การนั่งสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย W.168, 1 มกราคม 2019.

  1. W.168

    W.168 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2019
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +5
    แก้ไข อยากได้คำแนะนำในการทำสมาธิ หรือ นั่งสมาธิ ผมกำหนดพุทโธ แต่อยากเข้าถึงมากกว่านี้ อยากสัมผัสได้ และตัวผมยังไม่มีความรู้มากพอ มือใหม่ ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มกราคม 2019
  2. Username-chatreekain

    Username-chatreekain ใต้สรวงสวรรค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2018
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +58
    พุทโธไง พระเจ้าสอนให้เจริญสมาธิด้วยพุทโธ ฤกษ์จะยุบหนอพองหนอก็ได้ไม่มีใครว่า ส่วนตัวผมก็ท่องพุทโธเหมือนกัน
     
  3. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ "จริต"
    ===================================================
    https://th.wikipedia.org/wiki/จริต

    จริต (อ่านว่า จะหริด) จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตชอบท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของจิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มี 6 ประการ หมายถึง ความประพฤติ คือกิริยาอาการที่แสดงออกมาให้เห็น มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า จริย จริยา หรือ จรรยา โดยทั่วไปจะใช้หมายถึงกิริยาอาการที่ไม่ดี เช่น เสียจริต วิกลจริต ดัดจริต จริตจะก้าน แต่ในทางพุทธศาสนา หมายถึง ความประพฤติ, พื้นเพ นิสัย มี 6 อย่างคือ

    1. ราคจริต หนักไปทางรักสวยรักงามคือ พอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะ
    2. โทสจริต หนักไปทางเจ้าอารมณ์มักโกรธ เป็นคนขี้โมโหโทโส พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว ชอบจับผิด จึงมองข้อตลกของคนได้ดี จึงมักเป็นคนที่พูดจาได้ตลกและสนุกสนาน
    3. โมหจริต หนักไปทางเขลา ง่วงซึม ไม่ค่อยชอบคิดมาก และขี้เกียจ
    4. สัทธาจริต หนักไปทางเชื่อถือจริงใจ น้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เกิดปีติเลื่อมใสได้ง่ายเมื่อเจอบุคคลน่านับถือ เชื่อตามที่บอกต่อกันมา ขาดการพิจารณา
    5. พุทธิจริตหรือญาณจริต หนักไปทางใช้ปัญญา เจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ การคิดการอ่าน ความทรงจำดี ชอบสั่งสอนคนอื่น
    6. วิตกจริต หนักไปทางชอบคิดมาก ถ้าขี้ขลาดจะวิตก กังวล ฟุ้งซ่านชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ไม่กล้าตัดสินใจ คิดอย่างไม่มีเหตุผล เกินจริง

    โดยแยกเป็นสองกลุ่ม คือ ตัณหาจริต และ ทิฏฐิจริต ราคจริต โทสจริต โมหจริต จัดเป็นตัณหาจริต สัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต จัดเป็นทิฏฐิจริต
    ===================================================
    +++ หากคำว่า "จริต" ของคุณ "ไม่ได้อยู่ในแวดวง ตามที่พระพุทธองค์ ได้ทรงกล่าวไว้" แล้ว
    +++ ก็น่าจะเป็นคำถาม "นอกวง พระพุทธศาสนา" ก็ควรระวัง "พวกนอกศาสนา" จะมาให้คำตอบคุณ ก็แล้วกัน

    +++ ผมอ่านตามที่คุณ "โพสท์ถาม" มา ก็พอสรุปได้ว่า

    +++ 1. ต้องการ "ทราบจริต ในการปฏิบัติ" สมถะสมาบัติ ว่า "จะทำแบบใด"
    +++ 2. ไม่ต้องการ "สติ/สัมปชัญญะ" คือ นั่งแล้วต้องการ "ไม่รู้เรื่อง + ไม่รู้สึก"
    +++ 3. ทำแบบอาการ "เพ่ง" จี๊ดหน้าผาก มาแล้ว
    ===================================================
    +++ จากที่กล่าวมา "จริตของคุณ ตรงกับข้อที่ 3 คือ "โมหะจริต""
    +++ จากการที่เข้ามาถาม "ต้องการแนวทาง" ก็จะมีข้อที่ 4 เจือปนด้วย คือ "สัทธาจริต"

    +++ หากมีผู้ที่ "สติไม่สมประกอบ" เข้ามาให้คำคอบคุณ
    +++ โดยระบุว่า "คุณเป็นจริต "กขค" เพราะชาติก่อนเคยเป็น "จฉช" แล้วละก็
    +++ โอกาสที่คุณจะคล้อยตาม "บุคคลวิปลาส" จะมีอยู่สูงมาก
    +++ และ "หายนะ" ย่อมมาสู่คุณ อย่างง่ายดาย หลีกเลี่ยงไม่ได้ (ในเวปนี้มีอยู่ ให้ระวัง)
    ===================================================
    +++ ในส่วนของ "คำตอบ"

    +++ 1. "จริต" ของคุณ ตอบไปแล้วว่าเป็น "โมหะจริต"
    +++ และคุณต้องการ "การเดินจิต แบบ ไร้สติ"
    +++ ตรงนี้ยิ่ง "ชัดเจนกว่าเดิมว่า" "คุณต้องการ "โมหะ" ชนิด เต็มบริบูรณ์"

    +++ 2. คุณแสวงหาแนวทางกำหนดจิต "แบบไร้สติ"
    +++ จากคำระบุชี้ของคุณว่า "อยากได้แนวทางในการกำหนดจิต นั่งแล้วไม่รู้สึกอะไร"

    +++ ตรงนี้ ระบุชัดเจนว่า "คุณ ไม่ปรารถนา ในแนวทางของ พระพุทธศาสนา"
    +++ คุณปรารถนาในแนวทางของ "ไสยศาสตร์" และปรารถนาในแนวทางของการ "ไม่รู้สึกตัว"
    ===================================================
    +++ คำถามจาก "การระบุอาการของคุณ" ก็จะเป็นแบบที่ ผมชี้มา ในโพสท์นี้
    +++ ยกเว้นว่า "คุณใช้การสื่อภาษา ที่ไม่ตรงประเด็น ที่อยู่ในใจของคุณ"

    +++ ก็ค่อย ๆ "เรียบเรียงคำถาม มาใหม่" ให้ตรงกับ "ประเด็นในใจของคุณ" เสียก่อน
    +++ คำถามแรกแห่งปี 2562 ที่ผมมาเจอของคุณนี้ "น่าจะทำให้ การตั้งสติให้รอบคอบ ก่อนถาม" พัฒนาขึ้นโดยรวม

    +++ แต่ถ้า "คำถามของคุณ เรียบเรียงมาได้แบบ ตรงอาการ" แล้วละก็
    +++ คุณเลือกหนทางแห่ง "ไสยศาสตร์ บนหนทางแห่ง ความดำมืด" แน่นอน นะครับ
     
  4. W.168

    W.168 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2019
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +5

    ผมตั้งคำถามไม่ตรงตามที่ในใจต้องการจริงๆ ขอบคุณมากครับพี่
    แต่อาการที่รู้สึกแถวหน้าผากนั้น จะเป็นตอนนั่งสมาธิ แต่บางครั้งนอนอยู่แต่ก็รู้สึกแถวหน้าผาก
    นั่งสมาธิของผม กำหนด พุทโธ ผมมือใหม่ที่เริ่มสนใจด้านนี้ ท้ายนี้ ผมควรปรับแก้ไข ยังไงได้บ้างให้เข้าสู่ทางสว่าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มกราคม 2019
  5. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,430
    ค่าพลัง:
    +35,010

    ขอพูดในอีกมุมนะ
    เอาตามวีถีจิตตอนนี้ที่เด่นสุด จขกท.
    เป็นศรัทธาจริตครับ ดังนั้นจะเชื่ออะไร
    ควรใช้ปัญญาในการไตร่ตรอง
    และควรลงมือปฎิบัติ พิสูจน์ด้วยตนเอง

    คำภาวนาใช้คำอะไรก็ได้ที่ตนเองชอบ
    เพราะตอนนี้คำภาวนาเปรียบเสมือน
    เครื่องมือเขื่อมโยงให้จิตสงบ
    ไม่ต้องไปเน้นอะไรมากตอนนี้

    ส่วนจะฝึกอะไรกรรมฐานอะไรก็ตาม
    ควรเตรียมพื้นฐานการหายใจ
    ระบบอาปาฯให้พร้อม
    รวมทั้งรองรับการเดินปัญญาในอนาคต

    คือหายใจเข้าและออกให้ลึกถึงท้อง
    คือหายใจเข้าท้องพอง
    หายใจออกท้องยุบ
    และทำความรู้สึกรับรู้ว่าลม
    หายใจเข้าและออกหยุดที่ปลายจมูกพอ
    ทำให้ได้จนเป็นระบบหายใจปกติ
    ในชีวิตประจำวัน(ประมาน ๒ เดือนอัพ)
    แทนระบบหายใจ
    ที่หายไปแค่หน้าอกเหมือนปัจจุบันนี้

    ย้ำว่าห้ามตามลมหายใจ
    เพราะจะแป็กที่ปฐมฌาน

    ส่วนกิริยายุบๆยับๆระหว่างคิ้ว
    มันจะเป็นช่วงแรกๆ ถ้ากำลังสมาธิสะสม
    กับการวิปัสสนาตัดร่างกายเราไม่ดีพอ
    มันเรื่องธรรมดาไม่มีอะไร

    ให้แก้ด้วยการโน้มสายตามองลงที่
    ลิ้นปี่เวลานั่งสมาธิ (สังเกตุสายตา
    พระพุทธรูป) มันจะเป็นการตัดระบบ
    ความคิดปรุงร่วม ที่จิตมันไปดึง
    จากสมองเข้ามาอัตโนมัติได้เอง

    ถ้าทำถูก และระบบหายใจถูก
    เราจะรู้สึกว่า เราจะเหลือตาเดียว
    และมองผ่านระหว่างคิ้ว
    ตำแหน่งที่ยุบยิบ อัตโนมัติของมันเอง
    ซึ่งถูกแล้ว แรกๆมันจะมืดๆเรื่องธรรมดา
    ช่องทางนี้และที่จะใช้มอง
    พวกนามธรรมต่างๆ
    ดังนั้นจะชัดไม่ชัด
    จะเห็นไม่เห็นช่างมัน

    และอย่าเอาจิตไปกำหนดที่ต่ำแหน่งนี้นะครับ
    หรือไปสนใจมัน
    ไม่งั้นต่อไปจะปวดแทนและปวดศีรษะ
    เนื่องจากความคิดจากสมองเข้ามาร่วม
    ให้มันเกิดเองตามที่เล่าให้ฟังมา

    เอาพื้นฐานให้ก่อนอย่ารีบร้อน
    แล้วมาเจริญสติให้ต่อเนื่อง
    จนแยกรูปแยกนามได้
    แล้วเดินปัญญาไปก่อนระยะหนึ่ง
    อนาคตจริตจะเปลี่ยนไปทาง
    ปัญญาจริตได้เอง

    ยกเว้นถ้าคุณขาดการฟัง
    แล้วไป บ้าตาม คนที่ คุณ ธรรมชาติเตือน
    แล้วขาดการพิจารณา และอเมริกันลูกทุ่ง
    ตามคนนั้น
    จริตคุณจะเปลี่ยนมาเป็นโมหะจริตได้ครับ

    เพราะทั้งโมหะและปัญญาจริต
    ตัวกะแสจิตคุณมันมีเชื้ออยู่ด้วย
    แต่ไม่ชัดเท่าศรัทธาจริต ณ ปัจจุบันนี้ครับ

    ปล ศรัทธาจริตกับปัญญาจริต
    วิถีพลังงานมันคล้ายกัน
    ต่างที่ความมั่นคง ดังนั้น
    ฐานเริ่มต้นควรดีจะพลิกได้

    ส่วนด้านกรรมฐานพิเศษไม่เด่น
    เชื้อมันอ่อน เอาเสริมที่เน้นส่งเสริม
    ด้านปัญญา ตามแนววิถีจริต
    ในทางที่ดี จะดีกว่า
    ถึงไม่เสียเวลาฝึกเฉยๆครับ

    ฟังหูไว้หู แค่เล่าให้ฟังเฉยๆ ^_^
     
  6. W.168

    W.168 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2019
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +5
    ขอบคุณมากๆครับพี่
     
  7. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ เป็นธรรมดาของคนส่วนมาก
    +++ การ "ตั้งคำถาม ที่ตรงกับความในใจ ที่ต้องการสื่อ" ต้อง "มีสติ" ประคองการถามเสมอ
    +++ ตรงนี้เป็น "การฝึกสติ" ประกอบการดำรงค์ชีพ ในชีวิตประจำวัน มีประโยชน์ ไม่มีโทษ
    +++ เป็นการฝึกในชั้น "วาจากรรม" หากละเอียดมากยิ่งขึ้น ก็จะถึงในชั้น "มโนกรรม" ได้เอง

    +++ การฝึกในแนวทาง "สติประกอบวาจากรรม ให้ถูกต้อง" นี้ เป็นส่วนของ "สัมมัปปธาน 4" ในส่วนของ "ความเพียรชอบ"
    +++ ดังนั้น การตั้ง "สติประกอบวาจากรรม ให้ถูกต้อง" นี้ จึงเป็น "องค์ประกอบ ส่วนหนึ่ง" ในโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ
    +++ แท้จริงแล้ว มันก็อยู่ใน "ชีวิตประจำวัน" นั่นแล...
    +++ นั่นเป็นอาการ "ดู ที่ใด ก็ รู้/รู้สึก ที่นั่น"
    +++ ในยามใดที่ "รู้สึกแถวหน้าผาก" ก็ให้
    +++ ปล่อยให้ "ความรู้สึกที่หน้าผาก มีอยู่ อย่าให้ หายไป"
    +++ จากนั้น ทำใจเย็น ๆ แล้ว "สำเหนียกรู้" ว่าเรากำลัง "ดู" ตรงหน้าผาก หรือไม่
    +++ ตรงนี้ "มีได้ แม้ว่าจะ ไร้เจตนา" ก็ตาม
    +++ การ "ท่อง/บริกรรม (จะยังไม่ใช้คำว่า "กำหนด" ณ ขณะนี้) พุทโธ" ของคุณ
    +++ เป็นการ "ผูก จิต/มโนกรรม" ให้อยู่ในที่ ๆ เดียว ไม่ให้มัน "เพ่นพ่าน" จนกลายเป็น "ฟุ้งซ่าน"
    +++ ตรงนี้เป็นเรื่องของ "สมถะฌานสมาบัติ" ที่เรียกกันว่า "ฝึกสมาธิ" นั่นแหละ จะยกไว้ก่อน นะ

    +++ เพื่อ "ง่าย" ต่อการ "รู้อาการ ของ วจีจิตตะสังขาร (ตัวพูดมาก)"
    +++ ตรงนี้เป็นเรื่องของ "วิปัสสนาญาณทัศนะ" ที่เรียกกันว่า "ฝึกวิปัสสนา" นั่นแหละ

    +++ วิธีทำ ในการ "จับ วจีกรรม" คือ

    +++ 1. บริกรรม/ท่อง "พุทโธ" ของคุณ จะกำกับ/ไม่กำกับ ลมหายใจก็ "แล้วแต่สะดวก"
    +++ 2. ณ ขณะที่ "กำหนด (ตรงนี้ จึงใช้คำว่า กำหนด) พุท + โธ ทีละ พยางค์ (ทีละคำ)"

    +++ 3. ให้สังเกตุ "กำหนดรู้" ณ ขณะที่ "พยางค์ พุท และ พยางค์ โธ" ปรากฏ
    +++ 4. จนกว่าจะ "จับพิรุท" ได้ว่า ณ ขณะที่ "ทุกพยางค์ ปรากฏ" นั้น
    +++ 5. จิต จะมีอาการ "กระพริบ" ปรากฏ "ทับซ้อน อยู่ใน ทุก ๆ พยางค์" นั้น ๆ เสมอ

    +++ 6. อาการ "จิตกระพริบ" ณ ทุกพยางค์ พุทโธ นี้ อาการ จิตกระพริบ เรียกว่า "กิริยาจิต"

    +++ 7. จากนั้น ไม่ว่าจะ "พูด/ท่อง" อะไรก็ตาม ก็จะ "รู้" ได้เองว่า "กิริยาจิต ในส่วนของ วจีกรรม" นี้ มีอยู่ตลอดเวลา
    +++ 8. ให้ "รู้ที่ การกระพริบ แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น" ไม่ว่า "มันจะพูดอะไรก็ตาม"
    +++ 9. จนกว่า "มันจะ แยกตัวกระพริบ ออกไปข้างนอก" จากนั้นมันจะ "เข้าถึงชั้น มโนกรรม" ได้เอง

    +++ ตรงนี้แล... คือ "คุณสมบัติ" ในการใช้ "การกำหนด พุทโธ" อย่างได้ผลในชั้น "วิปัสสนาญาณทัศนะ"
    +++ หากทำได้ดี "ละเอียด/ประณีต" ก็จะสามารถ "พ้นกรรม ในชั้น มโนกรรม" ได้เอง นะครับ

    +++ คงสังเกตุได้ไม่ยาก แล้วนะว่า "หากคำถามตรง ก็ย่อมได้คำตอบตรง" นะครับ
     
  8. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ OK แก้ไขคำถามแล้ว ก็น่าจะได้คำตอบ ตรงตามที่สมควรแก่การปฏิบัติ
    +++ ให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปในธรรม นะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...