ขอวิธีแก้นั่งสมาธิแล้วหลับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วัฏจจักรสงสาร, 30 มีนาคม 2008.

  1. วัฏจจักรสงสาร

    วัฏจจักรสงสาร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +67
    ผมนั่งฝึกสมาธิมาได้เกือบ1 ปีแล้วครับแบบเอาจริงเอาจัง นั่งแบบมั่วไปเรื่อย ศึกษาจากการอ่านเวปบ้าง มีอาการแปลก ๆ ก็เลยไม่รู้จะทำอย่างไรดี จึงได้โพสถามนะครับ แต่ละกระทู้ตอบมาไม่เหมือนกันแตกต่างแล้วแต่สาย ผมก็เลยไม่รุ้จะทำอย่างไร งง หนักไปใหญ่ แต่ตอนนี้มีปัญหาขอถามเลยนะครับ
    ๑. สวดมนต์แล้วขนลุก ไม่อยากเลิกสวดครับและนั่งไปเลยๆ
    ๒. นั่งสมาธิ หลับตาทีไร นึกเห็นจุดสีขาวไม่ชัดที่ขอบตาทุกที
    ๓. นั่งสมาธิแล้วหลับทุกครั้ง(มีคนสอนว่าให้ละทุกอย่างไมคิดไม่ตั้งมั่น ปล่อยวาง ทุกสิ่ง) ผลก็คือสับประหงกเลยครับ
    ผมขอเรียนขอรบกวนทุกท่านด้วย พอมีวิธีก้บ้างไหมครับ ขอบคุณครับ.
     
  2. GROLY

    GROLY เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    2,019
    ค่าพลัง:
    +8,001
    ผมฝึกจริงจังได้ประมาณ4-5เดือน อาการที่คุณเป็นผม ก็เคยเหมือนกัน
    นั่งสมาธิ หลับตาทีไร นึกเห็นจุดสีขาวไม่ชัดที่ขอบตาทุกที
    ของผมจะหายไปเอง แค่อย่าไปใส่ใจเฉยๆ เวลาผมเห็นอะไรสติจะดึงกลับมาที่ลมหายใจเอง
    นั่งสมาธิแล้วหลับทุกครั้ง(มีคนสอนว่าให้ละทุกอย่างไมคิดไม่ตั้งมั่น ปล่อยวาง ทุกสิ่ง) ผลก็คือสับประหงกเลยครับ
    ปัญหาการหลับของผมจะเกิดจากร่างกายที่ไม่พร้อม ร่างกายล้าเกินไป จึงทำให้สติวูบหลับไปเลย ถ้าร่างกายผมไม่ไหวทำได้แค่ไหนก็แค่นั้นครับ ไม่ฝืน
    แต่ระหว่างวันผมจะพยายามกำหนดรู้ลมหายใจ จะทำให้กลางคืนผมรวมสมาธิได้ง่ายขึ้น
    ไม่รู้ว่าจะเป็นประโยชน์หรือเปล่าครับ ขอให้ก้าวหน้าขึ้นนะครับ
     
  3. นาๆจิตตัง

    นาๆจิตตัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    220
    ค่าพลัง:
    +412
    ๑. เป็นอาการของปิติ ก็ดีครับ..(บางคนอยากจะมีหรืออยากจะให้เกิด.....แต่กลับไม่มี.....นานาจิตตัง)....ก็ไม่ต้องเลิกสวด....
    สวดมนต์แล้วก็ทำสมาธิไปด้วยก็ได้ หรือนั่งสมาธิไปเลย...ขึ้นอยู่ที่เราจะประยุกต์ ปรับ (ปฏิเวธ) เป็นของตนเอง คือ...
    การปฏิบัติธรรมะเจริญพระพรรมฐานนั้น ก็ต้องมีให้ครบทั้ง ปฏิยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เป็นของเฉพาะตัวเฉพาะตนของใครของมัน
    (เป็นปัจจัตตัง) ทุกสาย ทุกแนวทางใช้เหมือนกันหมด (ปฏิยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ) เช่น เมื่อขณะสวดมนต์ก็ให้เสียงเปล่งออกมา
    จากกลางท้อง กลางหน้าอกหรือฐานที่ตั้งที่ใช้ภาวนาก็ได้.....ออกมาจากจิตจากใจเลย ไม่ใช่แค่ออกมาจากช่องปาก...ลำคอ
    หรือใช้กระแสจิตกระแสใจแผ่ออกไปพร้อมกันกับเสียงสวดนั้นก็ได้ หรือใช้หูแนบชิดแตะติดกับเสียง ที่เปล่งออกมา
    กันจิตฟุ้งซ่านไปทางอื่นก็ได้อีกเช่นกัน......อย่างนี้เป็นต้น กุศโลบายแนวทางต่างๆ นั้นก็ขึ้นอยู่กับตัวของเราเหมือนกัน

    ๒. นั่งสมาธิแล้วหลับตาทีไร นึกเห็นจุดสีขาวไม่ชัดที่ขอบตาทุกที ก็อยู่ที่ว่าบัดนี้ท่านทำอะไรอยู่ (ต้องมีสติ สัมปชัญญะ)
    ฝึกกรรมฐานอะไร เช่น ฝึกอาณาปานุสสติกรรมฐาน ..กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก..ไม่ได้ฝึกเพ่ง ตรึก นึก ระลึกถึงนิมิตอะไร
    แล้วไยต้องไปสนใจในจุดสีขาวนั้น เรื่องอื่นก็เช่นกัน...นอกเหนือจากกรรมฐานที่ใช้ฝึกแล้ว ทุกสิ่งเป็นโทษเป็นพิษเป็นภัย
    ขวางทางเจริญก้าวหน้าของเราทั้งสิ้น แม้กระกระทั้งท่านจะฝึกกสิณต่างๆ ก็ดีถ้าไม่ใช่ภาพกสิณที่ท่านใช้ฝึก นิมิตภาพต่างๆ
    ที่ปรากฏถึงแม้จะชัดเจนกว่าก็ตามต้องตัดออกไปหรือวางเฉยไม่สนใจเสีย ถ้าไปสนใจหรือเกี่ยวข้องด้วย...ผลคือท่านจะไม่ได้อะไร..
    จิตส่งออกนอกไหลออกไปกับสิ่งนั้นเสีย ดีไม่ดีปรุงแต่งเสียไปเป็นคุ้งเป็นแควเลยทีเดียว เผื่อรู้ตัว (อาจจะไม่รู้ตัว.....ก็ได้)
    สายบัวรอเก้อหรือจะไปตลาด เขาวายแล้ว(คนขายเก็บของกลับบ้าน) ถ้าเป็นไข่ก็อาจจะฟักเป็นตัวออกลูกออกหลานไปเลย
    จิตแลใจที่ฝึกฝนนั้น ก็เพื่อเอกัคคตา....นอกเสียจากท่านจะพลิกกลับไปสู่ภูมิของวิปัสสนา แต่ถ้าสติ สัมปชัญญะหรือกำลัง
    สมาธิของท่านไม่พอก็เป็นวิปัสสนึกได้ เช่นกัน.......บางทีหลงอยู่ในวิปัสสนึกนั้นเข้าไปอีก
    ก็พอสรุปว่า....ขึ้นอยู่กับท่านจะเอาอย่างไหน อย่างไร.......เรื่องบางเรื่องต้องตัดสินใจหรือพิจารณาเอาเอง ให้แน่นอนลงไป
    สำคัญแต่ว่าอย่าเผอญไปเอาโน้นเอานี้..หรือลังเล (บางทีวัยรุ่นใจร้อน......) นิวรณ์ จะแทรกเข้ามาได้ ผลในการปฏิบัติก็จะ
    ไม่บังเกิดขึ้นแก่เราหรือเกิดขึ้นได้ไม่เท่าที่ควร

    ๓. นั่งสมาธิแล้วหลับ วิธีแก้ก็ไม่ยากครับ...ก็อย่าไปหลับ...ซิครับ ฟังแล้วอาจจะรู้สึก ยียวนกวนประสาทไปได้เหมือนกัน
    อันที่จริงก็เป็นแบบนั้นจริงๆ ก็ต้องพยายามรู้ตัวเอง จัดสรรเวลาเอาเอง เพราะการทำสมาธิ เจริญภาวนานั้น ไม่จำเป็น
    ต้องเวลาโน้น เวลานี้ ขณะโน้น นี้ ทำได้ทุกเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน ลืมตาหลับตาก็ได้ ถ้าง่วงอาจลุกขึ้นเดิน เปลี่ยนอิริยาบท
    มาเป็นเดินจงกรมแทน ไปล้างหน้าล้างตา หนักนักทนไม่ไหวก็ไปหลับพักผ่อนเสีย พรุ่งนี้เอาใหม่อย่างนี้เป็นต้น แต่ต้องสังเกต
    และบังคับตนเองบ้างนะ ไม่เช่นนั้นแล้วเราอาจตกเป็นทาสของกิเลสไปโดยไม่รู้ตัว....นอกจากที่จะต่อสู้ยืนหยัดเพื่อมุ่งหวังหรือ
    มุ่งย้ำโดยเฉพาะเจาะจง อันนี้ก็ต้อง....เปลี่ยนแนวทางเป็นอีกวิธีหนึ่ง เช่นการอด ผ่อนอาหาร (พระป่า ฯ ฉันมื้อเดียวหรืออด ผ่อน
    อาหารก็เพราะเรื่องนี้ อยู่เหมือนกัน) เป็นต้น ในตำราตำราก็กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้พอสมควร...(พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงสั่งสอน
    พระสาวกในเรื่องนี้เหมือนกัน ลองค้นหาอ่านดู......ได้ประโยชน์หลายสถาน !!!) ซึ่งถ้านั่งสมาธิเจริญภาวนาแล้วง่วงหรือ
    สติเผอญลองใช้วิธีนี้ดูก็อาจจะพอช่วยได้บ้าง...พอรู้สึกง่วงหรือจะหลับ หรือสับประงกไปแล้ว...ให้ลืมตาขึ้นซะพัก พอสติ
    กลับคืนมา ให้หลับตาเจริญสมาธิภาวนาใหม่ ถ้ายังเป็นยังง่วงอีก ก็ใช้วิธีเดิม....ๆ ถ้าหนักมากคือไม่ไหวแล้วก็ไม่ต้องฝืน
    เพราะจะเป็นผลร้ายมากกว่าผลดี ต้องวิเคราะห์หาสาเหตุนั้นๆให้เจอ.....เมื่อปฏิบัติใหม่อีก ลองสังเกตผลดูแล้วค่อยๆปรับไป
    อีกวิธี...ต้องเจริญ สติปัฏฐานสี่ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ให้มากๆ เข้าไว้หรือพยายามทรงไว้ให้ได้ทุกขณะทุกเมื่อ
    แผ่ออกไปทั่วตัว เมื่อเรามานั่งสมาธิเจริญภาวนา ทั้งการเข้าสมาธิลึกก็จะช่วยให้ สติ สัมปชัญญะ แข็งแกร่ง ภาวนาได้ดี
    ไม่ง่วง เหงา หาวนอน ได้ผลดีมาก ทั้งพิจารณาธรรมต่างๆ ก็ปลอดโปร่ง โล่ง เบา สบายๆ แจ่มใส
     
  4. ดาราจักร

    ดาราจักร ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,707
    ค่าพลัง:
    +10,094
    ของกระผมอาจจะไม่ใช่วิธีแก้ไขอ่ะครับ เป็นแต่ทำความเข้าใจนะ

    ให้เรา รู้ สภาวะต่างๆในการปฏิบัติครับ

    การปฏิบัตินั้น เราต้องเริ่มจากกายก่อน คือห้ามกาย แม้ใจยังอยากจะทำ

    อย่างแรก เราต้องมี ศีล ที่บริสุทธิ์ จะเป็นกี่ข้อก็แล้วแต่ครับ อย่างน้อยๆก็ 5 ข้อ

    อย่างที่สอง เราต้องมี จาคะ อย่างง่ายๆเลย คือทำบุญทำทาน ครั้นพอเรา

    ปฏิบัติไปเรื่อยๆมีภูมิปัญญามากขึ้น เรานำภูมิปัญญานั้นมาใช้ อย่างเช่น

    ผู้อื่นทำผิดกับเรา เรามีภูมิปัญญาสามารถละ ความถือโกรธ และให้โอกาส

    คนๆนั้น อันนี้ คือ การให้อภัย จากนั้นเราก็นำ ความรู้ และ ผลการปฏิบัติ

    สองอย่างนี้มา แบ่งปัน ให้ผู้อื่นครับ นั้นคือ ธรรมทาน ไงครับ

    มาถึงประการสุดท้าย คือ สัมมาสมาธิ ครับ

    ที่จริงแล้วถ้าเราปฏิบัติข้างต้น 2 ประการนั้น ย่อมพอมีภูมิปัญญาอยู่ครับ

    เราก็ปฏิบัติ ไปเรื่อยๆ ไม่ต้องเร่งร้อน แต่ตั้งใจครับ อย่าง อิทธิบาท 4 ครับ

    กระผมไม่อยาก เจาะจง คำแนะนำให้ไป เพราะผมรู้ว่า ทุกคน มีความรู้

    และความเพียร อยู่ในดวงจิตอยู่แล้ว เพียงเราต้องอาศัยทางเดิน หรือ มรรค

    ซึ่งเป็นเส้นทางที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านได้วางไว้ให้เราเดิน

    ไปสู้จุดหมาย ได้ง่าย และ ระยะสั้นที่สุดแล้วครับ ท่านตรัสไว้ดีแล้วครับ

    ยกตัวอย่างการแก้ไข แต่ไม่ต้องเชื่อตามนะครับ

    1 อย่างเราสวดมนต์ แล้วขนลุก

    เรากลัวอะไร รึเปล่า, เราเกิดปิติรึเปล่า, มีกายทิพย์ส่งอิทธิพลอะไรรึเปล่า

    เราจะเป็นร่างทรงไหมเนี่ย ใครมาขอส่วนบุญเรา และอื่นๆ คิดไปเรื่อยเปื่อยนะ

    อาจเป็นจริงก็ได้เอาเป็นว่าผมไม่รู้ล่ะ สมมุติว่าเราพึ่งปฏิบัตินี่นา

    กลับมาคิดใหม่นะ เราสวดมนต์ เราต้องการอะไรครับ ก็เป็นเรื่องของแต่ละคน

    แต่ว่ามีอย่างนึงที่ทุกคนต้องมีคือ พุทธานุสติ ธรรมานุสติ และสังฆานุสิต

    ถึงพร้อมซึ่งพระรัตนตรัยในบทสวดอยู่แล้ว ถ้าเราศรัทธา ถ้าเราเชื่อมั่น

    เราจะไปกลัวอะไร อะไรจะเกิดมันก็เกิด เราห้ามไม่ได้ครับ

    เรื่องของทุกข์กรรม ก็อีกอย่าง เราห้ามไม่ได้ ยังไงก็มี แต่ถ้าเรา

    ยังอานิสงให้เกิดจากการทำอะไรซักอย่างได้ ก็จะส่งผลช้า หรือน้อยลง

    งั้นเราลอง สวดมนต์ต่อไป ซิครับ แล้วดูให้มันจบไปว่า ขนลุก แล้วเป็นไง

    เราก็จะเกิดภูมิปัญญา ในเบื้องปลายของอาการขนลุก นั้นหละครับ

    2 เรื่องของ การเห็นจุดสีขาว

    คิดเหมือนกันครับ ชาติก่อนเราได้กสิณมารึเปล่า เรากำลังจะมีตาทิพย์

    เรามีองค์รึเปล่า เราจะเห็นอะไรไหม คิดไปเรื่อยๆเปื่อย อีกแล้วครับ

    จริงๆแล้ว อาจเป็นจริงก็ได้ ผมไม่รู้ครับ สมมุติว่าผมพึ่งปฏิบัติใหม่ๆ

    ก็ทำเหมือนกัน นิมิต จุดสีขาว เราก็ก็ตามดูไปเรื่อยๆ ก็ได้ ถ้าอยากรู้

    ในเบื้องปลายของนิมิตนั้น เป็นอย่างไร มีผลอย่างไร หรือ ไม่มีอะไรเลย

    เราควรตามไปดู ด้วยตัวเองถ้าอยากรู้ ไปดูด้วยสติ

    ถ้ารู้แล้ว ก็กลับมา ภาวนา ตาม อารมณ์ ของกรรมฐานเดิมน่ะครับ

    3 ง่วง แล้ว หลับ

    ก็นอนหลับให้เพียงพอ ทานอาหารให้พอสมควร ออกกำลังกายสมำเสมอ

    ถ้าง่วงก็นอนไปครับ นอนพอแล้ว ค่อยมา ทำสมาธิภาวนาใหม่

    เวลาเราดู ทีวี เรานั่งดูได้เป็น ชม. เราเอาอารมณ์ไหนทำได้หละครับ

    ไม่ต้องซีเรียสครับ ถ้าปฏิบัติสม่ำเสมอประจำจน ชิน ก็เป็น ฌานได้

    วินัยที่เกิดขึ้นเหล่านี้ จะทำให้เราเป็น ผู้ใหญ่มากขึ้น

    แล้วร่างกายของเรา จะค่อยๆปรับตัว ไปตามวินัยที่เราสร้างขึ้นครับ

    ไม่ต้องเชื่อนะครับ แค่ยกตัวอย่าง ขอให้ไปหาแนวทางตามภูมิปัญญาของตน

    ภายในแนวทางขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เพียงพอแล้วครับ

    ขออนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2008
  5. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    888
    ค่าพลัง:
    +1,937
    ๑. สวดมนต์แล้วขนลุก ไม่อยากเลิกสวดครับและนั่งไปเลยๆ
    เป็นอาการของสมาธิ เราก็อย่าไปยินดี ยินร้ายกับมัน เราสวดมนต์ก็อยู่กับปัจจุบันคือการสวดมนต์ไม่ใช่ไปอยู่กับการสงสัยหรือคิดฟุ้งซ่านเกี่ยวกับมัน

    ๒. นั่งสมาธิ หลับตาทีไร นึกเห็นจุดสีขาวไม่ชัดที่ขอบตาทุกที
    ถ้าในเปลือกตาคุณมีบาดเผลหรือร่องรอยขรุขระอะไรบางอย่าง นั่งหลับตาก็สามารถเห็นได้ แต่ถ้านั่งหลับตาธรรมดาแล้วมันไม่มี แต่พอเราทำสมาธิทีไรแล้วมันมาทุกที อันนี้ถือเป็นนิมิตหรือเพ่งเกินไปแล้วไม่รุ้ตัว ล่อหลอกใจเราไปสนใจก็จะหลุดจากสมาธิที่ทำ


    ๓. นั่งสมาธิแล้วหลับทุกครั้ง(มีคนสอนว่าให้ละทุกอย่างไมคิดไม่ตั้งมั่น ปล่อยวาง ทุกสิ่ง) ผลก็คือสับประหงกเลยครับ
    กำลังสติไม่เพียงพอ เพราะก่อนการง่วงเกิดขึ้น มันจะมีอาการ "ซึม"เกิดขึ้นก่อน แต่เรารู้มันไม่ทันอาการซึมตอนที่มันเกิดขึ้นมา มันก็จะขยายต่อไปเป็นอาการ"ง่วง" ซึ่งถ้าเกืดอาการง่วงแล้ว สลัดความง่วงหลุดยากแล้ว เพราะจิตมันไหลไปสู่ความอยากสบาย มันก็หลับในที่สุด ถือว่าถูกโมหะครอบงำ นั่งแบบนี้ไปบ่อยๆนิสัยเสียครับ

    แนะนำให้แบ่งเวลาไว้เดินก่อนก็ได้ครับ เช่นปกตินั่ง 1 ชม ให้เอา 30 นาทีแรกเดินเล่นแบบสบายๆ เดินไป เดินมา ถ้าจิตมันหลงไปคิดเรื่องอะไรนอกจากการเดินก็ให้รู้ แล้วกลับมาอยุ่กับการเดิน มันจะหลงไปคิดเรื่องอื่นๆอีกร้อยแปดพันเก้า ก็ให้รู้แล้วกลับมาอยู่กับการเดิน เพราะการภาวนาจริงๆเราไมได้เอาอะไร แค่รู้ว่ามีความคิดมาครอบงำ จิตก็จะหลุกจากการครอบงำชั่วคราว เราทำได้แค่นี่ก็ทำไปสบายๆ

    พอเดินเสร็จแล้วมานั่ง จิตมันจะมีกำลังสติมากกว่าเดิม ให้ลองอุบายนั่งแล้วรู้สึกถึง"อาการหลังตรงแบบสบายๆ"ก็ได้ครับ รู้สึกถึงความหลังตรงแบบสบายๆไปเรื่อย พอจิตมันไปเผลอคิดเรือ่งอื่น นอกจากอาการรู้หลังตรงแบบสบายๆ ก็ให้รู้ตัวแล้วกลับมารุ้สึกอาการหลังตรงนั้นๆ ถ้าทำตามนี้ไปเรื่อยๆ การภาวน่ของคุณจะได้อานิสงส์มากคือจะได้ทั้งสติและสมาธิควบกันมาทั้งคู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2008
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ขอตอบแนวสติปัฏฐานนะ

    ๑. สวดมนต์แล้วขนลุก ไม่อยากเลิกสวดครับและนั่งไปเลยๆ
    จิตเป็นสมาธิแล้ว เวลาที่สวดก็ให้ฟังเสียงที่เราสวดจากในกายด้วย จิตจะยิ่งตั่งมั่น สังเกตุไหมหลังสวดจะรู้สุข ตึงๆ อิ่มๆ ตอนนั้นจิตเป็นปิตินะ ส่วนภาวะขนลุกก็ไม่ต้องไปยึดนะ

    ๒. นั่งสมาธิ หลับตาทีไร นึกเห็นจุดสีขาวไม่ชัดที่ขอบตาทุกที
    เมื่อจ้องไปที่จุดขาวกลับหาย ครั้นไม่สนใจ กลับเห็นขึ้นมาใหม่
    ตำแหน่งจุดขาวก้ไม่แน่นนอน บางครั้งเกิดใต้ตา บางครั้งเกิดระยะสายตา ใช่มั๊ย
    ก็ไม่ต้องไปสนใจอะไร มันเป็นเรื่องธรรมดา


    ๓. นั่งสมาธิแล้วหลับทุกครั้ง(มีคนสอนว่าให้ละทุกอย่างไมคิดไม่ตั้งมั่น ปล่อยวาง ทุกสิ่ง) ผลก็คือสับประหงกเลยครับ
    ถูกแล้วครับ ปล่อยไปเลย

    การง่วงหงาวหาวนอน เป็นหนึ่งในนิวรณ์ 5 เป็นตัวขวางกันธรรม
    ก็ให้เป็นเพียงผู้ดู อาการสับหงก ง่วงก็รู้ ว่า ง่วงหนอ ง่วงหนอ
    สำคัญ คือ มีสติ สัมปชัญญะ ระลึกรู้ไปทั่วร่างกาย ให้ตาในตื่นตลอดเวลา
    ถ้าวูบ ก็ให้รู้ว่าวูบ ( ของดีอยู่ตรงนี้ )

    อาจใช้กุศโลบาย โดย ตั้งเวลานั่งสมาธิซัก 30 นาที
    แล้วจึงเพียรนั่งให้ครบเวลา

    ถ้าแนวสมถะ ก้กำหนดให้เกิดแสงสว่างไปทั่วกาย หรือสว่างทั่วตาในก็ได้
    ไม่ดีขึ้นก็ลองเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นเดินจงกรมบ้างก็ได้
    ไม่ดีขึ้นอีก ก็ ไปล้างหน้าล้างตา แล้วกลับมาปฎิบัติใหม่
    ไม่ดีขึ้นอีก ก็ให้ไปนอนเสีย โดยกำหนดว่า นอนหนอ นอนหนอ จนหลับไป..

    ในการปฏิบัติธรรม พึงอย่าไปกินกาแฟ หรือยากล่อมประสาทนะ

    ^-^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 มีนาคม 2008
  7. Karz

    Karz Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +96
    ข้อ ๑. ๒. เป็นอาการปกติที่จิตเริ่มเป็นสมาธิครับ

    ข้อ ๓. ให้ใช้หลักนี้ครับ "หัวใจกรรมฐาน" คือ อาตาปิ สติมา สัมปชาโน หมายถึง ให้ "มีความเพียร", "มีสติ" และ "มีสัมปชัญญะ"

    ส่วนมากคนนั่งสมาธิจะมีความเพียรกับมีสติอยู่แล้วครับ แต่คนที่หลับนั้นแสดงว่าอ่อนสัมปชัญญะ สาเหตุก็เพราะปล่อยวางมากจนเกินไป (ต้องกลางๆครับ มัชฌิมา) ผมจะไม่บอกว่าสัมปชัญญะคืออะไรครับ แต่ถ้าคุณรู้หรือค้นพบแล้วว่าคืออะไร คุณจะไม่หลับครับ

    ขอให้มีความเพียรอย่างต่อเนื่องครับ
     
  8. วัฐจักรชีวิต

    วัฐจักรชีวิต สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +2
    หมูน้อย

    ผมก็เป็นนะ แต่ผมจะสวดเป็นอีกภาษาแล้วก็ทำสมาธิ สวดได้สักพักก็หยุดและเข้าสมาธิ การเข้าสมาธิของผมไม่มีกฏเกณฑ์ บางครั้งก็ภาวนา บางครั้งก็ดูลมหายใจ บางครั้งก็ดับไปเลยโดยไม่ต้องทำอะไร บางครั้งก็ตัวชา บางครั้งก็มีภาพมาให้เห็น บางครั้งก็จะเห็นเป็นดวงกลมๆสีม่วง ได้แต่คิดว่าเห็นหนอ เห็นแล้ว รู้แล้ว ส่วนบางครั้งก็ไม่รุ้สึกง่วงแต่มันก็เหมือนหลับ แต่มันก็ไม่หลับ เวลาที่นั่งจนเสร็จเมื่อลืมตาขึ้น จะรู้สึกว่าช่วงเวลาที่นั่งมันหายไปไหนก็ไม่รู้ ไม่ได้มีองค์อะไรมาเข้าทรง แต่ถ้าไปที่ต่างๆ ถ้านั่งก็จะเห็นเหตุการณ์ในที่ๆนั่งในอดีต
    มันคืออะไรครับ เพราะไม่ค่อยจะเชื่อสิ่งที่เห้นเพราะนิมิตที่เห็นเห็นจริงแต่จริงหรือไม่จริงไม่รู้ไม่อยากไปหลงกับมัน มีใครช่วยแนะนำหน่อยสิครับว่าผมต้องทำไง
     
  9. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    888
    ค่าพลัง:
    +1,937
    แปลแบบภาษาเข้าใจว่างๆ คือ "มีสติและความรู้สีกตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเครื่องแผดเผากิเลส"

    ปกติ ไม่ว่าอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ถ้าเราเข้าไปรู้เข้าเห็น มันก็จะดับลง แต่ถ้าเราไม่สามารถรู้มันได้ มันก็จะลามขยายใหญ่ขึ้น ตัวที่เวลามีอารมณ์อะไรต่างๆเกิดขึ้นแล้วเราสามารถเข้าไปรู้ ไปเห็นมันได้ ตัวนี้เรียกว่า "สติ"

    ส่วนเมื่อมีสติมากขึ้นและตามรู้ตามดูต่อเนื่องขึ้นเรื่อยๆ จะสามารถรู้เท่าทันได้ ตรงนี้จะสามารถเห็นการ"เกิด-ดับ"ของจิตได้ เรียกว่ามีปัญญาเห็นไตรลักษณ์
    จะเห็นในมุมของ ความไม่เที่ยง ความทดอยู่ไมได้ หรือไม่ใช่ของเรา ตรงนี้แล้วแต่จิต เราเลือกไมได้เช่นกัน ตรงนี้ถือเป็นปัญญาหรือสัมปชัญญะ

    เมื่อทำได้แบบนี้ก็จะเข้ากับพุทธพจน์ที่ว่า อาตาปิ สติมา สัมปชาโน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2008
  10. วัฏจจักรสงสาร

    วัฏจจักรสงสาร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +67
    ขอบคุณทุกท่านครับ เป็นประโยชน์กลับผมมากเลย ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ
     
  11. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +39,008
    ท่านรู้ไหมว่า ใครขนลุก ใครเห็นจุดขาว ใครหลับ
    ลองปฏิบัติตามที่มีผู้แนะนำ แล้ววันหนึ่งท่านจะรู้
    ขออนุโมทนาด้วยครับ
     
  12. sarantip

    sarantip Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2008
    โพสต์:
    101
    ค่าพลัง:
    +88
    เราก็มีหลับเหมือนกันแต่จิตก็ยังภาวนาอยู่สลับไปมา
    พอเรารู้ว่าไม่ขึ้นฌานเราก็ออกดีกว่าแล้ววันหลังค่อยทำใหม่
    อย่าท้อนะถ้าวันนี้หลับพรุ่งนี้เอาใหม่ก็ได้
     
  13. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    ๑.เปลี่ยนเวลานั่งสมาธิใหม่ มิใช่นั่งสมธิตอนดึก ๆ ก่อนนอน
    ๒.กำหนดจิตให้ ตื่นตัว อยู่ตลอด ทุกลมหายใจ เข้า-ออก
    ๓.ระลึกรู้ทุกคำบริกรรม จดจ่อ- รู้ ที่คำบริกรรม หรือทุกคำที่สวด ด้วย จิตที่สบาย (จำเป็นมาก ๆ )
    ๔.ประคองอารมณ์ให้สบาย ๆ ต่อเนื่องไปด้วย อย่าเร่ง ใจเร็วด่วนอยากได้ มันจะเครียดแล้วเป็นโรคประสาท หรือจิตวิปลาส
    อาการมันจะค่อย ๆ สะสมไปเรื่อย ๆ เราไม่รู้ตัว ถ้าเริ่มเครียด

    นอกเวลานั่งสมาธิ เช่น เวลาทำกิจใด ๆ แล้วไม่ทันใจ มันจะขัดใจ นั่นแหละอาการเริ่มเครียด วิธีแก้ ให้เลิกนั่งสมาธิ จนกว่าจะสบายไม่มีอาการเครียด หรือ ผ่อนคลายด้วยสมาธิให้สบาย ๆ

    ไปเรื่อย ๆ หรือ คอยสังเกตดูจิตใจของเราถ้าเครียดเมื่อไร เราก็ปรับใจให้มันสบาย ๆ จนกว่าจะมีอาการเหมือนปกติ.
     
  14. Prathuang

    Prathuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2008
    โพสต์:
    658
    ค่าพลัง:
    +178
    ขออนุโมทนสครับ
     
  15. ออกกำลังจิต

    ออกกำลังจิต สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +4
    ง่วงนอน ถ้าไม่ใช่จิตตกภวังค์ <O:p
    ไม่ใช่ง่วงตอนหลับตา พอลืมตาแล้วไม่ง่วง<O:p
    แต่เป็นง่วงจริง คือ ลืมตาก็ยังง่วง <O:p
    ส่วนมากเกิดกับคนที่พูดเสียงดัง<O:p
    คนที่ชอบเปิดเครื่องเสียงดังรบกวนคนอื่น<O:p
    คนที่ชอบแกล้งเพื่อนให้สะดุ้งตกใจ<O:p
    ให้ขออโหสิกรรมส่งบุญกุศลใช้เจ้าหนี้แบบเฉพาะเจาะจง

    ถ้าจิตตกภวังค์ของท่าน มีอาการคล้าย เครื่องใช้ไฟฟ้า
    ใน Mode stand by ที่เปิดเครื่องทำงาน พร้อมจะใช้งาน <O:p
    แต่ทำงานไม่ได้คือไม่ง่วง แต่สติไม่เต็ม100% รับรู้ไม่เต็ม100%<O:p
    นั้นเพราะ พลัง5 คือ สติสมาธิ วิริยะ ศรัทธา ปัญญา<O:p
    Drop ลดลง ไม่สมดุลย์ ต้องเพิ่มพลัง5
    <O:p

    ลองเข้าอบรมหลักสูตร ออกกำลังจิต เพิ่มวัคซีนใจฯ<O:p
    ดูรายละเอียดที่
    http://vip2499.spaces.live.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2008
  16. MarkZilla

    MarkZilla เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    134
    ค่าพลัง:
    +191
    นั่งสมาธิวันละกี่ชั่วโมง,,,เคยทำต่อเนื่องสัก 3 วัน 3 คืนหรือยัง คนส่วนใหญ่ทำไม่เท่าไหร่มีแต่คำถาม ... หยุดถามคนอื่นแล้วให้ถามตัวเอง
    คำถามลักษณะนี้ถ้าเป็นหลวงตาบัวตอบ.. เคยได้ยินท่านตอบ นั่งสมาธิแล้วง่วงนอน ท่านให้เอาหมอนผูกติดกับหัวเวลาง่วง ก้อนอนได้เลย
    ขออภัยที่ตอบแรงไปนิดแต่น่าจะได้ผลนะ ถ้ายังกลัวตายก้อไม่ได้อะไร ถ้าปล่อยแล้วจะสบาย ถ้าทำแล้วเครียดไม่ต้องไปทำ ธรรมที่ได้ ได้มาจากความไม่เครียด คำถามเป็นสิ่งที่เฝือ บางคนไม่ได้ถามแต่กลับเล่าสิ่งที่ตนได้รู้ได้เห็น ตัวอวด ตัวเก่ง วิ่งพล่านไปหมด (ทำโดยไมรู้สึกตัว)....ปฏิบัติให้มากครับ
     
  17. a_sitt

    a_sitt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +189
    อนุโมทนาบุญด้วยครับ ธรรมทานที่ได้ขอมอบให้กับเจ้ากรรมนายเวรของทุกท่าน ได้ประโยชน์มากทีเดียวครับขอขอบคุณครับ
     
  18. คมศักดิ์

    คมศักดิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    790
    ค่าพลัง:
    +886
    อนุโมทนา สาธุ ขอบคุณทุกท่านที่เผื่อแผ่ให้รับทราบครับ
     
  19. น้องหน่อยน่ารัก

    น้องหน่อยน่ารัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,976
    ค่าพลัง:
    +4,975
    ร่างกายอาจเพลียเพราะกิจกรรมในวันนั้น
    ให้นอนหลับไปเลยค่ะ หลับไปก่อนสัก 30 นาที
    พอฟื้นร่างกายจิตใจได้แล้ว ค่อยๆ ตื่นมาเข้าสมาธิใหม่ค่ะ


    อย่าฝืนธรรมชาติค่ะ เดินตามธรรมชาติ จะเห็นธรรมะค่ะ
     
  20. อัปปะมาเทนะสัมปาเทถะ

    อัปปะมาเทนะสัมปาเทถะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +82
    ผมขออนุญาติช่วยตอบข้อ 3 จากประสบการณ์ผมเอง เผื่อจะเป็นวิธีที่ช่วยได้บ้างนะครับ (ผมใช้แก้ที่ต้นเหตุที่ของผมเองนะครับ แต่ละคนจะมีต้นเหตุไม่เหมือนกัน) ก่อนอื่นขออธิบายลักษณะก่อนนะครับ
    ----------------------------------------------------------------------

    เหตุแห่งความง่วงเหงาซึมเซา คือเกิดขึ้นได้จากทางกาย และทางใจทางใจนั้นคือความไม่ยินดี หรือความเกียจคร้านไม่คิดก้าวไปข้างหน้า จิตเป็นของละเอียด แต่กิเลสเป็นของหยาบ เปรียบเหมือนจิตเป็นของอ่อน ย่อมแพ้กิเลสซึ่งเป็นของแข็งมากระทบ ก็จะไม่อยู่นิ่ง ทนไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณหรือผมก็คือหนึ่งในนิวรณ์ทั้ง 5 ซึ่งน่าจะเป็นเหมือนกันดังนี้นะครับ

    1) ตอนนี้คุณพึ่งรู้ว่านั่งหลับ แสดงว่า ความง่วงเกิดไปแล้ว, แสดงผลไปแล้ว, ทำให้คุณหลับแล้ว แต่สติคุณยังตามไปรู้ได้ไม่เท่าทันว่ามันกำลังเกิดขึ้นแล้ว (กำลังง่วงแล้ว มีอาการแล้ว) พอมันเกิดขึ้นไปแล้ว (หลับแล้ว สัปหงกแล้ว) กายมันเป็นคนบอกให้จิตรับรู้ว่าหลับ ดังนั้นพอจิตคุณรับรู้จากกาย คุณก็เลยมีสติรับรู้ขึ้นมา แต่ว่ามันเกิดขึ้นแล้ว (หลับแล้ว สัปหงกแล้ว) ทำให้
    2) คุณไม่รู้ในต้นเหตุของอาการหลับของคุณว่าเกิดจาก กาย (เหนื่อยล้า อิ่มอาหาร เป็นต้น) หรือ จิต (ปล่อยวางจิตเกินไป ปล่อยวางสติเกินไป เป็นต้น) ดังนั้น
    3) คุณก็จะไม่รู้ว่าจะหาหนทางแก้ใดไม่ให้หลับ และจะหาหนทางป้องกันไม่ให้หลับได้อยางไรอีก

    ถ้าเกิดทางกาย ก็ควรจะต้องพักผ่อนไม่ฝืนธรรมชาติของสังขารนะครับ
    ถ้าเกิดทางใจ ก็มาดูข้างล่างนี้นะครับ
    ----------------------------------------------------------------------
    การนั่งสมาธิแล้วง่วงนั้น โดยส่วนมากผมมองว่ามาจากการกำหนดจิตไว้ผิด ฉะนั้นต้องรู้เหตุก่อน จึงจะได้แก้ที่สาเหตุได้ หลังจากนั้นก็จะมีความตื่นรู้ ไม่ง่วงอีก ดังนี้ครับ (ผมได้ทำแล้วครับ)

    1) พยายามอย่าจ่อดูภาวะของจิตเรื่อย ๆ เฉื่อย ๆ ในขณะที่จิตกำลังเรียบ ๆ เฉย ๆ เพราะมันจะทำให้จิตเราเฉื่อยชา จะไม่สามารถรับรู้อาการที่เกิดขึ้นได้ (เหมือนกรณีที่คุณง่วงนี่แหละครับ) เพราะพอมันเกิดเราจะดูและหาสาเหตุไม่เจอว่าเกิดจาก?
    2) หาอารมณ์หยาบ ๆ มา เช่น ดูว่าเวลานั่งสงบนี้มีส่วนใดกระดุกกระดิก หรือ เวลาหายใจเข้าออกก็รู้ว่าเข้าหรือออก สลับกับ ยาวหรือสั้น (หาดูได้จากขั้นตอนการฝึก อานาปานสติ นะครับ จะมีตั้งแต่หยาบไปจนละเอียด เพราะนั้นคืออุบายในการฝึกเหมือนกัน) เหตุที่ใช้อารมณ์หยาบเพราะดูได้ง่ายกว่า สำหรับผู้เริ่มฝึกหรือไม่เคยฝึก
    3) เมื่อเกิดผัสสะใดกระทบ จะแรงหรือเบาก็ตาม ก็ให้จิตไปตอบสนองผัสสะนั้น เพื่อดูสภาวะมัน ปฏิกิริยาที่มันทำกับเรา ดูเวทนาที่เกิดขึ้น (เช่น มันเริ่มง่วง มันเกิดอาการหนัก กดจิตเราอยู่นี่ กดแบบนี้เอง เราทนไม่ไหวแล้ว..หลับ) อันนี้ช่วงแรก ๆ จะแพ้มันแบบนี้ แต่พอนานไปมันก็จะเป็นไปตามจริงคือ (มันง่วงนะ มันมีอาการกดทับแบบนี้ เรารู้แล้วว่ามันจะกดทับเราแบบนี้ เห็นแล้วว่ามันจะยังกดทับจิตเราอยู่ พอเริ่มรู้ว่ามันจะเป็นยังงั้นซักพัก มันก็จะรู้ตัว แล้วอาการมันก็หายไป) ตามหลัก เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ถ้าเราตามรู้มันไม่ลดละ เราจะรู้สาเหตุและตามแก้มันได้ครับ เพราะจิตเราไม่เฉื่อยชาแล้ว
    ดังนั้นเมื่อทำสำเร็จ มีความชอบใจในการปฏิบัตินั้น ยิ่งฝึกมาก ก็มีใจยินดี อยากพัฒนาจิตให้ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ นับว่าแก้ปัญหาเรื่องความง่วงเหงาซึมเซาอย่างฉมังนัก ประหนึ่งว่าเราตื่นเช้ามีความสดชื่นพร้อมที่จะไปทำงานที่ตัวเองรักมาก ก็จะขยันขันแข็ง พากเพียร ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ไม่รู้จักง่วงหงาวหาวนอนเลย
    ----------------------------------------------------------------------
    ลองดูนะครับ เผื่อจะเป็นประโยชน์ หรืออาจจะปรับเปลี่ยนไปตามสาเหตุที่แท้จริงนะครับ ขอให้ได้พบหนทางแห่งการดับทุกข์นะครับ
    ----------------------------------------------------------------------
    ขอยกบทความที่เคย copy เก็บไว้ (แต่จำไม่ได้ว่านำมาจากไหนนะครับ) ขอนำมาให้อ่านกันเผื่อจะเป็นประโยชน์บ้าง ดังนี้

    หลักการของพระพุทธองค์คือมีทั้ง "ปล่อย" และทั้ง "ห้าม" คือถ้าเห็นว่าอยู่ในจังหวะที่สามารถรู้ได้ก็ปล่อยให้เกิดแล้วดูมันหายไป เหมือนมองเฉยๆโดยไม่เข้าไปข้องเกี่ยวอันใด ซึ่งความเห็นว่าเกิดแล้วต้องดับลงเป็นธรรมดานั้น บ่อยเข้าย่อมทำให้จิตเป็นกลางได้เอง เหมือนเห็นไฟไหม้ฟางเส้นเดียวก็อย่าเดือดร้อนวิ่งเต้นหาทางดับ รอดูมันดับไปเองดีกว่า
    แต่ถ้าเห็นว่านิวรณ์ครอบงำจิตจนไม่เป็นอันปฏิบัติ ก็ต้องหักห้ามกันด้วยเจตนา ทั้งทางกายและทางใจต่อไป เหมือนเห็นไฟเริ่มลามทุ่งและมีเชื้ออยู่รายรอบ อันนี้ก็นิ่งนอนใจไม่ได้ ต้องหาอุปกรณ์มาดับเสีย

    จากอังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต พระสุตตันตปิฎกเล่ม 12 พระพุทธองค์ตรัสไว้ทั้งเหตุให้เกิดและเหตุดับของนิวรณ์ ชนิดต่างๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2008

แชร์หน้านี้

Loading...