#โพสต์ให้อ่าน เพื่อแบ่งปัน

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย nouk, 20 กรกฎาคม 2019.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. เพื่อนผู้รอนาน

    เพื่อนผู้รอนาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2019
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +824
    ผิดหรือถูก.มันก็ผูก.อยู่ติดกัน.
     
  2. เพื่อนผู้รอนาน

    เพื่อนผู้รอนาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2019
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +824
    พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.ก็ทรงเคยทำผิดมาอย่างเต็มที่.เหล่าพระสาวกทั้งหลาย.ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิมาทั้งนั้น.เมื่อพระองค์ตรัส
    รู้ว่าผิด.ตรงข้ามกับผิดมันก็ต้องถูก.พระองค์ก็ไม่เอาทั้งถูก.ไม่เอาทั้งผิด.จึงปล่อยวางจิต.เสด็จดับขันธ์เข้าสู่แดนพระนิพพาน.
     
  3. เพื่อนผู้รอนาน

    เพื่อนผู้รอนาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2019
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +824
    ร่างกายเป็นของสกปรก.สิ่งที่ต้องทำไห้สะอาด.คือจิตใจ.เมื่อเห็นร่างกาย.เป็นของสกปรกแล้ว.ทำจิตใจไห้สะอาดแล้ว.ก็ปล่อยวางร่างกายที่สกปรก.ละวางจิตใจที่สะอาด.คือเข้าถึงคาวมบริสุทธิ์.คือคาวมหลุดพ้นอย่างสิ้นเชิง.
     
  4. เพื่อนผู้รอนาน

    เพื่อนผู้รอนาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2019
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +824
    คนที่เห็นแล้วเขาไม่ต้องหา.คนที่เที่ยวแสวงหา.คือคนที่ยังไม่เห็น.จิตตน
     
  5. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    โลกสมมติมีผิดกับถูก ส่วนธรรมมีรู้กับไม่รู้
     
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    "ใจที่ดินรน ปั่นป่วน หวั่นไหวในกิเลส คือ ใจที่ยังอยู่ในรูป รส กลิ่น เสียงย่อมจัดว่าเป็นใจที่ต่ำ ถ้าอยู่กับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ก็เป็นใจที่สูง

    ฉะนั้น ท่านจึงสอนให้พากันฝึกจิตของตนให้สูงขึ้นด้วยการตัดสัญญาอารมณ์ภายนอก พยายามทำใจให้ตั้งเที่ยงอยู่ในคุณธรรมแห่งการภาวนา"

    ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    นึกถึงพระนิพพาน

    อันดับแรกเราคิดถึงนิพพานกัน ถ้าบังเอิญถ้ายังไม่ถึงนิพพานก็ไปสวรรค์ก่อนไปพรหมก่อน ถ้าต้องการคิดถึงนิพพานก็คิดตามนี้ว่า อะจิรัง วะตะยัง กาโยฯ ให้คิดว่าร่างกายนี้อีกไม่ช้านักก็จะมีวิญญาณไปปราศแล้ว คือออกไปแล้ว ในเมื่อวิญญาณหลุดไปก็มีสภาพเป็นของที่บุคคลเขาไม่ต้องการ เหมือนกับท่อนไม้ที่ไร้ประโยชน์

    ฉะนั้น ขึ้นชื่อว่าร่างกายอย่างนี้เราจะมีชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ชาติต่อไปไม่มีอีกเราต้องการนิพพาน ให้คิดอย่างนี้ทุกวัน คิดพอสบายใจ ไม่ต้องนานนักแล้วก็เริ่มภาวนา จิตจะสบาย จิตจะเกาะอยู่อารมณ์นี้ จะภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม หรือ สังโฆ หรืออะไรก็ได้แต่จิตจะเกาะอยู่อารมณ์นี้อยู่ แล้วเวลาท่านตายเมื่อไหร่ขึ้นชื่อว่าร่างกายจะต้องเกิด ไม่มีกับท่านอีกต่อไป

    คัดลอกจากหนังสือ ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๗๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ หน้าที่ ๗๗ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
    5JDi.jpg
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อนุปัสสนามี ๓ คือ

    ๑ อนิจจานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นโดยอาการไม่เที่ยง
    ๒ ทุกขานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นโดยอาการเป็นทุกข์
    ๓ อนัตตานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นโดยอาการเป็นอนัตตา

    อนุ = เนืองๆ ปัสสนา = รู้เห็น อนุปัสสนา = รู้เห็นเนืองๆ

    ดังนั้น คำว่า อนุปัสสนา ก็ได้แก่ ปัญญาเจตสิก คือ วิปัสสนาญาณที่มีการพิจารณารู้เห็นในเตภูมิกสังขตธรรมโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เหตุนี้แหละ อนุปัสสนาจึงมี ๓

    อนุปัสสนา ๓ ยังให้เกิดวิปัสสนาญาน ๙ และโสฬสญานโดยลำดับ


    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

    อนึ่ง การละองค์นั้นๆ ย่อมมีด้วยวิปัสสนาญาณนั้นๆ เพราะเป็นปฏิปักษ์ในวิปัสสนาญาณ มีนามรูปปริเฉทญาณ เป็นต้น ดุจการกําจัดความมืด ย่อมมีได้เพราะแสงสว่างแห่งประทีปฉะนั้น. คือ

    ละสักกายทิฏฐิ ด้วยการกําหนดนามรูป,

    ละทิฏฐิที่ไม่มีเหตุและมีเหตุไม่เสมอกันด้วยการกำหนดปัจจัย,

    ละความสงสัยด้วยการข้ามความสงสัย อันเป็นส่วนภายหลัง แห่งการกำหนดปัจจัยนั้นนั่นเอง

    ละความยึดถือว่าเราของเรา ด้วยการพิจารณากลาปะ ( กลุ่ม, กอง ),

    ละสัญญาในธรรมที่ไม่เป็นมรรคว่าเป็นมรรค ด้วยการกำหนดมรรคและอมรรค,

    ละอุจเฉททิฏฐิด้วยการเห็นความเกิดขึ้น,

    ละสัสสตทิฏฐิด้วยการพิจารณาเห็นความเสื่อม,

    ละความสำคัญว่าไม่น่ากลัวในสิ่งที่น่ากลัวด้วยการพิจารณาเห็นภัย, และความสำคัญว่าชอบใจ (ยินดี) ด้วยการพิจารณเห็นโทษ,

    ละอภิรติสัญญา (ความสำคัญว่าน่ายินดียิ่ง) ด้วยนิพพิทานุปัสสนา,

    ละความเป็นผู้ไม่อยากจะหลุดพ้นด้วยญาณ คือความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไป,

    ละการไม่เพ่งด้วยอุเบกขาญาณ,

    ละปฏิโลมในธรรมฐิติ และในพระนิพพานด้วยอนุโลม,

    ละความยึดนิมิตในสังขารด้วยโคตรภู อันนี้ ชื่อว่าตทังคปหานะ.
     
  9. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
     
  10. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    (“หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต” ) วัดป่าสุทธาวาส
    บ้านคำสะอาด ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร

    #คติพจน์

    ....คำที่เป็นคติอันหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต กล่าวอยู่บ่อยๆ เพื่อเป็นหลักวินิจฉัยความดีที่ทำด้วยกาย วาจา ใจ แก่ศิษย์ยานุศิษย์ ดังนี้

    ๑. ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นชื่อว่าดีเลิศ
    ๒. ได้สมบัติทั้งปวงไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นบ่อเกิดแห่งสมบัติทั้งปวง

    เมื่อท่านอธิบายตจปัญจกกัมมัฏฐานจบลง มักจะกล่าวเตือนขึ้นเป็นคำกลอนว่า “แก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตกคาพกเจ้าไว้ แก้บ่ได้แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้นคาก้นย่างยาย คาย่างยายเวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิดในภพทั้งสาม ภพทั้งสามเป็นเฮือน (เรือน) เจ้าอยู่” ดังนี้

    ....เมื่อคราวท่านเทศนาสั่งสอนพระภิกษุ ผู้เป็นสานุศิษย์ถือลัทธิฉันเจให้เข้าใจทางถูกและละเลิกลัทธินั้น ครั้นจบลงแล้วได้กล่าวคำเป็นคติขึ้นว่า “เหลือแต่เว้าบ่เห็นบ่อนเบาหนัก เดินบ่ไปตามทาง สิถืกดงเสือฮ้าย (ร้าย)” ดังนี้

    ....................................................
    (จากหนังสือภูริทตฺตมหาเถรานุสรณ์)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    5JCL.jpg
     
  12. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    “...เอ็งเห็นดอกไม้ที่ร่วงไหม ?

    มีทั้งดอกอ่อน ที่ยังไม่ตูม
    ดอกที่ตูมแล้ว ยังไม่บาน
    ดอกที่บานแล้ว ยังไม่โรย
    ดอกที่โรยแล้ว ยังไม่เหี่ยว
    ดอกที่เหี่ยวแล้ว ยังไม่แห้ง
    ดอกที่แห้งแล้วเป็นที่สุดก็มี

    นี่ มันร่วงลงมาจากต้นไม้เหมือนกัน ทั้งๆที่สภาวะของมันไม่เท่ากัน ชีวิตร่างกายของคนก็เหมือนกัน

    บางรายตาย ตั้งแต่อยู่ในครรภ์
    บางรายคลอดออกมาแล้วตาย
    บางรายตาย ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก
    บางรายตาย ตอนเป็นหนุ่มเป็นสาว
    บางรายตาย ตอนวัยกลางคน
    บางรายตายเมื่อแก่

    อย่างข้านี่ตายเมื่อแก่ ก็ไม่ต่างกับดอกไม้ที่แห้งคาต้น แล้วร่วงหล่นลงมา สภาวะความจริงมันเป็นอย่างนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาในโลกมีอนัตตาเป็นที่สุด อย่างร่างกายก็คือตายไปในที่สุด

    แล้วเอ็งเห็นดอกไม้ร่วงหล่นอยู่นี่ เอ็งมีความเศร้าโศกบ้างหรือไม่ (ก็ตอบว่า ไม่)

    นั่นซิ ! มันร่วงมันหล่นมากมายเกลื่อนกลาดอย่างนี้ มันก็เป็นปกติของมัน ร่างกายก็เหมือนกัน มันร่วงมันหล่นก็เป็นปกติของมัน จะมัวเศร้าโศกเสียใจอยู่ทำไม ภาวะปกติมันเป็นอยู่อย่างนี้ มันเป็นธรรมดา ก็จงอย่าไปฝืนมัน ไม่มีใครหรอกที่เกิดมาแล้วไม่ตาย...”

    โอวาทธรรมคำสอน..
    องค์หลวงปู่บุดดา ถาวโร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมี “เหตุผล” ทั้งนั้น นั่งนิ่งๆอยู่มันก็มีเหตุผล คนที่ไม่รู้ “เหตุผล” นั้นก็เพราะไม่มีปัญญา ความรู้จึงไม่เข้าไปถึง “เหตุผล”

    ...ระวังกิเลสข้างในกับข้างนอก อย่าให้มันโดนกัน ถ้าเขามี เราก็มี ไปเจอกันเข้า มันเกิดความล่ะ เช่นเราโกรธ เขาก็โกรธ เราโลภ เขาก็โลภ เราหลง เขาก็หลง อย่างนี้ต้องพากันฉิบหายแน่

    ตัวอย่างเช่น พระขี้โลภโยมนำของไปถวายก็ชอบใจ โยมเห็นพระชอบก็ดีใจยิ่ง ไปหามาถวายให้มากขึ้น พระก็ไม่ยอมพอยิ่งชอบใจหนักขึ้นไปอีก โยมก็ไม่ยอมแพ้หาไปถวายให้มากขึ้นอีก อย่างนี้ทั้งสองฝ่ายเกิดความฉิบหายแน่ ฉิบหายอย่างไร ? โยมก็ฉิบหายทรัพย์ พระก็ฉิบหายศีลพินาศวิบัติกันหมด

    ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. เพื่อนผู้รอนาน

    เพื่อนผู้รอนาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2019
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +824
    คนที่ถือศีล.คือคนอยู่นอกศีล.คนอยู่ในศีลแล้ว.ไม่มีใครเขาถือศีล.ส่วนคนถือศีล.เดี๋ยวก็ถือศีล.เดี๋ยวก็ลืมถือศีล.เลยกลายเป็นคนหิ้วศีล.หากมีคนถามว่ามีศีลไหม.ก็ตอบว่ามี.แต่ไม่รู้ตัวว่า.ตัวเอง.อยู่นอกศีล.
     
  15. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สักแต่ว่าค่ะ น้อมพิจารณาไปตามปัญญา
     
  16. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ท่านพูดก็ถูกของท่าน
    เราพูดก็ถูกของเรา
    ถูกตามปัญญาที่มี ที่เข้าถึง
     
  17. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    บอกข่าว

    5Kk6.jpg
     
  18. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อ่านเจอก็เลยนำมาฝากค่ะ...

    ฌานได้มีมาแล้วในสมัยก่อนพุทธกาล (จะกล่าวถึงในอดีตชาติของพระโพธิสัตว์ตอนที่ 2) ก่อนพุทธกาลพวกดาบสฤาษีต่างๆ ก็ได้มีการปฏิบัติทางจิตกันมานานแล้ว เพื่อเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดของชีวิตตามคตินิยมของอินเดียโบราณเรียกว่า“โยคะ”

    แม้พระพุทธเจ้าเองก่อนที่จะได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ก็เคยได้ฝึกฌานกับดาบสที่มีตบะแก่กล้าที่ชื่อว่าอาฬารดาบสกาลามโคตรและอุทกดาบสรามบุตร๔ จนบรรลุฌานขั้นสูงมาแล้ว เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าฌานนั้นมีความสำคัญ และมีความจำเป็นอย่างมากในการฝึกฝนจิตให้เกิดความสงบ ตั้งมั่น เพื่อเป็นเครื่องมือในการรู้แจ้งธรรม

    ส่วนปัญญา ในพระพุทธศาสนาจัดเป็นความรู้อยู่ในลำดับสูงสุดเสมอ เพราะเป็นเครื่องมือขั้นสุดท้ายที่จะให้ประจักษ์แจ้งความจริง ปัญญานั้นมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากในการใช้พิจารณาเพื่อความรู้แจ้งตามความเป็นจริง อันเป็นสู่จุดมุ่งหมายของพุทธธรรม ฌานและปัญญามีความสัมพันธ์กันโดยเป็นปัจจัยอาศัยกันและกันเพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาคือการพ้นทุกข์อันได้แก่พระนิพพานดังพระพุทธพจน์ว่า “ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นแลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน ฯ”

    ประโยชน์ของสมาธิแม้จะเจริญถึงขั้นได้ฌานสูงสุด หากไม่ก้าวล่วงด้วยปัญญาแล้ว ย่อมไม่สามารถทำให้ถึงจุดหมายของพุทธธรรมได้เป็นอันขาด ฌานต่างๆ ทั้ง ๘ ขั้น แม้จะเป็นภาวะจิตที่ลึกซึ้ง แต่เมื่อเป็นผลของกระบวนการปฏิบัติที่เรียกว่าสมถะอย่างเดียว แล้วยังเป็นเพียงโลกีย์เท่านั้น จะนำไปปะปนกับจุดหมายของพุทธธรรมหาได้ไม่ ในภาวะแห่งฌานที่เป็นผลสำเร็จของสมาธินั้น กิเลสต่างๆ สงบระงับไปจึงเรียกว่าเป็นความหลุดพ้นเหมือนกัน แต่ความหลุดพ้นชนิดนี้มีชั่วคราวเฉพาะเมื่ออยู่ในฌานเท่านั้น และจะถอยกลับสู่สภาพเดิมได้ ไม่ยั่งยืนแน่นอน ท่านจึงเรียกความหลุดพ้นชนิดนี้ว่าเป็นโลกิยวิโมกข์ (ความหลุดพ้นขั้นโลกีย์) เป็นกุปปวิโมกข์ (ความหลุดพ้นที่กำเริบคือเปลี่ยนแปลงกลับกลายหายสูญได้) และเป็นวิกขัมภนวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยการข่มไว้) คือกิเลสระงับไปเพราะถูกกำลังสมาธิข่มไว้ เหมือนเอาแผ่นหินทับหญ้า ยกแผ่นหินออกเมื่อใด หญ้าย่อมกลับงอกงามขึ้นมาใหม่)

    การบำเพ็ญสมาธิทำให้จิตใจสงบแน่วแน่ จนเข้าถึงภาวะที่เรียกว่า ฌานหรือสมาบัติขั้นต่างๆ เสียก่อน ทำให้จิตใจดื่มด่ำแน่นแฟ้นอยู่กับสิ่งที่กำหนดนั้นๆ จนมีความพร้อมอยู่โดยตัวของมันเองที่จะใช้ปฏิบัติการต่าง ๆ อย่างที่เรียกว่าจิตนุ่มนวล ควรแก่การงานโน้มไปใช้ในกิจที่ประสงค์อย่างดีที่สุด ในสภาพจิตเช่นนี้กิเลสต่าง ๆ ซึ่งตามปรกติฟุ้งขึ้นรบกวนและบีบคั้นรบกวนจิตใจพล่านอยู่ก็ถูกควบคุมให้สงบนิ่งอยู่ในเขตจำกัดเหมือนผงธุลีที่ตกตะกอนในเวลาน้ำนิ่ง และมองเห็นได้ชัดเพราะน้ำใส เหมาะสมอย่างยิ่งแก่การที่จะก้าวไปสู่การใช้ปัญญาจัดการกำจัดตะกอนเหล่านั้นให้หมดสิ้นไปโดยสิ้นเชิง ในชั้นนี้นับว่าเป็นวิธีปฏิบัติที่เรียกว่า สมถะ ถ้าไม่หยุดเพียงเท่านี้ ก็จะก้าวต่อไปสู่ขั้นการใช้ปัญญากำจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นเชิง เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของพุทธธรรม ซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. เพื่อนผู้รอนาน

    เพื่อนผู้รอนาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2019
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +824
    แสงสว่างใดๆในโลก.สว่างเสมอแสงแห่งปัญญา.ไม่มี.
     
  20. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เรื่องราวดีๆ ค่ะ

    พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
    ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

    พระพุทธรูปองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นตามพระราชประเพณีนิยมที่เชื่อว่ามีมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา คือการสร้างรูปบูรพมหากษัตริย์ พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องต้นอย่างพระมหาจักรพรรดิขึ้น เป็นพระพุทธรูปสำริดหุ้มด้วยทองคำ จารึกพระนามว่า "พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เพื่อใช้แทนพระนามเดิมว่า "แผ่นดินต้น"

    พระพุทธลักษณะของพระพุทธรูป เป็นพระพุทธรูปยืน แสดงปางประทานอภัยทั้งสองพระหัตถ์ (ปางห้ามสมุทร) ทรงเครื่องต้นอย่างพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งมีมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย แต่ได้เพิ่มเครื่องทรงมากกว่าเดิม เช่น กรรเจียกจร กระหนกเหนือพระอังสา และเพิ่มชั้นของชายไหวชายแครง ลักษณะสำคัญคือ พระพักตร์แบบหุ่นอันเป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปในสมัยรัชกาลที่ ๓

    ประวัติการสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ ปรากฏในหมายรับสั่งรัชกาลที่ ๓ จ.ศ. ๑๑๙๓ เลขที่ ๓ เรื่อง "ให้ตั้งการจารึกพระนามพระพุทธรูป ๖ ศอก ลงในแผ่นพระสุพรรณบัฏและบรรจุพระบรมธาตุ" ความว่า "ด้วยพระยาบำเรอภักดิ์รับราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่าทรงพระศรัทธาให้ สถาปนาการหล่อพระพุทธรูปสูง ๖ ศอก หุ้มทองคำ ทรงเครื่องต้นอย่างพระมหาจักรพรรดิ ด้วยลายลงยาราชาวดี ประดับด้วยนวรัตน์ต่าง ๆ มีเพชร เป็นต้น แต่ล้วนมีราคาเป็นอันมาก ช่างกระทำสำเร็จแล้วเชิญพระพุทธรูปทั้ง ๒ พระองค์เข้าประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ให้จารึกพระสุพรรณบัฏ"

    "พระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระอุทิศถวายสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชจักรพรรดินาถบพิตร์ ๑ พระองค์ พระพุทธเลิศหล้าสุลาไลย ทรงพระราชอุทิศถวายสมเด็จพระบรมชนกนาถธรรมิราชบพิตร์ ๑ พระองค์ (รวม) ๒ พระองค์ ...."

    --------------- ที่มา : หนังสือพระพุทธรูปสำคัญและพุทธศิลป์ในดินแดนไทย และหนังสือพุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน (ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์) --------------
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...