จิตใต้สำนึก อนุสัย สติปัฏฐานสี่ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Prasit5000, 5 เมษายน 2017.

  1. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    ....เรื่องที่กระผมจะกล่าวต่อไปนี้ กระผมก็มิได้รู้อย่างละเอียด ถ้ามีผุ้รู้ก็ช่วยขยายความด้วย

    ....จิตใต้สำนึก เป็นเรื่องที่ฝรั่งเขาตั้งชื่อและศึกษา ผมขอคัดลอกท่านผู้หนึ่งอธิบายใว้บนเวบแห่งหนึ่งดังนี้

    "ฟรอยด์ เป็นผู้ริเริ่มให้ความสนใจกับ จิตไต้สำนึก
    เขาเปรียบ เทียบว่า จิตใจมนุษย์ มีสภาพคล้าย ภูเขาน้ำแข็ง ที่ลอยอยู่ในมหาสมุทร
    มีส่วนที่อยู่เหนือผิวน้ำเป็นส่วนน้อย ยังมีส่วนอยู่ใต้ผิวน้ำ เป็นส่วนใหญ่
    ภาวะจิต ระดับที่มี ความสำนึก ควบคุมอยู่เช่นเดียวกับ ส่วนของน้ำแข็งที่อยู่เหนือผิวน้ำ
    ภาวะจิตระดับใต้สำนึก เหมือน ส่วนที่อยู่ใต้ผิวน้ำ เป็นที่สะสมองค์ประกอบของจิตไว้มากมาย
    ฟรอยด์อธิบายว่า จิตระดับใต้สำนึก นี้มี กลไกทางจิต หลายประเภท ด้วยกัน เช่น
    แรงจูงใจ, อารมณ์ที่ถูกเก็บกด, ความรู้สึกนึกคิด,ความฝัน, ความทรงจำ ฯลฯ
    พลังจิตใต้สำนึก มีอิทธิพลบ เหนือ จิตสำนึกกระตุ้น ให้ปฏิบัติพฤติกรรม ประจำวันทั่ว ๆ ไป,
    เป็นแรงจูงใจให้เกิดพฤติกรรมไร้เหตุผล และผิดปกติในลักษณะต่าง ๆ

    ฟรอยด์ได้ใช้เวลาศึกษา เรื่องจิตใต้สำนึก อยู่ถึง ๔๐ ปี ได้เขียนหนังสืออธิบายเรื่องนี้ไว้ยืดยาว"

    .....บางสิ่งบางอย่างเราสามารถอธิบายได้โดยไม่ต้องอ้างตำราก็ได้ถ้าสิ่งนั้น มันรู้กันอยู่ เช่นถ้าผมพูดว่า ร่างกายเราสามารถ หายใจได้ทั้งระบบอัตโนมัติ คือหายใจได้เอง เช่นเวลาเรานอนหลับ และเรายังสามารถบังคับการหายใจได้ด้วยการบังคับ คือระบบแมนนวล นั้นเอง
    .....ผมเคยกล่าวว่า จิต ของคนเรา สามารถ คิดได้ด้วยตัวมันเอง แต่อันที่จริง มันมีสองระบบ ก็คือ มันคิดของมันเอง คือระบบออโต้ และระบบบังคับได้เรียกว่าระบบแมนนวล นั้นเอง นักดูจิต จะเห็นชัดเจนว่า บางครั้ง ทำไมเราไม่ต้องการจะคิด จิตมันก็คิดของมันเอง

    ....ทำไมจิตของคนเราจึงคิดได้เอง แล้วพื้นฐานการคิดมาจากอะไร ผมคิดว่า มันมาจากฐานข้อมูลที่เราเก็บสะสมมาเรื่อยๆ จนทำให้มีแรงผลักดัน ให้เกิดพฤติกรรม ต่างๆ

    .....มิใช่ว่าจิตจะมีแต่ระบบ อัตโนมัติ และระบบบังคับ มันยังมีระบบกึ่งอัตโนมัติด้วยแหละ ขณะที่จิตมันกำลังคิดเพลินๆ เราก็ชอบ ซ้ำคิดตามมันอีกก็มี

    ....อนุสัยคือ กิเลสที่สงบนิ่งอยู่ในสันดาน , กิเลสอย่างละเอียด มี ๗ อย่าง ได้แก่ ๑. กามราคะ = ความกำหนัดในกาม ๒. ปฏิฆะ = ความขัดใจคือโทสะ ๓. ทิฏฐิ = ความเห็นผิด ๔. วิจิกิจฉา = ความลังเลสงสัย ๕. มานะ = ความถือตัว ๖. ภวราคะ = ความกำหนัดในภพ ๗. อวิชชา = ความไม่รู้แจ้งคือโมหะ.

    ....อนุสัยเกิดขึ้นได้อย่างไร ตามหลักพระอภิธรรม เรื่องการทำงานของจิต ผมอ่านเข้าใจอย่างนี้นะ ถ้าไม่ถูกก็ขออภัยด้วย ท่านว่า การรับรู้อารมณ์ของจิตในหนึ่งรอบ จะมี 17 ขณะจิต 1-3 เป็นภวังคจิต 4-17 เป็นการขึ้นสู่วิถี 9-15 เป็นชวนะ(เสพอารมณ์) ขณะที่ครบรอบแล้ว ก็จะมีการบันทึก เป็นอนุสัย

    .....ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราถูกด่า จนรู้สึกเข้าใจว่าเขาด่าอะไร ตื่นจากภวังค์ ขึ้นสู่วิถีโกรธ ขณะที่เราโกรธ ต่อมาจะมีอารมณ์แห่งความโกรธ เราก็จะเสพอารมณ์นั้น จนครบรอบ แล้วจิตก็จะบันทึก เป็นอนุสัย ของความโกรธ
    ....ถ้าเราเป็นนักสติปัฏฐาน เมื่อเราโกรธ พอเข้าสู่ ขณะจิตที่จะเสพอารมณ์ เราก็ตัดอารมณ์ คือหยุด ไม่ให้ ไปถึงระดับ บันทึกเป็นอนุสัย คือก็โกรธแหละ แต่ หยุดได้ทัน ถ้าทางยุบหนอพองหนอก็จะบริกรรม โกรธหนอๆ ประมาณนั้นแหละ

    .....อนุสัยที่ถูกตัดไม่ให้มีการบันทึก บางท่านกล่าวว่า ไม่เพียงแต่หยุดมันได้ด้วยการทำสติปัฏฐาน มันยังไปลดอนุสัยที่มีอยู่เดิมด้วยซ้ำ

    .....อนุสัยที่มากขึ้นๆ จะทำให้การเกิดอารมณ์ที่สะสมนั้นเกิดง่าย เช่น คนที่มีอนุสัยความโกรธ ก็จะโกรธง่าย ถ้าอนุสัยเบาบาง การโกรธก็จะเกิดยาก ขึ้น นั้นแหละ

    .....อนุสัย น่าจะเป็นสิ่งที่เรียกว่า ฐานข้อมูลของจิตใต้สำนึก

    .....การที่มีสติ สัมปชัญญะ ก็คือการที่เราบังคับจิตให้ทำในสิ่งที่เราต้องการ โดยมีเหตุมีผล มากกว่าจะปล่อยให้เป็นไปตาม ที่จิตใต้สำนึกจะพาไป เช่น่ขณะเราหลับ จิตใต้สำนึกก็ ทำงานของมัน ทำให้ฝ้นเป็นเรื่องเป็นราว แหละ

    .....ทำไมพระพุทธเจ้าหลังตรัสรู้ถึงไม่ฝัน ก็เพราะ พระองค์มี สติ สัมปชัญญะอยู่ตลอด ดังนั้นจึงไม่ตกอยู่ใต้จิตใต้สำนึก และบางท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้า สละ อนุสัยได้ซึ่งสาวกที่เป็นพระอรหันต์ก็ไม่สามารถละได้

    ......เสนอพระสูตรที่ว่า แม้ขณะหลับ พระองค์ก็มีสติ สัมปชัญญะ
    "
    [๔๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นสถาน
    ที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ฯ
    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ในที่กลางแจ้งเกือบตลอดราตรี
    ในสมัยใกล้รุ่งแห่งราตรี ทรงล้างพระบาทแล้วเสด็จเข้าพระวิหารทรงสำเร็จสีห-
    *ไสยาโดยพระปรัศเบื้องขวา ทรงเหลื่อมพระบาทด้วยพระบาท ทรงมีพระ
    สติสัมปชัญญะ ทรงทำความหมายในอันจะเสด็จลุกขึ้นไว้ในพระหฤทัย ฯ
    [๔๓๕] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
    แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
    ท่านหลับหรือ ท่านจะหลับเสียทำไมนะ ท่านหลับเป็นตาย
    เทียวหรือนี่ ท่านหลับโดยสำคัญว่า เราได้เรือนว่างเปล่า
    กระนั้นหรือ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นโด่งแล้ว ท่านยังจะหลับ
    อยู่หรือนี่ ฯ
    [๔๓๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป จึงได้
    ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
    พระพุทธเจ้าซึ่งไม่มีตัณหาดุจข่าย ซึ่งแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ
    สำหรับจะนำไปสู่ภพไหนๆ ย่อมบรรทมหลับ เพราะความ
    สิ้นไปรอบแห่งอุปธิทั้งปวง กงการอะไรของท่านในเรื่องนี้เล่า
    มารเอ๋ย ฯ
    ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาป เป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา
    พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    เรื่องบางเรื่อง เค้าไม่ได้รู้จริงเหมือนพระพุทธเจ้า ก็สร้าง มโนขึ้นมาเองไปเรื่อย
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    จะไปเทียบอะไร กับ. สิบมันฝอย. ที่ไม่มี
    สัมมาทิฏฐิเรื่องเวียนว่ายตายเกิด หละฮับ

    จิตใต้สำนึก. จากภูมิจิตที่ ปราศจากมูลฐาน
    สัมมาทิฏฐิเรื่องเวียนว่ายตายเกิด. มันจะ
    มีส่วนเหมือน. จิต ในพุทธศาสนา ได้ยังไง

    สิบมันฝอย. หลักใหญ่ๆ ในการวิแคะ. จะเน้น
    เรื่อง. "สิ่งรอระบาย". เช่นเรื่องถ่ายทุกขหนัก
    ทุกขเบา. ถ้าขัดด้วยเหตการณอย่างนั้น อย่างนี้
    โตมาจะเกิดพฤติกรรมอย่างนั้นอย่างนี้ ฝาหรั่ง
    เขาก้ทึ่ง. สำรวจชีวิตคนโรคจิตอน่างนั้นอย่างนี้
    พอค้นปูมหลังก้พบอาการ. ขี้ไม่ออก เยี่ยวไม่เร็ด
    พ่อตาตาย. แม่ยายเตะ. ป่วยสิครัช. ตรงเปะ
    ก้เชื่อตามๆกันไป.
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    การหยิบ. ข้ออรรถ. ข้อธรรม. จากนักวิชาการ

    ถ้าหยิบห่างกันมากๆ. คุงประสิทธิ แน่ใจเหรอ

    ว่ารู้ อรรภ

    รู้ธรรรม


    หยิบผิด โฟเอสสร้างสรร. แบบเบอร เลยนะฮับ


    จะรู้เลย. ภูมิธรรม. สัมมาทิฏฐิตัวไหนขาด

    โดยดูจาก. หลักวิชานักวิชาการ. ที่โลกเขารู้จัก
     
  5. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    ....ถ้าพูดถึง นักจิตวิทยา เขาศึกษาเพื่อแก้พฤติกรรมของผู้คน จนมีคนจ้างมาปรับพฤติกรรม ของสถานพยาบาลบางแห่ง เช่นศูนย์พัฒนาการเด็กเป็นต้น เหล่านักจิตวิทยาเหล่านี้ เขามีเงินเดือน มีการมีงาน ที่พอเรียกว่า อยู่ดีกินดีแหละ จะว่าเป็นศาสตร์ที่ไม่ได้ผลก็บอกไม่ได้นะครับ
    ....แม้แต่ การล้างสมอง หรือที่เรียกว่า โปรปะกันด้า(Propaganda) สำหรับเท่าที่เราเห็นๆ ก็ได้ผลมิใช่น้อย
    ...ผมนำมาเชื่อมโยงกับ ว่าสภาพจิตใต้สำนึกที่ เขากล่าว มันหมายถึง จิตที่ทำงานภายใต้ข้อมูลที่ได้สะสมเอาใว้ และจิตมันยังทำงานโดยตัวของมันเอง
    ....การมีสติ มีสัมปชัญญะจะเป็น ตัวคัดกรองตัดสิน ให้จิตมันทำงาน อย่างมีเหตุมีผล มิใช่ ถูกข้อมูลที่มีอยู่นั้น ชักนำไป

    ....อุปมา ดัง ตัวผู้รู้ตัวที่หนึ่งชื่อจิต เป็นคนขับรถ ส่วนตัวผู้รู้ตัวที่สองชื่อสัตตานัง เป็นคนผู้โดยสาร ขณะที่ ตัวจิต ขับอยู่ และตัวสัตตานัง ยังตื่นอยู่ ตัวจิตก็ไม่กล้าขับเข้าเส้นทางผิดๆที่ตนเองชอบ แต่พอ ตัวสัตตานังหลับ เจ้าตัวจิต ก็จะขับรถไปตามที่ตัวเองเคยขับผ่านมาแล้วติดใจ อาจจะเป็นทางที่ ไม่ดีไม่ควร ตราบไดที่ตัวสัตตานังยังตื่นอยู่ ตัวจิตก็ต้องปรับตัวให้ถูกใจผู้โดยสารนั้นแหละ

    .....ตัวจิต ไม่สามารถหยุดตัวมันเองได้ ต้องมีตัว สัมปชัญญะ เป็นตัวหยุด เพราะอะไร เพราะถ้าตัวจิต ทำงานด้วยตัวเองล้วนๆ เราก็เรียกว่า ทำงานแบบอัตโนมัติ เหมือนเราหลับ เราฝัน ในฝัน เราไม่มีทางหยุดอะไรได้เลย

    ....ถ้าคนที่สลบ สามารถหายใจได้ ด้วยระบบประสาทส่วนกลาง เรียกว่าหายใจด้วยระบบอัตโนมัติ แต่ถ้าฟี้น ตื่นมา จึงจะสามารถ ใช้จิตควบคุมการหายใจได้จะเอาสั้นหรือยาว ดังใจต้องการ การหายใจจึงเป็นได้ทั้งสองระบบ

    ....ตัวผุ้รู้ จึงมี สองตัวนี้แหละ
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ถ้าอุปมา จิตฉองอย่างแบบข้างบน แล้วบอกว่า สัมปชัญญะ จะทำให้
    ควบคุมระบบหายใจได้ อะ แน่เหรอ

    อะ พี่จ๋า

    อะน้อง ขออนุญาติ ตดดังแปร๊ดดด ( มีเสียงน้ำเล็ดด้วย )

    แล้ว สัมปชัญญะ ที่บอกว่า บังคับลมหายใจให้ยาวได้ จะยาวได้
    ตลอดไหม

    ถ้าไม่ตลอด โปรด ทราบว่า สัตตานัง คือ ตัวทำให้หยุด

    สัตตานังมันมาจากไหน ทำไมมันมีกำลังกล้ากว่า สัมปชัญญะ
    บังคับลามหายใจให้ยาวววววววว ได้หละ

    ทีนี้

    สัมปชัญญะ จะมีหรือไม่ ต้องกำหนดรู้ อุปทานเยี่ยงสัตตานัง ในขณะนั้น
    ว่าทำไม จึงหายใจต่อไม่ได้หละ ในเมื่อ คนของสำนักเทศบาล ท่านเหล่า
    นั้นกลับมี ปิติ และเพราะมีปิติ(ที่จะทำหน้าที่) จึงมีอุเบกขา

    ทีนี้ จะบอกว่า คนเทศบาลหายใจยาวได้ปรกติ ดังนั้นเหมาเข่ง สัมปชัญญะ
    คืออุเบกขา ก็ บ่ ใช่หน่าฮับ

    เขากำหนดรู้ พ้นอุเบกขา ละความเบื่อหน่ายออกต่างหาก

    เพียงแต่ว่า เขาไม่เคยสดับ และไม่เคยกำหนดรู้ ทุกข์ ไม่เช่นนั้น
    เขาจะสามารถตามเห็น การสลัดคืนบางอย่าง เนืองๆ เข้ามาได้

    แต่พอได้ยินแบบนี้แล้ว จะเอา อริยสัจจ ไปให้เขาฟัง ใช่ว่าจะบรรลุหน่าฮับ

    ของมันต้องมี ปัจจัยการบางอย่างประกอบด้วย ไม่อย่างนั้น
    ก็จะเหมือน กรณี บุตรชายของพราหมณ์มหาศาล(เศรษฐีที่เป็นพราหมณ์)
    ในสมัยพุทธกาล ที่ ตอนได้รับมรดกใหม่ๆ หากมาฟังธรรมจะได้อรหันต์
    หรือ ถ้าได้มาฟังธรรมตอนล้มละลายใหม่ๆ ก็จะได้อนาคามี แต่พอตอนนี้
    มาขอทานหน้าประตูเมืองเสียแล้ว ชาตินี้ก็เป็นอันว่า ฟังอะไรก็ไม่รู้เรื่องในธรรม
    ได้แต่ ความสุขในการเข้าใจภาษา น้ำอกน้ำใจ บุญ ทาน เท่านั้น(ในกรณี
    ในพระไตรปิฏก พอคำนึงน้ำใจสักแปปเดี๋ยว ก็ หัวฟัดหัวเหวี่ยง คับแค้น ชักสะพาน)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2017
  7. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    จิตที่ฝึกดีแล้ว หยุดได้ ครับ

    จริงๆ ปฐมฌาน ฌาน1 ก็หยุดได้แล้วครับ ไม่ฟุ้งซ่าน
     
  8. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    ....คุณนิวรณ์ เขามีจิตใต้สำนึกที่ เป็นอย่างไร น่าจะวิเคราะห์
    ....คนที่เราเห็นนิสัยของแต่ละคน บางคนน่ารัก บางคนอันธพาล ล้วนมาจาก ประสพการณ์ ตั้งแต่วัย เด็ก สะสมมาเรื่อยๆ
    ....นักจิตวิทยา มักจะถามถึงประวัติ ว่าบุคคลนี้ เคยประสพเคราะห์ร้ายอะไรมาก่อนถึงได้ก้าวร้าว ประมาณนี้
    ....ช่างเถอะเขาคงได้รับประสพการณ์อันเลวร้าย ยิ่งเป็นสิ่งน่าสงสาร จนทำให้มีพฤติกรรมประมาณนั้น
     
  9. Xtrem

    Xtrem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +275
    ตาฟรอย ยังไปไม่ถึง ฐานจิต จะไปรู้อะไร กับวิบากจิต ที่คนเราอุปนิสัยต่างกัน เพราะมีวิบากจิต ที่สั่งสมมาต่างกัน กุศลวิบากจิต อกุศลวิบากจิต แนะนำให้คุณ prasit ศึกษาเพิ่มเติ่ม ส่วนตาฟรอยนั่นปล่อยแกไปเถอะมาเอาธรรม พระพุทธเจ้าดีกว่าครับ ยกตัวอย่างง่ายๆ คุณ prasit มีความนึกคิดถึงสิ่งใด มีความมั่นหมายในสิ่งนั้น นั้นแปลว่าวิบากจิตได้เกิดขึ้นแล้ว ความชอบ ความไม่ชอบ ความรัก ความชัง ความไม่รักไม่ชัง มันเป็นวิบากจิตที่สั่งสมข้ามภพชาติครับ
     
  10. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    จิตใต้สำนึก ตามความเห็นส่วนตัว คือ สัญญา อนุสัย และ วิบากกรรม ซึ่งทำไปโดยอัตโนมัติ
    คือ เมื่อมีสัญญาหมายมั่น เจ้าของย่อมเข้าใจสิ่งนั้นเป็นอย่างที่เข้าใจ ไม่คิดไปถึงสิ่งอื่น
    อนุสัย คือ กิเลสที่ดองอยู่ในจิต พร้อมจะแสดงตัวหาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้สัมผัสกับสิ่งกระตุ้น
    วิบากกรรม คือ ผลทางเดินของจิตที่มักจะแสดงตัว ตามความเคยชินที่ได้กระทำมาเป็นอาจิณ

    ทั้ง 3 ตัวนี้ แสดงออกมาโดยทำงานร่วมกัน ทำให้เจ้าของต้องเป็นไปตาม อำนาจกิเลส และเป็นไปอย่างผิดทาง

    การมีสติทั่วไปไม่เพียงพอ จะต้องใช้มหาสติ มหาปัญญา ไถ่ถอนสัญญาที่ผิด ทำความเห็นให้ถูก ไถ่ถอนอนุสัยด้วยวิปัสสนาญาณ และลดวิบากกรรมด้วยการเจริญมรรค
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ถ้า ทุกสิ่งมันมีแต่ วิบาก ทางออกก็คงไม่มี

    แต่นี่ วิมุตติ มี การพ้นวิบาก ก็ต้องมี

    ทางจบ จะต้องมี เข้ามาเห็น รู้ว่าแจ้ง ...............
     

แชร์หน้านี้

Loading...