เรื่องเด่น เล่าขานตำนานไสยเวทย์ไทย ตอน แสงกล้วย เมืองเหนือ ทนสิทธิ์มหาลาภจากล้านนา

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 7 มิถุนายน 2017.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    เล่าขานตำนานไสยเวทย์ไทย ตอน แสงกล้วย เมืองเหนือ ทนสิทธิ์มหาลาภจากล้านนา
    18836062_10213273173253547_3405768455464991300_n.jpg

    สิ่งมี่กระผมจะเล่า ได้เรียบเรียง มาจากหลากหลายสถานที่ ตามความเชื่อคน โบราณ

    เชื่อว่า "แสง"สีเหลืองอ่อน หรือ แสงสีเเขียวอ่อน เป็นแสงที่เกิดจากปาฎิหาร

    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ล้วนมองไม่เห็น .
    ..ต่างเชื่อกันต่างๆนานา ...ว่าผู้มีบุญมาเกิดกันบ้าง บ้างก็ผีพุ่งใต้ แล้วแต่เค้าเชื่อกัน..

    ...แต่สิ่งที่ผมจะเล่า คือ "แสง" ที่ออกจากต้นกล้วย แล้วลอยล่องพุ่งพาดผ่านหลังคา...

    สิ่งเหล่านี้ จะเกิดขึ้นใน วันพระ หรือ วันสำคัญ ทางศาสนา

    .มีผู้เฒ่าแก่เค้าบอก สิ่งศักดิ์สิทธิ์พวกนี้เค้าออกไปกราบนมัสการเจ้าแม่คงคา หรือ กราบนมัสการเทวดา บนสรวงสวรรค์ ..มักจะเกิดแบบนี้ทุกๆปี ปีละ 1ครั้ง หรือ เกิด ขึ้นอีก พร้อมกันกับบุญญาธิการ..

    .ที่เทวดาเค้ามอบให้คนนั้น ..สิ่งสิ่งนี้แม่เฒ่าบอก ไม่ได้เกิดขึ้นกับใครได้ง่ายๆเหมือนกัน..ล้วนต้องมีบุญญาธิการเพียงเท่านั้นที่ได้ครอบครอง

    .. แม่เฒ่าเคยบอก ส่วนมากแหล่งที่จะเกิด ก็ต้องเป็นสถานที่เงียบสงบ ...ไม่มีคนอาศัยอยู่เยอะ แล้วยังว่าถ้าบ้านหลังใดเห็น แสง นี้ แล้ว ต้องรีบเข้านอน เพื่อได้ฝันเห็นเทวดามามอบโชค

    บ้างก็เล่า..ลักษณะการเดินทางของแสง จะ พาดผ่านหลังคาบ้านเป็น เส้นยาว สีเหลืองอ่อน หรือ สีเขียวอ่อน จะพุ่งตกแถวๆ บริเวณที่มีการปลูกต้นกล้วย แล้วตกเช้า ผู้ที่เห็น ก็จะรีบไปค้นหา สิ่งของนั้น ที่เชื่อกันว่า "แสงกล้วย" ตรงโคนต้น ถ้าเจอก็ถือว่าเป็นบุญ ..

    บ้างบอก : เมื่อเห็นแสงก็รีบตามแสงนั้นไป เวลาก็เกือบๆเช้า พอมืดอยู่ เห็นแสงนี้วิ่งลงต้นกล้วยต้นหนึ่ง มีแสงเรืองๆ ตนก็ได้ ตัดต้นกล้วยขาดเป็น 2 ท่อน แสงนั้นก็ตกลงพื้นพอหยิบได้ก็เจอเป็นลักษณะ คล้ายเม็ดหิน ตนเชื่อว่า เป็น "แสงกล้วย" เลยบูชาเก็บรักษาไว้

    " เชื่อเรื่อง หนุนนำดวง" พบเจอแสงสว่างในชีวิต แคล้วคลาดปลอดภัย และครอบคลุม ล้วนเป็นของวิเศษ ที่คนเฒ่าคนแก่ หลายรุ่นคน ศรัทธากันเป็นอย่างยิ่ง
    ผมถามก่อนที่จะขอแบ่ง...

    ทำไมแม่อุ้ยเชื่อว่าเป็น"แสงกล้วย" ล่ะ

    แม่อุ้ยตอบ : อย่างชัดเจนและมั่นใจมาก ..

    ..เม็ดกลม บ้างก็ รีๆ คล้ายรักปี๊ เค้าให้ผมจับ จับแล้วจะรู้สึกเบามือ ถูกแล้วลื่นๆมือ พักสักพักกลับรู้สึกเหนีนวมือ.. ที่เหล่าเทพารักษ์เทวดาเค้ารักษา

    สิ่งเหล่านี้เป็นความเชื่อของคนโบราณมาหลายนานหลายรุ่นคนแล้ว

    สิ่งเหล่านี้คือ : ความเชื่อจากบรรพบุรุษของสยามเราทั้งนั้น

    และนำมาเหล่าสู่เพื่อนพ้องน้องพี่ ได้ ร่วมสนุน สนาน มีความสุข กัน
    ในวัน ดีดีนี้ ผมขอและด้วยอานุภาพจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลกนี้ : จงช่วย หนุนนำ นำส่ง ให้ มีความสุข ความเจริญก้าวหน้า ในหน้าที่การงาน และมีความสุขในครอบครัว มา ณ ที่นี้ ด้วย เทอญ.......สาธุ

    รูปภาพเหล่านี้ เพียงแค่ บ่งบอกถึงรูปทรง และลักษณะสันฐาน ...เพียงแค่นั้นคราบ ไม่มีเจตนาอื่นใด

    คด กับ แสง ต่างกัน หลายคนเข้าใจผิด ๆ คิดว่า คดเป็นแสง แสงเป็นคด เพราะลักษณะคล้ายกันมาก แสงก็คือ กายสิทธิ์ อีกชนิดหนึ่งซึ่งมีความพิเศษ คือสามารถกำเนิดแสงสว่างขึ้นในตัวเอง โดยจะปรากฏในวันดีคืนดี ซึ่งเรื่องนี้ไม่ค่อยมีคนนำมาบอกกล่าวกันมากนัก และต้องรู้ว่า กำเนิดแสงนี่ล่ะที่เป็นสิ่งที่แยกแสง ออกจากคด กล่าวสรุปว่า แสงอาจจะเป็นคด แต่ “คด” ทุกชนิดไม่อาจนับเป็น “แสง” ได้ทั้งหมด โบราณาจารย์ท่านพยายามแยกสองสิ่งออกจากกัน จึงปรากฏคำว่า “แสง” “คด” ในตำราธาตุกายสิทธิ์แยกกันค่อนข้างชัดเจน

    กายสิทธิ์ที่มีอานุภาพสูงจนสามารถเปล่งแสงยามค่ำคืนได้ จึงจะเรียกว่า “แสง” การหากายสิทธิ์ที่เรียกว่า “แสง” ในสมัยโบราณไม่จำเป็นต้องได้มาแบบคดเสมอไป กล่าวคือ บริเวณที่เห็นแสงปรากฏผิดปกติในเวลาค่ำคืนบางขณะ ห้วงนักขัตฤกษ์ เช่น วันพระ หากพบแสงพุ่งไปหยุด ณ. ที่ใด ก็จงค้นดูเถิดจะพบกับของวิเศษ มีลักษณะฉ่ำใส แบบธาตุกายสิทธิ์ หากพบในรังนกคุ่ม ก็เรียกแสงนกคุ่ม

    หากพบในไม้มะค่า ก็เรียกแสงมะค่า บางครั้งไปพบตามพงไม้ ก็ต้องดูลักษณะสัณฐาน เช่น เหมือนไข่ ก็เรียกแสงไข่ หากสีหรือขนาดแบบนกพันธุ์ไหนก็ต่อชื่อด้วยชื่อพันธุ์นกชนิดนั้น หากเหมือนลักษณะเต่าก็เรียก แสงเต่า และเป็นเรื่องแปลกอีกอย่างก็คือ ไม่พบธาตุกายสิทธิ์แสง ในตัวสัตว์เลย จะพบก็แต่ “แสง” ที่มีลักษณะคล้ายตัวสัตว์เท่านั้น แต่ไม่ได้หมายความว่า เป็นตัวสัตว์ที่กลายสภาพเป็นหินอย่างกำเนิดคดทั่วไป แล้วจะเหมาเรียกแสงได้ทั้งหมด คนที่เล่นธาตุกายสิทธิ์ แบบลึกเท่านั้นจึงจะแยก “แสง” ออกจาก “คด” ได้อย่างชัดเจน เนื่องจากต้องเชี่ยวชาญ แบบดูนอก ( ลักษณะทางกายภาพ ) และดูใน ( สมาธิพิจารณา ) กายสิทธิ์ประเภทแสง นับเป็นหนึ่งในแก้วมณี วิเศษ ในมิติจิตวิญญาณ.

    กายสิทธิ์ประเภทแสงนับถือว่า มีอานุภาพสูง เพราะมีอาการของ “ธาตุเสด็จ” คือกลายเป็นแสงลอยไปมาได้ในเวลากลางคืน

    กล้วย เป็น พืชที่คนไทยเราคุ้นเคย มาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ นอกจากจะสารพัดประโยชน์ ใช้ตั้งแต่ใบยันต้นแล้ว กล้วยยังถือว่าสามารถกำเนิด ทนสิทธิ์ แบบต่าง ๆ ได้ถือว่ากล้วยมีอาถรรพ์ลี้ลับในตัว แม้การนำมาสะกดอสรพิษ นิยมนำมาประกอบกับเครื่องบูชา ตามคติเวทมนต์คาถา ธาตุกายสิทธิ์ที่พบในกล้วย มีทั้ง “แสง” และ “คด”ฯลฯ

    แสงกล้วย คือ ต้นกล้วยที่มีแสงวิ่งเข้าหาในเวลากลางคืน ต่อเมื่อผู้มีวิทยาคมไปพบเข้าก็จะทำพิธีสะกดแสงนั้นเอาไว้ ซึ่งก็มีอยู่หลายวิธี “แสงกล้วย” (ธาตุกายสิทธิ์) มีลักษณะอย่างหยวกกล้วยแต่ใสกว่า มีสัณฐานต่าง ๆ กัน โดยมาก “แสง” จะอยู่ตรงกลางต้นกล้วย จะมีลักษณะตั้งแต่ขาวขุ่น จนขาวใสคล้ายวุ้น แต่จะแข็งเหมือนหิน สัณฐานของแสงกล้วยโดยมากจะเกลี้ยงเกลาเป็นทรงกลมหรือรีแบบไข่ เมื่อส่องดูเนื้อในจะหนึกนุ่มใส มีประกายระยิบระยับ และเมื่อสัมผัสจะเย็นกว่าอากาศภายนอก..

    “แสง” จะส่งผลเด่นชัด แก่ผู้เป็นเจ้าของในด้านชุ่มเย็น เจริญรุ่งเรือง และ เด่นด้านโภคทรัพย์ ผู้มีแสงครอบครองต้องหมั่นทำบุญเติมบารมีของตนไว้ เพราะหากผู้ครอครองผิดศีลผิดธรรม “แสง” ก็จะปาฏิหาริย์เป็น “ธาตุเสด็จ” หนีไปดื้อ ๆ ซึ่งไม่มีวิธีที่จะป้องกันได้เลย.“แสงกล้วย” ต่างจาก “คดกล้วย” ตรงที่มีลักษณะใสกว่า และต้นกล้วยที่จะมีแสงกล้วยนั้นต้องมีธาตุเสด็จปรากฏให้เห็นจึงจะเรียก “แสงกล้วย” ต้นกล้วยที่เกิดแสงได้ ไม่ระบุว่าต้องเป็นกล้วยพันธุ์ใด แต่เท่าที่พบมากก็คือกล้วยป่า รองมาก็คือกล้วยตานี กล้วยน้ำ ฯลฯ เหตุที่มีแสงลงสถิตในกล้วยส่วนหนึ่งเชื่อว่า เป็นอาถรรพ์พื้นที่ที่ต้นกล้วยนั้นเกิดด้วย..

    ข้อมูล ค้นคว้า และ เรียบเรียงเขียน : ตู่ สาละวิน
     
  2. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,159
    ค่าพลัง:
    +1,231
    ใช้หนังสะติ๊ก ยิงเม็ดหินเล็กๆเข้าไปฝังในต้นกล้วย= แสงกล้วย
    ใช้หนังสะติ๊กยิงเม็ดหินเล็กๆเข้าไปคาในรังมดแดง=แสงมดแดง
     

แชร์หน้านี้

Loading...