เรื่องเด่น สิ่งที่ในหลวง ร.9 ทรงทำเพื่อเรา แต่น้อยคนจะรู้…

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย rachotp, 5 กันยายน 2021.

  1. rachotp

    rachotp เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    1,216
    กระทู้เรื่องเด่น:
    252
    ค่าพลัง:
    +23,806
    B.PNG

    ตลอด 70 ปี แห่งการครองราชย์ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงนำการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ความเจริญในหลายมิติ

    “แม้จะเป็นเรื่องเล็ก แต่ยิ่งใหญ่ ทรงทุ่มเทพระวรกาย ทรงใช้ความรู้ความสามารถของพระองค์ ช่วยให้พสกนิกรไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น”


    ... นอกจากกังหันน้ำชัยพัฒนา หญ้าแฝก ฝนหลวง หน่วยแพทย์พระราชทาน โครงการแก้มลิง ฯลฯ ก็ยังมีอีกมากมายหลายโครงการที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงคิดค้นและลงมือทำ เพื่อให้ปวงชนชาวไทยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น...

    A.PNG

    สิ่งที่ในหลวง ร.9 ทรงทำเพื่อเรา แต่น้อยคนจะรู้…
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2021
  2. rachotp

    rachotp เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    1,216
    กระทู้เรื่องเด่น:
    252
    ค่าพลัง:
    +23,806
    1.PNG

    เครื่องดักหมอก

    นวัตกรรมจากพระราชดำริ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 แปลงสายหมอกเป็นน้ำเพื่อหล่อเลี้ยงต้นไม้

    จากที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงสังเกตเห็นว่าพื้นที่สูงบนภูเขา มักจะมีหมอกมาก พระองค์ทรงเห็นว่าหมอกคือแหล่งน้ำชั้นดีที่ลอยอยู่ในอากาศ จึงได้ประดิษฐ์เครื่องดักหมอก และนำไปตั้งไว้ในพื้นที่เพาะปลูก เมื่อไอน้ำจากหมอกมากระทบกับเครื่องดักหมอกก็จะกลายเป็นน้ำหยดลงสู่พื้นที่เพาะปลูก ช่วยให้การเพาะปลูกสะดวกยิ่งขึ้น

    เมื่อครั้งที่ ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯแปรพระราชฐานไปประทับที่ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์นั้น ทรงศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากหมอกที่ล่องลอยในอากาศว่าหมอกสามารถกลายเป็นหยดน้ำหล่อเลี้ยงต้นไม้ได้ เช่น ในกรณีหมอกปลิวมากระทบก้อนหินแล้วจับตัวเป็นหยดน้ำไหลลงสู่พื้นดิน ทำให้ต้นไม้สามารถเจริญงอกงามได้และเป็นแนวคิดที่ได้ถูกนำมาใช้ในบางประเทศอย่างได้ผล โดยในภูมิประเทศที่เป็นภูเขาและสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500 เมตรขึ้นไปมักจะมีหมอกหนาแน่น ถ้าหากสามารถนำไอน้ำที่มีอยู่ในหมอกมาใช้ได้ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลทางด้านการเกษตรเช่น การปลูกป่า

    ต่อมาเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2536 จึงทรงมีพระราชดำริให้จัดทำแผงดักหมอกและทดลองใช้ที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์

    ครั้งนั้นในหลวงรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำรัสว่า...

    "แผงดักหมอกนี้สามารถช่วยบังแดดบังลมกับต้นไม้ในระยะเวลาที่เริ่มทำการปลูกต้นไม้ หรือในระยะแรกที่ต้นไม้ หรือในระยะแรกที่เริ่มทำการปลูกต้นไม้ หรือในระยะแรกที่ต้นไม้เริ่มเติบโตขึ้นได้ด้วยส่วนวัสดุที่จะนำมาใช้ในการดักหมอกนี้ ควรจะเป็นวัสดุประเภทที่รูพรุนมากๆ เช่น ตาข่ายไนล่อน ซึ่งจะทำให้เกิดการจับตัวของหยดน้ำได้ดี อีกทั้งการใช้วัสดุที่เป็นเสื่อลำแพน การสานอย่าให้ทึบ ควรสานให้โปร่ง เนื่องจากในอากาศนั้นมีความชื้นอยู่แล้วจะทำให้เกิดการควบแน่นและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำได้"


    เครื่องดักหมอกเป็นนวัตกรรมรูปแบบหนึ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเลือกใช้ให้เกิดประโยชน์สุขแผ่นดิน เป็นแนวคิดที่แสนง่ายแต่มิมีผู้ใดคิดถึงเรื่องใกล้ตัวเช่นนี้ทัดเทียมพระองค์จึงนับเป็นพระปรีชาสามารถด้วยพระอัจฉริยภาพสูงส่งยิ่ง

    วิธีการทำเครื่องดักหมอกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ


    (1) ใช้วัสดุท้องถิ่นที่หาได้ง่ายและราคาถูก เช่น ตาข่ายไนล่อน เสื่อลำแพน ถุงปุ๋ยไนล่อน มาเป็นอุปกรณ์ทำเครื่องดักหมอก

    (2) สร้างแผงขึงด้วยวัสดุดังกล่าวดักไอน้ำจากหมอก โดยวางให้ตั้งฉากกับทิศทางลมพัดซึ่งจะทำให้ดักหมอกได้ในอัตราสูง

    (3) ในบางกรณีอาจสร้างขึ้นได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น บางแบบอาจติดตั้งบนกังหันลมเพื่อให้แผงดักหมอกหันสู้ลมอยู่ตลอดเวลาหรือบางครั้งแผงดักหมอกอาจทำลักษณะอ่อนตัวเพื่อมิให้แผงโค่นลืมยามลมพัดแรง

    (4) ไอน้ำจากหมอกจะกระทบกับแผงดักหมอกทำให้เกิดลักษณะคล้ายหยดน้ำ

    น้ำ ที่เกิดขึ้นสามารถใช้ประโยชน์ในการปลูกป่า โดยอาจจะไม่ต้องเอาใจใส่ดูแลรดน้ำมากนักเพราะได้หยดน้ำธรรมชาตินี้ช่วยเหลืออยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้แม้ในพื้นที่แห้งแล้ง

    Credit: ขอขอบคุณที่มาจาก สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) http://km.rdpb.go.th/Knowledge/View/10
     
  3. rachotp

    rachotp เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    1,216
    กระทู้เรื่องเด่น:
    252
    ค่าพลัง:
    +23,806
    2.PNG

    วุ้นชุ่มปาก

    "วุ้นชุ่มปาก" หรือน้ำลายเทียมชนิดเจล หนึ่งในโครงการทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อฟื้นฟูผู้ป่วยปากแห้ง น้ำลายน้อยให้กับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากและได้รับความทุกข์ทรมานในการดำรงชีวิต


    มูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ หน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้ดำเนิน "โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมน้ำลายเทียมชนิดเจล" ขึ้น โดยน้ำลายเทียมที่พัฒนาขึ้นมีลักษณะเป็นวุ้นใสเหมือนเจล มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำลายที่หลั่งออกมาตามธรรมชาติ ปัจจุบันผลิตออกมา 2 รสชาติ คือ กลิ่นสตรอว์เบอร์รีและกลิ่นมิ้นต์มะนาว ซึ่งไม่มีส่วนผสมของสารกันบูด ผู้ป่วยจึงสามารถใช้และกลืนได้โดยไม่เกิดอันตรายกับสุขภาพ ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปากแห้งได้อีกด้วย…


    "วุ้นชุ่มปาก" คือสูตรต้นแบบนวัตกรรมน้ำลายเทียมชนิดเจล ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระประสงค์จะช่วยเหลือให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการผลิตน้ำลายได้มีสุขภาพในช่องปากที่ดีขึ้น ไม่ต้องทรมานกับการกลืนอาหารและแสบคอ ซึ่ง 70% ของผู้ป่วยที่ใช้พบว่าช่วยบรรเทาอาการปากแห้งได้ดีมาก ที่สำคัญไม่มีขายเพราะแจกฟรีให้กับผู้ป่วยโดยตรง...


    Credit: ขอขอบคุณที่มาจาก โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมน้ำลายเทียมชนิดเจล สำหรับผู้ที่มีภาวะปากแห้งน้ำลายน้อย http://www.dent-in-found.org/newdesign/research/detail?p=8
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2021
  4. rachotp

    rachotp เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    1,216
    กระทู้เรื่องเด่น:
    252
    ค่าพลัง:
    +23,806
    3.1.PNG (สารานุกรม ฉบับปกติ)

    3.2.PNG
    (สารานุกรม ฉบับเสริมการเรียนรู้)

    สารานุกรมไทย

    ย้อนกลับไปในยุคที่เรายังไม่มีโลกออนไลน์หรือกูเกิล การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ คือต้องเข้าห้องสมุด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าในห้องสมุดจะมีข้อมูลที่เราต้องการเสมอไป ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนไทยเมื่อปี 2514 ตอนหนึ่งว่า "สารานุกรมไม่ใช่ครู แต่ว่าจะช่วยคนที่ไม่ได้เป็นครูได้" เช่น พ่อแม่ ถ้าลูกถามปัญหาต่างๆ ก็อาศยสารานุกรมนี้มาตอบได้ นอกจากนี้ระหว่างคนที่อ่านสารานุกรมด้วยกัน ก็สามารถแลกเปลี่ยนความคิดกัน ทำให้มีความรู้ความกว้างขวางและจะทำให้อยากที่จะรู้มากขึ้น


    ความเป็นมา สารานุกรมไทย


    "ขุมทรัพย์ทางปัญญา คือ สารานุกรมไทยฯ"

    “…จุดประสงค์ของการทำสารานุกรมสำหรับเด็กนี้ มีเหตุผลว่า ในปัจจุบันนี้เด็กไม่มีที่เรียนพอ แล้วก็จะไม่มีวันที่จะมีที่เรียนพอ ถ้าเราในฐานะผู้มีความรู้คือ อาจารย์ทั้งหลายหวังดี ทำสารานุกรมนี้สำเร็จแล้ว ก็จะได้แพร่หลายออกไป จะเป็นครูอยู่ในตัว และถ้าเป็นครูอย่างนี้ ถ้าเราทำได้ดีก็จะเป็นครูสำหรับเด็กตั้งแต่อายุน้อยถึงอายุมาก แม้แต่ผู้ใหญ่ที่ต้องการทราบความรู้ ต้องการมีความรู้ในสาขาต่าง ๆ ก็สามารถที่จะหาความรู้นี้ได้…”


    พระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานแก่คณะกรรมการจัดทำสารานุกรมไทยสำหรับเด็ก เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2512

    1.PNG

    สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 เริ่มจัดทำครั้งแรกเมื่อปี 2512 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เป็นการรวบรวมความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ 7 สาขา ไดแก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ เกษตรศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ และคณิตศาสตร์ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่ม เน้นความรู้ที่เกิดขึ้น และมีอยู่ในประเทศไทย จัดทำโดยคนไทย เพื่อให้คนไทยทุกคนได้อ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ โดยมีเนื้อหาเรียบเรียงให้เหมาะกับคนทุกวัย เนื้อหาในแต่ละระดับพิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดต่างกัน และเนื้อหาบางส่วนเผยแพร่ในระบบออนไลน์ด้วย ปัจจุบันจัดทำออกมาทั้งหมดในรูปแบบ ฉบับปกติ และ ฉบับเสริมการเรียนรู้

    Credit: ขอขอบคุณที่มาจาก มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ https://www.saranukromthai.or.th/index2.php
     
  5. rachotp

    rachotp เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    1,216
    กระทู้เรื่องเด่น:
    252
    ค่าพลัง:
    +23,806
    4.PNG

    โครงการพระราชดำริจำนวนมากในการแก้ไขปัญหาจราจร

    “กรุงเทพมหานคร” มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางความเจริญของประเทศ ที่มองไปทางไหน สภาพถนนเต็มไปด้วยรถแน่นขนัด ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนทุกระดับจากความสัมพันธ์ของถนนและปริมาณรถ ที่ไม่สอดคล้องตามมาตรฐานสากล


    ปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพมหานครนั้น มาจาก 2 ปัจจัยหลักคือ (1) ปริมาณการจราจรเกินความจุของถนน ที่เกิดจากการขยายตัวของชุมชน, ปริมาณรถเป็นจำนวนมาก, โครงข่ายถนนที่ไม่เพียงพอ, พื้นที่ถนนมีเพียง 4% ของพื้นที่ (กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ถนน 60 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งตามมาตรฐานสากลควรมีพื้นที่ถนนประมาณ 20-25 % ของพื้นที่เมือง อีกทั้งพบว่าย่านศูนย์กลางเมืองมีปัญหาด้านการจราจรที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยความเร็วเฉลี่ยในการเดินทางในศูนย์กลางธุรกิจ เช่น ย่านสีลม สาทร ในชั่วโมงเร่งด่วนอยู่ที่ 10 กม./ชม.


    และ (2) ถนนขาดการเชื่อมต่ออย่างมีประสิทธิภาพ เช่น มีจุดตัดทางร่วมทางแยกและจุดกลับรถจำนวนมาก, มีจุดตัดระหว่างถนนวงแหวนและถนนสายหลักประมาณ 200 จุด


    สภาพปัญหาจราจรติดขัดมากมายในกรุงเทพฯและปริมณฑล หากไม่มีโครงการพระราชดำริจำนวนมากในการแก้ไขปัญหาจราจรในเมืองกรุง จากสายพระเนตรอันยาวไกลของในหลวงรัชกาลที่ 9 ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชน ทำให้การสัญจรของกรุงเทพฯดีขึ้นอย่างมากมาย หากมาสร้างในปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายก็จะสูงขึ้น และมีปัญหาเรื่องการเวนคืนที่ดินอีกมากมาย

    ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระอัจฉริยภาพทั้งในเชิงศาสตร์และศิลป์สาขาต่างๆเป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล ไม่ว่าจะเป็นพระอัจฉริยภาพด้านการดนตรี หรือวิศวกรรมชลประทาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากการบริหารจัดการน้ำในยามบ้านเมืองมีวิกฤติน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการคิดค้นนวัตกรรม “กังหันน้ำชัยพัฒนา” เพื่อการบำบัดน้ำเสีย ที่เป็นที่ยอมรับและ มีชื่อเสียงระดับโลก


    วิศวกรรมจราจร นับเป็นศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่พระองค์ท่านทรงมีพระปรีชาสามารถเป็นที่ประจักษ์อย่างยิ่ง โดยได้ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรของกรุงเทพมหานครอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อพสกนิกร จากแนวทาง (1) พัฒนาโครงข่ายถนน โดยก่อสร้างถนนใหม่ทั้งถนนสายหลักและถนนสายรองเพื่อเพิ่มทางเลือกในการเดินทาง (2) ปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพของโครงข่ายถนนที่มีอยู่เดิม ให้สามารถรองรับปริมาณจราจร (Road Capacity) ได้มากขึ้น ซึ่งทุกโครงการล้วนมีความสำคัญหมด โครงการที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป เช่น

    4.2.PNG

    ถนนรัชดาภิเษก เป็นถนนที่สร้างขึ้นตามกระแสพระราชดำริ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพฯ-ธนบุรีเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2514 โดยมีพระราชประสงค์ให้สร้างถนนเพิ่มขึ้นเป็นถนนวงแหวน เพื่อพระราชทานเป็นของขวัญแก่ประชาชนแทนการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์


    “….ขอเถิดอนุสาวรีย์อย่าเพิ่งสร้าง สร้างถนนดีกว่า สร้างถนนเรียกว่าวงแหวนเพราะมันเป็นความฝัน เป็นความฝันมาตั้งนานแล้ว เกือบ 40 ปี อยากสร้างถนนวงแหวน…” ความตอนหนึ่งในพระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าถวายชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระราชวังดุสิต วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม 2536


    “ถนนรัชดาภิเษก จึงเป็นถนนวงแหวนสายแรก ความฝันที่เป็นจริง” โดยพระองค์ท่านทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกลว่า เมื่อเมืองขยายตัว การจราจรจะติดขัด และเมื่อรัฐบาลสมัยนั้นใครจัดสร้างอนุสาวรีย์น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 25 ปี มีพระราชประสงค์ให้สร้างถนนวงแหวนขึ้นแทน ในที่สุดถนนวงแหวนสายแรกมีความยาว 45 กิโลเมตร ประกอบด้วย 5 ถนนสายหลัก ได้แก่ (1) ถ.รัชดาภิเษก (2) ถ.อโศก-ดินแดง (3) ถ.อโศกมนตรี (4) ถ.จรัญสนิทวงศ์ และ (5) ถ.วงศ์สว่าง ใช้ประกอบกับถนนรัศมีที่เชื่อมระหว่างพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในกับเขตรอบนอก ช่วยบรรเทาปริมาณรถที่สัญจรจากชานเมืองด้านหนึ่งไปยังชานเมืองอีกด้านหนึ่ง ให้ไม่ต้องวิ่งผ่านกลางเมืองที่มีรถหนาแน่น ช่วยสร้างระบบให้รถสามารถไหลเวียนได้ทุกทิศทาง และย่นระยะเวลาในการเดินทางและลดปริมาณรถยนต์ที่เข้ามาในเขตเมืองโดยไม่จำเป็นประกอบด้วยถนนเดิมที่มีอยู่หลายสาย และถนนที่สร้างขึ้นใหม่ก็กลายเป็นเส้นทางที่สามารถเดินรถเป็นวงรอบกรุงเทพฯโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม 2536 รวมระยะเวลาสร้าง 23 ปี และพระราชทานนามถนนสายนี้ว่า “ถนนรัชดาภิเษก” เพื่อเป็นของขวัญแก่ประชาชน...


    4.1.PNG

    ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานโครงการพระราชดำริ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรของ กทม. ไว้ จำนวน “16 ถนน 1 สะพาน”


    16 ถนน หมายถึงเส้นทางสำหรับรถวิ่ง ได้แก่

    (1) ทางแยกต่างระดับบน ถ.รัชดาภิเษก – ถ.วิภาวดีรังสิต
    (2) ทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี
    (3) สะพานพระรามที่ 8
    (4) สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
    (5) ถนนจตุรทิศ
    (6) ถนนเชื่อมถนนพระราม 9 – เทียมร่วมมิตร
    (7) ขยายสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
    (8) สะพานคู่ขนานสะพานมัฆวานรังสรรค์
    (9) ขยายสะพานอรุณอมรินทร์พร้อมทางขึ้น-ลง และทางยกระดับข้ามแยกศิริราช
    (10) ถนนเลียบทางรถไฟสายธนบุรี
    (11) ถนนเชื่อมต่อถนนพระราม 9 – ประชาอุทิศ – รามคำแหง
    (12) ถนนคู่ขนานถนนพระราม 9 จากทางแยกเข้าวัดอุทัยธาราม ถึงบริเวณก่อนถึงทางด่วนขั้นที่ 2
    (13) ปรับปรุงถนนราชดำเนิน
    (14) ถนนบริเวณริมคลองบางกอกน้อย
    (15) ขยายผิวจราจรถนนสุทธาวาส และสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์
    (16) เชื่อมสะพานพระราม 8 กับถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4

    (1)
    1 สะพาน หมายถึงสะพานทางเดินเท้า ได้แก่ สะพานคนเดิมข้ามถนนรัชดาภิเษกบริเวณหน้าศาลอาญา

    “16 ถนน กับ 1 สะพาน” เป็นเพียงส่วนหนึ่งในโครงการพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่คลายทุกข์คนกรุงเทพฯ กับวิกฤติจราจรให้เบาบางลง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้น ที่จะจารึกตราบนานเท่านาน...

    Credit: ขอขอบคุณที่มาจาก ร.9 ‘ครูวิศวกรรมจราจรของแผ่นดิน’ 16 ถนน 1 สะพาน แก้ปัญหาจราจรเมืองกรุง


    สิ่งที่ในหลวง ร.9 ทรงทำเพื่อเรา แต่น้อยคนจะรู้…

    “แม้จะเป็นเรื่องเล็ก แต่ยิ่งใหญ่ ทรงทุ่มเทพระวรกาย ทรงใช้ความรู้ความสามารถของพระองค์ ช่วยให้พสกนิกรไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น”

    ทั้งหมดนี้นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้… ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ธ สถิตในดวงใจไทยตราบนิจนิรันดร์ _/\_
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2021
  6. นาฬิเกร์

    นาฬิเกร์ อดทนชนะใจตน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2020
    โพสต์:
    426
    ค่าพลัง:
    +408
    พระองค์คือบิดาแห่งจิตวิญญาณของโลกใบนี้ ราชาผู้ทรงธรรม ความดีนั้นไม่ตาย ที่ลูกทุกคนต้องเจริญรอยตามทางเดินแห่งบิดา
     

แชร์หน้านี้

Loading...