อยากสอบถามเรื่องการนั่งสมาธิครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย tommie, 4 มกราคม 2017.

  1. tommie

    tommie สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2017
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +25
    ตอนนั่งสมาธิ ผมท่อง ว่านั่งให้เห็นกิเลสๆ นั่งให้ไม่ต้องสงสัยๆ นั่งไปท่องไปแต่ก็ยังเห็นเหมือนที่ถามนั่นหละครับ ตำราว่าไว้ ว่าเห็นแล้วก็เฉยๆ ความสงสัยมันมาเอง ถ้าผมห้ามความสงสัยได้ก็คงจะดี คำตอบแบบที่ว่าอย่าสงสัยผมลองแล้วครับมันแก้ความสงสัยไม่ได้ ผมเลยลองถามดูว่าจะมีแนวทางปฎิบัติอื่นใดบ้างเพื่อละความสงสัย ในสิ่งต่างๆที่เข้ามาตอนนั้งสมาธิ
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    จะไหว เหรอ

    บอกก่อนนะว่า ความสงสัย เป็น โมหะมูลจิต จะเอามาสู้
    มันจะยาก

    ยากตรงที่ต้องทำความแยบคาย ในการพิจารณา

    ยกตัวอย่าง " สงสัย ให้รู้ว่ากำลังสงสัย "

    ถ้าบอกไปแล้ว แทนที่จะดู กลับถามว่า " เห็นสงสัยแล้วจะได้อะไร "

    นี่ ความสงสัยมันเล่นดอกที่สอง

    ซึ่งเราก็จะตอบว่า ก็เห็น สงสัยมันเป็นอุปกิเลส เดินผ่านหน้าบ้าน
    ไป เราไม่เชิญเข้ามา เนี่ยะ สงสัยมันเกิดดับให้ดู เพื่อสอนธรรมะ
    ให้เห็นว่า สงสัยก็เป็นสิ่งเกิดดับ เป็นเพียงอุปกิเลส ที่จรมา

    ทีนี้ ถ้านักภาวนาเพลี้ยงพล้ำอีก เห็น มันเกิดดับ พ้นไปจากจิต
    ไม่เชิญเข้ามานั่งในบ้าน แล้วจะได้อะไร

    ก็เป็นอันเรียบร้อย หากมันเล่นงาน สามชั้นแบบนี้ ก็เป็นอันปิดการเสวนาธรรมะ

    เพราะ นักปฏิบัติไป รวบจิต จะทำให้จิตเที่ยง จะทำให้ สงสัยมันดับแบบ
    ไม่เกิดขึ้นมาในจิต แทนที่จะ เห็นหน้ามัน แล้วเห็น สภาวะพ้นด้วยเจโตสมาธิ
    และปัญญาประกอบจิต ไม่เชิญมันเข้าบ้านนี่แหละ เห็น การพ้น แจ้งการพ้น

    แต่เพราะ นักภาวนาไปมี ทิฏฐิจิตเที่ยง ใสกิ๊ก เด่นดวง สว่างไสว ก็เลย
    หญ้าปากคอก เห็น พ้นสงบเย็น มีสันติลักษณะ ก็ไม่เข้าใจ ไม่โน้มไป
    ไม่สัททา หาว่า ไม่ได้อะไร !!!
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ถ้า คุง ทอมมีลีโจน สามารถ สู้ สงสัยได้

    เราถึงจะ พูดต่อว่า ที่เห็นนั่น เห็นอะไร

    แต่ถ้า อยากรู้ไปล่วงหน้า

    ลอง พิจารณาสิ เห็นอะไรมากมาย แต่มันก็ผ่านไป
    ไม่ใช่ของเรา ยึดถือเป็นเราไม่ได้สักอย่าง แต่มันก็
    ให้ผลตบแต่งก่อเกิดเป็น สังสารวัฏ หาเบื้องปลายไม่ได้

    เห็น อนัตตาธรรม เข้ามาก็ได้ หาก อยากใช้ ปัญญา
    แทนที่จะกำหนดรู้ อนิจจสัญญา ให้แน่นก่อน
     
  4. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,430
    ค่าพลัง:
    +35,010
    ตอบให้นะ
    ๑ ไม่จริงเลย
    ๒ และ๓ 50/50
    ที่ 50 คือมีเราไปร่วมปรุ่งอยู่
    ค่อยเป็นค่อยไปนะคับ
    นัยยะ ที่ห่มเหลืองมีอายุมาแบบนั่ง
    และที่ยืนแบบสุภาพดูอายุไม่มาก นะใช่
    ให้เคารพนับถือ
    แต่ไม่ควรยึดถือ..ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มีนาคม 2017
  5. Xtrem

    Xtrem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +275
    อาการของ จขกท น่าจะเรียกว่าภาวะ ตกภวังค์ ของสมาธินะครับ ลองศึกษาแนวทางการทำสมาธิของหลวงพุธ ดูนะครับ อันนี้ เป็น เนื้อหา บางช่วง บางตอนที่พอหามาให้อ่านนะครับ
    *ปุจฉา-วิสัชนา เรื่อง สมาธิภาวนา
    จากหนังสือพระธรรมเทศนา หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    โพสท์ในลานธรรมเสวนาโดยคุณ : ทรายแก้ว [ 19 พ.ย. 2542 ]

    ถาม

    ขณะทำสมาธิ จะรู้ได้อย่างไรว่า จิตจวนจะเข้าภวังค์แล้ว และจะรู้ได้อย่างไรว่า จิตกำลังอยู่ในภวังค์

    ตอบ

    อันนี้เราพึงสังเกตว่า ถ้าเราเกิดมีกายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ กายคล่อง จิตคล่อง กายควร จิตควร พึงเข้าใจเถิดว่า จิตของเรา กำลังจะก้าวเข้าสู่ภวังค์ ทีนี้คำว่า ภวังค์ นี้ หมายถึง ช่วงว่างระหว่างที่จิตกำลังบริกรรมภาวนาอยู่ แล้ว ปล่อยวาง คำภาวนา มีอาการวูบลงไป วูบเป็นอาการ เป็นความว่างของจิต ช่วงที่วูบนี้ ไปถึงระยะจิตนิ่ง ช่วงนี้เรียกว่า จิตตกภวังค์ ทีนี้เมื่อจิตตกภวังค์ วูบลงไปนิ่งพั้บ ถ้าไม่หลับ สมาธิเกิด ถ้าจะเกิดความหลับ ก็หลับไปอย่างไม่รู้ตัว แต่ถ้าแบบสมาธิจะเกิด พอนิ่งปั๊บ จิตเกิดสว่าง แสดงว่าจิตเข้าสู่สมาธิ ถ้านิ่งพับ มืดมิดไม่รู้เรื่อง จิตนอนหลับ นี่พึงสังเกตอย่างนี้ จิตที่เข้าสมาธิต้องผ่านภวังค์ ไปก่อน ภวังค์ คือ ช่วงว่างของจิตที่ปราศจากสติ เช่น อย่างเราคิดถึงสิ่งหนึ่ง เช่น คิดถึงแดง แล้วจะเปลี่ยนไปคิดถึงขาว ช่วงว่างระหว่างขาวกับแดงนี้ ตรงกลางเรียกว่า ภวังค์ สมาธิที่จิตปล่อยวางภาวนามีอาการเคลิ้มๆ แล้วก็วูบ ชั่ววูบ เรียกว่า จิตตกภวังค์ เมื่อวูบแล้วนิ่ง มืดมิดไป เรียกว่า จิตหลับ ถ้าวูบ นิ่งพั้บเกิดความสว่างโพลงขึ้นมา จิตเป็นสมาธิ พึงทำความเข้าใจอย่างนี้

     
  6. tommie

    tommie สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2017
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +25
    ขอบคุณมากครับ อ.นพ จะค่อยๆเพียรปฎิบัติต่อไปครับ

    มีอีก 2 อาการเผื่อคนปฎิบัติท่านอื่นๆจะเคยเจอ ไม่รู้ว่าคืออะไร คิดไปเอง ไม่จริง หรือ 50:50

    - เวลาอยู่ในท่านอนแล้วท่อง โสตัดตะ ภิญญา จะปวดขา รู้สึกเหมือนขากำลังจะหายไป
    - อีกอัน บางครั้ง จะรู้สึก เหมือนมีใครเอามือมาลูบผมเบาๆ หรือมีลมเบาๆ มาเป่าที่ผม ทั้งๆที่ในห้องไม่มีลม และไม่ได้ขยับหัว ไม่รู้จะเรียกขนหัวลุกหรือเปล่า แต่เวลานั่งสมาธิ ไม่เคยเห็นอะไรที่น่ากลัวเลย จริงๆไม่ค่อยจะเห็นอะไรด้วยซ้ำไป
     
  7. tommie

    tommie สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2017
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +25
    ผมสะสมกำลังอยู่ครับ เพราะรู้ว่ากุญแจแข็งมาก คนที่แข็งแรงกว่าผม มีบารมี มากกว่าผม ยังไขประตูไม่ออกเลย ชาตินี้ผมไขกุญแจไม่ออกแน่ ผมขอเดินวนดูรอบๆก่อน อีก ร้อย พัน หมื่น แสนชาติข้างหน้าต้องไขประตูออกแน่นอน
     
  8. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +1,210
    อย่าตัดรอนตัวเองอย่างนั้นสิครับ
     
  9. tommie

    tommie สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2017
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +25
    จะพยายามไม่สงสัยครับ แต่พอปฎิบัติจริง เห็นอะไรใหม่ๆเข้ามา มันอดคิดพิจารณาไม่ได้ ว่ามันคืออะไร ทำไม ยังไง คงต้องพยายามมากขึ้น
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    กิเลสมันรู้ว่า นักภาวนาแพ้อะไร มันก้เอาสิ่งนั้น มาไหวๆ สัดส่ายให้เหน ตรงหน้า

    พอไปดำริดังๆ ว่า จะไม่ละ มันก้แกล้งเงียบ
    ทำให้เรารู้สึกว่า ผ่าน เสร็จมันอีก

    ตราบใด เปิดปะกะตู ไม่ได้ ไม่ต้องไปอ้าง
    การเก็บสะสมกำลัง เพราะไอ้ที่เก้บไว้
    โดนมันหลอกว่า เก้บ

    แสนร้อยชาติขออยู่ต้อไป กิเลส หัวเราะดัง
    ไปสามโลก แสนจักรวาล
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ปโตทสูตร ม้าอาชาไนยและบุรุษอาชาไนย ๔ จำพวก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ พอเห็นเงาปฏักเข้าก็ย่อมสลด ถึงความสังเวชว่า วันนี้นายสารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำเหตุอะไรหนอ เราจักตอบแทนแก่เขาอย่างไร

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ แม้เห็นปานนี้ก็มี นี้เป็นม้าอาชาไนยตัวเจริญที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลกนี้.

    อีกประการหนึ่ง ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ เห็นเงาปฏักแล้ว ย่อมไม่สลด ไม่ถึงความสังเวชเลยทีเดียว แต่เมือถูกแทงด้วยปฏักที่ขุมขนจึงสลด ถึงความสังเวชว่า วันนี้นายสารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำเหตุอะไรหนอ เราจักตอบแทนแก่เขาอย่างไร

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ แม้เห็นปานนี้ก็มี นี้เป็นม้าอาชาไนยตัวเจริญที่ ๒ มีปรากฏอยู่ในโลก.

    อีกประการหนึ่ง ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ เห็นเงาปฏักแล้วย่อมไม่สลด ไม่ถึงความสังเวช แม้ถูกแทงด้วยปฏักที่ขุมขนก็ไม่สลด ไม่ถึงความสังเวช แต่เมื่อถูกแทงด้วยปฏักถึงผิวหนังจึงสลด ถึงความสังเวชว่าวันนี้นายสารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำเหตุอะไรหนอ เราจักตอบแทนแก่เขาอย่างไร

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ แม้เห็นปานนี้ก็มี นี้เป็นม้าอาชาไนยตัวเจริญที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในโลก.

    อีกประการหนึ่ง ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ เห็นเงาปฏัก ก็ไม่สลด ไม่ถึงความสังเวช แม้ถูกแทงด้วยปฏักที่ขุมขนก็ไม่สลด ไม่ถึงความสังเวช แม้ถูกแทงด้วยปฏักถึงผิวหนังก็ไม่สลด ไม่ถึงความสังเวช แต่เมื่อถูกแทงด้วยปฏักถึงกระดูก จึงสังเวช ถึงความสลดว่า วันนี้นายสารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราเหตุอะไรหนอ เราจักตอบแทนแก่เขาอย่างไร

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ แม้เห็นปานนี้ก็มี นี้เป็นม้าอาชาไนยตัวเจริญที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก ฉันนั้นเหมือนกัน ๔ จำพวกเป็นไฉน ? คือ บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ได้ฟังว่า ในบ้านหรือในนิคมโน้นมีหญิงหรือชายถึงความทุกข์หรือทำกาลกิริยา เขาย่อมสลด ถึงความสังเวชเพราะเหตุนั้น เป็นผู้สลดแล้ว เริ่มตั้งความเพียรไว้โดยแยบคาย มีใจเด็ดเดี่ยว ย่อมกระทำให้แจ้วซึ่งปรมสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ม้าอาชาไนยตัวเจริญพอเห็นเงาปฏักย่อมสลดถึงความสังเวช แม้ฉันใด เรากล่าวบุรุษอาชาไนย ผู้เจริญนี้เปรียบฉันนั้น

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ แม้เห็นปานั้นก็มี นี้เป็นบุรุษอาชาไนยผู้เจริญที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลก.

    อีกประการหนึ่ง บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ฟังว่า ในบ้านหรือในนิคมโน้น มีหญิงหรือชายถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยา แต่เขาเห็นหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยาเอง เขาจึงสลด ถึงความสังเวช เพราะเหตุนั้น เป็นผู้สลดแล้ว เริ่มตั้งความเพียรไว้โดยแยบคาย มีใจเด็ดเดี่ยว ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปรมสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ม้าอาชาไนยตัวเจริญถูกแทงด้วยปฏักที่ขุมขนย่อมสลด ถึงความสังเวช แม้ฉันใด เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้เปรียบฉันนั้น

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ แม้เห็นปานนี้ก็มีนี้เป็นบุรุษอาชาไนยผู้เจริญที่ ๒ มีปรากฏอยู่ในโลก.

    อีกประการหนึ่ง บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ฟังว่า ในบ้านหรือในนิคมโน้น มีหญิงหรือชายถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยา และไม่ได้เห็นหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยาเอง แต่ญาติหรือสาโลหิตของเขาถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยา เขาจึงสลด ถึงความสังเวช เพราะเหตุนั้น เป็นผู้สลดแล้ว เริ่มตั้งความเพียรไว้โดยแยบคาย มีใจเด็ดเดี่ยวย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปรมสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ม้าอาชาไนยตัวเจริญถกแทงผิวหนังจึงสลด ถึงความสังเวช แม้ฉันใด เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้เปรียบฉันนั้น

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนย ผู้เจริญบางคนในโลกนี้ แม้เห็นปานนี้ก็มี นี้เป็นบุรุษอาชาไนยผู้เจริญที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในโลก.

    อีกประการหนึ่ง บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ฟังว่าในบ้านหรือในนิคมโน้น. มีหญิงหรือชายถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยา และไม่ได้เห็นหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยาเอง ทั้งญาติหรือลาโลหิตของเขาก็ไม่ถึงทุกข์ หรือทำกาลกิริยา แต่เขาเองทีเดียว อันทุกขเวทนาเป็นไปทางสรีระ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะนำชีวิตไปเสีย ถูกต้องแล้ว เขาจึงสลด ถึงความสังเวชเพราะเหตุนั้น เป็นผู้สลดแล้วเริ่มตั้งความเพียรไว้โดยแยบคาย มีใจเด็ดเดี่ยว ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปรมสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ม้าอาชาไนยตัวเจริญถูกแทงด้วยปฏักถึงกระดูก จึงสลด ถึงความสังเวช แม้ฉันใด เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้เปรียบฉันนั้น

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    บุรุษอาชาไนย ผู้เจริญบางคนในโลกนี้ แม้เห็นปานนี้ก็มี นี้เป็นบุรุษอาชาไนยผู้เจริญที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก


    เคดิ : พันติ๊ป
     
  12. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,430
    ค่าพลัง:
    +35,010
    ปกติกิริยาในช่วงอุปจารสมาธิที่มักจะเกิดช่วง
    ขณะที่นอน ต่อให้เราลืมตา บางทีเราจะเป็นเหมือน
    มีอีกกายหนึ่งขึ้นมาได้เป็นปกติครับ
    เช่น ยกแขนขึ้นมาตอนลืมตา แต่เหมือนมีอีกแขน
    ซ้อนยกออกมา ขาก็เช่นกัน ตรงนี้ไม่ควรยึด
    แต่มีประโยชน์ ตรงให้เราดูว่า แขนที่มันซ้อนยกออกมา
    โครงแขนมันหายไปมากน้อยแค่ไหน ตรงนี้
    ความสามารถในการที่จิตตัดร่างกายได้ครับ...

    ส่วนลมเป่าเบาที่ศรีษะ ที่มักมาจากด้านหลัง
    หรือลูบผม เป็นลักษณะของการได้รับการเอนดู
    จากภาคส่วนภพภูมิที่คอยแนะคอยดูแลเราครับ
    ส่วนมากที่ทำจะเป็นท่านใหม่ ที่พึ่งเจอชาตินี้ครับ...


    นั่งสมาธิที่ไม่ค่อยเห็นเพราะส่วนมาก อารมย์มันมักจะ
    เกินสภาวะที่จิตจะเห็นอะไรได้ครับ นี่ก็เรื่องปกติครับ
    ซึ่งมันไม่เหมือนท่านอนครับ นึกออกไหม อารมย์สำหรับ
    นอนมันคือปฐมฌาน ซึ่งสภาวะที่เห็นได้ มันคืออุปจารสมาธิ
    ซึ่งกำลังสมาธิมันต่ำกว่า แต่มันเอื้อในการเห็น
    และท่านอนจะขึ้นๆลงๆอยู่ระหว่าง ๒ อารมย์นี้ครับ..
    ยกเว้นบุคคลที่นอนแล้ว เห็นตัวเองอีกร่างนอนอยู่
    ตรงนี้เป็นอีกประเด็นหนึ่งครับ ก็เพราะที่มันขึ้นๆลงๆ
    อยู่ระหว่าง ๒ อารมย์นี้ ท่านอนเลยเห็นได้ง่ายหน่อยครับ
    ซึ่งถือว่าไม่แปลกครับ...บางครั้งเรารู้สึกว่า เราลืมตา
    แต่ยังมองเห็นได้อีก นี่ก็เพราะว่า อารมย์มันคงค้างครับ

    ส่วนท่านั่งนั้น บางจังหวะอารมย์มันเกิน
    ปฐมฌานขึ้นไปก็มีครับ และถ้าอารมย์มันตกลงมา
    มันก็มักจะตกลงมาสภาวะอารมย์แบบลืมตาปกติ
    และ มันไม่ค่อยตกลงมาอุปจารสมาธิครับ
    และถ้าตกลงมา พอเราลืมตา ก็กลับมาสภาวะปกติทั่วไปอีก
    หรือ
    เพราะถ้ามันจะตกลงมานานๆเลย เราก็จ
    มักจะรู้สึกง่วงก่อน(เพราะชิน
    กับระดับปฐมฌานที่เป็นสภาวะที่เราใช้ตอนนอนประจำ)
    ซึ่งมันมีการขึ้นๆลงๆ แบบ ขึ้นเหว ลงเหว คือ ขึ้นได้ง่ายๆ
    และก็ลงได้ง่ายๆ ข้ามไปข้ามมา แต่มันไม่ตก
    ลงมาถึงอุปจารสมาธิครับ..และพอมันลงมา
    ยิ่งเราลืมตา มันก็จะอยู่ในสภาวะปกติที่ไม่เอื้อต่อการ
    เห็นนามธรรมอยู่แล้ว เราจึงมักไม่ค่อยเห็นอะไรครับ
    ตรงนี้ถ้าสังเกตุดีๆ จะพบว่า มันเป็นเรื่องปกติมากครับ....

    ก็อย่างที่บอกนั่นหละ
    ไม่ว่าจะสัมผัสอะไรก็ตาม
    ไม่ว่าทางอายตนะตัวใดก็ตาม
    ไม่ว่าจะเห็นอะไรก็ตาม ไม่ว่าหลับตา
    หรือไม่ว่าลืมตา ให้อย่าสนใจทุกๆกรณี
    หากว่า ตอนนั้นหรือลืมตาขึ้นมาแล้วเรายังไม่รู้อะไร
    และมาปฏิบัติต่อ เจริญสติต่อให้ต่อเนื่อง นั่งๆไป
    ไม่ต้องไปย้อน ไปคาดอนาคตอะไร
    มันถึงจะพัฒนาไปถึงระดับที่จิตใช้งานได้ครับ


    แล้วก็ยังได้ ย้ำว่า ย้ำว่าและย้ำว่า ถ้าเราผ่านมันไปได้
    จิตเราจะมีเครื่องย้อนรู้ กิริยาทุกๆกิริยาของมันได้เอง
    โดยที่ไม่ต้องไม่ถามใครครับ ถ้าไปสนใจมันจะทำให้เราช้า
    อย่างเก่ง กว่าจะพัฒนาก็ ๑ ถึง ๒ สัปดาห์หละครับ
    กว่าจะอัพเลเวล จากสภาวะล่าสุดได้... แต่ก็พอเข้าใจ
    มันก็อดที่จะอยากรู้ไม่ได้...
    เจอกับตัวถึงรู้ ๕๕๕ ลองสังเกตุดูเองแล้วกันนะครับ....
     
  13. กะปิหวาน

    กะปิหวาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2015
    โพสต์:
    130
    ค่าพลัง:
    +470
    อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ ทำให้ดิฉันได้เห็นลำดับขั้นของผู้เริ่มต้นปฏิบัติ ว่าตนถึงไหนของลำดับขั้นการฝึกและควรเพิ่มสิ่งใด และขออนุโมทนากับผู้ให้ๆ ท่าน สาธุค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...