เรื่องเด่น วัดเส้าหลินยืนหยัด ถูกเผาหลายครั้งฝีมือคนจีนเอง ก่อนได้เป็นมรดกโลก

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 11 พฤษภาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    0b8b2e0b8abe0b8a5e0b8b4e0b899e0b8a2e0b8b7e0b899e0b8abe0b8a2e0b8b1e0b894-e0b896e0b8b9e0b881e0b980.jpg

    วัดเส้าหลินยืนหยัด ถูกเผาหลายครั้งฝีมือคนจีนเอง ก่อนได้เป็นมรดกโลก


    วัดเส้าหลินยืนหยัด เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ เผยแพร่บทความแสดงความคิดเห็นและข้อมูลจาก Wee Kek Koon ถึงประวัติความเป็นมาของวัดเส้าหลินของจีนว่าอยู่รอดถึงปัจจุบันได้อย่างไร แม้มีความพยายามที่จะเผาทำลายหลายต่อหลายครั้ง

    โดยชี้ให้เห็นว่า การทำลายมรดกล้ำค่าของชาติเกิดจากชาวจีนเอง ไม่ใช่ต่างชาติ

    บทความนี้เกริ่นเปรียบเทียบชะตากรรมของวัดเส้าหลินคล้ายกับมหาวิหารนอเทรอดาม ในกรุงปารีส ของฝรั่งเศส ที่ถูกเผาและบูรณะขึ้นใหม่

    เมื่อมหาวิหารนอเทรอดามถูกเพลิงไหม้เมื่อเดือนเม.ย.ปีนี้ ชาวจีนจำนวนหนึ่งไม่รอช้าโวยวายแต่งเรื่องประสบการณ์ที่ตนเองได้รับรู้มา แสดงความรักชาติหน้ามืดตามัวว่าการทำลายสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เป็นที่รักของชาวฝรั่งเศสนั้นเป็นการแก้แค้นที่ทหารฝรั่งเศสและอังกฤษเผาและปล้นเอาทรัพย์สมบัติในพระราชวังฤดูร้อนของจีนที่กรุงปักกิ่งในปีค.ศ.1860

    ความเห็นดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยชาวจีนจำนวนมากรวมถึงหน่วยงานรัฐที่ดูแลด้านมรดกวัฒนธรรมระบุว่าเป็นความเห็นที่ผิด อ่อนต่อโลกและแสดงจิตวิญญาณที่ร้ายกาจ

    เส้าหลินตั้งตามชื่อที่ตั้งในป่าบนภูเขาเส้าชือ มณฑลเหอหนาน โครงสร้างส่วนใหญ่ภายในอาคารวัดอายุน้อยกว่า 100 ปี แต่วัดเส้าหลินดั้งเดิม สร้างขึ้นเมื่อค.ศ. 495 หรือกว่า 1,500 ปีมาแล้ว โดยจักรพรรดิเสี่ยวเหวินแห่งราชวงศ์เว่ยเหนือ ซึ่งสร้างให้พุทธภาทรา- Buddhabhadra พระภิกษุสงฆ์ชาวอินเดีย ซึ่งเดินทางมาถึงจีนก่อนสร้างวัด 30 ปีเพื่อเผยแพร่ศาสนาพุทธ

    8b2e0b8abe0b8a5e0b8b4e0b899e0b8a2e0b8b7e0b899e0b8abe0b8a2e0b8b1e0b894-e0b896e0b8b9e0b881e0b980-2.jpg

    ปีค.ศ. 527 พระบดีธรรม มิชชันนารีชาวอินเดียอีกคน กลายเป็นเจ้าอาวาสวัดเส้าหลิน นำคำสอนของท่านพุทธภาทรา ซึ่งพุทธภาทราสร้างสำนักพุทธเส้าหลินที่ในภาษาจีนเรียกว่า ฌาน หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในภาษาญี่ปุ่นว่า เซน

    เส้าหลินได้รับความเคารพนับถือว่าเป็นสถานที่เรียนรู้พุทธธรรมที่ยิ่งใหญ่ เป็นที่อยู่ของพระที่คงแก่เรียนและหอสมุดขนาดใหญ่ ได้รับอุปถัมภ์จากจักรพรรดิ และเป็นเจ้าภาพต้อนรับจักรพรรดิเกาจงของราชวงศ์ถังและจักรพรรดินีอู่ เจ๋อเทียน (บูเช็กเทียน) ในศตวรรษที่ 7 รวมถึงจักรพรรดิเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง ปีค.ศ.1750
    [​IMG] [​IMG]
    8b2e0b8abe0b8a5e0b8b4e0b899e0b8a2e0b8b7e0b899e0b8abe0b8a2e0b8b1e0b894-e0b896e0b8b9e0b881e0b980-3.jpg

    วัดเส้าหลินพัฒนาเทคนิกศิลปะป้องกั้นตัวเพื่อการป้องกันตัวและฝึกสมรรถภาพทางกายจนกลายเป็นยกย่องในทางดังกล่าวมากเกินจริงในวัฒนธรรมป๊อป จนทำให้วิชาความรู้ทางศาสนาถูกลดความสำคัญลงถึงขณะนี้

    เส้าหลินไม่ได้รับการคุ้มกันจากหายนภัย โดยประสบเหตุร้ายครั้งแรก ในทศวรรษ 570 เมื่อจักรพรรดิอู่แห่งราชวงศ์โจวเหนือปราบปรามศาสนาพุทธ ทำลายวัดพุทธทั้งหมดในตอนเหนือของจีนรวมถึงเส้าหลิน ต่อมาสิ่งที่หลงเหลืออยู่ หรือถูกฟื้นฟูอีกครั้งถูกทำลายอีกรอบในปีค.ศ.618 เมื่อบัณฑิตติดอาวุธปล้นวัดและเผาส่วนใหญ่ของวัดจนราบเรียบ

    อีกสองศตวรรษต่อมา จักรพรรดิอู่แห่งราชวงศ์ถังไล่ทำร้ายศาสนาพุทธ ทำลายวัดพุทธเกือบทั้งหมดในจีน และด้วยเส้าหลินเป็นดวงประทีปที่โดดเด่นของศาสนาพุทธในจักรวรรดิจีนก็ไม่เหลือรอดจากความโกรธแค้นของจักรพรรดิไปได้

    8b2e0b8abe0b8a5e0b8b4e0b899e0b8a2e0b8b7e0b899e0b8abe0b8a2e0b8b1e0b894-e0b896e0b8b9e0b881e0b980-4.jpg

    จนกระทั่งตอนต้นศตวรรษที่ 21 ในการสู้รบอย่างดุเดือดระหว่างขุนศึกคู่แข่งที่แบ่งเป็นก๊ก เป็นเหล่าในฤดูใบไม้ผลิปีค.ศ.1928 นายพลฉือ เหย่าซาน ผู้บัญชาการฝ่ายชนะเผาวัดเส้าหลิน เพียงเพราะเส้าหลินถูกใช้เป็นศูนย์บัญชาการชั่วคราวจากฝ่ายศัตรู ด้วยถูกโหมสะพัดจากไฟโกรธคลุ้มคลั่ง นายพลฉือสาดน้ำมันก๊าดก่อนเผาโดยใช้ปืนใหญ่ยิง เพื่อให้แน่ใจว่าทำลายสิ้นซาก

    8b2e0b8abe0b8a5e0b8b4e0b899e0b8a2e0b8b7e0b899e0b8abe0b8a2e0b8b1e0b894-e0b896e0b8b9e0b881e0b980-5.jpg

    เมื่อถึงเวลาแห่งความบ้าคลั่งของยุคปฏิวัติวัฒนธรรมอีก 40 ปีต่อมา เส้าหลินไม่รอดพ้นสายตา ภาพวาดจำนวนมากและอาคารหลายแห่งเหลือแต่ซาก จับพระเส้าหลินสึก บังคับให้หวนไปใช้ชีวิตฆราวาส

    อย่างไรก็ตาม หลายสิ่งดำเนินไปด้วยดีในช่วง 30 ปีต่อมา ยูเนสโกขึ้นบัญชีให้วัดเส้าหลินเป็นมรดกโลกปีค.ศ. 2010 หรือพ.ศ. 2553 เส้าหลินยังคงทนทายาด ด้วยพระคัมภีร์แห่งการยืนหยัดเพื่อให้อยู่รอดจากความพยายามทำลายนับครั้งไม่ถ้วน

    ที่ไม่ใช่เกิดจากต่างชาติแต่จากชาวจีนเอง

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_2504315
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...