มีวัตถุมงคลสายพระป่ากรรมฐานให้บูชาราคาเบาๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Somchai 2510, 8 กันยายน 2019.

  1. sunmk

    sunmk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2020
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +926
    จอง 673
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2021
  2. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,905
    ค่าพลัง:
    +6,826
    เรียนคุณสมชายครับ
    รบกวนเช็คข้อความในinboxด้วยครับ
     
  3. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    กลับมาเเล้วครับผม ต้องขอโทษเป็นอย่างสูงครับ พอดีผมป่วยมากช็อกนํ้าตาลขึ้นสูง ช็อกจนล้มลงกับพื้นเลยครับ ขาชามือชาไปหมด ไปรักษาตัวกับหลวงปู่รินทร์ที่วัดอยู่ในป่า ประกอบกลับมาโน๊ตบุ้ค เสียอีกครับข้อมูลในคอมหายหมด เเต่ของวัตถุมงคลของทุกท่านที่จองไว้ก็ยังอยู่ที่ผมทุกคนครับ ผมต้องขออภัยเป็นอย่างสูงครับ ขอบคุณครับ
     
  4. ธรรมาวุธ

    ธรรมาวุธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    364
    ค่าพลัง:
    +395
    ขอคุณพระคุ้มครองให้แข็งแรงไวๆนะครับ ผมยังยืนยันการจองรายการ 754และ 755 เหมือนเดิมครับ
     
  5. SIR2010

    SIR2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,957
    ค่าพลัง:
    +5,662
    บุญรักษาครับ
     
  6. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125

    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่สูนย์ จันทวัณโณ

    วัดป่าอิสระธรรม
    ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร

    %A2%E0%B9%8C-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B9%82%E0%B8%93-0.jpg
    พระครูธรรมคุณาธร หลวงปู่สูนย์ จันทวัณโณ วัดป่าอิสระธรรม
    รายการที่ 7 ล็อกเก็ตจัมโบ้หลวงปู่ศูนย์ จันทวัณโณ พระอรหันต์เจ้าวัดป่าอืสระธรรม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ >>>>>>บูชาที่ 945 บาทฟรีส่ง(องค์นี้่จัมโบ้มีเม็ดโลหิตธาตุด้านหลังตะกรุด มีรอยจารย์ด้้วยครับ)
    อัตโนประวัติ
    “พระครูธรรมคุณาธร” หรือ “หลวงปู่สูนย์ จันทวัณโณ” มีนามเดิมว่า สูนย์ ไตรธรรม
    เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๙ ตรงกับวันอังคาร ณ บ้านวาใหญ่ หมู่ที่ ๒ ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร

    โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายโท และ นางวันดี ไตรธรรม มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๕ คน คือ
    ๑. นางสุกัน ไตรธรรม
    ๒. นางสันแก้ว ไตรธรรม
    ๓. นางสิงห์ ไตรธรรม
    ๔. สูนย์ ไตรธรรม พระครูธรรมะคุณาทร (หลวงปู่สูนย์ จันทวัณโณ)
    ๕. นางบาลี ไตรธรรม

    การศึกษา
    ในปี พ.ศ.๒๔๙๒ สอบไล่ได้ ชั้นประถมการศึกษาที่ ๔ ครอบครัวประกอบอาชีพทำนาทำไร่ เมื่อเรียนจบภาคบังคับ ท่านก็ออกมาช่วยบิดาและมารดา ทำนา ทำไร่ ตามวิถีชีวิตชาวชนบทอีสาน

    การบรรพชาและอุปสมบท
    ครั้นอายุได้ ๒๑ ปี ท่านได้เข้าพิธีบรรพชาและอุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๑ ณ วัดอิสสรธรรม. ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร โดยมี
    พระอุปัชฌาย์สีลา อิสสโร . วัดอิสสรธรรม. ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระทองสี โชติธัมโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระวินิต ธัมมวาที เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    การศึกษาทางเพศบรรพชิต
    พ.ศ.๒๕๐๒ สอบนักธรรมตรีได้ ในสำนัก วัดอุดมรัตนาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
    พ.ศ.๒๕๐๓ สอบนักธรรมโทได้ ในสำนัก วัดอุดมรัตนาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
    พ.ศ.๒๕๐๘ สอบนักธรรมเอกได้ ในสำนัก วัดอุดมรัตนาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
    หลังจากนั้นได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับครูบาอาจารย์และปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดตลอดมา เป็นเวลา ๔ พรรษา และในพรรษาที่ ๔ หลวงปู่สูนย์ จันทวัณโณ จึงได้ปลีกวิเวกและธุดงค์
    ภาคกลาง ,ภาคเหนือ ,ภาคใต้ เกาะสีชัง,ภาคตะวันออก

    พ.ศ.๒๕๐๔ ย้ายไปจำพรรษา ณ วัดป่าสวนมะม่วง อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท เป็นเวลา ๑ ปี
    พ.ศ.๒๕๐๕ ย้ายไปจำพรรษา ณ วัดถ้ำผาจลุย อ.พาน จ.เชียงราย เป็นเวลา ๑ ปี
    พ.ศ.๒๕๐๖ ย้ายไปจำพรรษา ณ วัดเขาน้อยสามพราน ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เป็นเวลา ๒ ปี
    พ.ศ.๒๕๐๗ ย้ายไปจำพรรษา ณ สำนักสงฆ์ อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี เป็นเวลา ๑ ปี
    พ.ศ.๒๕๐๘ ย้ายไปจำพรรษา ณ วัดอิสสระธรรม ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร เป็นเวลา ๒๐ ปี
    พ.ศ.๒๕๒๘ ย้ายไปจำพรรษา ณ วัดเขาเข้ ต.ควนกาหลง อ.เมือง จ.สตูล เป็นเวลา ๑ ปี


    พ.ศ.๒๕๒๙ ย้ายไปจำพรรษา ณ วัดคลองช่องลม ต.อ่าวลึก อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ เป็นเวลา ๑ ปี
    พ.ศ.๒๕๓๐ ย้ายไปจำพรรษา ณ วัดอิสสระธรรม ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร จนถึงปัจจุบัน


    หลังจากนั้นได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับครูบาอาจารย์และปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดตลอดมา เป็นเวลา ๕ พรรษา ในพรรษาที่ ๖ หลวงปู่สูนย์ จันทวัณโณ จึงได้ปลีกวิเวกและธุดงค์
    ภาคกลาง ,ภาคเหนือ ,ภาคใต้ เกาะสีชัง,ภาคตะวันออก

    พระสายกรรมฐานที่เคยได้ศึกษาธรรม อาทิ เช่น
    หลวงปู่สีลา อิสสโร,
    หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม,
    หลวงปูอุ่น อุตตโม,
    หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย,
    หลวงปู่มหาเจิม ปัญญาพโล,
    หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป,
    หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ,
    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
    ฯลฯ

    8C-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B9%82%E0%B8%93-00-768x1024.jpg
    พระครูธรรมคุณาธร หลวงปู่สูนย์ จันทวัณโณ วัดป่าอิสระธรรม
    สมณศักดิ์และการปกครองสงฆ์
    พ.ศ.๒๕๐๕ เป็นครูสอนปริยัติธรรม ณ วัดอิสสระธรรม ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
    พ.ศ.๒๕๐๗ เป็นพระธรรมทูตสายที่ ๕
    พ.ศ.๒๕๐๘ เป็นกรรมการสร้างอุโบสถวัดอิสสระธรรม ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
    พ.ศ.๒๕๒๕ เป็นเจ้าอาวาสวัดอิสสระธรรม
    เป็นเจ้าคณะตำบลอากาศอำนวย-ตำบลวาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
    พ.ศ.๒๕๓๐ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูธรรมะคุณาทร
    พ.ศ๒๕๓๓ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระอุปัชฌาย์

    พำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าอิสระธรรม
    ปัจจุบันนี้ หลวงปู่สูนย์ จันทวัณโณ พำนักจำพรรษาอยู่ที่วัด วัดป่าอิสระธรรม บ้านวาใหญ่ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

    หลวงปู่สูนย์ จันทวัณโณ สิริอายุ 85 SAM_9071.JPG SAM_9072.JPG SAM_7605.JPG ปี พรรษา ๖๓ (พ.ศ.๒๕๖๔)

    %8C-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B9%82%E0%B8%93-2-684x1024.jpg
    พระครูธรรมคุณาธร หลวงปู่สูนย์ จันทวัณโณ วัดป่าอิสระธรรม
    จากหนังสือ ประวัติ พระอาจารย์สูนย์ จัณทวัณโณ ครบ ๕ รอบ อายุวัฒนะ ปี พ.ศ.๒๕๓๘ จากวัดอุดมรัตนาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร SAM_9071.JPG SAM_9072.JPG SAM_7605.JPG
     
  7. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,905
    ค่าพลัง:
    +6,826
    ขอจองรายการที่7 locket ลป.สูนย์ครับ
    ขอจองรายการที่764ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2021
  8. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125

    หลวงตาแหวน ทยาลุโก วัดป่าหนองนกกด ต.ไฮหย่อง อ.พังโคน จ.สกลนคร


    ประวัติและปฏิปทา หลวงตาแหวน ทยาลุโก วัดป่าหนองนกกด บ้านหนองนกกด ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
    %81%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%99-%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%81-2.jpg
    หลวงตาแหวน ทยาลุโก วัดป่าหนองนกกด ต.ไฮหย่อง อ.พังโคน จ.สกลนคร
    รายการที่ 765 เหรียญเจริญจิตศรัทธาหลวงตาเเหวน ทยาลุโก พระอรหันต์เจ้าวัดป่าหนองนกกด อ.พังโคน จ.สกลนคร มีตอกโคีต ตัวเลข 272 เเละโค๊ต ยันต์ หลังเหรียญ มาพร้อมกล่องเดิม ***********มีเกศาหลวงตามาบูชาเป็นมงคลด้วยบูชาที่ >>>>275 บาทฟรีส่งems
    พระครูสันตยาภิวัฒน์ (หลวงตาแหวน ทยาลุโก) เป็นปฐมเจ้าอาวาสจาก พ.ศ.๒๕๔๖ ถึงปัจจุบัน ซึ่งก่อนหน้านั้นครูบาอาจารย์ได้เข้ามาปฏิบัติธรรม และแยกย้ายกันออกไปปฏิบัติธรรมในสถานที่ต่างๆ อาทิ พระอาจารย์เสริฐ ซึ่งในภายหลังเป็น เจ้าคณะอำเภอโซ่พิสัย

    หลวงตาแหวน นามเดิมชื่อว่า วสันต์ นามสกุล อ่อนสุระทุม เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๗ ปีวอก ณ บ้านอุ่มเหม้า ต.ไฮหย่อง อ.พังโคน จ.สกลนคร

    โยมบิดามีนามว่า นายบัวพา โยมมารดามีนามว่า นางบุญพา มีพี่น้อง ๗ คน ผู้ชาย ๔ คน ผู้หญิง ๓ คน หลวงพ่อเป็นคนสุดท้องน้องสุดท้าย หรือเป็นลูกคนที่ ๗ ของครอบครัวนั่นเอง

    87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%99-%E0%B8%88.%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3-1.jpg
    หลวงตาแหวน ทยาลุโก วัดป่าหนองนกกด ต.ไฮหย่อง อ.พังโคน จ.สกลนคร
    สำหรับชื่อของ หลวงตาแหวน นั้น ตามทะเบียนสำมะโนประชากรหรือทะเบียนราษฎร์ พ่อแม่ตั้งชื่อว่า วสันต์ นามนี้เป็นมงคลนาม และ ชื่อทางราชการ ผู้คนไม่ค่อยรู้จักแน่นอน เนื่องจากประวัติการปฏิบัติธรรมต่างๆ นั้นยังไม่เคยออกสู่สายตาชาวบ้าน เพิ่งจะเปิดเผยที่นี้เป็นครั้งแรก และ ท่านมีข้อแม้ว่าประสบการณ์อภินิหารต่างๆ นั้นไม่ต้องลงหรอกไม่งาม ซึ่งผู้เขียนได้กราบนมัสการท่านกลับว่า ควรจะมีบ้างตามที่คนเขียนเห็นสมควร สำหรับชื่อ แหวน นั้นเป็นชื่อเรียกเล่นๆ กันมาแต่เด็กๆ จนเรียกติดปากญาติโยมมาจนถึงปัจจุบัน หากไปถามหา หลวงตาแหวน วัดป่าหนองนกกด ทุกคนรู้จักหมดทั้ง จ.สกลนคร หากแต่ว่าใครไปถามหา หลวงพ่อวสันต์ สงสัยว่าจะไม่มีคนรู้จักนามนี้เช่นกัน เพราะผู้คนที่ไปหานั้นจะพูดกันเสียงเดียวว่าไปกราบ หลวงตาแหวน พระอาจารย์แหวน บ้านหนองนกกด กันทั้งสิ้น ซึ่งจากนี้ไปผู้เรียบเรียงบทความจะเรียกนามท่านว่า หลวงตาแหวน เพื่อสะดวกในการเขียน

    สำหรับ หลวงตาแหวน นั้นท่านมีภารกิจนิมนต์ไม่ค่อยว่าง เช้าออกไปฉันเช้า บวชนาค โดยเฉพาะวันที่ผู้เขียนไปกราบท่าน เช้าออกไปบวชนาค กลับถึงวัดไปสวดมนต์ที่หนองคาย ช่วงเย็นๆ ค่ำๆ กลับมาเจริญพระพุทธมนต์ที่ จ.สกลนคร ตามด้วยใน อ.พังโคน หลวงตาแหวน ท่านปรารภกับผู้เรียบเรียงบทความว่า กลับถึง วัดป่าหนองนกกด คงเที่ยงคืน เนื่องจาก หลวงตาแหวน เป็นผู้มีเมตตาสูง ในวัดนั้นจะคลาคล่ำไปด้วยญาติโยมที่มาขอบารมีจากท่าน เจิมรถ รดน้ำมนต์ มานิมนต์ไปในกิจต่างๆ ตลอด เนื่องจากท่านเป็นพระเถระที่มีเมตตาเป็นที่ตั้ง ยิ้มแย้มตลอดเวลาขณะปฏิสันถารอยู่กับญาติโยมทุกคน ไม่เลือกหน้าว่าคนนั้นจะมาจากไหน ความเป็นอยู่อย่างไร เพราะท่านมีเมตตาเป็นที่ตั้งกับทุกคน

    การศึกษา
    การศึกษาเบื้องต้น หลวงตาแหวน ท่านเรียนหนังสือจบชั้น ป.๔ ที่ โรงเรียนบ้านอุ่มเหม้า ซึ่งเป็นโรงเรียนที่อยู่ในหมู่บ้าน แล้วออกมาช่วยงานบ้านระยะหนึ่ง
    เมื่อเรียนจบภาคบังคับ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔) ท่านก็ออกมาช่วยบิดาและมารดาทำนา ทำไร่ ตามวิถีชีวิตชาวชนบทอีสาน และได้ศึกษาต่อ จนจบ ม.ศ.๓

    บรรพชา
    พ.ศ.๒๕๐๐ ขณะนั้นอายุได้ ๑๒ ปี จึงได้บวชเป็นสามเณรที่ วัดอิสระธรรม ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร โดยมี หลวงปู่สีลา อิสฺสโร วัดอิสสรธรรม เป็นพระอุปัชฌาย์ สำหรับ หลวงปู่สีลา นั้นท่านเป็นศิษย์สาย พระอาจารย์มั่น รุ่นเดียวกับ พระอาจารย์ฝั้น เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้วได้ศึกษาพระธรรมพระวินัยปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงพ่อสิลา ๒ พรรษา ท่านสอนการภาวนาว่า มรณัง คือ การระลึกความตายตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ตั้งตนอยู่ในความประมาท หลวงพ่อสิลาแม้จะเป็นศิษย์ในสาย พระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น ก็จริงอยู่ ท่านจะไม่ค่อยสอนคำภาวนาว่า พุทโธ เป็นการภาวนา แต่จะให้ภาวนาว่า มรนัง คือระลึกถึงความตาย เป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท อยู่กับหลวงปู่สีลา ๒ พรรษา แล้วไปจำพรรษาที่จังหวัดหนองคาย ก่อนที่จะเข้ากรุงเทพฯ

    หลังจากนั้นท่านได้เข้าศึกษาและสอบเทียบวัดระดับการศึกษาที่ วัดพระยาธรรม ธนบุรี ระดับชั้นประถมตอนปลายและมัธยมศึกษาตอนต้น (ป.๗ และ ม.ศ.๓)
    พ.ศ.๒๕๐๐ สอบได้นักธรรมตรี พ.ศ.๒๕๐๓ สอบได้นักธรรมชั้นโท พ.ศ.๒๕๐๖ สอบได้นักธรรมชั้นเอก หลวงตาแหวน เคยเรียนบาลีเช่นกัน แต่สอบไม่ผ่าน เพราะในยุคนั้นต้องสอบเปรียญ ๓ ประโยคทีเดียว ไม่แบ่งว่าที่มหา ป.ธ.๑-๒ เช่น ปัจจุบัน แล้วจึงสอบ ป.ธ.๓ ได้ เรียกว่า ท่านมหา ท่านจึงไม่ได้เรียนต่อ มุ่งปฏิบัติธรรมนั่งกรรมฐานเพียงอย่างเดียว เพราะในยุคนั้นต้องเรียนบาลีไวยากรณ์และแปลธรรมบทได้ จึงสอบ ป.ธ.๓ ได้

    B8%E0%B9%89%E0%B8%87-%E0%B8%9B%E0%B8%B5-%E0%B8%9E.%E0%B8%A8.%E0%B9%92%E0%B9%95%E0%B9%90%E0%B9%99.jpg
    หลวงตาแหวน ทยาลุโก วัดป่าคลองกุ้ง ปี พ.ศ.๒๕๐๙
    อุปสมบท
    อายุได้ ๒๐ ปี ท่านก็ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๘ ณ วัดจันทนาราม อ.เมือง จ.จันทบุรี โดยมี พระเทพสุทธิโมลี วัดจันทนาราม จ.จันทบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์พระคำพันธ์ ปญฺญาวโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์พระครูสมุห์ทองสุก สุจิตฺโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากนั้นได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับครูบาอาจารย์และปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดตลอดมา

    B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%99-%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%81.jpg
    หลวงตาแหวน ทยาลุโก วัดป่าหนองนกกด ต.ไฮหย่อง อ.พังโคน จ.สกลนคร
    ในปี พ.ศ.๒๕๑๐ หลวงตาแหวน ทยาลุโก จึงได้ปลีกวิเวกและธุดงค์ ภาคเหนือ ,ภาคใต้,ภาคตะวันออก พระสายกรรมฐานที่เคยได้ศึกษาธรรม อาทิ เช่น
    หลวงปู่สีลา อิสฺสโร ,
    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม
    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
    หลวงปู่อุ่น อุตตโม,
    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ฯลฯ

    ในปี พ.ศ.๒๕๓๑ ได้ออกไปสร้างที่พักสงฆ์ หนองนกกด ได้พัฒนาที่พักสงฆ์แห่งนี้ จนได้รับการตั้งเป็นวัด ถูกต้องตามกฎกรรมการศาสนา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๖ และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปีนั้นด้วย ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาส วัดหนองนกกด และเป็นเจ้าคณะตำบลพังโคนเขต ๑๑ (ธ) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๗ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑

    8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%99-%E0%B8%88.%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3.jpg
    หลวงตาแหวน ทยาลุโก วัดป่าหนองนกกด ต.ไฮหย่อง อ.พังโคน จ.สกลนคร
    ปัจจุบันนี้ องค์หลวงตาแหวน ทยาลุโก สิริอายุ ๗๖ ปี พรรษา ๕๕ พำนักจำพรรษาอยู่ที่ วัดป่าหนองนกกด บ้านหนองนกกด ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

    8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%99-%E0%B8%88.%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3.jpg
    หลวงตาแหวน ทยาลุโก วัดป่าหนองนกกด อ.พังโคน จ.สกลนคร
    ประวัติวัดป่าหนองนกกด
    วัดป่าหนองนกกด ตั้งอยู่ในพื้นที่ของ หมู่บ้านหนองนกกด ต.ไฮหย่อง อ.พังโคน จ.สกลนคร สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตินิกาย สร้างเป็นสำนักสงฆ์ หรือที่พักพระในฝ่ายอรัญญวาสีของ พระอาจารย์เสาร์ และ พระอาจารย์มั่น ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๑ บนเนื้อที่ ๓๒ ไร่ ผู้มอบถวายที่ดินสร้างเป็นสำนักสงฆ์คือ คุณแม่บุญชู ทองประทุม ในขณะนั้นสำนักสงฆ์แห่งนี้มีเพียงกุฏิหลังเล็กๆ สำหรับพระหลบแดดบังฝนเท่านั้น หลังคามุงด้วยหญ้าคาเพื่อการเจริญภาวนา ต่อมาสร้างกุฏิหลังใหญ่ สำหรับพระหนุ่มเณรน้อยขึ้นอีกหลัง ในยุคนั้น พระอาจารย์เสริฐ ได้มาพักและจำพรรษาในสำนักสงฆ์แห่งนี้ ต่อมาท่านได้รับการแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะอำเภอโซ่พิสัย และได้สร้างขึ้นเป็นวัดเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๖ ระบบนิเวศน์ของวัดตั้งอยู่บนเกาะกลาง หมู่บ้านหนองนกกด ด้านทิศตะวันออกคือ บึง หรือสระปลาโดหรือ ปลาชะโดนั่นเอง ส่วนด้านทิศตะวันตกบึงหรือ สระหนองควายด่อน หรือภาคกลางเรียกว่า หนองควายเผือก นั่นเอง ส่วนหนองนกกดนั้น เป็นบึงขนาดเล็กเนื้อที่ของบึงแห่งนี้ประมาณ ๑ ไร่โดยประมาณ เมื่อเบิกป่าฝ่าดงผู้คนเข้าอยู่บ้านหนองนกกดนั้นไม่เกิน ๑๐ หลังคาเรือน ซึ่งส่วนใหญ่ ผู้ที่ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่ในสถานที่แห่งนี้ จะเป็นคนแถบบ้านอุ่มเหม้า เนื่องจากอยู่ห่างออกไปไม่มากนัก การเดินทางไป วัดป่าหนองนกกด เมื่อผ่าน อ.พังโคน เลี้ยวเข้าเส้นทางไปบ้านอุ่มเหม้า จะมีป้ายบอกทางเข้า วัดป่าหนองนกกด อยู่ทางขวามือให้เลี้ยวเข้าไปอีกประมาณ ไม่น่าจะเกิน ๕-๖ กม. ก็จะถึง วัดป่าหนองนกกด หรือจะโทรศัพท์สอบถามเส้นทางที่ ๐๘-๕๖๙๒-๗๒๓๙ จาก พระอาจารย์บุญปอง

    หนองนกกด แม้จะเป็นหนองน้ำขนาดไม่ใหญ่นัก แต่เป็นแหล่งที่มีพันธุ์ปลาน้ำจืดที่อุดมสมบูรณ์หลากหลายพันธุ์ปลานานาชนิด ในขณะนั้นมี นกกระปูด ซึ่งชาวบ้านภาษาพื้นเมืองเรียกว่า นกกด หาจับปลากินชุกชุมมาก ในขณะนั้นจึงเรียกบึงแห่งนั้นหรือสระแห่งนั้นว่า หนองนกกด ตราบเท่าปัจจุบัน เมื่อผู้คนย้ายถิ่นเข้าไปตั้งรกรากในที่แห่งนั้นจึงเรียกว่า บ้านหนองนกกด ตามชื่อหนองหรือบึงแห่งนั้นไปโดยปริยาย SAM_9181.JPG SAM_9182.JPG SAM_9183.JPG SAM_8108.JPG
     
  9. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 766 เหรียญเสมารุ่นชินบัญชร มหาเศรษฐี หลวงปู่ขันตี ญาณวโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าม่วงไข่ อ.ภูเรือ จ.เลย หลวงปู่เป็นศิษย์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ เหรียญเนื้อทองเเดงรมมันปู มีตอกโคีตตัวเลข 1006 เเละโค๊ต ยันต์ หน้าเหรียย มาพร้อมกล่องเดิม สร้างปี 2559 มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชา >>>>>>>บูชาที่ 295 บาทฟรีส่งems
    ประวัติและปฎิปทา หลวงปู่ขันตี ญาณวโร วัดป่าม่วงไข่ ต.สานตม อ.ภูเรือ จ.เลย
    121394488_814818602614341_4862039613639883735_n.jpg
    หลวงพ่อขันตี ญาณวโร วัดป่าม่วงไข่
    หลวงพ่อขันตี เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะแม เป็นชาวขอนแก่นโดยกำเนิด

    เกิด ณ บ้านเลขที่ ๑๓๖ หมู่ ๘ ต.บ้านทุ่ม อ.เมือง จ.ของแก่น (ปัจจุบันคือ บ้านหนองบัว อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น)

    บิดาชื่อ นายชัย แสนคำ มารดาชื่อ นางแพง แสนคำ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด ๗ คน โดยหลวงพ่อขันตี ญาณวโร ท่านเป็นลูกคนโต หลวงพ่อทวี ปุญฺญปญฺโญ เป็นลูกคนเล็กสุด (ชื่อเดิมนายทวี แสนคำ)

    ในวัยเด็กของหลวงพ่อขันตีนั้น ท่านเป็นคนขยันขันแข็น ช่วยงานพ่อแม่ทำไร่ ทำนาและดูแลน้องๆ แทนพ่อแม่อยู่เสมอๆ เป็นคนที่มีความอดทน อ่อนน้อม และหลวงพ่อท่านในวัยเด็กยังเป็นคนสนใจ ใฝ่ธรรมะ ชอบไหว้พระสวดมนต์อยู่เป็นประจำ หลวงพ่อขันตีท่านกล่าวว่า “สมัยตอนท่านเด็กๆท่านเป็นคนไม่ค่อยแข็งแรงนัก เจ็บป่วยออดๆแอดๆ อยู่เสมอบางทีก็เกือบถึงแก่ชีวิตหลายต่อหลายครั้ง โยมแม่ของหลวงพ่อ จึงได้ไปฝากให้หลวงพ่อขันตีเป็นลูกบุญธรรมหลวงปู่คำดี ปภาโส อาการเจ็บป่วยต่างๆก็ค่อยๆหายไป” เมื่อหลวงพ่อท่านเรียนจบชั้น ป.๔ ท่านก็ขออนุญาตโยมพ่อโยมแม่เพื่อขอบวชสามเณร โยมพ่อแม่ก็เห็นดีด้วยและอนุญาตให้หลวงพ่อบวชเณรได้..


    หลวงพ่อขันตีท่านได้บวชเณรครั้งแรกเมื่ออายุ ๑๒ ปี ในปี พ.ศ.๒๔๙๙ ณ วัดศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมีท่านพระครูพิศาลสารคุณ เป็นผู้บรรพชาให้ในปีนั้น เมื่อบวชเณรแล้วหลวงพ่อขันตีก็อยู่ดูแลอุปัฏฐาก ท่านพระครูเจ้าอาวาสอย่างใกล้ชิตและมีความขยันอดทนหมั่นเพียรในการศึกษาธรรมะ ท่านพระครูพิศาลสารคุณ เจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ จึงได้เรียกชื่อหลวงพ่อขันตีใหม่ จากเดิมชื่อตรีเฉยๆ เรียกใหม่ว่า “ขันตี” หรือ ขันติ แปลว่า ผู้มีความอดทน


    ท่านได้บวชเณรมาเรื่อยๆ จนท่านมีอายุครบบวชพระ อายุ ๒๐ ปี ท่านจึงได้รับการอุปสมทบในวันอังคาร ขึ้น ๘ ค่ำ ปีมะโรง โดยได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗ ณ พัทธสีมาวัดศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น มีท่านพระครูพิศาลสารคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูศรีธรรมาลังการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระมหาศรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า “ญาณวโร” แปลว่า ผู้ปรีชาหยังรู้สูง


    ในพรรษาที่ ๑ ปี พ.ศ.๒๕๐๗ ในปีแรกนี้หลวงพ่อขันตีท่านได้ไปอยู่จำพรรษากับ หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก ณ วัดป่าคีรีวัน จ.ขอนแก่น ในพรรษาแรกนี้ หลวงปู่บุญเพ็ง ท่านจะสอนพระเณรในพรรษานั้น ในเรื่องการพิจารณาการ มีสติเป็นไปในกาย ขอวัตรปฎิบัติต่างๆ ในส่วนของหลวงพ่อขันตีนั้น ท่านก็เป็นพระบวชใหม่หลวงปู่บุญเพ็งท่านจะเน้นสอนการภาวนา และ ข้อวัตรต่างๆในเบื้องต้นกับหลวงพ่อขันตี

    B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B9%87%E0%B8%87-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B9%82%E0%B8%81.jpg
    พระโสภณวิสุทธิคุณ (หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก)

    ครั้งออกพรรษา ท่านก็ได้ย้ายมาจำพรรษา ณ วัดถ้ำผาปู่ อ.เมือง จ.เลย ในพรรษาที่ ๒ ปี พ.ศ.๒๕๐๘ เพื่อมาฝึกหัดการภาวนา โดยท่านกล่าวว่า

    “ท่านกับหลวงปู่คำดี เป็นคนบ้านเดียวกัน (คนจังหวัดขอนแก่น) จึงมีความคุ้นเคยกับท่านมาก่อน จึงได้มาอยู่จำพรรษากับท่านที่จังหวัดเลยเพื่อมาฝึกอบรมณ์ภาวนา”

    หลวงปู่คำดี ปภาโส ท่านก็ให้ความเมตตาหลวงพ่อขันตี โดยสอบถามหลวงพ่อขันตีครั้งมาอยู่จำพรรษาวัดถ้ำผาปู่ครั้งแรกว่า

    ท่านใช้อะไรภาวนา

    และสอบถามถึงเรื่องจริตต่างๆ ครั้งหลวงพ่อขันตีก็กราบเรียนหลวงปู่คำดีตามความรู้ ความเข้าใจแล้ว หลวงปู่คำดีก็บอกสอนเกี่ยวกับจริตภาวนา แจกแจงความเป็นมาและความเหมาะสมของจริตพร้อมอธิบายหลักการภาวนาให้หลวงพ่อขันตีฟังอย่างละเอียดลึกซึ้งจนเข้าใจ

    ในปีดังกล่าวที่ท่านได้มาจำพรรษาที่วัดถ้ำผาปู่ มีพระเณรทั้งหมด ๔๐ รูป หลวงพ่อขันตีท่านกล่าวว่า “ในปีนั้นจิตใจท่านฟุ้งซ่าน วุ่นวายเป็นอย่างมาก” ซึ่งหลวงปู่คำดีท่านก็ทราบดี ท่านจึงแนะนำให้หลวงพ่อขันตีมีความอดทน ปรารบให้เร่งความเพียรมากยิ่งขึ้น ให้หลีกเร้นจากหมู่คณะ ให้หาที่สงบภาวนาให้มาก ให้ละความกังวนต่างๆ กลับมาตั้งสติตั้งใจภาวนาเร่งให้เกิดความสงบ

    จนในพรรษาที่ ๓ ปี พ.ศ.๒๕๐๙ หลวงปู่คำดี จึงพาหลวงพ่อขันตีไปจำพรรษา ณ วัดป่าหนองแซง จ.อุดรธานี กับ หลวงปู่บัว สิริปุณโณ ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น เมื่อไปถึงที่วัดหลวงปู่บัวท่านก็ให้โอวาทธรรมว่า

    “เรื่องจิตใจที่หลอกลวงตลอดเวลานั้น เป็นเพราะการขาดสติ ขาดปัญญา จึงกลายเป็นตัวกิเลสทำให้เกิดทุกข์ หรือพาไปหาความทุกข์ไปที่ไหนถ้าใจไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ความศรัทธาความเชื่อความ เลื่อมใสในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ยังไม่มีหลักสรณะทางจิตใจ หากมีแต่ปล่อยจิต ปล่อยใจไปตามสัญญาแห่งอามรณ์ทั้งวัน ทั้งคืนไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ก็จะมีแต่ความทุกข์ร้อนเป็นไฟ เพราะใจได้ถูกแผดเผาด้วย ราคะ โทสะ โมหะ ดังนั้นควรที่จะมีสติระลึกรู้ตัวอยู่ตลอดไป จะมานั่งมานอนรอความตาย ให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ จะต้องหมั่นภาวนาศึกษา ให้จิตให้ใจมีที่พึ่ง ไม่ใช่ปล่อยเวลาให้เสียไปวันๆ”

    เป็นโอวาทสำคัญที่หลวงปู่บัว ท่านอบรมณ์สั่งสอนหลวงพ่อขันตี ในพรรษที่มาจำที่วัดป่าหนองแซงนี้

    ครั้งพอออกพรรษาในปี พ.ศ.๒๕๐๙ นั้นหลวงปู่คำดีท่านก็กลับไปอยู่ที่วัดถ้ำผาปู่ โดยหลวงพ่อขันตีกราบเรียนขออนุญาตจากหลวงปู่คำดี ไม่กลับไปวัดถ้ำผาปู่ด้วย แต่จะอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่บัวนี้ก่อนสักระยะหนึ่ง หลวงปู่คำดีท่านก็เมตตาอนุญาต ในระหว่างที่อยู่วัดป่าหนองแซงนี้ หลวงพ่อขันตีท่านก็อยากเที่ยวไปกราบครูบาอาจารย์ในที่อื่นๆ หลวงปู่บัวท่านก็ทราบว่า หลวงพ่อขันตีท่านตอนนี้ มีจิตใจที่ยังวุ้นวายอยู่ท่านจึงให้โอวาท หลวงพ่อขันตีเตือนใจว่า

    “การที่เราจะเที่ยวไปหาครูบาอาจารย์ทั้งหลายนั้น ต้องพิจารณาดูว่าไปด้วยเหตุผลอันใด การปฏิบัติทำความเพียรนั้นล้วนเกิดแต่ตัวเราทั้งสิ้น ครูบาอาจารย์ท่านจะปฎิบัติแทนเราไม่ได้ การบำเพ็ญเพียรภาวนา เราต้องทำด้วยตัวเราเองเท่านั้นผลจึงจะเกิดกับตัวเรา ครูบาอาจารย์จะมาทำแทนเราได้หรือ ท่านเป็นแต่เพียงผู้บอก ผู้สอนเราเท่านั้น”

    B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B5-%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A3.jpg
    หลวงพ่อขันตี ญาณวโร วัดป่าม่วงไข่
    ท่านจึงกลับมาพิจารณาในคำสอนเตือนสติของหลวงปู่บัว จึงทำให้ท่านมีกำลังใจใน ความพากความเพียรเพิ่มมากขึ้น ทั้งแล้วก็ทำให้จิตใจท่านสงบลงมาก ท่านจึงอยู่ภาวนากับหลวงปู่บัว ที่วัดหนองแซงนี้อีก ๔ พรรษา รวมเป็น ๕ พรรษากับการอยู่ปฎิบัติที่นี่

    %B9%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%9A-%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%A1-1.jpg
    (ซ้าย) หลวงปู่ขันตี ญาณวโร (ขวา) หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    ต่อมาในพรรษาที่ ๑๓ ปี พ.ศ.๒๕๑๙ ท่านได้จาริกธุดงค์ไปจำพรรษา ปรนนิบัติ และอยู่ปฎิบัติกับ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ณ วัดป่าสานตม อ.ภูเรือ จ.เลย โดยหลวงพ่อขันตี ท่านได้มีโอกาสอยู่อุปัฏฐากหลวงปู่ชอบ และ ได้รับอุบายธรรมกับหลวงปู่ชอบ เพื่อนำไปปฎิบัติ ซึ่งในช่วงนี้เป็นช่วงที่หลวงปู่ชอบ ท่านมาสร้างวัดใหม่ชื่อว่าวัดป่าสานตม หลวงพ่อขันตีท่านกล่าวว่า

    “ในช่วงนี้ลำบากมาก เพราะที่นี้อากาศหนาวมาก หลวงปู่ชอบท่านก็ไม่ให้พระที่มาอยู่ด้วยก่อไฟผิง เพราะจะมีแต่มาสุมหัว พูดคุยกันในเรื่องไม่เป็นเรื่อง แต่หลวงปู่ชอบจะให้พระเดินจงกรมแทน เพื่อเป็นการกระตุ้นธาตุไฟให้เกิดความอบอุ้นภายใน”

    ในพรรษาที่๑๔-๑๕ ประมาณปี พ.ศ.๒๕๒๐-๒๕๒๑ ท่านได้ธุดงค์ไปจำ

    พรรษา ณ วัดป่าแม่ริน(ห้วยน้ำริม) อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ และที่ อ.ปาย แม่ฮ่องสอน สถานที่แห่งนี้ทำให้จิตใจหลวงพ่อขันตี ได้มีโอกาสละว่างความโกรธความพยาบาทลงได้ เพราะได้ตั้งใจทำความเพียรทั้งวันทั้งคืน ทำให้จิตสงบทำให้ได้เห็นอานิสงค์ ว่าคนที่ดุด่าว่ากล่าวตนล้วนแต่เป็นผู้มีพระคุณทั้งนั้น หลวงพ่อขันตีท่านกล่าวว่า

    “อยุ่ปฎิบัติที่นี้ ท่านก็ได้นำคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลวงปู่คำดีมา พิจารณาว่าหากใจยินดีในสุข ก็ต้องเป็นทุกข์ ทุกข์นี้ก็มีคุณมากเพราะจะทำให้เราเห็นโทษเห็นภัย และจะได้ตั้งใจให้ออกจากทุกข์ เร่งการบำเพ็ญให้มากเพื่อจะได้หนีจากทุกข์ เพราะถ้ามีแต่สุขจะไม่เห็นโทษแห่งทุกข์ที่มีอยู่เลย จะประมาทมัวเมาในชีวิต ไม่ตั้งใจบำเพ็ญภาวนา ก็ต้องตกเป็นธาตุของกิเลสตลอด แล้วก็ตายโดยไม่พบแสงสว่าง ตายโดยไม่ได้มรรค ไม่ได้ผลอะไรเพราะใจนั้นมืดบอด อยู่กับวัตถุข้าวของ เงินทอง ที่ไม่มีแก่นสารอะไร“

    นี่คือคำสอนของหลวงปู่คำดีที่สอนหลวงพ่อขันตี ให้ภาวนาตั้วใจบำเพ็ญเพียร อย่าอยากได้โน่น ได้นี้ ให้ตั้งใจปฎิบัติบูชาคุณพระพุทธเจ้า ไม่ต้องส่งจิตส่งใจออกไปภายนอก ทั้งคดีทั้งอนาคต ให้กำหนดรู้ปัจจุบันภายในจิตเท่านั้น วันเวลาล้วงไปล้วงไปบัดนี้เราทำอะไรอยู่ ถ้ามีสติธรรมก็จะเกิด ละทุกข์ได้ ให้ตั้งใจปฎิบัติตามคำสอน ไม่ใช่เอาแต่หลับนอนเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ สิ่งที่หน้ากลัวที่สุดคือกิเลสภายในใจเรานี้เอง


    พรรษาที่ ๑๖ ประมาณ พ.ศ.๒๕๒๒ หลวงพ่อขันตี ท่านก็ได้จาริธุดงค์ไปพักจำพรรษา ณ วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี กับหลวงปู่ขาว อนาลโย เป็นเวลา ๑ พรรษา ในหว่างอยู่จำพรรษากับหลวงปู่ขาวนี้ หลวงปู่ขาวท่านสอนหลวงพ่อขันตี ให้บำเพ็ญเพียร โดยการตั้งสัจจะ รักษาสัจจะ ในการบำเพ็ญภาวนา

    ช่วงพรรษาที่ ๑๗ ปี พ.ศ.๒๕๒๓ ท่านได้กลับไปจำพรรษาที่จังหวัดเลยอีกครั้ง ในช่วงพรรษาที่ ๑๘ ราวปี พ.ศ.๒๕๒๔ ได้ธุดงค์ไปจำพรรษา ณ วัดอโศการาม จ.สมุทปราการ

    ช่วงพรรษา ๑๙-๒๓ ใน พ.ศ.๒๕๒๕-๒๕๒๙ ท่านกลับมาจำพรรษาที่วัดห้วยเดื่อ อ.วังสะพุง จ.เลย

    ช่วงพรรษาที่ ๒๔ ท่านได้มาจำพรรษาวัดป่าบ้านบง อ.ภูเรือ จ.เลย ในปี พ.ศ.๒๕๓๐

    ช่วงพรรษาที่ ๒๕-๓๔ ปี พ.ศ.๒๕๓๑-๒๕๔๐ ท่านก็ได้มาจำพรรษา ณ วัดป่าห้วยเดื่อ (วัดป่าสันติธรรม) อ.วังสะพุง จ.เลย ซึ่งในช่วง ๑๐ ปีนี้ ท่านได้มีโอกาสแวะเวียนไปดูแล ปฎิบัติกับหลวงปู่ชอบ ที่วัดป่าโคมน อยู่เป็นประจำ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๓๘ หลวงปู่ชอบท่านก็ละสังขาร ซึ่งหลวงพ่อขันตี ท่านก็อยู่ช่วยงานตั้งแต่แรกจนงานพระราชทานเพลิงแล้วเสร็จ


    ในปี พ.ศ.๒๕๒๙ หลวงปู่ไชย สัญตุฏฐิโก วัดป่าห้วยเดื่อ โยมบิดาของหลวงพ่อขันตี ญาณวโร(ที่มาบวช) ก็ละสังขารมรณะภาพ เมื่ออายุได้ 88 ปี 29 พรรษา ทำให้ท่านปรงอนิจจังการเกิด แก่ เจ็บ ตาย คนเราเกิดมาไม่มีอะไรมาด้วย ไปก็ไม่มีอะไรไปด้วย ทั้งหลายทั้งมวลเป็นอนิจจังจึงทำให้หลวงพ่อขันตี ออกภาวนาเร่งความเพียรเพิ่มมาขึ้น หลวงพ่อขันตีท่านกล่าวว่า “เพราะได้พิจารณาแล้ว อายุย้อมจะมีแต่ผ่านพ้นและหมดไป ไม่มีอะไรที่จะยังยืนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีแต่เกิดมาแก่ เกิดมาเจ็บ เกิดมาตายด้วยกันหมดทั้งโลก ร่างกายก็เต็มไปด้วยของที่ไม่สะอาดมีประการต่างๆไม่ว่าจะ ผม ขน เล็บ ฟันหนังเนื้อ ที่มีเต็มอยู่ภายใน ไม่มีอะไรที่จะอยู่คงทนอยู่ได้ มีแต่เสือมโทรม ลงไปทุกขณะลมหายใจ ถ้าหมดลมปราณเมื่อใดก็ไม่มีอะไรเหลือ บางคนตอนมีชีวิตอยู่อวัยวะบางส่วนยังต้องเสียไป บางคนเป็นเบาหวาน ต้องตัดขา ตัดแขนไปก็มี หรือประสบอุบัติเหตุต้องสูญเสียอวัยวะบางแห่งไปก็มี แม้เรารักเราหวงแหนมากขนาดไหน ก็ไม่อาจรักษาคงทนอยู่กับเราได้ตลอดไป ควรเร่งความเพียรให้มาก อย่าไปวนเวียนเพียรเป็นคนมักมาก ความเสียใจจะตามมาในภายหลัง….”

    พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ชอบ วัดป่าม่วงไข่

    ปัจจุบันหลวงพ่อขันตี ญาณวโร มาจำพรรษา ณ วัดป่าม่วงไข่ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๔๕ จวบจนปัจจุบัน ซึ่งที่วัดป่าม่วงไข่แห่งนี้ ท่านเคยมาอยู่พักภาวนาก่อนแล้วสมัยหลวงปู่ชอบ และหลวงปู่ชอบ ท่านก็ได้สร้างไว้มาก่อน

    ประสบการเที่ยวจาริกธุดงค์อยู่กับครูบาอาจารย์

    หลวงพ่อขันตีในระหว่างที่ท่านเที่ยวธุดงค์อยู่นั้น ท่านกล่าวว่า ท่านเคยไปอยู่ปฎิบัติกับครูบาอาจารย์หลายองค์ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ทุกองค์ต่างให้ความเมตตาสั่งสอนท่าน ทำให้ท่านมีกำลังใจ แม้ว่าจะธุดงค์ลำบากยากเข็นขนาดไหน ท่านก็อด ก็ทน เอาชีวิตเข้าแลกธรรม บูชาคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยะสงฆ์

    หลวงพ่อท่านเริ่มออกจาริธุดงค์หลังจากพรรษาได้ ๑๐ กว่าๆแล้ว
    โดยทีแรกอยู่ถ้ำผาปู่กับหลวงปู่คำดี ปภาโส ๒พรรษา หลวงพ่อขันตีท่านกล่าวว่า

    “หลวงปู่คำดีท่าน จะสอนให้เราภาวนา แรกๆท่านอธิบายเรื่องจริตทางธรรมอย่างละเอียดให้ฟัง จนเข้าใจแล้วไปปฎิบัติ ท่านสอนให้รู้จักอด จักทน ก่อนเราจะออกจากท่านไป ท่านก็ให้โอวาทว่า”ขันตีเอ่ยไปไหนก็ให้อด ให้ทนเด้อ อย่าทำตัวดีตัวเด่น ให้รู้จักสำรวมมีสติเด้อ”

    หลังพอออกพรรษาแล้วหลวงพ่อขันที่ ท่านก็ไปอยู่กับ หลวงปู่บัว สิริปุณโณ วัดป่าหนองแซง จ.อุดรธานี ไปอยู่กับหลวงปู่บัวถึง ๕ พรรษา ตอนนนั้นท่านกล่าวว่า

    “เราตั้งหน้า ตั้งตาภาวนาเต็มที่ละตอนนั้นจิตก็ยังฟุ้งซานอยู่ เลยมาจับลมหายใจระลึกพุทโธๆ เหมือนลมหายใจมันจะขาดนี้ละ เลยตกใจกลัวตายว่างันเถอะ แต่จิตมันก็ยังฟุ้งซานอยู่นั้นละ เราเลยไปเล่าให้หลวงปู่บัวท่านฟัง หลวงปู่บัวท่านว่า”ทำไปเลย ถ้าภาวนาแล้วมันจะตาย ก็ให้มันตายไปอย่าไปกลัว ทำไปๆกิเลสมันหลอกว่าจะตายๆนะไปกลัวมันทำไม ไปๆไปทำอย่าพูดมาก”

    จากนั้นท่านก็ตั้งสัจจะว่าจะภาวนาจนให้จิตสงบ จะตายก็ตายลองดูสิ ถึงตายก็ตายเพื่อบูชาคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ จากนั้นมาท่านตั้งหน้าตั้งตา ภาวนาอย่างหนัก ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นท่านก็มีสติจดจ่ออยุ่กับคำภาวนานั้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ลดละความเพียร จนในที่สุดจิตมันสงบลงได้ ท่านกล่าวว่า

    “เราทำทั้งคืนละ ทั้งเดินจงกรมนั่งภาวนา ตัดสินใจตายเป็นตายลองดู สุดท้ายคืนนั้นทั้งคืน เดินจงกรมจิตก็สงบลงจริงๆ สบายเลยภาวนาจนถึงเช้า”

    %A5%E0%B8%B8%E0%B8%A2-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3-2.jpg
    (ซ้าย) หลวงปู่ขันตี ญาณวโร (ขวา) หลวงปู่หลุย จันทสาโร
    หลังจากอยู่กับหลวงปู่บัวจนได้หลักจิต หลักใจพอสมควรแล้ว ท่านก็เที่ยวไปอยู่กับ หลวงปู่ชอบบ้าง หลวงปู่หลุยบ้าง หลวงปู่ขาวบ้าง โดยท่านกล่าวว่า

    “เราไปอยู่กับหลวงปู่ชอบที่สานตม ตอนนั้นท่านก็เดินไม่ได้แล้ว แต่ท่านก็ให้โอวาทคำสอนอยู่ตลอด กับหลวงปู่ชอบนี้ เราอยู่กับท่านที่วัดโคกมน ๕ ปีนะ ท่านก็เล่าเรื่องนั้น เรื่องนี้ให้ฟังอยู่เรื่อยๆเป็นอุบายธรรมให้เรามีกำลังใจปฎิบัติ หลวงปู่ชอบนี้ท่านถือข้อวัตรมาก มักน้อย ขนาดสบงจีวรท่านนี้ ขาดชุนแล้วชุนอีกนะ ท่านใช้มาถึง ๑๒ ปี คิดดูสิน่ะ”

    ท่านเล่าต่อไปว่า ท่านไปอยู่กับหลวงปู่ขาว อนาลโย ๑ พรรษา
    ตอนนั้นหลวงปู่ขาวท่านก็อาพาธหน่อยแล้วละ หลวงปู่ขาวเล่าให้ท่านฟังเกี่ยวกับหลวงปู่ชอบว่า “หลวงปู่ชอบนี้ สมัยไปเที่ยวธุดงค์ด้วยกัน ปาฏิหาริย์ท่านเยอะ มีครั้งหนึ่งไปธุดงค์หลงอยู่บนเขา ไม่ได้ฉันท์อาหารมาเป็นวันแล้ว เพราะไม่มีบ้านคน น้ำก็หมด หลวงปู่ขาวท่านว่า อดข้าวนี้พอทนได้ แต่ทดน้ำนี้ลำบาก สักพักหลวงปู่ชอบท่านก็ ลงไปแถวๆซอกหินท่านอธิษฐานจิตให้น้ำผุดนะ น้ำผุดขึ้นมาจริงๆละ ผุดขึ้นมาจากซอกหิน ก็เลยได้ตัก ได้กินกันเลย ล้างหน้า ล้างตาอาบดื่มกันจนก็หายกระหายแล้ว น้ำนั้นก็หายไป หลวงพ่อขันตีท่านย้ำว่านี้เป็นเรื่องที่หลวงปู่ขาวเล่าให้ท่านฟังเอง

    ประมาณพรรษาได้ ๑๐ กว่าๆหลวงพ่อขันตี ท่านเคยไปอยู่กับ หลวงปู่หลุยที่ถ้ำผาบิ้ง อยู่กับหลวงปู่หลุยประมาณ ๑ ปี ท่านว่า

    “หลวงปู่หลุยนี้ท่านมักน้อยที่สุด ขนาดสบง จีวรท่านนี้ ท่านจะไปนำเก็บพวกเศษผ้าที่เขาไม่ใช่แล้วนั้นนะ ไปบังสกุลมาว่างันเถอะ เศษเล็ก เศษน้อยมา แล้วมาเย็บๆปะๆแล้วย้อมสีใส่ ตัดเป็นผ้าสบงจีวร จีวรท่านนี้ผืน ผืนหนึ่ง ท่านใช้เป็น ๑๐ ปีขึ้นนะหลวงปู่หลุย นี้ล่ะ ท่านทำให้ลูกศิษย์ ลูกหาดูเป็นตัวอย่าง…”

    หลวงพ่อขันตี เคยเล่าว่า ท่านเองเคยไปอยู่ วัดป่าบ้านตาดด้วย สมัยนั้นท่านก็ได้มีโอกาสไปฟังโอวาทธรรมองค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโณ โดยท่านได้รับความเมตตาจากหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ในครั้งไปอยู่ที่วัดป่าบ้านตาด และท่านกล่าวว่า

    “ตอนเราอยู่วัดห้วยเดื่อใหม่ๆ หลวงปู่บุญมี ก็มาเมตตาเราหลายครั้ง ทั้งมาอยู่นี้ (วัดป่าม่วงไข่) ท่านก็มาเมตตาหลายครั้ง ท่านสงสารเรา ท่านมาเมตตาเรา”

    %E0%B9%81.jpg
    หลวงพ่อขันตี ญาณวโร วัดป่าม่วงไข่ จ.เลย
    ปัจจุบัน หลวงปู่ขันตี ญาณวโร วัดป่าม่วงไข่ ท่านมีอายุ 78 ปี พรรษา 58 (๑๒ ตุลาคม 2564) SAM_9191.JPG SAM_9194.JPG SAM_9193.JPG SAM_7793.JPG
     
  10. rachotp

    rachotp เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    1,216
    กระทู้เรื่องเด่น:
    252
    ค่าพลัง:
    +23,807
    พี่ @Somchai 2510 ดูแลสุขภาพนะครับพี่ _/|\_ ผมอยากให้พี่ @Somchai 2510 ลองพิจารณารับประทานสมุนไพร "หนานเฉาเหว่ย" ร่วมด้วยควบคู่กันกับการรับประทานยาแผนปัจจุบันดูนะครับ… คุณแม่ผมทานแล้วดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนครับ _/\_ พี่ @Somchai 2510 ลองคลิ๊กเข้าไปอ่านรายละเอียดดูที่ "หนานเฉาเหว่ย" นะครับ… เป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกง่ายและโตเร็วมากครับ… เอากิ่งมาปักชำสักพักก็โตแล้วครับพี่



    ขอให้พี่ @Somchai 2510 และครอบครัวมีสุขภาพแข็งแรง สุขสมหวังดังตั้งใจทุกประการ… บุญรักษาครับพี่ (^_^)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2021
  11. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    ขอบคุณเพื่อนๆสมาชิกทุกท่านครับผม
     
  12. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 767 เหรียญรุ่นพิเศษ เศรษฐีหลวงปู่สำลี สุทธจิตโต พระอรหันต์เจ้าวัดถํ้าคูหาวารี อ.วังสะพุง จ.เลย หลวงปู่สำลีเป็นศิายืหลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถํ้าผาบิ้ง เหรียญสร้างปี 2558 เนื้อทองเเดงรมมันปู มีตอก 3 โค๊ต โคีตตัวเลข 233 ,โคีต ส เเละโคีต ยันต์ หลังเหรียญ เหรียญใหม่ไม่เคยใช้ มาพร้อมกล่องเดิม ***********มีเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วย >>>>>>บูชาที่ 295 บาทฟรีส่งems
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต

    วัดถ้ำคูหาวารี
    อ.วังสะพุง จ.เลย



    %96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5-00.jpg
    หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต วัดถ้ำคูหาวารี ต.โคกขมิ้น อ.วังสะพุง จ.เลย
    หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต (ศิษย์สายธรรมหลวงปู่หลุย จันทสาโร) พระผู้มักน้อย สันโดด และมีเมตตาธรรม

    หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต นามเดิมชื่อ สำลี เพ็งผล เกิดเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๙ โยมบิดาชื่อ นายบุญ และโยมมารดาชื่อ นางอินทร์ เกิด ณ ต.กุดจอก อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา เมื่อเรียนจบ ป.๔ ก็ออกมาช่วยพ่อ และ แม่ทำนา ต่อมาจึงย้ายภูมิลำเนามาอยู่ที่จังหวัดเลย

    หลวงปู่สำลี ท่านเป็นคนขยัน ช่วยเหลืองานทุกอย่างของพ่อและแม่ ทั้งยังชอบเข้าวัดสวดนต์ นั่งสมาธิ พ่อและแม่ได้พาไปทำบุญและรับฟังธรรมะ กับองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร เป็นประจำ จนกระทั่งหลวงปู่หลุย จันทสาโร ท่านเล็งเห็นความตั้งใจในการสวดมนต์ ภาวนา นั่งสมาธิ จึงได้ดำริให้ออกบวช ซึ่งหลวงปู่สำลี ท่านก็คิดไว้แล้ว ด้วยศรัทธาต่อองค์หลงปู่หลุย และชอบเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงได้ออกบวช

    S__78708758-828x1024.jpg
    หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง
    หลวงปู่สำลี อุปสมบท เมื่ออายุ ๓๕ ปี ในวันที่ ๖ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๑๓ เวลา ๑๑.๐๐ น. ก่อนออกบวชท่านก็ได้ไปเป็นนุ่งขาวห่มขาว เป็นนาคก่อนจะได้บวชพระ โดยหลวงปู่หลุยเป็นผู้สอนหลวงปู่สำลีขานนาค และสอนข้อวัตรต่างๆเกี่ยวกับการบวช จนหลวงปู่สำลี สามารถขานนาค และจดจำข้อวัตรปฎิบัติได้ หลวงปู่หลุย จึงได้พาหลวงปู่สำลีไปบวช ณ อุโบสถวัดศรีสุทธาวาส จ.เลย โดยมีพระราชคุณาธาร (หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูไบฏีกาไพฑูลย์ เป็นพระกรรมวาจา ได้รับฉายา “สุทธจิตโต” แปลว่า “ผู้มีใจอันบริสุทธิ์”

    B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A0.jpg
    พระราชคุณาธาร (หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ)
    หลังจากอุปสมบทแล้ว หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต ก็ได้มาอุปัฏฐากดูแล หลวงปู่หลุย จันทสาโร ที่วัดถ้ำผาบึ้ง ต.ทรายขาว อ.วังสะพุง จ.เลย หลวงปู่สำลีท่านกล่าวว่า ตั้งแต่บวชท่านก็ติดตามดูแลหลวงปู่หลุยมาโดยตลอด จนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕ หลวงปู่หลุย ท่านได้สร้างวัดใหม่ขึ้นชื่อว่า “วัดถ้ำคูหาวารี” โดยท่านเห็นว่าสถานที่นี้เป็นที่สัปปายะ มีน้ำทาใช่สอยอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การปฎิบัติธรรมและเคยเป็นที่ ที่หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล เคยมาอยู่พักภาวนามาก่อน ท่านจึงได้สร้างวัดในที่แห่งนี้ขึ้น เพราะในถ้ำแห่งนี้ จะมีตาน้ำที่จะมีน้ำ ไหลออกมาจากถ้ำตลอดฤดูกาล ทำให้ที่นี้อุดมสมบูรณ์ และบริเวณโดยรอบก็เป็นป่าเขาเหมาะแก่การภาวนาเป็นอย่างมาก ท่านจึงดำริให้หลวงปู่สำลี มาจำพรรษาอยู่ปฎิบัติ ณ ที่แห่งนี้

    หลวงปู่สำลีท่านเคยกล่าวว่า เดิมทีท่านอยากเรียนหนังสือ เรียนนักธรรมมหาเปรียญ แต่หลวงปู่หลุยไม่อนุญาต และได้บอกให้หลวงปู่สำลีเข้าป่าไปหาภาวนา หลวงปู่หลุยกล่าวว่า “ธรรมะที่แท้จริงอยู่ในจิต ในใจทั้งหมดอยากเรียนให้ไปเรียนภายในจิตในใจ” จากนั้นมาหลวงปู่สำลี ท่านก็อยู่ปฎิบัติในป่า ณ วัดถ้ำคูหาวารีแห่งนี้มาโดยตลอด

    แต่กระนั้นท่านก็ไปๆมาๆระหว่างวัดถ้ำคูหาวารี และวัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย เพื่อจะได้ดูแลอุปัฏฐากองค์หลวงปู่หลุย อย่างใกล้ชิต ในระหว่าง พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นต้นมา หลวงปู่สำลีท่านก็ได้ติดตามหลวงปู่หลุย ไปในที่ต่างๆเพราะหลวงปู่หลุย ท่านเป็นพระอยู่ไม่ติดสถานที่ มักจะย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่อื่นเสมอ ทั้งในประเทศและนอกประเทศ หลวงปู่สำลีจึงมีโอกาสไปติดสอยห้อยตามหลวงปู่หลุยไปในที่ต่างๆ เช่น ภาคเหนือก็เคยไปอยู่เป็นพรรษา ภาคกลางก็ไปอยู่จำพรรษา ณ ที่พักสงฆ์ กม.๒๗ มูลนิธิหลวงปู่หลุย ที่ลูกศิษย์สายกรุงเทพ ถวายที่ดิน ให้หลวงปู่สร้างที่พักสงฆ์ หรือแม้แต่ที่ชะอำหัวหิน ซึ่งลูกศิษย์ชะอำมักจะนิมนต์หลวงปู่หลุยไปเมตตาที่นั้นอยู่เสมอ ตลอดจนประเทศอินเดียก็ไปมาแล้ว “หลวงปู่สำลีท่านว่า ท่านก็ไปกับหลวงปู่หลุยในทุกๆที่ตั้งแต่บวชมา ส่วนมากมักนั่งรถไป ไม่ค่อยได้เดินมากนัก”

    ราวๆปี พ.ศ.๒๕๒๕ – ๒๕๓๐ หลวงปู่หลุย เริ่มมีอาการอาพาธหนักขึ้น หลวงปู่สำลีท่านเล่าว่า “หลวงปู่ทิวา อาภากโร ได้นิมนต์หลวงปู่หลุย ให้มาพักจำพรรษาในกรุงเทพฯ เพราะใกล้หมอ ใกล้โรงพยาบาล และงดรับกิจนิมนต์ทางไกล” ซึ่งในระหว่างนี้ หลวงปู่สำลีก็ได้อยู่ปฎิบัติใกล้ชิตหลวงปู่หลุย อยู่ที่สำนักสงฆ์ กม.๒๗ จ.ปทุมธานนี้ด้วย

    หลวงปู่สำลี ท่านกล่าวว่า “ในช่วงปัจฉิมวัยของหลวงปู่หลุยนี้ เรา(หลวงปู่สำลี) ก็ค่อยดูแลท่านอยู่ตลอด ท่านจะถูกนิมนต์ไปอยู่ ๒ ที่ในช่วงนี้คือ ที่พักสงฆ์หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ และ ที่พักสงฆ์์ กม.๒๗ ปทุมทานี” จนเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๒ หลวงปู่หลุยได้บอกกับพระใกล้ชิตซึ่งในเวลานั้นหลวงปู่สำลี ก็อยู่ด้วยว่า “ท่านยื้อธาตุขันธ์ไว้ไม่ไหวแล้ว คงต้องทิ้งธาตุขันธ์นี้แล้ว” และในวันที่ ๒๔ นี้เองหลวงปู่หลุย ท่านก็ได้เดินทางไปพักรักษาตัว ที่พักสงฆ์หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และท่านก็ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ สำนักสงฆ์หัวหินแห่งนี้ ในวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๒ เวลา ๐๐.๔๓ น. สิริอายุ ๘๘ ปี ๖๗ พรรษา

    ซึ่งในช่วงหนึ่งหลวงปู่สำลี ท่านได้กล่าวว่า “หลวงปู่หลุย ท่านเคยปรารถว่าอยากกลับไปวัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย เพราะจากมานานแล้ว แต่สุดท้ายก็สุดวิสัยท่านมาละสังขาร มรณะภาพไปเสียก่อน”

    หลวงปู่สำลีท่านกล่าวว่า “เราอยู่ช่วยงานหลวงปู่หลุยนี้จนแล้วเสร็จ ตั้งแต่เริ่มงาน จัดเตรียมงาน ไปจนถึงพระราชทานเพลิงสรีระสังขาร ที่วัดศรีมหาธาตุ บางเขน จนไปถึงแบ่งอัฐิธาตุหลวงปู่หลุย ไปบรรจุ ณ วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร คู่กับพิพิธภัณฑ์หลวงปู่มั่น จนแล้วเสร็จถึงปี ๒๕๓๕-๓๕๓๖ จึงได้เดินทางกลับ จ.เลย”

    หลวงปู่หลุย สอนธรรมปฎิบัติแบบใด
    ผู้เขียนเคยกราบเรียนสอบถามหลวงปู่สำลีว่า “แนวทางการปฎิบัติธรรมที่หลวงปู่หลุยท่านสอนลูกศิษย์ เป็นแบบใด” หลวงปู่สำลี อธิบายว่า…ท่านอยู่กับหลวงปู่หลุยมาร่วม ๆ ๑๐ กว่าปี หลวงปู่หลุย ท่านจะสอนให้ภาวนาอย่างเดียว จะภาวนาพุทโธเป็นหลัก แล้วท่านจะสอนการพิจารณาธรรมโดยเรียนว่า “การม้างกาย”

    หลวงปู่สำลีบอกว่า…“การม้างกายก็คือการที่เราพิจารณา ธาตุขันธ์เรานี้ละ ตามความเป็นจริง พิจารณาให้เห็นภายในกาย โดยการม้างกายนี้ คือ แยกส่วนต่างๆออกมาดู เช่นพวก ธาตุดิน ก็แยกตับไตใส้มากอง ๆ ดูว่ามีอะไรสวยอะไรงาม หรือ แยกธาตุน้ำ เช่น น้ำเลือด น้ำหนอง น้ำเหลืองมากอง ๆ ดู พิจาณาตามความเป็นจริง ให้มันเบื่อ มันหน่ายคลายกิเลส เห็นโทษแห่งความหลง แก้ความหลง”

    แล้วหลวงปู่สำลีท่านก็ อนุมานการม้างกายว่า.. “เหมือนเราจะฆ่าเป็ด ฆ่าไก่ นั้นแหละ เราก็เอามีดกรีดตรงไส้ตรงพุงมันดูใช่ไมละ เออว่าภายในมันมีอะไร ตับ ไต ไส้ น้ำเลือด น้ำหนอง ที่ไหลออกมานี้ มันเป็นยังไง ใช้จิตจดจ่อดูตามความเป็นจริงนั้น หรือว่าเราจะพิจารณากายนี้ ให้มันขึ้นอืด ขึ้นหนองเน่าไป แล้วให้มันแห้งลงไปในดินเป็นกระดูก กลับไปเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ นี้ก็ได้”

    แต่หลวงปู่สำลีท่านเน้นย้ำว่า…“จะม้างกายได้ จิตต้องสงบก่อนนะ มันค่อยเห็น มันค่อยเป็น ให้ขยันทำภาวนาพุทโธบ่อย ๆ จิตมันจะค่อยสงบของมันไปเอง อยากปล่อยให้จิตฟุ้งไปตามอารมณ์ เพราะมันจะไปรับเอาความทุกข์จากภายนอกมาใส่จิตใส่ใจเจ้าของ”

    ผู้เขียนกราบเรียนถามต่อไปว่า….“เมือถึงที่สุดแห่งธรรมพิจารณาจนเห็นแล้วจิตจะเป็นอย่างไร”

    หลวงปู่สำลี ท่านอุปมาว่า.. “จิตมันจะรู้ว่าอะไรจะทำแล้วทุกข์ อะไรเป็นภัยอะไรให้โทษ มันจะไม่ไปยุ่ง เหมือนเรานี้แหละ รู้ว่าว่าไฟมันร้อน เราก็ไม่ไปจับ รู้ว่าในป่านี้มีเสือเป็นสถานที่อันตราย เราก็ไม่ไปหลีกได้หนีได้นี้จึงเรียกว่ารู้ ที่เราทุกข์ ๆ อยู่ทุกวันนี้ เพราะมันไม่รู้ ถ้ารู้มันจะไม่ทุกข์”

    หลวงปู่สำลี ท่านก็ได้ปฎิบัติตามคำสอนของหลวงปู่หลุยมาโดยตลอดตั้งแต่ท่านบวช จนวาระสุดท้ายของหลวงปู่หลุย เริ่มความพากความเพียรปฎิบัติมา ท่านก็เคยกล่าวว่า “ได้หลักจิต หลักใจพอสมควร”

    %89%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5000-683x1024.jpg
    เจดีย์ จันทสาโรนุสรณ์ ณ วัดถ้ำคูหาวารี จ.เลย
    วัดถ้ำคูหาวารี หรือคนในพื้นที่รู้จักกันในนาม “ถ้ำน้ำ” มีบริเวณเขตธรณีสงฆ์ประมาณ ๑๐๐ กว่าไร่ ขึ้นเป็นวัดแล้วตามมติมหาเถระสมาคมอย่างถูกต้อง โดยมีสิ่งปลูกสร้างคือ ศาลาฉันท์ กุฎิสงฆ์ และเจดีย์ บริเวณโดยรอบวัดเป็นป่าเขา และมีถ้ำที่มีตาน้ำไหลออกมาจากถ้ำตลอดฤดูกาล เป็นที่เงียบสงบสัปปายะ ในอดีตเคยเป็นที่พักภาวนาของครูบาอาจารย์หลายองค์ ตั้งแต่หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่คำดี ปภาโส เป็นต้น ที่เคยแวะเวียนและมาพักภาวนาในสถานที่แห่งนี้ ปัจจุบันทางวัดกำลังดำเนินงานก่อสร้างเจดีย์ “จันทสาโรนุสรณ์” ไว้เป็นอนุสรณ์ธรรมแห่งองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร โดยหลังจากงานพระราชทานเพลิงสรีละสังขารหลวงปู่หลุย ณ วัดศรีมหาธาตุแล้วเสร็จ อัฐิธาตุหลวงปู่หลุยก็ได้ถูกบรรจุรักษาไว้ ณ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดศรีมหาธาตุบางเขน กรุงเทพฯ แรกเริ่มนั้น หลวงปู่ท่อน ญาณธโร จะขอแบ่งอัฐิธาตุหลวงปู่หลุย กลับมาบรรจุยังวัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย ก็มิได้รับอนุญาตจากวัดศรีมหาธาตุ ต่อมาคณะสงฆ์จังหวัดเลยเห็นว่า..

    หลวงปู่สำลี สุทฺธจิตฺโต ท่านเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่หลุยที่สุด จึงได้ให้หลวงปู่สำลีไปติดต่อขออัฐิหลวงปู่หลุย ด้วยให้เหตุผลเดิมว่าหลวงปู่หลุยท่านอยากจะกลับวัด แต่ท่านก็ได้รับการปฏิเสธอีกครั้ง เมื่อไม่มีหนทางที่จะได้ ท่านจึงได้ทดลองขอเตาที่ใช้ในงานพระราชทานเพลิงศพขององค์หลวงปู่หลุย เพื่อนำกลับสู่จังหวัดเลย ซึ่งก็เป็นสิ่งท้าทาย เพราะเตามีน้ำหนักมาก ถ้าท่านสามารถเคลื่อนย้ายเตาไปได้ ก็ยินยอมยกเตานี้ให้ท่านไป และเมื่อหลวงปู่สำลี สามารถเคลื่อนย้ายเตากลับสู่จังหวัดเลยได้ ท่านจึงได้สร้างพิพิธภัณฑ์หลังเล็ก ๆ ไว้เพื่อเก็บเตาหลวงปู่หลุย ณ วัดถ้ำคูหาวารี

    ต่อมาหลวงปู่สำลี ได้ขออนุญาตคณะสงฆ์จังหวัดเลยเพื่อเปิดเตาเผาสรีระสังขารหลวงปู่หลุย ก็พบว่ายังมีเศษ อัฐิหลวงปู่หลุยอยู่จำนวนหนึ่ง จึงได้นำอัฐิทั้งหมดออกมารวม ๆ กันไว้ แล้วแบ่งไปที่วัดถ้ำผาบิ้งจำนวนหนึ่ง ซึ่งต่อมาวัดถ้ำผาบิ้งได้สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิ และเครื่องบริขารหลวงปู่หลุย ไว้ที่แห่งนี้ด้วย

    และครั้งปี พ.ศ.๒๕๕๕ หลวงปู่สำลี ได้เล็งเห็นว่าวัดถ้ำคูหาวารีแห่งนี้ ก็เป็นวัดแห่งหนึ่งขององค์หลวงปู่หลุยที่เคยมาสร้างมาบุกเบิกไว้ และส่วนหนึ่งท่านก็มีความเคารพนับถือหลวงปู่หลุย ผู้เป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์ของท่านอยู่แล้ว อีกอย่างจะได้ทำที่บรรจุอัฐิหลวงปู่หลุยให้ดูเหมาะดูสม ท่านจึงดำริสร้างเจดีย์ เพื่อประดิษฐานอัฐิหลวงปู่หลุยให้เป็นที่กราบไหว้บูชา ของศรัทธาญาติโยมพุทธศาสนิกชน และเป็นอนุสรณ์ธรรมคู่พระพุทธศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า ท่านจึงสร้างเจดีย์ “จันทสาโรนุสรณ์” ขึ้นมา ณ วัดถ้ำคูหาวารี โดยเริ่มวางรากฐานการก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๖ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๖๑) ซึ่งก็ดำเนินการไปแล้วกว่า ๘๐% เหลือตบแต่งภายในและทาสีภายนอกบางส่วน

    8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B8%88.%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%A2.jpg
    เจดีย์ จันทสาโรนุสรณ์ ณ วัดถ้ำคูหาวารี จ.เลย
    ซึ่งรูปทรงของเจดีย์จะมีลักษณ์คล้าย ๆ กับพระธาตุพนม แต่จะเล็กกว่าโดยมีความสูงจากพื้นถึงยอดฉัตรประมาณ ๓๕ เมตร โดยรอบทำเป็นศาลาเพื่อไว้ทำศาสนกิจ และเป็นที่ปฎิบัติธรรม หรือไว้จัดงานครบรอบสำคัญๆต่างๆของวัดแล้วแต่โอกาสอันสมควร ภายในเจดีย์จะมีฐานที่ประดิษฐานรูปหล่อโลหะเท่าองค์จริง หลวงปู่หลุย จันทสาโร และที่บรรจุอัฐิธาตุหลวงปู่หลุย และพระบรมสารีริกธาตุภายในเจดีย์อีกด้วย

    %B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5.jpg
    เจดีย์ จันทสาโรนุสรณ์ ณ วัดถ้ำคูหาวารี จ.เลย SAM_9178.JPG SAM_9179.JPG SAM_9180.JPG SAM_8108.JPG
     
  13. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,905
    ค่าพลัง:
    +6,826
    ขอจอง767ครับ
     
  14. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 768 ล็อกเก็ตหลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าห้วยกุ่ม อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ หลวงพ่อสายทองเป็นศิษญืหลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง มีพระเกศาหลวงพ่อมาบูชาเป้นมงคลด้วยครับ >>>>>>>บูชาที่ 545 บาทฟรีส่งems(องค์นี้เลี่ยมกันนํ้าอย่างดี)
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม

    วัดป่าห้วยกุ่ม
    อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ



    %B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1-707x1024.jpg
    หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม วัดป่าห้วยกุ่ม
    หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม เดิมชื่อ “สายทอง คำมิสา” เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๑ ที่หมู่บ้านดอนสำราญใต้ กิ่ง อ.เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด ของครอบครัว “คำมิสา” เป็นบุตรคนที่ ๓ ในจำนวนบุตร ๑๑ คน บิดาชื่อ นายพุธ และมารดาชื่อ นางพา ประกอบสัมมาอาชีพ ทำไร่ ทำนา เลี้ยงครอบครัวด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

    หลวงพ่อสายทอง ท่านเล่าว่า… เมื่อมีอายุเข้าเกณฑ์การศึกษา ผู้ปกครองจึงได้นำไปฝากเรียนที่โรงเรียนบ้านดอนสำราญใต้ จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ได้ดำเนินชีวิตตามท้องไร่ท้องนาประกอบอาชีพตามวิถีชีวิตชนบท หลังจากนั้นก็ได้บวชเป็นเณรอยู่ ๒ ปี แล้วสึก จนอายุ ๓๒ ปี ญาติผู้ใหญ่จึงได้จัดหาคู่ครองให้ อยู่กินกับภรรยาจนมีบุตรหญิงด้วยกัน ๑ คน ด้วยความยากจนและการทำมาหากินที่ฝืดเคือง จึงตัดสินใจเข้ากรุงเทพฯ เพื่อขับรถแท็กซี่ จนมาวันหนึ่ง ท่านถูกผู้โดยสารหลอกให้ไปส่งในที่เปลี่ยว แล้วโจรในคราบผู้โดยสารก็แสดงตัวขึ้นปล้นจะเอารถแท็กซี่ เครื่องมือทำมาหากินเลี้ยงชีพอย่างเดียวของท่านไป ท่านได้ถูกคนร้ายตีเสียจนน่วมไปทั้งตัว แล้วโยนทิ้งลงแม่น้ำข้างทาง ท่านนอนสลบอยู่ตัวไปติดกอผักตบเกาะไว้อยู่อย่างนั้น ก่อนฟื้นได้ยินเสียงพูดก้องหูว่า “โลกนี้หาความซื่อสัตย์ยาก ผ้ากาสาวพัสตร์นั้นจะช่วยเธอได้”

    เมื่อภายหลังจากที่ท่านมาสร้างวัดป่าห้วยกุ่มแล้ว ท่านเล่าได้เล่าว่า พระที่มาช่วยท่านขึ้นจากการหมดสติในคราวเป็นฆราวาสนั้น คือ หลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค ซึ่งตอนนั้นท่านไม่รู้จัก มาจำได้ก็ตอนที่มีโยมนำรูปเหมือนท่านมาถวายที่วัด พอเห็นใบหน้าพระองค์นั้นจึงจำได้ว่า องค์นี้มาช่วยเราไว้ ฝ่ายโยมผู้นำพระรูปเหมือนหลวงพ่อปาน มาถวายเองนั้นก็เล่าว่า หลวงพ่อปานมาเข้าฝัน บอกให้ทำรูปเหมือนมาถวายที่วัดป่าห้วยกุ่ม จ.ชัยภูมิ ซึ่งตัวเขาเองก็ไม่รู้จักวัดนี้หรือแม้แต่หลวงพ่อสายทองมาก่อนเลยด้วยซ้ำ

    หลังจากรักษาร่างกายอยู่นาน พอหายจึงได้ออกบวชโดยไม่ยอมบอกใครเลย เข้าบวชเป็นนาคตาปะขาว นานประมาณ ๑ เดือน จากนั้นจึงได้เข้าสู่เพศบรรพชิตด้วยวัย ๓๕ ปี ณ วัดป่ากุง อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๗ เวลา ๒๑.๐๐ น. โดยมีท่านเจ้าคุณภัทรมุณี (เลื่อน) วัดเหนือ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นพระอุปัชฌาย์ มีหลวงปู่ศรี มหาวีโร เป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์ คอยอบรมสั่งสอนเรื่อยมา

    จากนั้นท่านจึงออกรุกขมูลไปศึกษาธรรมกับพ่อแม่ครูอาจารย์ และไปยังป่าเขาลำเนาไพรในสถานที่ ที่จะเรียกสติและกำลังใจได้ดี นั่นคือตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฏ สมัยที่ท่านออกไปธุดงค์อยู่ตามป่าเขา ท่านเคยโดนผีมาหลอก โดยขวักไส้ ขวักลูกตาโบ๋ แลบลิ้นปริ้นตามาหลอกท่าน ท่านตอบผีไปว่า โอ๊ย ไม่กลัวหลอก ไส้เราก็มี แถวยังดีกว่าด้วย ไม่เน่าอย่างนั้น ตาก็ดียังใช้การได้อยู่ ที่แสดงมานั่น ไม่กลัวหรอก ไม่ต้องมาหลอกหรอก

    การปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม นั้นคือเอาตายเข้าแลก คือยอมหักแต่ไม่ยอมงอ ท่านปฏิบัติอย่างจริงจัง ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า ตอนจิตท่านฟุ้งซ่านง่วงหงาวหาวนอน ท่านแก้กิเลสด้วยการไปเดินจงกลมในน้ำ เดินกลับไปกลับมาอย่างนั้น ถ้าหลับก็ให้จมลงไปเลย การอดอาหารภาวนาก็ช่วยได้อย่างหนึ่ง ท่านเคยอดอาหารภาวนาติดต่อกันยาวนานถึง ๔๕ วัน เพื่อเร่งความเพียร โดยองค์ท่านให้เหตุผลว่า การงดฉันอาหารช่วยให้กายเบาจิตเบา ถึงแม้จะมีความหิวเกิดขึ้นมากมายขนาดไหนก็ตาม ล้วนเป็นอุปการะคุณต่อการปฏิบัติจิตตภาวนาทั้งสิ้น คือ จิตสงบละเอียด ปัญญาเฉียบคมเป็นพิเศษ และอีกสิ่งหนึ่งซึ่งถือเป็นปฏิปทาของหลวงพ่อสายทอง ที่เด็ดเดี่ยวไม่แพ้การอดอาหาร สิ่งนั้นคือการเดินจงกรม

    B8%AD%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A1.jpg
    หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม วัดป่าห้วยกุ่ม
    การเดินจงกรมเป็นการเดินภาวนาอย่างหนึ่ง พระกัมมัฏฐานใช้ในการเปลี่ยนอริยาบถ สลับกับการนั่งภาวนา ภาวนา “พุท-โธ” พร้อมกับรับรู้ไปกับการเดิน การเคลื่อนไหว ผู้รู้จริงๆ นั้นเอาไว้จุดไหนก็ได้ภายในร่างกายของเรา มันจะขยับไปไหนรู้หมด มันมีแต่ผู้รู้ เพราะจิตมันละเอียดมันไม่ปล่อยพุทโธ พุทโธไม่มีแล้ว เวลานี้มันเป็นของมันอัตโนมัติ

    แต่ก่อนไปหยิบมั่วเลย ใจดวงนี้ ไอ้นั่นก็จะเอา ไอ้นี่ก็จะเอา…นั่นดูซิ ถึงบอกว่าถ้าเราฝึกดีแล้ว อันนั้นไม่เอา อันนี้ไม่เอา อันนี้ไม่ใช่ มันอด รู้ว่าของร้อนมันไม่ไปแตะ มันเป็นอย่างนั้น ถ้าสติดีมันเกิดขึ้นไม่ได้นะภายในจิต มีเท่าไหร่ดับหมด เกิดดี ไม่ดี ับมันรู้ รู้เท่าทันไม่ไปเกี่ยวข้องกับสิ่งใด มันก็อยู่เป็นเอกเทศซิ เอกเทศก็หมายถึง เอโกธัมโม จิตเป็นหนึ่ง เอาหล่ะซิ ใครจะมาบังคับจิตได้ในโลกอันนี้ ความอยากทั้งหลายทั้งปวง เรื่องของโลกจะมาบังคับจิตไม่ได้ มันเป็นอัตโนมัติ แม้แต่ตัวเองทำผิดมันยังดุ ธรรมภายในจิตเวลามันออกมา น่ากลัว แม้แต่นั่งอยู่คนเดียวมันยังด่าตัวเอง ไปทำผิออะไรมา พอมันตรวจตรา ทำอย่างนี้ใช้ได้เรอะ ?

    สำหรับหลวงพ่อสายทอง ท่านชอบการเดินจงกรมมากเป็นพิเศษ ครั้งแรกที่เดิน ครั้งนั้นอดอาหารภาวนาอยู่ ๙ วัน พอออกจากที่นั่งสมาธิก็มาเดินจงกรม เดินได้ครึ่งวันรู้สึกแรงมันหมด เอ้า…เดินไม่ได้ก็นั่ง พอวันที่สองก็เอาอีก เดินถึงเก้าโมงแรงหมดไม่มีเลยเพราะไม่ได้ฉัน เดินไปก็หกล้ม เลยนั่ง เอ้า…วันที่สามลุกขึ้นมาเดิน ยังไม่ทันสองชั่วโมงไม่ถึงแปดโมงเลยแรงหมดหกล้ม
    “อย่างนี้ใช้ไม่ได้ การฝึกของเรานี้อ่อนมาก ต้องฝึกใหม่” ครบ ๙ วันก็ฉันตามปกติ แต่คราวนี้ฝึกใหม่ คือฉันเสร็จเข้าทางจงกรมเลยไม่ให้พักผ่อน เดินไปเรื่อยถึงเที่ยงคืนตีหนึ่ง บางทีก็ข้ามคืน รู้สึกว่าแข็งแกร่งขึ้น เดินครั้งแรกมีเจ็บปวดบ้าง พอพิจารณามันก็หาย บางทีลงทางจงกรมใหม่ๆ เหมือนเราจะเดินไม่ได้ มันเจ็บมันปวด พอเดินไปชั่วขณะหนึ่งเดินตัวเบาหวิว เวลาเดินทางจงกรมแล้วไม่อยากออก มันอยากจะเดินอยู่อย่างนั้น มันสบายมีความรื่นเริง

    8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1-2.jpg
    หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม วัดป่าห้วยกุ่ม
    หลวงพ่อสายทอง ท่านเคยเดินจกรมติดต่อกันได้ยาวนานถึง ๑๓ วัน ภายในถ้ำมโหฬาร อ.หนองหิน จ.เลย ท่านเดินจงกรมทั้งวันทั้งคืน หยุดยืนพักภาวนาชั่วขณะคราวเหนื่อยอ่อน เดินไปฝ่าเท้าร้อนเหมือนเดินบนกองเพลิง เนื้ออ่อนของฝ่าเท้าสุดทานทนต่อการสัมผัสดินอย่างไม่หยุดหย่อน จนฉีกขาดเลือดไหลทะลัก ต้องใช้ผ้าพันแผลแล้วเดินต่อ ทุกขเวทนาก่อตัวรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั้งเป็นมหาทุกข์ คล้ายร่างกายจะระเบิด ทุกข์นี้เป็นเครื่องทดสอบจิตใจ ไหวพริบสติปัญญา ว่าจะสามารถผ่านพ้นทุกข์ – สมุทัย ไปสู่นิโรธได้หรือไม่

    มันนอนไม่ได้ ถ้ามานั่งอย่างนี้ไม่ได้ เป็นไฟไปเลยภายในร่างกาย จะอยู่ได้เฉพาะในทางจงกรม จากนั้นมาวันที่ ๑๓ อุปาทานขันธ์ความยึดมั่นถือมั่นมันวางประมาณบ่ายสองโมงกว่า พอทุกข์มันดับลงแล้วก็ไม่รู้ตัว เดินไปอย่างนั้น ไม่รู้ว่ามืดเมื่อไหร่ พอจิตถอนขึ้นมาอีกที เขาจุดไฟกันแล้ว แต่ความรู้สึกมันเหมือนกับแสงเทียนลอยไปลอยมาอยู่ท่ามกลางทางจงกรม

    ท่านว่า “ต้องอยู่ในสนามรบ ทุกข์มันเกิดขึ้น ถ้าใจเราไม่แข็งจริงๆ แล้วไปไม่ได้ มันต้องตัดสินใจลงไปว่า ทุกข์มันจะแสนสาหัสขนาดไหน เราก็จะเป็นเพียงผู้รู้ผู้เห็น ถ้าทุกข์ไม่ดับให้เห็นไปกับตาของเรา เราจะไม่ออกจากทางจงกรม กี่วันก็ย่าง(เดิน) กี่คืนก็ย่าง ให้จิตมันหยั่งลงไป ถ้าเดินไม่ได้เราจะคลานลงไป ถ้าคลานไม่ได้เราจะนอนกลิ้งลงไป ทุกข์นี่มันจะดับไหม พอจิตมันหยั่งลงไปในความสงบ ทุกข์ดับมันก็รู้

    เมื่อทุกข์มากๆ มันไม่มีเรื่องอื่น มีแต่เรื่องใจกับเวทนา พูดอย่างนั้นเลย รูปมันก็ตั้งอยู่อย่างนั้น ปัญญานั่นแหละห่ำหั่นความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ทั้งห้า ตัวนี้หล่ะมันแรง ยึดไม่มีประมาณ อันนี้ก็เป็นของเรา มือไม้อะไรยึดเอาหมด มันว่าเป็นของเรา ไม่ยอมปล่อย เหนียวแน่นยิ่งกว่าอะไรเสียอีก ถ้ามันจนตรอกจนมุมจริง มันไม่ยอมปล่อย จนตรอกจนมุมในที่สุด ตายก็ตายตัดพรึ่บแค่นั้น !

    พอทุกข์ดับลงเราก็รู้นะ เวทนามันไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เวลามันปล่อยวางอุปาทานขันธ์มันเป็นอย่างนี้แหละ จากนั้นจะให้มันยึดอีกมันก็ไม่ยึดละ ถ้าเป็นนักมวยเอาชนะกันสักครั้งหนึ่ง โอ้โฮ กำลังใจดีมากเลยในการต่อสู้ มาตอนหลังเวลาล้มป่วย หลวงพ่อไม่เคยให้ยา…ปล่อย ไอ้การปล่อยตัวนี้แหละก็คือว่า เอ้า…มันจะเป็นอย่างไรก็ปล่อยมันหล่ะ ไม่เสียดายละ มันจะแตกคืนนี้ก็แตก มันจะแตกพรุ่งนี้หรือเวลาไหนก็เป็นเรื่องของมัน แต่ก็ไม่แตกดับ มันยังไม่ถึงวาระมันก็ยังไม่ตาย จากนั้นมาถึงคราวล้มป่วยลงยิ่งสบาย จิตมันรวมเข้ามา ไม่ได้กำหนดอะไรยากเลย มันเป็นของมันอัตโนมัติเลย

    ปัญญานี่แหละ ที่ใช้อบรมจิตใจให้มันคลายจากความยึดมั่น พิจารณาอยู่เป็นนิจ ทุกข์เกิดจุดไหนก็พิจารณา จุดนี้หล่ะสำคัญ “ปัญญา” แสงสว่างใดจะเสมอเหมือนด้วยปัญญาไม่มี ในธรรมทั้งหลายทั้งปวงก็รวมลงมาในจุดนี้ นัตถิ ปัญญา สมาอาภา คำสั่งสอนทั้งหลายรวมลงมาจุดนี้ สมาธิทำให้จิตใจสงบมีอยู่อารมณ์เดียวนั่นแหละ นอกจากนั้นปัญญาห่ำหั่นแยกแยะออก ในที่สุดมันก็จะขาดพรึ่บลง กองทุกข์ทั้งหลายจิตมันปล่อย พูดง่ายๆ ทุกข์ทั้งหลายมันปล่อย ปล่อยขันธ์ ความยึดมั่นถือมั่นมันปล่อยลงพรึ่บนี่มันก็เบาๆ เหมือนกับนุ่นที่มันลอยไปลอยมานี่ละ นั่น…เบาถึงขนาดนั้น เดินเหินไปไหนมาไหนปกติทุกอย่าง เป็นอย่างนั้น เป็นคนละส่วนไปเลย ทุกวันนี้เดินทั้งวันทั้งคืนมันก็ไม่ยึดทุกข์…อยู่ได้

    การฝึกสอนตนไม่ใช่ของง่ายนะ ฝึกตนให้ดี ฝึกตนให้มีความตั้งมั่น ฝึกตนให้อยู่ในความมักน้อย ฝึกตนไม่ให้ไปรังแกคนอื่น แล้วในที่สุด ใจดวงนี้ฝึกได้แล้ว มันจะเป็นที่พึ่งของใคร มันจะเป็นที่พึ่งของคนอื่นก็ได้ แล้วมันก็ย่นเข้ามาเป็น อัตตาหิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน เห็นไหม ประกาศออกมาเลย มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ นะ

    หลวงพ่อสายทอง ท่านเล่าอีกว่า ท่านได้นิมิตเห็นหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มาหามาเยี่ยมและไตร่ถามว่า เธอจะเป็นพระแบบไหน ท่านจึงตอบหลวงปู่มั่นไปว่า ผมจะยึดพระแบบหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นแบบอย่างครับ คือเมื่อตนเป็นที่พึ่งแห่งตนเองได้ก่อนแล้ว ก็เป็นที่พึ่งแห่งโลก สงเคราะห์โลกแบบองค์หลวงตามหาบัว ที่ท่านพาดำเนิน ภายหลังจากนั้นหลวงพ่อสายทอง ท่านก็เมตตาสงเคราะห์โลก เกื้อกูลโลก โดยช่วยสร้างสาธารณะประโยชน์ให้แก่สังคม เช่น ปลูกสร้างตึกโรงพยาบาลผู้ป่วยและเครื่องมือแพทย์ในอำเภอต่างๆ โรงเรียน สถานีตำรวจ เรือนจำ เป็นต้น

    ในส่วนของพระภิกษุสงฆ์ที่มาอบรมศึกษาธรรมกับท่านที่วัดป่าห้วยกุ่ม ท่านก็เคร่งครัด ในข้อธรรมข้อวินัย อีกทั้งยังห้ามไม่ให้พระสงฆ์อ่านหนังสือพิมพ์ ไม่ให้ใช้โทรศัพท์มือถือ หากท่านพบเห็นก็จะหยิบโยนเข้าป่าไปเลย จริงๆ แล้วที่วัดป่าห้วยกุ่มก็ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์อยู่แล้ว ซึ่งก็เป็นข้อดีที่หลวงพ่อท่านชอบ แต่ทำไมหลวงพ่อสายทองท่านจึงเคร่งครัดเรื่องนี้นัก เช่น มีอยู่ครั้งนึงท่านเล่าให้ฟังว่า มีพระบวชจากที่อื่น มาขอภาวนาอบรมธรรมอยู่กับท่าน พระรูปนี้แอบพกมือถือ พอท่านทราบก็เรียกเขามาคุย บอกให้เอามือถือออกมา หลวงพ่อสายทองท่านเองใช้มือถือไม่เป็น แต่ก็ชี้บอกให้เขาเข้าเมนูต่างๆ ไล่ไป ไล่ไป จนไปเจอภาพโป๊ในเครื่อง ท่านจึงสั่งพระให้ลบทิ้งเสีย ไม่เช่นนั้นก็จะไม่ให้อยู่อีกต่อไป หลวงพ่อท่านบอกเห็นมั้ยๆ เราถึงไม่อยากให้พระใช้มือถือเลย ทั้งนี้เพราะท่านไม่ต้องการให้พระภิกษุสงฆ์ส่งจิตออกไปภายนอก ให้พระสงฆ์ตั้งใจฝึกฝนอบรมหันเข้ามาดูภายในจิตในใจตนเองมากกว่า

    ปัจจุบัน หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม เจริญอายุวัฒนมงคลครบ 73 ปี พรรษา 38 (16 ตุลาคม พ.ศ.2554)

    โอวาทคำสอนหลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม

    “…หลักธรรมะของพระพุทธเจ้าคืออยากให้ภาวนา การทำบุญให้ทานได้บุญอย่างเต็มที่สุดจิตสุดใจ มาทำบุญแต่ละครั้งมันเกิดขึ้นที่จิตที่ใจ ถ้าใจไม่เกิดขึ้น มาไม่ได้นะ นี่มันเป็นอย่างนี้ จึงอยากให้ภาวนา อยากให้รู้ อยากให้เห็นบ้าง เพราะวาระสุดท้าย เราจะได้พึ่งตัวเองได้ เป็นอัตตาหิ อัตตโน นาโถ.. SAM_9176.JPG SAM_9177.JPG SAM_7823.JPG
     
  15. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 769 เหรียญนำโชคหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน พระอรหันต์เจ้าวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี หลวงตามหาบัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคกลาง เหรียญเนื้อทองฝาบาตร มีตอกโค๊ตดอกบัวหน้าเหรียญ สร้างปี 2553 (เหรียญรุ่นนี้ลูกหลานของหลวงตาขอสร้างขึ้นเพื่อตระกูลโลหิตดี ก็คือนามสกุลของหลวงตามหาบัวเองครับ) >>>>มีพระเกศา,พระธาตุมาบูชาเป็นมงคล **********บูชาที่ 395 บาทฟรีส่งems SAM_9199.JPG SAM_9201.JPG SAM_8010.JPG
     
  16. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,905
    ค่าพลัง:
    +6,826
    ขอจองครับ
     
  17. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 770 พระกริ่งรุ่น 1เเละรุ่นเดียวหลวงปู่พวง สุวีโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าปูลู อ.หนองหาน จ.อุดรธานี หลวงปู่พวงเป๋นศิษย์หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม พระกริ่งสร้างปี 2544 เนื้อโลหะผสม มีตอกโคีตใต้องค์พระ 2 โค๊ต โค๊ตตัวเลข 580 เเละโค๊ต ยันต์ ก้นทองเเดง >>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *********บูชาที่ 435 บาทฟรีส่งems
    ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่พวง สุวีโร (พระครูวีรธรรมานุยุต) วัดป่าปูลูสันติวัฒนา ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี
    8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2-3-712x1024.jpg
    หลวงปู่พวง สุวีโร (พระครูวีรธรรมานุยุต) วัดป่าปูลูสันติวัฒนา
    หลวงปู่พวง สุวีโร มีนามเดิมว่า พวง สีทะเบียน เกิดวันจันทร์ ที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๑ ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปี มะโรง ณ บ้านปูลู ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

    บิดา-มารดา ชื่อ นายจุ่น สีทะเบียน และนางมา ขันตีพันธุวงศ์ มีพี่น้องทั้งหมด ๑๔ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๘

    เรื่องราวในชีวิต เมื่อท่านอายุได้ ๑๖ ปี ได้ทำงานประมงบ้าง ทำงานต้มสุราบ้าง ไม่นานก็ได้ยินข่าวว่ามารดาป่วยหนักจึงลางานไปเยี่ยมมารดา ก่อนมารดาของท่านจะสิ้นลม ได้สั่งท่านว่า

    “บวชให้แม่นะ ถ้าลูกไม่บวชให้ แม่จะตายตาไม่หลับ”

    ท่านก็รับปาก แล้วมารดาก็สิ้นใจ ด้วยจิตศรัทธาอยากจะบวชอยู่แล้ว ในช่วงที่รอเวลาเหมาะที่จะบวชอยู่นั้น ท่านได้แสวงหาฟังธรรมะจากครูบาอาจารย์อยู่เรื่อย ๆ เช่น ไปฟังธรรมะพระอาจารย์สิงห์ สหธัมโม , พระอาจารย์พร สุมโน , พระอาจารย์สีลา เทวมิตโต

    %B8%B9%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2.jpg
    พระครูวีรธรรมานุยุต (หลวงปู่พวง สุวีโร) วัดป่าปูลูสันติวัฒนา
    เมื่อ ถึง พ.ศ.๒๔๙๐ ท่านได้นุ่งขาวห่มขาวอยู่กับพระอาจารย์สีลา เทวมิตโต อยู่ถึง ๒ ปี จึงได้บรรพชา เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓

    ในช่วงระยะนั้นท่านยังได้ฟังธรรมของหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่มาแวะเวียนธุดงค์อยู่แถวนั้นด้วย ท่านเล่าว่า ท่านเองได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่ขาว อนาลโย วันหนึ่งนั่งสมาธิเห็นโยมแม่ที่ตายแล้ว ได้เป็นอยู่อย่างอัตคัด ไม่มีผ้านุ่งผ้าห่ม ไม่มีที่อยู่ที่อาศัย จึงอธิษฐานกับพระประธานว่า

    “ช่วงเช้าไปบิณฑบาต ขอให้มีคนมาถวายผ้า”

    ครั้นไปบิณฑบาตก็มีคนมาถวายผ้าขาวจริงๆ ท่านจึงนำผ้าขาวไปย้อมด้วยหินสีแดง แล้วนำไปซักตาก พอแห้งก็นำมาย้อมแล้วซักตากอีกรอบ จากนั้นก็นำไปพับถวายหลวงปู่ขาว กราบเรียนท่านว่า

    “ขอโอกาสพ่อแม่ครูจารย์ บังสกุลแหน่ อุทิศให้แม่”

    หลวงปู่ขาว จึงชักผ้าบังสุกุลให้ คืนนั้นหลวงปู่พวง นั่งภาวนาเห็นโยมแม่ มีผ้านุ่งผ้าห่มผืนใหม่ แล้วยังมีผ้าอีกหลายผืนห้อยเต็มไปหมด

    จากนั้นหลวงปู่พวงจึงคิดว่าทำอย่างไร โยมแม่จึงมีที่อยู่ที่อาศัย หลายวันต่อมา มีโยมนิมนต์หลวงปู่ขาว กับพระที่วัดไปสวดมนต์ที่บ้าน หลวงปู่พวง จึงได้มีโอกาสตามไปด้วย ญาติโยมได้ถวายปัจจัย หลวงปู่ขาว จึงบอกกับพระสงฆ์ว่า อัฐบริขารเราก็มีอยู่พร้อมแล้ว ให้นำปัจจัยนี้ไปสร้างกุฏิ และถาน(ส้วม) ตามที่ท่านพวง อธิษฐานไว้ ครั้นเมื่อสร้างเสร็จ หลวงปู่พวง จึงได้น้อมถวายกุฏิ และถาน(ส้วม) แก่หลวงปู่ขาว อนาลโย

    จากนั้นตกกลางคืน หลวงปู่พวงได้นั่งสมาธิ มองหาแม่ ออกตามหาทั้งคืนก็ไม่เห็น ผ่านไป ๔ วัน จึงไปกราบเรียนหลวงปู่ขาว

    “ขอโอกาสพ่อแม่ครูจารย์ หาแม่บ่เห็น”

    หลวงปู่ขาว บอกให้ “ขึ้นสูงๆ”

    หลวงปู่พวง จึงนั่งสมาธิหาตามยอดไม้ก็ไม่เห็น หรือจะเป็นที่สวรรค์กันแน่ ท่านจึงรวบรวมพลังจิตทั้งหมดขึ้นไปดู จึงเห็นวิมานของโยมแม่บนสวรรค์ เห็นร่างกายที่เป็นทิพย์ของโยมแม่ จึงสบายใจขึ้นว่า โยมแม่พ้นทุกข์แล้ว ก็เพราะด้วยบารมีธรรมของของพระผู้มีศีลอันบริสุทธิ์ หากเราได้ถวายทานแก่พระภิกษุ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว อานิสงส์ย่อมส่งผลไปถึงญาติของเราแม้นอยู่ปรโลก ก็สามารถให้พ้นทุกข์ พ้นโทษภัยได้ อย่างองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านจึงถือว่าเป็นเนื้อนาบุญเอกของโลก

    ช่วงนั้นเป็นช่วงที่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อาพาธหนัก พำนัก ณ สำนักป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร คณะศิษย์ได้อาราธนา ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ขึ้นแคร่เพื่อหามท่านไปละสังขารที่ตัวเมืองสกลนคร สามเณรพวงได้ช่วยหามหลวงปู่มั่นไปจนถึงวัดป่ากลางโนนภู่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร และติดตามคณะนำหลวงปู่มั่นไปถึงวัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร และหลวงปู่มั่นก็มรณภาพ ณ ที่นั้น

    สามเณรพวงจึงได้อยู่ช่วยงานถวายเพลิงศพหลวงปู่มั่นจนแล้วเสร็จและ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ เวลา ๑๕.๔๐ น. ณ อุทกุกเขปสีมากลางน้ำหนองแวง อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร โดยมีพระครูพุฒิวราคม (พุฒ ยโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    %B9%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%87-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%A3-3.jpg
    แถวยืนจากซ้าย :
    หลวงปู่พวง สุวีโร, หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ
    และหลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม
    แถวนั่งจากซ้าย :
    หลวงปู่คำพอง ติสฺโส, หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป,
    หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ และหลวงปู่ท่อน ญาณธโร

    หลังจากอุปสมบทแล้วท่านได้ออกปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ได้ออกธุดงค์กรรมฐานไปในเขตหลายจังหวัด ทั้งในภาคอีสานและภาคเหนือ และได้รับการอบรมกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายรูป อาทิเช่น หลวงปู่ขาว อนาลโย , หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ , หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ , หลวงปู่จันทร์ เขมปัตโต , หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นต้น และได้มาก่อตั้งวัดป่าปูลูสันติวัฒนา ที่บ้านปูลู ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

    8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2-2-712x1024.jpg
    หลวงปู่พวง สุวีโร วัดป่าปูลูสันติวัฒนา อ.หนองหาน จ.อุดรธานี
    %B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2-768x1024.jpg
    หลวงปู่พวง สุวีโร วัดป่าปูลูสันติวัฒนา อ.หนองหาน จ.อุดรธานี
    หลวงปู่พวง สุวีโร มีสหธรรมมิกที่เคยร่วมปฏิบัติธรรมด้วยกัน หลายรูป อาทิเช่น หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ , หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร , หลวงปู่ท่อน ญาณธโร , หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม เป็นต้น

    หลวงปู่พวง สุวีโร ท่านเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัยรูปหนึ่ง และดำเนินปฏิปทาสืบทอดมาจากองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่ศาสนาธรรม คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้กระจายไปทั่วทั้ง ๘ ทิศ ด้วยน้ำเสียงและสำนวนการเทศนาที่ไพเราะน่าฟังของท่านเป็นเหตูให้มีผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาและองค์ท่านเป็นจำนวนมาก

    หลวงปู่พวง สุวีโร ท่านได้ถึงแก่มรณภาพในขณะกำลังนั่งภาวนา เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๖ เวลา ๐๙.๕๐ น. ด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพฯ

    B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%87-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%A3.jpg
    หีบศพของท่าน หลวงปู่พวง สุวีโร
    B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2-1024x1024.jpg
    เกศา ของท่าน หลวงปู่พวง สุวีโร วัดป่าปูลูสันติวัฒนา
    %B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2-1024x576.jpg
    อัฐิธาตุ ของท่าน หลวงปู่พวง สุวีโร วัดป่าปูลูสันติวัฒนา
    โอวาทธรรมแห่งองค์หลวงปู่พวง
    พระครูวีรธรรมานุยุต (หลวงปู่พวง สุีวีโร)


    ประวัติหลวงปู่พวง สุวีโร
    หลวงปู่พวง สุวีโร
    วัดป่าปูลูสันติวัฒนา อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

    ท่านเป็นพระเถระผู้ปฏิบัติตามปฏิปทาของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เิมื่อครั้งที่หลวงปู่มั่น ทรงธาตุขันธ์อยู่ ท่านเป็นผ้าขาว ถือศีล ๘ อยู่วัดป่าบ้านหนองผือ ท่านได้เป็นส่วนหนึ่งของคณะศิษยานุศิษย์ที่ช่วยกันหามหลวงปู่มั่น จากวัดป่าบ้านหนองผือ ไปวัดป่าสุทธาวาส ท่านได้อุปสมบทหลังจากที่หลวงปู่มั่น ละขันธ์แล้ว และท่านได้พากเพียรพยายามปฏิบัติตามแนวทางของหลวงปู่มั่นตลอดชีวิตของท่าน SAM_6857.JPG SAM_9187.JPG SAM_9188.JPG SAM_9190.JPG SAM_8191.JPG


     
  18. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 771 gเหรียญเจริญพรบน+เหรียญที่ระลึก 90 ปีหลวงปู่อุดม ญาณรโต พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสถิตย์ธรรมาราม อ.พรเจริญ จ. บึงกาฬ หลวงปู่อุดมเป็นศิษย์หลวงปู่เเหวน สุจิณโณ ,หลวงปู่ตื้อ อจลธัมดม วัดป่าพระอาจารย์ตื้อ เป็นต้น เหรียญเจริญพรสร้างปี 2558 เนื้อทองเเดงรมดำมันปู มีตอกโค๊ตตัวเลข 493 หน้าเหรียญเเละโค๊ตยันต์หลังเหรียญ ,ส่วนเหรียญที่ระลึก 90 ปี สร้างปี 2559 เนื้อทองเเดงผิวไฟ มีตอกโค๊ต น พ หน้าเหรียญ มีเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ >>>>>บูชาที่ 295 บาทฟรีส่งems
    ประวัติ และปฏิปทา หลวงปู่อุดม ญาณรโต วัดป่าสถิตย์ธรรมวนาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ
    8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%88.%E0%B8%9A%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AC.jpg
    หลวงปู่อุดม ญาณรโต วัดป่าสถิตย์ธรรมวนาราม
    ในปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ ประมาณวันอังคารที่ ๒ เดือน พ.ค. ปีขาล ได้มีเด็กทารกเพศชายร่างกายแข็งแรง ผิวสีดําแดง มาเกิดในตระกูลชาวนา จ.นครพนม

    ในครอบครัวของนายแว่น นางบับ เชื้อขาวพิมพ์ โดยไม่มีผู้ใดทราบถึงอนาคตของเด็กน้อยผู้นั้นว่าจะเป็นที่พึ่งของเหล่าพุทธบริษัท และเป็นการเกิดครั้งสุดท้ายของเด็กน้อยผู้นี้อีกแล้ว ด้วยความปีติยินดีในลูกคนที่สอง และเป็นบุตรชายคนแรกของครอบครัว บิดาและมารดาจึงตั้งชื่อ ให้ว่า “อุดม”

    พออายุได้ ๔ ขวบ โยมบิดาได้พาท่านโยกย้ายครอบครัวด้วยเกวียนไป อ.พรเจริญ จ.หนองคาย (ปัจจุบันคือ จ.บึงกาฬ)

    ครอบครัวของหลวงปู่อุดม เป็นตระกูลชาวนา ในวัยเด็กของท่านเลย ต้องช่วยพ่อแม่เลี้ยงควาย ทํานา หาปู ปลามากินกันในครอบครัว หลวงปู่ท่านเล่าว่า ในสมัยก่อนนั้น ไม่ต้องซื้อหา จับมาได้ก็เอา มาปันกันกิน ท่านสําเร็จการศึกษาในทางโลกชั้นสูงสุดคือ ประถมศึกษาปีที่ ๒ และด้วยเหตุที่บิดาของท่านนั้น เคยบวชเรียนมาก่อน อีกทั้งโยมมารดาของหลวงปู่ก็มีอุปนิสัยชอบทําบุญ สุนทาน เข้าวัดฟังธรรม ทําให้อุปนิสัยเหล่านี้มีอิทธิพลกับ หลวงปู่ในวัยเด็กด้วย

    เมื่อท่านโตเข้าสู่วัยหนุ่มในวัยอายุ ๑๙ ปี อุปนิสัยที่มีเดิมอยู่นั้นทําให้ท่านไม่เหมือนกับคนหนุ่มทั่วไป คือ ท่านไม่ ดื่มเหล้า ไม่ชอบเที่ยว โดยเฉพาะเรื่องผู้หญิงแล้ว ท่านไม่ยุ่งเป็นเด็ดขาด เนื่องจากหลวงปู่ท่านให้เหตุผลว่า เดี๋ยวจะเกิดปัญหา เกิดเรื่องขึ้นมาในภายหลัง อีกทั้งท่านยังชอบอ่านหนังสือ ไตรสรณคมน์ ที่แต่งโดย หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม และ หลวงปู่มหาปิ่น ปัญญาพโล

    นอกจากนั้นแล้ว โยมบิดา โยมมารดาของท่านยังได้พาท่านไปปฏิบัติธรรมภาวนา และทําบุญกับหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม และ หลวงปู่มหาปิ่น ปัญญาพโล แล้วท่านก็ได้ลองประพฤติตาม คําสอนของครูบาอาจารย์ โดยยึดหลักจากหนังสือของหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ที่มอบให้ท่านมาลองฝึกนั่งสมาธิจนเกิดปีติใน ดวงใจ ทําให้ท่านมีใจใฝ่ไปในทางศีลทางธรรมมากขึ้นทวี

    หลังจากหลวงปู่ได้ศึกษาตามหลักของหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม แล้วนั้น ทําให้หลวงปู่ท่านมีความมั่นอกมั่นใจในการประพฤติ ปฏิบัติ และมั่นในหัวใจตนเองว่าจะต้องได้บวชในบวรพระพุทธศาสนาเป็นที่แน่นอน

    จนกระทั่งเมื่อหลวงปู่ท่านมีอายุย่างเข้า ๒๓ ปี ท่านจึงได้ตัดสินใจขออนุญาตบิดา มารดาเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ในอุปสมบท วัดกุดเรือคํา ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ โดยมีพระอุปัชฌาย์ คือ พระครูอดุลสังฆกิจ (หลวงปู่มหาเถื่อน อุชุกโร) วัดกุดเรือคํา ต.กุดเรือคํา อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร และ พระครูพิพิธธรรมสุนทร (หลวงปู่คําฟอง เขมจาโร) วัดสําราญนิวาส อ.วานร นิวาส จ.สกลนคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้ฉายาทางภิกษุ ว่า ญาณรโต แปลว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งญาณ

    เมื่อหลวงปู่ท่านบวชได้ครบ ๑ พรรษา หลวงปู่มหาเถื่อน และหลวงปู่คําฟอง ได้พาท่านไปร่วมงานถวายเพลิงสรีระสังขาร หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร การไปถวายเพลิงสรีระสังขารหลวงปู่มั่นในครั้งนั้น ทําให้หลวงปู่อุดมได้พบ ครูบาอาจารย์มากมายที่มาร่วมในงาน และในงานนั้นเองทําให้ หลวงปู่ได้รู้จักหลวงปู่ลี ฐิตธัมโม วัดเหวลึก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ด้วย

    ในพรรษาแรกนั้น หลวงปู่อุดมได้อยู่กับหลวงปู่มหาเถื่อน พระอุปัชฌาย์ โดยหลวงปู่มหาเถื่อนท่านได้อบรมสั่งสอนทั้งใน ด้านพระปริยัติจนได้นักธรรมโท และด้านปฏิบัติ สมาธิภาวนา

    %B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93.jpg
    หลวงปู่อุดม ญาณรโต (อายุ ๙๑ ปี พรรษา ๖๘) วัดป่าสถิตธรรมวนาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ เข้ากราบถวายมุทิตาจิต
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามฯ
    เมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๐
    ณ ตำหนักที่ประทับ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามฯ
    เมื่อหลวงปู่ได้รับคําแนะนําจากครูบาอาจารย์แล้ว ท่านก็ได้นํามาประพฤติปฏิบัติตามคําสั่งสอนของครูบาอาจารย์ เมื่อท่านได้ เข้าสู่สมาธิ จิตของท่านก็รวมเข้าเป็นหนึ่ง รวมลงไปที่ฐานจิต เป็นเหตุทําให้ท่านเร่งความเพียรมากยิ่งขึ้น เพราะอยากจะพันทุกข์ หลุดจากการเกิดในวัฏฏะที่ไม่พ้นนี้เสียที ไปในพรรษาต้นๆ นี้ ท่านได้ประพฤติตามครูบาอาจารย์แนะนํา โดยในบางครั้งท่านก็ได้เห็นในนิมิต จนกระทั่งหลวงปู่แน่ใจจึง ออกธุดงค์ตามวงศ์พระอริยะที่ถือเอาป่าเขาลําเนาไพรเป็นที่พึ่ง พิง เอาความเงียบสงัดในป่าช้าเป็นเพื่อน เป็นมิตร เอาอสุภะอัน ไม่เป็นที่ยินดีของชนทั้งหลายมาพิจารณาถึงคุณถึงโทษแห่ง ร่างกายนี้

    การออกธุดงค์นี้เองทําให้หลวงปู่ท่านได้พบครูบาอาจารย์ที่ ท่านได้เข้ามาในนิมิต ทั้งครูบาอาจารย์ที่ท่านไม่คิดว่าจะได้เจอ หรือไม่เคยรู้จัก ก็ได้พบเป็นที่อัศจรรย์เป็นอย่างมาก ในที่นี้ที่ หลวงปู่ท่านเคยกล่าวไว้ก็คือ หลวงปู่เอี่ยม วัดภูข้าวหลวง อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ที่หลวงปู่ท่านเคยได้พบในนิมิต แต่ท่านไม่รู้จักนี้เอง ในปีนั้นเองท่านได้ชักชวนหลวงปู่ลี ฐิตธัมโม วัดเหวลึก มาจําพรรษาอยู่กับหลวงปู่เอี่ยม ณ ที่นี้ด้วย

    เมื่อล่วงเข้าปี ๒๕๐๐ ท่านได้เข้าพักในป่าช้าเก่าที่บ้านของท่าน แล้วภายหลังได้สร้างเป็นวัด ชื่อว่า วัดสุวรรณาราม เมื่อ ท่านได้อยู่ที่วัดสุวรรณารามนี้เพื่อโปรดโยมบิดา โยมมารดา จนกระทั่งโยมบิดาของท่านได้สิ้นแล้ว ท่านจึงได้เดินทางไปอยู่กับ หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม ซึ่งตอนนั้นท่านได้จําพรรษาอยู่ที่วัดสีชมภู และได้พบกับหลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร ซึ่งหลวงปู่อ่อนศรีเพิ่งเดิน ทางกลับมาจากการจาริกธรรมใน จ.เชียงใหม่ ด้วยเหตุนี้ทําให้ ท่านออกเดินทางธุดงค์เข้าสู่ จ.เชียงใหม่ โดยเริ่มจาก อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ไป เมื่อท่านได้เดินทางมาถึง จ.เชียงใหม่ แล้วได้เข้าพักที่วัด เจดีย์หลวง โดยครั้งนั้นท่านมีอาการริดสีดวงทวาร หลวงปู่จันทร์ กุสโล เลยให้ท่านไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลสวนดอก (ปัจจุบันคือ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่) โดยมีสามเณรเจริญ ตาคํา คอยช่วยอุปัฏฐากดูแลท่านในขณะนั้น เมื่อหลวงปู่ท่านแข็งแรงดีแล้ว ท่านก็เดินทางเข้าสู่บ้านป่าเมี่ยง อ.พร้าว ในบ้านป่าเมี่ยงนี้เอง อดีตเคยเป็นที่ภาวนาของครูบาอาจารย์หลายรูปรวมถึง บูรพาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ก็ได้พาชาวเขาชาวดอยหา พุทโธ ณ ที่บริเวณใกล้กับบ้านป่าเมี่ยงนี้ ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนหลวงปู่ท่านดุใครทําผิดอะไรไม่ได้ ท่านจะดุเอาทันทีไม่ มีใครกล้า กลัวในองค์ท่านกัน

    แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อท่านกลับมาเชียงใหม่ทุกครั้งก็จะมีชาว บ้านชาวเขามากราบท่านด้วยความเมตตาของท่าน บางคนเป็นข้าราชการ บางคนทํางานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ล้วนเป็นลูกศิษย์หลวงปู่จากบ้านป่าเมี่ยงนั่นเอง เนื่องด้วยในวัยเด็กของพวกเขามีพระที่มาจากอีสาน ธุดงค์มาโมกขธรรมยังไม่พอยังได้ เมตตาสอนหนังสือหนังหาแก่พวกเขาในวัยเด็ก บางคนมากราบ ถึงเท้าหลวงปู่แล้วบอกว่า หลวงปู่จําผมได้ไหม ที่หลวงปู่เคยสอนหนังสือที่บ้านป่าเมี่ยง เมื่อไล่ลําดับพ่อแม่ ตายายแล้วท่านก็จําได้ทุกคน ท่านอยู่บ้านป่าเมียง เมืองพร้าวมาหลายปี จนมีความคุ้น เคยกับชาวบ้าน

    ทุกครั้งที่ท่านมาเชียงใหม่ ท่านจะขึ้นไปเยี่ยมชาวบ้านบ้านป่าเมี่ยงเสมอ แม้จะวัยเข้าสู่ปีที่ ๙๔ พรรษาที่ ๗๑ (พ.ศ ๒๕๖๓) แล้วก็ตาม หรือแม้ทางไป บ้านป่าเมี่ยงแสนที่จะทุรกันดาร ต้องนั่งรถขับเคลื่อนสี่ล้อไปเท่านั้น ท่านก็เมตตาไปเสมอ หลวงปู่ท่านบอกว่า อาศัยข้าวเขากิน ตอนเป็นพระหนุ่ม ตอนนี้ไปคืนเขาบ้าง

    ด้วยความเมตตาของหลวงปู่นี้เอง ทําให้ชาวบ้านล้วนเคารพรักท่านเหมือนญาติผู้ใหญ่ที่ไม่ได้เจอมานาน มาคอยอุปัฏฐากให้ การต้อนรับ ส่งอาหารมาในเมืองเพื่อถวายท่าน เมื่อท่านเดินทาง ย้อนกลับมาเชียงใหม่ และองค์ท่านได้จาริกธรรมทางภาคเหนือ จนเวลาสมควรแล้ว ท่านจึงได้เดินทางจาริกกลับไปโปรดญาติ โยมที่ จ.บึงกาฬ (เดิมคือ จ.หนองคาย) ที่วัดป่าสถิตย์ธรรมวนาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ จวบจนปัจจุบัน

    %B9%8C%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1.jpg
    พระครูอุดมศีลวัฒน์ (หลวงปู่อุดม ญาณรโต) วัดป่าสถิตย์ธรรมวนาราม
    %B9%8C%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1.jpg
    หลวงปู่อุดม ญาณรโต วัดป่าสถิตย์ธรรมวนาราม
    %B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99-1024x576.jpg
    พระธาตุเจดีย์ ศรีอุดมศีลวัฒน์อนุสรณ์ธรรมสถาน วัดป่าสถิตย์ธรรมวนาราม
    ปัจจุบัน พระเดชพระคุณพระครูอุดมศีลวัฒน์ (หลวงปู่อุดม ญาณรโต) แห่งวัดป่าสถิตย์ธรรมาราม ต.ศรีชมภู อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ

    สิริอายุได้ 95 ปี พรรษาที่ 72 (พ.ศ 2554) SAM_9202.JPG SAM_9203.JPG SAM_9213.JPG SAM_9214.JPG SAM_8380.JPG
     
  19. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 772 (อดีตชาติของหลวงปู่จามคือ ...พระนาราย์มหาราช.พระนเรศวรมหาราช,พระปิยะมหาราช เป็นต้นครับ ดูในยููปได้ครับหลวงปู่จามท่านเทศน์ลูกศิษย์ภาษาอีสานภูไท
    เหรียญกลมใหญ่หลวงปู่จาม มหาปุญโญ พระมหาโพธิสัตว์โตวัดป่าวิเวกพัฒนาราม จ.มุกดาหาร เหรียญเนื้อทองเเดงผิวไฟ สวยๆ หายาก หลวงปู่จามเป็นศิษย์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล,หลวงปู่มั่น ภูริทัติโต ตั้งเเต่บวชเป็นเณร เหรียญใหม่ไม่เคยใช้*************บูชาที่ 505 บาทฟรีส่งems
    mtyfrwz-u-vbwzjva4tzxhijcfg9rue2wxjnrkzjvkxhoorcqmfafpwhvg-cs9eiodhw-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
    >>>>>>>ประวัติย่อๆพอสังเขปหลวงปู่จาม มหาปุญโญ เกิดในสกุล ผิวขำ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 พ.ค. 2453 ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ที่บ้านห้วยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร บิดา-มารดา ชื่อ นายกา และนางมะแง้ ผิวขำ ครอบครัวมีพี่น้องร่วมอุทรรวม 9 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3
    เมื่อวัยเยาว์ อายุได้ 6 ขวบ พ่อแม่พาไปกราบหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า ซึ่งได้มาจำพรรษาอยู่ใกล้บ้านที่ภูผากูด คำชะอี
    กระทั่งอายุได้ 16 ปี โยมพ่อแม่ได้พาไปถวายตัวกับหลวงปู่มั่น ที่ จ.อุบลราชธานี ให้นุ่งขาวห่มขาวเป็นเวลา 9 เดือน
    ปีถัดมา เข้าพิธีบรรพชา อยู่รับใช้ หลวงปู่มั่น ที่บ้านหนองขอน อ.บุ่ง จ.อุบลราชธานี ได้มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิดครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงพ่อลี ธัมมธโร, หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม เป็นต้น
    แต่ผ่านไปได้เพียง 2 ปี จำต้องลาสิกขาออกมา เพื่อรักษาโรคเหน็บชา อันเนื่องมาแต่ตกบันไดกุฏิ และการประกอบความเพียรมากเกินไป เช่น นั่งภาวนาในน้ำ ถือไม่นอน และฉันน้อย เป็นต้น ทำให้ต้องหันกลับไปใช้ชีวิตเป็นฆราวาส ประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา ค้าขาย
    เมื่ออายุได้ 27 ปี พ่อกา (โยมพ่อ) ได้บวชเป็นพระภิกษุ (ใช้ชีวิตอีก 6 ปี ก็มรณภาพ) ส่วนแม่มะแง้ (โยมแม่) ได้บวชชี (ใช้ชีวิตอีก 36 ปี จนถึงแก่กรรม) ก่อนที่จะไปกราบไหว้พระธาตุพนม จ.นครพนม เพื่ออธิษฐานขอบวชในพระพุทธศาสนา
    เมื่ออายุได้ 29 เต็มปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2482 ที่วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี พระเทพกวี (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์
    หลังอุปสมบท ท่านออกธุดงค์ไปทางภาคเหนือ ได้จำพรรษาสังกัดวัดเจดีย์หลวง ถึง 32 พรรษา โดยอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวง ปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
    อีกทั้ง ยังเคยออกธุดงค์หาประสบการณ์ในเขตภาคอีสาน เคยปฏิบัติธรรมร่วมกับเกจิอาจารย์หลายรูป อาทิ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย, หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู, หลวงพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทร ปราการ, หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าบ้านข่า จ.นครพนม เป็นต้น
    พ.ศ.2521 เดินธุดงค์กลับมาทางภาคอีสานและเดินธุดงค์มายังบ้านเกิด คือ บ้านห้วยทราย อ.คำชะอี และจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าวิเวกวัฒนาราม
    ชาวบ้านและคณะศิษยานุศิษย์ นิมนต์ให้ท่านจำพรรษาปักกลดที่วัดป่าวิเวกวัฒนาราม และพัฒนาให้เป็นที่พำนักนั่งวิปัสสนากรรมฐานเผยแผ่พระธรรมปรมัตถ์แผ่เมตตาให้แก่ชาวบ้านในละแวกนั้นตลอดจนปัจจุบัน
    ส่วนผลงานที่เป็นรูปธรรมอันทรงคุณค่านั้น หลวงปู่จามได้สร้างไว้เป็นที่ประจักษ์ชัดมากมาย อาทิ สร้างพระเจดีย์ทรงจุฬามณีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และสร้างกุฏิเสาเดียว จำนวน 11 หลัง รวมทั้งสร้างศาลาการเปรียญ และหอฉันสำหรับไว้เทศนาญาติโยมในวันสำคัญต่างๆ
    ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2553 ชาวจังหวัดมุกดาหารพร้อมใจจัดทำโครงการก่อสร้างพระพุทธรูปเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ปางมารวิชัยก่ออิฐถือปูนสีขาว ขนาดหน้าตักกว้าง 39.99 เมตร องค์พระสูง 59.55 เมตร ความสูงจากเศียรพระ 84 เมตร ประดิษฐาน ณ วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ ต.นาสีนวน อ.เมือง จ.มุกดาหาร
    ซึ่งเป็นโอกาสเดียวกับที่หลวงปู่จาม มีอายุครบ 100 ปี หลวงปู่จามพร้อมด้วย พระธัมมธโร หรือ ครูบาแจ๋ว รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนาราม เมตตาอนุญาตให้จัดสร้างเหรียญที่ระลึก 100 ปี หลวงปู่จาม มหาปุญโญ เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างพระพุทธรูปเฉลิมพระ เกียรติ
    >>>>หลวงปู่จามมรณภาพอย่างสงบด้วยโรคปอดติดเชื้อ สิริอายุ 104 พรรษา 75 ขณะนำตัวส่งโรงพยาบาลมุกดาหาร เมื่อช่วงเช้าวันที่ 19 ม.ค. 2556>>>>>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล ***********(........หายากเเล้วครับวัตถุมงคลของหลวงปู่ลูกศิษย์เก็บหมด) SAM_9195.JPG SAM_9196.JPG SAM_7616.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2021
  20. sunmk

    sunmk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2020
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +926
    จองล็อกเก็ตลป.สูนย์ /ล็อกเก็ตลป.สายทอง/กริ่งลป พวง/เหรียญลป.จาม
     

แชร์หน้านี้

Loading...