แจกฟรี หนังสือธรรมะโบราณ หลวงปู่หล้าตอบปัญหาธรรมะ 150 ่เล่มสุดท้าย

ในห้อง 'แจกฟรี' ตั้งกระทู้โดย snowgirlsnowgirl, 16 ธันวาคม 2019.

  1. snowgirlsnowgirl

    snowgirlsnowgirl สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    58
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +49
    หนังสือธรรมะ หลาวงปู่หล้า เขมปัตโต ตอบปัญหาธรรมะ
    .............
    แจกฟรี....!!! ขอแจกให้ ผู้ที่ต้องการอ่านหนังสือจริงๆ
    โดยขอรบกวนท่านนิดนึง ช่วยส่ง
    - ซองพัสดุหนาสีน้ำตาล ขนาด A4
    จ่าหน้าซอง ชื่อ-นามสกุล + ที่อยู่ ของท่านผู้ประสงค์จะรับหนังสือ + ติดแสตมป์ 8 บาท
    (หรือ ถ้าต้องการให้ ส่งไปรษณีย์ แบบ (สำหรับหนังสือ 1 เล่ม น้ำหนัก 320 กรัม):

    1. สิ่งตีพิมพ์ : ติดแสตมป์ 8 บาท: 1 เล่ม / 2-3เล่ม: 13บาท / 4-6เล่ม 25บาท /7-9 เล่ม 37บาท/ 9-13 เล่ม 49บาท / 14-16 เล่ม 61 บาท

    2. สิ่งตีพิมพ์ลงทะเบียน : ติดแสตมป์ เพิมอีก13(ค่าลงทะเบียน) = 21 บาท (ลงทะเบียนมากสุด 6 เล่ม 2kg)
    3. EMS ติดแสตมป์ 52 บาท สำหรับหนังสือ 1 เล่ม (หนังสือหนัก 320 กรัม)

    *** ถ้าต้องการหนังสือหลายเล่มก็ระบุจำนวนมานะคะ....ขอบคุณค่ะ
    แล้วใส่ซองจดหมายส่งมาที่....
    วริณญา วิสุทธิธรรม...
    25 ซอย อ่อนนุช-21, สุขุมวิท-77, สวนหลวง กทม 10250
    วงเล็บมุมซอง (ขอรับหนังสือหลวงปู่หล้า)
    -----------------------------------------------------------------------
    อาจจะลำบากนิดนึงนะคะ แต่หนังสือมีธรรมะน่าสนใจ
    และมีประโยชน์มากค่ะ.....
    ขอบพระคุณมากค่ะ

    .......
    ประวัติ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
    ท่านเป็น ลูกศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    ชีวประวัติ ของหลวงปู่หล้า เขมปัตโต เป็นชีวิตแห่งสมณะผู้ละวางลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มุ่งสู่
    ความหลุดพ้นอย่างจริงจังมั่นคง ท่านเกิดเมื่อ วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2454 ที่บ้านกุดสระ อำเภอหมากแข้ง จังหวัดอุดรธานี บิดาชื่อนายคูน เสวตร์วงศ์ มารดาชื่อ นางแพง เสวตร์วงศ์ เป็นบุตรคนสุดท้อง ในจำนวนพี่น้อง 8 คน อาชีพของครอบครัว คือ ทำนา ท่านศึกษาในโรงเรียนชั้นประถม ปีที่ 2 ก็ต้องออกมา ในวัยเยาว์ท่านได้มีโอกาสรับใช้พระธุดงค์ที่จาริกมา ในละแวกบ้านซึ่งมีส่วนช่วย หล่อหลอมจิตใจให้ใฝ่ในทางธรรม
    อายุ 18 บวชเป็นเณร เมื่ออายุครบเกณฑ์ก็ได้บวชเป็นพระตามประเพณี จากนั้นก็ลาสิกขา มาครองเรือนได้ประสพความเป็นอนิจจัง ทุกขัง แห่งสังขาร และการพลัดพราก ครั้นปี พ.ศ.2486 บวชเป็นพระมหานิกายที่วัดบ้านยางมีพระครูคูณเป็นอุปัชฌาย์ พรรษาแรกก็สอบนักธรรมโทได้ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2488 ท่านได้ญัตติเข้าในคณะธรรมยุต ที่วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) ครั้งเป็นพระเทพกวีเป็นอุปัชฌาย์ และให้ท่านไปพำนักฝึกการปฏิบัติกับหลวงปู่บุญมี ชลิตโต ที่วัดโพธิ์ชัย หนองน้ำเค็ม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นวัดที่เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ เคยอาราธนาท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ไปพำนักครั้งที่ท่านกลับจากเชียงใหม่ และหลวงปู่บุญมี เคยได้รับการศึกษาอบรมกับท่านพระอาจารย์มั่น และดำเนินปฏิปทาตามพระบุพพาจารย์

    ถวายตัวต่อ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    ออกพรรษาปี พ.ศ.2488 แล้ว ได้กราบลาหลวงปู่บุญมี วัดโพธิ์ชัย หนองน้ำเค็ม เพื่อไปนมัสการ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งมาพำนักที่วัดป่าบ้านหนองผือนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
    พระหล้า เขมปัตโต ออกเดินทางด้วยเท้าค่ำไหนก็ปักกรดจำวัดได้แวะ
    พักบำเพ็ญความเพียรที่ถ้ำพระเวสก์อยู่ระยะหนึ่งจากนั้นก็ออกเดินทาง
    จุดหมายก็คือวัดป่าบ้านหนองผือนาใน
    ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในกิตติศัพท์แห่งปฏิปทาบารมีธรรมของพระเดช
    พระคุณหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทำให้พระหล้า เขมปัตโต อุสาหะ วิริยะ ดันด้นมาจนถึงสำนักป่าแห่งนี้ ความสงบร่มรื่นเป็นสัปปายะสถานแห่งผู้บำเพ็ญ สมณะกรรม โอกาสทองแห่งชีวิตก็มาถึงพระหล้า เขมปัตโต มีโอกาสเข้าไปกราบแทบเท้าท่านพระอาจารย์ใหญ่
    สัจจะวาจาแห่งผู้กล้าเอ่ย " ขอมอบกายถวายชีวิตต่อพระอาจารย์ผูกขาดทุกลมปราณ " ท่ามกลาง
    คณะสงฆ์คณะศิษย์ที่อยู่ร่วมสำนัก อาทิ ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน , พระอาจารย์วัน อุตตโม พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโน หลวงปู่มั่น ท่านเมตตาปฏิสันฐานบอกให้พระเณรนำบริขารไปที่กุฏิว่าง
    เมื่อล่วงถึง 5 วัน ก็เข้าไปกราบเท้าขอนิสัยกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต องค์ท่านก็ได้กรุณารับ การพำนักที่วัดป่าบ้านหนองผือนาใน พระหล้า เขมปัตโต ได้รับเมตตาจากท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน ให้คำแนะนำสั่งสอน ให้อุบายธรรมอันเป็นสิ่งที่ท่านจดจำสำนึกตลอดมา
    ในพรรษาปี พ.ศ.2489 ท่านได้จำพรรษาเฝ้าฝึกศึกษาปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์มั่นและถวาย
    การปฏิบัติครูอาจารย์ด้วยความเคารพ ณ วัดป่าบ้านหนองผือนาใน ซึ่งเป็นขุมคลังแห่งพุทธิปัญญา วิปัสสนากรรมฐานแห่งยุคสมัย และยังได้รับเมตตาธรรมจากพระเถราจารย์ ตลอดจนสหธรรมมิกร่วมสำนัก

    ออกวิเวกกับพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน

    หลังออกพรรษา ปี พ.ศ.2489 ได้ติดตามท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ออกวิเวกไปตามป่าเขา ต่อมาได้มีโอกาสพบท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่ถ้ำบ้านไผ่ และท่านก็เมตตาช่วยเหลืออนุโมทนา ในกิจธุดงค์ด้วยดี เมื่อได้เวลาอันควรพระอาจารย์หล้า เขมปัตโต ก็เดินทางกลับมากราบ
    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือนาใน และมีโอกาส ถวายการปฏิบัติรับใช้พ่อแม่ครูอาจารย์ ด้วยความเคารพศรัทธา
    กระทั่งปี พ.ศ. 2492 ได้บังเกิดเหตุที่นำความเศร้าสลดมาสู่พระอาจารย์หล้า เขมปัตโต
    อย่างใหญ่หลวงคือพระเดชพระคุณหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ผู้เปรียบประดุจร่มโพธิ์แก้วของท่าน ได้ละสังขาร จากโลกนี้ไปอย่างไม่มีวันกลับ คงเหลือไว้ซึ่งคุณูปการเอนกอนันต์แห่งธรรมและข้อวัตรปฏิบัติอันยอดเยี่ยม
    พระอาจารย์หล้า เขมปัตโต ได้รับเป็นภาระธุระในกิจน้อยใหญ่ โดยไม่เกี่ยงเพื่อบำเพ็ญกุศลถวายท่าน พระอาจารย์ใหญ่ ที่ตนมอบกายถวายชีวิตด้วยเศียรเกล้า
    เมื่อถวายเพลิงสรีระหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตแล้ว ท่านจึงติดตามหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ออกวิเวก และมีโอกาส ติดตามหลวงปู่เทสก์ลงไปทางใต้แถบจังหวัด ภูเก็ต-พังงา และจำพรรษาที่ 6 ที่ โคกกลอย พระอาจารย์หล้า ธุดงค์ไปในเกาะภูเก็ต พังงา และจังหวัดตรัง ช่วงระยะหนึ่งจึงกลับมา กรุงเทพฯ พักที่วัดบรมนิวาส 5-6 วันแล้วกลับไปอีสาน จุดหมายคือ วัดบ้านห้วยทราย (หรือวัดวิเวกวัฒนาราม)
    อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านพำนักอยู่ที่นี่ พระอาจารย์หล้า ได้พำนักร่วมกับ ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน 3 พรรษา

    สู่ภูจ้อก้อ

    ปลายปี พ.ศ.2500 ชาวบ้านบ้านแวงหนองสูงใต้ มากราบนิมนต์ ท่านไปพำนักที่ภูจ้อก้อ
    หลวงปู่หล้า เขมปัตโต จึงได้มาพำนักที่ ภูจ้อก้อ หรือวัดบรรพตคีรี ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    วัดบรรพตคีรี (ภูจ้อก้อ) บ้านแวง ตำบลหนองสูงใต้ อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ตั้งอยู่บนภูเขา ทิวทัศน์งดงามร่มรื่นมีก้อนหินน้อยใหญ่เรียงรายงดงาม
    ศาสนสถานแห่งนี้ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ท่านเป็นผู้นำศรัทธา ในการสร้างเพื่อถวายไว้เป็น ศาสนสมบัติ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ท่านเป็นพระธุดงคกรรมฐานที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรง ธรรมเทศนาของท่าน เป็นธรรมะพระป่าที่เข้มข้นตรงไปตรงมา
    หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ในปัจฉิมวัย ท่านอาพาธด้วยโรคาพยาธิ และในที่สุด ท่านมรณภาพ ด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 ก่อนมรณภาพ ท่านขอให้ตั้งศพบำเพ็ญกุศล เพียง 3 วัน จากนั้นให้ฌาปนกิจอย่างเรียบง่าย ชีวิตสมณะของหลวงปู่หล้า เขมปัตโต เป็นชีวิตพระป่า
    พระธุดงคกรรมฐานที่องอาจ กล้าหาญเด็ดเดี่ยว แต่นอบน้อมต่อครูอาจารย์ผู้มีพระคุณเป็นที่สุด

    นะโม เม สัพพพุทธานัง
    นะโม เม สัพพสัจจธัมมานัง
    นะโม เม สัพพสังฆานัง

    ขอนอบน้อมแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย พร้อมทั้งพระอริยสัจธรรมและพระอริยสงฆ์
    ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ระลึกได้ไม่ระลึกได้ก็ดีขอผูกขาดจองขาดเคารพน้อมนอบ
    อยู่ในกาลทุกเมื่อ เอาเป็นที่พึ่งที่ระลึก ที่ปฏิบัติบูชาเพื่อดับทุกข์ทั้งปวง โดยไม่เหลือในปัจจุบันชาติ นี้เทอญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. เมทะนีดล

    เมทะนีดล เย็นใจใต้ร่มชินบัญชร

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2017
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +12
    ผมได้ส่งซองเอกสารไปเมื่อวันที่12/02/2563 ละครับ
    นาย ทนงศักดิ์ ป๊อกแก้ว ศูนย์ปฏิบัติการสื่อสารที่ 1 บ.ทีโอที จำกัด มหาชน 15/4 ถ.ซุปเปอร์ไฮเวย์ ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 โทร 0818051841
     
  3. sunnyna

    sunnyna สุขขโต สุขสสานํ ทุกฺขโท ทุกฺขฏฺฐานํ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +21
    ผมส่งซองไป ตอนนี้ได้รับแล้วนะครับ
    มีติดแสตมป์มาให้เพิ่มพร้อมส่งมาให้ 3 เล่ม
    อีก 2 เล่ม เดี๋ยวมีโอกาสผมจะเป็นสะพานบุญนำไปแจกจ่ายต่อให้นะครับ
    ขอบคุณมากครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...