พบพระสงฆ์ในสมาธิ!! ขอคำแนะนำจากผู้รู้ค่ะ

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย ดอกบัวแก้ว, 25 กรกฎาคม 2018.

  1. ดอกบัวแก้ว

    ดอกบัวแก้ว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +12
    นี่เป็นกระทู้แรกของเราในเวปนี้นะค่ะ
    เรามาสมัครเป็นสมาชิก เนื่องจากกัลยามิตรท่านนึงได้แนะนำมาค่ะ เราจะมาขอคำแนะนำและขอความเห็นจากท่านผู้ปฏิบัติ.

    เนื่องจากว่าเราได้นำเรื่องปสก.ทางสมาธิจิตของเราไปเล่าอยู่อีกเวปหนึ่งเพราะเราเป็นสมาชิกอยู่ โดยมีเจตนาเพื่อเล่าและแบ่งปันปสก.จากการปฏิบัติ. และมีผู้มาแสดงคห.กับกระทู้ของเรา ซึ่งบางคำถามเราก้อไม่สามารถให้คำตอบกับเขาได้แต่เราก้ออยากรู้เช่นกัน

    เราจึงขอรบกวนท่านผู้รู้ได้โปรดชี้แนะเราด้วย กับสิ่งที่เราได้เจอในการปฏิบัติสมาธิภาวนา เนื้อความต่อไปนี้คือเนื้อความที่เราได้พิมเล่าปสก.ไปที่
    เวปอีกที่แล้วก็อปมานะค่ะ

    เหตุการณ์นี้เราได้บันทึกไว้ในสมุดบันทึกเรื่องการ
    ปฏิบัติธรรมของเรา เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเราในขณะที่เราทำกรรมฐาน. ซึ่งหลังจากที่ออกจากกรรมฐานเราจะบันทึกไว้เสมอทั้งผลของการปฏิบัติหรือเรื่องราวแปลกๆซึ่งก้อไม่ได้เจอทุกครั้งนะค่ะ แค่บางครั้งเท่านั้น ซึ่งมันจะเกิดขึ้นเอง เป็นไปเอง

    เราขอสื่อสารด้วยคำง่ายๆเพราะไม่ถนัดใช้ภาษาทางธรรมกลัวจะพูดผิด ต้องขออภัยด้วยนะค่ะ
    เมื่อ 3ปีก่อน วันหนึ่งเราสวดมนต์และทำกรรมฐานตามปกติเช่นเคยและเข้านอนตอนเกือบ 4ทุ่ม. มารู้สึกตัวตื่นขึ้นมา ดูเวลาเป็นเวลา 6ทุ่มครึ่ง ทำยังไงก้อนอนไม่หลับ ไม่รู้สึกอ่อนเพลียคือร่างกายตอนนั้นรู้สึกสดชื่นเหมือนคนนอนมาเต็มอิ่ม.
    ใจอยากนั่งสมาธิจึงมาที่ห้องพระที่เราใช้ทำกรรมฐานประจำ นี่เป็นครั้งแรกที่นั่งสมาธิหลังเที่ยงคืน เรากราบพระอาราธนาคุณพระรัตนตรัยก่อนทำกรรมฐานทุกครั้งเราจะกล่าวในใจว่า

    "วันนี้ข้าพเจ้าตั้งใจมาปฏิบัติกรรมฐาน
    ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้าตลอดทั้งพ่อแม่ครูบาอาจารย์ทางธรรมเทวดาผู้ปกปักรักษาข้าพเจ้าและเทวดาผู้มีคุณทั้งหลายได้โปรดเมตตาปกปักรักษาและชี้แนะแนวทางการประพฤติปฏิบัติธรรมให้เป็นไปตามแนวทางที่ถูกที่ชอบที่ควร. มุ่งตรงสู่หนทางแห่งพระนิพพานอย่าให้ได้หลงทาง และให้ได้พบครูบาอาจารย์ทางธรรมให้การปฏิบัติมีความก้าวหน้าสำเร็จสมความมุ่งมาดปรารถนาในสิ่งที่ดีที่หวังทุกสิ่งทุกประการเทอญ สาธุๆๆ"

    แล้วก้อเริ่มนั่งสมาธิกำหนดพุทโธๆๆผ่านเวทนา แยกกายกับจิตได้อย่างชัดเจนเป็นไปตามทางที่ได้ทำมา จิตนิ่งดิ่งสงบ สงัด สติเด่นชัด จิตสงบ สติคอยประคองจิต ผ่านปีติ ผ่านเวทนา เกิดดับๆ สติวันนี้ดีมากไม่วอกแวก จิตนิ่งเด่น จนเห็นเป็นผลึกแก้ววงกลมใสเกิดขึ้นกึ่งกลางระหว่างอกอกมีแสงระยิบระยับ เห็นแล้วจิตวันนี้นิ่ง คุ้นชินเพราะได้เคยเห็นมาแล้ว ดูแล้วก้อวาง เฉยๆ ได้ความสงบดีมาก
    สักพักดวงแก้วหายไป สติกำหนดอยู่ที่จิตต่อไป จิตมีความนิ่งดีมาก จิตกระเพื่อมรู้ สงบนิ่งรู้ กำหนดรู้ไปเรื่อยๆ ปรากฎเห็นเหมือนแสงที่ปลายอุโมงค์เป็นจุดเล็กๆ สติกำหนดอยู่ที่จิต วางเฉยต่อสิ่งที่เห็นแต่รู้ ไม่ได้ให้ความสนใจ จะเกิดอะไร จะมีอะไรเรากำหนดรู้แต่สติยังคงอยู่ที่จิตๆจึงนิ่ง
    มีความรู้สึกเหมือนเคลื่อนตัวไปข้างหน้าพุ่งไปตามทางของแสงที่ปลายอุโมงค์จนถึงปลายแสงความสว่างว๊าาปขึ้นมา
    ความรู้สึกเบามาก สติเด่นชัดยิ่งขึ้น กำลังไม่รู้สึกถดถอย ไม่เหนื่อย สำรวจในจิตยังคงนิ่งดี
    สิ่งที่ปรากฏ คือพระสงฆ์รูปหนึ่งท่านยืนอยู่หน้าชั้นหนังสือธรรมะของเราเยื้องจากตรงที่เรานั่งสมาธิอยู่ด้านซ้ายมือเยื้องไปด้านหน้า เราก้อนิ่ง สติประคองจิตอยู่เช่นเดิม เห็นท่านหยิบหนังสือธรรมะออกมาเลือกๆดู แล้วได้ยินเสียงท่านพูดขึ้นว่า

    พระสงฆ์ "เหลือไว้แค่นี้พอ นอกนั้นไม่ต้อง. แต่เมื่อถึงเวลาที่เหลือกองนี้ก้อต้องทิ้ง สุดท้ายว่างไม่มีเหลือ แต่ตอนนี้ให้เหลือไว้ตามนี้"

    เรา "ท่านค่ะ หนังสือธรรมะโยมสะสมมามีคุณค่ากับโยม. ท่านจะให้โยมทิ้งได้ยังไงค่ะ หรือหากจะนำไปบริจาคเมื่อถึงเวลาโยมจะนำไปบริจาคเองนะค่ะท่าน โยมยังต้องใช้"

    พระสงฆ์รูปนั้นหันมาทางเราๆเห็นท่านอย่างชัดเจนมาก ท่านเป็นพระที่เราควรเรียกท่านว่าหลวงตาหรือหลวงปู่โดยดูจากภายนอก หน้าตาท่านดูผ่องใสมีเมตตาบารมีมากเราเห็นออร่าเป็นสีทองอยู่รอบๆตัวท่าน เมื่อเห็นท่านอย่างชัดเจนเท่านั้นล่ะ สติบอกเผลอ รีบกลับมากำหนดจิต ประคองจนจิตนิ่ง สงบเช่นเดิม ตั้งสติประคองจิตก้มลงกราบท่านไป 3ครั้ง ในขณะที่กราบมองเห็นที่เท้าท่านเป็นสีทองดูเผินๆเหมือนท่านใส่ถุงเท้าสีทองคำ ได้สนทนากับพระหลวงปู่ใจอยากรู้ว่าท่านคือใคร

    พระหลวงปู่ "อาตมาหมายถึง ไม่ให้โยมเป็นนักอ่านแต่ให้เป็นนักภาวนา เหลือไว้แค่ที่อาตมาคัดไว้ ให้ก้อเพียงพอแล้ว โยมมาปฏิบัติธรรมจะมาหวังเอาอะไร การปฏิบัติพระศาสดาพระองค์สอนอยู่แค่เรื่องจิตเป็นสำคัญ ในกายและจิตของเรานี้ โยมจะไปดูอะไรไปอ่านอะไร อ่านกายใจของเรานี้ การปฏิบัติเป็นแต่เรื่องของการสละทุกอย่างออกจากจิตทั้งนั้น หนังสือเหล่านั้นโยมไม่ต้องใช้แล้วนะ
    และอาตมาอยากบอกโยมไว้ว่า
    "เวลาไปวัดจะเข้าโบสถ์อย่าใส่รองเท้าย่ำบันไดขึ้นไปถอดที่หน้าประตูโบสถ์ให้ถอดรองเท้านอกบริเวณโบสถ์ ใส่ย่ำขึ้นไปถือว่าไม่เคารพสถานที่ ไม่ควรทำอย่างยิ่ง"
    (อันนี้เราก้อเคยทำเพราะกลัวรองเท้าหายและพื้นบางทีร้อนแดดหรือเปียกฝน ก้อจะใส่รองเท้าย่ำไปถอดไว้ข้างประตูหน้าโบสถ์ แต่หลังจากที่ได้ฟังจากหลวงปู่ไม่เคยทำอีกเลย ถอดห่างออกจากบริเวณทางขึ้นโบสถ์ตลอด)

    "บ้านไหนมีห้องพระและสวดมนต์เป็นประจำ หลัง 6ทุ่มเทวดาที่เป็นญาติกับเจ้าของบ้านจะลงมาสวดมนต์ที่บ้านหลังนั้นให้จัดห้องพระให้สะอาดเรียบร้อย จะเป็นสิริมงคลอยู่ร่มเย็นเป็นสุข"

    เราเห็นพระหลวงปู่เขียนข้อความในกระดาษแล้ววางลงต่อหน้าเรา ในกระดาษเขียนว่าให้ฟังธรรมของหลวงปู่เหรียญ/หลวงปู่ดุลย์/หลวงพ่อพุธและ
    นำไปต่อยอด. ลงท้ายเหมือนเป็นการลงชื่อตัวหนังสือสีทองเขียนว่า. หลวงปู่ดู่
    (ในใจเราคิดหลวงปู่ดู่ไหนอ่ะไม่เคยได้ยินเลยและไม่เคยเห็นท่านเลย. หลวงปู่ดู่ไหนหนอๆ)

    พระหลวงปู่ "เราเคยเห็นกันเมื่อนานมาแล้วโยม อย่าลืมไปต่อยอดตามที่อาตมาบอกนะโยม ขอให้เจริญทางธรรม"

    เราตั้งใจก้มลงกราบหลวงปู่ 3ครั้ง ซาบซึ้งในเมตตาและรู้สึกอิ่มเอิบใจ ขนลุกขนพอง จนเกือบควบคุมสติให้อยู่กับจิตไม่อยู่ รีบกำหนดให้สติมั่นคงอยู่กับจิตเช่นเดิมจนจิตสงบ

    สติรู้ว่ากำลังจะถอนออกจากสมาธิ กำหนดจิต สติกำหนดรู้ๆๆๆ ถอยออกจากสมาธิ ออกมาขากับก้นแทบจะแตกละเอียดปวดมากๆถึงมากที่สุด รีบกำหนดปวดหนอๆๆนานพอสมควรจึงหายปวดเสร็จแล้ว แผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศลตามที่ได้กระทำมา หลังจากนั้นก้อมาจดบันทึกไว้

    เช้ามาเราได้มาถามน้องชายซึ่งเขาชอบสะสมพระและอยู่วงการพระเครื่องว่า รู้จักหลวงปู่ดู่ไหม น้องชายบอกที่รู้จักก้อมีหลวงปู่ดู่ วัดสะแก เราก้อถามไม่มีภาพถ่ายเหรอ น้องบอกไม่มี ลองไปเข้าเน็ตดิ

    ปกติเราไม่ค่อยเล่นเน็ตการใช้อุปกรณ์ก้อไม่คล่องแต่เราก้อพิมพ์ค้นหาหลวงปู่ดู่ พอภาพท่านปรากฎเราตื่นเต้นมาก ใช่ท่านเลย องค์เดียวกับที่ท่านมา

    แต่ที่เห็นในสมาธิท่านจะขาวและผ่องใสมีออร่า หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ แห่งวัดสะแก มันเป็นเรื่องแปลกสำหรับเรามาก เราไม่เคยเห็นท่านมาก่อนไม่รู้จักท่านเลย แต่ภาพที่เราเห็นตรงหน้าคือองค์เดียวกับที่มา เรามีความรู้สึกขนลุก น้ำตาอยู่ๆไหล ความรู้สึกเราตอนนั้นคือมันเป็นกำลังใจ เป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดว่าจะใช่. เรารู้สึกมั่นใจและมีกำลังใจที่จะปฏิบัติธรรมต่อไป. เพื่อพิสูจน์พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์และพยายามเดินให้ถึงเป้าหมายที่เราได้ตั้งใจไว้
    หนังสือที่หลวงปู่ท่านเมตตาแยกให้เราในสมาธิเราก้อมานั่งแยกไว้มี4เล่มจากทั้งหมด 87เล่มบางส่วนได้นำไปบริจาคที่ห้องสมุดประชาชนและมอบให้เพื่อนๆกัลยาณมิตรที่สนใจอยากได้
    แล้วเราก้อฟังธรรมของหลวงปู่เหรียญที่ชอบฟังเป็นพิเศษคือเรื่องเกิดมาทำไมและมรณานุสติ
    ฟังธรรมของหลวงพ่อพุธเรื่องการปฏิบัติสมาธิภาวนาซึ่งเราฟังแล้วเข้าใจง่าย
    ศึกษาและปฏิบัติเรื่องการดูจิตของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล ซึ่งเรานำเอามาเป็นแนวทางของปฏิบัติทางจิตของเรา

    เราเริ่มต้นปฏิบัติกรรมฐานจากการไปเข้าคอร์สที่สำนักเวฬุวันขอนแก่นตอนอายุ 26ปี และปฏิบัติแนวทางนั้นมาตลอด จนปัจจุบันนี้อายุ 43ปี พบหลวงปู่ดู่ในสมาธิตอนอายุ 39ปี แล้วก้อปฏิบัติตามคำแนะนำของหลวงปู่ ปรับใช้แนวทางการปฏิบัติที่เหมาะกับตนเอง
    ทุกวันนี้ใช้วิธีภาวนาดูจิตตามแนวทางของหลวงปู่ดุลย์ อตุโลมีมรณานุสติและพุทธานุสติเป็นอารมณ์กรรมฐาน พยายามทำปัจจุบันให้ดีที่สุด
    เราเชื่อว่าชีวิตหลังความตายมีอยู่จริง เพราะเราได้รู้ได้เห็นได้พิสูจน์แล้ว และยังเชื่อด้วยว่ามีอีกหลายๆท่านที่มีปสก.ทางจิต แต่ไม่ได้มาเล่าเปิดเผยให้คนอื่นได้รับรู้

    *********กระทู้เราเล่าจบแค่ตรงนี้********

    แต่มีคำถามๆเราเข้ามาจากที่เขามาอ่านเรื่องของเราคือ
    1.ขอทราบชื่อหนังสือทั้ง4เล่ม
    เราตอบ
    หนังสือทั้ง4เล่มมีดังนี้ค่ะ
    - มรดกธรรม48 พระธรรมเทศนาพระโพธิญาณเถร หลวงปู่ชา สุภัทโท
    - หยดน้ำบนใบบัว หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    - เทสกานุสรณ์ พระราชนิโรธรังสี.
    - อนุสาสนีปาฏิหาริย์ พระธรรมสิงหบุราจารย์ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม(เป็นหนังสือธรรมะเล่มแรกที่อ่านด้วยความตั้งใจทุกตัวอักษร เพราะได้มาตอนไปปฏิบัติธรรมที่เวฬุวันครั้งแรกในขณะที่เราเจอปัญหาชีวิตหาทางออกไม่ได้ และเป็นแรงจูงใจให้ปฏิบัติตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้)

    หนังสือธรรมะที่สะสมจะเป็นของหลวงพ่อจรัญ/หนังสือท่านพุทธทาสชอบอ่านคู่มือมนุษย์/หนังสือกฏแห่งกรรมเยอะมาก. ลีลาวดีเป็นนิยายธรรมะมี่ชอบอ่าน มีอีกแต่จำไม่ได้ค่ะนอกนั้นก้อเป็นหนังสือสวดมนต์ มนต์พิธีต่าง ปัจจุบันนำไปบริจาคและคงเหลืออยู่แค่ 4เล่มตามข้อ1เท่านั้นค่ะ

    ที่อ่านส่วนใหญ่จะเป็นปฏิปทาของพระวัดป่าสายพระอาจารย์มั่น / มรดกธรรม48 หลวงปู่ชาอ่านบ่อยสุด มีหลายเล่มแต่ที่อ่านหลายรอบจะเป็น2เล่มนี้ค่ะ

    2. คำถาม คุณเป็นสายธรรมะ ชอบอ่านหนังสือเป็นทุนเดิม แน่ใจว่าไม่เคยได้ชื่อ/ไม่เคยเห็นหลวงปู่ดู่มาก่อนหรือผ่านตามาบ้าง
    เราตอบ
    ***ด้วยสัจจะบารมี ไม่เคยได้ยิน/ได้เห็น/ได้อ่านธรรมะของหลวงปู่ดู่ ก่อนที่จะมาพบท่านในสมาธิค่ะ***

    เราอยู่อีสานเคยตั้งใจไปกราบหลวงพ่อจรัญที่วัดอัมพวัน และเคยไปวัดท่าซุง ฝึกมโนมยิทธิ(แต่ไม่ถูกจริตไม่ถนัด เลยยึดกรรมฐานที่เรียนมาสายหลวงพ่อจรัญทำมาตลอด) ผ่านแถวนั้นแต่ก้อไม่ได้รู้จักชื่อเสียงหลวงปู่ดู่เลย มีไปวัดท่าซุงก้อทำให้รู้จัก หลวงพ่อปาน /หลวงปู่สุข จากหนังสือประวัติหลวงพ่อฤาษีลิงดำค่ะ

    3. คำถาม ปกติคุณฟัง/อ่าน คุณชื่นชอบ/ถูกจริตเทศนาหลวงปู่เหรียญ / หลวงพ่อพุธและหลวงปู่ดุลย์ มาก่อนที่พระสงฆ์ในสมาธิจะมาบอกใช่หรือไม่
    เราตอบ
    ก่อนหน้านี้ไม่เคยฟังธรรมของหลวงพ่อพุธ(แต่รู้ว่าท่านอยู่ที่วัดป่าสาละวัน) หลวงปู่ดุลย์ อตุโล(ไม่เคยรู้จัก/ไม่เคยได้ยินชื่อ/ไม่เคยเห็นท่าน เหมือนหลวงปู่ดู่ค่ะ มารู้จักหลังจากที่หลวงปู่เขียนชื่อท่านให้ก้อมาค้นประวัติ/ปฏิปทา/แนวทางการดูจิตของท่านค่ะ

    **********/************
    สิ่งที่เราอยากถามท่านผู้รู้
    1. เราไม่เคยเห็น/ได้ยินชื่อ/รู้จัก หลวงปู่ดู่มาก่อน
    แต่ทำไมท่านถึงปรากฏในกระบวนการภาวนาของเรา. สิ่งนี้เรียกว่า นิมิต. ไหมค่ะหรือคืออะไรโปรดชี้แนะด้วยค่ะ. ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ ขอบคุณค่ะ
     
  2. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    อ่านมาตั้งนาน ไหนบอกฟังหลวงปู่พุธ

    ยังจะสงสัยอีกเหรอ แสดงว่าฟังไม่จริง


    ไม่ได้ว่านะครับ เพียงแต่ เทศน์แต่ละกัณฑ์ หลวงปู่พุธ
    ท่านตอบคำถามและบอกวิธีให้หมดแล้ว
    เว้นเสียแต่ว่า ฟังแล้วยังจำไม่ได้ ต้องไปฟังใหม่
     
  3. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ฝากไว้สักกัณ

     
  4. ดอกบัวแก้ว

    ดอกบัวแก้ว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +12
    ขอบคุณคร๊าาาา
     
  5. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,366
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,869
    อันนี้ตามความเชื่อผม การที่มีพระมาแบบเป็นนิมิต คงจะเป็นการมาเตือนสติในบางอย่าง
    ตอนนั้นผมไปที่วัดแห่งหนึ่งว่าจะไปทำทาน บลาๆๆ ตามตู้วัดที่วัดแห่งหนึ่งที่เพิ่งเคยไป
    ระหว่างที่จะเข้าวัดผมมองเห็น เณรองค์หนึ่งระหว่างเดินหน้าพระพุทธรูปที่ถือบาตรตามวัน
    และก็ทำท่า เดินยิงบาตร เหมือนกับเพิ่งหลุดมาจากเกมส์แนวยิงๆ

    ศรัทธาผมนี่ดิ่งห้วบเลยกำลังคิดในใจว่าวัดนี้นี่เขาอบรมเณรกันบ้างรึเปล่า แต่ก็ยังไม่ได้เหมารวม
    ว่าคงจะต้องเป็นแบบนี้ทุกองค์ และก็มีหลวงปู่ดู่ท่านนี้หละ เข้ามาปรากฏที่วัดเลย
    แบบในขณะลืมตาอยู่นี้หละแล้วก็มีออร่าสีทอง ก็คล้ายๆกับแสงพระอาทิตย์
    แล้วกำลังใจศรัทธาผมจากที่ดิ่งห้วบก็กลับมามีศรัทธา แล้วก็เริ่มมีสัญญาผุดขึ้นมาอีกที
    พระก็มาจากฆราวาสนี้หละ

    ตอนที่ภาพหลวงปู่ดู่ปรากฏ นี้ผมไม่ได้ไปคิดถึงอะไรหลวงปู่ดู่ท่านหรอก
    ผมคิดแต่เรื่องเณรนี้หละน่าจะติดเกมส์ ผมก็คนเล่นเกมส์เหมือนกันแต่ไม่ขนาดนี้
    กำลังคิดว่าหากไปเจอเณรองค์อื่นๆเป็นแบบนี้หรือพระองค์อื่นดูไม่เข้าทีนี้ย้ายไปวัดอื่นแน่ๆ

    แต่พอพบเห็นหลวงปู่ดู่ จากเคลือบแคลงลังเลสงสัย นี้พลิกไปเป็น
    พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ จาคานุสสติ เลยทีเดียว
     
  6. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    อย่างแรก ขอบคุณก่อนเลยนะครับ ที่บอกหนังสือทั้ง 4 เล่ม

    ตอบ
    1.เวลาครูบาอาจารย์ที่เป็นพระอริยเจ้า มาหาในสมาธิ เราไม่จำเป็นที่ชาติปัจจุบันของเรา จะต้องรู้มาก่อนครับ

    การที่ท่านมาหา จขกท ได้นั้น มีอย่างเดียวคือ สายบุญสายกรรม ครับ ต้องมีบุญกรรม ร่วมกันมา ท่านถึงได้ตามมาสงเคราะห์ ให้ จขกท ครับ

    สรุปให้ก็คือ อย่าไปคิดมากครับ จะนิมิต หรือ จะจริงอะไรก็แล้วแต่ ตัวเราเป็นผู้รู้เอง คนอื่นเค้าไม่ได้มารู้เห็นเหมือนเรา บางอย่างไม่ต้องเชื่อคนอื่นก็ได้ครับ แต่ให้เชื่อจิต เราเอง อะไรที่เป็นการสงเสริมผลในการปฏิบัติ

    ที่ท่านมาหาในกระบวนการภาวนาของเรา ก็เพราะว่า ตัวเรานั้น จิตเข้าสมาธิอยู่ เมื่อจิตเป็นสมาธิอยู่ ท่านถึงได้มาหาในสมาธิ ครับ

    ของผมก็มีพระท่านมาหาอยู่ 2 องค์เหมือนกันครับ แต่ไม่ขอบอกนะ ปัจจุบันท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านมาแก้สิ่งที่เราติดขวางผลการปฏิบัติในสมาธิขของผมให้ นะครับ
     
  7. ดอกบัวแก้ว

    ดอกบัวแก้ว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +12
    เพิ่งเข้ามาใช้งานในเวปนี้ครั้งแรก ยังไม่ชินกับการใช้งาน กระทู้นี้หากแท็กผิดพลาดยังไงต้องขออภัยด้วยนะค่ะ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำและแบ่งปันปสก.ค่ะ
     
  8. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,084
    เกิดนิมิต เมื่อนิมิตแบบนั้น ก็ควรอ่านทั้ง 4 เล่มนั้นใหม่

    ส่วนมาก ผลจะเกิดตอนทบทวนครับ อ่านทีละเรื่องแล้วนั่งทำใจสบายๆ คิดทบทวนเพลินๆไปเรื่อยๆ

    ก่อนคิดทบทวน บิดขี้เกียจสักนิด ผ่อนคลายร่างกายสักนิด ทำความรู้สึกทั่วตัว สบายๆ
    ผ่อนคลายลมหายใจ แล้วทบทวนครับ
    ทบทวนหลายๆรอบ จนเข้าใจทั้งหมด
    เมื่อทบทวนทั้ง 4 เล่มแล้ว ค่อยทำตามข้อความต่อไป
     
  9. ดอกบัวแก้ว

    ดอกบัวแก้ว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +12
    ขอบคุณค่ะ
     
  10. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    จขกท สงสัยอะไรในหนังสือที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ ถามได้นะคับ หรือปฏิบัติแล้วติดสงสัยตรงไหน จะช่วยตอบให้ครับ
     
  11. ดอกบัวแก้ว

    ดอกบัวแก้ว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +12
    ขอขอบคุณและขอคำชี้แนะเพิ่มเติมด้วยค่ะ

    จขกท.ปัจจุบันใช้แนวทางการปฏิบัติแบบดูจิตของพระหลวงปู่ดุลย์ อตุโล ร่วมกับมรณานุสติกรรมฐานและพุทธานุสติกรรมฐาน พยายามกำหนดภาวนาทุกขณะ เพราะรู้สึกถนัดและถูกจริต. ขอถามดังนี้นะค่ะ

    1. เรากำหนดภาวนาอยู่เกือบจะทุกอิริยาบท มีเผลอส่งออกนอกบ้างแต่สติก้อพยายามกำหนดกลับมาที่ฐานจิตเช่นเดิม ซึ่งฐานจิตกึ่งกลางระหว่างอก จะเห็นเป็นดอกบัวอยู่ตลอดเวลา จะมีเปลี่ยนไปบ้างไม่ซ้ำแล้วแต่จะผุดขึ้นมาเป็นแบบไหน คือเป็นสีชมพูอ่อน/สีชมพูเข้ม/สีชมพูขาว/สีม่วง หรือแม้แต่เป็นดอกบัวแก้วใสๆมีแสงอันนี้จะงดงามมากๆ และบางครั้งก้อเป็นดวงแก้วใสๆสว่างมีแสงระยิบระยับ

    ขอถามว่า1.1 ดอกบัวหรือแก้วที่ผุดขึ้นมาให้เห็นกึ่งกลางอกทุกขณะจิต ทั้งในสมาธิและออกจากสมาธิ ใช่การติดนิมิตรเหมือนหลายๆท่านบอกเราใช่หรือไม่
    1.2 เมื่อเห็นดอกบัวที่ผุดอยู่ จขกท.ใช้สติกำหนดรู้อยู่ที่ฐานจิตที่เห็นเป็นดอกบัวนั้น ทำถูกหรือไม่
     
  12. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    จิตเห็นจิต มองเฉยๆ ดูไปเฉยๆ เห็นความคิดเกิดดับ ความคิดไม่ใช่จิต กิเลสมันอยู่ที่จิต มันต้องไปแก้กันที่จิต


    จิตเห็นจิต

    พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

    ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
    ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี



    โยม๑ : เราปฏิบัติไปนี่ คือผมจะท่อง สัมมาอรหัง ไปเรื่อยๆ นะครับ ดูลมหายใจบ้าง บางทีก็ไม่ได้ดู บางทีมันก็ลืมลมหายใจ สักพัก ดู สักพักหนึ่งจิตมันก็คิดของมันเอง คือเราเห็นมันคิด อยู่ในความคิดของมัน คิดออกมายาวๆ ผมก็มองอยู่ เอ๊ะ เราไม่ได้คิดหรือนี่ ทั้งๆ ที่เป็นความคิดของเรา สักพักหนึ่งก็มอง มอง สักพัก เอ๊ะ มันจะคิด ออกมาเป็นลูกๆ ครับ เป็นลูกๆ แล้วคิดตรงๆ ออกมาทางซ้ายทางขวา เสียงค่อยบ้าง ค่อยบ้างดังบ้าง ไม่เท่ากัน แต่มันคิดของมันเอง ทั้งๆ ที่เป็นความคิดของเรา

    แล้วสักพักก็เลย เอ๊ะ ยังไง ซึ่งผมก็ไม่เข้าใจว่า พอมองสักพักหนึ่ง เอ่อ อันนี้หายไป มันก็เกิดเป็นภาพ เป็นนิมิตมาให้เห็น นิมิตนี่ ผมก็ เอ๊ะ มันเหมือนตาเนื้อเห็น นั่งสมาธิอยู่นี่ เอ๊ะ มันก็ไม่ พอดี...สอนมา อย่าตกลงกับนิมิต บุญเยอะอย่าให้ตกกับนิมิต ก็เลยไม่เอาไง พอไม่เอาปุ๊บ ก็มาดูตัวผู้รู้ พยายามปุ๊บ ทีนี้ตัวเราหายไปเลย ทีนี้พอตัวหายปุ๊บ ก็เหลือแต่อวกาศเวิ้งว้าง มัน แต่ว่าตัวรู้ยังรู้อยู่ ทีนี้ไม่เข้าใจว่ามันเกิดอะไร อยู่พักหนึ่ง หนึ่งนาที แล้วผมก็เลยออก ออกจากอันนี้มา

    หลวงพ่อ : กำหนดอะไร กำหนดอะไรหรือเปล่า

    โยม๑ : ไม่ได้กำหนดนะอาจารย์ มองจิตอย่างเดียว

    หลวงพ่อ : มองเฉยๆ มองจิตเนอะ

    โยม๑ : มองจิตอย่างเดียว เห็น เขาคิดของเขาเอง แล้วสักพักหนึ่ง ตัวสัญญามันจะโผล่ขึ้นมาเต็มเลยครับอาจารย์ มันออกเหมือนเม็ดฝนเลย เป็นความคิดในอดีตทั้งหมดเลย เป็นร้อยๆ เรื่อง แป๊บเดียวนี่ ภายในเสี้ยววินาทีน่ะ อู้ฮู ผมก็มอง มองไม่ทันเลย แต่รู้ว่าเป็นความคิดในอดีตทั้งหมดเลย เป็นความจำในอดีตทั้งหมด แล้วก็ เหมือนคนบ้าเลยครับ เอ๊ะ ก็เลยออกจากสมาธิ ไม่ไหวแล้ว

    หลวงพ่อ : ไม่มีสติเนาะ มันมีของเรานี่ พูดถึง ตอนนี้นะ มันต้อง เดี๋ยวเราจะขอปูพื้นก่อนเนาะ ปูพื้นก่อนนิดหนึ่ง ถ้าไม่ปูพื้นเลยนี่ เวลาพูดไปแล้ว เดี๋ยวต่างคนต่างจับประเด็น แล้วสับสน ขอปูพื้นนิดหนึ่ง ว่าในการทำสมถะ ในการทำสมถะนี่นะ กรรมฐาน ๔๐ ห้องนี่ มันมีตั้ง ๔๐ วิธีการ พุทโธ ธัมโม สังโฆ นี่คำบริกรรมใช่ไหม

    นี่แล้วก็ เพ่งกสิณ ทีนี้คำว่ากสิณ กับดูจิตนี่ กสิณนี่นะ มันเพ่งกสิณมันมีที่จับที่หมายนะ แต่ถ้าดูจิตนี่ เราเคยอยู่กับครูบาอาจารย์มา ทางครูบาอาจารย์ของเราส่วนใหญ่แล้ว การดูจิต ท่านบอกว่ามันก้ำกึ่ง มันก้ำกึ่ง แล้วไม่ควรทำ คำว่าไม่ควรทำเพราะ เราว่าเหมือน เหมือนมันไม่มีจุดยืน คนเราก็ต้องมีจุดยืนใช่ไหม คนที่โลเลนี่คือขาดจุดยืน

    ทีนี้ ถ้ากรรมฐาน ๔๐ ห้องนี่ มันมีจุดยืนหมด คือมันมีคำบริกรรม มรณานุสติ เทวตานุสติ นี่เราพูด เราปฏิเสธเรื่องการเชื่อเทวดา แต่ทำไมเทวตานุสติได้ล่ะ เทวตานุสตินี่ เขาคิดถึงคุณงามความดี คิดถึงสิ่งใดๆ นี่ จิตมันมีที่เกาะ ฉะนั้นไอ้การดูจิตเฉยๆ นี่ มันก็ดูจิตมันดูตัวเราเอง ดูความรู้สึก พอดูความรู้สึกนี่ ถ้ามันมีสติ มีสตินะ มีสติ มันก็ดูเฉยๆ

    แต่ทีนี้ ถ้าอย่างนี้แล้วนี่มัน เราจะบอกว่า ในกรรมฐาน ๔๐ ห้อง เราจะบอกก่อนว่า พื้นฐานนี่ มันมีวิธีการมหาศาลเลย วิธีการนี่เห็นไหม วิธีการนี่ ๔๐ วิธีการ แล้วมันยังแตกย่อยไปได้ ทีนี้แตกย่อยไปได้ แต่ถ้าจะเอา เอาความจริงน่ะ เอาความจริง เราบอกการทำงาน เห็นไหม การทำงาน เราทำงานกันน่ะ เราทำงานอยู่บนพื้นดิน เห็นไหม เราทำงานอยู่บนฐานนี่ เราจะยืนอยู่สะดวก

    ถ้าเราทำงานในที่สูง เราต้องทำนั่งร้านขึ้นไป ขึ้นไปนี่ เราอันตรายไหม ทีนี้กำหนดพุทโธ พุทโธ พุทโธ คำบริกรรมนี่ เหมือนเราทำงานบนพื้นดิน ทีนี้มันจะมีอันหนึ่งที่ว่า เวลาเรา ประสบการณ์ของเรา ประสบการณ์ครูบาอาจารย์ เพราะหลวงตาท่านบอกว่า มันมีสมาธิอบรมปัญญา ปัญญาอบรมสมาธิ นี่ถ้าสมาธิอบรมปัญญา พุทโธ พุทโธนี่ เกิดสมาธิก่อน เราพยายามทำสมาธิ เพราะปัญญาที่เกิดขึ้นมานี่ ปัญญาโดยสามัญสำนึกนี่ คือปัญญาของสามัญชน ปุถุชน ปุถุชนนะ ปุถุชนคือสามัญชน

    กัลยาณปุถุชน ก็เป็นสามัญชน แต่เป็นกัลยาณปุถุชน เพราะ เพราะปุถุชนกับกัลยาณปุถุชน มันต่างกันตรงไหน มันต่างกันที่ว่า ปุถุชนนี่เหมือนกับว่า คนเรานี่เอาแต่ใจตัว มีสิ่งใดก็คิดไปตามโลก นี่คือปุถุชน คือคน ปุถุชนนี่ เขาเรียกว่า มันติดใน รูป รส กลิ่น เสียง แต่ถ้าเป็นกัลยาณปุถุชน กัลยาชนเห็นไหม เป็นคนที่ดีขึ้นกว่าปุถุชนใช่ไหม เหมือนกับคนที่เชื่อฟังพ่อแม่ กับคนที่ไม่ยอมเชื่อฟังพ่อแม่

    นี่ปุถุชนคือว่าเอาแต่ใจตัว เขาไม่ฟังใครเลย แต่ปุถุชนเหมือนกัน แต่เขาเชื่อฟังผู้ใหญ่ เขาเชื่อฟังสติของเขา เขาเชื่อปัญญาของเขา คือปัญญาอบรมสมาธิเห็นไหม นี่กัลยาณปุถุชน กัลยาณปุถุชนมันจะรู้ทันรูป รส กลิ่น เสียง เพราะเราพูดบ่อยว่า รูป รส กลิ่น เสียง นี่เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร มันเป็นบ่วงนะ มันล่อเราไป เห็นไหมความคิดน่ะมันล่อเราไป

    รูป รส กลิ่น เสียง นี่มันล่อเราไปตลอดนะ นี่มันเป็นบ่วง มันเป็นมาร มันเป็นเครื่องล่อ แล้วเราก็ไม่ทันมัน เราจะไปตลอดเลย แต่กัลยาณปุถุชนนี่ ความคิดเขามี แต่รู้ทันมัน มันดึงเราไปไม่ได้ไง นี่พอกัลยาณปุถุชน มันจะทำสมาธิได้ง่าย เพราะมันไม่มีตัวเร้า ตัวรูป รส กลิ่น เสียง นี่เป็นตัวเร้า เร้าให้เราไปตามมัน เป็นปุถุชนไง ควบคุมอะไรไม่ได้เลย แต่พอเราใช้ปัญญาใคร่ครวญเข้าไป

    นี่เราจะพูดออกมาให้เห็นว่าปัญญาอบรมสมาธิ ใช้ความคิด แต่มีสติตามความคิดไป ไม่ใช่ดูเฉยๆ คำว่าดูเฉยๆ นี่มัน มันก้ำกึ่งน่ะ มันทำเหมือนไม่ทำ ไม่ทำเหมือนทำ มันเลย คนจะแยกแยะตรงนี้ แยกแยะไม่ออก ถ้าเราคิดของเรา เราคิดโดยสามัญสำนึกนี่นะ เราคิดเหมือนสามัญสำนึก เหมือนพลังงานใช่ไหม พลังงานที่มันใช้ออกไป แต่เราใช้ปัญญาอบรมสมาธินี่ มันคิดเหมือนกัน แต่มันมีคัตเอาท์ มันมีสวิตซ์ มันมีการควบคุม

    พอการควบคุม โดยธรรมชาติของพลังงาน ใช้ไปมันก็คือหมดไป ธรรมชาติของความคิด มันก็เหมือนกัน เพียงแต่มันคิดแล้วนี่ เราทุกข์ไปกับมัน เพราะมันใช้หมดไป แต่ถ้าเรามีสตินะ มันดูความคิด มันก็เห็นความรู้ เห็นอารมณ์นี่แหละ แต่มันเห็นโทษ ฮึ! คิดแล้วทุกข์ คิดขึ้นมาทำไม แล้วความคิดนี่มันเกิดซ้ำเกิดซาก คิดบ่อยครั้ง

    นี่น่ะมันมีเหตุมีผล แล้วพอมันคิดไปแล้วถ้ามันรู้ทันนี่ มันจะเริ่มหยุด ตอนหยุดนี่คือสมาธิ แต่มันหยุดช่วงแป๊บเดียว เดี๋ยวคิดต่อ คิดต่อ คิดต่อ แต่ถ้าเราทันบ่อยๆ ครั้งเข้า ความคิด ความหยุดนี่ มันจะนานขึ้น ความคิด ช่องไฟของความที่หยุด มันจะห่างขึ้นๆ เราจะเห็นเป็นความหยุด และเดี๋ยวก็คิดอีก คิดอีก จนเราสามารถควบคุมได้ เราจะให้คิดก็ได้ ไม่ให้คิดก็ได้

    นี่คือปัญญาอบรมสมาธิ มันเป็นสมาธินะ เป็นสมาธิเพราะอะไร เพราะเราเป็นเจ้าของนะ นี่เวลานั่งสมาธิ เวลาเป็นสมาธิกันนี่ มาถามว่า ผมเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างไรครับ นี่เพราะเรารู้ของเราใช่ไหม แต่ถ้าเราไม่มีอะไรเลยนี่ เราจะรู้ว่าเราเป็นสมาธิหรือเปล่า แต่คิดว่าเป็น แต่ไม่ได้เป็น เหมือนนอนหลับ นอนหลับนี่ เราควบคุมไม่ได้ การพักผ่อนนอนหลับ มันเป็นเรื่องของธรรมชาติ แต่ไม่มีใครรู้ว่า มันเป็นสมาธิอย่างไร

    แต่ถ้ามีสติอยู่นี่ เห็นไหม มันไม่ได้เหมือนนอนหลับ เหมือนเรานั่งสมาธินี่ มันจะมีการพักที่ดีมาก นี่ถ้าการพักอย่างนี้บ่อยครั้ง บ่อยครั้งเข้านี่ จิตมันจะมีกำลัง จิตถ้ามีกำลังนี่ จิตจะเป็นเอกัคคตารมณ์ ถ้าจิตมีกำลัง มันจะไปเห็นอย่างที่โยมว่าเมื่อกี้นี้ เห็นความคิด ความคิดไม่ใช่จิตนะ จิตเห็นความคิด เราถึงค้านพวกดูจิตไง เขาบอกให้ดูจิตไปเฉยๆ ดูจิตไปเฉยๆ เดี๋ยวจะเป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคา เป็นอนาคา เราบอกเป็นไปไม่ได้ เป็นไปไม่ได้เพราะว่าอะไรรู้ไหม เพราะไม่มี สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป

    สัมมาทิฏฐิ คือปัญญาชอบ สัมมาสังกัปโป คือการชอบ เพียรชอบ สติชอบ ระลึกชอบ แต่ดูเฉยๆ อะไรเป็นความชอบ ไม่มี คืองานน่ะ มรรค ๘ น่ะมี หนึ่งเดียว หนึ่งเดียวคือความรู้ สติก็ไม่มี

    โยม : (เสียงไม่ชัดเจน)

    หลวงพ่อ : อ้าวๆ ค่อยๆ ว่า ค่อยๆ คิด

    โยม๑ : ดูเขามอง มองมาเฉยๆ ใช่ไหม

    หลวงพ่อ : ใช่ ถ้ามอง มองเฉยๆ

    โยม๑ : คือต่างคนต่างอยู่ เขาคิดของเขา เราก็มองของเขา

    หลวงพ่อ : แล้วได้อะไรขึ้นมา

    โยม๑ : ก็เห็นว่าไม่ใช่ของเรา

    หลวงพ่อ : เห็นเพราะเราคิด มันไม่ใช่.. ธรรมะนะ จิตนี่ กิเลสนี่มันอยู่ที่จิต กิเลสมันอยู่ที่จิต มันต้องไปแก้กันที่จิต แต่แก้ที่เราเห็น เราเห็นนี่เป็นเงา ไม่ใช่ตัวจิต

    โยม๑ : ต้องแก้ตัวจิต ผู้ดูอยู่หรือครับ

    หลวงพ่อ : อ้าว แล้วมันจะเข้าถึงผู้ดูได้ไหม

    โยม๑ : พยายามจะเข้าไปดูให้ได้

    หลวงพ่อ : นี่น่ะ เราจะพูดอย่างนี้ไงนี่ ค่อยๆ พูดถึงนะ นี่เราจะบอกว่า อันที่เราพูดเมื่อกี้นี้ ยังไม่เข้าถึงตรงนี้นะ เราปูพื้นก่อนไง เราจะปูพื้นว่า ปัญญาอบรมสมาธินี่เป็นอย่างไร พอเป็น ถ้าเป็นโดย นี่เราพูดประสาเรา พวกเรานี่เป็นดินน้ำมันกันก้อนหนึ่ง แล้วเราก็จะมาปั้นเป็นรูปสัตว์ ทีนี้การจะปั้นรูปสัตว์น่ะ การปั้นรูปสัตว์ การปั้นรูปสัตว์น่ะคือวิปัสสนา แต่ถ้าดินน้ำมันก้อนหนึ่งก่อน เรามีดินน้ำมันคนละก้อนก่อน

    จิต ตัวจิตน่ะ การดูจิตเฉยๆ นี่ มันดู มันดูไปเฉยๆ พอดูไปเฉยๆ นี่ มันไม่ใช่ดินน้ำมัน มันเป็นดินเหนียวแห้ง มันปั้นไม่ได้ ดินเหนียวนี่เวลาเรามาปั้นเป็นสี่เหลี่ยม แล้วให้มันแห้งเลยนี่ เราจะปั้นอะไรเราต้องเอาน้ำใส่ก่อนใช่ไหม ให้มันอ่อนตัว นี่พูดถึง พวกเราจะบอก ถ้าเป็นดินน้ำมันนะ คือมันเป็นตัวจิต ตัวจิตเป็นนามธรรม ที่มันจะเคลื่อนไหวได้มหาศาลเลย

    แต่โดยธรรมชาติของมันน่ะ มันเคลื่อนไหว เราเปรียบนะ รถนี่เกียร์อัตโนมัติ รถนี่เกียร์อัตโนมัตินะ ถ้าอยู่ในเกียร์น่ะปิดเครื่องได้ไหม ไม่ได้ เพราะรถมันจะเคลื่อนที่ใช่ไหม มันหนัก รถไม่ได้ ต้องปลดเกียร์ว่าง ออโตเมติกไง ออโตเมติกอยู่ในเกียร์นี่ติดเครื่องได้ไหม? ไม่ได้ เพราะว่ามันอยู่ในเกียร์ พลังงานมันไม่ไหว ต้องปลดเกียร์ว่างก่อน พอปลดเกียร์ว่างและติดเครื่องเสร็จ ถ้าเราไม่ใส่เกียร์รถจะเคลื่อนที่ได้ไหม? ไม่ได้

    โดยสามัญสำนึกของปุถุชน ในความคิดของเรานี่ ความคิดของเรานี่เหมือนเครื่องยนต์อยู่ในเกียร์ มันจะคิดตลอด ความคิดเรานี่ มันเกิดดับ เกิดดับ เกิดดับ มันเลยไม่ว่าง เขาจะดูจิตกันเพื่อให้ว่าง ดูจิตกันเพื่อให้ว่าง ใช่ไหม คือปลดเกียร์น่ะ ปลดเกียร์ว่างก็ได้ คือว่า ปลดความคิดกับจิตเราออกจากกัน ความว่างคือ จิตนี่มันปลดออกจากความคิด แต่โดยสามัญสำนึกของเรานี่ ความคิดกับจิตเป็นอันเดียวกัน ขยับก็คิดตลอดเวลา

    นี่ไง แล้วดูจิตกัน ดูเฉยๆ ดูเฉยๆ มันก็เหมือนกับดับเครื่องไว้เฉยๆ ไม่ปลดเป็นเกียร์ว่าง มันดูเฉยๆ แต่ถ้าของเรานี่นะ ปัญญาอบรมสมาธิแบบที่หลวงตาสอน มันมีอยู่เล่มหนึ่ง ไว้จะพิมพ์เอามาแจก ปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาที่ใช้กันโดยสามัญสำนึกของชาวพุทธ มันเป็นแค่นี้ แต่เขาไม่เข้าใจ เขาเข้าใจว่าเป็นวิปัสสนา

    โลก ตอนนี้นะโลกปฏิบัติ ที่มันกำลังสับสนอยู่ตรงนี้ สับสนเพราะว่า เพราะเขาบอกว่าศาสนาพุทธนี้ เป็นศาสนาแห่งปัญญา พอเขาใช้ความคิดกัน เขาบอกนี่คือปัญญา ไม่ใช่ ความคิด เราคิดกันอยู่นี่ เป็นโลกียปัญญา เป็นปัญญาวิชาชีพ หมอ ก็ใช้การศึกษาของทางการแพทย์ นักกฎหมาย ก็ใช้การศึกษาทางกฎหมาย นักวิศวะ เขาก็ใช้วิชาชีพ วิชาชีพที่เขาการก่อสร้างของเขา นี่คือปัญญาวิชาชีพ คือโลกียปัญญา

    มันไม่ใช่แนวแก้กิเลสหรอก เอ็งคิดขนาดไหนนะ คิดหาสตางค์ คิดหาสตางค์กัน ไม่ได้คิดว่าจะมาปลดเปลื้องกิเลส แต่บางทีมันมีธรรมสังเวช มันเศร้าใจบ้าง ถ้ามีสติไง มันคิดแล้วมันสะเทือนใจบ้าง แต่มันก็ไม่ใช่ธรรม เพราะมันเป็นอริยบุคคลไม่ได้ มันถึงต้องกลับมาที่ความสงบนี่ก่อน แล้วที่เขา กลับมาที่ความสงบก่อนน่ะ เขาใช้ปัญญากันน่ะ ใช้ปัญญาในความคิดนี่ แล้วมันหยุดได้ เขาคิดว่านี่เขาเป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคา เป็นอนาคากัน

    ถ้าเป็น เราถาม พวกอาจารย์หมอ เขาจะเอาลูกศิษย์มา เราถาม มึงเป็นอาจารย์เขานี่ ถ้าลูกศิษย์มันส่งหน่วยกิตไม่ครบนี่ อาจารย์ให้ผ่านได้ไหม มรรค ๘ มันไม่มี แค่ทางการศึกษานี่ ทางวิจัยนี่ มันก็ไม่ผ่านอยู่แล้ว ไม่ผ่านอยู่แล้ว แล้วความผ่านจริงๆ มันผ่านที่ใจ นี่มันผ่านที่ใจ เพราะใจมันเป็นเองนี่ ดูสิ ครูบาอาจารย์เราที่เป็นพระอรหันต์นะ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่งอยู่ข้างหน้า ก็ไม่ถาม ถ้าถามนะ เอ็งสงสัยแล้ว ไม่ถามหรอก

    มันผ่านที่ใจน่ะ ใจมันผ่านของมัน เป็นสันทิฏฐิโก แต่ทีนี้ทุกคนเลย เป็นโสดาบัน แต่ต้องพยายามวิ่งหาอาจารย์รับรองกัน วิ่งไปหาให้อาจารย์รับรอง มันผ่านที่ไหน มันไม่ได้ผ่านเลย นี่เราพูดถึงปัญญาอบรมสมาธิก่อน ปัญญาอบรมสมาธินี่ สติเรามันจะเท่ากับความคิด มันจะรู้เท่าความคิด แล้วความคิดมันจะหยุด เพราะเมื่อก่อน ความคิดโดยกิเลส มันคิดโดยธรรมชาติของมัน นี้คือสามัญสำนึกของโลก

    ทีนี้พอเราศึกษาธรรมกัน เราศึกษาธรรม เรามีสติ เรามีสัมปชัญญะ ความคิดเรานี่ สติเรานี่ตามความคิดเราทัน พอมันตามความคิดเราทันมันก็หยุด หยุดแค่นั้นน่ะ เพราะคนปฏิบัติมา เราทำมาหมดแล้ว มันจะหยุดเฉยๆ แล้วหยุดนี่ หยุดแล้วทำอย่างไรต่อไป ถ้ามีสตินะ พอหยุดปั๊บเดี๋ยวก็คิดต่อ เพราะโดยธรรมชาติ ธรรมชาติของขันธ์ ธรรมชาติของธาตุรู้ มันเหมือนธรรมชาติของน้ำมัน มันเจอความร้อนมันจะติดไฟทันที มันเป็นธรรมชาติของมัน

    ธรรมชาติของมันโดยสามัญสำนึกไง ขันธ์ ๕ ไง สถานะของมนุษย์ มนุษย์มีธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ มีนามธรรมคือความคิด กับธาตุ ๔ คือร่างกาย นี่คือธรรมชาติของมนุษย์ ธรรมชาติของเทวดา ธรรมชาติของพรหม มันก็เป็นธรรมชาติของเขา มันก็เป็นธรรมชาติของเขาอยู่แล้ว ทีนี้ธรรมชาติของเรานี่ เราถึงบอกว่ามนุษย์นี่มีบุญมาก มีบุญมากเพราะอะไร เพราะมีร่างกายกับจิตใจ เพราะร่างกายนี่มันบีบคั้นจิตใจตลอด ร่างกายนี่มันจะบีบคั้น เพราะร่างกายนี่ต้องการอาหาร ร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วย ร่างกายปวดเมื่อยน่ะ ร่างกายนี่มันจะบีบคั้นจิตใจตลอด ให้เรารู้สึกตัว

    แต่ถ้าเป็นเทวดานี่ เขาเป็นทิพย์ เขาไม่มีร่างกาย ธาตุ ๔ แต่เขาเป็นรูปร่างเหมือนกัน แต่รูปร่างของเขานี่เป็นนามธรรม มันไม่ต้องการอาหารอย่างนี้ มันเป็นอาหารทิพย์ มันก็เลยแบบว่า ไม่ปวดเมื่อยเหมือนเราไง ไม่ต้องขับถ่าย

    หลวงปู่เจี๊ยะพูด จำแม่นเลย หลวงปู่เจี๊ยะบอก ในสวรรค์ไม่มีตลาดนะมึง ในสวรรค์น่ะ ไม่มีตลาดให้มึงซื้อขายหรอก มันบุญใครบุญมันหลวงปู่เจี๊ยะเน้นบ่อย เวลาเจอกัน มาหาโยมน่ะ สวรรค์ไม่มีตลาดนะ สวรรค์ไม่มีตลาด

    ไอ้นี่มันมีตลาด ไปหาซื้อเอา นี่พูดถึงเวลาถ้ามันทันปั๊บนี่ มันจะสงบเข้ามาอย่างนี้ คือปัญญาอบรมสมาธิ เราฟังอยู่ ครูบาอาจารย์ที่สอนว่าใช้ปัญญาๆ ปัญญาของเขานี่คือปัญญาอบรมสมาธิ พอปัญญามันทันแล้วมันหยุด จนลูกศิษย์ของเขาหลายคนมาหานะ เมื่อก่อนลูกศิษย์เขาบอกว่า ในสำนักอย่างนี้ ถ้าอาจารย์น่ะ วุฒิภาวะอาจารย์ไม่ถึง สอนไปตามวุฒิภาวะ หลวงตาท่านบอกอยู่ ถ้าพระเราเทศน์นี่ เหมือนเปิดหัวอก ใครมีความรู้ขนาดไหน ก็เปิดหัวอกขนาดนั้น

    ทีนี้ อาจารย์ของเขาน่ะ มีวุฒิภาวะแค่นี้ ก็สอนลูกศิษย์กัน ลูกศิษย์ ก็เป็นพระนี่ เต็มวัดเลย ก็ใช้ตรรกะ ใช้ความคิด แล้วถ้าความคิดของใครนี่ มันขบความคิดแตก เขาให้ค่านี่เป็นพระโสดาบัน ถ้าความคิดนี่มันคิดอยู่นะ แล้วมันไล่ความคิดตัวเองทัน มันขบความคิดตัวเองทัน ความคิดมันก็ไม่มี เขาให้สกิทาคา ให้อนาคา

    แล้วสกิทาคา อนาคานี่ ทำไม ก็เรามีการกระทำใช่ไหม เพราะปัญญามันคิด แล้วมันขบความคิดนี่ มันไล่ความคิด ความคิดมันก็หยุดใช่ไหม แล้วพอความคิดหยุดมันก็ว่าง โอ๋ย สบายมากนะ

    นี่ลองทำสิ ถ้าใครปล่อย โอ้โฮ จะสุขมาก แล้วก็เคลมว่าเป็นโสดาบัน แล้วอาจารย์ก็รองรับ (เดี๋ยวๆ อธิบายก่อนนะ) อาจารย์ก็ยอมรับ พอยอมรับแล้วเขาก็ออกมาสร้างวัดกัน เขาก็มั่นใจ มั่นใจว่าเขานี่ได้อนาคา ได้สกิทาคากัน มาสร้างวัด พอมาสร้างวัดปั๊บ มันมีการทำงาน มันมีการสังคม พอสังคมน่ะ จิตมันเริ่มรับรู้ พอรับรู้แล้วมันก็เสื่อม พอมันเสื่อมปั๊บ อ้าว เฮ้ย อนาคา สกิทาคา มันหายหมดเลย

    พอเสื่อมแล้วมันก็เริ่มสงสัย สงสัยในสันทิฏฐิโก สงสัยในประสบการณ์ของจิต ว่าจิตเรานี่เป็นอนาคา เป็นโสดาบันมาแล้วนี่ ทำไมมันเสื่อม มันไปสงสัยตัวเราปั๊บ มันก็สงสัยอาจารย์ เพราะอะไร เพราะว่าอาจารย์การันตีเรามา อ้าว แสดงว่าการประพฤติปฏิบัติแนวทางนี้ มันต้องเป็นไปไม่ได้สิ นี่น่ะ สิ่งนี้มันเป็นประสบการณ์ของพระที่มาหาเราอย่างนี้ มาพูดให้ฟังอย่างนี้หลายองค์มาก

    ทีนี้พระที่พูดนี่ เขาพูดด้วยประสบการณ์ของเขานะ แต่เรานี่ไม่เชื่อมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เพราะถ้าเป็นอริยสัจนะ ดูสิ ดูอริยสัจ ดูความ.. นี่เรานั่งกันอยู่นี่ พระอาทิตย์ขึ้นนี่ดวงเดียวกัน พระอาทิตย์ตกก็ดวงเดียวกัน อริยสัจมันเป็นอันเดียวกันไง มันต้องเหมือนกัน แต่เราเห็นพระอาทิตย์ขึ้นนะ กลางวันเราบอกว่าพระอาทิตย์ขึ้น เขาบอกไม่ใช่ เขาบอกมันร้อน แต่กลางคืนพระจันทร์ขึ้น มันบอกนั่นพระอาทิตย์ขึ้น มันเย็น เราเชื่อไหม มันขัดแย้งกันโดยข้อเท็จจริง เราถึงไม่เชื่อ เราไม่เชื่อมาแต่ไหนแต่ไร

    เพียงแต่ว่าพูดไปนี่ มันเหมือนกับเสียงส่วนน้อยกับเสียงส่วนใหญ่ แล้วพอเขาเองเขาขบ เพราะว่าเขาใช้ปัญญา แล้วเขาขบความคิดเขานี่ ว่างหมด เขาก็มั่นใจว่าเขาเป็นโสดาบัน แล้วอาจารย์เขาบอกโสดาบัน แล้วพอขบอีกรอบหนึ่ง ก็สกิทาคา อนาคา แล้วเดี๋ยวนี้นะ เขาเองเขาก็เสื่อมหมด นี่พูดถึงอาจารย์ที่ใช้ปัญญาๆ นะ แต่ถ้าพูดถึงของเรานี่ ขณะที่เขาขบ แล้วมันปล่อยน่ะ นั่นน่ะคือปัญญาอบรมสมาธิ

    สมาธิคือมันปล่อย จิตมันกลับมาพื้นฐานเดิม แล้วถ้าเรารักษาบ่อยครั้งเข้า สมาธิมันเลยเป็นอนิจจัง มันมีอยู่ แต่เดี๋ยวมันก็แปรสภาพ ถ้าเรามีสติ เรามีเหตุมีปัจจัยรักษามัน สมาธิจะอยู่มั่นคง ปัญญานี่ เราใช้ไล่ความคิดไปตลอด พอเราใช้ปัญญานี่เห็นไหม ปัญญาคือความคิดไง แล้วเราตั้งสติ ดูความคิดเรา คิดอย่างนี้ ดีหรือชั่ว คิดอย่างนี้ เจ็บปวดหัวใจไหม ถ้าคิดอย่างนี้เจ็บปวดหัวใจ เอ็งคิดทำไม

    คือเราเห็นโทษนะ มือนี่เราไปจับไฟน่ะมันร้อน แล้วเอ็งก็จับ แล้วเอ็งก็ร้อน แล้วเอ็งก็จับ แล้วเอ็งก็ร้อน แล้วเมื่อไหร่เอ็งจะเข็ดล่ะ ความคิดก็เหมือนกัน ถ้าสติมันตามความคิดไปเรื่อยๆ น่ะ มันเห็นโทษนะ คิดอย่างนี้แล้วก็เจ็บทุกทีเลย คิดอย่างนี้แล้วเจ็บทุกทีเลย แล้วเอ็งคิดทำไม พอคิดทำไมมันก็เห็นโทษ เห็นไหม พอมันจะคิดน่ะ มึงคิดอีกละ ทันขนาดนั้นนะ ขณะจะคิด อ่ะแหน่ะ แหน่ะ แหน่ะ มันจะหยุดเลย มันเข็ด มันคิดจนมันเข็ด นี่น่ะปัญญาอบรมสมาธิ มันจะทันกันอย่างนี้ แต่ชั่วคราวนะ

    โยม ๑ : แต่มันมี ๒ แบบ บางทีมันก็ไม่หยุดนะ

    หลวงพ่อ : นั่นไง ก็ชั่วคราวไง กำลังจะออกตรงนี้ไง คำว่าชั่วคราว ถ้าชั่วคราวหมายถึงว่า ถ้าสติเราดี แล้วกิเลสนี่มันไม่ทันความคิดเรา แต่ถ้าต่อไป กิเลสนี่ พอเราเคยชนะมันแล้ว มันก็ต้องปรับตัวมัน พอมันปรับตัวมันน่ะ ใช้ความคิดเดิมนี่มันรู้ทัน เห็นไหม มันรู้ทัน นี่ปัญญาอบรมสมาธิ

    ฉะนั้น ถ้าเวลาจิตมันสงบแล้ว เห็นไหม เขาถึงต้องให้ใช้ปัญญา จิตสงบไง ให้ใช้ปัญญาๆ ปัญญาในอะไร ก็ใช้ปัญญา นี่ไม่ใช่ปัญญาหรือ ปัญญาที่ใช้อยู่แล้วนี่มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ แล้วถ้าเกิดสมาธิแล้ว ถ้าใช้ปัญญาอีก มันจะเป็นปัญญา ปัญญาฆ่ากิเลสไง นี่สมาธิอบรมปัญญา ปัญญาอบรมสมาธิ พอมันไล่เข้าไป มันจะสร้างวุฒิภาวะของใจให้สูงขึ้น มันก็จะทันกิเลสตัวนั้นใช่ไหม พอทันเข้าไปเรื่อยๆ ทันเข้าไปเรื่อยๆ มันจะย้อนเข้าไป จากที่ว่า พอเราใช้ปัญญาเข้าไปแล้ว พอมันหยุดแล้วนี่ เดี๋ยวมันก็คิดอีก แล้วมันจะพัฒนาอย่างไร แล้วจะวิปัสสนาอย่างไร

    ทุกคนถามว่า ก็ปัญญามันจะวิปัสสนาอย่างไร พอมันสงบแล้ว เราก็ใช้ปัญญา ปัญญาคราวนี้เราใช้ในกาย เวทนา จิต ธรรม ในกาย ถ้าในกายนี่ ในกายของมนุษย์น่ะมันมีโครงสร้างอย่างไร ในกายของมนุษย์ใช้อาหารอย่างไร ในกายมนุษย์มันคงที่ไหม ในกายมนุษย์นี่มันเป็นของชั่วคราวไง แล้วเรานี่จะไปยึดของชั่วคราวเป็นของเราได้ไหม

    ถ้าเราใช้ปัญญาอย่างนี้ปั๊บนี่ มันจะละเอียดเข้ามา อย่างนี้น่ะมันเป็นปัญญา ให้จิตนี่ ให้สมาธินี่มันพัฒนาขึ้น พอพัฒนาขึ้นน่ะมันจะรักษาสมาธิได้ง่ายขึ้น แล้วเรารักษาบ่อยครั้งๆ นะ ความคิดอย่างนี้ เป็นความคิดในการฝึกปัญญานะ ยังไม่ใช่ปัญญาแท้ ถ้าเป็นปัญญาแท้ในวิปัสสนานะ มันจะจิตเห็นอาการของจิต จิต จิต จิต จิต เห็นอาการของจิต

    เคยเห็นจิตกันไหม ไม่เคยเห็นจิต เห็นอาการของจิต เห็นเงาของร่างกาย ไม่เคยเห็นร่างกาย ตัวจิตคือตัวพลังงาน ความคิดนี้เป็นเงา เราดูที่ความคิดคือดูที่เงา แต่ถ้าดูที่เงา เงานี้มันมาจากจิตใช่ไหม มันสาวไปที่จิตได้ ขณะที่เราเห็นกันเราคิดกันอยู่นี่ เป็นเงานะ ไม่ใช่ตัวจิต ถ้าไปเห็นตัวจิต มันก็เหมือนกับวิปัสสนา ที่จิต ที่สมาธิอบรมปัญญา

    สมาธิอบรมปัญญาคือเจโตวิมุตติ กำหนดพุทโธ พุทโธ พุทโธเข้าไปก่อน พอจิตมันก็สงบก่อน จิตสงบก่อนมันจะมีหลักมีฐานของมัน แล้วจิตนี่จะเห็นกาย เห็นกายนี่มันก็เหมือนเห็นจิต เพราะอะไร เพราะจิตมันเห็นกาย กายอันนี้เป็นกายในอริยสัจ ไม่ใช่กายในสามัญสำนึก กายในอริยสัจคือกายในนิมิตไง จิตเห็นกายจากภายใน จิตเห็นน่ะ

    เนี่ยโดยทั่วไปนี่ ส่วนใหญ่แล้วเป็นสมาธิอบรมปัญญา คือจิตต้องสงบก่อนแล้วเห็นกายกัน สอนกันมาอย่างนี้ แต่เดี๋ยวนี้มันปัญญาชนไง นี่ถึงคราวถึงยุคสมัยนี่ปัญญาชน เมื่อก่อนมันศรัทธาจริต คือทุกคนไม่มีศาสนา ก็เชื่อมั่น เชื่อมั่นก็ทำได้ง่าย แต่ตอนนี้ พอศาสนามีแล้ว ทุกคนก็รู้ว่า นี่ มรรคผลเป็นอย่างนี้ๆ แล้วตอนนี้ ปัญญาชนขึ้นมา ก็ใช้ปัญญากัน

    พอใช้ปัญญากัน ก็ใช้สามัญสำนึก ก็เลยติดเบ็ดตัวเอง ติดกิเลสไง ติดความเห็นของตัวไง แต่มีหลวงตา หลวงตานี่ท่านสร้างบุญญาธิการมา ท่านถึงบอกว่าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ พอเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญานี่มันตะล่อมเข้ามา ให้มันเป็นจิตที่มันไม่มีกิเลสเจือปนก่อน พอจิตไม่มีกิเลสเจือปน พอมันไปเห็นอีกทีนี่เห็นไหม นี่จิตเห็นอาการของจิต คือจิตเห็นความคิดไง

    แต่ที่เราเป็นความคิดอยู่นี่ เราเหมือนกับ เราเองนี่มันเป็นตัวความคิด แล้วเราก็ไล่ความคิดให้มันหยุดใช่ไหม เราก็เห็นของเราเฉยๆ ใช่ไหม แต่ถ้าตัวจิตมันเห็นนะ มันไม่มีเรานะ ตัวจิตไปเห็นไม่มีเรา มันเห็นของมันเอง เราเคยไปเที่ยวป่าไหม แล้วไปเห็นภาพ ในป่า ไปเห็นดอกไม้ในป่าที่มันสวยมาก ที่เราตะลึงเลยนี่ เคยเห็นไหม อาการอย่างนั้นน่ะ มันเห็นแล้วมันไม่มีตัวเราเลย เพราะภาพที่เห็นน่ะเรามันไม่มีแล้ว เพราะเราทึ่งในภาพที่เห็น

    นี้เห็นโดยที่เราไปเห็นโดยสามัญสำนึกนะ แต่ถ้าจิตนะมันเป็นตัวมันเอง มันเห็นละเอียดกว่านั้น แต่เอามาเปรียบเทียบว่ามันจะเป็นอย่างนั้น จิตมันต้องสงบก่อน จิตเห็นอาการของจิตนะ มันจะทึ่งมาก พูดอย่างนี้นะ มันจะพูดซึ้งมากกับคนที่เห็นด้วยกัน เพราะมันเป็น เวลาพูดธรรมะนี่มันเหมือนกับ เรานะ (โทษนะ ไม่ได้แช่ง) เรานี่นะ ฟังเขาเล่าถึงอุบัติเหตุรถชนกัน ประสานงานี่ เราฟังแล้วก็สยดสยองเนาะ แต่ถ้าเรานั่งอยู่ในรถนั้นนะ แล้วรถนั้นประสานงานะ เราจะสยดสยองกว่านั้น

    เห็นจิตคืออย่างนั้น คือเราเข้าไปอยู่ในอุบัติเหตุนั้น มันจะทึ่งในความเห็นนั้น คือเป็นการเห็นจริงไง

    โยม ๒ : หลวงพ่อคะ มันเหมือนกับมีความรู้สึกว่าเห็น เหมือนเมื่อกี้กำลังคิดๆ อยู่นี่ เห็นอารมณ์มันแยกออกมาจากจิตเลย มันอยู่คนละที่เลย อย่างนั้น

    หลวงพ่อ : ก็คิดๆ อยู่ ก็คิดๆ อยู่ ก็คือความคิดน่ะ

    โยม ๒ : แต่มันก็ไม่เที่ยงใช่ไหมคะ

    หลวงพ่อ : ไม่ใช่ ไม่เที่ยง อันนี้เราจะบอกว่าไม่ผิดนะ อันนี้คือการฝึกฝน ปัญญาจะเกิดจากการฝึกฝน ต้องให้ฝึก นี่น่ะฝึกปัญญา ปัญญาจะเกิดเองไม่ได้ ถ้ามันไม่เหมือน.. นี่ดูสิ ผลไม้เราปลูก ผลไม้กว่าจะออก มันต้องออกเป็นเกสรก่อน ถึงออกเป็นเมล็ดใช่ไหม ถึงจะออกเป็นผลใช่ไหม จากผลอ่อนเป็นผลแก่ใช่ไหม มันพัฒนาไหม

    จิต การวิปัสสนาก็เหมือนกัน จากที่เราฝึกนี่เป็นเกสร เป็นอะไรก็ฝึกไป มันจะโตขึ้น โตขึ้นน่ะ แต่มันไม่ใช่ผลไม้พลาสติก เราไปซื้อเห็นไหม ผลไม้นี่ดินเผา ไปซื้อสิ เหมาได้เลย มันปั้นให้เสร็จน่ะ ยกมาได้เลย นี่เราคิดกันอย่างนั้นไง เราคิดว่ามันสำเร็จรูปในการวิปัสสนา ในการภาวนานี่ เราคิดว่ามันจะสำเร็จรูป คือถ้าเป็นจิตก็ต้องเป็น.. อ้าว นี่ผลไม้ ใช่ไหม ผลไม้เซรามิค เขาปั้นไว้ขาย ก็ยกมาเลย ยกมาเลย

    ไม่ใช่ ไม่ใช่หรอก ทีนี้พอบอกว่าเวลามันเห็น เห็นปั๊บ มันเห็นต้องเป็นอย่างนี้ แล้วบอกถ้าพูดถึงผลนะ อย่างนี้ถูกไหม ผิด ผิดที่ไหน ผิดที่มันยังไม่ใช่ แต่ถ้าพูดถึงการปฏิบัติถูกไหม ถูก ถูกเพราะว่าเริ่มต้น เพราะเริ่มต้นมันต้องเป็นอย่างนี้ แล้วมันจะพัฒนาไป แต่บอกว่าถูก ถ้าถูกแล้วนะ ถูกแล้วต้องทำ ไม่ใช่ถูกแล้วนะฉันจะนอนจมอยู่นี่ ไม่ใช่

    การเริ่มต้น นี่มันต้องมีการเริ่มต้น นี่การสอนไงมันถึงว่าการปฏิบัติน่ะ มันต้องมีอนุบาลก่อน เริ่มต้นน่ะต้องมีศรัทธาก่อน มีศรัทธาก่อนนะ เราพูดบ่อย อย่างเช่นการอดอาหารนี่ การอดอาหารถ้าเป็นวิทยาศาสตร์นะ บอกเลยว่าพวกนี้ ทุกข์นิยม อยู่ดีๆ มาอดอาหารกันทำไม เราบอกว่า ไม่ใช่ทุกข์นิยมหรอก มันเป็นสัจจะนิยม มันเป็นความจริง

    การอดอาหารนี่เราผ่อนอาหารกัน เพราะอะไร เพราะเราทำงานกันไม่ค่อยได้ เพราะร่างกายมันแข็งแรง สิ่งต่างๆ นี่พอแข็งแรง กิเลสมันก็อาศัยร่างกายเรานี่เป็นเครื่องมือของเขา และความคิดกับร่างกายนี่ กิเลสมันจะใช้นี่เป็นทางเดินของเขา ฉะนั้นถ้ามันเป็นทางเดินของเขานี่ เราสู้เขาไม่ไหวใช่ไหม เราก็จะผ่อนแรงของกิเลส คือเราก็ผ่อนอาหาร ให้ร่างกายนี่มันไม่แข็งแรง ไม่เข้มแข็ง

    กิเลสมัน ถ้าเราเข้มแข็งนี่ ร่างกายสดชื่นน่ะ อยากจะเที่ยวทั้งนั้นน่ะ ถ้าร่างกายอ่อนแอ มันเดินไม่ไหว ไม่ค่อยมีใครอยากไปไหนหรอก อยากนั่งเฉยๆ แต่ถ้ากินอิ่มนอนอุ่นนะ ป่ะ เราไปกันเถอะ นี่ถ้าเราผ่อนอาหาร เราผ่อนเพื่อตรงนี้ไง ผ่อนเพื่อไม่ให้มันไปทางโลกเกินไป เราผ่อนอาหาร แต่ไม่ได้ผ่อนอาหารแบบทางแอฟริกา

    แอฟริกานี่เขาไม่มีจะกิน เขาทุกข์นะ เขาไม่มีจะกินนี่ เขาก็ทุกข์ เขายิ่งทุกข์หนักเข้าไปใหญ่เลย ถ้ามีกิน กินเขาก็มีสุข ถ้าไม่มีกินนะ มันยิ่งทุกข์ยิ่งร้อนนะ อย่างนี้ภาวนาไม่ได้หรอก นี่จิตไม่ควรแก่การงาน ภาวนาไม่ได้ แต่ของพวกเรานี่ เราศรัทธาในศาสนา เพราะในศาสนานี่เราหวังมรรคผล นิพพาน ถ้าหวังมรรคผล นิพพาน เราไม่ต้องมีการกระทำ ไม่ต้องมีการปฏิบัติ

    ทีนี้ในการปฏิบัตินี่เราปฏิบัติไปแล้วนี่ กิเลสมันต่อต้าน เราเจตนาเราอยากอด เราไม่ใช่ไม่มีจะกิน เรามี บิณฑบาตมานี่เต็มบาตรเลย คนน่ะใส่บาตรมามหาศาลเลย ทำไมเราต้องมากระเหม็ดกระแหม่ มากินคำสองคำ ที่เหลือน่ะเอาไปให้คนอื่นเขากิน เพราะอะไร เพราะเราเจตนา เจตนาคือใจ

    นี่ไง เจตนาคือตัวใจ ตัวใจมันตัวที่กิเลสอยู่ที่นั่น เราเข้าไปขัดเกลามัน เราเข้าไปต่อสู้กับมัน การอดอาหารอย่างนี้ มันเป็น อดอาหารเพื่อจะต่อสู้กับกิเลส มันเป็นความเจตนา เป็นความตั้งใจ เป็นความพยายามของเรา มันไม่ใช่อดเพราะว่าเราคับแค้นใจ ใช่ไหม เหมือนกับการฆ่ากิเลสนี่ได้บุญ แต่การฆ่าตัวตายน่ะเป็นบาป

    เวลาเจ็บ อัดอั้นตันใจน่ะทำลายตัวเอง อันนั้นเป็นกรรม แต่ถ้าการฆ่ากิเลส กิเลสมันเป็นนามธรรม กิเลสมันเป็นสิ่งอวิชชาที่มันอาศัยจิตเราเกิดขึ้นชั่วคราว เราฆ่ามันได้บุญ การฆ่าเห็นไหม การฆ่า ฆ่าทิฐิมานะความผิดน่ะ มันเป็นกุศล

    ฉะนั้นไอ้ที่เราอดอาหารนี่ เราอดอาหาร เราผ่อนอาหารเรานี่ เพื่อตรงนี้ไง ทีนี้จะย้อนกลับมาว่านี่คือวิธีการที่เริ่มต้น ถ้าบอกว่าผิดไหม มันไม่ผิดหรอก มันเป็นเจตนาที่เรา จะผ่อนคลายมัน ทีนี้พอมัน ตรงนี้เริ่มต้นที่ทำกันอยู่โดยสามัญสำนึกใช่ไหม ทำสมาธิกันทั้งนั้นน่ะ แม้แต่นามรูปอภิธรรม ว่าใช้ปัญญา ปัญญาน่ะ เขาบอกว่าปฏิบัติโดยสายตรงโดยใช้ปัญญานี่ ปัญญาอะไรของเอ็ง กูอยากรู้นัก ปัญญาอะไร ก็ปัญญาจากกิเลสมึง

    โดยปุถุชนนี่ มันก็กิเลสเต็มตัว แล้วก็ใช้ปัญญา แล้วปัญญามึงพ้นจากกิเลสตรงไหน โกหกตัวเองทั้งนั้นน่ะ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะไม่มีครูบาอาจารย์รู้จริง ถ้ามีครูบาอาจารย์ที่ท่านรู้จริงน่ะ เพราะครูบาอาจารย์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มาจากกิเลส เป็นเจ้าชายสิทธัตถะมีครอบครัวด้วย ติดปฏิบัติอยู่ ๖ ปีนี่ ผิดพลาดมา ๖ ปีนี่ นั่นน่ะมันเป็นประสบการณ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผิดพลาดมา ๖ ปี

    แล้วพอไปถูกต้องขึ้นมา ท่านเอาความถูกต้องนี่มาสอนเรา แล้วที่ทำๆ กันอยู่นี่ มันไม่มีสามัญสำนึก ไม่มีวุฒิภาวะที่มาสอนกัน นี่ปฏิบัติโดยสายตรง ใช้ปัญญาโดยสายตรง ไม่มีหรอก ปัญญาที่เอ็งใช้นะ เพราะว่าปัญญานี่มันไม่ลอยมาจากฟ้า ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ มันจะได้ออกมาจากโปรแกรม ปัญญาของคนน่ะ มันก็ออกมาจากตัวใจ ภวาสวะตัวภพ

    ความคิดน่ะมันมาจากในฐานที่ตั้ง นี่มนุษย์น่ะ สถานะมนุษย์นี่ นี่จุดยืนของเรามันอยู่ (โทษนะ) อยู่ที่เท้า ยืนขึ้นมาสิ จุดยืนที่เท้า ไม่ใช่หรอก จุดยืนอยู่ที่ใจ ใจน่ะเป็นภวาสวะ เป็นภพ ภพชาติอยู่ที่นี่ ภพชาติอยู่ที่นี่ มันปฏิสนธิจิต มันไปปฏิสนธิในครรภ์ของมารดา มันก็เกิดมาเป็นมนุษย์ ความคิดก็มาจากตรงภวาสวะ ตัวภพ ภพกับความรู้สึกนี่ ภพกับความรู้สึก อยากรู้เรื่องจิตนะ กลั้นลมหายใจ กลั้นลมหายใจ นั่นล่ะคือตัวภพ กลั้นลมหายใจไว้ ตัวที่กลั้นลมหายใจนั่น ความคิดมันมาจากตรงนั้น

    ถ้าความคิดมันมาจากตรงนั้น เห็นไหม เวลาจุดยืนของคนมันอยู่ที่นั่น แล้วถ้ามันใช้ปัญญาขนาดไหน ปัญญาถ้ามันออกมาอย่างนั้น มันก็ปัญญาของกิเลส ปัญญาของอวิชชา ปัญญาของสิ่งที่ออกมาจากภวาสวะ จากภพ จากภพคือตัวอวิชชา แล้วเวลามันสงบ ก็สงบกลับเข้าไปที่ตรงนั้น

    นี่ไง ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธินะ มันตัดรูป รส กลิ่น เสียงหมด ตัดความคิดหมด ดับหมดเลย แต่รู้อยู่นะ ถ้าดับไม่รู้ นั่นคือนอนหลับ ดับความคิด ดับความรู้สึก ดับอายตนะทั้งหมด ตัวจิตล้วนๆ นั่นน่ะคือตัวอัปปนาสมาธิ ฐีติจิต คือจิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้นี่เป็นจิตเดิมแท้ของปุถุชนนะ

    ถ้าจะวิปัสสนาเข้าไปนี่ อีกเดี๋ยวนะ มันจะตัดออกขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ขันธ์ ๕ ถ้ามันเป็นปัญญาวิมุตติ บอกขันธ์ ๕ นี่ มันเหมือนเปลือกส้ม ปัญญาวิมุตติ ตัวจิตคือตัวเนื้อส้ม โดยสามัญสำนึกนี่ เปลือกส้มนี่มันคลุมตัวส้มอยู่ พลังงานตัวนี้มันจะคิดอะไรออกมานี่ มันมีอวิชชาอยู่นี่ มันออกมา มันผ่านเปลือกส้ม เปลือกส้มคือความคิดไง ความคิดนี่มันก็จะอยู่ในอำนาจของมาร

    แต่เราใช้ปัญญาไล่เข้าไป ไล่จากเปลือกส้มมันสะอาดเข้าไป เห็นไหม เปลือกส้ม เพราะขันธ์น่ะ เวลาพระอรหันต์ เวลาเป็นพระอรหันต์แล้ว ขันธ์ ๕ ภารา หเว ปัญจักขันธา ขันธ์สะอาดไง แต่เราเป็นปุถุชนน่ะ มันก็สกปรก เป็นโสดาบันก็สะอาดนิดหนึ่ง เป็นสกิทาคาก็สะอาดครึ่งหนึ่ง เป็นอนาคานี่ ขันธ์ไม่มีเลย ทำลายขันธ์หมดเพราะอะไร เพราะขันธ์นี่ กามราคะนี่ ความชอบระหว่างเพศตรงข้ามนี่ มันมีข้อมูล คือสัญญา คือสัญญาอันละเอียด

    ถ้าพูดถึงนะ ถ้าตรงสเปคเรา โอ้โฮ รักหัวปรักหัวปรำเลย ถ้ามันไม่ตรงสเปคนะ มันไม่รักน่ะ มันขยะแขยงด้วย เพศตรงข้ามนี่มันกลับต่อต้านด้วย ถ้าข้อมูลนี้มันผิด นี่ นี่ปฏิฆะ กามราคะ เวลาถ้ามันหลุดไปแล้ว พระอนาคาถึงไม่มีกาม มันมีจิตล้วนๆ เป็นตัวเนื้อส้มไง พอตัวเนื้อส้มนี่ ตัวนี้ แล้วมันจะทำลายตัวมันเองอย่างไร ในเมื่อมันเป็นสิ่งที่ไม่มีอะไรกระทบ แต่ถ้ามันมีเปลือก เปลือกกับเนื้อนี่มันจะกระทบกัน

    นี่เวลามันถ้ามันเข้าถึงตรงนี้ปั๊บ จิตเดิมแท้มันมีอยู่ ๒ อย่าง จิตเดิมแท้โดยวิปัสสนา มันจะเป็นตัว เป็นพระอนาคา จิตเดิมแท้ของปุถุชน มันก็ไปเป็น เข้าไปที่ตัวจิตนี่เอง พอถึงตัวจิตปั๊บ แล้วถ้าจิตนี่มันเห็นจิต ตอนที่เขาพูดกันอยู่นี่นะ ว่าจิตเห็นจิต เห็นจิตนี่น่ะ มันเป็นสามัญสำนึก ไม่จริง

    โทษนะ เหมือนหมอ วินิจฉัยโรคผิด รักษาหายไหม หมอนี่วินิจฉัยโรคผิด เขาปวดหัวนะ ไปรักษาเขาปวดท้อง ไม่มีทางหายน่ะ นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อจิตมันไม่เห็นน่ะ มันก็วินิจฉัยโรคผิด ถ้าจิตมันเห็นจิต เห็นอะไร ถ้าจิตเห็นจิตนี่ หมอวินิจฉัยโรคถูก หมอวินิจฉัยโรคถูกแล้วให้ยาถูก ถ้าให้ยาถูกแล้ว เดี๋ยวโรคมันจะหาย (ชักงงไหม)

    นี่พูดถึงพื้นฐานเฉยๆ เลยนะ ที่พูดนี่ตั้งใจพูด ตั้งใจพูดเพื่อให้พวกโยมนี่เห็นตาม ให้เห็นตามแล้วให้เทียบเคียงกับคำพูดของเรา แล้วก็เทียบเคียงกับการพูดของการดูจิต ที่เขาดูจิตน่ะ จะไม่มีเหตุผลอะไรเลย ดูเฉยๆ ดูอย่างนั้นน่ะ ทีนี้พอดูไปแล้ว คำว่าดูใช่ไหม เราก็มีตาใช่ไหม พอตาดู ตาก็ต้องเห็น เห็นก็เห็นอย่างข้อเท็จจริง แล้วทำอะไรกันน่ะ แล้วเห็นแล้วนี่ ดูสิ สามัญสำนึกของคนไม่เหมือนกัน คนหนึ่งก็เห็นอย่างหนึ่ง ๒ คนยลตามช่อง

    คนหนึ่งนี่เห็นดวงดาว อีกคนเห็นโคลนตมน่ะ ก็แล้วแต่คนเห็น แล้วแต่อำนาจวาสนา แต่ถ้าเป็นอริยสัจนะ ไม่มีทาง ต้องจิตเห็นจิตเหมือนกัน เพราะอะไร เพราะมันเป็นกิเลส ไม่ใช่ ๒ คนยลตามช่อง ไม่ใช่ต่างคนต่างเห็นหรอก เป็นไปไม่ได้ ถ้าต่างคนต่างเห็น อริยสัจมันก็มีหลายหลากสิ

    แม้แต่เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ แม้แต่พระอรหันต์ทุกๆ ชนิด ต้องออกมาจากอริยสัจเหมือนกัน จะพิจารณาเวทนา พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมนี่ เหมือนกัน หลวงปู่เจี๊ยะบอกนะ บอก หงบเว้ย เวลาเถียงกับเราไง แล้วเราเถียงเต็มที่เลย

    “หงบ เราไปอยู่กับท่านอาจารย์ใหญ่นะ ท่านอาจารย์บอกท่านเจี๊ยะ ท่านเจี๊ยะพิจารณากาย ให้พิจารณาจิตบ้างสิ”

    พอหลวงปู่เจี๊ยะท่านบอกว่า พอหลวงตาท่านพูดอย่างนั้นปั๊บ เพราะปีนั้นท่านจำพรรษาอยู่กับหลวงตา พอหลวงตาพูดอย่างนั้น หลวงปู่เจี๊ยะก็พิจารณาจิตเลย เช้าขึ้นมา

    “ท่านอาจารย์ เหมือนกันน่ะ”

    นี่นะหลวงตาท่านก็หัวเราะเฉยๆ แล้วคำพูดนั้น ท่านเอามาใส่เรา คือท่านจะให้เราทำด้วย เราถึงลงใจทำ จะบอกว่า นี่หลวงปู่เจี๊ยะท่านพิจารณากายใช่ไหม หลวงตาท่านพิจารณาจุดและต่อมของจิต ทำไมเหมือนกันล่ะ? ทำไมเหมือนกัน?

    เห็นไหม อริยสัจเหมือนกัน กาย เวทนา จิต ธรรม ผลเหมือนกัน อริยสัจอันเดียวกัน แต่วิธีการต่างกัน ฉะนั้นคำพูดที่เขาบอก ดูจิต ดูจิตกันน่ะ เราฟังแล้ว มันไม่เหมือน มันไม่เหมือนเพราะมันไม่มีเหตุผล มันเป็น มันเหมือนกับหินทับหญ้า ดูเฉยๆ ดูเฉยๆ ห้ามคิด คิดผิด ดูเฉยๆ เพ่งเฉยๆ ห้ามคิด มันค้านกันตรงห้ามคิดนี่ ให้ดูเฉยๆ แล้วเดี๋ยวรู้เอง มันเป็นไปไม่ได้

    เพราะนะ เพราะถ้าเป็นพิจารณากายนะ จิตสงบมา เจโตวิมุตติ จิตสงบก่อน พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธนี่มันเป็นคำบริกรรม เป็นจุดยืนของจิต จิตนี่ธรรมดาพลังงานมันส่งออก เวลาพุทโธนี่มันก็กั้นไว้ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธอยู่กับที่ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ จนจิตน่ะมันเริ่มเป็นขณิกะ เป็นอัปปนา เป็นพอจิตนี่ แล้วมันคายออกมาเป็นอุปจาระ มันจะเห็นกายเพ่ง เห็นกายเพ่ง

    ถ้าจิตมีกำลังนะ (ฟังนะฟัง) ถ้าเห็นเฉยๆ มันจะเป็นธรรมชาติของมัน นี่คือนิมิต อุคหนิมิต ต้องวิภาคะ เห็นนิมิตปั๊บ แยกส่วนขยายส่วน การแยกส่วนขยายส่วน คือเห็นความเปลี่ยนแปลง เห็นความเปลี่ยนแปลง เห็นด้วยตา เห็นด้วยตานี่คือเห็นภาพ แต่ใจมันรู้สึก นี่ปัญญามันเกิดตรงนี้

    ปัญญานี่มันเข้าใจ ปัญญาของเรานี่มีอุปาทาน ยึดว่าสักกายทิฏฐิ ว่าร่างกายนี้เป็นเรา ทุกคนน่ะว่าเป็นเรา แต่มันเป็นโดยสมมุติไง เป็นเพราะเราเกิดมาเป็นเรา ถ้าเป็นเรานะ นี่ผิดหมดละ เพราะตั้งแต่เกิดมาจนตอนนี้ เซลล์เปลี่ยนหมดละ กระดูกตั้งแต่ตอนนั้นกับกระดูกอันนี้อันเดียวกันหรือเปล่า กระดูกตอนเด็กกับกระดูกตอนนี้ อันเดียวกันหรือเปล่า

    นี่ มันเปลี่ยนแปลงตลอดไง พอมันเปลี่ยนแปลงตลอด มันเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติของมัน แต่เรายึดว่าเป็นเราไง เรายึดว่าเป็นเรา ใจมันคิดว่าเป็นเรา ไอ้คำว่าเป็นเรา นี่คืออุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นของใจ ใจถึงทุกข์ตรงนี้ ใจที่มันทุกข์นี่ มันเข้าใจผิด เข้าใจว่าสิ่งที่เราอาศัยกันอยู่นี่คือของเรา แต่มัน เราแค่อาศัย เราแค่อาศัย เพราะเราเกิดมาเป็นมนุษย์ แล้วมีร่างกาย

    มนุษย์ต้องมีร่างกายกับจิตใจ แล้วพอมีนี่ เราก็อาศัยไปชั่วคราว แล้วมันจะตายไป ถึงที่สุดแล้วนี่ มันต้องพลัดพราก พลัดพรากจากกัน ความรู้สึกกับธาตุ มันจะพลัดพรากจากกัน การพลัดพรากคือการแยกส่วนนั้นคือตาย แต่ขณะที่เราวิปัสสนานี่ เราเห็นความเป็นจริงของมัน คือมันจะพลัดพรากกันด้วยอริยสัจ ด้วยความเป็นข้อเท็จจริงของสัจธรรม

    สัจธรรมมันเป็นอยู่จริง แล้วไม่มีใครเคยเห็น ไม่มีใครเคยทำ ขณะที่จิตเราสงบขึ้นมา เราใช้จิตของเราสงบเข้ามา แล้วจิตนี้มันเข้าไปเห็นจริงด้วยธรรมะ ธรรมะที่พระพุทธเจ้ารื้อค้นขึ้นมานี่ แล้วเราเข้าไปเห็นจริงนี้ มันจะเกิดการแยกสลาย ความเป็นจริง โดยข้อเท็จจริงของมัน กายเป็นกาย จิตเป็นจิต มันจะแยกไปสู่ความจริงของมัน

    เห็นไหม พอมันจริงขึ้นมา จิตมันก็จะจริงอีกอันหนึ่ง พอมันจริง เพราะที่มันไม่จริง เพราะจิตมันปลอม พอจิตมันปลอม มันก็เอาสิ่งนี้มารวมเป็นข้อมูล เป็นสมบัติของเรา แต่พอมันเห็น เห็นไหม มันแยกออก ต่างอันต่างจริง จริงก็ปล่อย คำว่าต่างอันต่างจริงนี้เห็นไหม จิตเห็นเฉยๆ นะ แต่ปัญญามันเกิด ปัญญามันเกิดเพราะอะไร

    เพราะเหมือนกับเราสอนเด็ก นี่ช้างนะ เขียนรูปช้าง นี่ช้างเป็นอย่างนี้ นี่ลิงนะ ลิงเป็นอย่างนี้ นี่มะม่วงนะเป็นอย่างนี้ นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราเห็นภาพนี่ ภาพมันแยกขยายส่วน นี่เป็นวิภาคะนะ นี่กายมันเป็นอย่างนี้นะ ธรรมดาร่างกายของมนุษย์ มันจะแปรสภาพเป็นอย่างนี้นะ เป็นอย่างนี้นะ จิตมันดู เอาะ! เอาะ! เอาะ! นี่คือเจโตวิมุตติ

    เจโตวิมุตติคือจิตเห็นความแปรสภาพของกาย กายจะแปรสภาพไปโดยธรรมชาติของมัน นี้คือการแปรสภาพ เจโตวิมุตติโดยการเห็นกายนะ แต่ของหลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่ดูลย์บอกว่าเห็นกายโดยไม่.. พิจารณากายโดยไม่เห็นกาย พิจารณากายโดยไม่เห็นกายนี่ มันพิจารณาด้วยปัญญา เปรียบเทียบ เวลาจิตสงบแล้วนี่ กาย สภาพของกาย กายต้องการอาหารอะไร

    อาหารนี่ อาหาร เห็นไหม ดูสิ สิ่งที่เป็นอาหารของมนุษย์ กินเข้าไปน่ะมันย่อยสลายอย่างนั้น คิดเหมือนวิชาการเราเลย มันแปรสภาพอย่างนั้นๆ แต่มีสมาธิ มีสมาธิน่ะ มันคิดว่าสอนใจ แต่ถ้าเราคิดโดยสามัญสำนึกนี่ เราคิดด้วยวิชาชีพ คิดด้วยวิเคราะห์โรคคนอื่น นี่วิชาชีพที่เราเรียนมานี่ เอาไว้วิเคราะห์โรคไง นี่ร่างกายเป็นอย่างนี้ นี่เป็นเพราะโรคอย่างนี้

    อย่างนี้นะ มันวิเคราะห์เป็นวิชาชีพ แต่ถ้าเรามีสติ เราวิเคราะห์เป็นการสอนใจเรา มนุษย์เป็นอย่างนี้ มนุษย์เป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนี้ มันก็เศร้าใจ เพราะอะไร เพราะเราก็เป็นมนุษย์ เราก็โดนอุปาทานนี้ครอบงำ เราก็โดนความเห็นเรานี่ครอบงำเรา เราถึงไม่เป็นอิสระไง เราเลยต้องเป็นสัตว์โลก ให้กิเลสมันขับเคลื่อนต่อไปไง

    สัตตะเป็นผู้ข้อง จิตเรานี่ข้องกับกายกับใจเราเอง แล้วก็โดนให้อวิชชา กิเลสตัณหานี้มันขับเคลื่อนชีวิตเรา หมุนไปในวัฏฏะ ถ้าสติปัญญาเราทัน เราเห็นความเป็นไป การเคลื่อน เคลื่อนไปของการขับเคลื่อนของกิเลส เราก็จะไปหยุดมัน เราจะเห็นการขับเคลื่อนของมัน เราจะสลัดมันทิ้ง สลัดทิ้งแล้วต่างอันต่างจริง จิตก็เป็นอิสระอยู่ อยู่ส่วนหนึ่ง โสดาบัน

    นี่ การเพ่ง ถ้าเป็นการเห็นการเพ่ง มันต้องเป็นเจโตวิมุตติ ถ้าเป็นการเห็นจิต มันไม่ใช่ มันต้องใช้ปัญญาใคร่ครวญ เพราะการดูเจโตวิมุตตินี่ มันเห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพอุคหนิมิต คือภาพคงที่ ภาพคงที่เราเห็นในนิมิตนี่ภาพคงที่ วิภาคะคือภาพเคลื่อนไหว เคลื่อนไหวให้เห็นการเปลี่ยนแปลง เคลื่อนไหวให้จิตมันใช้ปัญญา เคลื่อนไหวให้จิตมันรู้จริงนี่คือการเห็นพิจารณากาย ในสติปัฏฐาน

    แล้วการพิจารณาจิตล่ะ การพิจารณาธรรมารมณ์ล่ะ พิจารณาธรรมารมณ์นี่มัน มันเป็นพิจารณาเปรียบเทียบ พิจารณาเปรียบเทียบมันก็ต้องมีปัญญาใช่ไหม แล้วดูเฉยๆ นี่ คือว่า เราเปรียบเทียบบ่อย เปรียบเทียบว่า การคมนาคมทางบก กับการคมนาคมทางน้ำ นี่ไปทางน้ำก็ไปเรือใช่ไหม ไปบกไปรถใช่ไหม แล้วการขับรถ ขับเรือต่างกันไหม นี่เห็นไหม แน่นอนต่างกัน ทีนี้การต่างกัน แต่ถ้าไปถึงเป้าหมาย ไปถึงเหมือนกันไหม อริยสัจอันเดียวกัน

    อริยสัจอันเดียวกัน ยืนยันตลอดว่า อริยสัจอันเดียวกัน แต่วิธีการต่างกัน ใช้ได้ แต่ต่างกันต้องต่างกันในทางที่ถูก ไม่ใช่ต่างกันโดยสามัญสำนึกที่ว่านี่ ขบปัญหาแตก แล้วว่าเป็นโสดาบัน สกิทาคา ที่เราพูดนี่นะ เราพูดเพื่อประโยชน์ ทั้งๆ ที่เราก็เหนื่อย เหนื่อยมาก แล้วไม่อยากพูด เพราะไม่ใช่เรื่องอะไรของเราเลย แต่ที่พูดนี่นะ เพราะสงสาร สงสารโยม สงสารนี่บริษัท ๔ แล้วพอทำไปแล้วนี่ เหมือนกับทำทางวิชาการ แล้วไม่มีผลตอบแทนน่ะ

    เพราะทำไปเถอะ ถึงที่สุดแล้วไม่มีอะไร อย่างที่พูดน่ะ ที่เขาบอกว่าอะไรนะ วิปัสสนาสายตรงโดยนามรูป เขาบอกกึ่งพุทธกาลไม่มีมรรคผล มรรคผลไม่มีหรอก แต่ก็วิปัสสนากัน วิปัสสนาสอนน่ะ เวลาสอน สอนคนที่อยาก มีคนอยากทำนี่ ว่า มรรค ผล นิพพานมันเป็นอย่างนี้ พอมึงมาปฏิบัติแล้วนะ พอมึงเข้ามาเป็นพวกกูแล้วนะ ไม่มีหรอก กูหลอกมึง พอไปถึงที่สุดแล้ว ต่างคนต่างไป ค้างเติ่ง ติดหุ้นไง ติดอยู่ยอดไม้ ลงไม่ได้

    ถึงที่สุดแล้วนี่ ที่เราพูด เราเห็นเป้าหมายอย่างนี้ ฉะนั้นถ้าเห็นเป้าหมายอย่างนี้ มันก็เหมือนกับประสาคนตื่นหุ้น เขาเห็นคุณประโยชน์ เขายิ่งจะรีบเข้าไปช้อน ไอ้เราก็บอกว่า อย่า อย่า คิดอย่างนี้น่ะไม่เจริญ ไอ้ว่าอย่า อย่านี่ คิดอย่างนี้ไม่เจริญ ไอ้คนเข้าไปช้อนหุ้นน่ะ มันจะเจริญ อีกเดี๋ยวจะไปติดหุ้นบนปลายไม้นั่น

    โยม ๒ : หลวงพ่อคะ ขอถามแทนคนอื่นหน่อย คือมีคนเขา เขาบอกหนู เขาอาจจะไม่เคลียร์ เขาอย่างนี้ค่ะ คือฟังหลวงพ่อ หนูเข้าใจว่า หนูคิดเองว่าอย่างนี้ถูกไหม เอาของหนู คือหนูจะ คือความคิดมันไม่ใช่เรื่องของจิต จิตมันไม่ใช่ความคิดนั้น หนูก็กำหนดพุทโธเลย ทำงานของจิตไป แล้วก็กำหนดพุทโธอย่างเดียว พอเริ่มจิตสงบแล้ว ค่อยคิดพิจารณาในสิ่งที่เรากำหนดได้ คือเราไม่ต้องไปตามความคิด มันไม่ใช่เรา เราใช้ความสงบ แล้วก็เอาความสงบอันนี้กำหนดว่าอยากคิดเรื่องนี้ เช่น อยากพิจารณากายก็พิจารณากาย อย่างนี้จะถูกไหมคะ

    หลวงพ่อ : ถูก

    โยม ๒ : แล้วก็อย่างนี้ค่ะหลวงพ่อ คือพอบางคนทำเข้านี่ พอพุทโธเข้ามันก็แข่งกับ ไอ้ความคิดที่มัน เคยคุยกับรอ มันก็รู้สึกว่า อุ้ย เหนื่อย ในความรู้สึกพุทโธ ไอ้นี่ก็จะคิด พอพุทโธ พุทโธเข้าแล้วเหนื่อย มันก็คิดไปเลย มันก็ดูความคิด คือเปลี่ยนช่องทางไปทางนู้น เลิกพุทโธ อย่างนี้มันจะทำถูกไหมคะหลวงพ่อ

    หลวงพ่อ : มันเป็นอย่างนี้นะ โดย ถ้าเราเป็นคนจริงจัง ทำงานจริงจังและทำงานจับจด ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า เหมือนกับ เปรียบเหมือนการปลูกต้นไม้ การปลูกต้นไม้ ย้ายบ่อยนี่ต้นไม้ไม่โต ถึงปลูกต้นไม้แล้วควรจะทะนุถนอมให้มันโต แต่นี่เปรียบเทียบให้เห็น เห็นว่าการปลูกต้นไม้ แต่ในการปฏิบัตินี่ อย่างที่พูดเมื่อกี้นี้ ถ้าพูดอันแรกน่ะถูกแล้ว ใช้ความคิดนี่นะ ดู ดู ใช้ความคิดนี่ ทีแรกเลยนี่ เราไม่อยากพูด เนอะ ถามไอ้...นี้เป็นพยาน

    เริ่มต้นน่ะ พวกดูจิตน่ะ เขาบอกว่าไม่ต้องใช้สติ ให้ดูไปเฉยๆ แล้วเขาก็มาหาเรา เราบอกว่าเป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่มีสตินี่นะ ไม่ฝึกสตินะ

    โยม ๑ : มันถึงไม่เห็น

    หลวงพ่อ : ใช่ มันต้องมีสติ ต้องฝึกสติ เราบอกสตินี้ต้องฝึก พอพูดกลับไปปั๊บ เขาจะย้อนกลับมาว่า ต้อง สติสร้างไม่ได้ ต้องเป็นเอง แต่ทีแรกเขาบอก ไม่ต้องเลย เราจะเทียบให้ดูว่าวุฒิภาวะไง ถ้าคนเป็นนี่ เรานี่เป็นอาจารย์ของคน เราจะสอนอนุบาล สอนลูกเราให้ทำผิดได้ไหม? ไม่ได้ จริงไหม

    นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อตั้งตนเป็นอาจารย์ คำสอนมานี่ผิดทั้งนั้นเลย แล้วเรานี่เป็นคนแย้งไป ไอ้...นี่เป็นพยาน ทีแรกว่าสติไม่ต้องฝึก เราก็บอกว่า ไม่ได้ พอไม่ได้ สติต้องฝึก เดี๋ยวมันจะมีมาเรื่อยๆ แล้วเราจะแย้งไปเรื่อยๆ แล้วคำพูดเรานี่เขาจะไปพลิกแพลงเอง นี่อันนี้ก่อน เราจะกลับมาตรงนี้ กลับมาตรงที่แบบว่า นี่ถ้าเราใช้ปัญญาไปกับความรู้สึก เห็นไหม ความคิดนี่ พุทโธนี่ตามมันไป แล้วพอบางทีมันจะคิดนี่ ถ้าเรายั้งได้ มันเป็นอย่างนี้ไง

    โทษนะ เรานี่ในครอบครัวหนึ่ง ลูกเรานี่หลายคน ถ้าลูกเราหลายคนนี่ ลูกเราแต่ละคน เด็กแต่ละคนนิสัยไม่เหมือนกัน เด็กแต่ละคนสมาธิสั้น สมาธิยาวมันก็ต่างกัน เด็กแต่ละคนน่ะใฝ่ดี หรือจับจดนี่ มันก็ไม่เหมือนกัน ทีนี้ถ้าเป็นอย่างนี้ปั๊บ เราต้องสังเกตตรงนี้ สังเกตตรงนี้นี่โยมสังเกตทางโลกนะ สังเกตนิสัย แต่ถ้าพระปฏิบัตินี่ เขาสังเกตตรงผล

    นี่เวลาโยมพูดนี้ว่าผลน่ะทำได้ไหม ถ้าทำไปอย่างนี้ ถ้าผลได้ แสดงว่ามีจริตนิสัย ถ้าเขาทำไม่ได้ เราค่อยเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงเข้าไป เปลี่ยนแปลงให้ทำอย่างนี้ ให้ทำอย่างนี้ คือหาจุดสมดุลของตัว ถ้าจิตจุดสมดุลของตัวนี่ มันจะปล่อย ถ้าจุดไม่สมดุลของมันนะ มันจะดื้อ แล้วคนทำนี่ถ้าไม่รู้นะ พยายามทำเข้าไปนะ มันเหนื่อย จะหาสมดุลของมัน ถ้าหาสมดุลปั๊บนี่ ถ้าพูดถึงนะ ถ้าเราพิจารณาจิต พิจารณาไป มันปล่อยก็ใช้ได้ ถ้าไม่ปล่อย กลับมาพุทโธก็ได้

    อันนี้มันสมดุลนะ แต่อีกชนิดหนึ่ง เด็กแบบไม่เอาถ่านเลย จิตนี่มันไม่เอาถ่านเลย เวลามันใช้ปัญญา ปัญญาอบรมสมาธิ ใช้มันไปเลย ถ้ามันไม่ใช้ก็กลับมาพุทโธเลย นี่มันไม่เอาถ่านเลย ก็ต้องให้มันทำงาน เพราะคนจะเอาถ่านไม่เอาถ่านนี่ มันต้องมีอาชีพ ทีนี้ถ้ามัน บางทีมันก็ใช้ปัญญาอบรมสมาธิไป ใช่ไหม บางทีมันก็ไม่เอาเลย หยุด หยุดมาที่พุทโธเลย

    เราก็ว่า ถูกอีกล่ะ ถูกเพราะอะไรรู้ไหม ถูกเพราะว่ามันส่งเสริมกัน อ้าว วันนี้เราทำงานอย่างนี้ไม่ได้ผล เราวางไว้ก่อน ไปทำงานตรงนี้ ทีนี้งานก็คืองาน งานก็คือความสุขใจ นี่ถ้าพูดอย่างนี้ไปปั๊บนะ เราพูดกับพวกลูกศิษย์บ่อย ว่าใครมาหาเรานี่นะ ฟังไปฟังมานี่นะ หลวงพ่อนี่ใช้ไม่ได้เลย ไม่มีจุดยืนเลย อะไรก็ถูกไปหมด แล้วพอใครมานะ อัดเขาผิดทุกคนเหมือนกัน ผิด ผิด ผิด ผิด ผิด

    แล้วพอเวลาคนมา คำว่าถูกนี่ หมายถึงว่า คนเรานี่ทำงานชนิดนี้ได้ผลอย่างนี้ ทำงานชนิดนี้ได้ผลอย่างนี้ มันต้องให้คนที่ทำงานน่ะ แล้วมันมีผลงานของมันไง คือเด็กนี่ต้องให้มันทำงานให้เป็น เราพยายามเพื่อที่จะประคองให้เด็กได้ทำงานเป็น คำว่าถูกนี่ คือว่าถูกของเขา ถูกคนนี้ ทำงานอย่างนี้ ได้ผลตอบแทน ๕ เปอร์เซ็นต์ ถูกคนนี้ได้ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ถูกคนนี้ได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์

    ความถูกมันต่างกันอย่างนี้ ถ้าเด็กคนนี้มันทำนี่สัก ๕ เปอร์เซ็นต์ ก็ดีกว่าที่มันจะไม่ได้อะไรเลย ถามว่าถูกไหม ถูก ถ้า ๕ เปอร์เซ็นต์นี่เขายังทำไม่ได้เลย เขาจะไปทำ ๕๐เปอร์เซ็นต์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ได้ไหม เขาทำของเขาไม่ได้ เพราะจิตของเขาอ่อนแอ เพราะวาสนาเขาไม่มี เขาทำ เขาทำกรรมของเขามา คำว่าถูกของเราน่ะ คือถูกที่เขาได้ผลของเขา ถ้าเขาไม่ได้ เขาไม่ได้สักเปอร์เซ็นต์เดียวเลยนี่ เขาก็จะไม่ได้อะไรติดมือเขาไปเลย ถ้าเขาได้สัก ๕ เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าเขาได้ผลของเขาแล้ว

    ถูกไหม ถูก แต่ถ้า พวกเรานี่ เราทำงานเป็น เราอยากได้ผลงานของเรานี่ เราจะได้ผลงานของเรา ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้า ๕ เปอร์เซ็นต์ถูกไหม ไม่ถูก เพราะ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์กับ ๕ เปอร์เซ็นต์ต่างกันไหม ไอ้ถูกของเรามันถูกตรงนี้นะ แต่ถ้าคนฟังไม่เป็นนะ ปวดหัวเลยนะ ไอ้คนที่เราบอกว่า ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ไว้นี่ เวลามาคุยกับเรานะ ผิดหมดเลยนะ แล้วเวลาไปพูดกับคนอื่น เวลาของหนูน่ะว่าผิด ผิด ผิด ทำไมของคนอื่นอะไรก็ถูก

    เหตุผลมันอยู่ตรงนี้ด้วย เหตุผลมันอยู่ตรงนี้ ตรงที่เรามาทำกันแล้วนี่ ใครก็แล้วแต่ ขอให้ได้กันไป ได้มาก ได้น้อย ต่างๆ กันไปแล้วแต่อำนาจวาสนา เพราะเราฟังเป็น เราเชื่อเรา เราเชื่อใจเราว่าเราฟังถูก ว่าคนๆ นี้ไม่มีอะไรเลย แล้วเขาได้ ๕ เปอร์เซ็นต์นี่ เหมือนเขาได้เงินหลายๆ ล้านมาก แต่ไอ้เศรษฐีบอกไอ้เงินแค่นี้ไม่มีความหมาย แต่ เราฟังเป็นที่ว่า เขาทุกข์แค่ไหน แล้วเขาได้แค่ไหน แค่นี้แหละสำหรับเขานะมหาศาลแล้ว

    โยม ๓ : หลวงพ่อครับขอโอกาสถามคือจะเข้าเรื่องนี้ พอดี วันนั้นที่มากราบเรียนหลวงพ่อไว้แล้วว่า ที่ผมกำหนดภาวนาโดยใช้อานาปานสติ อยู่กับพุทโธ หลวงพ่อ เอ่อ ประมาณแนะนำว่า ให้ใช้พุทธานุสติ ผมก็กลับไปทำเลยนะครับ ก็ประมาณ เดินจงกรมประมาณ 3 ทุ่ม รู้สึกว่ามัน สมาธิมันแน่น เหมือนๆ แล้วก็ลองขึ้นไปนั่ง นั่งสมาธิ ปรากฏว่านั่งอยู่แป๊บเดียว มันก็ จิตมัน มันวูบลงไป แต่ว่าเป็นสวรรค์ เป็นแบบใสเลยนะครับ เหมือนมอง แล้วมองอย่างนี้ครับ แต่ว่าใสเลย

    เสร็จแล้วก็ ก็เพ่งมอง เพ่งตรงจุดนั้น สักพักหนึ่ง แล้วก็น้อม น้อมไปที่กาย แต่ไม่เห็นกาย แต่น้อมไปทางกระดูก ปรากฏว่ากระดูกมันขึ้นมา อยู่สักพักหนึ่ง มันก็เห็นเป็นกระดูก เสร็จแล้วก็ค่อยๆ ย่อย ค่อยๆ ย่อย ลงมา เสร็จแล้วก็ จากนั้นมันก็คลายตัว แล้วก็ออกมาอยู่ในแสงสว่างธรรมดานี่แหละครับ แล้วก็อยู่ สงบอย่างนั้นน่ะ คือผมไม่รู้ว่าขั้นตอนมันยังไง ใช่หรือเปล่า

    หลวงพ่อ : เป็นการฝึก ใช่หมด ใช่ คำว่าใช่นี่ คำว่าใช่นี่ผลมันตอบที่ใจเราเอง นี่ถ้าพูดเราทำอะไรไม่เคยเจออะไรเลยนี่ ฟังคนอื่นเขาพูดนะ เป็นอย่างนั้นๆ เราก็ทึ่งนะ ทึ่งเขาเฉยๆ แต่ถ้าเราทำของเรา เราเป็นไปนี่ มันเป็นมาที่ใจนะ อู้ฮู มันโล่งอย่างนี้ เราจะฟังบ่อย คนนี้บอกเรื่อง มาวุฒิภาวะนี่ เวลาคุยเรื่องสมาธินี่ โอ้โฮ โอ้โฮ อย่างนี้ เป็น

    โอ๋ย หลวงพ่อ ถ้ามาแล้วพูดแจ้วเลยนะ อู้ฮู อธิบายเป็นคุ้งเป็นแควนะ สัญญาทั้งนั้นน่ะ มันเป็นความรู้สึก มันเป็นความคิด มันไม่เป็นความจริง แต่ถ้าเป็นความจริง แทบไม่ต้องพูดอะไรเลยนะ เป็นอย่างนี้ จบ

    ทีนี้ นี่พูดเป็นอย่างนี้ปั๊บ มันก็เข้ามาตรงนี้ ตรงที่บอกว่า พอมันสว่าง พอจิตมันสงบนี่ มันเป็นละ แต่อันนี้นะ มันเหมือนกับนักกีฬา เรานี่นะเป็นเหมือนโค้ช เรานี่เป็น เหมือนนายกสมาคม จะหาช้างเผือก หาช้างเผือกก็จะเที่ยวไปดูช้างเผือกใช่ไหม ทีนี้ช้างเผือกมานี่ โยมฟังคำว่าช้างเผือก แล้วกว่าจะเอาเขาเข้าไปแข่งขันในสนามกีฬานี่ เราต้องฝึกเขาอีกกี่ปี

    ไอ้คนที่ปฏิบัติใหม่ก็เป็นอย่างนี้ พอมาอย่างนี้ เวลาช้างเผือกนี่เล่นบาส อ้าว ชู้ต มันชู้ตปั๊บ ๓ แต้มเลย โอ้โฮ แจ๋วเลย แต่มันแข่งได้หรือยัง ยัง เพราะอะไร เพราะมันยังไม่มีเทคนิคมันเลย มันต้องฝึกใช่ไหม ย้อนกลับมานี่เหมือนกันเลย ที่ทำนี่ใช่ แสงสว่างนี่ใช่ แต่นี่เหมือนกับเราก็ชู้ต ๓ แต้ม

    โยม ๓ : ต้องลงบ่อยๆ ลงอย่างนี้

    หลวงพ่อ : ไม่ การชู้ต ๓ แต้มนี่นะ มึงยืนชู้ต มึงยังไม่ได้แข่งกับคู่แข่งเลย คู่แข่งนี่เขาจะไม่ให้เอ็งชู้ตหรอก เขาจะกันหมดเลย กิเลสน่ะมันจะไม่ให้มึงทำเลย ไอ้ที่ชู้ตนี่เขาเทสต์เอ็งเฉยๆ เขามาจับมึงยืนเฉยๆ แล้วก็ชู้ต มันก็เข้าน่ะสิ เพราะไม่มีใครปิด

    โยม ๓ : ต่อนะครับหลวงพ่อ ตอนที่ถามนี้ก็พยายามทำอีก ปรากฏว่ามันจะเป็นลักษณะอย่างนี้ครับ เพราะว่าจิตมันก็สงบลงไป แต่ว่ามันจะเป็นแสงสว่าง ปล่อยไปชั้นหนึ่ง แล้วก็เปิดประตูบานนั้น แล้วก็เป็นชั้น ลง ลงไปอย่างนี้น่ะครับ

    หลวงพ่อ : นี่เห็นไหม ครั้งแรกกับครั้งที่ ๒ ไม่เหมือนกันละ

    โยม ๓ : ไม่เหมือนครับ ครั้งที่ ๓ ก็ยาวลงไปอีก ไม่เหมือนกันเลยครับ

    หลวงพ่อ : เราจะบอกว่าอย่างนี้ไง เราจะบอกว่าให้กลับมาที่พุทโธ

    โยม : แต่ผมมีพุทโธตลอดนะครับ

    หลวงพ่อ : ใช่ ต้องไม่ให้ทิ้งตรงนี้ กลับมาที่พุทโธนะ กลับมาเดินจงกรมตลอด จะอย่างไรก็แล้วแต่ ความสำคัญที่สุดคือพื้นฐาน คนนี่ ที่มีการศึกษา ถ้าพื้นฐานแน่น การศึกษาจะดี ถ้าพื้นฐานอ่อนแอ การศึกษาขึ้นไปจะมีปัญหา พุทโธนี่ สมาธินี่ เป็นพื้นฐานของจิต ถ้าใครกลับมาที่พื้นฐาน แล้วพื้นฐานดีนะ การทำงานจะดีตลอดไป

    ฉะนั้นจะทำอะไรก็แล้วแต่ ต้องทิ้งตรงนี้ไม่ได้ จะดีขนาดไหน ต้องกลับมาที่พุทโธไว้บ้าง แล้วมาพุทโธไว้ตลอด มาพื้นฐานนี่ แล้วพื้นฐานน่ะต้องให้แน่น เพราะการแข่งขันนี่ นักกีฬาอาชีพเขามีแข่งทุกปี อันนี้ก็เหมือนกัน การวิปัสสนานี่ มันจะมีงานอีกเยอะแยะมากเลย แล้วถ้าเราไปเห็นงาน เราไปตื่นเต้นกับงาน นักกีฬานะ ถ้ารักษาสุขภาพดี รักษาโครงสร้างร่างกายดี เอ็งจะเป็นนักกีฬาได้นาน

    ถ้านักกีฬานะ เห็นผลแล้วจะรีบทำงานนะ เดี๋ยวนะเข่าเอ็งก็เสีย มือเอ็งก็เสีย ทุกอย่างในร่างกายเอ็งจะเสียหมดเลย แล้วเอ็ง ทีนี้เอ็งก็จะเป็นนักกีฬาพิการ แล้วเอ็งก็ต้องไปคลาน คลานแข่งกับเขา นี่พื้นฐานนี้สำคัญ อย่าใจร้อน พื้นฐาน กลับมาที่ฐานนี่ แล้วถ้าพื้นฐานดีนะ เดี๋ยวมึงไปได้ เพราะโอกาสแข่งขันน่ะ มันมีทุกปี มีไปจน เอ็งตายไปแล้วนะ เขาก็ยังมีแข่ง อุตสาหกรรมกีฬานี่จะมีตลอดชาติ

    การต่อสู้กับกิเลส มันยังต้องต่อสู้กันอีกยาว ฉะนั้น สติ ปัญญา สตินี่ เราต้องกลับมาที่นี่ ฝึกที่นี่ให้แน่น เห็นไหม โค้ชนี่ นักกีฬาอาชีพ เขาประสบความสำเร็จแล้วนี่ พอเขาปลดระวางแล้ว เขาก็ไปเป็นโค้ช เป็นโค้ชเพราะอะไร เป็นโค้ชเพราะเขามีประสบการณ์ เขามีการแข่งขัน เขาอยู่ในสนาม เขาใช้ชีวิตของเขามาทั้งชีวิต เขาเห็นเทคนิค เขาเห็นลูกเล่น เขาเห็นผลกลโกง เขาเห็นการกลั่นแกล้งในสนามกีฬา

    ในสนามกีฬามีการกลั่นแกล้ง มีการวิ่งเต้น มีการติดสินบน มีการ.. เขาเห็นเขารู้ เขาเอาประสบการณ์ของเขาน่ะไปเป็นโค้ช นี่เราเป็นนักกีฬาเห็นไหม เรานี่ เราต้องรักษาเรา นี่ครูบาอาจารย์เป็นอย่างนี้นะ ไอ้ทุจริต ไอ้คือกิเลสมึงน่ะ ไอ้กิเลสน่ะ ไอ้ต่อต้านน่ะ ไอ้ที่ว่าเราจะชู้ต เขาไม่ให้ชู้ต เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเราซ้อมน่ะ เห็นไหม เราเทศน์บ่อย เวลาซ้อมนี่นะ โอ้โฮ เราซ้อมนี่เก่งมากเลย แต่ลงแข่งน่ะ สู้กับมันไม่ได้สักที เพราะเวลาซ้อมไม่มีคู่แข่ง

    เวลาแข่งน่ะมันกิเลส เวลาจิตมันวิปัสสนานะ มันมีกิเลส มันมีความเห็นของเรา มันมีไอ้ตัวทิฐิน่ะมันคอยขัดแย้ง แต่ขณะซ้อมนี่ มันไม่.. ทิฐิมันไม่ออกมาแข่งเพราะอะไร เพราะมึงยังไม่ได้สู้กับกูนะ กูนอนพักก่อน ให้เอ็งซ้อมไปก่อน พอเดี๋ยวเอ็ง เอ็งจะวิปัสสนานะ เดี๋ยวกูจะดักหน้ามึงนะ มึงตายเกลี้ยง

    โยม ๓ : แต่เจออุปสรรคเหมือนกันครับ หลวงพ่อวันที่ ๒ รู้สึกเวทนามันเกิด มันไม่ให้นั่งเลย

    หลวงพ่อ : เนี่ย มันจะมีมาเรื่อย ถ้าเราเคยชนะอะไรนะ ทำครั้งที่ ๒ นะกิเลสทันละ ฉะนั้นเราทำอะไรแล้วนี่ มันถึง อุบาย อุบายนี่เปลี่ยนแปลงตลอด วันนี้ทำอย่างนี้ ทำไปเรื่อยๆ หลวงปู่ขาวถึงยอดมาก หลวงปู่ขาวมีทางจงกรม ๓ เส้น เช้าถวายพระพุทธ กลางวันถวายพระธรรม ตอนเย็นๆ ถวายพระสงฆ์ จะเดิน ๓ เส้น ไปอยู่ไหนนะหลวงปู่ขาวนี่ จะทำทางจงกรม ๓ เส้น เดิน ๒ ชั่วโมง ๒ ชั่วโมง ๒ ชั่วโมง อยู่อย่างนี้ วนๆ ไม่ให้กิเลสมันตามทัน ทำไปนี่มันจะเห็นการต่อต้าน เห็นอะไรของกิเลสเยอะแยะเลย ชนิด...

    โยม ๒ : หลวงพ่อคะ ขอถาม

    หลวงพ่อ : อ้าว จะเอาใครก่อน

    โยม ๒ : อย่างนี้ใช่ไหมคะหลวงพ่อก็พุทโธไปจนให้มันถึงฐานของจิตเลย คือ ให้มันพุทโธไม่ได้เลย ให้ลงไปถึง ชนิดถึงที่สุดคือถึงตัวจิตเลย แล้วค่อยถอนออกมาพิจารณา อย่างนี้ถูกไหมคะ จะได้ไม่ต้องไปที่ฐานอีก

    หลวงพ่อ : ได้ ถูก ถูกนะ แต่บางทีมันเบื่อ เพราะอะไรรู้ไหม พุทโธ พุทโธ ลงถึงฐานนี่ บางทีมันยากใช่ไหม ถ้าถูกนี่ ถ้าทำอย่างนี้ถูกเลย แต่ที่พูดเมื่อกี้นี้ พูดตรงที่ว่า ถ้ามัน ปัญญาอบรมสมาธิไปเรื่อยๆ ใช่ไหม บางทีมันเบื่อ พอมันเบื่อนะ ปัญญาอบรมสมาธิคือปัญญาไล่ความคิด ทำ ๒ ที มันก็เปรียบเทียบ

    การเปรียบเทียบ กาย เวทนา จิต ธรรม นี่คือการฝึกปัญญา การเปรียบเทียบกาย เวทนา จิต ธรรม วิปัสสนานี่นะ ถ้ามันเห็นจริง มันเห็นโดยจิต แต่ถ้าเราเปรียบเทียบนี่ มันเป็นสัญญา ก็ฝึก แต่ถ้าเรากำหนดพุทโธ พุทโธ พุทโธถึงฐานนี่ มันลงถึงฐานเลย ฐีติจิต ฐานคือภพ

    พุทโธ พุทโธ พุทโธจนถึงที่ อึ้ก! มันพุทโธไม่ได้ มันจะอยู่ของมัน นั่นน่ะคือตัวจิตแท้ๆ ตัวจิตแท้ๆ คิดไม่เป็น ตัวจิตแท้ๆ คือตัวพลังงาน แล้วถ้ามันคลายตัวออกมานี่ มันมีขันธ์ ขันธ์คือข้อมูล คือสัญญาที่เปรียบเทียบ ขันธ์ ๕ นี่กับจิต นี่ถ้าพุทโธ พุทโธไปถึงตัวจิตน่ะ มันคิดอะไรไม่เป็น คิดไม่ได้เลย แล้วถ้ามันคลายตัวออกมา พอคลายตัวออกมานี่ สัญญามันเริ่มรู้ละ

    เวลาเราลงไปเห็นไหม มันจะว่างหมด ร่างกายนี่ไม่รับรู้เลย แต่พอมันซ่านออกมานะ โอ๋ย นู่นก็ปวด นี่ก็เจ็บ เห็นไหม ออกมา เวลามันออกมาอย่างนี้ เวลามันเข้าไปนี่ ฐีติจิตหรือว่าอัปปนาสมาธิ นี่มันคิดไม่ได้ พอมันคลายตัวออกมาเป็นอุปจารสมาธินี่ มันคิดได้ละ คิดได้ในสมาธินี่ มันเป็นวิปัสสนา ถ้ามันคลายออกมา นี่เป็นสามัญสำนึกนะ นี่เป็น เป็นปุถุชนละ อันนี้มันคิด มันก็เป็นกิเลสคิดละ

    ทีนี้จะพูดอย่างนี้ ถ้าบอกใช้ได้ไหม ใช่ เราจะบอกให้โยมนี่มีทางเลือกหลายๆ ทางไง ถ้าพุทโธ พุทโธ พุทโธ ถึงฐีติจิตนี่ ถูกต้อง ดีมาก แต่บางทีมันเข้าไปไม่ได้ หรือมันเข้าไปได้ยากนี่ เราก็ใช้วิธีการอื่นบ้าง หรือผ่อนคลายไง คือไม่ต้องให้โยมเหนื่อยว่า ทุกข์จนเกินไปไง แต่ถ้าทำได้ ถ้าทำไม่ได้ก็ หารครึ่ง

    โยม ๒ : คือ ยังไม่ต้องถึงตรงโน้น เอาครึ่งหนึ่ง เอาแค่ไม่มีความคิด

    หลวงพ่อ : ก็ใช้ได้

    โยม ๒ : แล้วก็พิจารณากายเลย

    หลวงพ่อ : ได้ ถ้ามันคิดได้

    โยม ๒ : บางทีมันก็แค่สว่างหลวงพ่อ แต่มันไม่ลงถึงตรงนั้น มันยังมีความคิดอยู่ แต่เห็นความสว่าง ก็ปล่อยมันไป แล้วพุทโธต่อ แต่พอไม่มีความคิดเลย ค่อยไปพิจารณากาย พอพิจารณากายเสร็จ เริ่มมีความคิด ก็คือมันเริ่มหมดพลัง ก็ต้องกลับมาพุทโธใหม่ อย่างนั้นถูกไหมหลวงพ่อ

    หลวงพ่อ : ถูก โยม เขามีคุณสมบัติอย่างนี้ ถ้าคนไม่มีคุณสมบัติอย่างนี้ จะทำไม่ได้อย่างนี้ ทีนี้คนที่มีคุณสมบัติอย่างนี้ โทษนะ ถ้าอาจารย์ไม่เป็น ไปเปลี่ยนแปลงเขา สิ่งที่ มีคุณสมบัติที่จะเข้าถึงเป้าหมาย เราไปเปลี่ยนแปลงเขา พอเปลี่ยนแปลงเขานี่ คุณสมบัติเขาไปเปลี่ยนแปลง ทำสิ่งที่เขาไม่ถนัด ควรที่จะได้ ควรที่จะไปถึงเป้าหมาย ออกนอกทางไปเลย

    นี่ อาจารย์สำคัญอย่างนี้ สำคัญว่าโยมทำมา แล้วโยมทำแล้ว คนใดใครทำแล้วได้ผล ได้แค่ไหน นั่นคือคุณสมบัติของเขา จริตนิสัยไม่เหมือนกัน เรานี่ บ่อยมากเลย เราพูดกับลูกศิษย์เยอะๆ บางคนนี่เขาทำอย่างหนึ่ง แล้วไปพูดกับอีกคนอย่างหนึ่ง ไอ้คนนั้นไปฟังของคนนี้ แล้วไปทำตาม เละเลย พอเสร็จแล้วมาหาเรา

    “หลวงพ่อนี่เสียหมดเลย”

    “ทำไมล่ะ”

    “ก็วันนั้นหลวงพ่อพูดกับคนนั้นน่ะ หนูฟังแล้วมันอย่างนี้เลย หนูก็ไปทำตาม”

    มาหาเรานะ โทษนะ เราบอกว่า “ก็กูไม่ได้สอนมึงน่ะ มึงเสือก”

    สะอึกเลย ก็เขาทำของเขาดีมาอยู่แล้ว แต่มันต้องถูไถไปไง มันต้องเหนื่อย มันต้องทุกข์ต้องยาก แบบเขาทำได้นะ แล้วพอมีโยมมาถาม เขาทำอย่างนั้นๆ ของเขาทำได้ เราก็ว่าใช่ เขามานั่งฟังอยู่ด้วย แล้วเขาไปเขาก็เอาเลย เอาแบบนั้น ที่เขาทำมาได้หมดน่ะหมดเลย เสื่อมหมดเลย แล้วไปทำแบบคนอื่นเขา แบบทำง่าย แล้วไม่ได้ด้วย แล้วก็ร้อนเป็นไฟ แล้วก็มาหาเรา เพราะอะไร เพราะวุฒิภาวะเขาไม่ถึง เขาคิดว่าธรรมะมีประเด็นเดียวไง

    ธรรมะมีประเด็นเดียว แล้วก็ทำกันอย่างนี้ ไอ้หัวชนฝานี่ เอาหัวฟาดภูเขาไปอย่างนี้ มันไม่ใช่ ภูเขาทั้งลูกมันวนได้รอบ จะเข้าทางไหนก็ได้ ของใครของมัน ถ้าขอให้ทำแล้วได้ผลของเรา เว้นไว้แต่ไม่ได้ผล ทำแล้วไม่ได้ผล ทำแล้วมันไม่มีความสามารถจะไปได้ เราค่อยหาวิธีการใหม่ แต่ถ้าเราทำของเราได้ เราทำของเราไป ถ้าทำของเราได้ ได้โดยอริยสัจนะ ไม่ใช่ได้ด้วยเราคิด

    ถ้าได้ด้วยเราคิดนี่ เราคิดของเราว่าได้ แล้วมันจะเสื่อมสภาพไปเรื่อยๆ นี่ไง ถ้าพูดถึงกรรมฐานม้วนเสื่อ พอทำแล้วมันได้ พอมันเสื่อมไป เสื่อมไป แล้วเอากลับไม่ได้ไง หลวงตาท่านพูดบ่อย ถ้าคนเป็นที่ครูบาอาจารย์นี่ มันเหมือน เหมือนสปริง มันยืดออกไป ปล่อยมันจะกลับมา ถ้าเราเป็นปุถุชนนะ เหมือนเด็กตาย พอยืดออกไปแล้วมันไม่กลับเลย มันไหลไปนู่น จะให้มันกลับมันก็ไม่กลับ จิตเวลามันเสื่อม มันไม่เด้งกลับ

    แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ที่ทำเป็น อ้าว กาลเทศะไง เหตุการณ์อย่างนี้ อ้าว ยืดไป พอหมดก็ดึงกลับ เหตุการณ์อย่างนี้เป็นอย่างนี้ เหตุการณ์อย่างนี้เป็นอย่างนี้ มันเกี่ยวกับมวลชน แต่ถ้ามัน เราเป็นสามัญสำนึกของเรานี่ มันเหมือนกับ ตายตัวไง ยืดออกไปเลย แล้วก็ไหลลงทะเลไปเลย ถีบมันกลับมันยังไม่กลับเลย เพราะว่ามันชอบน่ะ ชอบสบาย กิเลสชอบสบาย

    โยม ๑ : สงสัย ต้องใช้กำลัง

    หลวงพ่อ : ไม่ต้อง อัตโนมัติ

    โยม ๔ : หลวงพ่อคะ คือตอนนี้ที่ปฏิบัตินะคะ มันเห็นความคิด ว่ามัน แล้วพอ พอมันเห็นแล้วมันก็ดับ ทีนี้มันเหมือน หนูคิดว่าหนูไปสั่ง หรือไปสัญญาอะไรมัน มันบอกอีกนะคะว่า นี่ บ้างว่าจิต คือตัวจิตน่ะมันโล่ง บางทีมันก็บอกว่ากลัวหลง กลัวมันจะสอนอีก หนูก็ว่ามันเกิดขึ้นหลาย..

    หลวงพ่อ : หยุด แล้วก็หยุดดูมัน แล้วถ้ามันขึ้นก็ ถ้าความคิดขึ้นมาก็ตามมันไปอีก พอหยุดปั๊บเดี๋ยวก็คิดอีก ไอ้คำว่าหลงเหลิงนี่นะ บางทีมันมีไง นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ จะสิ้นกิเลสเห็นไหม นี่พญามารน่ะ คอตก ไปบอกลูกสาว นางตัณหา นางอรดี นางราคา นี่ โลภ โกรธ หลงนี่ นางตัณหา นางอรดีเห็นไหม นี่น่ะพญามารคืออวิชชา

    แล้วลูกสาวพญามารบอกว่า พ่อไม่ต้องห่วงหรอก เดี๋ยวหนูไปจัดการเอง ไปถึงก็ไปฟ้อนรำ ไปล่อลวง ไปล่อลวงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า มารเอย แม้แต่พ่อน่ะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังรู้ทันเลย แล้วนับประสาอะไรกับลูกสาว กับลูกน่ะ

    เราถึงเทศน์บ่อยเห็นไหม พ่อก็คือพญามาร ลูกเห็นไหม หลาน เหลนเห็นไหม โสดาบันนี่ฆ่าเหลนของกิเลสตาย สกิทาคานี่ฆ่า ฆ่าหลานของกิเลสตาย อนาคานี่ฆ่าพ่อของกิเลสตาย แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์นะ ต้องฆ่าปู่ของกิเลส กิเลสมันมีหลายซับหลายซ้อน ฉะนั้นอย่างที่พูดน่ะ ที่มาหลอกมาลวงน่ะ มันเป็นธรรมดา กิเลสนี่ร้ายกาจนัก มันเป็นนามธรรมนี่ร้ายกาจนัก

    อ้าว ทีนี้กลับมาที่โยมก่อน เพราะว่า เริ่มต้น อ้าวต่อ เดี๋ยวของโยมไม่จบ อ้าว ยังไม่จบเลย

    โยม ๑ : คือมันจะชัดตอนเข้าสมถะครับอาจารย์

    หลวงพ่อ : อ้าว ว่าไป

    โยม ๑ : ถ้าเกิด ถ้าเข้าสัมมาอรหังแล้วดูน่ะมันจะเห็นชัด แต่ถ้าออกอย่างนี้ มันจะเป็นวลี มันจะเห็นเป็นลูกๆ แต่มันไม่ชัด แต่ถ้ามีสมถะนี่จะชัดแจ๋วเลย

    หลวงพ่อ : ถ้าชัดแจ๋วแล้วมันเป็นอย่างไร เห็นกายเป็นอย่างไร

    โยม ๑ : ไม่เห็นกาย กายหายไป ไม่มีเลย กายไม่มีเหลือเลยครับ

    หลวงพ่อ : ไม่มีเหลือ แล้วทำอย่างไรต่อไป

    โยม ๑ : ยังไม่รู้ ถึงมาถามอาจารย์ต่อว่า ทีนี้จะดูอย่างไรต่อ เพราะตอนนั้นที่เข้าไปนี่ พอตัวหายปุ๊บ มันเหลือแต่จิต ทีนี้มันไม่คิดละ มันก็นิ่ง ทีนี้จะดูอะไร ก็เลย อยู่เป็นนาทีก็ดูไม่ออก ก็เลยออกเลย

    หลวงพ่อ : สัมมาอรหังอย่างเดียวเลยใช่ไหม

    โยม ๑ : สัมมาอรหัง ดูลมหายใจด้วยอาจารย์ จะบังคับเขาไม่ได้ เดี๋ยวเขาก็ดูลมหายใจ เดี๋ยวเขาก็มาดูสัมมาอรหัง บางทีก็ไม่มี ก็ดูแต่จิตที่มันคิด บางทีมันก็ไม่คิด ไม่มีอะไรจะดู ก็เลย เอ๊ะ ดูอะไร

    หลวงพ่อ : แล้วมีสติไหม

    โยม ๑ : มีสติตลอดอาจารย์ มันรู้ รู้ตัวตลอดว่าทำอะไร

    หลวงพ่อ : เดี๋ยวนะ ถ้ามีสตินะ ในความว่างนั้นน่ะ ในความว่างน่ะ รำพึง เข้าใจคำว่ารำพึงไหม

    โยม ๑ : เป็นครับอาจารย์

    หลวงพ่อ : อยู่ว่างๆ นั่นน่ะ รำพึงให้เห็นกายเลย

    โยม ๑ : ก็เลยกลัวครับอาจารย์ กลัวว่า เอ๊ะ

    หลวงพ่อ : กลัวอะไร

    โยม ๑ : คือว่ามันเหมือนอรูปฌาน แต่ว่าไม่มีตัวแล้วก็มันกลายเป็นอวกาศเวิ้งว้าง เหมือนเข้าอากาสานัญจายตนะ เอ๊ะ ใช่หรือเปล่า

    หลวงพ่อ : ไม่ใช่

    โยม ๑ : ไม่ใช่ใช่ไหมครับ

    หลวงพ่อ : ไม่ใช่ ไม่ใช่หรอก

    โยม ๑ : หรือว่าตัวอะไร ไม่เข้าใจว่า..

    หลวงพ่อ : ไม่ มันเป็นความว่างเฉยๆ มันเป็นความว่าง มันอยู่ที่สติว่าพร้อมหรือไม่พร้อม เราพูดเพื่อตัดปัญหาก่อนนะ ปฐมฌาน มันกำหนดเลยพุทโธ พุทโธนี่ปฐมฌาน ทุติยฌาน เห็นไหม มันจะละเอียดเข้ามา จตุตถฌาน เห็นไหม มันเกิดปีติแล้ว นี่จตุตถฌานเห็นไหม นี่เรา ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน

    จตุตถฌาน นี่น่ะฌาน ๔ พอฌาน ๔ น่ะ มันวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ จิตตั้งมั่น ไอ้ตัวนี่ไอ้ตัวรูปฌาณ อากาสานัญจายตนะ นี่มันกำหนดเลย สรรพสิ่งนี้เป็นอากาศ โลกทั้งโลกเป็นอากาศหมด ตัวเองก็เป็นอากาศ เป็นอากาศ นี่อากาสานัญจายตนะ ในอากาศใครรู้ อากิญจัญญายตนะ วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่มันจะขึ้น

    เราจะบอก เราจะอธิบายว่า ที่โยมเป็นนั้น ไม่เกี่ยวกับสมาบัติเลย สมาบัติคนละอัน เพราะสมาบัติน่ะแต่ละภพละชั้นนี่ มันเหมือนบันได ๘ ขั้น บันได ๘ ขั้น เราอยู่ในขั้นที่ ๑ เราสูงขึ้นมาหน่อยใช่ไหม ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ นี่ความสูงต่ำของจิต ทีนี้พอจิต จิตนี่มันขึ้นบันได บันได ๘ ขั้น มันขึ้นมานี่มันก็สูง แล้วมันลงมานี่ ขณะที่ขึ้นลงนี่จิตมันมีกำลัง จิตมันมีกำลัง พอจิตมีกำลังนี่จิตมีการเปลี่ยนแปลง พอจิตมันเปลี่ยนแปลง นี่เหาะเหินเดินฟ้านี่ สิ่งต่างๆ จะรู้หมด

    อันนี้ อันนี้พูดถึง เราจะตัดวิตกกังวลเรื่องสมาบัติก่อน เพราะสมาบัตินี่ ของเล่น เราทำมาหมดแล้ว แล้วพอมาทำมันเปลี่ยนแปลง พอเปลี่ยนแปลงจิตมีกำลังมาก พอมีกำลังมากนี่ มัน.. พลังงานมันเลยส่งออกไง พลังงานคือ พลังงานเหมือนกับ เช่นพลังงานจรวดอวกาศเห็นไหม มันต้องมีกำลังขับเคลื่อนใช่ไหม นี่พอจิตมันมีกำลังมันจะขับเคลื่อนอย่างนั้นน่ะ แล้วมันจะไป

    แต่ถ้าเป็นสัมมาสมาธิน่ะมันกำลังคงที่ พลังงานคงที่ไง อยู่นิ่งมันไม่ขับเคลื่อนไง ทีนี้พอเราว่างๆ นี่ เห็นไหม มันอยู่กับเราใช่ไหม แต่เพราะกิเลสไง มันไปเข้าใจว่าเป็นสมาบัติ มันตกใจ มันกลัวใช่ไหม ที่พูดนี่เพื่อจะตัดประเด็นนี้ก่อน พอไปตัดประเด็นนี้ปั๊บนี่ เราสัมมาอรหังหรือกำหนดพุทโธ หรือกำหนดลมหายใจเข้ามานี่ จิตมันจะว่างหมด พอจิตมันว่างนะ ถ้านี่ เราฟังดูแล้ว เราว่าโยมนี่จะน้อมไปหากายไม่เจอ ไม่เจอ

    ถ้าเจอนะ มันไม่สนใจเรื่องใช้ปัญญาวิมุตติ ปัญญาวิมุตติน่ะคือการพิจารณากายโดยไม่เห็นกาย ถ้าเป็นเจโตวิมุตตินะ

    โยม ๑ : พิจารณาโดยไม่เห็นกาย

    หลวงพ่อ : อื้ม อื้ม อื้ม เดี๋ยวจะเอาเป็นข้อๆ ถ้าเป็นเจโตวิมุตตินะ พอจิตมันสงบแล้วนี่ เรารำพึง ในสมาธินี่รำพึงคือคิดถึงกาย ถ้าคิดถึงกายมันจะเกิดภาพ ถ้าเกิดภาพนี่ เกิดภาพคืออุคคหนิมิต แล้วถ้าจิตมีกำลัง มันจะวิภาคะ มันจะแยกส่วน

    โยม ๑ : ช่วงนั้น ผมปล่อยผ่านไป ก่อนนี้ เห็นอันนี้ แต่ผมปล่อยผ่านไป

    หลวงพ่อ : ทำไมถึงไม่ทำ ไม่รู้ ไม่มีใครสอน

    โยม ๑ : หลวงปู่ว่า นิมิตไม่สนใจ ก็เลย ผมก็ทิ้งหมดเลย ไม่เอา นิมิต ไม่ดู ไม่ดู

    หลวงพ่อ : นิมิตไม่ให้เอา ทิ้งหมดเลย เว้นไว้แต่กาย

    โยม ๑ : ก็เลยไม่ดูอะไรเลยอาจารย์ ปล่อยไปเลย

    หลวงพ่อ : อ้าว ปล่อยไปแล้ว ทีนี้กลับไปเอาใหม่ได้ไหม

    โยม ๑ : บังคับเขาไม่ได้

    หลวงพ่อ : ไม่ได้ บังคับไม่ได้ เพราะจิตมันไม่มีกำลัง ถ้าจิตมีสติมีกำลังนะ บังคับได้ ภาพคงที่ ภาพเคลื่อนไหว อุคคหนิมิต คือภาพคงที่

    โยม ๑ : มันเคลื่อนไหวอาจารย์ เคลื่อนไหวเห็นไปหมดเลย ทีนี้ก็ปล่อยผ่านไปได้เลย

    หลวงพ่อ : เคลื่อนไหว ถ้าจิตมันมีกำลังนะ เคลื่อนไหว แล้วแปรสภาพ พอแปรสภาพนี่ จิตมันเห็นไง เห็นการแปรสภาพนี่ มันจะทิ่มไปที่กลางหัวใจ โอ้โฮ เพราะข้อมูลของใจนี่ มันเข้าใจผิด มันเข้าใจผิดเพราะ คำว่า เข้าใจผิดคือว่า สรรพสิ่งนี้เป็นของเรา โดยสามัญสำนึก โดยจิตใต้สำนึก มันเข้าใจว่าสมบัติเป็นของเรา ถ้าพอมันเห็นสภาพนี่ เหมือนสมบัติเป็นของเรานี่ แล้วมันหลุดมือเราไปน่ะ มันเน่า มันย่อยสลายคามือ มันจะรู้ที่นี่ และมันจะปล่อยที่นี่ ปล่อยอย่างนี้เป็นพระโสดาบัน

    กายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย กายไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่กาย นี่ถ้ามันมีโอกาส นี่ธมฺมสากจฺฉา มีครูบาอาจารย์นี่ ขณะที่เป็นไง ตีเหล็กต้องไฟ.. ต้องเหล็กมันไฟแดงๆ เหล็กนี่นะจนเย็น จนจับได้แล้ว อาจารย์ครับตีอย่างไร มึงต้องกลับไปเผาใหม่ มันเอากลับไปเผา เผาให้มันแดงก่อน นี่ถ้าเป็นอย่างนั้นอันหนึ่ง

    โยม ๑ : นิมิตเห็นกายขึ้นมาใหม่

    หลวงพ่อ : ใช่ รำพึงขึ้นมา แต่ถ้ามันเป็นปัญญาวิมุตติใช่ไหม มันพิจารณากาย แต่การพิจารณากาย การที่จะพิจารณานี่ ทีนี้อย่างที่โยมพูดเมื่อกี้นี้ เราคิดว่ามันเป็นกายนอก กายนอกหมายถึงมันเป็นข้อมูล

    โยม ๑ : ก็เลยปล่อยผ่านไปเลย

    หลวงพ่อ : ถ้าเป็นข้อมูล กายนอก นี่เอาอันใหม่แล้วนะ อันนี้ เอาอันใช้ปัญญาแล้ว ใช้ปัญญาพิจารณากายไง ใช้ปัญญาเปรียบเทียบไง ถ้าใช้ปัญญาเปรียบเทียบนี่ ใช้เปรียบเทียบอยู่นี่มันเป็นความคิดข้างนอก ความคิดข้างนอกคือความคิดของเงา ถ้าเราคิดบ่อยครั้งเข้า เราฝึกบ่อยครั้งเข้านี่มันจะละเอียดเข้ามา แล้วถ้าวันไหนนะ เราเห็นจริงนะ มันจะสะเทือนตัวนี้

    ถ้าเห็นกายจริงนะ เพราะการเห็นกายนี่ มันต้องจิตเห็น การเห็นจิตนี่มันสะเทือนหัวใจ การเห็นจิตหรือการเห็น.. กายที่เป็น เห็นนิมิตที่เป็นกายจริงนี่ มันสะเทือนขั้วหัวใจมาก มันเหมือนกับเราขับรถประสานงา เราจะตกใจอย่างไร ไอ้นี่เรามีจิตประสานกับกิเลสน่ะ มันประสานกับข้อมูลเดิมของจิต จิตเดิมแท้ จิตใต้สำนึกนี่ มันประสาน มันไปเห็นข้อมูล

    เราเปรียบเทียบกิเลสนี่เหมือนไดโนเสาร์ ไดโนเสาร์นี่มันเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ แต่กิเลสนี่มันเป็นสัตว์ฝังใจมา แล้วมันพาเราเกิดตายเกิดตาย แล้วมันอยู่เบื้องหลังเรา ไม่เคยเห็นมัน

    ถ้าจิตสงบแล้วนี่ ไปเห็นกายหรือเห็นจิตนี่ คือไปเห็นตัวมัน ใครเห็นข้อมูล ความ สิ่งที่มันฝังใจน่ะ มันจะสะเทือน โอ้โฮ ขนลุกขนพองหมด ขนลุกขนพองนั่นคือการจับจำเลยได้ ถ้าการจับจำเลยได้แล้วนี่ เราเอาจำเลยนี้ขึ้นไต่สวนในศาล นั่นน่ะคือการใช้ปัญญา

    จุดเริ่มต้นของวิปัสสนาอยู่ตรงนี้ จิตต้องเห็น เห็นกายหรือเห็นจิต เห็นจิตคือเห็นอาการของจิต เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เห็น นั่นคือเห็นจิต เห็นกายคือ เห็นเป็นอวัยวะ เห็นเป็นกระดูก เห็นเป็นโครงสร้าง เห็นต่างๆ นี่ แต่เห็นโดยตาใจ เราปฏิเสธ เราท้าทายบ่อยมาก พวกหมอ เพราะว่าหมอนี่ผ่าตัดทุกวันน่ะ เราบอกไม่เคยเห็นกาย เห็นสตางค์ เพราะผ่าตัดแล้วได้สตางค์ ไม่เคยเห็นกาย

    เห็นกาย มันต้องเห็นด้วยตาของใจ หลับตาอยู่นี่ เห็นภาพชัดเจน ไม่ใช่เห็นคนนอนอยู่ที่เตียงผ่าตัด มันเห็น เห็นสภาวะกายแนบอยู่ที่ใจ แล้วมันเห็นแล้วมันสะเทือนหัวใจ แล้วมันปล่อยทิฐิมานะของเรา มันเป็นอริยทรัพย์ มันมีทรัพย์มากกว่าเงินทองไม่รู้เท่าไร ถึงบอกว่าหมอนี่ไม่เคยเห็นกายเลย เพราะมันเป็นคำพูดสมมุติเหมือนกันไง

    ในสติปัฏฐาน ๔ เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ใช่ไหมล่ะ แล้วหมอนี่ก็ กูผ่าตัดทุกวัน ทำไมกูจะไม่เห็น ก็กูจับอยู่นี่ ไอ้นั่นจับสตางค์นะ ไม่ได้จับธรรม นั่นมันวิชาชีพไง วิชาทางโลกไง ทีนี้แล้วถ้าเห็นกาย เห็นกายเห็นจิตมันสงบเข้ามานี่ ต้องจิตสงบเข้ามาก่อน จิตไม่สงบก็ฝึกได้ แต่การฝึกอย่างนั้นคือฝึกเพื่อให้จิตสงบ ไม่ใช่ฝึกวิปัสสนา ฝึกได้ ใช้ปัญญาได้ แต่ใช้ปัญญาเพื่อให้มันสงบเข้ามา สงบเข้ามาแล้วนี่ เหมือนมีธรรม เหมือนมีธรรมเลยนะ รู้ไปหมดเพราะจิตมันสงบไง

    เหมือนคนดี เด็กดีนี่ แหม อย่างนี้เลย หนูนี่เด็กดีมากเลย มันยังไม่เจอเพื่อนนะ เดี๋ยวเพื่อนพาไปเที่ยวละก็ แม่หนูไม่เอาแล้ว หนูจะไปเที่ยว จิตที่มันดีอยู่นี่เหมือนมีธรรมเลย พูดธรรมะจ้อย จ้อย จ้อยเลยนะ วันไหนจิตเสื่อมน่ะมึงจะรู้จัก มันไม่เอาด้วย มันจะไปของมัน ปฏิบัติมานี่มัน มันผ่านวิกฤตอย่างนี้มาหลายรอบ เดี๋ยวเสื่อมเดี๋ยวดี เดี๋ยวดีเดี๋ยวเสื่อม มันผ่านมาเยอะ

    จิตดวงเดียวแท้ๆ หลวงตาพูดเห็นไหม จิตดวงเดียวแท้ๆ เป็นคนดีก็ได้ เป็นคนเลวก็ได้ เวลาท่านบอก จิตท่านผ่องใสไง จิตนี้มหัศจรรย์มาก เดี๋ยวก็ผ่องใส เดี๋ยวก็เศร้าหมอง เดี๋ยวก็เป็นเทวดา เดี๋ยวก็เป็นเปรต จิตดวงเดียวแท้ๆ มันเป็นไปได้หลายหลาก แล้วอยู่ที่ไหนล่ะ กลางหัวอกเรานี่ไง กลางหัวอกนี่ แล้วถ้ามันดีขึ้นมานะ เป็นเทวดาเลย แล้วเดี๋ยวมันเสื่อมนะ เป็นโจรเลย แต่เวลามันดี เหมือนมีธรรมะ เหมือนมีธรรมะ เป็นคนดี เทศน์ธรรมะแจ้ว แจ้ว แจ้วเลย แต่อย่าเผลอนะ เดี๋ยวกูจิตเสื่อมกูล้วงหมดกระเป๋าหมดเลย กูหลอกเกลี้ยงเลย

    โยม ๒ : หลวงพ่อถามหน่อย หลวงพ่อคะ เวลาที่หลวงพ่อบอกว่า อย่างสมถะนี่ ถ้าเผื่อจะให้เห็นจิตก็พุทโธไป แล้วมันเห็นเอง แต่ว่าเวลาเห็นกายนี่ นอกจากเห็นกายแล้ว เวลาฝึกให้เห็น จิตมันเห็นกายแบบนั้นเอง โดยการที่เอาจิตเห็น มันก็เริ่มต้นด้วยการทำงานก่อน คือหลวงพ่อเข้าใจหนูไหมคะ คือว่าอย่างกรณีที่จิตไปที่ฐานนี่ มันคือ การทำงานคือพุทโธ

    หลวงพ่อ : ใช่

    โยม ๒ : แต่การที่จะให้เห็นภาพ จิตมันเห็นแค่กาย แล้วการทำงานที่จะถึงตรงนั้น การอบรมบ่อยๆ พิจารณาอย่างไรคะ

    หลวงพ่อ : ถ้าพูดถึงพุทโธนี่ จิตเรานี่อยู่กับพุทโธ แต่คำว่าทำงานนี่ เราบังคับจิตทำงาน การบังคับจิตทำงานน่ะ เวลาจิตมันสงบแล้วไง บังคับจิต คำว่ารำพึง รำพึง นี่เวลาเราคิดน่ะเราใช้สมอง แต่เวลาเราพูดกับหมอ เห็นไหม หมอที่เขามาพูดให้ฟัง เขาบอกว่าเขาทำวิจัยเรื่องสมอง แต่มาจากศิริราช เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย แล้วสสารมันคิดไม่ได้ เขาวิ่งมาหาเรา มาบวช เขาบอกว่า เขาคิดว่าถ้าสสารคิดไม่ได้นี่ ก็ต้องวิญญาณคิดได้ อยากเห็นวิญญาณ อยากเห็นผี มาภาวนาอย่างไรก็ไม่เห็น ไม่เห็นผี

    เราบอกว่า นี่โดยสสารนะ โดยวัตถุนี่คิดไม่ได้ แต่สมองของคนนี่มันเป็นศูนย์บัญชาการ มันเป็นศูนย์ควบคุม มันเป็นประสาทควบคุมร่างกาย สมองนี่มันควบคุมร่างกาย แต่ตัวสมองแท้ๆ นี่ถ้าไม่มีพลังงาน สมองใช้ไม่ได้ มันต้องอาศัยกันระหว่างกาย ระหว่างวิญญาณกับสสารนี้มีส่วนร่วมกัน เราถึงมาเกิดเป็นมนุษย์ มันต้องมีพลังงานตัวนี้ด้วย มันถึงทำให้สมองนี่เห็นไหม นี่พลังไฟฟ้าเป็นตัวจิต พลังงาน ตัว ถ้าพลังงานมีเห็นไหม ดูสิ เราคิดว่าเส้นเลือดประสาททำงานใช่ไหม แต่เราไม่คิดหรือว่าเส้นเลือดประสาททุกอย่าง มันใช้อะไรเป็นอาหาร มันอยู่ได้ด้วยอะไร ก็อยู่ได้ด้วยเลือด อยู่ได้ด้วยอะไรก็คิดกันไป แต่อยู่ได้ด้วยวิญญาณ

    นี่สิ่งนี้มันเกี่ยวเนื่องกัน มันถึงออกมาเป็นมนุษย์ไง ทีนี้ย้อนกลับมาที่นี่ ถ้าพุทโธ พุทโธนี่ เราอยู่กับพุทโธเห็นไหม เราอยู่กับพุทโธนี่คืองาน ใช่ไหม ทีนี้ถ้าเราวิปัสสนา วิปัสสนานี่ ไอ้ที่ว่าจะคิดอย่างไร คิดอย่างไรก็หมายถึงว่า ตัวจิตนี่ ตัวจิตมันสงบเข้ามา สงบเข้ามาน่ะมันเป็นสมาธิ แต่สมาธิเรารู้สึกตัวไหม เรารู้สึกตัวว่าเราเป็นสมาธิไหม ต้องรู้ ถ้าไม่รู้ไม่ใช่สมาธิ เพราะถ้าไม่รู้นะ นั่นคือภวังค์ ภวังค์คือไม่มีสติ ไม่มีผู้รู้

    ผู้รู้นี่คือตัวเป็นสมาธิ สมาธิคือตัวผู้รู้ ผู้รู้นี่มันสงบตัวเข้ามา ทีนี้ผู้รู้นี่มันรำพึงได้ เพราะในตัวผู้รู้นี่มันมีความรู้สึกใช่ไหม ในผู้รู้นี่มีความรู้สึก ถ้าในผู้รู้นี่ เรารำพึงในผู้รู้ เขาบอกว่าสมาธิคิดไม่ได้นี่ คนนั้นภาวนาไม่เป็น สมาธินี่ถ้าคิดอยู่นี่ฟุ้งซ่านเป็นสมาธิไม่ได้ ต้องสงบตัวเข้ามา แต่สงบตัวเข้ามาแล้วนี่ ในสมาธินี่ ความคิดมันอยู่ในสมาธินี่มีแต่มันละเอียด พอละเอียดว่าเรารำพึง รำพึงคิดในสมาธิไง

    รำพึงในสมาธินี่ ขณะในสมาธิเห็นไหม เราเห็นอะไร เราก็รู้ว่าเราเห็นใช่ไหม แล้วเราก็นึก นึกให้เห็นกาย นึกคือรำพึง มันคิดโดยเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ได้ การคิด คือ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ในความคิดคือการนึก การรำพึง คือรำพึงถึงกาย ทีนี้พอรำพึงถึงกายนี่ จิตนี้มีพลังงาน พอมีความรำพึงนี่คือตัวประเด็น ตัวเร้า ตัวเร้าให้เห็นกาย ถ้ามีวาสนามันก็จะเห็น ถ้าไม่มีวาสนา ทำอย่างไรๆ ก็ไม่เห็นนะ ปล่อยได้แล้ว กาย เวทนา จิต ธรรม ถ้าไม่เห็นกาย ก็ดูที่เวทนาก็ได้

    โยม ๒ : หลวงพ่อ แล้วเราจะกำหนดอย่างไรว่ามันหมดวาสนาหรือมันหมดความอยากตามที่ว่านี่

    หลวงพ่อ : ก็ตั้งใจสิ คำว่าหมดวาสนานี่นะ ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย หมดวาสนานี่มัน ดูสิ เวลาเราอยู่กับครูบาอาจารย์นี่ ครูบาอาจารย์ท่านจะเร้ามาก ครูบาอาจารย์ท่านจะเร้าให้พวกเรามีกำลังใจ ธรรมดาของกิเลสนี่มันจะทำให้เรานอนจม มันจะทำให้ บอกเรานี่หมดวาสนา มันจะตัดทอน มันจะทำให้เราก้าวเดินไม่ได้ ครูบาอาจารย์น่ะท่านอยู่เพื่อกระตุ้น ให้กระตุ้นดูพระพุทธเจ้า ให้ดูครูบาอาจารย์

    เราอยู่บ้านตาดนะ เวลาท่านเทศน์น่ะ ท่านจะตบอกท่านตลอด

    “หมู่คณะ หมู่คณะน่ะอย่ามองกันนะ”

    ถ้าหมู่คณะมองกัน หมายถึงว่าลูกศิษย์พระด้วยกันน่ะมันมีกิเลสด้วยกัน มันก็จะจับผิดกัน

    “ให้ดูผม” ท่านตบอกเลยนะ “ให้ดูผม ให้ดูผมเป็นตัวอย่าง” คือให้ดูท่านเป็นตัวอย่าง แล้วท่านดำรงชีวิตของท่านให้เป็นแบบอย่าง อยู่ที่บ้านตาดเมื่อก่อนนะ ท่านยังพาอดอาหาร ท่านจะทำอะไรนี่ เราจะตามแบบท่าน

    นี่ไง เราตามแบบผู้รู้ ตามแบบคนที่รู้จริง แล้วท่านก็เปรียบท่านว่า ท่านทำอย่างนี้ยังไม่ได้ครึ่งหนึ่งของหลวงปู่มั่น

    ท่านบอกหลวงปู่มั่นขนาดนี้ หลวงปู่มั่นเห็นไหม หลวงปู่หล้าท่านบอก ท่านเป็นคน หน้าที่ของท่านคือยกเตาอั้งโล่ มาตั้งไว้ตรงที่ทาง บนทางจงกรม หน้าหนาวที่อีสานมันหนาวมาก ท่านจะเดินจงกรมทุกวัน ๘๐ ปี เช้าก็เดินจงกรมให้ดูเป็นตัวอย่าง เช้าขึ้นมานี่ ท่านจะตื่นตั้งแต่ตี ๓ ตี ๔ อยู่ในกุฏิ พระจะไปเอาบริขารกันละ แล้วท่านจะลงมาเดินจงกรม จนกว่าจะได้เวลาออกบิณฑบาต ท่านอายุ ๘๐ ท่านทำเป็นตัวอย่าง แล้วพระเราไปอยู่น่ะ จะไปอยู่กันแบบสบาย สบาย เดี๋ยวก็โดนไล่ออก

    นี่ ย้อนกลับมาที่นี่ไง ว่าทำอย่างไร ถึงจะรู้ว่าเราหมดวาสนา ก่อนหมดวาสนานี่ เรา ไม่ใช่หมดวาสนาหรอก คำว่าหมดวาสนานี่มันมี กาย เวทนา จิต ธรรม เพียงแต่เปลี่ยนวิธีการไง ถ้าเราทำวิธีการนี้ไม่ได้ เห็นไหม นี่เรารักษาโรคนี้ รักษาด้วยวิธีการอย่างนี้แล้ว สุดความสามารถแล้ว เราเปลี่ยนวิธีการรักษาอย่างอื่นก็ได้ ให้เปลี่ยนวิธีการ เรายังมีโอกาสรักษาอยู่ ไม่ใช่ว่าหมดโอกาส เพียงแต่จริตนิสัย พอทำแล้วมันไม่เห็น หรืออย่าง พิจารณากายแล้วมันไม่เห็นกายนี่ เราจะทำอย่างนี้ ก็เหมือนกับเอาเรือมาน่ะ แล้วก็ลากไปบนถนนว่ามันเป็นรถ เดี๋ยวเรือมันก็พัง

    โยม ๒ : หลวงพ่อคะ แล้วถ้าเกิดว่าครั้งแรก พิจารณากายได้ ครั้งที่ ๒ พอมาครั้งที่ ๒ เราจิตสงบมากขึ้น มันรู้สึกพิจารณากายได้ละเอียดขึ้น อย่างนี้พอไปไหวไหมคะ

    หลวงพ่อ : เพราะ คำพูดมันบอก ครั้งที่ ๒ ละเอียดขึ้น ละเอียดขึ้นก็ผลงานต้องดีขึ้น ถ้าครั้งที่ ๑ พิจารณากายได้ ครั้งที่ ๒ ไม่เห็นเลย ทำไม่ได้เลย อันนั้นแย่หน่อย แต่ถ้าเกิดละเอียดขึ้นนี่ แสดงว่ามันได้ผลงานต้องดีขึ้น เพราะคำว่าละเอียดขึ้น ดีขึ้น อ้าว เอาทางนี้ก่อน เอาอันนี้ให้จบเลยวันนี้

    โยม ๑ : เคยถามแล้ว เอาเรื่องที่ ๑ อย่างหลวงปู่ขาวที่ว่า ทางเดินจงกรม ๓ เส้น ผมก็ทำเหมือนกัน แต่ผมทำให้มันรกขึ้น คือเดินให้มีสติ มันไม่มี แต่ก่อนมันก็โล่งๆ ตอนหลัง เอ๊ะ เอาของมาวาง เอ้อ ดีเหมือนกัน มีสติเวลาเดินจะได้หลบของ คนอื่นอาจจะเดินสะดุด

    หลวงพ่อ : ไม่ดี

    โยม ๑ : ไม่ดีหรือครับ

    หลวงพ่อ : ไม่ดี เพราะอะไรรู้ไหม เพราะขณะเจอของ เจอของจะหลบของนี่ จิตสะดุดแล้วรู้ไหม สะดุดไหม สมมุติเราเดิน เดินจงกรมอยู่นะ แล้วพอเราเห็นอะไรปั๊บนี่ เราจะหลบมัน เราต้องตั้งสติไหม สะดุดไหม โยมเข้ากี่สะดุด..

    โยม ๑ : นึกว่ามีสติมากขึ้น

    หลวงพ่อ : เหมือนของที่มัน ตะกอนน้ำจะนอนลงก้นแก้ว แล้วเราขยับ ตะกอนมันก็ต้องขึ้นเป็นธรรมดา ถ้าจิตมันสงบไปเรื่อยๆ

    โยม ๑ : เดี๋ยวจัดใหม่

    หลวงพ่อ : แล้ว มันอย่างนั้นก็ได้ แล้วถ้าสมาธิเป็นอย่างนี้นะ เราจะใช้ปัญญาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะความจำเป็นนะ เมื่อก่อนนะ เราอยู่ทางอีสาน แล้วเราเดินจงกรมนี่ เราตั้งกติกากับเราเอง ตอนบวชใหม่ๆ ว่า ข้าราชการนี่เขาทำงานวันละ ๘ ชั่วโมง เรานี่เดินจงกรมอย่างน้อยต้องวันละ ๘ ชั่วโมง แล้วนั่งต่างหาก แล้วทีนี้ฝนมันตก หน้าฝนนี่ฝนมันตก เดินจงกรมไม่ได้ เราไปเดินรอบชายคา กุฏิน่ะ ชายคานี่ เดินไปเดินมาชายคา เราว่าเราเก่งนะ ต้องทำให้ได้ ๘ ชั่วโมงไง เพราะว่าไม่ยอมทุจริตกับตัวเอง

    แล้วพอมาฟังประวัติ มาดูประวัติหลวงปู่หลุยน่ะ ท่านบอกว่า ท่านเดินจงกรมในกลด กลดแขวนไว้นี้ มุ้งกลดน่ะ ท่านเดินรอบมุ้งกลด หลวงปู่หลุย ท่านเดินรอบ ท่านเดินในกลดนะ กลดนี่ท่านเดินจงกรมได้ ท่านบอก เออ เก่งกว่าเราอีกเว้ย ไอ้เรา เราว่าเราเดินรอบชายคากุฏินะ เราว่าเรา โอ้ ไอ้แคบๆ อย่างนี้ เราเดินเราก็มึนหัวแล้วเนอะ ไปเจอหลวงปู่หลุยนะ ท่านเดินจงกรมในกลด มุ้งกลดนี่

    โยม ๑ : ไม่เวียนหัวหรืออาจารย์

    หลวงพ่อ : นั่นน่ะ แต่ท่านก็ทำของท่าน นี่ความเพียรไง

    โยม ๑ : เดินช้าๆ ไม่เป็นไร ถ้าเร็วๆ นี่เวียนหัว

    หลวงพ่อ : นี่ เราเอามาเป็นคติ ว่าท่านไม่ยอมจนตรอกเห็นไหม ท่านไม่ยอมจนตรอกกับกิเลสหรอกไม่ให้กิเลสมาอ้างว่าไม่มีที่ ไม่สะดวก ไม่มีเวลานี่ มึงอย่ามาอ้าง ไม่มีอะไรกูก็ทำ นี่ไปอยู่กับครูบาอาจารย์ท่านจะให้คติอย่างนี้ ดูสิ หลวงปู่ชอบ อยู่เมืองเลย หน้าหนาวน่ะ หนาว ไม่อยากเดินจงกรม โอ่งน้ำน่ะ มันเป็นน้ำแข็งไง หนาวใช่ไหม หนาวเข้าไปนั่งแช่ในโอ่งเลย หลวงปู่ชอบ

    กิเลสมันอ้าง นู่นก็ทำไม่ได้ นี่ก็ทำไม่ได้ ฟังคติอย่างนี้ แล้วเวลาชีวิตของท่านน่ะ เวลาเผาแล้วเป็นพระธาตุหมดเลย เนี่ย ชีวิตแบบอย่างที่จะเป็นพระธาตุ เขาทำกันอย่างนั้น ไอ้พวกเราน่ะอยากจะเป็น อยากจะดีทั้งหมดเลย นอนตีแปลง แล้วฟังชีวิตของท่าน แล้วมันเป็นคติ นี่ไง นี่อยู่กับครูบาอาจารย์ไง หน้าหนาวเมืองเลยนะ นั่งแช่ในโอ่งเลย มันอ้างว่าหนาว น้ำแข็งดีๆ นี่ มันนั่งแช่เลย ท่านเข้มแข็งขนาดนั้นหลวงปู่ชอบ

    ถ้าเห็นทำกันอย่างนั้นน่ะ เราน่ะ ที่เราคิดว่าเราทุกข์ เราทุกข์นี่ ขี้เล็บ ขี้เล็บ เราคิดอย่างนี้มาตลอด ของเราเวลาเราปฏิบัติ เราจะคิดถึงหลวงปู่มั่น เวลามันอ่อนแอนี่ เราจะคิดถึงหลวงปู่มั่นเลย เพราะอ่านประวัติหลวงปู่มั่น แล้วฟังที่ครูบาอาจารย์เล่ามาเยอะ โอ้โฮ ท่านสมบุกสมบันมาก ท่านไปของท่าน แล้วหาของท่าน

    แล้วสมัยนั้นสังคมยังไม่ยอมรับ เห็นพระป่านี่นะ โจมตีทำลาย ท่านเองนะต้อง สังคมก็ต้องสู้ แล้วยังต้องสู้กับกิเลสของตัวเอง แล้วยังต้องสู้กับความที่ไม่รู้น่ะ คือทาง ทางที่จะไป ยังไม่รู้ ท่านสู้ขนาดไหน เพราะท่านเป็นหัวหน้าของพวกเรา ท่านทำเป็นแบบอย่างมา

    ฉะนั้น อย่างเรานี่ สงสัยก็มาถามได้ อันนั้นสงสัยแล้วก็เก็บไว้ในใจนะ แล้วก็แบกกลดไปหา หา หา หาไม่เจอ นี่วาสนาของคนเป็นอย่างนี้ แต่ว่าพวกเรานี่มันอ่อนแอกัน แล้วพอออกไปเดี๋ยวนี้นะ พอบวชขึ้นมาแล้วนี่ ฝึกปฏิบัติแล้วนี่ โอ้ ปัญญาชนทั้งนั้นน่ะ ใช้ความคิดของตัวกันไป โทษนะ มึงเอาอะไรมาประกันวะ มึงเอาอะไรมาประกัน แต่ของเรานี่ ครูบาอาจารย์ท่านตรวจสอบกันแล้ว แล้วเผาแล้วเป็นพระธาตุ ตรวจสอบกันมาเองหมดแล้ว ไอ้ของเราตรวจสอบกับใคร ตรวจสอบกับขี้โม้ตัวเองนั่นน่ะ

    วาสนานี้คนมันไม่ได้คิดสักหน่อยหนึ่ง ถ้าคิดสักหน่อยหนึ่งนะ มันจะเปรียบเทียบเลย เราไปเอาสิ่งที่ไม่มีสิ่งใดเป็นเครื่องการันตีเลย กับครูบาอาจารย์ของเรา ท่านตรวจสอบกันมาเอง สมัยเจ้าคุณจูม ธรรมเจดีย์ จับหลวงปู่ขาวกับหลวงตาไปชนกัน นี่จับครูบาอาจารย์ชนกัน ชนกัน แล้วหลวงตา ตอนหลังท่านสงสัยหลวงปู่แหวน ท่านขึ้นไปหาหลวงปู่แหวนเอง

    แล้วที่หลวงปู่มั่นล่ะ เห็นไหม “หมู่คณะจำไว้นะ ท่านขาวได้พูดกับเราแล้วนะ” นี่ ให้ไปอาศัยอยู่ หลวงปู่เจี๊ยะ ไปหาเลย หลวงปู่เจี๊ยะไปกอดหลวงปู่ขาวไว้เลย เพราะ ครูบาอาจารย์ท่านรับประกันมาเลย แล้วท่านตรวจสอบกันแล้ว ถ้ายังไม่ได้ตรวจสอบ ไม่เอา นี่เขาว่า พูดกันไม่ได้ ไม่ได้อย่างไร ธรรมสากัจฉา ความรู้สึกนี่พูดได้ โธ่ นักวิชาการนี่ เวลาเข้าสัมมนานี่ คนอธิบายอะไรให้ฟังนี่ รู้เลยว่าเป็นหรือไม่เป็น

    นี่ก็เหมือนกัน ไปแสดงธรรมนี่ เปิดอกเลย ถ้าพูดออกไปนี่มันเป็นสาธารณะทั้งนั้นน่ะ เทปมันออกไปหมดน่ะ เราฟังของคนอื่นเรารู้หมดนะ ฟังมานี่ ส่งมา ส่งมาให้เราฟังนี่ วางไว้เลย ไม่เอา ไม่เอา ไม่เอา มันไม่ใช่ มันฟังรู้ ดูสิ ดูอย่างกระดาษนี่ เด็กมันเล่นกันเห็นไหม มันแบบ สมมุติว่าเป็นแบงก์มันก็เป็นแบงก์ ธนบัตรในท้องตลาดมันก็เป็นธนบัตรในท้องตลาด มันคนละเรื่อง แล้วอย่างนี้น่ะ อย่างธนบัตรปลอมเขาทำมา คนดูเป็นมันคนละเรื่อง

    คนละเรื่องทั้งนั้นน่ะ คำพูดน่ะมันติดมาอย่างนั้นน่ะ ที่เขาเทศน์ๆ กันน่ะ เพราะว่ามันไม่เป็นข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงมันมีเหตุมีผล เหตุและผลรวมลงเป็นธรรม นี่เหตุผลของกู ยืนกระต่ายขาเดียว เป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนี้ มันไม่เป็นจริงหรอก ถ้าเป็นจริงนะ ไปไหนมามันต้องลงที่เดียวกันหมด อริยสัจอันเดียวกัน ตอนนี้เพียงแต่ว่า เรายกตัวอย่างบ่อย เช่นหลวงปู่ชอบ หลวงปู่คำดี หลวงปู่เจี๊ยะ พิจารณากายเหมือนกัน พิจารณาเหมือนกันนะ แต่หยาบละเอียดต่างกัน

    หลวงปู่ชอบนี่พิจารณากาย เจโตวิมุตติหมด เจโตวิมุตติน่ะแบบ แบบสายพระโมคคัลลานะ พวกนี้น่ะจะมีคุณสมบัติทางจิต จะรู้อะไรแปลกๆ รู้อะไรแปลกๆ คือว่ารู้ล่วงหน้า รู้ทุกอย่าง แต่ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติน่ะ แบบหลวงตา หลวงปู่ดูลย์ ปัญญาเห็นไหม หลวงตานี่ถ้าเป็นปัญญานี่น่ะจะพูดธรรมะได้แตกฉานมากเลย เพราะอะไร เพราะมันใช้ปัญญาเปรียบเทียบ มันเหมือนทางวิชาการ เราถึงทดสอบมาตลอด แต่ถ้าเป็นเจโตวิมุตตินี่ มันเหมือนกับทางช่าง ทางช่างนี่มันประกอบมานี่มันสำเร็จมาตลอด

    ทีนี้ทางช่างนี่เขาสร้าง โอ้โฮ แต่ถ้าเป็นปัญญาวิมุตตินะ ทางบัญชี ทางบริหาร มึงมาน่ะผิดทั้งนั้นน่ะ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ แล้วออกมาคือผลประโยชน์ คือกำไรขาดทุนเหมือนกัน จะมีอะไรอีกล่ะ นึก ที่คาใจน่ะ
    .....

    http://www.sa-ngob.com/content_show.php?content=862
     
  13. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    โยม : ถามว่าจิตกับความคิดใช่อันเดียวกันหรือไม่ครับ

    หลวงตา : ไม่ใช่อันเดียวกัน

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน




    ความคิดไม่ใช่จิต


    กราบนมัสการหลวงตาที่เคารพอย่างสูงยิ่ง ที่ว่า ความคิดไม่ใช่จิต เมื่อปฏิบัติตามที่ท่านสอนภาวนาแล้วรู้สึกโล่ง แต่สักพักจะเห็นอาการหมุน ๆ ของกิเลส วนเวียนๆ อยู่อย่างนี้ บางทีก็ติดสัญญา ควรดำเนินต่อไปอย่างไรเจ้าคะ ขอรบกวนอีกข้อเจ้าคะคือเวลาลืมตาภาวนาแล้วเป็นสมาธิดีแต่หลับตาไม่ค่อยเป็น ทำอย่างไรจะหลับตาทำสมาธิได้เจ้าคะ หรือหากอิริยาบถใดเป็นสมาธิแล้วก็ให้รักษาคงไว้ กราบนมัสการมาด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง

    คำตอบเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2546 เรียนคุณพิมพ์

    หลวงตาเมตตาแสดงธรรมตอบปัญหาธรรมของคุณให้
    เมื่อเช้าวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ ณ วัดป่าบ้านตาด ดังนี้

    โยม : กราบนมัสการหลวงตาที่เคารพอย่างสูงยิ่ง ที่ว่าความคิดไม่ใช่จิต เมื่อปฏิบัติตามที่หลวงตาสอนภาวนาแล้วรู้สึกโล่ง แต่สักพักจะเห็นอาการหมุน ๆ ของกิเลส วนเวียนๆ อยู่อย่างนี้ บางทีก็ติดสัญญา ควรดำเนินการต่อไปอย่างไรเจ้าคะ

    หลวงตา : นั่นละมันคิด ให้ระงับจิตอย่าให้มันคิดเข้าใจไหม มันวนเวียนมันออกไปเป็นความคิดไปแล้วนั่นน่ะ ความคิดกับจิตไม่ใช่อันเดียวกัน แต่เกิดขึ้นจากจิตเข้าใจเหรอ อย่าปล่อยให้มันคิด เวลาจะต้องการความสงบให้สงบด้วยธรรมบทใดก็ได้อย่างที่เขาเคยปฏิบัติเข้าใจไหมล่ะ เช่น พุทโธ เป็นต้น ก็ได้ ให้สติตั้งอยู่ อย่างวันนี้พูดกันชัดเจนแล้วนะ เอ้า ว่าไป

    โยม : คือเวลาลืมตาภาวนาแล้วเป็นสมาธิดีกว่าหลับตาภาวนา ทำอย่างไรถึงจะหลับตาแล้วทำสมาธิได้เจ้าคะ หรือหากอิริยาบถใดเป็นสมาธิแล้วก็ให้รักษาคงไว้ กราบนมัสการมาด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง

    หลวงตา : เราอย่าเผลอ หลับตาก็ไม่เผลอ ลืมตาก็ไม่เผลอมันก็เป็นสมาธิได้ทั้งหลับตาทั้งลืมตานั้นแหละ ถ้ามันหลับตาดี ลืมตาไม่ดี แสดงว่าสมาธิคอยแต่จะล้ม แบบนี้ ยังหาหลักเกณฑ์ไม่ได้เข้าใจไหม เอ้า เป็นอย่างนั้นนี่



    จิตกับความคิดใช่อันเดียวกันหรือไม่


    กราบนมัสการเรียนถามปัญหาหลวงตา ดังนี้
    1.จิตกับความคิด ใช่อันเดียวกันหรือไม่ และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร?
    2.เวลานั่งสมาธิ บางช่วงมี 2 ความระสึกพร้อมกันคือ รู้ตัวว่ากำลังพิจารณาลมหายใจเข้า-ออก พุท-โธอยู่ และก็รู้ตัวว่ากำลังคิดเรื่องอื่นๆอยู่ ซึ่งจะแว่บเข้ามาในความคิดประมาณ 1-2 นาที และหายไป ถ้าเป็นอย่างนี้ถือว่ามีสมาธิหรือไม่
    3. เวลาภาวนาพุท-โธ ไปเรื่อยๆ จะรู้สึกสงบลง ๆ ภาวนาไปนานเข้าจะรู้สึกลืมพุท-โธ อย่างนี้ถือว่าไม่มีสมาธิใช่หรือไม่

    กราบขอบพระคุณหลวงตามา ณ โอกาส นี้ด้วย

    คำตอบเรียนคุณชวนชื่น

    หลวงตาเมตตาตอบปัญหาธรรมของคุณให้
    เช้าวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๖ ณ วัดป่าบ้านตาด ดังนี้

    โยม : ข้อ ๑ จิตกับความคิดใช่อันเดียวกันหรือไม่ และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

    หลวงตา : จิตคือความรู้ ความรู้ที่ปรุงออกไปจากจิตเป็นความรู้แขนงของจิตนี้เรียกว่าสังขารความปรุงของจิต ออกไปจากจิตแต่ไม่ใช่จิตเข้าใจเหรอ เรียกว่าสังขารคือความปรุงภายใน สังขารภายนอก เช่น ต้นไม้ ภูเขา สัตว์ทั่ว ๆ ไป นี่สังขารภายนอก สังขารภายในคือความคิดปรุงของจิตสำเร็จรูปมาในนั้นเสร็จ ปรุงว่าหญิงเป็นหญิงเรียบร้อยแล้ว ปรุงเป็นชายเป็นชายเรียบร้อยแล้ว นี่เรียกว่าสังขารภายใน เข้าใจเหรอ ทั้ง ๒ อย่างนี้ สังขารภายในเป็นตัวหลอกลวงมากที่สุด ยิ่งกว่าสังขารอื่นใด แล้วถามมาเรื่องอะไร

    โยม : ถามว่าจิตกับความคิดใช่อันเดียวกันหรือไม่ครับ

    หลวงตา : ไม่ใช่อันเดียวกัน ความคิดออกมาจากจิต จิตกระเพื่อมมันก็เป็นความคิดออกไป ถ้ามีแต่ความรู้ล้วนๆ ไม่กระเพื่อมก็เป็นจิต พอความกระเพื่อมออกไปนี้ ความรู้อันนี้ออกไปนั้นเป็นสังขาร เป็นความคิดจึงไม่ใช่อันเดียวกัน แต่ออกจากที่เดียวกันคือจิต เข้าใจหรือเปล่า เออ ว่าไป

    โยม : ข้อ ๒ นะครับ เวลานั่งสมาธิ บางช่วงมี ๒ ความระลึกพร้อมกันคือ รู้ตัวว่ากำลังพิจารณาลมหายใจเข้าออกพุทโธอยู่และก็รู้ตัวว่ากำลังคิดเรื่องอื่น ๆ อยู่ ซึ่งจะแวบเข้ามาในความคิดประมาณ ๑-๒ นาที และหายไป ถ้าเป็นอย่างนี้ถือว่ามีสมาธิ หรือไม่ครับ

    หลวงตา : ขี้เกียจตอบ ถามไม่ได้หน้าได้หลัง เอ้า ฟัง ความจริงแล้วจิตทำหน้าที่อันเดียว เราคิดนี้แล้วอันนั้นแย็บมานี้คือว่า อันนี้เบามันขึ้นทางนั้น อันนั้นเบาขึ้นทางนี้ มันออกจากจิตดวงเดียวเข้าใจเหรอ ถ้าจริงๆ แล้วจิตทำหน้าที่อันเดียวเท่านั้น ที่มันแทรกก็คือกระแสของความรู้ที่แฝงขึ้นไป ความคิดอันเป็นจุดเดิมของเรานี้เท่านั้นเข้าใจเหรอ ก็มีเท่านั้น ไม่อยากตอบไปมากขี้เกียจตอบปัญหาอย่างนี้นะ นี่ยังดีนะยังตอบให้อยู่ เอ้า ว่าไป

    โยม : เวลาภาวนาพุทโธไปเรื่อย ๆ จะรู้สึกสงบลง ๆ ภาวนาไปนานเข้าจะรู้สึกลืมพุทโธ อย่างนี้ถือว่าไม่มีสมาธิใช่หรือไม่ กราบขอบพระคุณหลวงตามา ณ โอกาสนี้ ( จาก ชวนชื่น )

    หลวงตา : คำว่า ลืมพุทโธ นี้ส่วนมากฟังกันก็เรียกว่ามันเผลอ มันถึงลืมพุทโธ เราพุทโธ ๆ แล้ว พุทโธหายไปแต่สติยังดีอยู่ มันเชื่อมเข้าไปสู่จุดอันเดียวกันไม่มีคำว่า พุทโธ นี่เรียกว่า ถูกต้องเข้าใจไหม ที่มันหายไปเลยเงียบ ๆ นี้ความเผลอ เข้าใจไหมที่ว่า ถามย้ำมาอีกคำเก่านั่นละ เอ้า

    โยม : เวลาภาวนาพุทโธไปเรื่อย ๆ จะรู้สึกสงบลง ๆ ภาวนาไปนานเข้าจะรู้สึกลืมพุทโธ อย่างนี้ถือว่าไม่มีสมาธิใช่หรือไม่

    หลวงตา : คำวาลืม พุทโธ มันเผลอไปหรือมันลืม พุทโธ ด้วยเหตุใดนั่นซิ มันน่าถามตรงนี้น่ะ เรายังตอบไม่ได้ คำว่าไม่มี พุทโธ หรือว่า ลืมพุทโธไปเลยก็มี มีพุทโธอยู่แต่พุทโธค่อยกลมกลืนกับความรู้อันเดียวกันไปอยู่อันเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่สติไม่เผลอนี้เรียกว่า ความถูกต้อง ความสงบของจิตไม่ใช้สังขารคือ พุทโธ ในระยะนั้น อันนี้เราก็เคยพูดแล้ว เวลาจิตมันดื้อก็เอาพุทโธตีเข้าไปให้หนัก ๆ แน่น ทีนี้เวลามันอ่อนตัว พุทโธ ละเอียดเข้าไป ๆ จนกระทั่งถึงตัวจิตแล้ว คำว่าพุทโธนี้หายไปเลย แต่ความรู้นั้นไม่หาย สติจับอยู่ตรงนั้น นี่เรียกว่า ไม่เผลอหรือถูกต้องด้วย แล้วเวลามันคลี่คลายออกมาก็เหมือนคนตื่นนอน พอตื่นนอนขึ้นมาก็รู้นั้นรู้นี้ อันนี้พอจิตถอยออกมาเท่านั้นแล้วก็ระลึกพุทโธตามเดิมได้ นี่ก็เคยสอนมาแล้วไม่ใช่เหรอ ก็มีเท่านั้นแหละ ให้ฝึกหัดจริง ๆ นะ มาถามจริง ๆ อย่ามาทำสักแต่ว่าทำแล้วมาถามสุ่มสี่สุ่มห้า เราไม่อยากตอบอย่างนั้น เพราะเราไม่ได้ทำเล่นนี่นะ การตอบก็ตอบเพื่อสาระสำคัญ มาถามสุ่มสี่สุ่มห้า โดยที่ความตั้งใจไม่ค่อยมี สักแต่ว่าถามนี้เราไม่ตอบ ต่อไปจะเป็นอย่างนั้น
     
  14. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819


    หนังสือเรื่องหลวงปู่ฝากไว้ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล


    จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย
    ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
    จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
    ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ


    เปิดดูไฟล์ 4625381
    y9553852-6-jpg.jpg

    y9553852-7-jpg.jpg
    เปิดดูไฟล์ 4625382



    ความคิดเป็นแค่อาการของจิต ความคิดที่ส่งออกทั้งหมดเป็นสมุทัย
    อย่าไปตามรู้ หรือรู้ตาม จะไม่มีเวลาตามทันเลยสักที เหมือนคนตามรอยโคไม่เห็นตัวมัน

    หนังสือเรื่องหลวงปู่ฝากไว้ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล

     
  15. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819


    วิธีเจริญจิตภาวนาจนถึงจิตเดิมแท้ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    วิธีเจริญจิตภาวนาจนถึงจิตเดิมแท้

    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    ๑. เริ่มต้นอริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก
    ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียว

    รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม


    เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ


    จากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป


    ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร


    ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป


    ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต


    พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง


    ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว


    เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้


    ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที


    เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง


    ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ


    เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล"

    การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป
    แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน

    ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ


    เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคย เปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย

    เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย
    เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้น ๆ

    บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ


    ๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต)


    ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ


    ๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน)


    ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖


    ๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ


    คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด


    ๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิต ทำความสงบอยู่ใน จิต ไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติของจิต ได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้


    คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง


    ๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น


    เรียกว่า "สมุจเฉทธรรมทั้งปวง"


    ๗. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า "พ้นเหตุเกิด"


    ๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง)


    เมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน


    เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร


    เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพาน"


    โดยปกติ คำสอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้น เป็นแบบ "ปริศนาธรรม" มิใช่เป็นการบรรยายธรรม ฉะนั้น คำสอนของท่านจึงสั้น จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมายหลายอย่าง ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า "พฤติของจิต" แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น


    คำว่า "ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต" เหล่านี้ ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่


    ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้ "พฤติแห่งจิต" อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลัง เพราะคำว่า "มรรคปฏิปทา" นั้น จะต้องอยู่ใน "มรรคจิต" เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ นานาเลย


    การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วย วิสุทธิศีล วิสุทธิธรรม พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้




    ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต)

    ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ

    ๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน)
     
  16. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    สอบถามก่อนนะครับ

    ในปัจจุบันนี้ สามารถ

    ปรากฎเห็นเหมือนแสงที่ปลายอุโมงค์เป็นจุดเล็กๆ สติกำหนดอยู่ที่จิต วางเฉยต่อสิ่งที่เห็นแต่รู้ ไม่ได้ให้ความสนใจ จะเกิดอะไร จะมีอะไรเรากำหนดรู้แต่สติยังคงอยู่ที่จิตๆจึงนิ่ง
    มีความรู้สึกเหมือนเคลื่อนตัวไปข้างหน้าพุ่งไปตามทางของแสงที่ปลายอุโมงค์จนถึงปลายแสงความสว่างว๊าาปขึ้นมา
    ความรู้สึกเบามาก สติเด่นชัดยิ่งขึ้น กำลังไม่รู้สึกถดถอย ไม่เหนื่อย สำรวจในจิตยังคงนิ่งดี


    สามารถ เข้าสมาธิ ที่จุดนี้ได้เป็นปรกติหรือไม่ครับ

    ก็คือ สามารถ เข้าสมาธิ จิตเป็นผู้รู้ แล้วออกจากสมาธิ ได้เป็นปรกติอยู่ปรกติ ใช่ไหมครับ

    แล้วในชีวิตประจำวัน มีสติอยู่กับปัจจุบัน ในกรรมฐานที่ปฏิบัติทุกลมหายใจเข้าออก ใช่ไหมครับ

    เรื่องนิมิตนั้น มีหลายแบบ ตามแต่ละคนที่จะมีภูมิปัญญา สามารถเข้าใจครับ เปรียบเหมือน นกกับปลา คุยกันไม่รู้เรื่อง ถ้าเอาไปถามคนที่ไม่ได้ปฏิบัติเค้าก็จะไม่เข้าใจ เอาไปถามคนที่ไม่เคยเจอ เค้าก็จะไม่เข้าใจ เอาไปถามคนที่ไม่ได้รู้จริงก็จะตอบตามตำราหรือความเข้าใจผิดๆ ของตัวเองได้

    ผมอยากจะบอกก่อนว่า การที่เราเห็นนิมิต ครูบาอาจารย์นั้น บางคนกระทั้งผู้ปฏิบัติยังคิดว่า มันเป็นการปรุงแต่งของจิตตัวเองสร้างขึ้นมาเอง ไม่ได้มีใครมาหาทั้งนั้น อะไรแบบนี้ แล้วก็ตอบด้วยความไม่รู้ไปยกตัวอย่าง หลวงปู่มั่นมา ที่ท่านบอกว่าพระพุทธเจ้ามาหา ว่าเป็นนิมิต ยกตัวอย่างนี้เป็นต้นครับ ที่คนภายนอกเค้าเข้าใจอะไรแบบนี้

    แต่ในความเป็นจริงนั้น พระพุทธเจ้ามาหาหลวงปู่มั่น จริงครับ แล้วทีนี้ ด้วยมีคนทั่วๆไป ที่ไม่ได้ปฏิบัติ หรือ ปฏิบัติไม่ถึง ไม่เข้าใจ เค้าก็จะไปปรามาส ก่อกรรมหนักโดยไม่รู้ตัว มาตอนหลัง ท่านถึงใช้คำว่า นิมิต เข้ามาแทนที่ เพื่อที่จะไม่ให้คนที่ไม่เข้าใจ ปรามาสโดยไม่รู้ตัวว่าก่อกรรมหนัก นั้นเองครับ ตอนหลังถึงบอกว่าเป็นนิมิตแทน พอหลังจากบอกว่า เป็น นิมิตแทน ทีนี้ ก็จะมีพวกที่ไม่ได้รู้จริง เอาตรงนี้ไปอ้างต่ออีก ว่ากลายเป็นว่า เวลาเราจิตเราเป็นสมาธิ แล้วการที่มีท่านอื่นมาหา มีครูบาอาจารย์มาหาจริงนั้น แต่บอกว่าไม่จริงเป็นนิมิต จิตสร้างภาพขึ้นมาเอง ต่อ ทำให้หลายๆคนเข้าใจผิดไปอีก โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติใหม่ๆ ที่ไม่ได้รู้เรื่องจริงลึกๆ ทำให้เข้าใจผิดต่อไปเพราะด้วยเชื่อคำจากคนที่ไม่ได้รู้จริงๆ ครับ อะไรอย่างนี้ต่อไปครับ

    ซื่งเรื่องจริงๆ นั้น ครูบาอาจารย์ ท่านเทศน์สอนในวงพระกรรมฐานวงใน ให้ฟังว่า ที่พระพุทธเจ้ามาหาหลวงปู่มั่นนั้น มาจริง ครับ ไม่ใช่นิมิตที่เราสร้างเองขึ้นมา ท่านมาหาจริง แต่ในสมัยนั้น ประชาชนทั่วไป เชื่อว่า นิพพานสูญ พระพุทธเจ้าสูญ อะไรอยู่อย่างนี้ แล้ว หลวงปู่มั่น ท่านสามารถ บรรลุอรหันต์ผล ขึ้นมาได้ ดังนั้น คนทั่วๆไปเค้าถึงได้ไม่สามารถที่จะเข้าใจธรรมได้ พอมาปัจจุบัน ก็ยังไม่มีคนเข้าใจ เข้าใจผิดอยู่อีกมาก ครับ คร่าวๆก็ตามนี้ครับ

    การที่ จขกท สงสัยเรื่อง ที่ครูบาอาจารย์มาหานั้น ว่าเป็น นิมิต หรือว่า จริง หรือไม่นั้น หวังว่า คงจะได้รับคำตอบนะครับ เพราะ ถ้าเอาไปถามคนอื่นๆบอก เค้าก็จะบอกตามภูมิปัญญาของคนๆนั้น ครับ

    ดังนั้น ต่อไป จขกท ก็ไม่ต้องไป ติด วิตกกังวล สงสัย กับเรื่องนี้ ครับ

    นิมิต นั้น ถ้าตามแนวทางปฏิบัติ สายพระป่า หลวงปู่มั่น นั้น ท่านจะสอนให้ละนิมิต ครับ อย่าไปติด นิมิต ถ้าเราติด นิมิต ตัวเราจะยึด นิมิตนั้นเอาไว้ ไม่ยอมปล่อย แล้วการปฏิบัติ จะไม่ก้าวหน้า เพราะว่า ตัวเรามัวแต่ไป ยึด นิมิต ที่เห็นมาเป็นอารมณ์ในการภาวนา

    การภาวนานั้น มีกรรมฐาน 40 วิธี ในการปฏิบัติ จขกท สามารถ หาอ่านได้ครับ ว่าตรงกับกรรมฐานกองไหนหรือไม่นั้นเองครับ

    ดังนั้น ครูบาอาจารย์ ท่านถึง สอนว่า ถ้าเจอนิมิต อะไรก็แล้วแต่ ให้ตัดทิ้งเสีย แล้วให้กลับมาที่คำบริกรรมในกรรมฐาน ที่ตัวเองปฏิบัติอยู่นั้นเองครับ ถ้านิมิตเหล่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับ กรรมฐานกองที่ จขกท ปฏิบัติอยู่นั้นเองครับ


    ส่วน นิมิต ของ จขกท. นั้น ผมต้องบอกว่า แต่ละคน บำเพ็ญบารมีสร้างสมมาไม่เหมือนกัน ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันนะ ว่ามันคืออะไรนั้นผมไม่สามารถที่จะบอกได้ครับ บางคนเค้าก็อาจจะเข้ามาบอกมาทำนาย ว่า เป็นนั้นเป็นนี้ ก็ได้ก็มีครับ

    ถ้า จขกท. ต้องการปฏิบัติตามแนวทาง กรรมฐาน 40 ตามสายหลวงปู่มั่น พระป่า นั้น ท่านจะสอนให้ ภาวนาพุทโธ เป็นหลัก หรือ กรรมฐาน40 ครับ แล้ว พิจารณา สติปัฏฐานสี่ กาย เวทนา จิต ธรรม อะไรที่ไม่เกี่ยวข้องกับ กรรมฐาน นั้น นิมิตต่างๆ ไม่ว่าจะอะไร ท่านจะสอนให้ ตัดนิมิตพวกนั้น ทิ้งให้หมด ครับ

    ดังนั้น ผมก็ต้องถาม จขกท ว่า การปฏิบัติธรรม ของ จขกท นั้น คุณต้องการอะไรครับ ต้องการ มรรคผลนิพพานในชาติปัจจุบัน เป็น สาวกภูมิ หรือ พุทธภูมิ ครับ

    คุณต้องการปฏิบัติธรรม เพื่อ รักษา นิมิต ดอกบัว หรือไม่ หรือต้องการมรรคผลนิพพาน ครับ

    การปฏิบัติ นั้น ตามสายของพุทธศาสนา นั้น พระอรหันต์มีอยู่ 4 สาย คือ
    สุกขวิปัสสโก
    เตวิชโช
    ฉฬภิญโญ
    ปฏิสัมภิทัปปัตโต

    การที่คนเราจะ บรรลุอรหันต์ผล นั้น มี 4 สาย นี้ ครับ ไม่ว่าจะใครก็ตามที่บรรลุอรหันต์ ต้องมีการปฏิบัติ ตามสายใครสายมัน ครับ การปฏิบัติ แต่ละสายก็จะไม่เหมือนกัน ครับ มันจะเริ่มแบ่งสายตั้งแต่การปฏิบัติ ครับ และ ผลที่สุดของสาย

    เลยต้องถาม จขกท ว่า ต้องการอะไร ในการปฏิบัติ ครับ เวลาเราจะยิงเป้า เราต้องเล็งเป้าหมายให้ชัดเจน ครับ ถ้า จขกท สงสัย ว่าทำไมผมพูดเรื่องยกอรหันต์ขึ้นมานะครับ





    1.เรากำหนดภาวนาอยู่เกือบจะทุกอิริยาบท

    ถูกต้องแล้วครับ ทุกลมหายใจเข้าออก ให้มีสติอยู่กับปัจจุบัน ไม่ฟุ้งซ่านไปกับกิเลส กับนิวรณ์5 ในชีวิตประจำวัน

    ส่วนเรื่องเราจะวาง กำหนดจิตของเราเอาไว้ที่ตำแหน่งไหนในร่างกาย เรากำหนดได้หมดครับ กำหนดตำแหน่งไหน แล้ว จิตเราสงบ ผลการปฏิบัติดี ก็กำหนดตำแหน่งนั้นครับ ในชีวิตประจำวัน เราทำอะไร เรามีสติ รับรู้ หมด แต่จิตเราสงบด้วยกำลังของสมาธิ มีสติอยู่ตลอดเวลา

    1.1ดอกบัวหรือแก้วที่ผุดขึ้นมาให้เห็นกึ่งกลางอกทุกขณะจิต

    ผมไม่สามรถตอบได้นะคับ แต่ตามหลักของการปฏิบัตินั้น ไม่ว่าจะนิมิตอะไรก็แล้วแต่ ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับกรรมฐาน ท่านให้ ตัดนิมิตนั้น ทิ้งให้หมด ครับ แล้วมีสติอยู่กับคำภาวนา ในกรรมฐาน ครับ

    1.2 ในการปฏิบัตินั้น มี 2 สาย คือ สมถะ และ วิปัสสนา ครับ

    จขกท ลองถามตัวเองดูครับ ว่า การ กำหนดสติรู้อยู่ที่ดอกบัวนั้น คืออะไร ครับ
    แล้วมีส่วนช่วยในการ ฆ่ากิเลส ใดๆ หรือ ไม่ มีส่วนช่วยในการทำให้เราบรรลุธรรมใดๆ หรือ ไม่ครับ คิดว่ามันถูกทางทำให้ตัวเองบรรลุธรรม หรือไม่ครับ จขกท ลองพิจาณาตัวเองดูครับว่า นิมิตดอกบัวนี้ เราได้อะไรบ้างในทางธรรม ครับ

    ในการปฏิบัติกรรมฐาน ครูบาอาจารย์ ท่านสอนให้ทำจิตให้เป็นสมาธิก่อน เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ เมื่อจิตเป็นสมาธิ จิตเป็นผู้รู้แล้ว ท่านสอนให้ออก วิปัสสนา ต่อไปใน อริยสัจ ในกรรมฐาน40 แบ่งออกเป็น 2 สายคือ สมถะ และ วิปัสสนา ครับ

    จขกท ผ่านด่าน 1 แล้วก็คือ สามารถ กำหนดจิต ให้เป็นสมาธิได้ เป็น ผู้รู้ ได้
    ขั้นต่อไป ก็คือ การ พิจารณา วิปัสสนา ใน จิต ครับ

    จขกท ต้อง รู้อย่างนึงว่า ดอกบัวนั้น ไม่ใช่ตัว จิต ดอกบัว ไม่ใช่ผู้รู้ นะครับ

    ถ้า จขกท ปฏิบัติตามแนวทาง หลวงปู่ดูลย์ นั้น ท่านสอนให้ ทำจิตให้เป็นสมาธิ ก่อน เป็นพื้นฐาน เมื่อ จิตเป็นสมาธิแล้ว ให้พิจารณา จิต ต่อไปครับ ไม่ใช่ นิมิต ใดๆ ทั้งสิ้น ครับ แต่เป็นตัว จิต พิจารณาจิต ครับ คงแยกออกนะครับ ถ้า จขกท ลืมอะไรไปนะครับ

    ผมว่า จขกท อ่านอะไรมาเยอะ ก็น่าจะรู้อะไรมาหลายๆ อย่าง ครับ เส้นทางปฏิบัติมีเยอะไปหมด อยู่ที่ว่า จขกท จะเลือกเส้นทางไหนในการปฏิบัติ ครับ

    ลองพิจารณาดูด้วยตัวเองครับ

    เรามาปฏิบัติธรรม ย่อมสมควรแก่ธรรม

    กิเลส มี หยาบ กลาง ละเอียด ในหัวใจในจิตเรา ท่าน เจอ กิเลส เห็นกิเลสอะไรบ้างหรือยัง กิเลสอะไรบ้างในจิต ท่าน ฆ่ากิเลสอะไรไปบ้าง เห็นตัวกิเลสในจิตหรือยัง เมื่อน้ำใส เราจะเห็นตัวปลา ท่านตอนนี้เห็นปลากิเลสในจิตที่เป็นน้ำใส บ้างหรือยัง ครูบาอาจารย์บอกไว้ว่า ปลากิเลสมันไม่มาอยู่เฉยๆให้เห็น ให้จับหรอก ถึงแม้น้ำจะใส น้ำใสแต่ไม่เห็นปลา นะครับ ตอนนี้ ปัจจุบันนี้ ท่านทำอะไรอยู่

    คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
    http://www.thasungmedia.com/wat/puy/ebook/2555/Kammatharn/#/16/

    จขกท ลองอ่านดูครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2018
  17. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,084
    ดอกบัวแก้วเป็นนิมิตที่ท่านสร้างขึ้นเพื่อวางสติ ไม่ได้ผิดอะไร คงเป็นความเคยชินเดิม
    แต่ถ้าจะทำตามตำราก็ลองอ่านเรื่อง พุทธานุสติ กสิณต่างๆ ครับ
    ดูเรื่อง อุคคนิมิต กับ ปฏิภาคนิมิต

    ติดนิมิต คือ เผลอไปกับนิมิตที่เกิดตอนปฎิบัติสมาธิเพื่อสร้างความสงบ
    ทำให้ไม่สามารถ มีความสงบที่มากขึ้นได้ ไม่ก้าวหน้าในสมาธิ

    ส่วนของท่านสร้างขึ้นเอง คนละแบบกัน
    การปฎิบัติ กสิณ และ พุทธานุสติ ต้องสร้างนิมิต ต้องทำให้เกิดนิมิต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2018
  18. ดอกบัวแก้ว

    ดอกบัวแก้ว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +12
    ส่วนใหญ่จะเข้าได้เป็นปกติ นอกจากวันไหนป่วยหรือรู้สึกเหนื่อยมากจากการงาน จะอ่อนกำลังค่ะ

    แต่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ทำทุกขณะจิตค่ะ แม้แต่นอนป่วยยิ่งกำหนดง่ายค่ะ เพราะได้นอน ไม่ได้ทำงานอะไรมากในวันนั้น. แม้เผลอสติก้อพยายามกำหนดเข้ามาที่ฐานจิตเหมือนเดิมค่ะ

    จะพยายามตามรักษาจิตอยู่ตลอดเวลา เลยเหมือนเฝ้าดูดอกบัวกลางจิต จนบางทีก้อสงสัยว่าตกลงดอกบัวคือนิมิตรแล้วเราไปติดนิมิตรเหมือนคนอื่นเขาว่าหรือเปล่า แต่ก้อพอจะได้คำตอบ จากการมาตั้งกระทู้ครั้งนี้แล้วค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2018
  19. ดอกบัวแก้ว

    ดอกบัวแก้ว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +12
    ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ
     
  20. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762

    ทำกรรมฐานเลือกมาสักหนึ่งครับ
    ฝึกแบบหลวงปู่ดุลย์
    เคยได้ยินคำนี้ไหมครับ

    "เห็น นะเห็นจริง
    แต่ของที่เห็นไม่ใช่ของจริง"

    ฉะนั้น นิมิต อย่าไปให้ค่า แต่ควรเอามากำหนดรู้ที่จิต
    ว่าจิต มีความยินดี ยินร้าย หรือเฉยๆ เมื่อเกิดนิมิตมาให้เห็น

    ไม่ใช่ไปกำหนดแต่นิมิต ต้องกำหนดรู้จิต
    กำหนดรู้สภาวะจิต ว่ามีอาการอย่างไรกำหนดรู้อย่างนั้นไปตรงๆ

    เช่น เห็นนิมิตดอกบัว จิตเกิดดีใจ ให้กำหนดรู้ดีใจ
    จิตเกิดตกใจให้กำหนดรู้ตกใจ จิตเกิดสงสัยห้กำหนดรู้สงสัย
    ไม่ใช่ไปกำหนดนิมิต
    เราอาศัยนิมิตที่เกิดขึ้น แล้วกำหนดดู อารมณ์จิตที่เกิดขึ้น
    จะเป็นการสร้างสติให้เป็นสติพละ คือ มีกำลังกล้าขึ้น หรือมีความไวขึ้น


    สำหรับ พระอรหันต์ทุกประเภท
    จะเป็นแบบ
    ฉฬะภิญโญ
    สุขวิปัสโก
    เตวิชโช
    ปฏิสัมภิทา
    ท่านมี สติปัฏฐานเป็นทางดำเนินเหมือนกันหมด
    อย่าไปงง ว่าต้องฝึกแบบนี้ถึงได้ประเภทนั้นประเภทนี้

    ไม่ว่าจะบรรลุแล้วเป็นประเภทไหน
    ต้องเดินทางสายเดียวกันหมดคือ สติปัฏฐาน


    กรณีหลวงปู่มั่น พบพระพุทธเจ้า
    ท่านหมายเอาสื่อ คือ สื่อโดยสมมุติ มาให้รู้ในโลกสมมุติ

    หากไม่อาศัยสื่อสมมุติ ก็จะสื่อสารไม่ได้

    ความจริงของสมมุติ ก็จริงในส่วนสมมุติ
    ความจริงในส่วนปรมัตถ์ ก็จริงในส่วนปรมัตถ์

    มันคือ สัจธรรม สองอย่าง สัจจะสมมุติกับสัจจะปรมัตถ์ ที่มีอยู่จริง

    ฉะนั้น ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา
    ไม่แปลกเลยที่จะมีสื่อสมมุติ
    ทำการสื่อออกมากับปรมัตถ์

    เพื่ออธิบายในโลกสมมุติ ที่มีบุคคลตัวตนเราเขา
    "บุคคล" ก้พระพุทธเจ้าองค์นั้นองค์นี้ พระนามนั้นพระนามนี้
    "ตัวตน"ก้ผู้บรรรลุ
    "เราเขา" ก็ พระนามพระองค์นั้น พระนามพระองค์นี้ ที่ใช้เป็นภาษาสมมุติเรียกกัน
    หากไม่มีภาษาสมมุติมาเรียกกัน ก็คุยกันไม่ได้ ยกตัวอย่างกันไม่ได้ สอนธรรมกันไม่ได้

    หากมีแต่สัจจะปรมัตถ์ มันจะสื่อสารกันไม่ได้
    มันจะมีแต่เพียง จิต เจตสิก รูป นิพพาน
    ไม่มีชื่อคนนั้น คนนี้ มาบัญญัติ ไม่มี ของเรา ของเขา มาบัญญัติ
    มันจึงเสมอเหมือนเทียบเท่ากันหมดในคุณธรรม


    แต่หากสมัยนี้บอกว่าได้พบพระพุทธเจ้า ผู้นั้นต้องมีคุณธรรมเป็นพระอรหันต์ไปแล้ว

    แต่หากยังไม่บรรลุแล้วบอกได้พบพระพุทธเจ้า
    อันนั้นพึงระวังตัวเองไว้ ว่าแนวโน้มจะทำให้วิปลาสกำลังมาเยือน

    สำกับคำที่ว่า "พบพระพุทธเจ้าให้ฆ่าทิ้งเสีย" ถ้าเป็นFC หลวงปู่ดุลย์ กับ หลวงปู่พุธนะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...