลวงตาสมหมาย อตฺตมโน วัดป่าสันติกาวาส
    ◎ ธงธรรมเมืองอุดรธานี
    หลวงตาสมหมาย ถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับจาก หลวงปู่บุญจันทร์ ว่า “หลวงปู่สอนให้ล้างบาตร ล้างเท้า แต่อาตมาล้างไม่เป็น คือ ใช้น้ำขันเดียวทำอย่างไรจึงล้างเท้าได้ทั่ว หลวงปู่ไม่บอกให้ใช้ปัญญาคิดเอง ได้แต่พูดว่าคนล้างเท้าไม่เป็น เวลาญาติโยมมาวัดต้องจัดหาน้ำมาต้อนรับ ปูเสื่อให้ ขณะหลวงปู่นั่งรับแขก เราจะต้องนั่งอยู่ในที่ที่อันควร ถ้ายังไม่ย้ายที่ ท่านจะมองด้วยสายตา แล้วจะโดนเทศน์ว่า คนไม่ฉลาด จนกว่าเราจะคิดได้เอง”

    เวลาหลวงปู่นั่งสมาธิ ของใช้ต่างๆ ต้องจัดวางอยู่ในตำแหน่งที่เคยวาง เช่น กาน้ำ กระโถน กรองน้ำใส่กาให้ได้ระดับที่กำหนด ถ้าไม่ใช่ตามนั้นหลวงปู่สามารถรู้ได้ เวลาท่านยกกาขึ้นเทน้ำ ความหนักเบาไม่เท่ากัน และจะโดนเทศน์ คนไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ไม่รู้ประมาณ ท่านฝึกให้ทำงานอย่างมีสติ

    “กุฏิหลวงปู่บุญจันทร์อยู่กลางน้ำ สะพานที่เดินไปถึงกุฏิทำด้วยไม้ไผ่ยาว เดินอย่างไรจึงจะไม่มีเสียง การวางฝ่าเท้า ส้นเท้า เมื่อไปถึงประตูกุฏิ ถ้าหลวงปู่ยังไม่ลุกจากที่ภาวนา ห้ามทำเสียงดัง ต้องนั่งภาวนาคอยอยู่หน้ากุฏิก่อน ไม่ส่งจิตให้ฟุ้งซ่าน”

    การเดินจงกรมไม่ได้นับว่าเดินได้กี่รอบ ต้องเดินจนจิตสงบ กำหนดลมหายใจเข้า-ออก จิตแน่วแน่กับลมหายใจ ให้เพ่งไปตรงหน้าอก ถ้าสงบจิตจะใสสว่าง มองเห็นร่างของตนเองเป็นโครงกระดูก ถ้าตกใจจิตจะถอนทันที แล้วนิมิตจะหายไป
    หลวงตาสมหมาย ปรารภอีกว่า ทุกอย่างต้องทำอย่างมีสติตลอดเวลา ฉันภัตตาหารห้ามทำเสียงดัง ก่อนฉันภัตตาหารทุกวัน เวลาภาวนาท่านจะสอนว่าอย่าปล่อยให้ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ ต้องตั้งสัจจะอธิษฐานเข้าไปหนุนความเพียรให้มีขันติ แล้วพิจารณาดูจะเห็นความหยาบ ความละเอียดของจิต

    ทุกวันนี้ หลวงตาสมหมาย ยังปฏิบัติศาสนกิจได้เป็นตามแนวปฏิปทาของหลวงปู่บุญจันทร์ ยังปฏิบัติตามแบบอย่างที่ครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่นนำพาดำเนินไป ปฏิปทาของหลวงตาสมหมาย จึงเป็นดั่งดวงประทีป ดวงชีวิต เป็นหลักชัยและหลักใจของลูกหลานชาวเมืองอุดรธานี และผองชาวพุทธตลอดไปตราบนานเท่านาน เป็นพระสุปฏิปันโนที่ควรค่าแก่กราบไหว้โดยแท้

    ปัจจุบัน หลวงตาสมหมาย อัตตมโน ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าสันติกาวาส บ้านหนองตูม ต.ไชยวาน อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี เจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๗๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๓)

    8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AA-2-767x1024.jpg
    หลวงตาสมหมาย อตฺตมโน วัดป่าสันติกาวาส
    โอวาทธรรมคำสอนหลวงตาสมหมาย อัตตมโน แห่งวัดป่าสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี

    “..เป็นขี้ข้ารับใช้สังขาร รับใช้สัญญา ไม่เป็นอิสระไม่เป็นตัวของตัวเอง เพราะไม่รู้ไม่เห็นในสัจธรรมตามความเป็นจริง..”

    “..โรค มันบ่หายอย่างถาวร เพราะจิตเราแต่ละดวงมาเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนี้ ถ้าเราอยากหายจากโลก ก็ต้องภาวนา ไม่ต้องมาเกิดมาตาย ให้พิจารณาตายจะได้บ่มาเกิดอีก จึงจะหายจากโรคได้..” SAM_9294.JPG SAM_9295.JPG SAM_7823.JPG
     
  4. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,960
    ค่าพลัง:
    +6,556
    ขอจองครับ
     
  5. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 818
    รูปหล่อกริ่งลอยองค์ 98 ปี+ เหรียญโต๊ะหมู่บูชาหลวงปู่มหาโส กัสสโป พระอรหันต์เจ้าวัดป่าคำเเคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนเเก่น หลวงปู่โสเป็นศิษย์หลวงปู่จูม พันธุโล(ศิษย์มือซ้ายหลวงปู่มั่นฝ่ายปริยัติ) รูปหล่อกริ่งสร้างปี 2556 สร้้างเนื่ององค์หลวงปู่อายุครบ 98 ปี เนื้อสัมริด มีตอกโค๊ตหลังองค์พระตรงผ้าสังฆาฏิ กริ่งดังดีมากส่วนเหรียญโต๊ะหมู่บูชาสร้างปี 2540 เนื้อทองเดงผิวไฟ มีตอกโค๊ตภาษาจีนหลังเหรียญ มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล ***********บูชาที่ 245 บาทฟรีส่งems #ประวัติย่อๆหลวงปู่พระมหาโส กัสสโป#
    อดีตเจ้าอาวาส วัดคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

    -หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป นามสกุลเดิม ดีเลิศ เกิดเมื่อวันที่ วันจันทร์ ที่ ๘ พ.ย. ๒๔๕๘ เวลาตี ๒ (ตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๑๒ ปีเถาะ)
    ที่บ้านก่อ ต.หนองไข่นก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี (บ้านเดียวกับพระอาจารย์บุญ ปัญญาวุโธ พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม และหลวงปู่พระมหาสีทน กาญจโน) โยมบิดาชื่อ เคน โยมมาดาชื่อ ค้ำ มีอาชีพทำนา ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๙ คน คือ
    ๑. นางพิมพา ๒. นางทุมมา ๓. นางสีทา ๔. นางสีดา ๕. นางทองสา
    ๖. หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป
    ๗. นายพรหมมา อดีตผู้ใหญ่บ้านบ้านก่อ
    ๘. นางวรรณา ๙. นายสง่า ดีเลิส อดีตสหกรณ์อำเภอม่วงสามสิบ
    -บรรพชา
    ในปี พ.ศ.๒๔๗๗ เมื่อมีอายุ ๑๙ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรกับหลวงปู่อุปัชฌาย์อ่อน ที่วัดบ้านก่อ (บ้านเกิดท่าน) เป็นการบวชหน้าไฟให้โยมมารดาซึ่งถึงแก่กรรมลง ตั้งใจจะบวชเพียง ๑ พรรษา แต่เมื่อได้ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ครบกำหนดแล้ว ก็ทำความรู้ในพระธรรมวินัยด้านปริยัติจนแตกฉาน สอบได้ นักธรรมตรี นักธรรมโท และนักธรรมเอก ติดต่อกันมาทุกปี จนทำให้มีศรัทธาบวชต่อ
    -อุปสมบท
    ปีพ.ศ.๒๔๗๘ อายุครบ ๒๐ ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาที่วัดบ้านเกิดนั่นเอง โดยมีพระอุปัชฌาย์อ่อน เป็นพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์สุ่น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้จำพรรษาอยู่ที่นั่น เป็นเวลา ๓ พรรษา
    -ญัตติเป็นธรรมยุติ
    ล่วงเข้าปี พ.ศ.๒๔๘๐ ท่านได้กราบลาพระอุปัชฌาย์อ่อนออกเดินทางติดตามพระอาจารย์มหาสีทน กาญจโน (ซึ่งเป็นญาติกันด้วย) โดยมีจุดหมายปลายทางที่ จ.อุดรธานี เมื่อเดินทางถึง จ.อุดรธานี หลวงปู่พระมหาสีทนได้นำท่านไปญัตติเป็นพระธรรมยุต ในวันที่ ๑๗ ก.ค.๒๔๘๐ ณ วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี ท่านเจ้าคุณพระเทพกวี (จูม พนฺธุโล) ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระครูสาสนูปกรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประสาทคณานุกิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อญัตติแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ ๑ พรรษา ซึ่งท่านตั้งใจไว้ว่าหากการไปในครั้งนี้ไปแล้วได้กำลังใจดีในการปฏิบัติธรรมจะขอบวชตลอดชีวิต
    -เป็นมหาเปรียญ
    หลวงปู่พระมหาโส เป็นพระผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยปฏิบัติตามคำสอนขององค์ศาสดามาโดยตลอด ท่านแสวงธรรมทั้งในด้าน ปริยัติ (แสวงหาความรู้) ปฏิบัติ (แสวงธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า) ปฏิเวธ (แสวงหาธรรมด้วยปัญญาของตนเองเพื่อแสวงหาวิโมกติสุข) ถึงเวลาต่อมาในพรรษาที่ ๑๒ ท่านก็ได้แตกฉานบาลี จนสอบเปรียญธรรมสนามหลวงเป็น "พระมหา" ได้สำเร็จ และในปีเดียวกันก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสที่วัดศรีหมากหญ้า อ.เมือง จ.อุดรธานีด้วย แต่เป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้เพียง ๔ ปี หลวงปู่มหาโส ก็สละตำแหน่งเจ้าอาวาส และออกธุดงค์ต่อเพื่อแสวงหาสิ่งที่เรียกว่า "พ้นจากวัฏสงสาร" อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาต่อไป
    -ประวัติอื่นๆ
    หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป เป็นศิษย์สายธรรมหลวงปู่มั่น และเป็นศิษย์ผู้พี่ของหลวงปู่ผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต (ผู้คนส่วนใหญ่จะคิดว่าท่านเป็นศิษย์หรือสหธรรมิกของหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต แต่ที่จริงไม่ใช่เพราะถ้านับพรรษาหลวงปู่มหาโสพรรษามากกว่าหลวงปู่ผางถึง ๑๐ ปี เพราะหลวงปู่ผางท่านอุปสมบทตอนอายุ ๔๐ ปี) ในขณะที่หลวงปู่ผางมีชื่อเสียง ผู้คนรู้จักนั้น หลวงปู่มหาโสยังคงธุดงธ์แสวงวิเวกอยู่ในป่าอยู่
    ท่านนับเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอีกรูปหนึ่งชึ่งผู้คนยังไม่ค่อยรู้จักท่านเท่าใด เพราะปฏิปทาท่านชอบบำเพ็ญหาความสงบทางจิตในป่ามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว นับตั้งแต่อายุ ๗๐ ปี หลวงปู่พระมหาโสก็ไม่เคยออกจากวัดป่าคำแคนเหนือสู่สังคมทางโลกอีกเลยตราบจนมรณภาพ
    สมัยก่อนท่านธุดงค์บำเพ็ญเพียรที่หุบเขาต่างๆ เช่น ภูพาน ภูผาแดง
    ภูเม็งฯลฯ และตั้งสำนักสงฆ์ที่หุบเขาภูเม็ง แต่ด้วยอุบาสกอุบาสิกาที่ไปถือศีลเป็นไข้ป่า ท่านจึงตัดสินใจย้ายลงมาอยู่ที่เชิงเขาภูเม็ง ท่านก็ได้มาปักหลักสร้างวัดป่าคีรีวันอรัญเขต (วัดป่าคำแคนเหนือ) ต.คำแคน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น และอยู่จำพรรษามาจนมรณภาพ
    หลวงปู่มหาโส กัสสโป แห่งวัดคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ไม่เคยพบกับหลวงปู่มั่นโดยตรง แต่ก็มีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม) วัดป่าโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี เป็นพระอาจารย์สอนกรรมฐาน และเป็นพระอุปัชฌาย์ผู้ญัตติเป็นธรรมยุตให้หลวงปู่ด้วย และท่านก็ยังมีท่านพระอาจารย์มหาสีทน กาญจโน พระวิปัสสนากรรมฐานผู้เป็นเสาหลักใหญ่ของจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้น คอยสอนกรรมฐานให้หลวงปู่มหาโส เมื่อครั้งพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม พาหมู่คณะพระกรรมฐานมาจำพรรษาเพื่อเผยแผ่ธรรมะในจังหวัดขอนแก่น ระยะประมาณ พ.ศ.๒๔๗๒ -๒๔๗๕ พระอาจารย์มหาสีทน ก็ได้ฝากหลวงปู่มหาโส และ หลวงปู่สิงห์ สุขปุญโญ (พระวิจิตรธรรมภาณี) อดีตเจ้าคณะ จ.อุบลฯ เป็นศิษย์พระอาจารย์สิงห์ด้วย
    หลวงปู่มหาโส เป็นพระเถราจารย์ชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดขอนแก่น มีพระฝากตัวเป็นศิษย์ผู้สืบทอดปฏิปทาจากท่านมากมาย เช่น หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรม จ.ขอนแก่น , เจ้าคุณพระธรรมดิลก (หลวงพ่อสมาน สุเมโธ) เจ้าคณะภาค ๙ ธรรมยุติ วัดป่าแสงอรุณ จ.ขอนแก่น , หลวงปู่เขี่ยม โสรโย อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าถ้ำขาม จ.สกลนคร , หลวงพ่อนงค์ ปคุโณ วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น , หลวงปู่สมาน ถาวโร เจ้าคณะ อ.มัญจาคีรี (ธรรมยุต) วัดป่าโนนสำนัก จ.ขอนแก่น ฯลฯ

    หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป มรณภาพ ที่กุฏิวัดป่าคำแคนเหนือ หมู่ ๒
    ต.คำแคน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ด้วยอาการชราภาพ เมื่อเวลา
    ๑๒.๒๐ น. ของวันที่ ๑๖ ก.พ. ๒๕๕๙ สิริอายุ ๑๐๐ ปี ๓ เดือน ๘ วัน sam_5599-jpg-jpg-jpg.jpg sam_8078-jpg-jpg-jpg.jpg sam_8080-jpg-jpg-jpg.jpg sam_8081-jpg-jpg-jpg.jpg sam_8082-jpg-jpg-jpg.jpg SAM_9302.JPG SAM_9303.JPG sam_7793-jpg-jpg-jpg.jpg

     
  6. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 819 เหรียญหล่อใบโพธิ์รุ่นเเรกปี 2539 รุ่นร่มโพธิ์+เหรียญรุ่นมหาโชคลาภ มหามงคลปี 2544หลวงตาพวง สุขินทริโย พระอรหันต์เจ้าวัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร หลวงตาพวงเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคสุดท้าย เหรียญหล่อเนื้อโลหะผสม ,เหรียญมหาโชคมหาลาภ เนื้อทองเเดงผิวไฟ หลังเป็นรูปพระสิวลี มีพระเกศาขาวใสหลวงตามาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ********บูชาที่ 240 บาทฟรีส่งemslส
    ปาฏิหาริย์
    หลวงตาพวง สุขินฺทริโย

    วัดศรีธรรมาราม
    อ. เมือง จ.ยโสธร

    87075968_100485764891346_393826265997508608_n.jpg
    หลวงตาพวง สุขินฺทริโย ( พระเทพสังวรญาณ) วัดศรีธรรมาราม
    หลวงตาพวง สุขินทริโย หรือพระเทพสังวรญาณ แห่งวัดศรีธรรมาราม ตําบลในเมือง อําเภอเมือง จังหวัดยโสธร คือพระเกจิอาจารย์ผู้มีบุญฤทธิ์ ธรรมรัศมีอาบทั่วร่างกาย บุคลิกลักษณะของท่านเป็นพระภิกษุผิวขาวเหลือง เส้นเกศาขาวโพลนทั้งศีรษะ ร่างกายสูงสง่า สมกับเป็นพระผู้มีพลังอํานาจจิตสูง เมื่อท่านเดินภาวนาสํารวมกาย วาจา ใจ เข้าเป็นหนึ่ง ก็จะพิจารณาธรรมให้อยู่ในสมาธิจิตของท่านอันปราศจากนิวรณ์ ๕ คือ กามฉันทะ ความพอใจในกามารมณ์ พยาบาท ความปองร้ายผู้อื่น ถีนมิทธะ ความท้อถอยเฉื่อยชา อุทธัจจกุกกุจจะ ความว้าวุ่นขุ่นข้องใจ และวิจิกิจฉา ความสงสัยลังเลใจ

    เมื่อตัดนิวรณ์ ๕ ออกไป จิตก็ไม่มีวิตกกังวลใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น ตัวท่านจึงมักมีรูปกายภายนอกและภายในเต็มไปด้วยความบริสุทธิ์ผุดผ่อง มีรัศมี อ่อนๆ แผ่ออกมาจากร่างกายของท่านเสมอ ผู้ใดมีโอกาสได้ ละอยู่ใกล้ชิดท่านจึงรู้สึกจิตใจเป็นสุข อบอุ่น

    หลวงตาพวง เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ โดยเฉพาะหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านได้สอนและแนะนําให้หลวงตาพวงฝึกสมาธิและปฏิบัติธรรม เพียรทางจิต และอุบายธรรมต่างๆ จนหลวงตาพวงมีอํานาจพลังจิตสูงมาถึงในปัจจุบันนี้ ตลอดจนงานด้านพัฒนาศาสนสถานต่างๆ เช่น วัดถ้ําขาม อําเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นวัดแห่งหนึ่งที่หลวงตาพวงได้ ร่วมกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร พัฒนาขึ้นมาจนมีความสวยงามร่มรื่นสงบมาจนทุกวันนี้

    แม้แต่หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เกจิอาจารย์ผู้ขมังเวทแห่งวัดบ้านไร่ ด่านขุนทดเอง ยังต้องเอ่ยยอมรับในอิทธิบุญฤทธิ์ และอํานาจพลังจิตของ หลวงตาพวง สุขินทริโย ว่าเป็นพระผู้มีธรรมอาบในกายอย่างน่าอัศจรรย์ เจิดจรัสสู่สาธุชนทั่วหล้าที่มีโอกาสได้พบเห็นท่านหรือมาสนทนาธรรมด้วย

    มีเรื่องอยู่ว่า ครั้งหนึ่งที่ชาวยโสธรเดินทางไปกราบนมัสการขอพรกับ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ที่วัดบ้านไร่ ท่านถึงกับเอ่ยวาจาว่า

    “พวกมึงมาหากูทําไม ที่ยโสธรคนเก่งกว่ากูก็มี พวกมึงก็รู้จักกันดี หัวหงอกๆ นั่นแหละ เก่งกว่ากูอีก”

    แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อหลวงตาพวงถูกถามถึงการที่มีผู้คนกล่าวขาน ถึงหลวงตาว่า เป็นผู้ที่มีอภิญญาสูงท่านก็จะบอกว่า

    “หลวงตาไม่ได้มีอะไรดี หลวงตามิได้เก่ง เขาว่ากันเอง”

    การมีวาจาที่ถ่อมตนดังนี้ ถือเป็นลักษณะของพระอริยสงฆ์ผู้มี ธรรมะสูงส่ง ตามประวัติย่อๆ ของท่าน หลวงตาเคยไปปฏิบัติธรรมจําพรรษา อยู่กับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่ถ้ําขาม สกลนคร มา ๗ – ๘ ปี จึงได้ย้ายมาจํา พรรษาอยู่ที่วัดศรีธรรมาราม เมืองยโสธร จนทําให้หลวงตาได้อภิญญาสูง ในเส้นทางธรรมของท่านเคยเดินทางไปปฏิบัติธรรมและสนทนาธรรมอยู่กับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง เสมอๆ ดังคําสนทนาของพระอริยสงฆ์ทั้งสองท่านเมื่อมีโอกาสได้พบปะกันครั้งหนึ่งว่า

    “เป็นไงคุณพวง สบายดีหรือ” หลวงปู่เทสก์ทักทาย

    หลวงตาพวงยิ้ม แล้วตอบว่า “เขาเกณฑ์ให้ผมเป็นเจ้าอาวาสอยู่ริมฝั่งแม่น้ําชี” หลวงปู่เทสก์ได้ฟังก็หัวเราะแล้วบอกว่า “ดีเหมือนกัน เขาเกณฑ์ให้เข้าแถวหรือ”

    ซึ่งบทสนทนาทักทายกันของทั้งสองท่านนี้ จะเห็นได้ว่ามีความสนิท สนมคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีมาก่อน

    หลวงตาพวง พระผู้มีอภิญญาญาณสูงส่งมากอยู่ในเวลานี้ เนื่องจากว่าท่านเป็นผู้ที่ถ่อมตนอยู่เสมอ และไม่เคยอวดตน จนทําให้ผู้คนทั่วไปไม่ ค่อยจะได้ยินชื่อเสียงของท่านมากนัก แต่หากจะพูดถึงเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของหลวงตาพวงแล้ว ท่านเป็นพระผู้ได้อภิญญา อํานาจจิตพิเศษ ที่มนุษย์ธรรมดาไม่อาจทําได้ คือ อิทธิวิธี หมายถึงสามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ บุญฤทธิ์ได้ ทิพพโสต คือสามารถรับฟังการพูดจาของบุคคลและสัตว์ได้ใน ระยะใกล้ ไกล เจโตปริยญาณ ความสามารถหยังรู้ใจผู้อื่นได้ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ สามารถมองเห็นได้ด้วยจิต จุตูปปาตญาณ สามารถล่วงรู้อดีตชาติ ได้ อาสวักขยญาณ สามารถทําให้กิเลสหมดสิ้นไป

    ดังนั้นจึงมีเรื่องเล่าขานถึงหลวงตาพวงว่า ครั้งหนึ่งเมื่อราวพุทธศักราช ๒๕๓๙ – ๒๕๓๙ มีชาวบ้านแถบริมฝั่งแม่น้ําชี ท้ายวัดศรีธรรมาราม เมืองยโสธร พากันออกไปดักหนูป่า และจับสัตว์ริมฝั่งแม่น้ําในช่วงเช้ามืด ได้สังเกตเห็นพระหลวงตารูปหนึ่ง เกศาขาวโพลนทั้งศีรษะ เดินสะพายบาตรข้ามแม่น้ําชีด้วยกิริยาอันสงบสํารวม โดยลักษณะเดินไปบนผิวน้ําเหมือน เดินบนดิน ทําให้ชายผู้พบเห็นตื่นตระหนกตกตะลึงอย่างมากที่ได้เจอ

    ปรากฏการณ์มหัศจรรย์เช่นนี้ของหลวงตารูปนั้นซึ่งเดินบนผิวน้ําได้อย่างสงบ บริเวณทางทิศใต้ของท้ายวัดและกลายเป็นเรื่องเล่าขานกันต่อๆมา เป็น เรื่องปาฏิหาริย์ของหลวงตารูปนั้น ซึ่งชาวยโสธรเชื่อว่า คือหลวงตาพวง สุขินทริโย อย่างแน่นอน

    %B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%BA%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A2.jpg
    หลวงตาพวง แห่งวัดศรีธรรมาราม
    พระผู้มีอภิญญาญาณสูง
    “ในสมัยพุทธกาล เมื่อใดตถาคตตั้งกายเอาไว้ในจิตหรือตั้งจิตเอาไว้ ที่กายได้เช่นนั้น กายของตถาคตก็ย่อมจะลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้ โดยไม่ยาก”

    เป็นทัศนะอีกประการหนึ่งของผู้รู้ผู้สําเร็จด้วยอภิญญาญาณ

    อีกครั้งหนึ่งเมื่อช่วงปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ – ๒๕๔๐ ชาวบ้านท่าลาด ตําบลแสนสุข อําเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ได้เห็นพระรูปหนึ่งผิวขาวเหลือง เส้นเกศาขาวโพลนเต็มศีรษะรูปหนึ่งเดินรับบิณฑบาตอยู่กลางหมู่บ้านท่าลาด ด้วยอาการสงบสํารวม ซึ่งอยู่ห่างจากอําเภอเมืองยโสธรราว ๑๕ – ๑๖ กิโลเมตร โดยชาวบ้านไม่รู้จักด้วยซ้ําว่า พระรูปนี้เป็นใคร มาจากไหน ไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน เมื่อใส่บาตรเสร็จในเช้าวันนั้น พวกเขาก็ชักชวนกันไปทําบุญไหว้พระชื่อดังเมืองยโสธร จึงพากันขึ้นรถมาเต็มคันรถ เดินทางจาก บ้านท่าลาด ข้ามแม่น้ําชีเข้าเมืองยโสธร ซึ่งมีระยะทางเกือบ ๑๖ กิโลเมตร

    แต่พอไปถึงวัดศรีธรรมาราม ในเมืองยโสธร ก็พากันขึ้นไปกราบหลวงตาเจ้าอาวาส ซึ่งพวกเขาตั้งใจจะมากราบไหว้ แต่พอเห็นหน้าหลวงตาพวกเขาก็จําได้ว่า เป็นพระรูปเดียวกับที่ไปเดินบิณฑบาตอยู่ในหมู่บ้านท่าลาดเมื่อเช้านี้เอง คือหลวงตาพวง สุขินทริโย ที่พวกเขาต้องการมากราบ ไหว้นั่นเอง สร้างความประหลาดใจแก่พวกเขาอย่างมาก ที่ระยะทางทั้ง ๑๕ – ๑๖ กิโลเมตร หลวงตาผู้นี้จะเดินไป – กลับ ได้รวดเร็วถึงเพียงนี้

    จึงเป็นที่เล่าขานกันต่อๆมาว่า หลวงตาพวงยนแผ่นดินได้ ซึ่งระยะทาง ๑๕ – ๑๖ กิโลเมตรนี้ จะต้องใช้เวลาเดินทาง ไป-กลับ อย่างน้อยถึง ๖ – ๗ ชั่วโมง (ระยะทางไป – กลับ คือ ๓๐ กิโลเมตรโดยประมาณ) ซึ่งไม่มีมนุษย์ คนไหนจะสามารถทําได้เช่นนี้ นอกจากผู้มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เท่านั้น จนเป็นที่เลื่องลือกันไปทั่วเมืองยโสธร และอําเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด

    %B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%BA%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A2.jpg
    หลวงตาพวง สุขินฺทริโย
    ชื่อเสียงของหลวงตาพวงจึงเป็นที่รู้จักและโด่งดังออกไปอย่างรวดเร็ว จนมีผู้ศรัทธานับถือหลวงตาเดินทางมากราบไหว้กันเป็นจํานวนมาก เป็นที่มาของไหมเจ็ดสีที่มีฤทธานุภาพวัตถุมงคลที่หลวงตาใช้พลังจิตแผ่ลงไปเพื่อแจกจ่ายให้ลูกหลานชาวเมืองยโสธรและชาวบ้านที่ไปกราบไหว้อยู่เป็นประจํา

    ไหมเจ็ดสีหลวงตาพวง จึงเป็นวัตถุมงคลที่นําโชคลาภมาให้และป้องกันอันตรายให้แก่บุคคลที่มีไว้ครอบครองมาจนทุกวันนี้ ซึ่งเป็นของหายาก นอกจากที่วัดศรีธรรมาราม เมืองยโสธร เท่านั้น

    หลวงตาพวง สุขินทริโย พระผู้มีรัศมีธรรมอาบกายจึงเป็นพระเกจิอาจารย์และพระอริยสงฆ์เจ้าผู้ที่เราควรเคารพกราบไหว้ระลึกถึง และขอบารมีของหลวงตาให้ช่วยคุ้มครองเป็นสุขสวัสดิ์ ด้วยคาถาบทสวดดังนี้

    “สุขา สุทา ปติฏฐิตา” ผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้ว ย่อมเป็นสุข SAM_9304.JPG SAM_9305.JPG SAM_9306.JPG SAM_9307.JPG SAM_9308.JPG SAM_9309.JPG SAM_7616.JPG
     
  7. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 820 รูปหล่อเหมือนบูชาขนาดตั้งหน้ารถ สูง 5.5 นิ้ว,กว้าง 4 นิ้วหลวงตาเเตงอ่อน กัลยาณธัมโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าโชคไพศาล อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร หลวงตาเเตงอ่อนเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคสุดท้าย มีพระเกศาหลวงตามาบูชาเป็นมงคลด้วยครับไว้ใส่ใต้ฐานรูปเหมือน ********บูชาที่ 550 บาทฟรีส่งEms(คุ้มเกินคุ้ม องค์นี้ผมบูชามา 1000 บาทครับจากวัดท่านเลยทันท่านทันครับผม)
    หลวงตาแตงอ่อน ท่านเป็นศิษย์รูปหนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จึงขอน้อมนำประวัติปฏิปทาของหลวงตาแตงอ่อน ขณะได้เจอหลวงปู่มั่นครั้งแรก มาเผยแพร่
    หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม วัดป่ากัลยาณธัมโม(วัดป่าโชคไพศาล) ต.นาซอ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร ท่านถือกำเนิด ตรงกับวันเสาร์ที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ ปีจอ ณ บ้านม่วงไข่ ต.พรรณนา อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร ท่านอุปสมบท เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ณ วัดเสบุญเรือง ต.วานรนิวาส อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร และญัตติเป็นพระธรรมยุต เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๗ ณ วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี พระธรรมเจดีย์(หลวงปู่จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์
    310705-1-2.jpg ติดตามข่าวเพิ่มเติมที่ : "หลวงตาแตงอ่อน" ฟันอสุรกายจนขาดครึ่ง!! เผยทีเด็ดอะไร? ไม่ต้องใช้คาถา...ผีก็กลัวหัวหด!!


    310705-2-1.jpg
    ภายหลังจากได้ญัตติเป็นพระธรรมยุตแล้ว หลวงตาแตงอ่อนได้ไปอยู่ศึกษาธรรม ข้อวัตรปฏิบัติกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ตำบลนาใน อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร
    หลวงตาท่านเล่าว่า “ในพรรษา ๔ ก่อนที่จะเดินทางเข้าไปที่วัดป่าบ้านหนองผือนั้น ได้นิมิตถึงท่านพระอาจารย์มั่น ทั้งๆ ที่ไม่เคยเห็นองค์ท่านพระอาจารย์มั่นมาก่อนเลย เคยได้ยินแต่ชื่อท่าน ท่านมาปรากฏให้เห็นขณะหลวงตากำลังนั่งสมาธิอยู่ โดยนิมิตเห็นท่านพระอาจารย์มั่น เดินมายืนตรงหน้า แล้วหันหลังกลับมานั่งสมาธิทับองค์หลวงตา จากนั้นหลวงตาก็ตื่นขึ้น และคิดว่าสงสัยเราจะได้เข้าไปบ้านหนองผือแน่ ครั้นไปถึงที่วัดบ้านหนองผือแล้ว หลวงตาจึงทราบว่า เป็นองค์ท่านพระอาจารย์มั่น”
    หลวงตาแตงอ่อน ได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่ประทับใจครั้งแรกในเมตตาธรรมของหลวงปู่มั่น ช่วงที่ไปอยู่กับหลวงปู่มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือว่า “เราจะไปกราบนมัสการท่าน เห็นพระภิกษุสามเณรเอาน้ำร้อนเข้าไปให้ท่านฉัน พระเณรขึ้นไปกราบท่าน เราก็ขึ้นไปด้วย ท่านทักว่า “พระมาจากไหน” แล้วท่านเมตตาถามว่า “ท่านจะไปไหน ?”
    หลวงตากราบเรียนท่านว่า “กระผมคิดจะกลับไปบ้านวา”
    ท่านกล่าวว่า “อันนี้ไม่โมทนานำแล้ว ลงไปนั่นมันร้อน ไปภาวนาข้างนอกมันร้อน อยู่แถวภูเขานี้ดีกว่า” เรียกว่าท่านให้โอกาสแล้ว ท่านจะให้อยู่แล้วนี่ ให้อยู่ถิ่นของท่านมันเย็นอยู่แล้ว หมู่เพื่อนภิกษุมาจับแขนแล้วบอกว่า “ท่านให้อยู่นะนี่ ไปขอนิสัยกับท่านอยู่เด้อ” พอเสร็จธุระแล้วหลวงตาครองผ้าจีวร ไปกราบขอนิสัยกับท่าน หลวงตาเลยอยู่ด้วยกับท่าน ไม่ได้ออกไปไหนจนท่านมรณภาพลง”
    310705-2-2.jpg
    ติดตามข่าวเพิ่มเติมที่ : จิตเป็นยา!! "หลวงตาแตงอ่อน" ใช้พลังธาตุไฟสลาย "พิษไข้มาลาเรีย" จนหายเป็นปลิดทิ้ง!!


    ad
    310705-3-1.jpg
    หลวงตาแตงอ่อน กล่าวว่า “คำของพ่อแม่ครูอาจารย์นั้นหลวงตายกใส่เกล้าตลอด เดินจงกรมภาวนาก็ทำตามท่านสอน สำหรับความดีของท่านพระอาจารย์มั่นนั้น ท่านเป็นผู้มีเมตตาสูงเยือกเย็นมาก อยู่กับท่านมีแต่ความเย็นใจ ทำอะไรก็ระลึกถึงท่านตลอด เป็นอนุสสติอย่างหนึ่ง ไม่ได้ว่างเว้นเลย”
    หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม ละสังขารตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เมื่อเวลา ๐๗.๕๘ น. ณ โรงพยาบาลสกลนคร สิริอายุรวม ๙๑ ปี ๑๑ เดือน ๒๓ วัน พรรษานั้นเป็นพรรษาที่ ๗๑ SAM_9310.JPG SAM_9311.JPG SAM_9312.JPG SAM_9313.JPG SAM_9314.JPG SAM_9315.JPG SAM_9316.JPG SAM_9317.JPG
     
  8. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 821 เหรียญรุ่นพิเศษปี 2524 หลวงปู่คำดี ปภาโส พระอรหันต์วัดถํ้าผาปู่ อ.เมือง จ.เลย หลวงปู่คำดีเป็นศิษย์รุ่นใหญ่หลวงปู่มั่น เหรียญเนื้อทองเเดงรมนํ้าตาล มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล **********บูชาที่ 335 บาทฟรีส่งemsl
    พระครูญาณทัสสี
    (หลวงปู่คำดี ปภาโส)

    วัดถ้ำผาปู่ อำเภอเมือง จังหวัดเลย

    "พระอริยเจ้าผู้อ่อนน้อมถ่อมตนเพื่อธรรม"

    1.png

    พระเดชพระคุณหลวงปู่คำดี ปภาโส พระอริยเจ้าศิษย์กรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่านเป็นผู้มีความสมบุกสมบันทั้งภายนอกและภายใน สันโดษไม่ชอบการก่อสร้าง

    เบื้องต้นท่านศึกษาธรรมจากพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ณ วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จากนั้นท่านท่องเที่ยวไปตามป่าเขา จนกระทั่งวาระสุดท้ายท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดถ้ำผาปู่ และได้รับอุบายธรรมอันสำคัญจากหลวงตามหาบัว จนถึงที่สุดแห่งทุกข์


    ท่านมักกล่าวกับคนใกล้ชิดเสมอว่า "มหาบัวเป็นอาจารย์ของอาตมา" ท่านไม่ถืออายุพรรษา ท่านถือพรหมจรรย์คือพระอรหัตตผลเป็นที่ตั้งถ้าหากได้ธรรม แม้จะเอาสามเณรเป็นอาจารย์ท่านก็ยอม ท่านมีวิธีการและอุบายแปลกๆ เพื่อฝึกหัดทรมาน ท่านชอบแสวงหาที่อยู่อันน่ากลัวและชอบหาวิธีแก้ความกลัวเฉพาะหน้า อย่างเช่น ท่านพักอาศัยอยู่ในถ้ำ เสือร้องคำรามอยู่หน้าถ้ำ ตัวสั่นแต่ใจสู้ไม่ถอย ภาวนาสอนตนเองว่า "พระกรรมฐานอะไรมากลัวเสือ เรากลัวเสือมันมากินเรา ก็เรากินสัตว์มาสักเท่าไหร่ กินมาจนเต็มพุง ถ้าเสือจะมากินเราเสียบ้างก็ไม่เห็นจะเป็นไร วันนี้เราต้องสู้" คิดอย่างนั้นแล้วท่านก็รีบเดินออกจากถ้ำไปตามหาเสือ พอเสือเห็นท่านเดินเข้าไปหาดุ่มๆ มันก็เผ่นแน่บเปิดหนีเข้าป่าหายเงียบไป



    2.png
    รูปหล่อหลวงปู่คำดี ปภาโส



    ท่านเคยจิตเสื่อมและราคะกำเริบมาก ถึงกับจะเอามีดโกนกรีดคอตนเองให้ตายถึงสามครั้งสามหน แต่ก็เหมือนมีเทวดามาช่วยเสมอ ท่านเล่าว่าหากวันนั้นมีผู้หญิงเข้าสู่ราวป่าที่ท่านพักอาศัยอยู่ ท่านจะต้องข่มขืนเสพเมถุนแน่นอน เพราะเกิดความกำหนัดอย่างมาก แต่เดชะบุญบันดาล วันนั้นไม่มีผู็หญิงสักคนเลย ทั้งที่ทุกๆ วันจะมีผู้หญิงมาหาของป่ากันเต็ม ท่านพลิกจิตแก้ตัวท่านเองทันทีอย่างเด็ดขาด ด้วยการเปลี่ยนความคิดที่จะฆ่าตัวตายเสียใหม่ว่า "ถ้าจะตาย เราต้องตายพร้อมกับความเพียรภาวนาเท่านั้น"

    นิสัยแต่ก่อนท่านเป็นคนผาดโผน แข็งกระด้าง ไม่ยอมใครง่ายๆ แต่ท่านมาแก้เสียใหม่ ท่านเล่าว่าครั้งหนึ่งท่านใช้สามเณรตัดผ้าขาวทำสบง สามเณรเย็บผ้าผิด ท่านฉีกผ้าโยนทิ้ง สามเณรร้องไห้ใหญ่ ท่านรู้สึกสะเทือนใจมากที่ทำกิริยาอย่างนั้น ผ้าตัดผิดมันก็ผิดไปแล้ว แล้วมาฉีกผ้าทิ้งนี้หาประโยชน์อะไรมิได้ ท่านเตือนตนเองว่า "เอาล่ะนะเราจะเอาสามเณรเป็นอาจารย์ ต่อแต่นี้เป็นต้นไปเราจะเปลี่ยนนิสัยใหม่ เปลี่ยนมารยาทใหม่ กิริยาอย่างนี้จะไม่นำเอามาใช้จนกระทั่งวันตาย เปลี่ยนเป็นคนอ่อนโยน ไม่ดุด่าว่ากล่าวใครโดยไร้ซึ่งเหตุและผล" แล้วท่านก็ตั้งสติเปลี่ยนนิสัยเดิมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    ท่านเกิดวันพฤหัสบดีที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ ตรงกับแรม ๑๔ ค่ำ ปีขาล เป็นบุตรของนายพรและนางหมอก นินเขียว เกิดที่บ้านหนองคู ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

    ท่านบวชเป็นพระมหานิกายที่วัดหนองแวง บ้านเมืองเก่า ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยมีพระคูเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์โพธิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ชานุหลิด เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ต่อมาได้ญัตติเป็นฝ่ายธรรมยุตเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ วัดศรีจันทราวาส ตำบลพระลับอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยมี พระครูพิศาลอรัญเขต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดสังข์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสมชาย เป็นพระอนุสาวจารย์

    ท่านละสังขารเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ณ โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗ เวลา ๑๓.๑๓ น.

    สิริอายุได้ ๘๒ ปี ๔ เดือน ๙ วัน ๕๖ พรรษา



    3.png

    อัฐิธาตุหลวงปู่คำดี ปภาโส SAM_9318.JPG SAM_9319.JPG SAM_7750.JPG
     
  9. birdyik

    birdyik Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2007
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +129
    ขอจองรายการนี้ครับ
     
  10. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  11. แปดเหลี่ยม

    แปดเหลี่ยม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2013
    โพสต์:
    831
    ค่าพลัง:
    +559
    จองครับ
     
  12. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 822 พระผงนั่งเต็มองค์รุ่นเเรกหลวงปู่สำลี สุทธจิตโต พระอรหันต์เจ้าวัดถํ้าคูหาวารี อ.วังสะพุง จ.เลย หลวงปู่สำลีเป็นศิษยืเอกหลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถํ้าผาบิ้ง องค์พระสร้างปี 2557 เนื้อว่าน มีฝังเกศา,หน้าองค์พระเเละมีฝังข้าวสารหินที่หลังองค์พระ มาพร้อมกล่องเดิม ชื่อรุ่นตั้งใจภาวนาที่จิต มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล >>>>>>บูชาที่ 185 บาทฟรีส่งemsสส
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต

    วัดถ้ำคูหาวารี
    อ.วังสะพุง จ.เลย



    %96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5-00.jpg
    หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต วัดถ้ำคูหาวารี ต.โคกขมิ้น อ.วังสะพุง จ.เลย
    หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต (ศิษย์สายธรรมหลวงปู่หลุย จันทสาโร) พระผู้มักน้อย สันโดด และมีเมตตาธรรม

    หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต นามเดิมชื่อ สำลี เพ็งผล เกิดเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๙ โยมบิดาชื่อ นายบุญ และโยมมารดาชื่อ นางอินทร์ เกิด ณ ต.กุดจอก อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา เมื่อเรียนจบ ป.๔ ก็ออกมาช่วยพ่อ และ แม่ทำนา ต่อมาจึงย้ายภูมิลำเนามาอยู่ที่จังหวัดเลย

    หลวงปู่สำลี ท่านเป็นคนขยัน ช่วยเหลืองานทุกอย่างของพ่อและแม่ ทั้งยังชอบเข้าวัดสวดนต์ นั่งสมาธิ พ่อและแม่ได้พาไปทำบุญและรับฟังธรรมะ กับองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร เป็นประจำ จนกระทั่งหลวงปู่หลุย จันทสาโร ท่านเล็งเห็นความตั้งใจในการสวดมนต์ ภาวนา นั่งสมาธิ จึงได้ดำริให้ออกบวช ซึ่งหลวงปู่สำลี ท่านก็คิดไว้แล้ว ด้วยศรัทธาต่อองค์หลงปู่หลุย และชอบเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงได้ออกบวช

    S__78708758-828x1024.jpg
    หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง
    หลวงปู่สำลี อุปสมบท เมื่ออายุ ๓๕ ปี ในวันที่ ๖ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๑๓ เวลา ๑๑.๐๐ น. ก่อนออกบวชท่านก็ได้ไปเป็นนุ่งขาวห่มขาว เป็นนาคก่อนจะได้บวชพระ โดยหลวงปู่หลุยเป็นผู้สอนหลวงปู่สำลีขานนาค และสอนข้อวัตรต่างๆเกี่ยวกับการบวช จนหลวงปู่สำลี สามารถขานนาค และจดจำข้อวัตรปฎิบัติได้ หลวงปู่หลุย จึงได้พาหลวงปู่สำลีไปบวช ณ อุโบสถวัดศรีสุทธาวาส จ.เลย โดยมีพระราชคุณาธาร (หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูไบฏีกาไพฑูลย์ เป็นพระกรรมวาจา ได้รับฉายา “สุทธจิตโต” แปลว่า “ผู้มีใจอันบริสุทธิ์”

    B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A0.jpg
    พระราชคุณาธาร (หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ)
    หลังจากอุปสมบทแล้ว หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต ก็ได้มาอุปัฏฐากดูแล หลวงปู่หลุย จันทสาโร ที่วัดถ้ำผาบึ้ง ต.ทรายขาว อ.วังสะพุง จ.เลย หลวงปู่สำลีท่านกล่าวว่า ตั้งแต่บวชท่านก็ติดตามดูแลหลวงปู่หลุยมาโดยตลอด จนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕ หลวงปู่หลุย ท่านได้สร้างวัดใหม่ขึ้นชื่อว่า “วัดถ้ำคูหาวารี” โดยท่านเห็นว่าสถานที่นี้เป็นที่สัปปายะ มีน้ำทาใช่สอยอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การปฎิบัติธรรมและเคยเป็นที่ ที่หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล เคยมาอยู่พักภาวนามาก่อน ท่านจึงได้สร้างวัดในที่แห่งนี้ขึ้น เพราะในถ้ำแห่งนี้ จะมีตาน้ำที่จะมีน้ำ ไหลออกมาจากถ้ำตลอดฤดูกาล ทำให้ที่นี้อุดมสมบูรณ์ และบริเวณโดยรอบก็เป็นป่าเขาเหมาะแก่การภาวนาเป็นอย่างมาก ท่านจึงดำริให้หลวงปู่สำลี มาจำพรรษาอยู่ปฎิบัติ ณ ที่แห่งนี้

    หลวงปู่สำลีท่านเคยกล่าวว่า เดิมทีท่านอยากเรียนหนังสือ เรียนนักธรรมมหาเปรียญ แต่หลวงปู่หลุยไม่อนุญาต และได้บอกให้หลวงปู่สำลีเข้าป่าไปหาภาวนา หลวงปู่หลุยกล่าวว่า “ธรรมะที่แท้จริงอยู่ในจิต ในใจทั้งหมดอยากเรียนให้ไปเรียนภายในจิตในใจ” จากนั้นมาหลวงปู่สำลี ท่านก็อยู่ปฎิบัติในป่า ณ วัดถ้ำคูหาวารีแห่งนี้มาโดยตลอด

    แต่กระนั้นท่านก็ไปๆมาๆระหว่างวัดถ้ำคูหาวารี และวัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย เพื่อจะได้ดูแลอุปัฏฐากองค์หลวงปู่หลุย อย่างใกล้ชิต ในระหว่าง พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นต้นมา หลวงปู่สำลีท่านก็ได้ติดตามหลวงปู่หลุย ไปในที่ต่างๆเพราะหลวงปู่หลุย ท่านเป็นพระอยู่ไม่ติดสถานที่ มักจะย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่อื่นเสมอ ทั้งในประเทศและนอกประเทศ หลวงปู่สำลีจึงมีโอกาสไปติดสอยห้อยตามหลวงปู่หลุยไปในที่ต่างๆ เช่น ภาคเหนือก็เคยไปอยู่เป็นพรรษา ภาคกลางก็ไปอยู่จำพรรษา ณ ที่พักสงฆ์ กม.๒๗ มูลนิธิหลวงปู่หลุย ที่ลูกศิษย์สายกรุงเทพ ถวายที่ดิน ให้หลวงปู่สร้างที่พักสงฆ์ หรือแม้แต่ที่ชะอำหัวหิน ซึ่งลูกศิษย์ชะอำมักจะนิมนต์หลวงปู่หลุยไปเมตตาที่นั้นอยู่เสมอ ตลอดจนประเทศอินเดียก็ไปมาแล้ว “หลวงปู่สำลีท่านว่า ท่านก็ไปกับหลวงปู่หลุยในทุกๆที่ตั้งแต่บวชมา ส่วนมากมักนั่งรถไป ไม่ค่อยได้เดินมากนัก”

    ราวๆปี พ.ศ.๒๕๒๕ – ๒๕๓๐ หลวงปู่หลุย เริ่มมีอาการอาพาธหนักขึ้น หลวงปู่สำลีท่านเล่าว่า “หลวงปู่ทิวา อาภากโร ได้นิมนต์หลวงปู่หลุย ให้มาพักจำพรรษาในกรุงเทพฯ เพราะใกล้หมอ ใกล้โรงพยาบาล และงดรับกิจนิมนต์ทางไกล” ซึ่งในระหว่างนี้ หลวงปู่สำลีก็ได้อยู่ปฎิบัติใกล้ชิตหลวงปู่หลุย อยู่ที่สำนักสงฆ์ กม.๒๗ จ.ปทุมธานนี้ด้วย

    หลวงปู่สำลี ท่านกล่าวว่า “ในช่วงปัจฉิมวัยของหลวงปู่หลุยนี้ เรา(หลวงปู่สำลี) ก็ค่อยดูแลท่านอยู่ตลอด ท่านจะถูกนิมนต์ไปอยู่ ๒ ที่ในช่วงนี้คือ ที่พักสงฆ์หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ และ ที่พักสงฆ์์ กม.๒๗ ปทุมทานี” จนเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๒ หลวงปู่หลุยได้บอกกับพระใกล้ชิตซึ่งในเวลานั้นหลวงปู่สำลี ก็อยู่ด้วยว่า “ท่านยื้อธาตุขันธ์ไว้ไม่ไหวแล้ว คงต้องทิ้งธาตุขันธ์นี้แล้ว” และในวันที่ ๒๔ นี้เองหลวงปู่หลุย ท่านก็ได้เดินทางไปพักรักษาตัว ที่พักสงฆ์หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และท่านก็ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ สำนักสงฆ์หัวหินแห่งนี้ ในวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๒ เวลา ๐๐.๔๓ น. สิริอายุ ๘๘ ปี ๖๗ พรรษา

    ซึ่งในช่วงหนึ่งหลวงปู่สำลี ท่านได้กล่าวว่า “หลวงปู่หลุย ท่านเคยปรารถว่าอยากกลับไปวัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย เพราะจากมานานแล้ว แต่สุดท้ายก็สุดวิสัยท่านมาละสังขาร มรณะภาพไปเสียก่อน”

    หลวงปู่สำลีท่านกล่าวว่า “เราอยู่ช่วยงานหลวงปู่หลุยนี้จนแล้วเสร็จ ตั้งแต่เริ่มงาน จัดเตรียมงาน ไปจนถึงพระราชทานเพลิงสรีระสังขาร ที่วัดศรีมหาธาตุ บางเขน จนไปถึงแบ่งอัฐิธาตุหลวงปู่หลุย ไปบรรจุ ณ วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร คู่กับพิพิธภัณฑ์หลวงปู่มั่น จนแล้วเสร็จถึงปี ๒๕๓๕-๓๕๓๖ จึงได้เดินทางกลับ จ.เลย”

    หลวงปู่หลุย สอนธรรมปฎิบัติแบบใด
    ผู้เขียนเคยกราบเรียนสอบถามหลวงปู่สำลีว่า “แนวทางการปฎิบัติธรรมที่หลวงปู่หลุยท่านสอนลูกศิษย์ เป็นแบบใด” หลวงปู่สำลี อธิบายว่า…ท่านอยู่กับหลวงปู่หลุยมาร่วม ๆ ๑๐ กว่าปี หลวงปู่หลุย ท่านจะสอนให้ภาวนาอย่างเดียว จะภาวนาพุทโธเป็นหลัก แล้วท่านจะสอนการพิจารณาธรรมโดยเรียนว่า “การม้างกาย”

    หลวงปู่สำลีบอกว่า…“การม้างกายก็คือการที่เราพิจารณา ธาตุขันธ์เรานี้ละ ตามความเป็นจริง พิจารณาให้เห็นภายในกาย โดยการม้างกายนี้ คือ แยกส่วนต่างๆออกมาดู เช่นพวก ธาตุดิน ก็แยกตับไตใส้มากอง ๆ ดูว่ามีอะไรสวยอะไรงาม หรือ แยกธาตุน้ำ เช่น น้ำเลือด น้ำหนอง น้ำเหลืองมากอง ๆ ดู พิจาณาตามความเป็นจริง ให้มันเบื่อ มันหน่ายคลายกิเลส เห็นโทษแห่งความหลง แก้ความหลง”

    แล้วหลวงปู่สำลีท่านก็ อนุมานการม้างกายว่า.. “เหมือนเราจะฆ่าเป็ด ฆ่าไก่ นั้นแหละ เราก็เอามีดกรีดตรงไส้ตรงพุงมันดูใช่ไมละ เออว่าภายในมันมีอะไร ตับ ไต ไส้ น้ำเลือด น้ำหนอง ที่ไหลออกมานี้ มันเป็นยังไง ใช้จิตจดจ่อดูตามความเป็นจริงนั้น หรือว่าเราจะพิจารณากายนี้ ให้มันขึ้นอืด ขึ้นหนองเน่าไป แล้วให้มันแห้งลงไปในดินเป็นกระดูก กลับไปเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ นี้ก็ได้”

    แต่หลวงปู่สำลีท่านเน้นย้ำว่า…“จะม้างกายได้ จิตต้องสงบก่อนนะ มันค่อยเห็น มันค่อยเป็น ให้ขยันทำภาวนาพุทโธบ่อย ๆ จิตมันจะค่อยสงบของมันไปเอง อยากปล่อยให้จิตฟุ้งไปตามอารมณ์ เพราะมันจะไปรับเอาความทุกข์จากภายนอกมาใส่จิตใส่ใจเจ้าของ”

    ผู้เขียนกราบเรียนถามต่อไปว่า….“เมือถึงที่สุดแห่งธรรมพิจารณาจนเห็นแล้วจิตจะเป็นอย่างไร”

    หลวงปู่สำลี ท่านอุปมาว่า.. “จิตมันจะรู้ว่าอะไรจะทำแล้วทุกข์ อะไรเป็นภัยอะไรให้โทษ มันจะไม่ไปยุ่ง เหมือนเรานี้แหละ รู้ว่าว่าไฟมันร้อน เราก็ไม่ไปจับ รู้ว่าในป่านี้มีเสือเป็นสถานที่อันตราย เราก็ไม่ไปหลีกได้หนีได้นี้จึงเรียกว่ารู้ ที่เราทุกข์ ๆ อยู่ทุกวันนี้ เพราะมันไม่รู้ ถ้ารู้มันจะไม่ทุกข์”

    หลวงปู่สำลี ท่านก็ได้ปฎิบัติตามคำสอนของหลวงปู่หลุยมาโดยตลอดตั้งแต่ท่านบวช จนวาระสุดท้ายของหลวงปู่หลุย เริ่มความพากความเพียรปฎิบัติมา ท่านก็เคยกล่าวว่า “ได้หลักจิต หลักใจพอสมควร”

    %89%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5000-683x1024.jpg
    เจดีย์ จันทสาโรนุสรณ์ ณ วัดถ้ำคูหาวารี จ.เลย
    วัดถ้ำคูหาวารี หรือคนในพื้นที่รู้จักกันในนาม “ถ้ำน้ำ” มีบริเวณเขตธรณีสงฆ์ประมาณ ๑๐๐ กว่าไร่ ขึ้นเป็นวัดแล้วตามมติมหาเถระสมาคมอย่างถูกต้อง โดยมีสิ่งปลูกสร้างคือ ศาลาฉันท์ กุฎิสงฆ์ และเจดีย์ บริเวณโดยรอบวัดเป็นป่าเขา และมีถ้ำที่มีตาน้ำไหลออกมาจากถ้ำตลอดฤดูกาล เป็นที่เงียบสงบสัปปายะ ในอดีตเคยเป็นที่พักภาวนาของครูบาอาจารย์หลายองค์ ตั้งแต่หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่คำดี ปภาโส เป็นต้น ที่เคยแวะเวียนและมาพักภาวนาในสถานที่แห่งนี้ ปัจจุบันทางวัดกำลังดำเนินงานก่อสร้างเจดีย์ “จันทสาโรนุสรณ์” ไว้เป็นอนุสรณ์ธรรมแห่งองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร โดยหลังจากงานพระราชทานเพลิงสรีละสังขารหลวงปู่หลุย ณ วัดศรีมหาธาตุแล้วเสร็จ อัฐิธาตุหลวงปู่หลุยก็ได้ถูกบรรจุรักษาไว้ ณ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดศรีมหาธาตุบางเขน กรุงเทพฯ แรกเริ่มนั้น หลวงปู่ท่อน ญาณธโร จะขอแบ่งอัฐิธาตุหลวงปู่หลุย กลับมาบรรจุยังวัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย ก็มิได้รับอนุญาตจากวัดศรีมหาธาตุ ต่อมาคณะสงฆ์จังหวัดเลยเห็นว่า..

    หลวงปู่สำลี สุทฺธจิตฺโต ท่านเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่หลุยที่สุด จึงได้ให้หลวงปู่สำลีไปติดต่อขออัฐิหลวงปู่หลุย ด้วยให้เหตุผลเดิมว่าหลวงปู่หลุยท่านอยากจะกลับวัด แต่ท่านก็ได้รับการปฏิเสธอีกครั้ง เมื่อไม่มีหนทางที่จะได้ ท่านจึงได้ทดลองขอเตาที่ใช้ในงานพระราชทานเพลิงศพขององค์หลวงปู่หลุย เพื่อนำกลับสู่จังหวัดเลย ซึ่งก็เป็นสิ่งท้าทาย เพราะเตามีน้ำหนักมาก ถ้าท่านสามารถเคลื่อนย้ายเตาไปได้ ก็ยินยอมยกเตานี้ให้ท่านไป และเมื่อหลวงปู่สำลี สามารถเคลื่อนย้ายเตากลับสู่จังหวัดเลยได้ ท่านจึงได้สร้างพิพิธภัณฑ์หลังเล็ก ๆ ไว้เพื่อเก็บเตาหลวงปู่หลุย ณ วัดถ้ำคูหาวารี

    ต่อมาหลวงปู่สำลี ได้ขออนุญาตคณะสงฆ์จังหวัดเลยเพื่อเปิดเตาเผาสรีระสังขารหลวงปู่หลุย ก็พบว่ายังมีเศษ อัฐิหลวงปู่หลุยอยู่จำนวนหนึ่ง จึงได้นำอัฐิทั้งหมดออกมารวม ๆ กันไว้ แล้วแบ่งไปที่วัดถ้ำผาบิ้งจำนวนหนึ่ง ซึ่งต่อมาวัดถ้ำผาบิ้งได้สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิ และเครื่องบริขารหลวงปู่หลุย ไว้ที่แห่งนี้ด้วย

    และครั้งปี พ.ศ.๒๕๕๕ หลวงปู่สำลี ได้เล็งเห็นว่าวัดถ้ำคูหาวารีแห่งนี้ ก็เป็นวัดแห่งหนึ่งขององค์หลวงปู่หลุยที่เคยมาสร้างมาบุกเบิกไว้ และส่วนหนึ่งท่านก็มีความเคารพนับถือหลวงปู่หลุย ผู้เป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์ของท่านอยู่แล้ว อีกอย่างจะได้ทำที่บรรจุอัฐิหลวงปู่หลุยให้ดูเหมาะดูสม ท่านจึงดำริสร้างเจดีย์ เพื่อประดิษฐานอัฐิหลวงปู่หลุยให้เป็นที่กราบไหว้บูชา ของศรัทธาญาติโยมพุทธศาสนิกชน และเป็นอนุสรณ์ธรรมคู่พระพุทธศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า ท่านจึงสร้างเจดีย์ “จันทสาโรนุสรณ์” ขึ้นมา ณ วัดถ้ำคูหาวารี โดยเริ่มวางรากฐานการก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๖ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๖๑) ซึ่งก็ดำเนินการไปแล้วกว่า ๘๐% เหลือตบแต่งภายในและทาสีภายนอกบางส่วน

    8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B8%88.%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%A2.jpg
    เจดีย์ จันทสาโรนุสรณ์ ณ วัดถ้ำคูหาวารี จ.เลย
    ซึ่งรูปทรงของเจดีย์จะมีลักษณ์คล้าย ๆ กับพระธาตุพนม แต่จะเล็กกว่าโดยมีความสูงจากพื้นถึงยอดฉัตรประมาณ ๓๕ เมตร โดยรอบทำเป็นศาลาเพื่อไว้ทำศาสนกิจ และเป็นที่ปฎิบัติธรรม หรือไว้จัดงานครบรอบสำคัญๆต่างๆของวัดแล้วแต่โอกาสอันสมควร ภายในเจดีย์จะมีฐานที่ประดิษฐานรูปหล่อโลหะเท่าองค์จริง หลวงปู่หลุย จันทสาโร และที่บรรจุอัฐิธาตุหลวงปู่หลุย และพระบรมสารีริกธาตุภายในเจดีย์อีกด้วย

    %B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5.jpg
    เจดีย์ จันทสาโรนุสรณ์ ณ วัดถ้ำคูหาวารี จ.เลย
    ◎ ด้านวัตถุมงคล
    เดิมทีแต่ไหนแต่ไรมา หลวงปู่สำลีท่านจะไม่มีการอนุญาตให้สร้างวัตถุมงคลใดๆในนามของท่านเลย ส่วนใหญ่แล้ววัตถุมงคลที่ท่านอธิษฐานจิต มักจะเป็นรูปลักษณ์พระพุทธ หรือ รูปลักษณ์หลวงปู่มั่น หลวงปู่หลุยเป็นส่วนใหญ่ แต่นับแต่ท่านเริ่มสร้างเจดีย์มาท่านก็เริ่มอนุญาตให้มีการจัดสร้างวัตถุมงคลในนามของท่าน โดยเห็นว่ามีลูกศิษย์ลูกหาที่มาช่วยงานสร้างเจดีย์กับวัดมากขึ้น และ ส่วนใหญ่ก็มีจิตศรัทธาในตัวหลวงปู่สำลี ดังเดิมอยู่แล้วท่านจึงอนุญาต ให้คณะลูกศิษย์หลาย ๆ สาย ทำวัตถุมงคลในนามท่านได้ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ แก่คณะศรัทธาที่มาช่วยงาน

    ซึ่งนับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๒ เรื่อยมาก็มีวัตถุมงคลในนามหลวงปู่สำลี ออกมาหลายรุ่นทั้งเป็นทางการ และไม่เป็นทางการโดยกลุ่มคณะลูกศิษย์หลายสาย แต่ท่านก็มีเมตตาอธิษฐานจิตให้เหมือนกันทุกรุ่น และให้ความเมตตากับลูกศิษย์ทุกกลุ่ม ทุกคนไม่มีเลือกชน ชั้นวรรณะ รวย หรือ จน ท่านให้ความเมตตาเสมอกันตลอดมา SAM_9325.JPG SAM_9326.JPG SAM_9327.JPG SAM_8108.JPG
     
  13. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,960
    ค่าพลัง:
    +6,556
    ชอจองครับ
     
  14. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 823 พระผงใบโพธิ์พระพุทธสารเถรหลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน พระอรหันต์เจ้าวัดอโศการาม อ.เมือง สมุทรปราการ หลวงปู่บุญกู้เป็นศิษย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม องค์พระสร้างปี 2562 สร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 90 ปี มาพร้อมกล่องเดิม มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ********บูชาที่ 185 บาทฟรีส่งemslส
    ประวัติและปฏิปทา
    พระครูพุทธิสารสุนทร (หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน)

    วัดอโศการาม
    อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

    8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1-1-683x1024.jpg
    พระครูพุทธิสารสุนทร (หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน)
    วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
    ◎ ชาติสุกล
    พระครูพุทธิสารสุนทร หรือ หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ผู้สืบทอดมรดกธรรม และลูกศิษย์องค์สำคัญชั้นผู้ใหญ่ของท่านพ่อลี ธัมมธโร แห่งวัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ

    หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน นามเดิมท่านชื่อ บุญกู้ นามสกุล น้อยวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๗๒ ปีมะเส็ง ณ บ้านเลขที่ ๑๙๓ ถนนธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

    ◎ การศึกษาทางธรรม
    หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ท่านศึกษาเล่าเรียนหลักพระธรรมวินัย หลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เอาใจใส่ในการศึกษา จนสามารถสอบได้นักธรรมชั้นโท

    ◎ การศึกษาทางโลก
    หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ท่านจบชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนอัสสัมชัญ
    จบชั้นอุดมศึกษา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
    ครั้นจบจากการศึกษาแล้ว ท่านเข้ารับราชการ รับใช้ชาติบ้านเมืองในกรมตำรวจอยู่ระยะหนึ่ง และมียศเป็นว่าที่ร้อยตรี

    ◎ การอุปสมบท
    หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ท่านเข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุในทางพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมาวัดอโศการาม ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๒ โดยมี พระสุธรรมคณาภรณ์ (พระอาจารย์แดง ธัมมรักขิตฺโต) วัดประชานิยม จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธัมมธโร) วัดอโศการาม เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอุปัชฌาย์ขนานนามฉายาให้ว่า “อนุวัฑฒโน”

    ครั้นบวชแล้วท่านได้อยู่ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติกับท่านพ่อลี ธัมมธโร ผู้เป็นบุรพาจารย์ อยู่อุปัฏฐากรับใช้ ปฏิบัติธรรม ศึกษาพระธรรมวินัย รวมทั้งหลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา จนมีความรู้ความสามารถแตกฉานในหลักธรรม นำไปประยุกต์ใช้ได้ทุกกาลสมัย

    หลังจากที่ท่านลี ธัมมธโร มรณภาพลงเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ท่านอยู่ช่วยงานศพจนเป็นที่เรียบร้อย แล้วก็กราบลาครูบาอาจารย์ ออกเดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปตามสถานที่ต่างๆ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ เดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อหาความสงบวิเวกในการบำเพ็ญสมณธรรม เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ซึ่งสมัยก่อนนั้นป่าเขาตามเขตภาคต่างๆ ของประเทศไทย ยังคงความอุดมสมบูรณ์หนาแน่นเขียวขจีจากป่าไม้นานาพันธุ์ สัตว์ป่านานาชนิด มีช้าง เสือ เป็นต้น การเดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมเป็นไปด้วยความยากลำบาก มีอันตรายนานัปการ ไม่ค่อยมีรถโดยสารสัญจรอย่างปัจจุบันสมัย เดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมฝึกความกล้าหาญ ฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง ต่อสู้กับกิเลสภายใจ

    หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ท่านได้ไปศึกษา และปฏิบัติธรรมกับครูบาอาจารย์พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อาทิเช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร , หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ , หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี , หลวงพ่อสิงห์ทอง ธัมมวโร วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เป็นต้น รวมเวลาที่องค์ท่านไปศึกษา และปฏิบัติธรรมกับครูบาอาจารย์พระป่ากรรมฐานตามภาคต่างๆ เป็นเวลา ๑๓ พรรษา พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า

    “ภิกษุอยู่รูปเดียวย่อมเป็นเหมือนพรหม ผู้อยู่สองรูปเป็นเหมือนเทพเจ้า ผู้อยู่มากกว่าสามองค์ขึ้นไปเป็นเหมือนชาวบ้าน ย่อมมีความโกลาหลมากขึ้น เพราะฉะนั้นภิกษุพึงเป็นผู้อยู่แต่ผู้เดียว” (ยโสธเถรคาถา ๓๖/๓๐๓)

    หลังจากที่หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ไปศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ จากครูบาอาจารย์พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ตามที่ต่างๆ แล้ว ท่านกลับมาพำนักจำพรรษาประจำ ที่วัดอโศการาม ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จ.สมุทรปราการ เพื่ออบรมศีลธรรม อบรมสมาธิภาวนาแก่พระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ผู้ใฝ่ธรรมทั้งหลาย รวมทั้งได้รับอาราธนาไปแสดงพระธรรมเทศนาตามหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยต่างๆ ชั้นนำ ทั่วทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ ต่อมาท่านรับอาราธนาไปเป็นพระธรรมทูตในต่างประเทศ จำพรรษา ณ วัดต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา ๔ พรรษา สอนกรรมฐาน อบรมจิตภาวนาแก่พุทธศาสนิกชนผู้ใฝ่ธรรมทั่วไป ทั้งชาวไทยและต่างชาติ รวมทั้งรับอาราธนาไปเยี่ยมวัดในต่างประเทศหลายแห่ง เช่น ประเทศออสเตรเลีย เยอรมันนี ฝรั่งเศส, สวีเดน, เดนมาร์ก, จีน , ใต้หวัน และ เกาหลีใต้ เป็นต้น

    จึงสมดังพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในจิตตคฤหบดีว่า
    สทฺโธ สีเลน สมฺปนฺโน ยโสโภคสมปฺปิโต
    ยํ ยํ ปเทสํ ภชติ ตตฺถ ตตฺเถว ปูชิโต
    ผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล เพียบพร้อมด้วยยศและโภคะ จะไปประเทศใดๆ ย่อมเป็นผู้อันเขาบูชาแล้ว ในประเทศนั้นๆ ทีเดียว (จิตตคฤหบดี ๒๒๐/๑๘๐)

    ◎ รับอาราธนาสอนกรรมฐาน
    ต่อมาทางวัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ไม่มีครูบาอาจารย์ผู้อบรมกรรมฐาน จึงได้ไปอาราธนาหลวงพ่อบุญกู้ อนุวัฑฒโน จาก วัดอโศการาม มาพำนักจำพรรษาประจำอยู่ที่วัดพระศรีมหาธาตุแห่งนี้ เพื่ออบรมศีลธรรม อบรมจิตภาวนากรรมฐาน แก่พระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ผู้สนใจใฝ่ธรรมทั่วไป โดยหลวงปู่บุญกู้ เมตตาเล่าว่า

    “การที่มาอยู่วัดพระศรีมหาธาตุนี้ ก็เห็นประโยชน์กับหมู่คณะพระเณร และญาติโยมที่สนใจอยากจะปฏิบัติธรรม เพราะไม่มีครูบาอาจารย์จะคอยแนะนำสั่งสอนเรื่องจิตภาวนา อีกอย่างเราก็ทำตามท่านพ่อลี ที่ท่านอยากจะให้พระป่ากรรมฐานมาอยู่ประจำที่วัดในเมืองหลวงบ้าง เพื่อคอยแนะนำสั่งสอนอบรมจิตภาวนา เช่นอย่างแต่ก่อน ท่านพ่อลี องค์ท่านจะเข้ามาอบรมกรรมฐานเป็นประจำ อยู่ที่วัดบรมนิวาส รวมทั้งวัดพระศรีมหาธาตุแห่งนี้”

    หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ กรอปด้วยศีลและธรรม มีศีลาจาริยวัตรที่งดงาม เป็นเนื้อนาบุญอันยิ่งใหญ่ ควรแก่การเชิดชูกราบไหว้ และสักการะบูชา เป็นพระมหาเถระผู้มีเมตตาจิตสูง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อหมู่คณะพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา อย่างไม่เลือกชั้นวรรณะ ท่านเสียสละตนเอง เพียรเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมส่วนรวม โปรยปรายสายธรรมให้ชุ่มฉ่ำจิตใจแก่มวลสาธุชนทั้งหลายทั่วไปทุกสารทิศ
    พระผู้ทรงเป็นครูผู้ประเสริฐ
    พระผู้ทรงเป็นเลิศเชิดบูชา
    พระผู้ทรงพลังจิตมีเมตตา
    พระผู้ทรงสร้างศรัทธาแก่มวลสาธุชน
    โปรยปรายสายฝนธรรมให้ชุ่มฉ่ำจิต
    ทั่วทุกสารทิศ จารึกบูชาไว้ให้ลูกหลาน
    สืบทอดมรดกธรรมกรรมฐานเป็นตำนาน
    ผู้คนกล่าวขาน พระครูพุทธิสารสุนทร

    ◎ โอวาทธรรมคำสอน พระพุทธิสารเถร (หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน)

    “..ไม่ว่าจะสูญเสียอะไรไป
    ถ้าจิตใจดีขึ้น จัดว่าเป็นกำไร
    และไม่ว่าจะได้อะไรมา
    ถ้าจิตใจเลวลง ถือว่าเป็นการขาดทุน..”

    “..ความปลอดภัยนั้น มิใช่อยู่ที่คำอวยพร แต่อยู่ที่การสังวรระวัง..”

    “..โคลนเกิดจากน้ำ
    น้ำนั่นแหละใช้ล้างโคลนได้
    ทุกข์เกิดจากใจ
    ก็ใช้ใจนั่นแหละล้างทุกข์..”

    “..มีพระเครื่องแขวนคอก็ดี
    แต่ก็มีพระรัตนตรัยแขวนที่ใจไว้ด้วย..”

    “..ยอดไม้ เป็นส่วนที่อ่อนของต้นไม้ แต่อยู่ยอด
    โคนไม้ เป็นส่วนที่แข็งของต้นไม้ แต่ก็อยู่แค่โคน
    ฉะนั้นใครอยากเป็นคนชั้นยอด ต้องเป็นคนอ่อนน้อม
    อ่อนน้อมทางกาย อ่อนหวานทางวาจา และอ่อนโยนทางจิตใจ..”

    “..คนเราที่จะอยู่ในโลกได้โดยความผาสุก นอกจากอาศัยความรอบรู้ในวิชาการ ในวิชาชีพต่างๆ และฐานะทางการเงินที่พอมีพอใช้แล้ว ปัจจัยอันสำคัญอีกอันหนึ่งก็คือ การรู้จักเอาชนะอารมณ์ของตนเองได้

    การชนะอารมณ์ทางพระพุทธศาสนาจึงหมายถึง การรู้จักเอาชนะเครื่องเราหรือสิ่งแวดล้อมทางรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และเรื่องราวต่างๆ ที่ใจนึกขึ้นมา

    คนที่ตกเป็นทาสของอารมณ์ คือคนที่เห็นแก่ตัว หรือคนที่ยังโง่ต่อจิตใจของตน..”

    %B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1.jpg
    พระครูพุทธิสารสุนทร (หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน) วัดอโศการาม
    ปัจจุบัน พระพุทธิสารเถร (หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน) ท่านจำพรรษา ณ วัดอโสการาม ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๙๑ ปี (พ.ศ.๒๕๖๓) SAM_9320.JPG SAM_9321.JPG SAM_9324.JPG SAM_7605.JPG
     
  15. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,960
    ค่าพลัง:
    +6,556
    ขอจองรายการนี้ครับ
     
  16. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 824 เหรียญเจ้าสัวรุ่นพิเศษ+พระผงนั่งเต็มองค์มีฝังเกศาใต้องค์พระหลวงปู่ญาท่าน ฉันทโร วัดนาอุดม จ.อุบลราชธานี หลวงปู่สวนเป็นศิษย์สำเร็จลุนพระเถระจากฝั่งลาว เหรียญสร้างปี 2545 พระผงสร้างปี 2548 เนื้อว่าน มีเห็นเกศาฝังโผล่ใต้องค์พระ 1 เส้น มีเกศาหลวงปู่มาบูชาเพิ่มประมาณซองนี้ครับ(มีน้อยก็เเบ่งกันมาบูชา) *********บูชาที่ 450 บาทฟรีส่งems
    หลวงปู่สวน (ญาท่านสวน ฉันทโร) วัดนาอุดม อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี
    ประวัติ หลวงปู่สวน (ญาท่านสวน ฉันทโร) วัดนาอุดม อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี

    MO50-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99.jpg
    ญาท่านสวน ฉันทโร วัดนาอุดม
    เกจิผู้เปี่ยมเมตตา สุดยอดวิชาตะกรุด ท่านเป็นศิษย์สายสำเร็จลุน หรือหลวงปู่สมเด็จลุน แห่งนครจำปาสัก สปป.ลาว และญาท่านกรรมฐานแพง ๒ ปรมาจารย์ผู้มีพลังจิตอันลึกล้า มีอิทธิปาฏิหาริย์มากมาย เป็นที่เลื่องลือแห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือแถบลุ่มแม่น้ำโขงในอดีต

    หลวงปู่ญาท่านสวน ท่าน มีนามเดิมว่า “สวน แสงเขียว” เกิดเมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๔๕๓ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีจอ ที่บ้านนาทม ตำบลคำหว้า อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ “คูณ” เป็นชาวบ้านสำโรง ส่วนมารดาชื่อ “ผุย” เป็น ชาวบ้านนาทม ประกอบอาชีพทำนา มีพี่น้องท้องเดียวกันรวม ๘ คน ชีวิตตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยรุ่นเป็นผู้ที่ มีจิตใจสุขุมเยือกเย็น มีใจโอบอ้อมอารีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนฝูง และมีจิตศรัทธาเลื่อมใสใน พระพุทธศาสนามากกว่าคนรุ่นราวคราวเดียวกัน เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีได้ขอบิดามารดาเข้าอุปสมบทที่ วัดนาอุดม (บ้านนาทม) อำเภอตาลสุม เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๗๓ โดยมีเจ้าอธิการพรหมมา วัดบ้านระเว ตำบลทรายมูล (ปัจจุบัน ตำบลระเว) อำเภอพิบูลมังสาหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระดี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระบัวเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ฉนฺทโร” เมื่อ อุปสมบทแล้วได้เรียน สวดมนต์และปาติโมกข์อยู่ในสำนักของเจ้าอธิการสวน เจ้าอาวาสวัดนาอุดมในขณะนั้น อยู่ประมาณ ๓ ปี จึงย้ายไปศึกษาต่อเพิ่มเติมที่วัดบ้านนาหว้า อำเภอตาลสุม เป็นเวลา ๓ เดือน แล้วไปเรียนต่อที่วัดบ้านสำโรง ใหญ่ ตำบลสำโรง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของโยมบิดา ขณะนั้นมีอาจารย์หม่อน แสงเขียว เป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘


    ต่อ มาปี พ.ศ.๒๔๘๐ อาจารย์หม่อนได้อาพาธด้วยโรคเหน็บชาและมรณภาพลง พระแก้ว ธมฺมฐิติ ได้รับการแต่งตั้งให้ปกครองวัดสืบแทนเพราะมีอาวุโสที่สุด ในช่วงนั้นหลวงปู่สวนได้ช่วยเหลือพระแก้ว พัฒนาวัด สร้างศาลาการเปรียญขึ้น แต่ยังไม่สำเร็จพระแก้วได้ลาสิกขาเสียก่อน ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งให้ เป็นเจ้าอาวาสวัดสำโรงใหญ่แทน และได้สร้างศาลาจนเสร็จลุล่วง ในปี พ.ศ.๒๕๑๗ ท่านได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์สัญญาบัตรพัดยศที่ พระครูอาทรพัฒนคุณ” ปี พ.ศ.๒๕๒๕ เลื่อนสมณศักดิ์จากเจ้า คณะตำบลชั้นตรี เป็นชั้นโท ในราชทินนามเดิม ในด้านพระเวทวิทยาคมนั้นได้รำเรียนมาจากสำเร็จลุน หรือสมเด็จลุน และญาท่านกรรมฐานแพง อดีตเกจิอาจารย์จอมขมังเวทย์แห่งลุ่มน้ำโขง

    โดยท่านได้มองการณ์ไกลไป ข้างหน้าว่าพระเวทวิทยาคมที่ท่านศึกษาอยู่นี้จะเป็นประโยชน์มากแก่การทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา และจะได้ช่วยเหลือสงเคราะห์ญาติโยมและผู้เดือดร้อนในอนาคต ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ท่านมีความขยันหมั่นเพียรศึกษาทางด้านการเจริญสมาธิเพิ่มพูนพลังจิต ควบคู่กับการเรียนวิชาอาคมต่างๆ ส่งผลให้ท่าน มีความจำแม่นยำเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว มีการทดสอบจากผู้เป็นอาจารย์จนเป็นที่พอใจ โดยเฉพาะญาท่าน กรรมฐานแพง ได้มีเมตตาถ่ายทอดสุดยอดวิชาและเคล็ดลับต่างๆ ให้ท่านจนหมดสิ้น ทั้ง นี้ วิชาที่ท่านได้ศึกษากับ ๒ ปรมาจารย์ดังคือ การสร้างเครื่องรางของขลังต่างๆ เช่น การลงตะกรุด เท่าที่รวบรวมได้มีดังนี้ ตะกรุด ๕ กษัตริย์ มีผลทางมหาอุด แคล้วคลาด คงกระพัน, ตะกรุดสายรกพระพุทธเจ้า, ตะกรุดโทน, ตะกรุด กับระเบิด, ตะกรุดอุปคุต, ตะกรุดสาลิกาตอมเหว่ เป็นสุดยอดของตะกรุดเมตตา, ตะกรุดไก่ขึ้นรถลงรา (มีผลทางด้านเมตตาค้าขายดีนักแล) ตะกรุดเข้าตา ทำจากเงินปากผีเผาวันอังคาร ใส่เข้าใต้เปลือกตาได้เพราะมีขนาดเล็กมาก, ตะกรุดคลอดลูกง่าย นอกจากนี้ ยังมีวิชาการทำผ้ายันต์ เสื้อยันต์ การสร้างลูกปะคำโทน (ลูกอม) สร้างรูปนางกวัก, ปลัดขิก, ราหูอมจันทร์, สีผึ้งมหาเสน่ห์, วิชาการเรียกสูตรลบผงอิทธิเจ ผงปถมัง และผงวิเศษอื่นๆ ,การทำนำพระพุทธมนต์ซึ่งมีเคล็ดลับพิสดารมากมาย, วิชาหมากินใจ (หมากินความคิด) เป็นสุดยอดแห่งวิชาเมตตาอีกวิชาหนึ่ง และอีกหนึ่งวิชานั่นคือ “การฝังเข็มดำ” ซึ่งเป็นวิชาสุดยอด ทางด้านคงกระพัน ป้องกันศาสตราวุธต่างๆ ซึ่งน้อยคนนักที่จะมีวาสนาได้เรียนและเรียนได้สำเร็จ

    หลวงปู่สวน เป็นพระเถระผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาบารมี บุคลิกลักษณะของท่านน่าเลื่อมใสศรัทธา ใบหน้าเอิบอิ่มยิ้มแย้ม ใครมีทุกข์มาหาจะไม่เคยปฏิเสธ และไม่เลือกชนชั้นวรรณะ อีกทั้งยึดมั่นเคารพใน พระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด มีศีลจารวัตรงดงาม ชอบบำเพ็ญกุศล ทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม SAM_9328.JPG SAM_9329.JPG SAM_9330.JPG SAM_9331.JPG SAM_9332.JPG SAM_9333.JPG SAM_9334.JPG
     
  17. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  18. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 825 ล็อกเก็ตพระนวสิริสันติมงคล สร้างขึ้นแด่ผู้ร่วมทำบุญสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์พระธาตุบูรพาจารย์ วัดสันติธรรม ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เพื่อเป็นเครื่องรำลึกถึงครูบาอาจารย์ ผู้เป็นบูรพาจารย์ของวัดสันติธรรม เคยได้มาพักหรือจำพรรษา ณ วัดสันติธรรม ได้แก่ 1. หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร 2. หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย 3. หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย 4. หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู 5, หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ 6, หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดอรัญญวิเวก จ.นครพนม 7, หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ 8, หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต จ.หนองคาย 9, หลวงพ่อมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต วัดสันติธรรม จ.เชียงใหม่
    .....ด้านหลังของล็อกเก็ตบรรจุมวลสารศักดิ์สิทธิ์ ดังนี้

    1, ขี้ผึ้งเทียนชัย งานพุทธาภิเษกพระสีวลีมหาลาภ วัดสันติธรรมรุ่น ๑ ปี ๒๕๕๐ ,
    งานพุทธาภิเษกพระสีวลีมหาลาภ วัดสันติธรรมรุ่น ๒ ปี ๒๕๕๑ ,
    งานเถราภิเษกรูปเหมือนหลวงพ่อประสิทธิ์ วัดสันติธรรม ปี ๒๕๕๒

    2, ผงพระธาตุพระอรหันต์ จากถ้ำเชียงดาว จ.เชียงใหม่
    3, อิฐยอดเจดีย์และใบพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พุทธคยา
    ประเทศอินเดีย , ดินและอิฐจากสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ประเทศอินเดีย

    4, ผงพระเก่า พระปางเปิดโลกจากอินเดีย, พระนางพญาจากอินเดีย,
    พระอัฏฐารสวัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่,พระปิดตาจัมโบ้หลวงปู่โต๊ะ,
    พระปิดตามหาลาภ วัดถ้ำเหง้า แม่ฮ่องสอน, พระผงหลวงพ่อเกษม เขมโก,
    พระผงหลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต, พระสมเด็จหลวงปู่ชอบ ฐานสโม,
    ธรรมจักรอธิษฐานจิตของหลวงปู่สังข์ สงฺกิจฺโจ

    5, ผงไม้กุฏิหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต วัดป่าภูริทัตตถิราวาส จ.สกลนคร
    6, ผงอังคารหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย,
    ผงอังคารหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดอรัญญวิเวก จ.นครพนม,
    ผงอังคารหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่,
    ผงอังคารหลวงปู่พุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา,
    ผงอังคารหลวงปู่ชื้น พุทธสโร วัดญาณเสน จ.พระนครศรีอยุธยา
    ผงอังคารหลวงพ่อมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต วัดสันติธรรม จ.เชียงใหม่

    7, ผ้าเพดานเมรุพระราชทานเพลิงศพ หลวงพ่อมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต วัดสันติธรรม จ.เชียงใหม่
    8, ข้าวก้นบาตรหลวงปู่ครูบาดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ่อน,
    ข้าวก้นบาตรหลวงปู่ครูบาจันทร์แก้ว คนฺธสีโล วัดศรีสว่าง จ.เชียงใหม่

    9, สายสิญจน์, ข้าวตอก, ดอกไม้, ถั่ว, งา ที่พระเถระโปรยในงานเถราภิเษก รูปเหมือนหลวงพ่อประสิทธิ์ ปี ๒๕๕๒
    10, แร่กินบ่เสี้ยง
    11, ข้าวสารหิน
    12, หินพญานาค
    13, ไม้สักกลายเป็นหิน
    14, หินอุกกมณี
    15, ผงว่านมงคลร้อยแปด
    16, ตะกรุดพุทธคุณจารและอธิษฐานจิตโดย พระอาจารย์บุญอุ้ม อาภัสสโร วัดป่าโนนแพง อ.บ้านแพง จ.นครพนม เป็นเวลา ๓ คืน ล็อกเก็ตรุ่นนี้อฐิษฐานจิตโดยหลวงปู่ประสิทธิ์ บุญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่,หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ วัดป่าพระอาจารย์ตื้อ,หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญวิเวก,หลวงปู่อุดม ญาณรโต วัดป่าสถิตย์ธรรมวนาราม เป็นต้น องค์นี้สวยไม่มี พระธาตุเยอะ ถอดจากคอครับ มีเกศารวมพระอรหันต์มาบูชาด้วยครับ เช่น เกศาหลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน,หลวงปู่หลอด ปโมฑิโต วัดใหม่เสนานิคม,หลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร,หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถํ้ากลองเพล,หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ วัดเลยหลง,หลวงปู่แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร,หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราราม,หลวงปู่เนย สมจิตโต วัดป่าโนนแสนคำ,หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป่าสีห์พนม,หลวงปู่พัน ฐิตธัมโม วัดป่าบ้านนํ้าภู จ.เลย,หลวงปู่มหาโส กัสสโป วัดป่าคำเเคนเหนือ,หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท วัดป่าดงหวาย,หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญวิเวก,หลวงปู่เสน ปัญญาธโร วัดป่าหนองเเซง,หลวงปู่รินทร์ สันตมโน,หลวงปู่เคน เขมาสโย วัดป่าหนองหว้า,คุณเเม่ชีบุญฮู้ พรหมเทพ วัดป่าภูกระเเต เป็นต้น **********บูชาที่ 1,150 บาทฟรีส่งems(พื้นที่ 1500 ขึ้นครับสวยอย่างนี้) SAM_9278.JPG SAM_9282.JPG SAM_7700.JPG
     
  19. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 826 พระบูชาติดหน้ารถขนาดสูง 7 เซนติเมตรหน้าตักกว้าง 5 เซนติเมตรหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระอรหันตืเจ้าวัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ หลวงปู่ดุลย์เป็นศิษย์ผู้ใหญ่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สร้างปี 2549 เนื้อโละหะระฆังเก่า มีพระเกศารวมพระอรหันต์สายหลวงปู่มั่นมาบูชาด้วยครับ เช่น เกศาหลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน,หลวงปู่หลอด ปโมฑิโต วัดใหม่เสนานิคม,หลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร,หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถํ้ากลองเพล,หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ วัดเลยหลง,หลวงปู่แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร,หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราราม,หลวงปู่เนย สมจิตโต วัดป่าโนนแสนคำ,หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป่าสีห์พนม,หลวงปู่พัน ฐิตธัมโม วัดป่าบ้านนํ้าภู จ.เลย,หลวงปู่มหาโส กัสสโป วัดป่าคำเเคนเหนือ,หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท วัดป่าดงหวาย,หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญวิเวก,หลวงปู่เสน ปัญญาธโร วัดป่าหนองเเซง,หลวงปู่รินทร์ สันตมโน,หลวงปู่เคน เขมาสโย วัดป่าหนองหว้า,คุณเเม่ชีบุญฮู้ พรหมเทพ วัดป่าภูกระเเต เป็นต้น ********บูชาที่ 690 บาทฟรีส่งems(องค์นี้ออกจากวัดก็ 1000 บาทครับ)
    พระราชวุฒาจารย์
    (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

    วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

    "พระอริยเจ้าผู้มีความเป็นเลิศในการสอนธรรม"

    1.png


    พระเดชพระคุณหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระสุปฏิปันโนผู้มีโวหารธรรมอันแหลมคม เป็นเหมือนพี่ชายใหญ่ในสายกรรมฐานของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทฺตโต ท่านเป็นสหธรรมิกกับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม

    ท่านเป็นผู้มีอุปนิสัยเยือกเย็น พูดแต่น้อย รักความสงบเป็นนิตย์ จิตใจใฝ่ในความวิเวกมาก จะเห็นได้ว่าท่านชอบสวดมนต์บท "อรญฺเญ รุกฺขมูเล วา สุญฺญาคาเร วา ภิกฺขโว..." แปลความว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงยินดีการอยู่อาศัยในป่า ในโคนไม้ หรือว่าในเรือนว่าง..." เมื่อหวงปู่ดุลย์นำข้อธรรมที่รู้เห็นไปกราบเรียน ท่านพระอาจารย์มั่นได้กล่าวยกย่องว่า "ถูกต้องดีแล้ว เอาตัวรอดได้แล้ว นับว่าไม่ถอยหลังอีกแล้ว ขอให้ดำเนินตามปฏิปทานี้ต่อไป" และท่านพระอาจารย์มั่นได้กล่าวสรรเสริญให้ปรากฏต่อศิษย์ทั้งหลายว่า "ท่านดูลย์...นี้เป็นผู้มีความสามารถอย่างยิ่ง สามารถมีสานุศิษย์และผู้ติดตามมาประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก"

    ท่านเกิดเมื่อวันอังคารที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ ตรงกับวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีชวด ณ บ้านปราสาท ตำบลเฉนียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เป็นบุตรของนายแดง และนางเงิน ดีมาก

    ปีพุทธศักราช ๒๔๕๓ อายุ ๒๒ ปี อุปสมบทฝ่ายพระมหานิกาย ณ พัทธสีมา วัดจุมพลสุทธาวาส จังหวัดสุรินทร์ โดยมีพระครูวิมลศีลพรต (ทอง) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูบึก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูฤทธิ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    เมื่อบวชแล้ว ได้ฝึกกรรมฐานกับพระอาจารย์ โดยจุดเทียนขึ้น ๕ เล่ม แล้วนั่งบริกรรมว่า "ขอเชิญปีติทั้ง ๕ จงมาหาเรา" ท่านเพียรอยู่ตลอดแต่ไม่ปรากฏผลอันใดเลย

    วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ เมื่อท่านอายุ ๓๐ ปี ได้เข้าญัตติเป็นคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต ณ วัดสุทัศนาราม จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระมหารัฐ รฏฺฐปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์ พระศาสนดิลก เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    2.png

    รูปเหมือนหลวงปู่ดูลย์ อตุโล


    ครั้นออกพรรษาแรก ท่านกับพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้พากันไปฟังธรรมเทศนาจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง ซาบซึ้งถึงใจในคำพูดของท่านพระอาจารย์มั่น แต่ละคำมีวินัยแปลกดี ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน จึงเพิ่มความสนใจ ใคร่ประพฤติปฏิบัติทางธุดงค์กัมมัฏฐานมากยิ่งขึ้นทุกที

    ครั้นออกพรรษาแล้วท่านได้ติดตามท่านพระอาจารย์มั่นออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ปรารภความเพียรอย่างอุกฤษฏ์แรงกล้าจนแสงแห่งพระธรรมบังเกิดขึ้น

    ปีพุทธศักราช ๒๔๖๓ ได้ออกธุดงค์ตามหาท่านพระอาจารย์มั่นไปจนถึงบ้านม่วงไข่ ได้แวะที่วัดโพธิ์ชัย พบท่านอาญาคูดี พระอาจารย์กู่ และพระอาจารย์ฝั้น ได้ออกธุดงค์ติดตามจนพบท่านพระอาจารย์มั่น ที่บ้านตาลโกน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

    3.png

    อัฐิธาตุหลวงปู่ดูลย์ อตุโล



    4.png 5.png

    อัฐิธาตุและพระธาตุหลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    ท่านละสังขารเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพานเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ที่วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

    สิริอายุ ๙๕ ปี ๖๕ พรรษา SAM_9335.JPG SAM_9336.JPG SAM_9337.JPG SAM_9338.JPG SAM_9339.JPG SAM_9340.JPG SAM_9342.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2021
  20. Higtmax

    Higtmax เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    2,333
    ค่าพลัง:
    +4,793
    บูชาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...