เรื่องเด่น บทกรวดน้ำแบบสั้น หลังใส่บาตร ขอให้ท่านได้รับผลบุญของข้าพเจ้าด้วยเทอญ

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 22 เมษายน 2019.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    บทกรวดน้ำแบบสั้น หลังใส่บาตร ขอให้ท่านได้รับผลบุญของข้าพเจ้าด้วยเทอญ

    m240362-02-696x365.jpg
    บทกรวดน้ำแบบสั้น หลังใส่บาตร ขอให้ท่านได้รับผลบุญ ของข้าพเจ้าด้วยเทอญ

    การทำบุญใส่บาตร เป็นสิ่งหนึ่งที่เราเห็นกันมาตั้งแต่ในสมัยอดีตจน ถึงในปัจจุบัน และเราจะเห็นได้ว่าสิ่งหนึ่งที่เราต้องทำหลังจากการ ทำบุญนั่นคือ “การ กรวดน้ำ”

    การกรวดน้ำ คือ การที่เราตั้งจิตอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล ที่เราได้ทำไว้ในครั้งนี้ ส่งผลไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ให้กับเจ้ากรร มนายเวร พร้อมทั้งเป็นการรินน้ำให้ไหลลงไป บนพื้นดินที่ได้รองรับแล้วนำไปเทที่พื้นดิน หรือรถที่โคนต้นไม้ก็ได้

    การกรวดน้ำนั้น ได้มีการเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ ในสมัยพุทธกาล โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ให้คำสั่งสอนให้พระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งได้มาทำบุญเลี้ยงพระ ทรงหลั่งทักษิโณทก (กรวดน้ำ) เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการ อุทิศส่วนบุญส่วนกุศล ที่เราได้ทำไว้ให้แก่พระญาติที่ล่วงลับของพระองค์ และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในเวลาที่เราได้ทำบุญเสร็จ จึงนิยมใช้การกรวดน้ำ เป็นสัญลักษณ์แทนการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล ที่เราได้ทำเอาไว้


    วิธีกรวดน้ำ

    1. กรวดน้ำเปียก คือ ใช้น้ำเป็นสื่อ รินน้ำลงไปพร้อมกับอุทิศผลบุญกุศลไปด้วย

    2. กรวดน้ำแห้ง คือ ไม่ใช้น้ำ ใช้แต่สิบนิ้วพนมอธิษฐาน แล้วอุทิศผลบุญกุศลไปให้

    และในระหว่างที่ทำการกรวดน้ำนั้น เราควรระลึกถึงผู้ที่มีคุณ หรือมีเวรก รรมต่อกัน เพื่ออุทิศผลบุญที่ได้ทำให้แก่ บุคคลเหล่านั้น

    กรวดน้ำ เวลาไหนถึงดี

    สำหรับเราที่เราควร กรวดน้ำนั้น คือ ขณะที่พระอนุโมทนา หรือหลังทำบุญเสร็จ แต่หากไม่สะดวกจะทำตอนหลังก็ได้ แต่ทำในขณะนั้นดีกว่า ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ

    – ถ้ามีเปร ตญาติมารอรับส่วนบุญ ท่านก็ย่อมได้รับในทันที

    – การรอไปกรวดที่บ้านหรือกรวดภายหลัง บางครั้งก็อาจลืมไป ผู้ที่เขาตั้งใจรับก็อด ผู้ที่เราตั้งใจจะให้ก็อดไปด้วย

    บทกรวดน้ำ แบบยาว

    ตั้งนะโม 3 จบ

    อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา คุณุตตะรา

    ด้วยบุญนี้ อุททิศให้ อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ

    อาจะริยูปะการาจะ มาตาปิตา จะ ญาตะกา

    และอาจารย์ ผู้เกื้อหนุน ทั้งพ่อแม่ และปวงญาติ

    ปิยา มะมัง สุริโย จันทิมา ราชา คุณะวันตา นะราปิ จะ

    สูรย์จันทร์ และราชา ผู้ทรงคุณหรือสูงชาติ

    พรัหมะมารา จะ อินทา จะ โลกะปาลา จะ เทวะตา

    พรหม มาร และอินทราช ทั้งทวยเทพ และโลกบาล

    ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ

    ยมราช มนุษย์มิตร ผู้เป็นกลาง ผู้จองผลาญ

    สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ปุญญานิ ปะกะตานิ เม

    ขอให้สุขศานติ์ทุกทั่วหน้า อย่าทุกข์ทน บุญผองที่ข้าทำจงอำนวยศุภผล

    สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง

    ให้สุขสามอย่างล้น ให้ลุถึงนิพพานพลัน

    อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อิมินา อุททิเสนะ จะ

    ด้วยบุญนี้ที่เราทำ และอุทิศให้ปวงสัตว์

    ขิปปังหัง สุละเภ เจวะ ตัณหุปาทานะเฉทะนัง

    เราพลันได้ ซึ่งการตัด ตัวตัณหา อุปาทาน

    เย สันตาเน หินา ธัมมา ยาวะ นิพพานะโต มะมัง

    สิ่งชั่วในดวงใจ กว่าเราจะถึงนิพพาน

    นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว

    มลายสิ้นจากสันดาน ทุก ๆ ภพ ที่เราเกิด

    อุชุจิตตัง สะติปัญญา สัลเลโข วิริยัมหินา

    มีจิตตรง และสติปัญญาอันประเสริฐ พร้อมทั้งความเพียรเลิศเป็นเครื่องขูดกิเลสหาย

    มารา ละภันตะ โนกาสัง กาตุญจะ วิริเยสุ เม

    โอกาส อย่าพึงมี แก่หมูมารทั้งสิ้นทั้งหลาย เป็นช่อง ประทุษร้ ายทำลายล้างความเพียรจม

    พุทธาทิปะวะโร นาโถธัมโม นาโถ วะรุตตะโม

    พระพุทธผู้วรนาถ พระธรรมที่พึ่งอุดม

    นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง

    พระปัจเจกะพุทะสมทบ พระสงฆ์ ที่ผึ่งพยอง

    เตโสตตะมานุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุ มา

    ด้วยอานุภาพนั้น อย่าเปิดโอกาสให้แก่มาร (เทอญ)

    บทกรวดน้ำแบบสั้น

    อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย

    ขอบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงมีความสุข สุขใจเถิดฯ

    บทกรวดน้ำ ให้เจ้ากรรมนายเวร

    ข้าพเจ้าขออุทิศบุญกุศลจากการเจริญภาวนานี้ให้แก่เจ้าก ร ร มนายเวรทั้งหลายของ ข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านไว้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใดก็ตาม ขอให้ท่านได้รับผลบุญนี้ แล้วโปรดอโหสิก ร ร ม และอนุโมทนาบุญแก่ข้าพเจ้าด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ


    ขอบคุณที่มา
    https://www.aabpost.com/?p=3112
     
  2. mrmos

    mrmos Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    1,190
    ค่าพลัง:
    +1,101
    sa373.jpg
     
  3. ครูเรือง

    ครูเรือง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2010
    โพสต์:
    976
    ค่าพลัง:
    +686
    ขออนุญาตเรียนให้ทราบเรื่องบุญครับ
    - ปกติแล้วบุญไม่ได้อยู่กับตัวเรานะครับ
    - แต่ละคนจะมีกองบุญ (ของใครของมัน) อยู่บนสวรรค์
    - เมื่อเราทำบุญ จะเกิดแสงสีขาวแผ่ออกจากตัวเรา แสงนี้จะอยู่กับเรา 3 - 4 วินาที แล้วจะลอยขึ้นไปสะสมอยู่ที่กองบุญบนสวรรค์
    - หากเราจะอุทิศบุญ ก็สามารถทำได้ 2 กรณี ครับ
    1. อุทิศตอนบุญอยู่กับเรา เช่น เราใส่บาตรเมื่ออาหารหลุดจากมือลงในบาตร จะเกิดแสงบุญ ให้รีบคิดทันทีว่า "บุญนี้ให้กับพ่อแม่ฉัน" "บุญนี้ส่งถึง..." (ให้คิดเอานะครับ ไม่ต้องออกเสียง)
    2. อุทิศเวลาไหนก็ได้ แต่ต้องคิดดังนี้ "ขออำนาจพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โปรดจงดล บันดานบุญของข้าพเจ้า ส่งให้กับยายของข้าพเจ้าที่เสียชีวิตเมื่อวานนี้" การอุทิศแบบข้อ 2 นี้ ไม่จำกัดเวลา จะอุทิศเป็นชั่วโมงก็ได้ อุทิศวันละ 100 ครั้งก็ได้ ยิ่งอุทิศมากบุญยิ่งมากขึ้นครับ (บุญจากสวรรค์จะพุ่งลงมาที่ตัวเราก่อน แล้วจึงพุ่งไปหาผู้รับ)
    แบบข้อ 2 นี้ ืจะต้องอาศัยอำนาจพระรัตนไตรทุกครั้ง
    อนึ่ง การกรวดน้ำนั้น อาจจะมีบุญออกไปบ้างเป็นบางครั้ง ถ้าบุญมีอยู่ที่ตัวเรา แต่ก็น้อยเต็มที
     
  4. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,406
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,550
    อย่าพึ่งกรวดน้ำตอนที่ใส่บาตร เพราะหลังจากที่พระท่านฉันอาหารแล้ว ท่านก็ต้องสวดยะถาให้พรอีกครั้ง ตรงนี้ให้โยมประมาณเวลาว่าสัก ๘ หรือ ๙ โมง ท่านฉันอาหารเรียบร้อยแล้ว ตอนนั้นโยมกรวดน้ำเลย

    มีญาติโยมสงสัยในเรื่องบุญมาก แม่ชีจะบอกว่า เรื่องของบุญ มีหลายๆอย่างที่เป็นบุญของมนุษย์รากฐานของมนุษย์ ในเรื่องของบุญคือความกตัญญูมาที่หนึ่ง ถึงแม้คนที่ไม่มีศาสนา ตามต่างประเทศที่แม่ชีได้ไปบรรยาย บางประเทศไม่มีศาสนา แต่เขามีความกตัญญูก็ถือว่าเป็นบุญ

    ทีนี้ในลักษณะของบุญที่โยมทำกัน โยมคิดว่า โยมทำบุญใส่บาตร แต่ทำไมโยมไม่ก้าวหน้า
    โยมพยายามถวายสังฆทานทุกอาทิตย์ แต่โยมก็ยังมีปัญหากับคนที่ทำงานอยู่ โยมพยายามสวดมนต์
    ไหว้พระ แต่ใจโยมก็ยังฟุ้งซ่าน นี่โยมยังไม่เข้าใจในลักษณะบุญที่โยมทำ เดี๋ยวนี้พอใส่บาตรเสร็จ
    ก็มีการขอพร แล้วกรวดน้ำ แต่โยมลืมไปว่าพระท่านยังไม่ฉันอาหารเลยใช่ไหม โยมอยากกรวดน้ำ
    เดี๋ยวนั้น ท่านก็นำกรวดน้ำให้ ในวินัยไม่มีค่ะเรื่องใส่บาตรปุ๊บแล้วกรวดน้ำเลย ไม่มี ตามกฏกติกาวินัย
    มีอยู่ว่า เมื่อบิณฑบาตรมาแล้ว อาหารในบาตรทั้งหมดต้องถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน
    ที่เรียกว่า”ถวายข้าวพระพุทธ” เมื่อถวายเสร็จแล้วถึงจะลาเอามาเลี้ยงชีพได้ คือทุกอย่างมันต้อง
    มีขั้นตอน แต่ว่าญาติโยมเดี๋ยวนี้ไม่เข้าใจ พอใส่บาตรปุ๊ป แล้วให้พระท่านยะถา...เลย นี่ส่วนมากเลยนะ

    ตามตลาดของขายใส่บาตรมีกรวดน้ำเสร็จเรียบร้อย เวลาใส่บาตร พระท่านจะให้พรเป็นภาษา
    บาลีซึ่งเป็นภาษาของพระพุทธเจ้า “อภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา
    วัฑฒันติอายุ วัณโณ สุขัง พะลัง” พรอันนี้ที่โยมใส่บาตรไปแล้ว โยมได้แน่นอน แต่พอโยมเตรียมที่กรวดน้ำจะกรวดน้ำให้ผู้ล่วงลับ พระท่านเห็นโยมเตรียมที่กรวดน้ำ ท่านก็นำให้กรวดน้ำเดี๋ยวนั้น
    พอพระท่านกล่าวยะถา ก็มีญาติที่ล่วงลับไปแล้วญาติพี่น้องที่ตายไปแล้วก็มารอมาขอบุญเลย
    นี่เป็นเรื่องที่แม่ชีเห็น แม่ชีเห็นญาติมายืนรอ แต่ท่านยังไม่ทันกลับถึงวัด พระท่านยังไม่ได้
    ฉันอาหารเลย โยมลองนึกถึงหลักความเป็นจริงว่า เมื่อกรวดน้ำไปแล้วคนที่เขามารอ แต่อาหาร
    มันยังไปไม่ถึงญาติเพราะพระท่านยังไม่ได้ฉัน แล้วไปที่ไหน ก็ส่งผลไปที่คนกรวดน้ำ ไปทำอะไร
    ไปทำให้คนนี้โกรธง่าย ไปทำให้คนนี้ป่วยไข้ง่าย ทำอะไรมันเหมือนเราลืมไปหมด เราตั้งใจจะทำอะไร

    เหมือนเราเป็นคนวางแล้วลืมง่าย เอ๊ะ....เอาไปไว้ตรงไหนนะ คือวางอะไรไว้แล้วก็ลืม ทั้งๆ ที่จริง
    มันไม่น่าจะลืม แต่ทำไมมันลืม ที่มันมาจากตรงนี้ กรวดน้ำก่อนที่พระจะฉัน ถามว่าแล้วจะให้กรวดน้ำ
    ตอนไหน

    ใครอ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว อย่าพึ่งกรวดน้ำตอนที่ใส่บาตร เพราะหลังจากที่พระท่าน
    ฉันอาหารแล้ว ท่านก็ต้องสวดยะถาให้พรอีกครั้ง ตรงนี้ให้โยมประมาณเวลาว่าสัก ๘ หรือ ๙ โมง

    ท่านฉันอาหารเรียบร้อยแล้ว ตอนนั้นโยมกรวดน้ำเลย โยมไม่ต้องกรวดน้ำบทยาวมากหรอก
    ในครั้งพุทธกาลพระเจ้าพิมพิสารทำบุญกับพระพุทธเจ้า ในคืนหนึ่งฝันไปว่า ญาติของพระเจ้า
    พิมพิสารเป็นเปรตหมดเลย เป็นเปรตสูงใหญ่ พระเจ้าพิมพิสารจึงทูลถามพระพุทธเจ้าว่า
    จะทำบุญใดให้ญาติที่ล่วงลับได้รับบุญนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงให้กรวดน้ำคำว่า “อิทังเม
    ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหตุ ญาตะโย”
    คือบทสั้นๆ นี่แหล่ะ ญาติทั้งหลายนับจากเราไป ๗ ชั้น
    ได้แน่นอน แล้วถวายสังฆทานหล่ะถวายสังฆทานพระรับแล้วท่านก็ยังไม่ได้ใช้ แต่กรวดน้ำได้เลย
    ต่างกันกับการใส่บาตร

    โยมไปดูนะ แม่ชีไม่ได้ให้โยมไปจับผิดนะ ให้โยมไปดูธรรมะที่ตลาด คนที่ทำอาหารขาย
    เพื่อถวายพระ โยมไปดูเถอะเดี๋ยวๆ เขาก็ลุกขึ้นยืน เดี๋ยวๆ เขาก็จะนั่งลงไป หน้าตาเขาไม่ผ่องใส
    เพราะเขาเป็นคนเตรียมน้ำ ทีนี้ก็มีหลายคนบอกว่ากลัวจะลืม พอนึกได้อีกทีก็เลยเพลไปแล้ว ที่จริง
    ไม่ว่าจะเลยเพลหรือว่าข้ามวันไปแล้วก็ยังกรวดน้ำได้ คือถ้าโยมใส่บาตรแล้ว บุญก็ยังรออยู่
    ไม่เลือกกาล ไม่เลือกเวลาถึงแม้ใส่บาตรมา ๑o ปี ไม่เคยกรวดน้ำเลย บุญก็ยังไม่ไปไหน
    บุญตรงนั้นส่งผลให้มีเงินที่จะซื้อข้าวปลาอาหารใส่บาตรได้ทุกวัน แต่ว่าถ้ายังไม่ได้กรวดน้ำ
    บุญก็ยังไม่ได้เจาะจงลงมาว่าที่โยมทำมันจะส่งผล จนถึงวันที่โยมได้กรวดน้ำ บุญที่โยมทำมา ๑o ปี
    มันไหลลงไปทีเดียวเลย ถ้าได้กรวดน้ำเมื่อไหร่สุขใจทันที
    แม่ชีใส่บาตรมาตั้งแต่เด็ก ไม่เคยได้รับพร
    ตอนนั้นเลย

    พอโตขึ้นมาได้อยู่วัดแล้ว เห็นความศรัทธาของโยม ถ้าพระองค์ไหนไม่ให้พร โยมก็ไม่ใส่
    อยากใส่องค์ที่ให้พร ถามว่าโยมเลือกใส่ผิดไหท ไม่ผิด แต่ไม่ว่าโยมจะทำอะไรนะ ติดขัด
    เพราะว่าพระท่านเดินมาแล้ว แต่โยมไม่ศรัทธา จะใส่องค์โน้น มันก็เลยกลายเป็นว่า เวลาที่เขามีอะไร
    ให้เลือก โยมก็จะได้เลือกเป็นคนสุดท้าย

    ธรรมะโดยแม่ชีทศพร
    จากหนังสือ: เบิกบุญ๒ สมปราถนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...