สัมมัปปธาน 4

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Mdef, 30 เมษายน 2021.

  1. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,366
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,869
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

    [๑๐๙๐] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัส
    ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
    เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้
    กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป
    เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว ๑ ดูกรภิกษุ-
    *ทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้แล.

    [๑๐๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่า
    ไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ ย่อมเป็น
    ผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

    [๑๐๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มาก ซึ่งสัม-
    *มัปปธาน ๔ อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
    เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้
    กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความ
    ไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน
    โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

    [๑๐๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคล
    ทำอยู่ การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึง
    ทำได้อย่างนั้น แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มาก
    ซึ่งสัมมัปปธาน ๔ ฉันนั้นเหมือนกัน.

    [๑๐๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญสัมมัปปธาน ๔
    กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม
    ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อ
    ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อความตั้งอยู่
    เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความ
    บริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึง
    เจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างนี้แล (พึงขยายความพลกรณียวรรค
    ด้วยสามารถสัมมัปปธานอย่างนี้).

    [๑๐๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ
    การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา
    ๓ อย่างนี้แล.

    [๑๐๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
    เพื่อความสิ้นไป เพื่อความละซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างนี้ สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุใน
    ธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อ
    ไม่ให้บาปอกุศลที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมี
    ยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
    ความสิ้นไป เพื่อละการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

    [๑๐๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้ สังโยชน์เป็นส่วน
    เบื้องบน ๕ เป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล.

    [๑๐๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนด
    รู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล สัมมัปปธาน ๔
    เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้
    ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือน-
    *หาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศล
    ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อ
    กำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.


    ที่มา https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=6306&Z=6369
     
  2. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,366
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,869
    179171780_4034525923303723_4165068282866597879_n.jpg
    คนฉลาดย่อมไม่กลืนกินอารมณ์ชั่ว
    คนที่จิตยังไม่สูงเต็มที่ เมื่อใครเขาด่าว่าอะไรก็มักเก็บไปคิด
    คนเราโดยมากสำคัญตนว่าเป็นคนฉลาด แต่ชอบกลืนกินอารมณ์ที่ชั่ว
    อารมณ์ชั่วเปรียบเหมือนกับเศษอาหารที่เขาคายออกแล้ว
    ถ้าเป็นคนอดอยากยากจนจริงๆ จำเป็นจะต้องขอเขากิน ก็ควรกลืนกินแต่อารมณ์ที่ดี
    เปรียบเหมือนอาหารที่ไม่เป็นเศษของใคร
    แต่ถึงกระนั้นก็ยังอยู่ในลักษณะที่ยากจน นี่เป็นลักษณะของคนโง่ ไม่ใช่คนฉลาด
    เพราะความดีอยู่กับตัวเองแท้ๆ แต่ไพล่ไปเก็บเอาความชั่วที่คนอื่นเขามา
    เช่นนี้ก็ย่อมเป็นการผิดทาง
    ที่ถูกนั้น...ใครจะว่าอะไรก็ช่างเขา ต้องคิดว่านั่นเป็นสมบัติของเขา ไม่ใช่ของเรา
    ส่วนความดีที่เราทำก็ย่อมอยู่ที่ตัวเรา ให้คิดเหมือนมะม่วงที่เป็นหนอน
    คนฉลาดเขาก็เลือกกินแต่ตรงเนื้อที่ดีๆ ส่วนที่เน่าที่เสียก็ปล่อยให้บุ้งหนอนมันกินของมันไปเพราะเป็นวิสัยของมัน ส่วนเราก็อย่าไปอยู่จำพวกบุ้งหนอนด้วย
    อย่างนี้เรียกว่า ผู้นั้นเป็น “มนุสฺโส” คือ มีใจสูงขึ้น เหมือนกับเราอยู่บนศาลาก็ย่อมพ้นจากสัตว์เดรัจฉาน เช่น แมว สุนัข ที่จะมารบกวน มันจะกระโดดขึ้นมาตะครุบเราก็ไม่ได้
    ถ้าเราอยู่บนพื้นดินเราก็จะต้องถูกแดดบ้าง ฝนบ้าง และอันตรายต่างๆ
    ก็มารบกวนได้ คือ ยังปนเปกับคนพาลบ้าง บัณฑิตบ้าง ฉันใดก็ดี
    การประพฤติปฏิบัติธรรมของนักปราชญ์ ท่านจึงต้องรู้จักเลือกเฟ้นแต่สิ่งที่ดี
    ท่านไม่ยอมเก็บของเสียมาบริโภค เพราะของเสียนั้นเมื่อบริโภคเข้าไปแล้ว
    ก็เกิดพิษเน่าบูดให้โทษแก่ร่างกาย ส่วนของดีเมื่อบริโภคเข้าไปแล้ว ไม่มีโทษ
    มีแต่จะเกิดประโยชน์แก่ร่างกายอย่างเดียว

    (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)

     
  3. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,366
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,869
    177118356_4037470929675889_7444678360555693194_n.jpg
    คำสอนหลวงพ่อชา… “คนเลี้ยงไก่”
    มีคนเลี้ยงไก่ 2 คน คนที่ 1 ทุกเช้าจะเอาตะกร้า เข้าไปใน โรงเรือนเลี้ยงไก่ แล้วก็ เก็บ "ขี้ไก่" ใส่ตะกร้ากลับบ้าน!! แล้วทิ้งไข่ไก่ ให้เน่าไว้ในโรงเรือน ... เมื่อเขาเอาขี้ไก่กลับถึงบ้าน ทั้งบ้านก็เหม็นหึ่ง ไปด้วยกลิ่นขี้ไก่ !!! คนทั้งบ้านต้องทนกับกลิ่นเหม็น!!!
    คนเลี้ยงไก่คนที่ 2 เอาตะกร้าเข้าไปในโรงเรือนเลี้ยงไก่ เก็บไข่ไก่ใส่ตะกร้าเอากลับบ้าน เขาเอาไข่ไก่ลงเจียว กลิ่นหอมอบอวลไปทั่วบ้าน คนทั้งบ้านได้กินไข่เจียวแสนอร่อย ไข่ไก่ที่เหลือ เขาก็เอาไปขาย แล้วได้เงินมาใช้จ่ายในบ้าน ทุกคนในบ้านมีความสุขมาก.....
    ในชีวิตของเรา พวกเราเป็นคน เก็บ"ไข่ไก่ "หรือ เก็บ"ขี้ไก่" เราเป็นคนเก็บ "ขี้ไก่" โดยเฝ้าแต่เก็บ เรื่องร้ายๆ แย่ๆที่เกิดขึ้นในชีวิตเราไว้ในหัวของเรา และมีความทุกข์ตลอดเวลาที่คิดถึงมัน!!!
    หรือเราเป็นคนที่เก็บ"ไข่ไก่" เราจดจำสิ่งที่ดี ๆ ที่เกิดในชีวิตของเรา และมีความสุขทุกครั้งที่คิดถึงมัน!!
    คนเราส่วนใหญ่ชอบเป็นคนเก็บ "ขี้ไก่" เราถึงต้องเป็นทุกข์ตลอดเวลา เรื่องความเสียใจ ความผิดพลาด ความเจ็บใจ มักจะติดอยู่ในใจของเรานานเท่านาน

    ...หลวงปู่ชา สุภัทโท...

     

แชร์หน้านี้

Loading...