มีวัตถุมงคลสายพระป่ากรรมฐานให้บูชาราคาเบาๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Somchai 2510, 8 กันยายน 2019.

  1. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 695 รูปหล่อเหมือนปั๊มรุ่นเเรกเเละรุ่นเดียวหลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าประชาชุมพลพัฒนาราม อ.เมือง จ.อุดรธานี หลวงปู่อ่อนสาเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคกลาง รูปหล่อสร้างปี 2541 สร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 84 ปี เนื้อทองทองฝาบาตร มีตอกโค๊ต อ 2 โค๊ตใต้องค์พระ มาพร้อมกล่องเดิม มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *****************บูชาที่ 445 บาทฟรีส่งems #ประวัติย่อๆหลวงปู่มีนามเดิมว่า อ่อนสา เมืองศรีจันทร์ เกิด ณ บ้านโนนทัน ตำบลบ้านจั่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมือวันที่ 10 กรกฎาคม 2457 ปีขาล วันศุกร์ โยมบิดา นามว่านายมา เมืองศรีจันทร์ โยมมารดาชื่อนางโม้ เมืองศรีจันทร์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 10 คน เป็นผู้ชาย 5 คน ผู้หญิง 5 คน หลวงปู่อ่อนสาเป็นคนโตซึ่งมีน้องต้องค่อยดูแลถึง 9 คน ครอบครัวของหลวงปู่เป็นเกษตรกร และท่านเป็นบุตรคนโตมีโอกาสศึกษาจนจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที 4 จากนั้นได้ออกมาช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนาและดูแลน้องๆ
    เมื่ออายุได้ 21 ปี ท่านได้ไปเกณฑ์ทหารแต่ไม่ติด ท่านจึงได้ขอโยมบิดา- มาดาไปบวช โดยได้อุปสมบท ณ วัดโยธานิมิต ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานีเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2478 เวลา 13.47 น. โดยมีพระธรรมเจดีย์ ( จูม พันธุโล ) เป็นประอุปัชฌาย์ มีพระครูประสาทคณานุกิจ เป็นพระกรรมวาจารย์ พระครูศาสนูปกรณ์ ( อ่อนตา เขมงกโร ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายาว่า สุขกาโร ภิกขุ
    ต่อมาหลวงปู่ได้ออกธุดงไปอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เพื่อหาที่สัปปายะบำเพ็ญภาวนาและบังเอิญท่านได้พบกับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แล้วได้พากันไปภาวนาที่ภูลังกาและออกธุดงค์ด้วยกันตา ต่อมาหลวปู่ได้มีโอกาสกราบนมัสการพระอาจารย์หลวงปู่มั่นภูริทัตโต และได้ข้าจำพรรษากับพระอาจารย์หลวงปู่มั่น
    หลังจากที่หลวงปู่อ่อนสา ได้บำเพ็ญภาวนาพอสมควรแล้วท่านได้ย้ายกลับมายังภาคอีสาน ท้ายสุดท่านได้มาจำพรรษา ณ วัดประชาชุมพลพัฒนาราม บ้านหนองใหญ่ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี อันเป็นแผ่นดินเกิดของท่าน
    หลวงปู่ละสังขารที่วัด เวลา 16.17 น. หลวงปู่ก็ได้ละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพาน สิริอายุ 95 ปี 75 พรรษา >>>>>>
    sam_3936-jpg.jpg sam_1287-jpg.jpg

    SAM_8975.JPG SAM_8971.JPG SAM_8972.JPG SAM_8973.JPG SAM_8974.JPG
    sam_0307-jpg.jpg
     
  2. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 696 พระผงปิดตามหาลาภรุ่นเเรกกรรมการหลวงปู่องคำ กาญจนวัณโณ พระอรหันต์เจ้าวัดถํ้าบูชา อ.เซกา จ.บึงกาฬ หลวงปู่ทองคำเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร องค์พระสร้างปี 2560 มีตอกโค๊ตตัวเลข เเผ่นทองคำ 1649 (รุ่นนี้เเช่นํ้ามนต์ด้วยครับ จะเห็นมีคราบสีขาวบนองค์พระ) มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ *************บูชาที่ 285 บาทฟรีส่งems
    ประวัติ หลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ วัดถ้ำบูชา (ภูวัวน้ำตกเจ็ดสี) บ้านดอนเสียด ต.บ้านต้อง อ.เซกา จ.บึงกาฬ

    %B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B3.jpg
    หลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ วัดถ้ำบูชา
    หลวงปู่ทองคำ ท่านเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และเคยไปศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่จวน กุลเชฎโฐ อีกทั้งยังเป็นกำลังสำคัญร่วมสร้างสะพานรอบภูทอก บนชั้นที่ ๕ กับคณะสงฆ์ในสมัยนั้นอีกด้วย หลวงปู่ทองคำ ท่านวิเวกมาอยู่ที่ถ้ำบูชาที่ภูวัว ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๐ และรับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๒๗ เป็นต้นมา

    “…ภาวนาก็เอาแต่ดูนาฟิกา นี่ครบชั่วโมงหรือยัง ไอ้อย่างนี้มันภาวนาเอาเวลานี่ ไม่ใช่ภาวนาชำระกิเลส สำรอกกิเลส ภาวนาก็คิดแต่ว่าได้หรึอ เมื่อไหร่จะได้ จะมีจะเป็น ภาวนาอย่างนี้ มันเป็นตัณหา มันเอาแต่หา แล้วอย่างงี้มันจะสงบได้อย่างไร ภาวนามันต้องปล่อย ต้องละ ต้องวาง ไม่ใช่คอยแต่จะหา จะเอา…”

    โอวาทธรรมหลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ

    หลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ นามเดิมท่านชื่อ ทองคำ นามสกุล เนตรสูงเนิน ท่านถือกำเนิดตรงกับวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๑ ณ บ้านโนนประดู่ อ.จักราช จ.นครราชสีมา

    บิดาชื่อ พ่อเพชร เนตรสูงเนิน มารดาชื่อ แม่ตุ๊ เนตรสูงเนิน ครอบครัวท่านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา ท่านเองเมื่อเป็นเด็ก ก็ได้ช่วยเหลือครอบครัวอย่างแข็งขัน

    หลวงปู่ทองคำ ท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๔ ณ วัดสุทธจินดา จ.นครราชสีมา โดยมีหลวงปู่โชติ คุณสัมปันโน วัดวชิราลงกรณ์ฯ จ.นครราชสีมา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากจำพรรษาอยู่ศึกษากับพระอุปัชฌาย์ได้ ๒ พรรษาแล้ว

    ท่านได้ออกวิเวกธุดงค์ไปตามป่าเขา ปฎิบัติภาวนาอย่างเคร่งครัดจริงจัง เพื่อความพ้นทุกข์ สมัยที่ท่านยังเป็นพระหนุ่มพรรษายังไม่มาก ท่านจะออกปฏิบัติธรรมอย่างอุกฤษฎ์ในหลายสถานที่ อาทิ น้ำตกเขาอีโต้ จ.ปราจีนบุรี น้ำตกห้วยแก้ว เขาใหญ่

    ต่อมาท่านได้ธุดงค์จาริกไปที่ วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร โดยท่านมักจะพำนักอยู่จำพรรษาที่วัดถ้ำขาม และเที่ยวมาฟังธรรมจากหลวงปู่ฝั้นอยู่ตามโอกาส

    หลังออกพรรษารับผ้ากฐินแล้ว ท่านมักจะพาพระ-เณร ออกเดินธุดงค์ไปทางอำเภอกุดบาก เข้าเขตอำเภอสมเด็จ อำเภอท่าคันโท อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในบางปีก็จะเปลี่ยนที่ไปแถบ ภูวัว ภูทอก ภูสิงห์ ภูกิ่ว อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย (ปัจจุบัน จ.บึงกาฬ)

    B8%B3-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2.jpg
    หลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ
    ท่านได้อยู่ฝึกอบรมกับหลวงปู่ฝั้น จนหลวงปู่ฝั้นมรณภาพ หลังจากหลวงปู่ฝั้น ฯ มรณภาพแล้ว ท่านจึงได้มาลงหลักปักฐานอยู่ที่วัดถ้ำบูชา ภูวัว โดยระหว่างนั้น ได้เดินทางไปศึกษาอบรมกัมมัฏฐานกับพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ที่ภูทอกไปด้วย รวมเวลาที่ได้อบรมศึกษากับพระอาจารย์จวน ๘ ปี จนท่านพระอาจารย์จวน มรณภาพลง ญาติโยมจึงนิมนต์ท่านมาครองเป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำบูชา โดยเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๘ จวบจนถึงปัจจุบัน

    B8%93-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2.jpg
    หลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ วัดถ้ำบูชา
    ท่านหลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ ปกครองวัดและพระเณรแบบสมถะ ไม่สะสมสิ่งใด มุ่งตรงต่อพระธรรมวินัยและความพ้นทุกข์ ท่านเน้นการปฏิบัติให้ดูมากกว่าการพูดสอน และอุปนิสัยท่าน เกรงใจในธรรม ไม่ได้เกรงใจในคน หลายคนจึงคิดว่าท่านดุ แต่แท้ที่จริงแล้ว ท่านเมตตาอย่างไม่มีประมาณ

    วัดถ้ำบูชา แห่งนี้ถือเป็นสถานที่สัปปายะ สงบ เหมาะแก่การภาวนาและก่อนเคยเป็นที่พำนักของพ่อแม่ครูอาจารย์สายกรรมฐานนับตั้งแต่องค์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ,หลวงปู่หลุย , หลวงปู่ชอบ , หลวงปู่มหาสีทน เป็นต้น เรื่อยมาจนถึงหลวงปู่

    หลวงปู่ทองคำ กาญฺจนวณฺโณ ท่านมีจริยะวัตรที่เรียบง่าย เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยเป็นอันมากมีศีลาจารวัตรที่ผ่องแผ้วงดงาม จนเป็นที่เลื่อมใสแ่ก่สาธุชนโดยทั่วไป หลวงปู่ท่านตั้งมั่นในพระธรรมคำสั่งสอนของพ่อแม่ครูอาจารย์เป็นที่เคารพยกย่องในหมู่พระกรรมฐานถึงความเป็นพระสุปฏิปันโณ

    หลวงปู่ทองคำ ท่านมีความสนิทคุ้นเคยกับสหธรรมมิกที่เคยอยู่ร่วมปฏิบัติหรือไปมาหาสู่กันหลายท่าน อาทิ หลวงปู่อุทัย สิรินธโร หลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญญมากโร หลวงปู่เสถียร คุณวโร , หลวงปู่อุดม ญาณรโต ,หลวงปู่ทองพูล สิริกาโม และหลวงตาแยง วัดภูทอก เป็นต้น

    ปัจจุบัน หลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ เจริญอายุวัฒนมงคลครบ 83 ปี ยังดำรงค์ธาตุขันต์อยู่ครับ SAM_8985.JPG SAM_8988.JPG SAM_8989.JPG SAM_7793.JPG
     
  3. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  4. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 697 พระผงปิดตามหาลาภรุ่นเเรกกรรมการหลวงปู่องคำ กาญจนวัณโณ พระอรหันต์เจ้าวัดถํ้าบูชา อ.เซกา จ.บึงกาฬ หลวงปู่ทองคำเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร องค์พระสร้างปี 2560 มีตอกโค๊ตตัวเลข เเผ่นทองคำ 1630 (รุ่นนี้เเช่นํ้ามนต์ด้วยครับ จะเห็นมีคราบสีขาวบนองค์พระ) มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ ******************บูชาที่ 285 บาทฟรีส่งems
    ประวัติ หลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ วัดถ้ำบูชา (ภูวัวน้ำตกเจ็ดสี) บ้านดอนเสียด ต.บ้านต้อง อ.เซกา จ.บึงกาฬ
    a5-e0-b8-a7-e0-b8-87-e0-b8-9b-e0-b8-b9-e0-b9-88-e0-b8-97-e0-b8-ad-e0-b8-87-e0-b8-84-e0-b8-b3-jpg.jpg
    หลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ วัดถ้ำบูชา
    หลวงปู่ทองคำ ท่านเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และเคยไปศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่จวน กุลเชฎโฐ อีกทั้งยังเป็นกำลังสำคัญร่วมสร้างสะพานรอบภูทอก บนชั้นที่ ๕ กับคณะสงฆ์ในสมัยนั้นอีกด้วย หลวงปู่ทองคำ ท่านวิเวกมาอยู่ที่ถ้ำบูชาที่ภูวัว ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๐ และรับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๒๗ เป็นต้นมา

    “…ภาวนาก็เอาแต่ดูนาฟิกา นี่ครบชั่วโมงหรือยัง ไอ้อย่างนี้มันภาวนาเอาเวลานี่ ไม่ใช่ภาวนาชำระกิเลส สำรอกกิเลส ภาวนาก็คิดแต่ว่าได้หรึอ เมื่อไหร่จะได้ จะมีจะเป็น ภาวนาอย่างนี้ มันเป็นตัณหา มันเอาแต่หา แล้วอย่างงี้มันจะสงบได้อย่างไร ภาวนามันต้องปล่อย ต้องละ ต้องวาง ไม่ใช่คอยแต่จะหา จะเอา…”

    โอวาทธรรมหลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ

    หลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ นามเดิมท่านชื่อ ทองคำ นามสกุล เนตรสูงเนิน ท่านถือกำเนิดตรงกับวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๑ ณ บ้านโนนประดู่ อ.จักราช จ.นครราชสีมา

    บิดาชื่อ พ่อเพชร เนตรสูงเนิน มารดาชื่อ แม่ตุ๊ เนตรสูงเนิน ครอบครัวท่านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา ท่านเองเมื่อเป็นเด็ก ก็ได้ช่วยเหลือครอบครัวอย่างแข็งขัน

    หลวงปู่ทองคำ ท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๔ ณ วัดสุทธจินดา จ.นครราชสีมา โดยมีหลวงปู่โชติ คุณสัมปันโน วัดวชิราลงกรณ์ฯ จ.นครราชสีมา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากจำพรรษาอยู่ศึกษากับพระอุปัชฌาย์ได้ ๒ พรรษาแล้ว

    ท่านได้ออกวิเวกธุดงค์ไปตามป่าเขา ปฎิบัติภาวนาอย่างเคร่งครัดจริงจัง เพื่อความพ้นทุกข์ สมัยที่ท่านยังเป็นพระหนุ่มพรรษายังไม่มาก ท่านจะออกปฏิบัติธรรมอย่างอุกฤษฎ์ในหลายสถานที่ อาทิ น้ำตกเขาอีโต้ จ.ปราจีนบุรี น้ำตกห้วยแก้ว เขาใหญ่

    ต่อมาท่านได้ธุดงค์จาริกไปที่ วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร โดยท่านมักจะพำนักอยู่จำพรรษาที่วัดถ้ำขาม และเที่ยวมาฟังธรรมจากหลวงปู่ฝั้นอยู่ตามโอกาส

    หลังออกพรรษารับผ้ากฐินแล้ว ท่านมักจะพาพระ-เณร ออกเดินธุดงค์ไปทางอำเภอกุดบาก เข้าเขตอำเภอสมเด็จ อำเภอท่าคันโท อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในบางปีก็จะเปลี่ยนที่ไปแถบ ภูวัว ภูทอก ภูสิงห์ ภูกิ่ว อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย (ปัจจุบัน จ.บึงกาฬ)


    b3-e0-b8-a7-e0-b8-b1-e0-b8-94-e0-b8-96-e0-b9-89-e0-b8-b3-e0-b8-9a-e0-b8-b9-e0-b8-8a-e0-b8-b2-jpg.jpg
    หลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ
    ท่านได้อยู่ฝึกอบรมกับหลวงปู่ฝั้น จนหลวงปู่ฝั้นมรณภาพ หลังจากหลวงปู่ฝั้น ฯ มรณภาพแล้ว ท่านจึงได้มาลงหลักปักฐานอยู่ที่วัดถ้ำบูชา ภูวัว โดยระหว่างนั้น ได้เดินทางไปศึกษาอบรมกัมมัฏฐานกับพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ที่ภูทอกไปด้วย รวมเวลาที่ได้อบรมศึกษากับพระอาจารย์จวน ๘ ปี จนท่านพระอาจารย์จวน มรณภาพลง ญาติโยมจึงนิมนต์ท่านมาครองเป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำบูชา โดยเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๘ จวบจนถึงปัจจุบัน


    93-e0-b8-a7-e0-b8-b1-e0-b8-94-e0-b8-96-e0-b9-89-e0-b8-b3-e0-b8-9a-e0-b8-b9-e0-b8-8a-e0-b8-b2-jpg.jpg
    หลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ วัดถ้ำบูชา
    ท่านหลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ ปกครองวัดและพระเณรแบบสมถะ ไม่สะสมสิ่งใด มุ่งตรงต่อพระธรรมวินัยและความพ้นทุกข์ ท่านเน้นการปฏิบัติให้ดูมากกว่าการพูดสอน และอุปนิสัยท่าน เกรงใจในธรรม ไม่ได้เกรงใจในคน หลายคนจึงคิดว่าท่านดุ แต่แท้ที่จริงแล้ว ท่านเมตตาอย่างไม่มีประมาณ

    วัดถ้ำบูชา แห่งนี้ถือเป็นสถานที่สัปปายะ สงบ เหมาะแก่การภาวนาและก่อนเคยเป็นที่พำนักของพ่อแม่ครูอาจารย์สายกรรมฐานนับตั้งแต่องค์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ,หลวงปู่หลุย , หลวงปู่ชอบ , หลวงปู่มหาสีทน เป็นต้น เรื่อยมาจนถึงหลวงปู่

    หลวงปู่ทองคำ กาญฺจนวณฺโณ ท่านมีจริยะวัตรที่เรียบง่าย เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยเป็นอันมากมีศีลาจารวัตรที่ผ่องแผ้วงดงาม จนเป็นที่เลื่อมใสแ่ก่สาธุชนโดยทั่วไป หลวงปู่ท่านตั้งมั่นในพระธรรมคำสั่งสอนของพ่อแม่ครูอาจารย์เป็นที่เคารพยกย่องในหมู่พระกรรมฐานถึงความเป็นพระสุปฏิปันโณ

    หลวงปู่ทองคำ ท่านมีความสนิทคุ้นเคยกับสหธรรมมิกที่เคยอยู่ร่วมปฏิบัติหรือไปมาหาสู่กันหลายท่าน อาทิ หลวงปู่อุทัย สิรินธโร หลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญญมากโร หลวงปู่เสถียร คุณวโร , หลวงปู่อุดม ญาณรโต ,หลวงปู่ทองพูล สิริกาโม และหลวงตาแยง วัดภูทอก เป็นต้น

    ปัจจุบัน หลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ เจริญอายุวัฒนมงคลครบ 83 ปี ยังดำรงค์ธาตุขันต์อยู่ครับ SAM_8985.JPG SAM_8986.JPG SAM_8987.JPG SAM_7793.JPG
     
  5. ธรรมาวุธ

    ธรรมาวุธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    364
    ค่าพลัง:
    +395
    ขอบูชาครับ
     
  6. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 698 เหรียญรุ่นเมตตา 77 ปีหลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสัมมานุสรณ์ อ.วังสะพุง จ.เลย หลวงปู่ชอบเป็นศิษย์ผู้ใหญ่หลวงปู่มั่น เหรียญสร้างปี 2520 เนื้อทองเเดง มีพระเกศาเเละพระธาตุหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล ************บูชาที่ 445 บาทฟรีส่งems #ประวัติหลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย
    อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลยเลย

    "พระอริยเจ้าผู้ทรงอภิญญา"

    2-png-png-png.png

    พระเดชพระคุณหลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระอริยเจ้าผู้ทรงอภิญญาญาณ คือ ผู้ทรงความรู้ยิ่งในพระพุทธศาสนา มีคุณสมบัติพิเศษ ๖ อย่าง . อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป

    ท่านมีนิสัยชอบโดดเดี่ยวเที่ยวไปอยู่ในป่า ทำในสิ่งที่บุคคลอื่นทำได้ยาก ไม่ชอบเกี่ยวข้องกับหมู่ชนพระเณร เป็นผู้มีความองอาจเด็ดเดี่ยว อดทนเป็นเลิศ ไม่กลัวความทุกข์ยากลำบาก เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย กล้าได้กล้าเสียในการปราบกิเลส ถึงกับท่านพระอาจารย์มั่นออกปากชมท่ามกลางสภาสงฆ์ "ให้ทุกองค์ภาวนาให้ได้เหมือนท่านชอบสิ ท่านองค์นี้ภาวนาไปไกลลิบเลย"

    ท่านสามารถแสดงธรรมและสนทนาธรรมเป็นภาษาต่างๆ ได้หมด เพียงกำหนดจิตดูว่าภาษานั้นเขาใช้พูดกันว่าอย่างไร ท่านสามารถแสดงธรรมโปรดเทวดา พญานาค ตลอดจนภพภูมิต่างๆ ได้

    การธุดงค์ของท่านนับว่าโลดโผนมาก ชอบเดินทางในเวลากลางคืนหรือจวนสว่างในคืนเดือนหงาย เที่ยวไปอบ่างอนาคาริกมุนีผู้ไม่มีอาลัยในโลกทั้งปวง บางคราวมีเสือลายพาดกลอนตัวใหญ่สองตัวกระโดล้อมหน้าล้อมหลังเอาไว้ ท่านเร่งสติสมาธิ แผ่เมตตา กำหนดจิตเข้าข้างใน สมาธิลึกเข้าไปจนถึงฐานของจิต ปล่อยวางสิ่งทั้งปวง เมื่อถอนจิตออกมาปรากฏว่าเสือสองตัวได้หายไปแล้ว

    ครั้งหนึ่งท่านเดินทางไปทางอำเภอแม่ริม อำเภอแม่แตง เข้าไปหมู่บ้านกะเหรี่ยงกลางหุบเขาเพื่อโปรดพี่ชายของท่านในอดีตชาติที่รักกันมาก ท่านระลึกชาติได้ว่า เคยเกิดเป็นชาวกะเหรี่ยงที่ประเทศพม่า มีพี่ชายคนหนึ่ง บัดนี้เขาได้มาเกิดเป็นชาวกะเหรี่ยง ชื่อว่า "เสาร์" อยู่ที่ตำบลป่ายาง บ้านผาแด่น อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยจิตเมตตาท่านจึงเดินทางไปโปรดดึงเขาเข้าสู่ทางธรรม และต่อมานายเสาร์ก็ได้บวชเป็นพระติดตามท่านจนตลอดชีวิต

    1-1-png-png-png.png

    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    ท่านเล่าว่าในบางคราวหลงอยู่ในกลางป่าเป็นเวลาหลายๆ วัน ท่านเป็นที่เคารพรักของเหล่าเทพยดา เดินทางจากประเทศพม่าจะเข้าสู่ไทย หลงป่าเจียนตายเพราะความหิว เทวดาได้นำอาหารทิพย์มาใส่บาตร อาหารนั้นมีรสอร่อยส่งกลิ่นหอม หายเมื่อยหายหิวไปหายหิวไปหลายวัน

    ท่านทำสมาธิทั้งกลางวันกลางคืน บางคราวพายุฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลาก ท่านต้องนั่งกอดบาตรเอาไว้จนสว่าง ท่านพบวิมุตติบรรลุธรรมขั้นสูงสุดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗ พรรษาที่ ๒๐ อายุ ๔๓ ปี ที่ถ้ำบ้านหนองยวน ประเทศพม่า

    ในระยะที่ท่านอยู่กับหลวงปู่มั่นนั่น ท่านได้รับความไว้วางใจและมอบหมาย ให้ช่วยดูแลพระเณรที่คิดอะไรนอกลู่นอกทาง ไม่ถูกต้องตามครรลองของผู้ทรงศีลธรรมท่านก็จะตักเตือน เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ลูกศิษย์หลวงปู่มั่นว่าท่านมีความรู้ภายในว่องไวไม่แพ้หลวงปู่มั่น พระเณรทั้งหลายจึงเกรงกลัวท่านมาก และท่านก็ยังสามารถระลึกชติ รู้อดีตชาติของท่านเองว่าเคยเกิดเป็นอะไรมาบ้าง เช่น เคยเกิดเป็นพระภิกษุรักษาศีลอยู่กับพระอนุรุทธะ เคยเป็นสามเณรน้อยลูกศิษย์พระมาหกัสสปะ เคยเกิดเป็นท้าวมหาพรหมในพรหมโลก และเป็นสัตว์หลายชนิดอีกด้วย หลวงปู่ชอบท่านบำเพ็ญภาวนาอยู่ตามป่าตามเขา ส่วนมากทางภาคเหนือหลายพื้นที่รวมถึงประเทศพม่าด้วย

    3-png-png-png.png

    นหลวง และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
    ทรงนมัสการหลวงปู่ชอบ
    ท่านเกิดเมื่อวันพุธที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๔ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู ณ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นบุตรของนายมอ และนางพิลา แก้วสุวรรณ

    บวชสามเณรเมื่ออายุ ๑๙ ปี ณ วัดบ้านนาแก ตำบลบ้านนากลาง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นสามเณรอยู่ถึง ๔ ปีกว่า และได้อุปสมบทเมื่ออายุ ๒๓ ปี วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ณ วัดศรีธรรมาราม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร โดยมี พระครูวิจิตรวิโสธนาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แดง เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    4-png-png-png.png
    รูปเหมือนหลวงปู่ชอบ
    ท่านได้พบพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ณ เสนาสนะป่าบ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม หลวงปู่มั่นได้ให่โอวาทสั้นๆ ว่า "ท่านเคยภาวนามาอย่างไรก็ให้ทำต่อไปเช่นนั้น อย่าได้หยุด ธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงไว้นั้นมันอยู่ที่ใจเรานี่แหละ ถ้าอยากรู้อยากเห็นธรรมเหล่านั้น ก็ให้ค้นหาเอาที่ใจของท่านเอง"

    ปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ขณะท่องเที่ยวธุดงค์อยู่ทางภาคเหนือ สหธรรมิกคือหลวงปู่ขาว อนาลโย ชวนท่านกลับมาอีสาน ท่านจึงได้มาจำพรรษาที่ป่าช้าหินโง้น ปัจจุบันคือ วัดป่าโคกมน

    ปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ มีชาวบ้านถวายที่สร้างวัดกว่าร้อยไร่ ท่านจึงได้รับสร้างเป็นวัดขึ้นมา ปัจจุบันคือ วัดป่าสัมมานุสรณ์ ท่านได้อยู่จำพรรษาที่นี่เรื่อยมาจวบจนวาระสุดท้ายของท่าน

    5-png-png-png.png
    อัฐิและพระธาตุของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    ปีพุทธศักราช ๒๕๑๔ อายุ ๗๐ ปี ท่านป่วยเป็นอัมพาต

    ท่านละสังขารเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ณ วัดป่าสัมมานุุสรณ์ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ สิริรวมอายุได้ ๙๓ ปี ๑๑ เดือน ๒๗ วัน ๗๐ พรรษา SAM_8981.JPG SAM_8976.JPG SAM_8010.JPG
     
  7. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  8. sunmk

    sunmk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2020
    โพสต์:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +868
    ปิดพระผงปิดตาลป.ทองคำ
     
  9. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 699 เหรียญรุ่น อรหันต์ 8 ทิศหลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ พระอรหันต์เจ้าวัดป่าภูมิพิทักษ์ อ.สว่างเเดนดิน จ.สกลนคร เหรียญสร้างปี 2563 เนื้อทองเเดงผิวไฟ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ*************เหรียญใหม่ไม่เคยใช้>>>>>บูชาที่ 240 บาทฟรีส่งems sam_7984-jpg-jpg.jpg เปิดดูไฟล์ 5751737 เปิดดูไฟล์ 5751738 เปิดดูไฟล์ 5751739 เปิดดูไฟล์ 5751740 SAM_8993.JPG SAM_8996.JPG sam_8108-jpg.jpg หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ พระอริยะสงห์แห่งวัดป่าภูมิพิทักษ์ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร หลวงปู่ท่านเป็นผู้มักน้อยสันโดษ ชอบอยู่เงียบๆเรียบง่าย ไม่ติดในลาภสักการะ เมื่อเข้าไปพบเจอ สนทนากับหลวงปู่ มีแต่ความเยือกเย็น เมตตาหาที่สุดไม่มีประมาณ เป็นธรรมยิ่งนัก สาธุ สาธุ สาธุ.(หลวงปู่หนูเพชร องค์ท่านไม่รับกิจนิมนต์ออกจากนอกวัดเลย ใครจะมากราบก็มากราบที่วัดได้ตลอดเวลาครับผม) >>>>ประวัติย่อพอสังเขปหลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ
    วัดป่าภูมิพิทักษ์
    ต.คำสะอาด อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ
    เกิดวันพฤหัสบดีที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๔๗๒
    ณ.บ้านบึงโน ต.บ้านหัน อ.บ้านหัน จ.สกลนคร
    ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น
    ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    บิดาชื่อนายบุญ ไพบูลย์ มารดาชื่อนางเคน ไพบูลย์
    มีบุตรร่วมกัน 6คน
    ๑.หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ (ไพบูลย์)
    ๒.นางเล็ก ไพบูลย์ (เสียชีวิตแล้ว)
    ๓.นางสอง ไพบูลย์ (เสียชีวิตแล้ว)
    ๔.นางทอง ไพบูลย์ (เสียชีวิตแล้ว)
    ๕.น้องชาย (ไม่ทราบชื่อ) เสียชีวิตแล้ว
    ๖.น้องชาย (ไม่ทราบชื่อ)เสียชีวิตแล้ว
    เมื่ออายุ ๗ ปีท่านได้เข้าเรียนโรงเรียนวัดศรีชมภู
    บ้านบึงโนในปีพ.ศ. ๒๔๗๘ ได้เล่าเรียนจนจบชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ ๔ ในปีพ.ศ.๒๔๘๓ ใช้เรียนเรียนอยู่๕ปี ช้ากว่าเด็กไว้เดียวกัน ๑ปี เพราะไม่ได้ไปสอบเลื่อนชั้น จึงได้เรียน ๕ปี เมื่อจบโรงเรียนวัดศรีชมภู
    ท่านมีอายุ๑๑ปี ในปี๒๔๘๓ หลวงปู่ธรรม เคยเป็นสามี พี่สาวมารดาหลวงปู่ เคยแต่งงานกับพี่สาวมารดาหลวงปู่แต่งไม่มีลูก จึงเลี้ยงดูหลวงปู่
    ต่อมาได้ทราบประวัติหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ
    ว่าท่านสละทรัพย์สมบัติ ชวนภรรยาออกบวช
    หลวงปู่ธรรมจึงได้ชวนภรรยาที่เป็นพี่สาวมารดาหลวงปู่ออกบวชเหมือนกัน
    หลวงปู่ธรรมได้มารับเด็กชายหนูเพชร ไพบูลย์
    ไปอยู่ด้วยที่วัดผดุงธรรม บ.ดงเย็น ต.ดงเย็น อ.บ้านดุง จ.สกลนคร (ซึ่งเป็นวัดแรกที่องค์หลวงปู่พรหม. จิรปุญโญได้สร้างขึ้น ก่อนจะสร้าวัดประสิทธิธรรม) ในปี ๒๔๘๓-๒๔๘๗ องค์หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ ท่านยังไปวิเวกในเขตภาคเหนือ และเดินทางกับมาภาคอีสานในปีพ.ศ.๒๔๘๗
    เข้าร่มผ้ากาสาวพัสตร์ครั้งแรก
    อายุได้๑๒ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดชัยมงคล
    บ้านง่อน ต.โพนสูง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ในปี.พ.ศ.๒๔๘๔ โดยมีพระอุปัชฌาย์ฮวด สุมโน
    เป็นพระอุปัชฌาย์
    พรรษาที่๑ ได้สอบนักธรรมชั้นตรีได้ในปีพ.ศ.๒๔๘๔
    พรรษาที่๒ได้สอบนักธรรมชั้นโทไม่ได้ในปี พ.ศ.๒๔๘๕
    พรรรษาที่๓ ได้สอบนักธรรมชั้นโทไม่ได้อีกในปีพ.ศ.๒๔๘๖
    พรรษาที่ ๔ ได้สอบนักธรรมชั้นโทไม่ได้อีกในปี พ.ศ.
    ๒๔๘๗
    พรรษาที่๕ ได้สอบนักธรรมชั้นโทไม่ได้อีกในปีพ.ศ.๒๔๘๘
    รวมระยะเวลาท่านสอบนักธรรมชั้นโทไม่ได้อยู่๔ปี
    ท่านจึงเลิกสอบ
    พรรษาที่ 6. พ.ศ. ๒๔๘๙ ระหว่างปี๒๕๘๗-๒๔๘๙ สามเณรหนูเพชร ไพบูลย์ ได้มีโอกาสศึกษาธรรมกับองค์หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ ศิษยในองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่พรหมถือเป็นศิษย์ในหลวงปู่มั่นที่สำเร็จธรรมเป็นพระอรหันต์องค์แรกที่หลวงปู่มั่นชมเชย
    เนื่องจากปี๒๔๘๗องค์หลวงปู่พรหมกลับภาคอีสาน
    ต่อมาไม่นานปี๒๔๘๙
    บิดาหลวงปู่ได้ป่วยไม่มีใครทำนาท่านจึงได้ตัดสินใจลาสิกขาออกไปทำนาเพื่อเลี้ยงน้องๆ ตามประเพณีที่ท่านเป็นลูกชายคนเดียวและคนโต
    *****เข้าร่มผ้ากาสาวพัสตร์ครั้งที่สอง
    ต่อมาอายุ ๒๐ย่าง๒๑ปี
    ท่านได้ชอบสาวในหมู่บ้านเดียวกัน เลยขอมารดาอยากแต่งงาน แต่มารดาไม่อนุญาติ พร้อมขอให้ท่าน
    อุปสมบทให้มารดาก่อนเพราะท่านเป็นลูกชายคนเดียวและคนโต ท่านจึงได้ตกลงจึงได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์ลี ฐิตธัมโม ณ.วัดศรีชมภู เพื่อให้พระอยู่ในสำนักสอนขานนาค (คำขออุปสมบท)
    ขณะท่านเข้านาคเป็นผ้าขาวอยู่นั้นผู้สอนคำอุปสมบทให้ท่านคือหลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร
    ขณะนั้นทางวัดศรีชมภู ชาวบ้านและครูบาอาจารย์ กำลังร่วมกันสร้างโบสถ์ขึ้น โดยมี พระอาจารย์ลี ฐิตธัมโม(พระครูฐิตธรรมญาณ) เป็นหัวหน้า
    พระอาจารย์มหาเถื่อน อุชุกโร(พระครูอดุลสังฆกิจ)
    พระอาจารย์คำฟอง เขมจาโร(พระครูพิพิธธรมสุนทร) พระอาจารย์โง่น โสรโย พระอาจารย์สมภาร ปัญญาวโร(พระครูปัญญาวรากร) พระอาจารย์อ่อนศรี ฐานวโร พระอาจารย์อุดม ญาณรโต(พระครูอุดมศีลวัฒน์) จนเสร็จสมบูรณ์ จึงทำการผูกพัทธสีมาพร้อมทั้งอุปสมบทพระภิกษุ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง
    บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นของขวัญแก่ชาวบ้าน
    นาคผ้าขาวหนูเพชร ได้รับการอุปสมบทหลังจากผ่านการฝึกหัดท่องคำขออุปสมบท พร้อมข้อวัตรปฏิบัติสมควรแก่การอุปสมบท
    >>>>>อุปสมบท
    ในวันจันทร์ที่ ๓๐ เดือนมกราคม ๒๔๙๓
    เวลาประมาณ๐๔ฺ.๐๐น เริ่มปลงผมโกนผมเวลา๐๒.๐๐น. ณ.อุโบสถวัดศรีชมภู บ้านบึงโน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    เช้าวันอังคารที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๙๓
    เป็นวันถวายเพลิงศพท่านพระอาจารย์ใหญ่
    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ณ.วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง
    จ.สกลนคร
    โดยมี
    ๑.พระครูพุฒิวรคม (พุฒิ ยโส) เป็นพระอุปัชฌาย์
    ๒.พระอาจารย์คำฟอง เขมจาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ (พระครูพิพิธธรรมสุนทร )
    ๓.พระอาจารย์ลี ฐิตธัมโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    (พระครูฐิติธรรมญาณ)
    มีนาคผ้าขาวร่วมอุปสมบทจำนวณ๑๒ตัว(คน)
    จาก๔หมู่บ้าน
    ✅หลังจากเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์แล้ว ท่านได้ไปเรียนกัมมัฏฐานกับหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของพระอาจารย์มั่น อยู่ปฏิบัติพระกัมมัฏฐานกับหลวงปู่พรหมระยะหนึ่ง หลังจากนั้นท่านได้ไปเดินธุดงค์กับหลวงปู่ลี ฐิตธัมโม วัดเหวลึก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ถึงปี พ.ศ.2513 หลวงปู่หนูเพชรได้มาเจอวัดโบราณที่เป็นวัดร้าง ได้ตั้งชื่อวัดว่า "วัดป่าภูมิพิทักษ์" ท่านจึงมาจำพรรษาปฏิบัติธรรมจนถึงปัจจุบัน
    หลวงปู่หนูเพชร เป็นพระเถระที่วัตรปฏิบัติเคร่งครัด เป็นพระชอบเก็บตัวเงียบ ซึ่งในขณะนั้น คณะศิษย์สายชลบุรีได้รู้จักจากการแนะนำของหลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร วัดถ้ำประทุน จ.ชลบุรี เนื่องจากหลวงปู่หนูเพชรได้เคยอยู่ปฏิบัติธรรมร่วมกันครับ
    pic_2067_1-jpg-jpg.jpg
    pic_2067_2-jpg-jpg.jpg
    ( บน )ภาพแจกงานศพหลวงปู่

    ( ล่าง ) หลวงปู่ถ่ายภาพหน้ากุฏิสมัยที่ท่านยังแข็งแรงดีอยู่
    ฏิบัติธรรมกับหลวงปู่อ่อนศรี
    หลวงปู่อ่อนศรี ยังพูดบอกอีกด้วยว่า "หลวงปู่หนูเพชร ท่านเก่งกว่าฉันอีก" ก่อนที่หลวงปู่อ่อนศรี ท่านจะมรณภาพ ท่านเคยสั่งไว้ให้คณะศิษย์ไปกราบเป็นศิษย์หลวงปู่หนูเพชร >>>>> sam_7456-jpg-jpg.jpg
     
  10. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,965
    ค่าพลัง:
    +6,562
    ขอจองครับ
     
  11. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 700 ระผงอังคารธาตุ 9 พระอรหันต์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน พระอรหันต์เจ้าวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี หลวงมหาบัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคกลาง มีผสมว่าน 108 ชนิด สร้างปี 2553(ทันพระหลวงตาครับ องค์ท่านละสังชารปี 2554 ) มีตอกเเผ่นโค๊ต 3 โค๊ต หลังเป็นพระสิวลีเถระ องค์นี้สวยมาก มีพระธาตุผุดขึ้นนิดๆ มีพระเกศาหลวงตามาบูชาเเละพระธาตุ 2 องค์ **********บูชาที่ 455 บาทฟรีส่งems
    sam_1965-jpg.jpg


    SAM_7657.JPG SAM_9000.JPG SAM_8997.JPG SAM_8998.JPG
     
  12. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  13. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 701 เหรียญกลมไข่รุ่นเเรกเเละรุ่นเดียวหลวงปู่จันโสม กิตติกาโร วัดป่านาสีดา อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี หลวงปู่จันโสมเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ยุคสุดท้าย เหรียญสร้างปี 2541 สร้างเนื่ององค์หลวงปู่อายุครบ 77 ปี เนื้อทองเเดงรมนํ้าตาล มีตอกโค๊ตยันต์นะ หน้าเหรียญ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ >************เหรียญใหม่ไม่เคยใช้บูชาที่ 345 บาทฟรีส่งems
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร

    1553-90d0-jpg.jpg
    วัดป่าจันทรังสี (วัดป่านาสีดา)
    ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    ๏ อัตโนประวัติ

    “หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร” มีนามเดิมว่า จันทร์โสม ปราบพลพาล เกิดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พุทธศักราช 2465 ตรงกับวันจันทร์ แรม 3 ค่ำ เดือน 7 ปีจอ ณ ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายกรม และนางอาน ปราบพลพาล ครอบครัวประกอบอาชีพทำนาทำไร่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 6 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 5 มีชื่อตามลำดับดังนี้

    1. นางบุญชม ใจหาญ
    2. ด.ญ.คำ ปราบพลพาล (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
    3. ด.ญ.อ่ำ ปราบพลพาล (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
    4. ด.ญ.ไอ่ ปราบพลพาล (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
    5. หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร
    6. นายกองแก้ว ปราบพลพาล

    ณ บ้านนาสีดา ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี มีวัดป่าวัดหนึ่งตั้งอยู่กลางทุ่งกว้าง ซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นป่าไม้ตะเคียนหนาทึบ บัดนี้ป่าไม้ได้หายไปแล้วหลังจากสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) ตัดถนนเข้าไป กลายเป็นหมู่บ้านชาวไร่ชาวนา วัดนี้ชื่อ “วัดป่าจันทรังสี” วัดสาขาของวัดหินหมากเป้ง ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ของพระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) อดีตสมภารเจ้าวัด คือ “หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร” พระเถระสายวิปัสสนากรรมฐานศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    หลวง ปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร ท่านเป็นมิ่งขวัญร่มโพธิ์ร่มไทรของชาวบ้าน คณะศรัทธาญาติโยม และคณะสงฆ์อรัญวาสี โดยเป็นพระวิปัสสนาจารย์รูปที่ 3 แห่งภาคอีสานตอนเหนือ รองจาก ท่านเจ้าคุณพระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต) แห่งวัดศรีเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.หนองคาย และ พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) แห่งวัดอรัญญบรรพต ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
    ๏ ชีวิตในวัยเด็ก
    วัย เด็กคลุกคลีอยู่กับวัด เพราะโยมบิดาเป็นมัคนายกวัดบ้านนาสีดา อายุ 10 ขวบ ก็เข้ารับการศึกษาประชาบาลที่วัดบ้านกลางใหญ่ ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ระยะแรกที่เรียนหนังสือนั้นต้องไปๆ มาๆ ระหว่างวัดกับบ้าน ผลที่สุดได้ไปอยู่วัดเป็นประจำ จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เมื่ออายุ 14 ปี หลังจากออกจากโรงเรียนแล้วก็ได้กลับมาอยู่บ้าน ด้วยเหตุที่วัดไม่มีพระอยู่ประจำ ต่อเมื่อมีพระเณร โดยเฉพาะพระกรรมฐานเดินธุดงค์มาพัก ก็จะเข้าไปปฏิบัติรับใช้ท่านอยู่ที่วัดเป็นประจำ จนกว่าจะออกเดินทางหาวิเวกไปที่อื่นต่อไป

    พออายุ 15 ปี ได้ไปอยู่กับท่านพระอาจารย์เกตุ ขนฺติโก พระพี่ชายของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ซึ่งบวชจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าสระวารี อ.บ้านผือ และได้รับการสอนให้เขียนหนังสือขอม

    เมื่ออายุได้ 16 ปี ใน พ.ศ.2481 ได้ย้ายไปอยู่ที่ถ้ำพระนาผักหอก อ.บ้านผือ กับท่านพระอาจารย์วารี เรี่ยวแรง (ขณะนั้นได้บวชเป็นพระภิกษุแล้ว) ท่านพระอาจารย์วารี มีแต่พระอยู่ไม่มีเณรรับใช้ จึงจำเป็นต้องไปอยู่รับใช้จนตลอด 3 เดือนจึงได้กลับบ้าน กระทั่งปี พ.ศ.2482

    1554-d786-jpg.jpg
    ๏ การอุปสมบท
    จาก นั้นอายุ 17 ปี โยมบิดาเสียชีวิตลงไม่มีใครช่วยทำนาทำไร่ มีแต่โยมมารดา พี่สาว และพี่เขยเท่านั้น หลวงปู่จันทร์โสมจึงจำเป็นต้องอยู่บ้านช่วยพี่สาวและพี่เขยทำนาทำไร่เลี้ยง ครอบครัว เพราะน้องชายก็ยังเป็นเด็กเล็กทำงานอะไรไม่ได้ ในสมัยที่โยมบิดายังมีชีวิตอยู่ การทำนาก็ยังต้องอาศัยการจ้างแรงงานช่วยทำทุกปีกว่าจะแล้วเสร็จ ท่านจึงได้ช่วยครอบครัวทำนาอยู่จนอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ และได้พิจารณาถึงความศรัทธาที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนา กับระลึกถึงกุศลเจตนาของโยมบิดา จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดอรัญญวาสี ต.ท่าบ่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2485 เวลา 15.23 นาฬิกา

    โดยมี ท่านเจ้าคุณพระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต) วัดศรีเมือง จ.หนองคาย เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูวิชัยสังฆกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ (ซึ่งหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ท่านมีศักดิ์เป็นพี่ชายโยมมารดาของหลวงปู่จันทร์โสม) ท่านได้รับนามฉายาว่า “กิตฺติกาโร” สังกัดธรรมยุตติกนิกาย
    ๏ ลำดับการจำพรรษา

    หลัง จากพรรษาแรกผ่านพ้น ท่านออกวิเวกไปในสถานที่ต่างๆ อาทิ บ้านน้ำอ้อม อ.วังสะพุง จ.เลย และวัดหนองขาม อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ก่อนที่จะกลับมาเกณฑ์ทหารในปี พ.ศ.2486 ในปีนั้น ท่านได้พำนักจำพรรษาที่วัดอรัญญวาสี จ.หนองคาย เข้าเรียนนักธรรมชั้นตรี ปรากฏว่าสอบได้ ทางการจึงยกเว้นไม่ต้องไปเป็นทหาร ต่อมาท่านจึงไปพำนักกับท่านพระอาจารย์เกตุ ขนฺติโก ที่วัดป่าช้าบ้านสว่าง

    ปี พ.ศ.2487 กลับมาจำพรรษาที่วัดอรัญญวาสี เรียนนักธรรมชั้นโท ออกพรรษาสอบได้แล้วก็ออกรุกขมูลมาตามริมแม่น้ำโขง บุกป่าผ่าดงมาจนถึงวัดพระพุทธบาทคอแก้ง (เวินกุ่ม) ก่อนจะกลับไปบ้านนาสีดาในปี พ.ศ.2488

    ปี พ.ศ.2498 จำพรรษาที่วัดศรีชมชื่น (วัดป่านาสีดา) เดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ที่วัดอรัญญวาสี จ.หนองคาย และได้รับการฝากให้เป็นศิษย์รับใช้หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อยู่ปฏิบัติอาจริยวัตรกับหลวงปู่มั่น เป็นเวลา 2 พรรษา คือ ปี พ.ศ.2490-2491 ก็กราบลาไปเที่ยววิเวกที่บ้านห้วยหวายกับ หลวงปู่อุ่น ชาคโร

    ปี พ.ศ.2492 กลับมาอยู่กับหลวงปู่เทสก์ และช่วยงานถวายเพลิงศพหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จนเสร็จสิ้น ก็เที่ยววิเวกไปกับ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต แห่งวัดบรรพตคีรี (วัดภูจ้อก้อ) อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร และหลวงปู่อรุณ อุตฺตโม แห่งวัดพระบาทนาสิงห์ อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ต่อมาได้ติดตามหลวงปู่เทสก์ไปเผยแผ่ธรรมที่ภาคใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2495-2499 และกลับมาอยู่วัดศรีชมชื่น ถึงปี พ.ศ.2514 ย้ายออกมาอยู่บริเวณป่าช้าดงบ้านเลา ซึ่งเป็นสถานที่กว้างขวางร่มรื่นเงียบสงบ ก่อสร้างกุฏิ เสนาสนะต่างๆ โดยลำดับ โดยตั้งชื่อสถานที่นี้ว่า “วัดป่านาสีดา” และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2531
    ๏ การเผยแผ่พระธรรมและกรรมฐานที่ภูเก็ต

    หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร ท่านมีศักดิ์เป็นหลานลุงแท้ๆ ของ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี จึงได้รับการอบรมบ่มสอนมาตั้งแต่เด็ก แม้บวชเรียนแล้วก็อยู่ในสายตา คอยแนะนำทางที่ถูกให้ประพฤติปฏิบัติไม่เคยทอดทิ้ง จนกระทั่งตัวท่านละสังขารจากไป เหตุการณ์สำคัญในชีวิตก็คือ การไปใช้ชีวิตกับหลวงปู่เทสก์นานถึง 8 ปี ในการเผยแผ่พระธรรมและกรรมฐานที่จังหวัดภูเก็ต สมัยนั้น “พระป่า” ยังไม่แพร่หลาย จึงเกิดปัญหาขัดแย้งจนถึงขับไล่ไสส่งกัน แต่คณะของหลวงปู่เทสก์ก็ต่อสู้แก้ไขจนสถานการณ์ลุล่วงไปด้วยดี

    นอกจากนี้ จากการได้อยู่ปรนนิบัติหลวงปู่มั่นอย่างใกล้ชิดถึง 2 ปี จึงได้รับ “ของดี” มาอย่างเต็มๆ ทั้งข้อวัตรปฏิบัติ การสำรวมกาย วาจา ใจ ปฏิปทาและหลักธรรมนานาของพระอาจารย์ใหญ่ ซึบซาบเข้าในสายเลือด สมัยนั้นการเข้าไปขอสมัครเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องผ่านการกลั่นกรองเป็นขั้นเป็นตอน พระเณรที่ขาดการสำรวมทำอะไรไม่ถูกต้อง จะโดนดุว่าตรงๆ แรงๆ เป็นการถากถางกิเลส คนจิตไม่แกร่ง ไม่ทน จึงพากันถอย สำหรับหลวงปู่จันทร์โสม ท่านสอบผ่านโดยง่ายดาย เพราะอุปนิสัยเป็นคนที่มีความอดทนสูงมาแต่เยาว์วัย


    ๏ หลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ภัย

    ท่าน จึงเป็นพระผู้ใหญ่ ที่ชาวบ้านชาวเมืองกราบไหว้ยกย่องนับถือในวัตรปฏิบัติและปฏิปทา รวมทั้งการเทศนาสอนธรรมกรรมฐานแก่ญาติโยม ท่านบริหารวัดตามแนวของหลวงปู่เทสก์ ด้วยการสร้างศรัทธาปสาทะให้ญาติโยมรอบวัดเลื่อมใสก่อน ส่วนการปฏิบัติธรรมได้ยึดตามแนวหลวงปู่มั่น เทศนาหรือบทธรรมของท่าน ส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องหลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ภัยในชีวิตประจำวันของ ผู้คน อาทิ

    “คนทุกคนสามารถสร้างคุณ งามความดีได้ทุกคน แต่ที่เขาไม่อยากทำ เพราะเชื่อบ้าง ไม่เชื่อบ้าง อย่าว่าแต่ฆราวาสเลย พระที่บวชในพุทธศาสนา ถ้าเชื่อจริงๆ จังๆ แล้ว ทำอะไรก็ได้ผล เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง เรียกว่า สงสัยลังเล ก็เลยเดินไม่ถูก ไม่ว่าสมัยใด ทำเมื่อไหร่ได้เมื่อนั้น”

    ใครก็ตามที่ต้องการปฏิบัติให้จิตสงบ ท่านให้คำแนะนำง่ายๆ ว่า

    “ให้ เลือกยึดอนุสติ 10 มาเป็นหลักพิจารณาเพียงหนึ่งอย่าง โดยเลือกให้ถูกกับอุปนิสัยของตนเอง และเลือกข้อที่นำมาปฏิบัติแล้ว เกิดความสลดสังเวช เกิดความเบื่อหน่ายเพื่อที่จะแก้ไขตัวเองได้ ลูกศิษย์ลูกหาที่ได้รับโอสถธรรมจากท่าน สามารถหลุดพ้นจากกองทุกข์ได้มากมาย”

    “เมื่อคนเราเกิดมามีวาสนาไม่เหมือนกัน วาสนาที่ว่าก็เกิดจากบุญกุศลที่เราได้ทำกันมา คนที่ยากจนในชาตินี้ก็เพราะชาติที่แล้วทำบุญมาน้อย ลงทุนน้อย พอเกิดมาชาตินี้ทุนก็เลยน้อยตามมา แต่ถ้าใครยากจนในชาตินี้ก็ต้องลงทุน ตั้งใจทำงานอย่างทุ่มเทให้มากโดยไม่ไปโกงใคร ในวันหนึ่งก็จะรวยได้เอง”

    ใน วัย 80 ปี หลวงปู่จันทร์โสม ผิวพรรณวรรณะท่านยังผ่องใส สุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมกับเป็นพระปฏิบัติ และไม่เคยละเว้นการสอนศีลสอนภาวนาแก่ญาติโยมที่สนใจ โดยจะย้ำถึงอานิสงส์แห่งการภาวนาอยู่เสมอ

    “การ ภาวนา นอกจากให้ผลทางจิตใจแล้ว ความเอ็นดู เมตตาสงสารคนอื่นก็เกิดขึ้น ที่เราโกรธเกลียดพยาบาทก็หายไป เห็นโทษก็สงสารเขา มีธรรมะในใจ ความอิจฉาพยาบาทเบียดเบียนก็ไม่เกิดขึ้น อยู่หมู่คณะใดก็ไม่เกิดขึ้น”

    “ขอ อย่าประมาท อย่าละทิ้งการภาวนา ทำเป็นไม่เป็นก็ช่างเถอะ ขอให้ได้ทำอย่างเดียว นานๆ เข้าก็ติดจิตไปด้วย สะสมวันละนิด งานก็ใหญ่ขึ้น ทำให้จิตใจเราสบายเป็นอานิสงส์ จิตใจสบาย มันก็คลุกคลีทุกสิ่งทุกอย่าง มันเดือดร้อน เราภาวนาก็ทำให้จิตใจเย็น” ฯลฯ

    ผู้อยากพบแสงสว่างทางใจ หมั่นภาวนาตามมรรคาที่ท่านวางไว้โดยพลัน !!

    1556-49b8-jpg.jpg
    ๏ การมรณภาพ

    สัจธรรม แห่งชีวิต เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีใครหนีได้พ้น หลวงปู่จันทร์โสม ในวัยชราเริ่มอาการเจ็บป่วยเข้ามาแผ้วพาน วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 ที่ผ่านมา หลวงปู่จันทร์โสม ได้มีอาการปวดท้องเจ็บหน้าอก คณะศิษยานุศิษย์ได้รีบนำตัวส่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช

    กระทั่ง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2549 หลวงปู่มีอาการกำเริบหนักขึ้น ปวดท้องแน่นหน้าอก หายใจไม่ค่อยสะดวก คณะแพทย์ได้รีบช่วยกันปั๊มหัวใจรักษาอาการอย่างสุดความสามารถ แต่ไม่สามารถยื้ออาการไว้ได้

    ในที่สุด หลวงปู่จันทร์โสม ได้ละสังขารอย่างสงบด้วยโรคหัวใจล้มเหลว สิริรวมอายุ 84 พรรษา 63 ท่ามกลางความเศร้าสลดของบรรดาคณะศิษยานุศิษย์ และคณะสงฆ์ เป็นยิ่งนัก



    ๏ งานพระราชทานเพลิงศพ

    สมเด็จ พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร และพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ไปในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร อดีตเจ้าอาวาสวัดป่านาสีดา ณ เมรุชั่วคราววัดป่านาสีดา ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2550 เวลา 17.00 นาฬิกา



    1555-e736-jpg.jpg

    1561-98c3-jpg.jpg 1560-7d99-jpg.jpg 1562-7ead-jpg.jpg
    SAM_9001.JPG SAM_9002.JPG SAM_7605.JPG
    1559-0238-jpg.jpg
     
  14. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 702 เหรียญรุ่นพิเศษหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต พระอรหันต์เจ้าวัดป่าอุดมคงคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนเเก่น หลวงปู่ผางเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคสุดท้าย เหรียญสร้างปี 2519 เนื้อทองเเดงผิวไฟ สร้างเนื่องฉลองพระอุโบสถวัดศรีเเก้งคร้อ(ชัยภูมิ) มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล **********บูชาที่ 265 บาทฟรีส่งemsสส
    หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต (วัดดูน) ต.บ้านโคก อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น


    FEF45B31EA8F4A91A87248175216D6F2.jpg

    หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต (วัดดูน) ต.บ้านโคก อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เป็นพระสุปฏิปนฺโนอีกรูปหนึ่งที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ระบุว่า ท่านคือพระอรหันต์ร่วมยุค

    หลวงปู่ผาง นามเดิมว่า ผาง ครองยุติ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2445 ที่บ้านกุดเกษียร ต.กุดเกษียร อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ละขันธ์เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2525 สิริอายุรวมได้ 80 ปี พรรษา 37

    หลวงปู่ผางมิได้เป็นพระนักเทศน์ หรือมีความเชี่ยวชาญด้านการเทศนา หากแต่เชี่ยวชาญในการปฏิบัติและเป็นพระผู้มีปฏิภาณไหวพริบเฉียบแหลม ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีวาจาความศักดิ์สิทธิ์ ครั้งดำรงขันธ์อยู่ท่านไม่อนุญาตให้บันทึกธรรมเทศนาของท่านไว้ เมื่อละขันธ์แล้วจึงไม่ปรากฏธรรมะเทศนาเป็นกัณฑ์เทศน์ยาวๆ เหมือนพระรูปอื่น มีเพียงแต่เรื่องเล่าที่แสดงถึงธรรมะและไหวพริบปฏิภาณของท่าน รวมทั้งเทศนาสั้นๆ ซึ่งมีผู้รวบรวมไว้ในหนังสือที่ระลึกงานถวายเพลิงศพ และหนังสือต่างๆ อาทิ หนังสือแก้วมณีอีสาน และอื่นๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

    ครั้งหนึ่งมหาน้อยเป็นชาว อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น มีนิสัยชอบถามปัญหาธรรมกับพระสงฆ์อยู่เป็นประจำ วันหนึ่งได้ไปกราบนมัสการหลวงปู่ที่วัดอุดมคงคาคีรีเขต แล้วถามหลวงปู่ว่า “เขาว่าพระกัมมัฏฐานถือธุดงควัตรอย่างหลวงปู่ไม่รับเงินรับทอง แล้วใช้จ่ายรูปิยะ วัตถุอนามาสด้วยมือตนเองใช่ไหม?”

    หลวงปู่มองดูหน้ามหาน้อยแล้วถามกลับว่า “ถามทำไม?”

    มหาน้อยตอบ “ก็อยากรู้สิหลวงปู่ถึงถาม”

    หลวงปู่ตอบ “ก็ใช่นะสิ”

    มหาน้อยพูดต่อว่า “นั่นก็แสดงว่าหลวงปู่ได้บรรลุธรรมเป็นอรหันต์หมดความอยากแล้วใช่ไหม”

    หลวงปู่ตอบว่า “เอ้า จะพูดไปอะไรปานนั้น ต้องเป็นอรหันต์เท่านั้นเหรอจึงจะไม่จับเงิน จับทอง พระคนธรรมดาไม่จับไม่ได้หรือ”

    มหาน้อยพล่ามต่อไปอีกว่า “ผมถามหลวงปู่เพื่อต้องการทราบว่า หลวงปู่ไม่รับเงินทองของอนามาสนั่นนะ เพราะหมดความอยากแล้วใช่ไหม ผมถามอย่างนี้”

    หลวงปู่ตอบว่า “ไม่รับเฉยๆ นี่แหละ มันจะเพราะอะไร”

    7893AC3FCF994B79926DAB28B13E6D88_1000.jpg
    หลวงปู่สอนไม่ให้เชื่อมงคลตื่นข่าว ไม่ให้เชื่อถือฤกษ์ยาม แม้ว่าในปัจจุบันการถือฤกษ์ยามนับเป็นเรื่องสำคัญ จะเดินทางประกอบธุรกิจ ขึ้นบ้านใหม่ และอะไรหลายๆ อย่างต้องมีฤกษ์ ถ้าถูกวันอุบาทว์ โลกาวินาศ วันลอย วันจม แล้วต้องงด ควรเป็น วันวันธงชัย อธิบดี และวันฟู จึงจะเป็นมงคล

    มีครั้งหนึ่งคุณนายท่านหนึ่งมากราบหลวงปู่ ปรารภถึงวันเปิดร้านเพื่อประกอบธุรกิจการค้า คุณนายถามหลวงปู่ถึงวันที่จะเป็นมงคลสำหรับการเปิดร้าน หลวงปู่ก็บอกว่า ดีทุกวัน เป็นพรุ่งนี้ได้ยิ่งดี คุณนายแย้งว่า วันพรุ่งนี้เป็นวันโลกาวินาศ หลวงปู่บอกว่าไม่เคยได้ยินวันโลกาวินาศ เคยได้ยินแต่วันอาทิตย์ วันจันทร์

    คุณนายก็เลยเรียนหลวงปู่ว่า “เขามีมานานแล้วหลวงปู่ วันธงชัย วันอธิบดี วันฟู นี่ถึงเป็นมงคลเจ้าข้า” หลวงปู่ก็เลยถามว่า แล้ววันนี้ล่ะวันอะไร ก็ได้คำตอบจากคุณนายว่าเป็นวันฟู แต่ร้านไม่เรียบร้อยก็เลยเปิดไม่ทัน หลวงปู่จึงบอกให้คุณนายลองโยนก้อนหินลงไปในที่ล้างเท้า

    แล้วหลวงปู่ก็ถามว่า แล้วก้อนหินมันฟูไหม ได้คำตอบว่า “จม”

    หลวงปู่จึงสั่งสอนว่า “ที่ว่าวันฟู มันทำไมจึงไม่ฟู นี่แหละมันฟูไม่จริง” นี่แสดงให้เห็นถึงปฏิภาณไหวพริบในการสอนธรรมะของหลวงปู่ สอนให้เห็นของจริง ให้รู้ชัดว่าทุกสิ่งทุกอย่างประกอบด้วยเหตุและผล หินเป็นวัตถุที่จมน้ำ มันก็ย่อมจะจมน้ำ ไม่ว่าจะเป็นวันลอย วันฟู ท่านชี้ให้เห็นว่า วัน เดือน ปี ก็เป็นกาลเวลา ไม่มีผลต่อความเป็นอยู่ความเจริญรุ่งเรืองของเรา แต่การกระทำของเราต่างหากที่จะมีผลต่อตัวเราเอง

    หลวงปู่ผางมักเทศน์ให้สาธุชนทั้งหลายรักษาศีลข้อห้าอยู่เสมอๆ เวลาให้พรท่านก็มักให้พรว่า “อย่าสิเอาพระรัตนตรัยไปกินเหล้า เด้อ”, “ให้สำบายๆ เด้อ”, “ให้อยู่ดีมีแฮง เด้อ”

    ให้พากันวางความตาย อย่าเสียดายความมี ตู้คัมภีร์ใหม่อยู่ในกายเฮานี่ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก อยู่ในหัวอกไผมันให้เบิ่ง (ดู) เอา (ให้พากันวางความตาย อย่าเสียดายความมั่งมี ตู้พระไตรปิฎกอยู่ในกายของเรานี้)

    “มีชื่อไม่ให้ปรากฏ มียศไม่ให้ลือชา มีวิชาให้เรียนยาก”

    ให้พากันพายเฮาข้ามทะเลหลวงให้ม้มฝั่ง อย่าสิกลับต่าวปิ้นนำพั่วหมากแหน่งดง

    (ให้พากันพายเรือข้ามทะเลหลวง “วัฏสงสาร” ให้พ้นถึงฝั่ง “คือพระนิพพาน” อย่ากลับมาเวียนว่ายตายเกิด อยู่กับวัฏสงสารนี้อีก)

    เป็นพระภิกษุสามเณร หากไม่เคารพพระวินัย ก็เท่ากับหมดความเป็นพระภิกษุสามเณรไปโดยปริยาย

    ศีลมีมากมายหลายข้อ บ่ต้องรักษาเหมิดทุกข้อดอก รักษาแต่ใจเจ้าของอย่างเดียวให้ดีท่อนั้น กาย วาจา กะสิดีไปนำกัน (ศีลมีมากมายหลายข้อ ไม่ต้องรักษาหมดทุกข้อหรอก รักษาแต่ใจตัวเองอย่างเดียวให้ดีเท่านั้น กายวาจาก็จะดีไปด้วยกัน)

    คนเราเกิดมาแล้วหนีความตายไปไม่ได้ มีเกิด มีดับ เกิดมาแล้วให้ทำความดีให้เพียงพอ

    การให้ทานรักษาศีลนี้ ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง คือถ้าใครทำก็ได้รับผลด้วยกัน อย่าเลือกเวลา การทำความดี ทำได้ทุกเวลาสถานที่ ทุกเพศวัย ไม่ว่าจะเป็นคนแก่ คนหนุ่ม คนสาว ทำได้หมด ให้รีบทำความดีเสีย เดี๋ยวจะตายก่อน ไม่ได้ทำนะ

    คนเฮานี้มีเกิดกะมีดับ ถ้าบ่มีการเกิดกะบ่มีการดับ อันนี้มันเป็นของคู่กัน

    ไผเฮ็ดไผทำกะได้แก่ผู้นั้น ให้พากันเฮ็ดเอาทำเอาเด้อ

    ให้ภาวนาว่า ตายๆ ผีกะย่าน บ่กล้ามาใกล้ดอก (ให้ภาวนาว่า ตายๆ ผีก็จะกลัว ไม่กล้าเข้ามาใกล้)

    หมอบๆ เข่าหัวเท่าง่ายาง ย่างโย่งๆ หัวแทบขี้ดิน (คนพาลถึงจะทำเป็นอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างไร เขาก็รู้ว่าเป็นคนพาลอยู่นั่นเอง หรือได้แก่คนที่เคารพแต่กาย ส่วนใจไม่เคารพ ส่วนคนดีมีความเคารพ ถึงแม้จะคุยโวไม่เคารพ แต่ใจนั้นเคารพอยู่)

    มีดพร้าโต้ควงแบกท่วมหู คนมันบางท่อคูคันต้อน ซุยซำซะ ลากขี้ดินจำก้น (คนผู้มีอาวุธคือปัญญาหรือศีลธรรมอันยิ่งใหญ่ ถึงแม้ว่าจะแสดงตนว่าไม่ดีอย่างไร เขาก็รู้ว่าเป็นคนดีอยู่นั่นเอง)

    คนสามบ้านกินน้ำส่างเดียว เที่ยวทางเดียว บ่เหยียบฮอยกัน (คนสามหมู่บ้านดื่มน้ำจากบ่อเดียวกัน เดินบนเส้นทางเดียวกัน แต่ไม่เหยียบรอยเท้ากัน หมายถึงคนทุกวันนี้ดื่มน้ำจากแหล่งเดียวกันคือ น้ำประปา และการเดินทางทุกวันนี้ใช้รถยนต์ไม่มีรอยเท้าให้เห็น)

    อย่าได้มัวเมาหม่นนำดวงดอกไข่เน่า เมานำพั่วหมากหว้ามันสิช้าค่ำทาง (อย่าได้มัวเพลิดเพลินอยู่กับดอกไม้หอมในป่า หรือลูกไม้ในป่า จะทำให้ชักช้าไปไม่ถึงที่หมาย หมายถึงอย่าได้มัวเพลินอยู่ในกามารมณ์ จะทำให้เราชักช้าไม่พ้นวัฏสงสาร)

    ลิงกับลิงชิงขึ้นต้นไม้ บัดสิได้แม่นบักโกกนาโถ (เมื่อลิงทั้งหลายแย่งชิงกันขึ้นต้นไม้ ตัวที่แย่งได้เป็นตัวที่มีความคล่องแคล่วว่องไวกว่าเพื่อน)

    นักปราชญ์ฮู่หลง หงส์ทองถึกบ้วง ควายบักตู้ตื่นไถ (นักปราชญ์ยังมีโอกาสพลาด หงส์ทองยังมีโอกาสติดบ่วง และควายที่คุ้นกับไถก็ยังตื่นไถได้ หมายถึงบุคคลผู้รู้จักบาปบุญแล้วยังหลงทำความชั่วได้ บุคคลผู้มีสติก็ยังขาดความระมัดระวัง และบุคคลที่เป็นผู้รู้แล้วยังเป็นคนพาลได้)

    อย่าพากันเที่ยวทางเวิ่งเหิงหลายมันสิค่ำ เมานำพั่วหมากหว้ามันสิช้าค่ำทาง (อย่าพากันเถลไถลออกจากทางตรงเดี๋ยวจะมืดค่ำก่อน อย่ามัวเพลินกับผลไม้ป่า จะทำให้ชักช้ามืดค่ำในระหว่างทางได้)

    พุทโธ พุทโธ หัวใจโตกะรักษาบ่ได้ (รู้จักแต่พุทโธ พุทโธ แต่ไม่รู้จักจิตใจของตัวเอง)

    หลวงตามหาบัวกล่าวถึงหลวงปู่ผาง

    หลวงพ่อผางนี่ก็เป็นพระสำคัญองค์หนึ่ง อยู่ที่มัญจาคีรี ตอนนั้นเราอยู่บ้านนามน พอดีท่านก็ไปบ้านนามน แต่ท่านอ่อนพรรษากว่าเรา เพราะท่านเคยมีครอบครัวมาแล้วบวชบั้นแก่ เพราะฉะนั้นท่านจึงอ่อนพรรษากว่าเรา อายุเราอ่อนกว่าท่าน แต่พรรษาบวชท่านอ่อนกว่าเรา เวลาท่านไปวัดบ้านนามน โห ท่านเทศน์นี้แผดมากเทียวนะ นั่นละท่านจะเห็นอะไรอยู่ เทศน์หลวงพ่อองค์นี้เทศน์เข้มข้นมาก ใส่เปรี้ยงๆๆ เราก็มาปฏิบัติ แต่ว่าผ่านได้นะ ท่านผ่านได้ หลวงพ่อผางถูกกัน พวกงู พวกจระเข้ ในวัดมีจระเข้ด้วย มีงูด้วย ในวัดท่านงูนี้ยั้วเยี้ยๆ คนไปเห็นก็ตื่นเต้น ทั้งกลัว
    เมื่อค่ำวันที่ 14 ธ.ค. 2550 ธรรมะของเรามีทุกขั้น

    “...หลวงพ่อผางที่อำเภอชนบท เก่งทางพวกงู พวกจระเข้ วัดผู้เฒ่าแต่ก่อน โถ งูชุมมากนะ เหมือนกับผู้เฒ่าเลี้ยงไว้ ไม่ได้ผิดกันอะไรเลย งูเห่า งูจงอางนะไม่ใช่ธรรมดา มันป้วนเปี้ยนๆ อยู่กับคน คนไปไหนก็อยู่อย่างนี้ๆ คนก็เดินไปข้างๆ เรียกว่าหลีกกันไปเหมือนหลีกหมาว่างั้นเถอะนะ มันมีอยู่ทั่วไป

    หลวงพ่อผางเป็นผู้ปกครองวัดนั้น มันเคารพหลวงพ่อผางมากนะ งูเหล่านี้กลัวเคารพแต่หลวงพ่อผาง จระเข้ตัวหนึ่งอยู่นั้นเลี้ยงไว้ กลัวแต่หลวงพ่อผางองค์เดียว จระเข้ตัวนั้นท่านให้เขาไปปลูกกุฏิกลางสระ มันมางับเขาเรื่อย ต้องหลวงพ่อผางมาละ มันไปไหนไอ้นี่ วิ่งหนีเลย มันอยู่ใต้น้ำ อย่างนี้ละมันกลัว กลัวหลวงพ่อผางองค์เดียว จระเข้ตัวเดียว งับเขามันไม่กินแหละ งับเขาให้เจ็บ เพราะคนทำกุฏิอยู่กลางสระน้ำ คนก็ลงน้ำละซิ มันเลยมางับเอาตรงนั้น ต้องเรียกหาหลวงพ่อผางเรื่อย ครั้นหลวงพ่อผางอยู่นั้นทั้งวันไม่มา มันกลัว ถ้าเรียกหลวงพ่อผางเมื่อไร มันมางับเขาละ ร้องโก้กทีเดียว แข้กัด จระเข้เรียก แข้ แข้กัด...”

    เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด SAM_9003.JPG SAM_9004.JPG SAM_7823.JPG
     
  15. Higtmax

    Higtmax เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    2,333
    ค่าพลัง:
    +4,793
     
  16. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 703(****ลงใหม่ครับปิดเเล้วเงียบ) พระผงรูปเหมือนท้าวเวสสุวรรณผู้ปกครองอสูรเเละผี(หนึ่งในท้าวผู้ปกครองโลกบาลทั้ง สี่) สร้างโดยวัดป่านิโครธาราม (วัดหลวงปู่อ่อน ญานสิริ ศิษย์รุ่นใหญ่หลวงปู่มั่น) สร้างปี 2562 มีมวลสารที่สร้างตามใบฝอยที่ลงรูปภาพครับ มีบบรจุพระธาตุเเละโลหิตธาตุของพระอรหันต์ในตัวองค์ท้าวเวสสุวรรณ เห็นชัดเจน ด้านหลังมีตอกโค๊ตหลุมชัดเจน มาพร้อมพระเกศารวมของพระอรหันต์ปัจจุบัน มาบูชาเป็นมงคลที่บ้านเเละครอบครัว************บูชาที่ 375 บาทฟรีส่งems sam_8203-jpg-jpg.jpg มีพระเกศารวมของพระอรหันต์สายหลวงปู่มั่นมาบูชาด้วย เช่นเกศา 1,หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป่าสีห์พนม, 2,หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถํ้ากลองเพล,3,หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิตร,4 หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสติถิผล,5 หลวงปู่เเฟ็บ สุภัทโท วัดป่าดงหวาย,6 หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดป่าอรัญวิเวก,7, หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราราม,8 หลวงปู่เเปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร,9 หลวงตาเเตงอ่อน กัลยาณธัมโม วัดป่าโชคไพศาล,10, หลวงป่ศรีจันทร์ วัณณาโภ วัดสุทธาวาส(วัดเลยหลง,11, หลวงปู่เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง,12, หลวงปู่ไม อินทสิริ วัดป่าเขาภูหลวง,13, หลวงปู่ศรี สิริธโร วัดป่าโนนทองอินทร์ 14 ,หลวงปู่รินทร์ สันตมโน วัดป่าธรรมมาราม ,15, หลวงปู่มั่น ถาวโร วัดป่าหัวภูลังกาใต้,16, หลวงปู่เเสง ญานวโร,17, หลวงปู่ขันตี ญาณวโร วัดป่าม่วงไข่,17 ,หลวงปู่เหลือง ฉันทาคโม วัดกระดึงทอง,18, หลวงปู่จันทร์เเรม เขมิโย วัดระหาน,19, หลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร วัดป่าวิเวกพัฒนาราม,20, หลวงปู่เคน เขมาสโย วัดป่าหนองหว้า, 21, หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดป่าประทีปปุญญาราม,22, คุณเเม่ชีบุญฮู้ พรหมเทพ สำนัดชีภูกระเเต เป็นต้น sam_8204-jpg-jpg.jpg sam_8205-jpg-jpg.jpg sam_8202-jpg-jpg.jpg sam_8206-jpg-jpg.jpg
     
  17. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการี่ 704 พระผงมงคลขุนเเผนหลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าถํ้าเทพนิมิต อ.กุดจับ จ.อุดรธานี หลวงพ่อสมเกียรติเป็นศิษย์หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ วัดป่านาคูณ(ศิษย์รุ่นใหญ่หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด) องค์พระสร้างปี 2561 ,มีมวลสารที่สร้างตามใบฝอยที่ลง มีตอกโค๊ตหมึกหลังองค์พระ หายากครับ มาพร้อมเกศารวมพ่่อเเม่ครูอาจารย์(เกศาพระอรหันต์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ) ***********มีพระเกศารวมของพระอรหันต์สายหลวงปู่มั่นมาบูชาด้วย เช่นเกศา 1,หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป่าสีห์พนม, 2,หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถํ้ากลองเพล,3,หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิตร,4 หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสติถิผล,5 หลวงปู่เเฟ็บ สุภัทโท วัดป่าดงหวาย,6 หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดป่าอรัญวิเวก,7, หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราราม,8 หลวงปู่เเปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร,9 หลวงตาเเตงอ่อน กัลยาณธัมโมีพระเกศารวมของพระอรหันต์สายหลวงปู่มั่นมาบูชาด้วย เช่นเกศา 1,หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป่าสีห์พนม, 2,หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถํ้ากลองเพล,3,หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิตร,4 หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสติถิผล,5 หลวงปู่เเฟ็บ สุภัทโท วัดป่าดงหวาย,6 หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดป่าอรัญวิเวก,7, หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราราม,8 หลวงปู่เเปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร,9 หลวงตาเเตงอ่อน กัลยาณธัมโม วัดป่าโชคไพศาล,10, หลวงป่ศรีจันทร์ วัณณาโภ วัดสุทธาวาส(วัดเลยหลง,11, หลวงปู่เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง,12, หลวงปู่ไม อินทสิริ วัดป่าเขาภูหลวง,13, หลวงปู่ศรี สิริธโร วัดป่าโนนทองอินทร์ 14 ,หลวงปู่รินทร์ สันตมโน วัดป่าธรรมมาราม ,15, หลวงปู่มั่น ถาวโร วัดป่าหัวภูลังกาใต้,16, หลวงปู่เเสง ญานวโร,17, หลวงปู่ขันตี ญาณวโร วัดป่าม่วงไข่,17 ,หลวงปู่เหลือง ฉันทาคโม วัดกระดึงทอง,18, หลวงปู่จันทร์เเรม เขมิโย วัดระหาน,19, หลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร วัดป่าวิเวกพัฒนาราม,20, หลวงปู่เคน เขมาสโย วัดป่าหนองหว้า, 21, หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดป่าประทีปปุญญาราม,22, คุณเเม่ชีบุญฮู้ พรหมเทพ สำนัดชีภูกระเเต เป็นต้น มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ***********(.......... หมายเหตุ ......องค์นี้เกศาโผล่เยอะ.เหลือองค์สุดท้ายครับพึ่งหาเจอ ว่าจะเอาไว้ใช้เอง5555เผื่อจะได้เมียกับเขาบ้างฮิๆๆๆๆ*********บูชาที่ 345 บาทฟรีส่งems
    ประวัติ
    หลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร

    วัดป่าถ้ำพระเทพนิมิต (ถ้ำตาลเลียน)
    อ.กุดจับ จ.อุดรธานี

    88-e0-b8-ad-e0-b8-b8-e0-b8-94-e0-b8-a3-e0-b8-98-e0-b8-b2-e0-b8-99-e0-b8-b5-e0-b8-84-683x1024-jpg.jpg
    หลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร วัดป่าถ้ำพระเทพนิมิต ต.ตาลเลียน อ.กุดจับ จ.อุดรธานี
    หลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร ท่านถือกำเนิดเมื่อวันอังคารที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๘ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะแม ท่านเกิดในสกุล “จันทร์วงศ์” เป็นบุตรชายคนที่ ๔ ในจำนวนพี่น้อง ๕ คน ณ บ้านสร้างเสี่ยน ต.หนองบัวใต้ อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู (ตอนนั้นคือจังหวัด อุดรธานี) สมัยเมื่อเกิดเป็นทารกแรกคลอดมีสายรกพันคอและเฉวี่ยงบ่าคล้ายสายสะพายบาตรออกมาด้วย บิดาท่านจึงอุทานออกมาว่า ลูกคนนี้ต้องได้บวชเป็นพระแน่นอน เมื่อเติบใหญ่หลวงพ่อสมเกียรติ ได้เคยบอกเพื่อนๆว่า…ถ้าอายุครบ ๒๑ ถึงอายุเกณฑ์ทหารแล้ว ถ้าจับไม่โดนใบแดง ติดทหาร ท่านจะอุปสมบทเป็นพระภิกษุ นี่เป็นสัจจะวาจาที่ท่านตั้งไว้เป็นคำสัตย์

    หลังจากไม่ติดทหาร ท่านจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกายเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๙ ณ พัทสีมาวัดจันท์ประสิทธิ์ บ้านสร้างเสี่ยน ต.หนองบัวใต้ อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู โดยมีหลวงปู่บุญมา สุชีโว วัดป่าสุขเกษม อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ทองสูน สุธัมโม เป็นพระผู้สอนนาค และเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์จันทร์ลา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ชิตมาโร” แปลว่า “ผู้พิชิตมาร“

    ภายหลังอุปสมบท หลวงปู่หวัน จุลปัณฑิโต แห่งวัดถ้ำกลองเพล ได้ขอให้ พระอาจารย์สมเกียรติ ชิตมาโร ขึ้นไปจำพรรษาที่วัดป่าภูเก้า บ้านดอนหัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูเก้า อยู่ถึง ๓ พรรษา จากนั้นในพรรษาที่ ๔ ท่านได้ไปอยู่ที่วัดป่าประสิทธิสามัคคี (วัดของท่านพระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม) บ้านต้าย อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    พรรษาที่ ๕ อยู่ที่วัดญาณสังวร อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
    พรรษาที่ ๖ วัดป่าหมากแข้ง (วัดหลวงพ่อผจญ อสโม) อ.วังสะพุง จ.เลย
    พรรษาที่ ๗ วัดป่าทรายทอง อ.แม่จัน จ.เชียงราย
    พรรษาที่ ๘ กลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดจันทร์ประสิทธิที่ท่านอุปสมบท
    พรรษาที่ ๙ วัดป่าสานตม ธรรมสถานของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม อ.ภูเรือ จ.เลย
    พรรษาที่ ๑๐-๑๑ วัดถ้ำพระเทพนิมิตบ้านทุ่งตาลเลียน อ.กุดจับ จ.อุดรธานี
    พรรษาที่ ๑๒- ๑๓ ท่านปฏิปัติธรรมอยู่ที่ภูลังกากับหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ณ วัดถ้ำยานาโพธิ์ อ.บ้านแพง จ.นครพนม (จนองค์ท่านหลวงปู่บุญมี จะกล่าวกับญาติโยมที่คุ้นเคยว่าหลวงพ่อสมเกียรติ คือลูกชายองค์โตของท่าน)
    พรรษาที่ ๑๔ ได้ติดตามหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ มาอยู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านใหม่ ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    จากนั้นจึงได้กลับมาอยู่ที่วัดถ้ำพระตาลเลียนแห่งนี้ ตั้งแต่พรรษาที่ ๑๕ จนถึงปัจจุบันนี้ พรรษาที่ ๔๕ รวม ๓๑ ปีแล้ว

    -e0-b8-88-e0-b8-ad-e0-b8-b8-e0-b8-94-e0-b8-a3-e0-b8-98-e0-b8-b2-e0-b8-99-e0-b8-b5-5-819x1024-jpg.jpg
    หลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร วัดป่าถ้ำพระเทพนิมิต ต.ตาลเลียน อ.กุดจับ จ.อุดรธานี
    สำหรับวัดป่าถ้ำพระเทพนิมิตนี้ แต่เดิมเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ หลวงปู่ลี กุสลธโร , หลวงปู่คำผอง กุสลธโร และ หลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร ได้เคยมาบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในบริเวณใกล้ๆละแวกนั้น คือบ้านตายเลียน เดิมทีที่บ้านตายเลียนนี้ เป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าอยู่ชุกชุมเช่น เสือ ช้างป่า หมี หมูป่า เป็นต้น และห่างไกลความเจริญ หากใครได้เป็นโรคมาเลเรียเข้าก็ต้องตายสถานเดียว ที่นี่จึงได้ชื่อว่า “บ้านตายเลียน” ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น “บ้านทุ่งตาลเลียน” หลวงปู่จันทร์เรียน ท่านได้นิมิตว่า มีเทวดามาแนะนำให้ไปภาวนาปฏิบัติธรรมทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านตายเลียน มาอยู่ที่นี่ทำไม “วัดถ้ำเทพนิมิต” จึงนับว่าได้ชื่อนี้แต่นั้นมา

    ปัจจุบันนี้องค์ท่านหลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร เป็นเจ้าอาวาส ท่านเคยเล่าว่า…สมัยนั้นที่ท่านได้มาอยู่ใหม่ๆ ที่นี่ผีดุมาก คงเป็นเพราะที่เป็นไข้ป่าตายกันแล้วหวงสมบัติ ไม่ไปไหน แต่ปัจจุบันนี้ครูบาอาจารย์อุทิศบุญกุศลให้ เขาจึงรับบุญไปกันเกือบหมดแล้ว…

    3-e0-b8-b0-e0-b9-80-e0-b8-97-e0-b8-9e-e0-b8-99-e0-b8-b4-e0-b8-a1-e0-b8-b4-e0-b8-950-1024x998-jpg.jpg
    หลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร วัดป่าถ้ำพระเทพนิมิต (ถ้ำตาลเลียน) อ.กุดจับ จ.อุดรธานี
    โอวาทธรรมคำสอน หลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร วัดป่าถ้ำพระเทพนิมิต ต.ตาลเลียน อ.กุดจับ จ.อุดรธานี

    พระอรหันต์บางองค์ท่านยืนนิพพาน บางท่านนั่งนิพพาน บางองค์เดินนิพพาน บางองค์นอนนิพพาน ทำไมท่านจึงทำผิดแปลกจากมนุษย์ทั่วๆไปในโลกนี้เล่า ก็เพราะความรู้ ความเห็น ความสัตย์ ความจริงที่มีอยู่ในใจของท่าน ไม่ได้เหมือนกับโลกทั่วๆไป ธรรมในใจนั้นเป็นสมบัติของท่านโดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับโลก ท่านจึงไม่ทำเหมือนโลก และโลกก็ทำเหมือนท่านไม่ได้ การที่จะขัดแย้งท่านว่า ท่านทำไม่ได้ ท่านเป็นอย่างนั้นไม่ได้ จึงเป็นโมฆะทั้งสิ้น หาความจริงไม่ได้ เพราะผู้นั้นอยู่เหนือสิ่งเหล่านี้ สิ่งที่เราคาดคะเนไม่ถึง จะให้ท่านมาเป็นอย่างตัวเองได้อย่างไร ท่านเป็นท่านเต็มตัว เราก็เป็นเราแบบนี้อย่างเต็มยศ (ของปุถุชนผู้ที่ชอบชนดะ) ทุกขเวทนาในขันธ์ ก็สักแต่ว่าสมมุติอันหนึ่งเท่านั้น เป็น รูปํ คือกองรูป นี่ก็เป็นสมมุติอันหนึ่ง เวทนา สุข ทุกข์ เฉยๆ เป็นอาการอันหนึ่งๆของขันธ์แต่ละอย่างๆ สิ่งเหล่านี้เป็นสมมุติทั้งมวล

    แต่จิตของท่านหลุดพ้นแล้วจากสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ จิตจึงเหนือสิ่งเหล่านี้ ทุกข์ในร่างกายวาระสุดท้ายจะหนักมากขนาดไหน ก็ไม่สามารถทำใจของท่านให้กระทบกระเทือน ให้หวั่นไหวเอนเอียงไปได้ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงสามารถนิพพานตามอัธยาศัย ในท่าที่ถนัดในวาระสุดท้ายได้ตามความสะดวกสบาย โดยไม่มีเวทนาตัวใดที่จะเข้าไปเหยียบย่ำทำลายจิตใจของท่านได้เหมือนอย่างสามัญชนคนธรรมดา ด้วยเหตุนี้ท่านจึงนิพพานได้ในท่าต่างๆตามอัธยาศัยของท่าน ด้วยความเป็นอิสระเสรีภายในใจ เพราะเวทนาทางใจท่านไม่มี คำว่าเวทนานี้หมายถึงเวทนาภายในจิต เวทนาในร่างกายนั้นมี ท่านรับทราบแต่ไม่รับรู้ ไม่เข้าไปยึดไปถือเหมือนแต่ก่อน จะไม่รับทราบอย่างไรเล่า แม้แต่เรามีกิเลสอยู่ภายในจิตใจเรายังรู้ เจ็บปวดตรงไหนในร่างกายเราทราบ ทำไมท่านจะไม่ทราบ แต่ของเรากับของท่านมันต่างกัน ของเรารับทราบไปตามยถากรรมของคนที่มีกิเลสหนาปัญญาหยาบ รู้เห็นก็รู้เห็นแบบหยาบๆ แบบลวกๆแบบผิวเผิน ไม่ได้หยั่งทราบด้วยความรู้จริงเห็นจริงเหมือนพระขีณาสพ (หมายถึง ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว)
    เราจึงต้องยึดต้องถือ เกิดความทุกข์ทรมานภายในจิตใจไม่มีประมาณ เวลาร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วย ใจเลยกลายเป็นโรคกังวลโรควุ่นวาย โรคเสียอกเสียใจขึ้นมาด้วย แต่พระขีณาสพท่านไม่มี เพียงแต่รับทราบทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นภายในขันธ์เท่านั้น ขันธ์ก็เป็นขันธ์ จิตเป็นจิต มันไม่ใช่อันเดียวกันสักหน่อย แล้วเวทนาจะไปแทรกจิตท่านได้อย่างไร เมื่อต่างอันต่างจริงแล้วไม่กระทบกัน ทุกขเวทนาแสดงตัวจะหนักจะเบาขนาดไหนก็อยู่ในวงขันธ์ห้านี้เท่านั้น ไม่สามารถไปแสดงตัวในวงจิตของท่านได้ นี่แหละ ระหว่างพระอรหันต์กับพวกเราต่างกันมากราวฟ้ากับดิน ถ้าเป็นโลกก็อยู่คนละโลก ถ้าเป็นฝั่งก็อยู่คนละฝั่ง แล้วจะมาคละเคล้ากันได้อย่างไร พระอรหันต์ท่านไม่มีเวทนาทางใจ เวทนามีอยู่เฉพาะภายในขันธ์นี้เท่านั้น ไม่มีภายในจิตของพระอรหันต์ เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านจะไม่นิพพานในท่าต่างๆได้อย่างไร ท่านต้องเป็นท่านโดยสมบูรณ์ตลอดไป ไม่มีสมมุติใดๆ อาจเอื้อมลบล้างความจริงของท่านได้ตลอดอนันตกาล ความจริงเป็นอย่างนี้

    คำว่าเวทนานี่เป็นสมมุติ จะเป็นสุข จะเป็นทุกข์ เป็นอุเบกขาก็ตาม จะเกิดขึ้นภายในกายนี้เท่านั้น ไม่สามารถจะไปเกิดภายในจิตของพระอรหันต์ได้เลย เพราะจิตนั้นเป็น วิสุทธิจิต จิตเป็นวิสุทธิธรรม เป็นวิมุตติจิต ที่พ้นจากสมมุติแล้ว ท่านจึงไม่มีเวทนาใดๆที่จะให้จิตดวงนั้นเสวยอีก ตามหลักความจริงเวทนาทั้งปวงเป็นสมมุติ แต่จิตของท่านเป็นวิมุตติจิต จะเข้ากันได้อย่างไร ฉะนั้น จึงไม่มีเวทนาใดที่จะเข้าเหยียบย่ำทำลายจิตใจของท่านได้ นอกจากสุขในหลักธรรมชาติ ดังที่ท่านว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง สุขในนิพพาน หรือ สุขของท่านผู้บริสุทธิ์ จิตที่บริสุทธิ์นั้นไม่ใช่สุขเวทนา เป็นสุขของวิมุตติจิต จิตเสวยวิมุตในพระนิพพาน จิตเหนือสมมุตินี้ไปแล้ว สุขนั้นจึงไม่มีคำว่า อนิจฺจํ ทุกขํ อนตฺตา เข้าไปแทรกซึมภายในจิตดวงนั้นได้เลย นี่ผิดกับสุขของโลกที่มีกิเลสหนาเป็นไหนๆ สุขนั้นเป็นสุขในหลักธรรมชาติของความบริสุทธิ์ ไม่ไช่สุขที่เสกสรรปั้นยอขึ้นมา สุขแล้วดับ ดับแล้วเกิดอยู่อย่างนั้น นี่แหละจิตของพระอรหันต์ต่างกันอย่างนี้



    -e0-b8-9a-e0-b8-88-e0-b8-ad-e0-b8-b8-e0-b8-94-e0-b8-a3-e0-b8-98-e0-b8-b2-e0-b8-99-e0-b8-b5-1-jpg.jpg
    หลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร วัดป่าถ้ำพระเทพนิมิต ต.ตาลเลียน อ.กุดจับ จ.อุดรธานี SAM_9006.JPG SAM_9005.JPG SAM_9007.JPG SAM_7667.JPG SAM_7478.JPG
    ปัจจุบัน หลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร วัดป่าถ้ำพระเทพนิมิต (ถ้ำตาลเลียน) บ้านทุ่งตาลเลียน ต.ตาลเลียน อ.กุดจับ จ.อุดรธานี เจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๖๕ ปี ๔๕ พรรษา (พ.ศ.๒๕๖๓
     
  18. Khun Kriang

    Khun Kriang สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2019
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +4
    จองครับ
     
  19. Khun Kriang

    Khun Kriang สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2019
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +4
    จองครับ
     
  20. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 705 พระกริ่งคูณสุเมโธรุ่นคูณเเสนล้านหลวงปู่คูณ สุเมโธ พระอรหันต์เจ้าวัดป่าภูทอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี หลวงปู่คูณเป็นศิษย์พระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน,หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร เป็นต้น องค์พระสร้างปี 2555 เนื้อสัมริด มีตอกโค๊ต ค หลังองค์พระเเละโค๊ตตัวเลขยิงเลเซอร์ใต้ องค์พระ 316 มาพร้อมกล่องเดืม พระใหม่ไม่เคยใช้ *******มีพระอังคารธาตุเเละพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ***********(พิ้นที่ 1000 บาทชึ้นครับ)>>>>>>พระใหม่ไม่เคยใช้บูชาที่ 695 บาทฟรีส่งems
    2854-747f-jpg-jpg.jpg
    ประวัติและปฏิปทา
    พระครูวิมลภาวนาคุณ (หลวงพ่อคูณ สุเมโธ)
    พระอริยสงฆ์ผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม
    วัดป่าภูทอง บ้านภูทอง ต.บ้านผือ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี


    ชาติกำเนิด และบุพกรรม

    หลวงพ่อคูณ สุเมโธ ท่านถือกำเนิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๖ ตรงกับวันแรม ๑๐ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะแม ในสกุล “ชูรัตน์” เป็นบุตรของ พ่อบุญธรรม ชูรัตน์ และแม่จันทร์ ชูรัตน์ ณ บ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร (หมู่บ้านเดียวกับวัดป่าหนองแสงของหลวงปู่สอ พันธุโล) ครอบครัวของท่านมีอาชีพทำไร่ทำนา เมื่อท่านอายุได้ขวบเศษๆ ญาติของท่านได้อุ้มไปเดินเล่นบริเวณทุ่งนา และได้ร้องเรียกลูกวัวเล่นๆ ว่า “แบ๊ แบ๊ แบ๊ แบ๊” เป็นเชิงล้อเล่นกับวัว ทันใดนั้นลูกวัวก็กระโจนพุ่งเข้ามาชนญาติซึ่งขณะนั้นกำลังอุ้มท่านอยู่ ลูกวัวได้ขวิดเด็กชายคูณบริเวณศีรษะเหวอะหวะจนเป็นแผลเป็นด้านข้างศีรษะด้านขวามาจนถึงปัจจุบัน

    หลวงพ่อคูณท่านเล่าว่า ท่านได้กำหนดสมาธิดูถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น จึงทราบว่าเป็นเรื่องของกฎแห่งกรรมหรือบุพกรรม ครั้งอดีตชาติท่านเองเคยเกิดเป็นผู้ใหญ่บ้าน วันหนึ่งมีโจรมาขโมยวัว ท่านจับโจรคนนั้นได้ แต่โจรดื้อดึง พยายามจะหนี ท่านจึงเอาด้ามปืนทุบไปที่หัวของโจรจนหัวแตก ด้วยวิบากแห่งกรรม โจรนั้นได้มาเกิดเป็นลูกวัวในชาติปัจจุบัน ได้ผูกอาฆาตท่านไว้ ด้วยแรงพยาบาตเมื่อเห็นท่านด้วยสัญญาหมายรู้ แม้เป็นเด็กน้อยก็จำได้ จึงต้องมาชดใช้กันในชาตินี้

    ท่านเองมีน้องชายอีกคนชื่อ อุดม ชูรัตน์ เมื่ออายุได้ ๖ ขวบ นางจันทร์ ชูรัตน์ มารดาของท่านก็ได้เสียชีวิตลง ฉะนั้น ชีวิตในวัยเด็ก ๒ พี่น้องได้ช่วยบิดาทำไร่ไถนา ท่านจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ซึ่งเป็นการศึกษาสูงสุดในขณะนั้น ณ โรงเรียนบ้านหนองแสง ครั้นเมื่อเติบใหญ่ท่านก็ลงไปปักษ์ใต้ รับจ้างขนหินขึ้นรถบรรทุกไปโรงโม่หิน ทำงานได้ ๓ ปีจึงเดินทางกลับมายังบ้านเกิด ญาติพี่น้องได้ขอร้องให้ท่านบวช


    ๏ การอุปสมบท

    เมื่ออายุได้ ๒๓ ปี ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดศรีธรรมาราม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ยโสธร ตรงกับเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๐๙ โดยมี พระครูทัศนประกาศ (หลวงปู่คำบุ จันทสิริ) เจ้าอาวาสวัดป่าสำราญนิเวศ จ.อำนาจเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์, ท่านพระอาจารย์จำปี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ ท่านพระมหาวิสุทธิ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “สุเมโธ” แปลว่า ผู้มีปัญญาดี, ผู้มีความรู้ดี

    จากนั้นจึงไปศึกษาข้อวัตรปฏิบัติธรรมอยู่ ณ วัดป่าหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร ได้ ๖ เดือน ช่วงนั้นหลวงปู่สอ พันธุโล ได้แวะมาที่บ้านเกิด คือบ้านหนองแสง และได้ชักชวนให้พระอาจารย์คูณ ออกเที่ยววิเวกด้วยกัน ในครั้งนั้นมีพระติดตามด้วยกัน ๗ รูป ออกวิเวกพำนักอยู่วัดป่าอรัญญิกาวาส อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี มีหลวงปู่สอ พันธุโล เป็นผู้นำอบรมสั่งสอนการภาวนา และได้พาท่านไปฟังธรรมะภาคปฏิบัติกับ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อยู่ ๑ อาทิตย์ หลวงปู่ขาวท่านเน้นสอบอบรมด้านจิตใจ

    2855-9435-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่ขาว อนาลโย

    2856-36c6-jpg-jpg.jpg
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    2857-c240-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่สอ พันธุโล

    นิมิตหลวงตามหาบัวมาสั่งสอนให้เร่งความเพียร

    หลังจากได้ฟังธรรมกับหลวงปู่ขาว อนาลโย แล้ว หลวงปู่สอได้พาพระอาจารย์คูณไปกราบรับฟังโอวาทธรรมจากหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ที่วัดป่าบ้านตาด หลวงตามหาบัวท่านเน้นหนักในการภาวนารักษาจิตรักษาใจ เพียรฝึกจิตฝึกใจในทุกอริยบท ให้เร่งทำความเพียรให้เต็มที่ ทั้งเดินจงกรม นั่งภาวนา ขนาดพระคูณ จะล้มตัวเอนกายลงนอน ซักพักก็ได้ปรากฏนิมิตเห็นหลวงตามหาบัว เปิดประตูเข้ามาดุ “มันจะมานอนเฝ้าอะไร” พระอาจารย์คูณได้ฟังดังนั้น จึงตอบในนิมิตไปว่า “เอ้า ไม่นอนก็ไม่นอน” หลวงตามหาบัว ย้ำเตือนไปว่า “ไม่ให้นอน ตายเป็นตาย” ในระยะนั้นพระอาจารย์คูณ ได้เห็นนิมิตหลวงตามหาบัว มาตักเตือนอยู่ทุกๆ คืน ท่านว่า ท่านเกรงกลัวหลวงตามหาบัวมาก “กลัวหลวงตามหาบัว เหมือนยังกับกลัวเสือ” จึงได้เร่งความเพียรตั้งสัจจาธิษฐานถือเนสัชชิก อยู่ในอริยบท ๓ ยืน เดิน นั่ง โดยไม่เอนกายลงนอนเลยตลอดไตรมาส ในช่วงเข้าพรรษาแรกนั้น

    ตลอดพรรษาพระอาจารย์คูณได้อุบายธรรมจากหลวงปู่สอ พันธุโล มาคอยอบรมสั่งสอนย้ำเตือนว่า “ท่านคูณต้องพิจารณาทุกข์ให้มันเห็นทุกข์ ให้มันเบื่อทุกข์” เมื่อจะเดินจงกรม พระอาจารย์คูณก็ตั้งจิตอธิษฐานว่า “ข้าพเจ้าจะเดินจงกรม ทำความเพียรไปจนกว่าเดือนจะตก จึงจะหยุดเดินจงกรม” กิเลสที่ฝังตัวอยู่ในจิตก็คอยมาหลอกว่า “หยุดเถอะ พอเถอะ ไม่ไหว” พระอาจารย์คูณท่านก็ใช้สติกับจิตข่มกิเลสไว้ โดยรำลึกถึงคำสอนครูบาอาจารย์ หลวงปู่ขาว อนาลโย และหลวงปู่สอ พันธุโล ซึ่งท่านจะเน้นกำชับพระอาจารย์คูณให้เป็นผู้ประพฤติให้มีสัจจะ ตั้งใจจริงจัง ถ้าทำอะไรก็ต้องให้ได้อย่างนั้น ถ้าได้พูดลั่นวาจาไปแล้วก็ต้องให้ได้อย่างนั้น พูดจริง ปฏิบัติจริง จริงจึงจะเห็นผลจริง

    ในการทำความพากเพียรในพรรษาแรกนั้น สำหรับการอยู่ร่วมปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่สอ พันธุโล ที่วัดป่าอรัญญิกาวาส อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี พระอาจารย์คูณกลางคืนก็อดนอน พากเพียร ฝึกสติอย่างหนัก กลางวันก็ปฏิบัติด้านกิจของสงฆ์ บิณฑบาต ทำความสะอาดกวาดลานวัด อุปัฏฐากครูบาอาจารย์ พอตกกลางคืนก็เร่งความเพียรต่อ ท่านว่า “ความทุกข์ทรมานนั้น สาหัสสากรรจ์มาก เจ็บปวดทรมานที่สุด ทรมานอย่างยิ่ง มันอยากจะนอน อยากให้มันหลับก็ไม่กล้าหลับ กลัวเสียสัจจะ เอ้า...ไม่นอนหล่ะ ถ้ามันจะล้มตัวนอน ก็พามันลุกหนีจากที่นอน” ท่านทำความเพียรอย่างอุกฤษ์นี้จนครบสัจจะ ๓ เดือน

    ในพรรษาที่ ๒ พ.ศ.๒๕๑๐ พระอาจารย์คูณ สุเมโธ ท่านได้พบเพื่อนสหธรรมิก คือ หลวงปู่พงษ์ ธัมมาภิรโต(แห่งวัดป่าถ้ำหีบ ต.จำปาโมง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ท่านละสังขารไปแล้วเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งอัฐิได้กลายสภาพเป็นพระธาตุเป็นที่เรียบร้อยแล้ว) หลวงปู่พงษ์ท่านมาบวชเมื่อตอนอายุมากแล้ว ตอนอายุ ๔๗ ปี ในพรรษาที่ ๒ นี้ ท่านทั้ง ๒ ได้ร่วมกันตั้งสัจจะถือเนสัชชิก อยู่ในอริยบท ๓ ยืน เดิน นั่ง โดยไม่เอนกายลงนอนเลยตลอด ๓ เดือนเต็ม ทั้งกลางวันทั้งกลางคืนก็เดินจงกรมภาวนาตั้งแต่หัวค่ำ เดินจงกรมภาวนาไปจนสว่าง เพียรในลักษณะนี้ตลอดพรรษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาถึง ๓ พรรษา

    2858-cf3a-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร แนะนำให้ไปภาวนาที่ถ้ำขาม

    ปี พ.ศ.๒๕๑๒ ท่านพระอาจารย์ทองดี วรธัมโม ซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร มาเที่ยววิเวกอยู่แถวเขตอำเภอบ้านผือ พระอาจารย์คูณได้สังเกตกิริยามารยาท วัตรปฏิปทา การเทศน์อบรมของท่านพระอาจารย์ทองดีแล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงขอโอกาสหลวงปู่สอ พันธุโล ออกธุดงค์ติดตามท่านพระอาจารย์ทองดี หลวงปู่สอ เพิ่นว่า “ไปวิเวก ไม่ห้ามหรอก” จากนั้นท่านทั้ง ๒ รูป ก็เก็บอัฐบริขารเดินธุดงค์เข้าสู่ป่าลึก ผ่านขุนเขา หุบเหว หน้าผา ถ้ำน้อยใหญ่ไปทาง อ.น้ำโสม อ.นายูง ค่ำไหนก็พำนักที่นั่น แล้วจึงย้อนกลับมาวัดป่าอรัญญิกาวาส เพื่อกราบลาหลวงปู่สอ พันธุโล อีกครั้ง โดยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเข้าสู่วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เพื่อไปกราบขอฟังธรรมหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ในพรรษานี้เดิมที พระอาจารย์คูณ ตั้งใจจะขออยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร แต่เนื่องจากมีพระมาขอว่าที่ถ้ำขามนี้ มีพระอยู่เพียงรูปเดียว หลวงปู่ฝั้น จึงถามพระเณรว่า มีใครจะขึ้นไปอยู่ที่ถ้ำขามนี้ไหม ท่านพระอาจารย์ทองดี วรธัมโม จึงตอบ “ผมขอโอกาสขึ้นถ้ำขาม” พระอาจารย์คูณ จึงได้กราบเรียนหลวงปู่ฝั้นว่า “ผมก็จะขอขึ้นไปด้วยกับพระอาจารย์ทองดี” หลวงปู่ฝั้น เพิ่นว่า “ขึ้นก็ขึ้น”

    เข้าพรรษาที่ ๔ ณ ถ้ำขาม ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ในสมัยนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก เส้นทางขึ้น-ลงเขาก็ลำบากมาก ทั้งเส้นทางบิณฑบาตก็ไกล ไป-กลับระยะทางเป็น ๑๐ กิโลเมตร เว้นแต่ว่าวันไหนไม่ฉัน ก็ไปต้องลงมาบิณฑบาต ส่วนช่วงหน้าฝนนี้หินยิ่งลื่น พระอาจารย์คูณต้องใช้มือหนึ่งประคองบาตร อีกมือหนึ่งกางร่ม หากมีทีท่าว่าจะหกล้ม ก็ต้องปล่อยมือที่ถือร่มออก แล้วใช้สองมือประคองบาตรไม่ให้ตกกระแทกพื้น พระอาจารย์คูณ สุเมโธ สู้ทนทุกข์ต่อความยากลำบากต่างๆ นานาบนถ้ำขามทุกรูปแบบ อีกทั้งการอยู่ในป่าในเขา การบำเพ็ญเพียรรักษาสติในศีลวัตรก็มิขาดตกบกพร่อง

    2859-80f8-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่กู่ ธัมมทินโน แห่งวัดป่ากลางโนนภู่

    2860-6e91-jpg-jpg.jpg
    หลวงตาพวง สุขินทริโย (พระพี่ชายหลวงตาสรวง สิริปุญโญ)

    2861-ae6c-jpg-jpg.jpg
    หลวงพ่อเมือง พลวัฑโฒ สหธรรมิกที่สนิทกันมากกับหลวงพ่อคูณ

    รับกรรมในอดีต ณ ถ้ำขาม

    การบำเพ็ญเพียรภาวนาของพระอาจารย์คูณ สุเมโธ ท่านได้ฝึกขันติอดอาหาร ๗ วัน ปรากฏว่าระบบขับถ่ายในร่างกายของท่านทำงานไม่เป็นปกติ คือไม่ถ่ายอุจจาระเลย ท่านจึงกลับมาฉันอาหารตามเดิม แต่ก็ไม่ถ่ายอีก รวมระยะเวลาเข้า ๑๔ วันแล้ว ต่อมาท่านได้ลองฉันผลลูกสมอ เพื่อช่วยขับถ่าย แต่กับเกิดอาการปั่นป่วนภายในร่างกายท่าน ต้องทนทุกขเวทนา ทำให้ท่านรำลึกถึงการคลอดลูกว่า มันทรมานขนาดนี้หรือป่าวหนอ ต้องค่อยๆ แก้ไขอาการปั่นป่วนไปทีละขั้น จนอาการปวดนั้นทุเลาลง ทำให้พระอาจารย์คูณ รำลึกถึงเหตุแห่งกรรมในอดีตว่า “สมัยเป็นเด็กน้อย ท่านเคยเลี้ยงไก่ไว้ แต่แม่ไก่ออกไข่ไม่ทันใจ จึงใช้มือล้วงดึงไข่ไก่ออกมาเพื่อผิงไฟกิน แม่ไก่ก็ทุกข์ทรมาน นี้เองที่ท่านพระอาจารย์คูณพิจารณาถึงกรรมที่เคยทำไว้ตั่งแต่ยังเด็ก”

    พระอาจารย์คูณอยู่ปฏิบัติธรรมที่ถ้ำขาม จนจิตสงบ พิจารณาอุบายธรรมต่างๆ ด้วยปัญญา เกิดเป็นผลดีโดยลำดับ จนถึงกาลออกพรรษา พระอาจารย์คูณจึงออกไปวิเวกที่ถ้ำเจ้าผู้ข้า (สถานที่ที่ หลวงปู่กู่ ธัมมทินโน แห่งวัดป่ากลางโนนภู่ จ.สกลนคร มรณภาพในท่านั่งสมาธิอย่างสงบ) ณ ถ้ำแห่งนี้ มีวิญญาณเป็นจำนวนมาก ขณะท่านไปภาวนาก็ได้ยินเสียงดังคล้ายคนสนทนาพูดคุยกันตลอด ท่านพิจารณาว่า หากเราอยู่ที่นี่ แล้วมาขี้เกียจขี้คร้าน คงถูกวิญญาณเล่นงานเอาแน่ พระอาจารย์คูณท่านมาสวดพระปาติโมกข์ได้ที่ถ้ำเจ้าผู้ข้าแห่งนี้ เพราะกลางคืนเมื่อท่านหัดสวด ก็จะมีเสียงสวดตามคล้ายมาทบทวนให้ท่านฟังซ้ำ จนเกิดเป็นความรู้แจ่มชัดขึ้น

    ภายหลังต่อมาพระอาจารย์คูณจึงได้ออกไปพำนักอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือนาใน เข้าไปกราบสักการะกุฏิอันเป็นธรรมสถานของ หลวงปู่ใหญ่มั่น ภูริทัตโต แล้วจึงกลับไปหาหลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ฝั้นท่านก็ชวนมาพักวิเวกอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือนาในอีกครั้งนึง จากนั้นพระอาจารย์คูณจึงกราบลาหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ไปวิเวกต่อ ท่านธุดงค์ไป อ.สุวรรณคูหา รอนแรมผ่านป่าเขาไปถึง อ.นาด้วง จ.เลย เมื่อย่างใกล้เข้าพรรษา ท่านจึงเดินทางกลับมาปฏิบัติธรรมอยู่ร่วมกับหลวงปู่สอ พันธุโล และได้ถือการปฏิบัติเช่นเคย คือถืออริยบท ๓ ยืน เดิน นั่ง ตลอดพรรษา ๓ เดือน หาได้เอนกายนอนไม่ ในพรรษานี้ท่านพระอาจารย์คูณพิจารณากาย เพ่งดูอสุภะจนเกิดความเบื่อหน่าย ท่านว่า “สมัยนั้นเห็นชัดจนเบื่อหน่าย เห็นผู้หญิงก็มิได้มีจิตใจกำหนัด แต่สมาธิในขณะนั้นเป็นสมาธิเพียงด้านเดียว ยังไม่มีปัญญาพิจารณาตัดให้ขาดในจิตใจ”


    ๏ จิตเสื่อม จิตตก ณ บ้านหนองยาง

    พอดีปี พ.ศ.๒๕๑๗ หลวงตาพวง สุขินทริโย (พระพี่ชายหลวงตาสรวง สิริปุญโญ) ได้สร้างวัดใหม่ขึ้นมาชื่อว่า วัดพระพุทธบาทยโสธร บ้านหนองยาง ต.หัวเมือง อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร หลวงตาพวงท่านจึงขอให้พระอาจารย์คูณไปอยู่พำนักภาวนาในพรรษา เพิ่นว่าที่นั่นสงบ เหมาะสำหรับผู้ชอบภาวนา ในพรรษานี้พระอาจารย์คูณได้เพื่อนสหธรรมิก คือ หลวงพ่อเมือง พลวัฑโฒ (แห่งวัดป่ามัชฌิมาวาส ต.ลำพาน อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์) อยู่ร่วมปฏิบัติธรรมด้วย ซึ่งท่านทั้งสองได้กลายเป็นสหธรรมิกที่สนิทกันมากในเวลาต่อมา โดยมีจำนวนพรรษาเท่ากัน เห็นท่านทั้งสองกล่าวว่า เคยเกิดเป็นหมู่ (เพื่อน) กันมาหลายชาติแล้ว

    ณ วัดพระพุทธบาทยโสธร บ้านหนองยางแห่งนี้ พระอาจารย์คูณ เล่าว่า ได้มีหญิงสาวนางหนึ่งมาชอบเฮา ในช่วงที่เฮาจิตตก ก็เกิดมีความรู้สึกว่าตัวเองก็ชอบ เห็นผู้สาวนางนั้นงดงาม จิตเกิดอาการร้อนขึ้นมาเป็นอันมาก แต่ก็ไม่อยากสึก ท่านได้พิจารณาตามครูบาอาจารย์ที่เคยสั่งสอนมาว่า การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารมันทำให้เกิดทุกข์ พอออกพรรษา จึงออกไปวิเวกอยู่ที่อื่น หญิงสาวนางนั้นก็เสียใจร้องห่มร้องไห้ตามท่านใหญ่ มานิมนต์อ้อนวอนอยู่อย่างนั้น พระอาจารย์คูณ เล่าว่า “ไม่ได้ กูไม่ห่วงมึงหรอก กูตัดใจกู”

    จากนั้นท่านก็กลับไปหาหลวงปู่สอ พันธุโล ที่วัดป่าหนองแสง หลวงปู่สอได้อบรมสั่งสอนอยู่ แต่อาการเร่าร้อนในจิตของท่านก็ยังไม่จืดจางไป จากนั้นพระอาจารย์คูณจึงได้ติดตามท่านพระอาจารย์ทองดี วรธัมโม ได้อยู่อบรมซักระยะหนึ่ง พระอาจารย์คูณท่านกราบเรียนท่านพระอาจารย์ทองดี ให้พาไปกราบครูบาอาจารย์ว่า “ไม่ไหวหรอกหากเป็นอย่างนี้ ผมจะลาเข้าไปหาครูบาอาจารย์ จะเข้าไปหาหลวงพ่อสิงห์ทอง ธัมมวโร หากหลวงปู่สิงห์ทองแก้ให้ไม่ได้ก็จะกลับไปหาหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ช่วยแก้จิตให้” ท่านพระอาจารย์ทองดีท่านว่า “ป๊ะ ถ้ามันจะตายจริงๆ ก็จะพาไป”

    2862-f1e3-jpg-jpg.jpg
    หลวงพ่อสิงห์ทอง ธัมมวโร แห่งวัดป่าแก้วชุมพล

    หลวงพ่อสิงห์ทอง ธัมมวโร หยั่งรู้วาระจิต

    เมื่อท่านพระอาจารย์ทองดีพาพระอาจารย์คูณมาถึงวัดป่าแก้วชุมพล ต.บ้านชุม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ช่วงเวลานั้น หลวงพ่อสิงห์ทอง ธัมมวโร กำลังกวาดใบไม้อยู่ เพิ่นบอกกับพระอาจารย์คูณให้ไปสรงน้ำเสียก่อนเวลา ๒ ทุ่ม พระอาจารย์คูณไปรอกระทั่งหลวงพ่อสิงห์ทองเดินจงกรมเสร็จ จึงเข้าไปกราบถวายตัวให้พ่อแม่ครูอาจารย์ช่วยอบรมสั่งสอน หลวงพ่อสิงห์ทองก็เริ่มเทศน์สั่งสอนเรื่องภายในที่พระอาจารย์คูณติดขัดอยู่ในขณะนั้นทันทีว่า “เขาบวช เขาก็มาบวชหามรรคผลนิพพาน จะมาบวชหาเมียอย่างไร” หลวงพ่อสิงห์ทองท่านเทศน์ดุดัน กล่าวทักวาระจิตที่รุ่มร้อน ชี้ชัดโดนใจอย่างยิ่ง เสมือนมีนายพรานผู้มีฝีมือฉมังยิงธนู ลูกศรได้พุ่งมาสู่กลางใจของเป้าหมายอย่างไม่ผิดพลาด

    ครั้นถึงฤดูเข้าพรรษา พระอาจารย์คูณจึงได้อธิษฐานจำพรรษาร่วมกับหลวงพ่อสิงห์ทอง ณ วัดป่าแก้วชุมพล ครั้นได้รับฟังธรรมอุบายแก้กิเลสจากหลวงพ่อสิงห์ทองแล้ว พระอาจารย์คูณก็เร่งความเพียรอย่างหนักหน่วง เนื่องจากพรรษาที่ผ่านมาที่บ้านหนองยาง การทำความพากความเพียรของท่านเองได้ลดหย่อนลงไปมาก


    ๏ ปฏิปทาหลวงพ่อสิงห์ทอง ธัมมวโร ด้านข้อวัตรปฏิบัติ

    ปฏิปทาด้านข้อวัตรปฏิบัติของหลวงพ่อสิงห์ทองนั้น จะปฏิบัติตนให้ลูกศิษย์ดูเป็นตัวอย่างเสมอ อาทิเช่น การรักษาศีลโดยเคร่งครัด ท่านจะเทศนาอบรมและควบคุมปฏิปทาด้านการรักษาศีลของลูกศิษย์ของท่านอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวเมื่อลูกศิษย์ผิดพลาดด้านศีล เพราะการที่ลูกศิษย์จะก้าวหน้าทางด้านสมาธิภาวนานั้น ต้องมีพื้นฐานทางด้านศีลเป็นที่รองรับ ส่วนการทำความพากเพียรเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนานั้น หลวงพ่อสิงห์ทอท่านจะปฏิบัติให้ลูกศิษย์ได้เห็นอย่างสม่ำเสมอทุกวัน

    คือตอนเช้า ท่านจะเดินจงกรมก่อนออกบิณฑบาต ฉันจังหันเสร็จท่านจะพักประมาณเที่ยง แล้วจะลงเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิภาวนาต่อ ครั้นถึงเวลาปัดกวาดลานวัด ท่านจะไม่ยอมขาดถ้าไม่มีธุระจำเป็นจริงๆ ตอนพลบค่ำเวลา ๕-๖ โมงเย็น หลวงพ่อสิงห์ทองท่านจะเดินจงกรมเป็นประจำทุกวัน โดยจะขึ้นจากทางเดินจงกรมประมาณ ๒ ทุ่มของทุกวัน บางครั้งท่านไปธุระทางไกลมา พระเณรไปจับเส้นถวาย พอจับเส้นเสร็จแล้วแทนที่ท่านจะพักผ่อน ท่านกลับลงเดินจงกรมอีก นอกจากนั้น หลวงพ่อสิงห์ทองท่านจะเดินสำรวจดูการปฏิบัติ การทำความพากเพียรของพระเณร โดยบางครั้งท่านเดินไปมืดๆ ไม่ใช้ไฟฉาย และออกตรวจไม่เป็นเวลาที่แน่นอน ท่านพยายามขนาบพระเณรให้เร่งทำความเพียร พร้อมกับเทศนาอบรมสั่งสอนอยู่เสมอๆ

    หลวงพ่อสิงห์ทองท่านจะคอยตรวจตราดูแลข้อบกพร่องต่างๆ ของพระเณร และตักเตือนว่ากล่าวอยู่เสมอ ท่านห้ามพระเณรไปคุยกันตามกุฏิ เวลาฉันน้ำร้อนห้ามคุยกันเสียงดังหรือใช้เวลานานเกินควร รู้จักใช้ของอย่างประหยัด เช่น สบู่ ใช้สบู่แล้วให้เก็บไว้ในกล่องให้เรียบร้อย จะทิ้งตากแดดตากฝนไว้ไม่ได้ ถ้าใครทำความพากเพียรดี ท่านมักจะชมเชยให้กำลังใจในด้านปฏิบัติแก่ผู้นั้น

    2863-ece2-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่หล้า เขมปัตโต

    2864-5852-jpg-jpg.jpg
    พระอาจารย์สอน ชีวสุทโธ

    การปฏิบัติเร่งความเพียรอย่างอุกฤษฏ์

    พระอาจารย์คูณเมื่อท่านพำนักปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงพ่อสิงห์ทองแล้ว ท่านก็อธิษฐานจิตถือเนสันชิกอยู่ในอริยบท ๓ คือ ยืน เดิน นั่ง ไม่ยอมนอนตลอดพรรษา ๓ เดือน เร่งความเพียรบำเพ็ญภาวนาโดยการนั่งสมาธิสลับเดินจงกรม โดยอธิษฐานจิตไม่ยอมนอนทั้งกลางวันกลางคืน อดนอนผ่อนอาหาร เพื่อให้มีสติทำความเพียรอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าเวลาจะเป็นกลางวันหรือกลางคืนท่านก็ไม่ยอมลดละให้ขาดวรรคขาดตอน บางครั้งก็ไปทำความเพียรภาวนา ทรมานจิตด้วยการไปเดินจงกรมในป่าช้าจนถึงรุ่งสว่างก็มี

    วันเวลาผ่านไป วันแล้ววันเล่า เข้าสู่พรรษาที่ ๒ และ ๓ ที่ท่านพำนักอยู่ปฏิบัติธรรมในสำนักของหลวงพ่อสิงห์ทอง พระอาจารย์คูณท่านก็ยังปฏิบัติเร่งความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ตลอด ท่านได้เล่าถึงการบำเพ็ญเพียรทางจิตว่า“นั่งภาวนาต่อสู้กับเวทนาอยู่อย่างนั้น มันเป็นอย่างไรถึงจะไม่เห็นทุกข์ ทุกข์มันปรากฏให้เห็นอยู่นี่ ดูซิ พิจารณาดูซิ นั่งสมาธิท่าเดียวตลอด ทำวัตรเดินจงกรมได้นิดหน่อย แล้วจึงเข้านั่งสมาธิ บำเพ็ญนั่งสมาธิภาวนาอยู่อย่างนั้น ตั้งแต่หัวค่ำจนสว่าง เราผ่านเวทนาได้ในครั้งนี้เอง”

    ในความรู้สึกก่อนที่จะผ่านเวทนาได้เหมือนรู้สึกว่าขามันจะขาดออกจากกัน “มึงขาดก็ขาดออกไปว่ะ มันไม่ใช่ขาของเจ้าของหรอก พิจารณาทั้งกาย จนจิตมีความรู้สึกว่าตัวเองตายไปแล้ว จะผ่านเวทนาจนมาได้พระธรรมผุดขึ้นในใจ ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา เราได้ปัญญาในใจตนเองว่า ไม่ว่าสุขก็ดี ไม่ว่าทุกข์ก็ดี หากมันเกิดขึ้น มีทุกข์ก็ต้องมีดับ เวทนาก็เช่นกัน ความทุกข์มากๆ มันมีเกิดขึ้น มันก็มีดับของมันเอง”

    ในช่วงที่อยู่ร่วมสำนักกับหลวงพ่อสิงห์ทอง ในพรรษาที่ ๓ อาการจิตตกไม่กำเริบอีกต่อไป อารมณ์ต่างๆ เข้ามาก็พิจารณา นิมิตต่างๆ เกิดขึ้นก็ไม่สนใจ จิตสงบปลอดโปร่งโล่งสบาย ทำให้พระอาจารย์คูณท่านก้าวหน้า พิจารณาได้หมดจด พิจารณาจิตขาดจากกายจนได้พระธรรมขึ้มมาจากใจ ไม่หวั่นเกรงใดๆ ตลอดสามโลกธาตุ ไม่มีความสงสัย ขาดสะบั้นจากจิต หายจากอาการเร่าร้อนได้ดับสนิทลงเหมือนถ่านไฟมอดลงและสลายหายไป ณ วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร ในพรรษาที่ ๑๒ ตรงกับปี พ.ศ.๒๕๒๐ พระอาจารย์คูณจึงมักพูดเสมอว่า

    “เรามาได้ธรรมกับท่านอาจารย์สิงห์ทอง”

    หลังจากนั้นพระอาจารย์คูณได้อยู่ร่วมสำนักวัดป่าแก้วชุมพลต่อไปอีก ๒ พรรษา รวมระยะนานถึง ๕ พรรษา จากนั้นพระอาจารย์คูณจึงกราบลาขอหลวงพ่อสิงห์ทอง ออกไปธุดงค์โดยมีคณะผู้ร่วมเดินทางคือ พระอาจารย์สอน ชีวสุทโธ และพระอาจารย์จวน โชติธัมโม จุดหมายปลายทางต่อไปคือเดินทางไป จ.มุกดาหาร ได้เข้าไปกราบฟังธรรมอยู่กับ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต เมื่อพำนักอยู่ที่ภูจ้อก้อ (วัดบรรพตคีรี) ได้พอสมควรแล้ว จึงกราบลาหลวงปู่หล้า เนื่องจากพระอาจารย์จวนท่านมีอายุมากแล้ว และชอบในธรรมคำสอนของหลวงปู่หล้า จึงได้ขออยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่หล้าต่อ หลวงปู่หล้าท่านว่า “ผู้จะไปก็ไป ผู้จะอยู่ก็อยู่” พระอาจารย์คูณ และพระอาจารย์สอน เมื่อลงจากภูจ้อก้อแล้ว จึงออกวิเวกต่อไปทางภูเขาแผงม้า-ภูผักกูด อันเป็นสถานที่ที่หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เคยมาบำเพ็ญสมณธรรม พระอาจารย์คูณจึงใช้สถานที่แห่งนี้นั่งภาวนา ทำความพากเพียรอย่างดูดดื่มในธรรม แต่ทว่าอากาศในช่วงฤดูนั้นร้อนเอามากๆ ท่านทั้งสองจึงชวนกันธุดงค์ขึ้นไปทางภาคเหนือ พอท่านทั้งสองเดินลงจากภูเขาแผงม้า-ภูผักกูด ก็มีศรัทธาญาติโยมถวายปัจจัยเป็นตั๋วแลกเงินจ่ายค่ารถ ท่านทั้งสองจึงเดินทางจาก อ.คำชะอี-อ.หนองสูง ไปยัง จ.กาฬสินธุ์ และ จ.ขอนแก่น ตามลำดับ

    2865-4276-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

    2866-66e5-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่หลวง กตปุญโญ

    2867-356a-jpg-jpg.jpg
    พระอาจารย์ขาน ฐานวโร

    2868-f496-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ

    ออกเที่ยวธุดงค์ภาคเหนือ

    พอรุ่งเช้าพระอาจารย์คูณ สุเมโธ และพระอาจารย์สอน ชีวสุทโธ ท่านทั้งสองก็นั่งรถโดยสารจาก จ.ขอนแก่น ไป จ.ลำปาง ซึ่งตรงกับช่วงปี พ.ศ.๒๕๒๒ ท่านเล่าว่า “ช่วงที่เดินทางด้วยรถโดยสาร ท่านทั้งสองต้องยืนกันตลอด ไม่มีที่ว่างให้นั่ง ใครมาก่อนก็ได้นั่งก่อน ไม่มีโยมลุกให้ท่านนั่งเลย แต่พอช่วงรถจอดให้ผู้โดยสารพักกินข้าวเย็น ท่านทั้งสองก็ไม่ได้ลงไปจึงได้นั่งยาวตลอดทางเลย” เมื่อพระอาจารย์คูณท่านเล่าถึงอดีตมาถึงตรงนี้ ท่านก็หัวเราะเสียง “ฮึ ฮึ” พร้อมกับรอยยิ้มอย่างเมตตา และเมื่อมาถึง จ.ลำปาง ท่านทั้งสองก็เข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่หลวง กตปุญโญ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระอาจารย์สอน ชีวสุทโธ ได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่หลวงเป็นเวลาครึ่งเดือน จึงกราบลาเพื่อธุดงค์ขึ้นไปทาง จ.เชียงราย ต่อ

    เมื่อมาถึง จ.เชียงราย จึงได้เดินทางไปกราบนมัสการ ท่านพระอาจารย์ขาน ฐานวโร และอยู่ร่วมปฏิบัติธรรมที่วัดวชิรทรงธรรมพัฒนา (วัดป่าบ้านเหล่า) ต.ทุ่งก่อ กิ่ง อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย เป็นเวลาอีกหนึ่งเดือน จึงได้กราบนมัสการลาเพื่อธุดงค์ต่อไปทาง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เพื่อมุ่งหน้าไปกราบฟังข้ออรรถข้อธรรมกับ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ที่วัดดอยแม่ปั๋ง แต่ช่วงที่ธุดงค์ไปก่อนจะมาถึงวัดดอยแม่ปั๋ง ท่านทั้งสองก็แวะพักภาวนาที่สำนักสงฆ์ป่าเมี่ยงแม่สาย บ้านแม่สาย อันเป็นธรรมสถานที่วิเวกของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ และหลวงปู่แหวน สุจิณโณ เป็นต้น

    เมื่อถึงอาณาบริเวณป่าเมี่ยงแม่สาย ถึงแม้จะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน แต่อากาศช่วงนั้นกลับเย็นสบายทั้งกลางวันกลางคืน เหมาะแก่การภาวนายิ่งนัก ป่าเมี่ยงแม่สายเป็นหมู่บ้านตั้งอยู่กลางหุบเขา มีลำธารน้ำไหลผ่านตลอดปี ชาวบ้านชาวเขาที่นี่มีอาชีพทำสวนเมี่ยงเป็นอาชีพหลัก (ต้นเมี่ยงเป็นชาชนิดหนึ่ง ชาวบ้านเก็บเอาใบมาหมักเป็นเมี่ยงของชาวเหนือ) ท่านทั้งสองจึงพักภาวนาอยู่ที่หมู่บ้านนี้ การภาวนาก็เป็นไปด้วยดี สะดวกราบรื่น ชาวบ้านชาวเขาก็คุ้นเคยกับพระกัมมัฏฐานมาตั้งแต่สมัยหลวงปู่มั่นโน้น จึงได้พากันมากราบอาราธนาให้ท่านพระอาจารย์ทั้งสองอยู่จำพรรษาที่นี่ เดิมทีพระอาจารย์คูณตั้งใจจะกลับไปจำพรรษากับหลวงพ่อสิงห์ทอง จึงได้เขียนจดหมายไปกราบเรียนเล่าเหตุการณ์ที่ผ่านมา หลวงพ่อสิงห์ทองก็เมตตาตอบจดหมายอนุญาตกลับมา จึงเป็นอันว่าพรรษานี้พระอาจารย์คูณ และพระอาจารย์สอนได้อยู่จำพรรษาฉลองศรัทธาญาติโยมที่ป่าเมี่ยงแม่สาย

    ครั้นพอออกพรรษา ได้มีภิกษุฝรั่งศิษย์หลวงพ่อชา สุภัทโท ชื่อว่า กิตติญาโณ ภิกขุ ได้ธุดงค์วิเวกมาจาก อ.แม่สรวย มาถึงป่าเมี่ยงแม่สาย ได้เล่าให้พระอาจารย์คูณ ว่าผ่านมาทางชาวเขาเผ่ามูเซอ แล้วได้พบ พระอาจารย์เย็น ท่านเป็นคน จ.ยโสธร ซึ่งพำนักอยู่กับชาวเขาเผ่ามูเซอ เมื่อพระอาจารย์คูณได้ยินดังนั้น ก็สงสัยว่าจะใช่พระอาจารย์เย็น ที่เคยอยู่ร่วมกันที่วัดพระพุทธบาทยโสธร บ้านหนองยาง ต.หัวเมือง อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร หรือป่าว จึงได้ชวนพระอาจารย์สอนติดตามขึ้นเขาไปหาท่านพระอาจารย์เย็น แต่ช่วงนั้นใกล้เข้าสู่ฤดูหนาว อากาศเริ่มเย็นลงเรื่อยๆ พระอาจารย์สอนก็ได้ทักท้วงว่า “ท่านอาจารย์ มันหนาวนะอยู่หลบพักหนาวเสียก่อนเถอะ” พระอาจารย์คูณท่านย้ำว่า “ไม่ ต้องเดี๋ยวนี้หล่ะ” จากนั้นท่านพระอาจารย์ทั้งสองจึงเก็บอัฐบริขาร แบกกลดสะพายบาตรออกธุดงค์ไปยังภูเขาที่ชาวมูเซออาศัยอยู่

    เมื่อไปถึงก็ปรากฏว่า ใช่ ท่านพระอาจารย์เย็นที่เคยจำพรรษาอยู่ร่วมกันที่วัดพระพุทธบาทยโสธร บ้านหนองยาง จริงๆ ด้วย พระอาจารย์ทั้งสองท่านจึงอยู่ร่วมบำเพ็ญสมณธรรมอยู่กับชาวเขาเผ่ามูเซอนั้น ชาวบ้านได้มาทำแคร่เล็กๆ ให้พระอาจารย์คูณพำนักอาศัย อากาศก็ค่อยๆ เย็นลงจนหนาวเหน็บไปถึงกระดูก พระอาจารย์คูณอยู่ใต้กลดมีเพียงมุ้งกลดบางๆ เท่านั้นที่คอยบังกระแสลมที่พัดมา ผ้าห่มก็ไม่มี มีเพียงจีวร สังฆาฏิ และอังสะเท่านั้น ท่านจึงตัดสินใจนั่งภาวนาสู้กับความหนาวเย็นยะเยือกนี้ ท่านว่า “เอ้า !! ตายมึงตาย มึงจะมาสู้กับความหนาว มึงก็สู้ซิ”

    พอรุ่งเช้าน้ำค้างร่วงหล่นบนใบกล้วย เสียงดัง ตุ๊บ ตั๊บ ตุ๊บ ตั๊บ คล้ายอย่างกะเสียงฝนตก ชาวบ้านเผ่ามูเซอก็พากันมาใส่บาตร โดยเขาเอาใบตองมาห่อข้าว ส่วนกับข้าวเขาก็ใส่ในกระบอกไม้ไผ่ไว้ ชาวเผ่ามูเซอนี้ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเคยมาปลูกศรัทธาไว้ ทำให้คณะสงฆ์ที่มาภายหลังอยู่อย่างไม่ลำบากนัก ครั้นพอเวลาตกเย็น ท่านพระอาจารย์เย็นได้พาหมู่สงฆ์สวดมนต์ทุกๆ คืน ท่านบอกว่า “พวกเทพชอบมาฟังสวดมนต์ มีเทพชั้นสูงพร้อมเหล่าบริวารมาฟังสวดมนต์กันมากมายทุกๆ คืน”

    2869-a93d-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม

    2870-f4b2-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    2871-a79d-jpg-jpg.jpg
    พระอาจารย์ผจญ อสโม แห่งวัดป่าสิริปุญญาราม

    2872-af3d-jpg-jpg.jpg
    พระอาจารย์สำราญ เตชปัญโญ แห่งวัดป่าสิริปุญญาราม

    2873-29bd-jpg-jpg.jpg
    พระอาจารย์นิพนธ์ อภิปสันโน แห่งวัดป่าศาลาน้อย

    บุรุษลึกลับ แขกยามวิกาลมาเยือน

    พระอาจารย์คูณพำนักปฏิบัติธรรมอยู่ ณ สถานที่แห่งนั้น ปรากฏคืนหนึ่งเมื่อท่านเดินจงกรมเสร็จ ก็นั่งสมาธิภาวนาต่อ เมื่อถึงเวลาพอสมควรท่านจึงเอนกายลงเพื่อจะหลับนอน พอลำตัวกระทบพื้นเท่านั้นเอง ก็ได้มีสิ่งแปลกประหลาดมาแสดงปรากฏให้พระอาจารย์คูณทราบ เป็นบุรุษลึกลับร่างกายสูงใหญ่แล้วแกว่งดาบเสียงดังวิ้วๆ ไปรอบๆ บุรุษนั้นค่อยๆ เดินเข้ามาหาท่านอย่างไม่เป็นมิตร พระอาจารย์คูณก็ถามออกไปว่า “ป๊าดโธ่...คนอีหยังคือมาสูงใหญ่แท้ จะมาเอาอะไรกะกูอีกละคราวนี้” พอดีมีเสียงสตรีเพศนางหนึ่ง ได้เข้ามาบอกบุรุษลึกลับร่างดำทมิฬผู้นั้นว่า ไม่ให้เข้ามาทำร้ายหลวงพ่อ ด้วยเหตุที่เขาคิดว่าพระภิกษุรูปนี้จะมานอนเฉยๆ ไม่มาภาวนา สตรีนางนั้นจึงตอบไปว่า “ท่านภาวนาแล้วนะ ท่านก็เพิ่งล้มตัวลงนอนนี่เอง” บุรุษลึกลับผู้นั้นจึงหยุดเดินเข้ามาหาพระอาจารย์คูณ แต่มือก็ยังแกว่งดาบไม่หยุด ดังวิ๊วๆ วิ๊วๆ พระอาจารย์คูณจึงได้หลับไป

    พอรุ่งเช้า พระอาจารย์คูณได้ตื่นขึ้นมาได้ยินเสียงวิ๊วๆ วิ๊วๆ จึงนึกเอ๊ะใจว่าใครหนอ จึงได้ใคร่ครวญพิจารณาดู และลุกออกจากกลด ก็ได้พบเห็นเสียงลมพัดใบสนดังวิ๊วๆ วิ๊วๆ ท่านจึงนึกในใจว่า หรือว่าจะเป็นเจ้านี่ที่มาแกว่งดาบทั้งคืน หลวงพ่อคูณท่านเล่าถึงอดีตมาถึงตรงนี้แล้วก็หัวเราะด้วยความขบขัน จากนั้นพระอาจารย์คูณ และพระอาจารย์สอนได้แยกออกไปภาวนาอยู่วัดในหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง เมื่อฝนตกลงมาอากาศก็หนาวเหน็บจนเข้ากระดูก ท่านพระอาจารย์ทั้งสองต้องทนหนาวอยู่ถึง ๑๐ วัน ชาวบ้านเผ่ามูเซอเองก็ขาดแคลนไม่ค่อยมีผ้าห่มใช้ เวลาเขาหนาวก็จะผิงไฟแก้หนาว

    พอดีมีโยมจากพื้นราบขึ้นมาค้าขายกับชาวมูเซอ เมื่อเห็นพระสงฆ์จึงถามชาวบ้านว่า “ตุ๊เจ้า มีผ้าห่มใช้กันไหม”เมื่อทราบว่าท่านทั้งสองไม่มีผ้าห่มใช้ จึงได้สละปัจจัยร่วมกับชาวบ้านไปหาซื้อผ้าห่มมาถวาย อีกหมู่บ้านหนึ่งมีพระกัมมัฏฐานมาบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ ชื่อว่า พระอาจารย์ผจญ อสโม ท่านเป็นศิษย์ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม และหลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระอาจารย์ผจญท่านทราบข่าวว่าที่หมู่บ้านใกล้ๆ มีพระสองรูปไม่มีผ้าห่มใช้ จึงสั่งโยมให้ไปหาผ้าห่มนำไปถวายพระอาจารย์คูณ และพระอาจารย์สอน

    หมายเหตุ : พระอาจารย์ผจญ อสโม อดีตประธานสงฆ์วัดป่าสิริปุญญาราม บ้านหมากแข้ง ต.หนองงิ้ว อ.วังสะพุง จ.เลย ได้ละสังขารอย่างสงบด้วยโรคมะเร็ง เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๖ สิริอายุรวมได้ ๗๐ ปี ๖ เดือน พรรษา ๕๐ ด้วยความเป็นพระกัมมัฏฐานที่มักน้อยสันโดษ เรียบง่าย ก่อนที่ท่านจะละสังขาร พระอาจารย์ผจญท่านได้สั่งเสียกับพระอาจารย์สำราญ เตชปัญโญ เจ้าอาวาสวัดป่าสิริปุญญาราม ไว้ว่า “...อย่าเก็บผมไว้นานนะถ้าผมตาย ให้เผาภายใน ๗ วัน อย่าทำอะไรใหญ่โตนะ วัดเราจน ให้ทำเมรุเล็กๆ พอ ทำง่ายๆ ให้ท่านนิพนธ์ (พระอาจารย์นิพนธ์ อภิปสันโน แห่งวัดป่าศาลาน้อย อ.ด่านซ้าย จ.เลย) เป็นธุระจัดการให้ที”

    พระอาจารย์คูณจึงรำพึงถึงบุพกรรมใดหนอที่ทำให้เรามาทนหนาวทรมานอยู่อย่างนี้ จึงระลึกขึ้นได้ว่า สมัยเป็นเด็กเลี้ยงควาย พาไปเลี้ยงกลางทุ่ง พอตากฝนกลับมาบ้านควายนอนหนาวสั่น เราเองก็ไม่ได้ก่อไฟให้ควายผิง จึงทำให้ควายมันหนาวสั่น “โอ้...กูนี่ไม่ได้ก่อไฟสุมไฟให้ควาย กูเลยต้องมานอนหนาวเหมือนควายเลยเน้อ” ท่านกล่าวว่า ถ้าพูดเรื่องกรรมนี่ ได้มาชดใช้กรรมทุกอย่าง

    พระอาจารย์คูณพำนักอยู่ที่หมู่บ้านชาวมูเซอเป็นเวลาพอสมควรแล้ว จึงได้พร้อมหมู่คณะเดินทางกันไปกราบนมัสการหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ณ วัดดอยแม่ปั๋ง ได้มาพบกันกับพระอาจารย์ผจญ จึงได้ร่วมกับหมู่คณะด้วยกัน ๕ รูป มีพระอาจารย์คูณ, พระอาจารย์ผจญ, พระอาจารย์สอน, พระอาจารย์ชูศักดิ์, พระอาจารย์มาณพ ออกเที่ยววิเวกแบกกลดรอนแรมอยู่ตามป่าเขา จาก ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จนมาถึง อ.แม่แตง ด้วยความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า (ถ้าใครเคยใช้เส้นทางรถเส้นนี้จะรู้ว่าเป็นเส้นทางที่หฤโหดมาก เป็นเส้นทางที่คดเคี้ยวผ่านหุบเขาต่างๆ นานา แต่นี่ครูบาอาจารย์ท่านตรากตรำเดินกันด้วยเท้า) จากนั้นจึงธุดงค์ต่อจนมาถึงที่โป่งเดือดป่าแป๋ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ พอดีมีรถบรรทุกหินลิกไนซ์มาจอดถามคณะพระธุดงค์ ว่าจะเดินทางไปไหน จึงได้อาสาไปส่ง


    ๏ โปรดชาวเขา ชาวกะเหรี่ยง ชาวมูเซอ

    คณะพระธุดงค์ได้ตอบไปว่า จะขึ้นไปที่บ้านชาวกะเหรี่ยง บ้านแม่เมืองหลวง ซึ่งอยู่ในหุบเขาเขต อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อโชเฟอร์ทราบวัตถุประสงค์ของคณะพระธุดงค์แล้ว จึงปวารณาไปส่งให้ แต่ว่าโชเฟอร์เองก็ไม่รู้ทางจึงขับเลยไป คณะพระธุดงค์จึงต้องแยกลงระหว่างทาง เพราะรถบรรทุกจะเข้าไปที่เหมืองลิกไนซ์ต่อ คณะพระธุดงค์ก็แบกกลด สะพายบาตร เดินกันต่อไปจนมาถึงบ้านเวียงหลวง ในเขต อ.ปาย ได้พักอาศัยกระท่อมของชาวบ้าน ตื่นเช้ามาบิณฑบาต พอฉันเสร็จสรรพ เตรียมธุดงค์กันต่อ ก็พอดีมีปลัดผู้หนึ่งทราบข่าวว่ามีคณะพระสงฆ์ธุดงค์ผ่านมา จึงได้มาอาราธนาให้ไปโปรดชาวบ้านศาลาเมืองน้อย ซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยง เพราะที่นั่นเองมีแต่พวกคริสต์ได้ไปเผยแผ่ศาสนา แต่ชาวบ้านอยากได้พระพุทธศาสนาไปเผยแผ่บ้าง คณะสงฆ์จึงรับอาราธนา ได้มีลูกหาบมาช่วยกันหาบของให้โดยมีปลัดเป็นผู้นำทางไป

    เมื่อมาถึงคณะสงฆ์จึงจัดแจงหาที่พักพำนัก อากาศที่นี่สบายนัก ปลอดโปร่งแวดล้อมไปด้วยขุนเขาน้อยใหญ่ บริเวณอาณาเขตบ้านศาลาเมืองน้อยนี้เป็นเมืองเก่าแก่ซึ่งถูกพวกพม่ามาเผาเสียเรียบ พบเห็นซากปรักหักพังของเจดีย์เก่าแก่ ซากโบสถ์ คูเมืองเก่าก็ยังพอเห็นร่องรอยความเจริญในอดีต เมื่อคณะสงฆ์ทั้ง ๕ รูป ได้เดินตรวจดูเรียบร้อยแล้ว จึงได้แยกย้ายกันไปพำนักในแต่ละหมู่บ้าน พระอาจารย์คูณ อยู่บ้านศาลาเมืองน้อยแห่งนี้, พระอาจารย์ผจญ พำนักอยู่บ้านกิ่งเหนาะ, พระอาจารย์มาณพ อยู่บ้านห้วยเหี้ย และพระอาจารย์ชูศักดิ์ กับพระอาจารย์สอน พักร่วมกันสองรูป อยู่ที่บ้านห้วยหก ซึ่งแต่ละหมู่บ้านอยู่ห่างกันนับ ๑๐ กิโลเมตร ต้องใช้เวลาเดินทางหากันเป็นชั่วโมง การเดินทางไปมาหาสู่จึงไม่สะดวกนัก ต่างคนต่างก็พากเพียรบำเพ็ญภาวนาเพื่อละกิเลสของตน

    ที่หมู่บ้านศาลาเมืองน้อยแห่งนี้ เป็นชาวบ้านเผ่ามูเซอ มีตำรวจตะเวนชายแดนมาสร้างโรงเรียนสมเด็จย่าไว้ ตกตอนเย็นพวกนักเรียน ก็มาอบรมอยู่กับท่าน พอตอนเย็นพระอาจารย์คูณจึงได้พาพวกนักเรียนไหว้พระสวดมนต์


    ๏ เขียนจดหมายกราบเรียนหลวงพ่อสิงห์ทอง

    ก่อนฤดูเข้าพรรษาในปีนั้น พระอาจารย์คูณได้เขียนจดหมายกราบเรียนหลวงพ่อสิงห์ทอง ธัมมวโร ให้ทราบว่าปีนี้จะจำพรรษารูปเดียว หลวงพ่อสิงห์ทองจึงแนะนำการปฏิบัติตนในการอยู่จำพรรษารูปเดียวอย่างละเอียด ถึงฤดูวันเข้าพรรษาพระอาจารย์คูณจึงได้อธิษฐานพรรษา ณ บ้านศาลาเมืองน้อย พักจำพรรษาอยู่กับพวกชาวมูเซอ ท่านอยู่กับพวกชาวเขาเป็นเวลาหนึ่งปี ก็ตั้งใจจะกลับมาหาหลวงพ่อสิงห์ทอง ก็พอดีทราบข่าวจากหมู่คณะเขียนจดหมายมาบอกให้ทราบข่าวอันสลดสังเวชว่า “หลวงพ่อสิงห์ทองเครื่องบินตก ท่านมรณภาพแล้ว” คณะสงฆ์นำโดยพระอาจารย์คูณ สุเมโธ จึงรีบพากันกลับมายังวัดป่าแก้วชุมพล

    หลวงพ่อสิงห์ทองท่านประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกได้ถึงแก่มรณภาพ ณ ท้องนาทุ่งรังสิต เขตหมู่ที่ ๔ ต.คลองสี่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๓ เวลาประมาณ ๑๔.๐๐ น.พร้อมกับครูบาอาจารย์พระป่ากัมมัฏฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อีก ๔ รูปด้วยกัน คือ หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม, ท่านพระอาจารย์วัน อุตฺตโม, ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ และท่านพระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม หลวงพ่อสิงห์ทองท่านอยู่จำพรรษาที่วัดป่าแก้วชุมพลมาจนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๓ สิริอายุรวมได้ ๕๖ ปี พรรษา ๓๖ พระอาจารย์คูณได้อยู่ช่วยงานประชุมเพลิงสรีระสังขารของหลวงพ่อสิงห์ทองจนเสร็จงาน

    การสูญเสียครั้งใหญ่ของพระคณาจารย์พระป่ากัมมัฏฐาน
    สายท่านพระอาจารย์มั่น ไปพร้อมกันทีเดียวถึง ๕ รูปด้วยกัน
    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=25698


    ๏ กลับคืนสู่ภาคเหนืออีกครั้ง

    หลังจากหลวงพ่อสิงห์ทองมรณภาพแล้ว พระอาจารย์คูณก็ธุดงค์ขึ้นไปทางภาคเหนืออีกรอบ ซึ่งครั้งนี้ไปจำพรรษาร่วมกับพระอาจารย์เย็นที่หมู่บ้านชาวเขาบนดอย แต่อยู่ห่างกันคนละสำนัก ส่วนพระอาจารย์สอนไม่ได้ขึ้นมาด้วย ยังอยู่ที่วัดป่าแก้วชุมพลต่อ ในพรรษานี้พระอาจารย์คูณได้มาอยู่ร่วมกับชาวบ้านชาวกะเหรี่ยงและบ้านมูเซอ ซึ่งมีบ้านละ ๒ หลังคาเรือนเท่านั้น โดยมีธารน้ำไหลผ่านอยู่ตรงกลางไม่ได้อาศัยร่วมกัน การบิณฑบาตท่านก็รับบาตรทั้งชาวกระเหรี่ยงและชาวมูเซอ หากวันไหนฝนตก ท่านก็บิณฑบาตเฉพาะบ้านกะเหรี่ยงเท่านั้น

    พระอาจารย์คูณท่านพำนักอยู่เพียงรูปเดียว ด้านการปฏิบัติธรรมภาวนาเป็นไปสะดวกราบรื่น เพราะไม่ต้องมีภาระมาก พวกชาวเขามูเซอ และชาวกะเหรี่ยงก็จะพาลูกหลานมาให้ท่านช่วยสอนหนังสือภาษาไทยให้ ในเรื่องการทำความเพียร ท่านก็อดนอนผ่อนอาหาร ทำความเพียรถือเนสัชชิกตลอดทั้งพรรษา บ้างก็อดอาหารนาน ๑๕ วัน การพิจารณาธรรมเป็นไปตามลำดับ พรรษานี้ท่านรู้สึกดูดดื่มในรสพระธรรม เร่งปฏิบัติตามมรรค พระอาจารย์คูณท่านว่า “ปฏิบัติตนในหลักมรรคสามัคคี แล้วก็รวมได้จึงได้พ้นทุกข์”

    2874-4e2d-jpg-jpg.jpg
    พระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธัมโม

    2875-57bf-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ

    2876-032b-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

    2877-d13d-jpg-jpg.jpg
    พระสุทธิธรรมโสภณ (หลวงพ่อสุทธิพงศ์ ชนุตฺตโม)

    คืนสู่ภาคอีสาน อยู่เป็นหลักใจ

    หลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ.๒๕๒๓ แล้ว พระอาจารย์คูณจึงได้กลับมาทางภาคอีสาน และได้เข้าไปอยู่ร่วมเป็นกำลังหลักให้กับ ท่านพระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธัมโม ที่วัดป่าแก้วชุมพลต่ออีก ๕ พรรษา คือ ปี พ.ศ.๒๕๒๔-๒๕๒๘ ก่อนจะไปวิเวกอยู่กับ หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ที่วัดถ้ำยา (ภูลังกา) บ้านนาโพธิ์ อ.บ้านแพง จ.นครพนม อีก ๔ พรรษา หลังจากนั้นหลวงปู่บุญมีได้พาคณะศิษย์ออกจากวัดถ้ำยา (ภูลังกา) แล้วมาจำพรรษายังวัดป่าบ้านใหม่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ร่วมกันอีก ๑ พรรษา จากนั้นหลวงปู่บุญมีได้ไปอยู่วัดป่านาคูณ ต.บ้านค้อ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ส่วนพระอาจารย์คูณก็มาพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูทอง บ้านภูทอง จ.อุดรธานี

    พระอาจารย์คูณเคยกล่าวถึงหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ไว้ว่า “หลวงปู่บุญมีท่านเป็นแรงบันดาลใจให้เราออกบวช เราเห็นท่านแล้วเกิดเลื่อมใส ถ้าบวชแล้วก็จะออกธุดงค์แบบท่าน”

    วัดป่าภูทอง เป็นวัดป่าสายปฏิบัติ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย สร้างขึ้นตามปฏิปทาของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติอบรมจิตตภาวนาแก่พุทธศาสนิกชน มีพื้นที่ประมาณ ๘๕ ไร่ ๓ งาน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๑ วัดแห่งนี้ในอดีตเคยเป็นที่พำนักปฏิบัติธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่แหวน สุจิณโณ และหลวงปู่ขาว อนาลโย เป็นต้น

    สำหรับวัดป่าภูทองนั้นตั้งชื่อตาม “พระธาตุภูทอง” เจดีย์เก่าแก่ โดยเป็นวัดเก่าแก่ที่มีมานานแล้ว เริ่มต้นจากหลวงปู่บัวคำ มหาวีโร ศิษย์ทายาทธรรมของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ได้เข้ามาบุกเบิก (หลวงปู่บัวคำท่านเป็นชาวหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี อุปสมบทพร้อมกันกับหลวงปู่ลี กุสลธโร ในงานประชุมเพลิงสรีระสังขารท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เมื่อวันจันทร์ที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๓) จากนั้น หลวงปู่บัวทอง กันตปทุโม ซึ่งเป็นญาติผู้น้องของหลวงปู่บัวคำ ได้เข้ามาสร้างเสนาสนะเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ต่อมา หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ได้เข้ามาอยู่จำพรรษาที่นี่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ สืบต่อมาด้วย หลวงพ่อคูณ สุเมโธ ตามลำดับ

    พระสุทธิธรรมโสภณ (หลวงพ่อสุทธิพงศ์ ชนุตฺตโม) เจ้าอาวาสวัดป่าวังเลิง จ.มหาสารคาม รูปปัจจุบัน เมตตาเล่าให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังว่า สมัยที่หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร อยู่จำพรรษาที่วัดป่าภูทองนั้น หลวงพ่อสุทธิพงศ์ ได้กราบเรียนถามหลวงปู่มหาบุญมีท่านว่า “วัดตั้งอยู่บ้านภูดิน ทำไมตั้งชื่อว่า วัดป่าภูทอง”

    หลวงปู่มหาบุญมีท่านจึงให้สร้างเจดีย์เล็กๆ ไม่สูงมากนัก โดยก่อด้วยอิฐขึ้นมา จะว่าเป็นเจดีย์ก็ไม่เชิง ท่านทำในลักษณะเหมือนภูเขามากกว่า แล้วส่วนยอดของเจดีย์ ท่านให้ทาสีทอง พอสร้างเสร็จท่านจึงเรียกหลวงพ่อสุทธิพงศ์ ไปดู แล้วหลวงปู่มหาบุญมีท่านก็ชี้ไปที่เจดีย์ดังกล่าว ที่มีลักษณะเหมือนภูเขาเล็กๆ ว่า “นี่ไง (ล่ะ) ภู (เขา)” แล้วก็ชี้ไปที่ยอดเจดีย์ “นี่ไง (ล่ะ) ทอง...นี่ล่ะ ภูทอง” เจดีย์ที่หลวงปู่มหาบุญมีให้สร้างขึ้นนั้น ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับอุโบสถของวัด ปัจจุบันเรียกขานกันโดยทั่วไปว่า “พระธาตุภูทอง”

    หมายเหตุ : แต่เดิมวัดป่าภูทองตั้งอยู่ที่บ้านภูดิน ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่จาก บ้านภูดิน เป็น บ้านภูทอง จนถึงปัจจุบันนี้


    ๏ หลวงพ่อคูณ สุเมโธ พระอริยสงฆ์ผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม

    หลวงพ่อคูณ สุเมโธ ท่านเป็นที่รักใคร่ของชาวบ้านและศิษยานุศิษย์ ความที่หลวงพ่อคูณเป็นผู้มีเมตตาสูงมาก อารมณ์ดี ใจเย็น เรียบง่าย ไม่ชอบพิธี ไม่สะสมปัจจัย มีมาใช้ไป แต่ใช้ในสิ่งเป็นประโยชน์ เช่น ช่วยเหลือวัด และโรงเรียนที่ขาดแคลน ท่านได้สร้างสาธารณะประโยชน์มากมาย ดำเนินตามรอยธรรมตามปฏิปทาของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน อีกทั้งท่านได้เห็นคุณประโยชน์ในการศึกษาได้ช่วยอุปถัมภ์โรงเรียนในเขตบ้านภูทอง และบ้านภูดิน และอุปการะให้ทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนกว่า ๒๐ คน คนไหนตั้งใจเรียน ท่านก็ส่งเสียให้เรียนเท่าที่เขาจะเรียนได้ ใครมาขออะไร หน่วยงานไหนเขาจำเป็นเดือดร้อนก็มาขอ ท่านก็เมตตาไม่ปฏิเสธ บางที่ไม่มีปัจจัยเลย เห็นเขาจำเป็นก็รับคำให้เลย ส่วนการก่อสร้างในวัดท่านก็บอกว่าชาวบ้านได้งานทำด้วย

    2878-9b99-jpg-jpg.jpg
    แถวหน้า จากซ้าย : หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร, หลวงปู่บัวทอง กันตปทุโม
    ซึ่งท่านเป็นญาติผู้น้องของหลวงปู่บัวคำ มหาวีโร,
    พระอาจารย์สมัย ธัมมโฆสโก และพระอาจารย์ผจญ อสโม

    แถวหลัง จากซ้าย : หลวงพ่อบุญรอด อธิปุญโญ, หลวงพ่อสมศรี อัตตสิริ,
    หลวงปู่รินทร์ (กองมี) ปิยสีโล และพระอาจารย์นิสสัย กันตวีโร
    ในงานถวายกฐินแด่วัดป่าเวฬุวนาราม (วัดป่าผาน้อย) อ.วังสะพุง จ.เลย
    เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔


    2879-f1a5-jpg-jpg.jpg
    ป้ายชื่อ “วัดป่าภูทอง” ต.บ้านผือ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    2880-16b6-jpg-jpg.jpg
    ในพิธีสรงน้ำและขอขมาสรีระสังขารหลวงพ่อคูณ สุเมโธ
    จากซ้าย องค์แรก : พระโพธิญาณมุนี (หลวงพ่อเมือง พลวัฑโฒ)
    วัดป่ามัชฌิมาวาส บ้านดงเมือง ต.ลำพาน อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
    สหธรรมิกที่สนิทกันมากกับหลวงพ่อคูณ สุเมโธ

    องค์ที่ ๓ : พระอาจารย์สมเกียรติ (เต๋อ) ชิตมาโร วัดป่าถ้ำพระเทพนิมิต
    บ้านทุ่งตาลเลียน ต.ตาลเลียน อ.กุดจับ จ.อุดรธานี
    ซึ่งมติที่ประชุมสงฆ์เห็นชอบให้เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าภูทอง

    พระอาจารย์สมเกียรติ (เต๋อ) ชิตมาโร เคยอยู่จำพรรษาและอุปัฏฐาก
    หลวงพ่อคูณ สุเมโธ ณ วัดป่าภูทอง เป็นเวลาถึง ๒๐ พรรษา หลวงปู่คูณละสังขารปี 2556 (ทันหลวงปู่ปลุกเสกครับ) SAM_9014.JPG SAM_9008.JPG SAM_9009.JPG SAM_9013.JPG SAM_7666.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2021

แชร์หน้านี้

Loading...