เรื่องเด่น รู้จักกับพระโพธิสัตว์ กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ ต้องทำแบบนี้

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 15 กรกฎาคม 2017.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,711
    พระโพธิสัตว์-พลังจิต-01.jpg

    การบำเพ็ญประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น เรียกว่าการบำเพ็ญคุณธรรมที่จะทำให้เป็นพระพุทธเจ้า (พุทธการกธรรม) หรือเรียกว่า “บารมีธรรม” ที่พระโพธิสัตว์จะต้องบำเพ็ญให้บริบูรณ์มี ๑๐ ประการคือ

    ๑.ทาน ได้แก่ การสละให้สิ่งที่สละให้มี ๓ ระดับ คือ
    - ทรัพย์สิ่งของภายนอก
    - อวัยวะในร่างกายของตน
    - ชีวิตตนเอง หรือสิ่งเสมอด้วยชีวิตตน คือ บุตรภรรยา

    ๒.ศีล ได้แก่ คุณธรรมเครื่องปราบกิเลสอย่างหยาบได้แก่ กิเลสที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้ไม่สามารถยับยั้งใจไว้ได้ต้องลงมือกระทำความชั่วไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางวาจา ศีลที่พระโพธิสัตว์รักษามี ๒คือ
    -นิจศีล (ศีล ๕)
    - อุโบสถศีล (ศีล ๘)

    ๓.เนกขัมมะ ได้แก่ การออกจากกาม มี ๒ คือ
    - ออกจากกามโดยสละบ้านเรือนออกบวช
    - ออกจากกามโดยบำเพ็ญสมาธิจนได้บรรลุญาณ

    ๔.ปัญญา ได้แก่ ความรอบรู้ ความรู้อย่างลึกซึ้ง มี๓ คือ
    - สุตมยปัญญา ปัญญาอันเกิดจากการศึกษาเล่าเรียน
    - จินตามยปัญญาปัญญาอันเกิดจากการคิดพิจารณา
    - ภาวนามยปัญญา ปัญญาอันเกิดจากการฝึกจิตอบรมจิต

    ๕.วิริยะได้แก่ความพากเพียรพยายาม การกระทำอย่างต่อเนื่อง ในทางที่ถูกต้องเรียกว่า สัมมัปปธาน มี๔ อย่างคือ
    - สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น
    - ปหานปธานเพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
    - ภาวนาปธาน เพียรทำบุญให้เกิดขึ้น
    - อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาการทำบุญไว้ต่อเนื่อง

    ๖.ขันติ ได้แก่ ความอดทนมี ๓ คือ
    - ตีติกขาขันติความอดทนแบบอดกลั้นต่ออารมณ์อันไม่พึงประสงค์ต่างๆ
    - ตบะขันติความอดทนด้วยอำนาจตะบะ คือ สมาธิข่มใจ ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจกิเลส
    - อธิวาสนะขันติความอดทนระงับยับยั้งไม่ให้กิเลสเกิดขึ้นเลยแม้ต้องเอาชีวิตเข้าแลก

    ๗. สัจจะ ได้แก่ความจริง ความเที่ยงแท้ หมายถึง ความจริงใจ พูดและทำตามความคิด

    ๘. อธิษฐาน ได้แก่ความตั้งมั่น ความมั่นคง ไม่หวั่นไหว ในความคิดกระทำสิ่งใดก็ทำจนบรรลุเป้าหมาย

    ๙. เมตตา ได้แก่ความรัก ความปรารถนาดี ด้วยอำนาจคุณธรรมไม่ใช่รักและปรารถนาดีด้วยอำนาจกามราคะ

    ๑๐. อุเบกขา ได้แก่ความวางเฉย ความปล่อยวาง หมายถึง อาการที่จิตเป็นกลาง ไม่ยึดในความดีที่ตนเองได้กระทำลงไปและไม่ทุกข์ใจในการทำผิดซึ่งพลาดพลั้งเกิดขึ้น

    บารมีทั้ง ๑๐ประการข้างต้นพระโพธิสัตว์จะต้องบำเพ็ญด้วยความเสียสละตนเองเป็นอย่างยิ่ง อันเป็นส่วนของความเมตตากรุณาต่อปวงสัตว์ และจะต้องฝึกหัดบำเพ็ญบารมีอันนั้นให้เกิดเป็นความต่อเนื่องและจะต้องปฏิบัติให้ได้ตั้งแต่ระดับสามัญ (บารมี) จนถึงระดับที่กระทำได้ยากสุด (ปรมัตถบารมี)

    ดังที่กล่าวไว้ตอนต้นแล้ว พระโพธิสัตว์จะต้องปฏิบัติได้เพื่อให้เกิดคุณธรรมแก่กล้าอันเป็นป็นปัจจัยให้เกิด “โลกุตตรปัญญา” คือความเป็น “พุทธะ ในที่สุดและหากพระโพธิสัตว์ไม่สามารถบำเพ็ญบารมีทั้งสิบนี้ให้ครบถ้วนก็ไม่มีทางที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้


    แม้จะดูเหมือนเป็นการบำเพ็ญที่ยากเย็นแสนเข็ญ ในการบำเพ็ญบารมี แต่เป็นสิ่งที่เราทุกคน หากพัฒนาตนเองตามแนวทางแห่งพระโพธิสัตว์ แม้บารมีจะไม่สามารถเต็มบริบูรณ์ได้ในชาตินี้ แต่เชื่อได้แน่นอนอย่างหนึ่งว่า ชีวิตจะเจริญรุ่งเรือง และได้อยู่ภายใต้การดูแลคุ้มครองจากบารมีพระโพธิสัตว์และรัตนตรัยอย่างแน่นอน


    --------------------
    ที่มา :
    http://www.tnews.co.th/contents/197973


     
  2. buakwun

    buakwun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    2,830
    ค่าพลัง:
    +16,613
    อนุโมทนา สาธุ
     
  3. mrmos

    mrmos Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    1,190
    ค่าพลัง:
    +1,101
    sa210.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...