เสียงธรรม ชีวประวัติ พระอิสิทาสีเถรีผู้แกร่งกล้า (ตอนชาตินี้ขอสะสางกรรม)

ในห้อง 'ประวัติและนิทานธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย staycoolboy, 8 เมษายน 2010.

  1. staycoolboy

    staycoolboy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    112
    ค่าพลัง:
    +504
    ชีวประวัติ พระอิสิทาสีเถรีผู้แกร่งกล้า (ตอนชาตินี้ขอสะสางกรรม)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ขอบคุณค่ะทำนำเรื่องดีๆนี้มาให้ฟังกัน ขออนุโมทนา ฟังแล้วจับใจค่ะ จึงลองหาบทความเรื่องนี้ในอินเตอร์เนตดูและก็พบ ขออนุญาตินำเผื่อผู้ชอบอ่านหนังสือมาเสริมไว้ด้วยค่ะ

    พระอิสิทาสีเถรี
    ชาตินี้ขอสะสางกรรม


    แสงโสมสาดส่องอาบทั่วชินทัตตาราม เสียงไก่โห่เริ่มแว่วมาเป็นระยะๆ ลมปลายปัจฉิมยามพัดแผ่ว รำเพยเอากลิ่นไม้ป่าบางชนิดติดมาด้วย หอมเย็นระรื่น แสงโคมไฟตามทิวไม้ที่จุดไว้เพื่อจงกรม เป็นเหมือนแสงแห่งดวงดาว

    ภิกขุนูปัสสะยะในยามนี้ ช่างน่าทัสสนายิ่งนัก! เพราะนักบวชหญิงทั้งหลายเป็นผู้มีความเพียรกล้าเยี่ยงชายชาติอาชาไนย !

    "จริงอยู่ ธรรมชาติของจิตนี้มันดิ้นรนกวัดแกว่งรักษายาก ห้ามได้ยาก ผู้มีปัญญาจึงพยายามทำจิตนี้ให้หายดิ้นรน และเป็นจิตตรงเหมือนช่างศรดัดลูกศรให้ตรง จิตนี้คอยแต่จะกลิ้งเกลือกลงไปคลุกเคล้ากับกามคุณ เหมือนปลาซึ่งเกิดในน้ำถูกนายพรานเบ็ดยกขึ้นจากน้ำแล้ว คอยแต่จะดิ้นลงไปในน้ำอยู่เสมอ ผู้มีปัญญาจึงพยายามยกจิตขึ้นจากอาลัยในกามคุณ ให้ละบ่วงมารเสีย"

    ภิกษุณีนางหนึ่งเพ่งพิศขึ้นภายในใจ ในขณะที่นางเดินจงกรมในทิวไม้ที่มีแสงจันทร์นวลใยและโคมไฟสาดส่อง พร้อมไปกับประคองจิตและสติให้อยู่ในกาย เพื่อพิจารณาหัวข้อธรรมบางประการ

    ฤดูนี้ เป็นปลายเหมันตฤดู ย่างเข้าสู่สารทกาล ลมหนาวโชยแผ่วไหวพัดใบไม้ให้ร่วงไปทั่วบริเวณชินทัตตาราม อันชินทัตตารามนี้เป็นที่พระชินทัตตาภิกษุณีผู้สิ้นอาสวะอยู่จำพรรษา ให้โอวาทพร่ำสอนนางภิกษุณีทั้งหลาย ฤดูนี้เป็นฤดูหนาวก็จริงแต่ความหนาวเย็นเยือกเข้าสู่ขั้วหัวใจนั้น ไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับมุนีผู้มุ่งต่อพระนิพพาน

    ส่วนทางด้านทิศตะวันออกนั้น ดวงทินกรกลมโต เริ่มจะโผล่เหนือทิวไม้มาบ้างแล้ว ส่องแสงเงินแสงทองร่ำไร หมู่วิหกนกกาเริ่มออกจากรวงรัง ส่งเสียงครวญคร่ำร่ำร้องมาเป็นระยะๆ

    ปัจจุสกาล...แสงสีขาวทางทิศตะวันออกเริ่มทาบขอบฟ้าจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ลมรุ่งอรุณพัดเฉื่อยฉิว นั่นแสดงว่าใกล้เวลาออกสู่โคจรเพื่อบิณฑบาตแล้ว ภิกษุณีน้อยใหญ่ต่างก็เร่งความเพียรเพื่อความสิ้นกิเลสให้เหมือนที่พระแม่เจ้าชินทัตตาสิ้นแล้ว พลางรำลึกถึงธรรมของพระศาสดาเพื่อเทียบกับใจที่เหนื่อยล้าต่อโลกและกิเลสอันเป็นประดุจภูเขาขวางกั้นธรรม

    ภิกษุณีนางหนึ่งนามว่า "อิสิทาสี" ผู้ซึ่งผ่านวัยที่ทำให้หน้าชุ่มไปด้วยน้ำตา นางบากหน้าเดินดุ่มสู่อาราม เพิ่งได้อุปสมบทเมื่อไม่กี่วันมานี้เอง อาศัยป่าทางด้านทิศตะวันออก กำลังเพ่งพิศธรรมที่พระศาสดาทรงสั่งสอนนี้ ว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ริเริ่มเป็นเบื้องต้นแห่งดวงอาทิตย์เมื่อจะอุทัย ก็คือแสงเงินแสงทองที่ร่ำไร ฉันใด

    ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ริเริ่มเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรมทั้งหลาย ก็คือ การฝึกจิตให้ดี ฉันนั้นเหมือนกัน"

    "ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดทำความดีในเวลาเช้า ฤกษ์จะพึงดีในเวลาเช้า
    ผู้ใดทำความดีในเวลากลางวัน ฤกษ์จะพึงดีในเวลากลางวัน
    ผู้ใดทำความดีในเวลาเย็น ฤกษ์จะพึงดีในเวลาเย็น
    ภิกษุทั้งหลาย! บุคคลใดทำความดีในเวลาใดๆ ฤกษ์จะดีในเวลานั้นๆ"

    พระดำรัสของพระศาสดานี้ช่างกินใจนางเสียเหลือเกิน พร้อมๆ กันนั้นปีติก็ซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย นางย้อนรำลึกถึงชีวิตที่ผ่านมา "แต่ก่อนเราเป็นทาสของความรักเป็นทาสของสามี เป็นสตรีผู้ซื่อสัตย์ จนชาวเมืองทั้งหลายขนานนามว่า อิสิทาสี อันหมายความว่า หญิงผู้เป็นทาสของผัว เราทำความดีดั่งพระพุทธองค์ทรงสอน เรื่องการครองเรือนเกือบจะสมบูรณ์แล้ว แต่แล้วความสุขนั้นก็ไม่อาจอำนวยผลให้สมประสงค์ได้ เราเคยฟังธรรมเรื่องการครองเรือน เรื่องการเป็นภรรยาที่ดี ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พระนางสุชาดาว่า

    ดูก่อนสุชาดา ! ภรรยาใดมีจิตคิดประทุษร้าย ไม่อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ยินดีในชายอื่น ดูหมิ่นสามี เป็นผู้อันเขาซื้อมาด้วยทรัพย์ พยายามฆ่าผัว ภรรยาของบุรุษเห็นปานนี้ เราตถาคตเรียกว่า "ภรรยาเปรียบด้วยเพชฌฆาต"

    ส่วนสามีของหญิงใดประกอบด้วยศิลปกรรม พาณิชกรรม และกสิกรรม ได้ทรัพย์ใดๆ มา ภรรยาปรารถนาจะยักยอกทรัพย์ แม้ที่มีอยู่น้อยนิดนั้นเสีย ภรรยาของบุรุษเห็นปานนี้ เราตถาคตเรียกว่า "ภรรยาเปรียบด้วยโจร"

    ดูก่อนสุชาดา ภรรยาใดที่ไม่สนใจการงาน เกียจคร้าน กินมาก ปากร้าย ปากกล้า ร้ายกาจ กล่าวคำหยาบข่มขี่สามีผู้ขยันขันแข็ง ภรรยาของบุรุษเห็นปานนี้ เราตถาคตเรียกว่า "ภรรยาเปรียบด้วยนาย"

    ส่วนภรรยาใดที่เป็นเสมือนพี่สาวน้องสาว มีความเคารพยำเกรงในสามี เป็นคนละอายเกรงกลัวต่อบาป เป็นไปตามอำนาจสามี ภรรยาของบุรุษเห็นปานนี้ เราตถาคตเรียกว่า "ภรรยาเปรียบด้วยพี่สาวน้องสาว"

    ดูก่อนสุชาดา ! ส่วนภรรยาใดอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูลทุกเมื่อ ตามรักษาสามีเหมือนมารดารักษาบุตร รักษาทรัพย์ที่สามีหามาไว้ได้ ภรรยาของบุรุษเห็นปานนี้ เราตถาคตเรียกว่า "ภรรยาเปรียบด้วยแม่"

    ส่วนภรรยาในโลกนี้ เห็นสามีแล้วชื่นชม ยินดีเหมือนเพื่อนผู้จากไปนานแล้วกลับมา เป็นหญิงมีตระกูล มีศีล มีวัตร ปฏิบัติสามี ภรรยาของบุรุษเห็นปานนี้ เราตถาคตเรียกว่า "ภรรยาเปรียบด้วยเพื่อน"

    ดูก่อนสุชาดา ! ภรรยาใด สามีเฆี่ยนตี ขู่ตะคอก ก็ไม่โกรธ ไม่คิดพิโรธโกรธตอบ อดทนได้รับได้ เป็นไปตามอำนาจสามี ภรรยาของบุรุษเห็นปานนี้ เราตถาคตเรียกว่า "ภรรยาเปรียบด้วยทาสี"

    "ภรรยาเปรียบด้วยทาสี" นางย้ำคิดภายในใจ เราเป็นภรรยาเปรียบด้วยทาสี คอยทำการรับใช้เมื่อสามีและญาติสามีต้องการ ถึงกระนั้นก็ตามเราก็ยังไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ปรารถนาของสามี

    อนึ่งเล่า ! ชีวิตนี้เริ่มต้นด้วยเรื่องที่น่าละอาย ทรงตัวอยู่ด้วยเรื่องที่ยุ่งยากสับสน แต่ท้ายสุดแล้ว ถ้าจบลงด้วยบรมสุข ชีวิตนั้นก็จัดว่าเป็นชีวิตที่น่าพึงใจอยู่มิใช่น้อย ชีวิตนี้อย่ามุ่งหวังกังวลอะไรนัก เพราะชีวิตนี้เหมือนความฝันอันกระจัดกระจายไปตามสายลม เหมือนเกลียวคลื่น ซึ่งก่อตัวขึ้นแล้วม้วนเข้าหาฝั่ง และแตกกระจายเป็นฟองฝอย จงยืนดูชีวิตเหมือนคนที่ยืนอยู่บนฝั่งมองดูเกลียวคลื่นในมหาสมุทรฉะนั้น

    อันการที่เราปฏิบัติสามีด้วยดี แต่สามีไม่รักนั้น คงไม่ได้เป็นเพราะสาเหตุอื่นดอกกระมัง เป็นเพราะกงกรรมที่เราก่อขึ้นมาเอง พระพุทธองค์ตรัสว่า กรรมชั่วอย่าทำเลยดีกว่าเพราะกรรมชั่วเมื่อทำแล้วย่อมตามเดือดร้อนในภายหลัง ช่างเป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ! อันตัวเรานี้เป็นหญิงผีหรือไรสามีจึงได้เกลียดนักแต่สามีก็หาใช่เทวดาไม่ เรื่องนี้ พระพุทธองค์เมื่อประทับใต้โคนไม้ข้างทางแห่งหนึ่ง ระหว่างเมืองมธุรากับเมืองเวรัญชา ในครั้งนั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนบทธรรมสำหรับครองเรือนอันกินใจมากกว่า

    ดูก่อนท่านผู้ครองเรือนทั้งหลาย การอยู่ร่วมกันของสามีและภรรยามีอยู่ 4 อย่างคือ

    1. ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผี
    2. ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา
    3. ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผี
    4. ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา

    ดูก่อนท่านผู้ครองเรือนทั้งหลาย ! สามีของหญิงใดในโลกนี้ เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จและดื่มน้ำเมา คือสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นคนทุศีล มีธรรมอันเลว มีใจอันเป็นมลทิน ถูกความตระหนี่ครอบงำ ด่าและบริภาษสมณะ อยู่ครองเรือน แม้ภรรยาของเขาก็เป็นเช่นนั้นคือมักฆ่าสัตว์เป็นต้นนั้น สามีภรรยาเช่นนี้แล เราตถาคตเรียกว่า "ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผี"

    ดูก่อนท่านผู้ครองเรือนทั้งหลาย ! สามีของหญิงใดในโลกนี้เป็นผู้มักทำผิดศีลห้ามีฆ่าสัตว์เป็นต้นนั้น เป็นคนทุศีล มีธรรมอันเลว มีใจอันเป็นมลทิน ถูกความตระหนี่ครอบงำ ด่าและบริภาษสมณะ ส่วนภรรยาของเขาหาเป็นเช่นนั้นไม่ เป็นผู้มีศีลห้าคืองดเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นต้น เป็นคนไม่ประมาทมีกัลยาณธรรม มีใจอันปราศจากมลทิน คือไม่ถูกความตระหนี่ครอบงำ ไม่ด่าและบริภาษสมณะ สามีภรรยาเช่นนี้แล เราตถาคตเรียกว่า "ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา"

    ดูก่อนท่านผู้ครองเรือนทั้งหลาย ! สามีของหญิงใดในโลกนี้เป็นผู้ประพฤติศีลห้าคืองดเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นต้นนั้น มีกัลยาณธรรม มีจิตใจงาม ชอบให้ทานรักษาศีลสำรวมกายวาจาใจ ส่วนภรรยาของเขาหาเป็นเช่นนั้นไม่ เป็นคนทุศีลคือมักฆ่าสัตว์เป็นต้น มีธรรมอันเลว มีใจไม่สะอาด มักด่าและบริภาษสมณะอยู่เสมอ สามีภรรยาเช่นนี้แลเราตถาคตเรียกว่า "ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผี"

    ดูก่อนท่านผู้ครองเรือนทั้งหลาย ! สามีของหญิงใดในโลกนี้เป็นผู้ประพฤติศีลห้าคืองดเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นต้น เป็นผู้ไม่ประมาทมีสติยั้งคิด มีธรรมอันงาม มักให้ทานรักษาศีลมีใจใสสะอาด เชื่อฟังคำสอนของนักปราชญ์ผู้ผ่านโลกมานาน เป็นคนกตัญญูกตเวทิตา ไม่ดูหมิ่นและเหยียดหยามสมณะผู้ประพฤติธรรม ส่วนภรรยาของเขาก็เป็นเช่นเดียวกันนั้น สามีภรรยาเช่นนี้แลเราตถาคตเรียกว่า "ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา"


    นางคิดถึงพระดำรัสของพระศาสดานี้ก็ทำให้สลดใจอยู่ไม่น้อย พระธรรมกถาก็หลั่งไหลวนเวียนย้ำเตือนนางอยู่เสมอ

    ภิกขุนูปัสสะยะเวลาเช้าช่างเงียบสงัดเหลือเกิน ภิกษุณีทั้งหลายต่างก็เร่งความเพียรเหมือนไม่รู้จักคำว่า "หลับ" ประคองธรรมะภายในใจประดุษพระพายรำเพยที่แผ่วไหว เมื่อกระทบกายใจใคร ก็จะรู้สึกสดชื่น

    จริงอยู่มนุษย์ผู้ตื่นอยู่ไม่ใคร่จะหลับมีอยู่ 5 ประเภท ที่พระบรมศาสดาตรัสแก่ภิกษุภิกษุณีทั้งหลายเมื่อคราวที่พระองค์เสด็จผ่านมาโปรดเวไนยสัตว์ที่ชินทัตตารามแห่งนี้เองว่า "ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้ตื่นอยู่ไม่รู้จักหลับ คือผู้หลับน้อยแต่ตื่นนานในราตรีมีอยู่ 5 จำพวก คือ

    1. สตรีผู้มีความประสงค์กำหนัดในบุรุษแล้วเธอก็ดำริคำนึงถึง
    2. บุรุษผู้มีความกำหนัดในสตรีกระหายใคร่ได้ใคร่สัมผัส มีใจอันส่งไปกระสับกระส่าย
    3. โจรผู้มีความประสงค์จะลักทรัพย์และคิดหาวิธีคอยโอกาส ที่ผู้คนหลับไหล
    4. พระราชาผู้ประกอบในราชกรณียกิจเป็นห่วงประชาราษฎร์และการรบ
    5. ภิกษุผู้ปรารถนาความหลุดพ้นหรือพุทธสาวกสาวิกาผู้ปรารถนาความหลุดพ้นเร่งความเพียร

    อิสิทาสีภิกษุณีเธอเป็นผู้หลับน้อยตื่นนานเร่งความเพียร ปรารถนาความหลุดพ้น เมื่อคืนนี้นางพิจารณาธรรมอยู่ตลอดทั้งคืน พระพุทธคุณ เล่า ! ก็ไหลวนเวียนเข้ามาสู่ความสำนึกอันลึกซึ้ง นางคิดว่า ภายใต้พุทธฉายานี้ ช่างมีความสงบเย็น ตื่นตาตื่นใจ วิปัสสนาธรรมเล่า ! ก็นำมาซึ่งความบริสุทธิ์ที่น่าพึงใจ

    เสียงไก่โห่อยู่ไม่นานท้องฟ้าก็เริ่มสาง ลมเย็นตอนรุ่งอรุณพัดแผ่วตามทิวไม้ แสงแดดในยามเช้าก็ชุ่มชื่นพอสบาย พระอาทิตย์เพิ่งจะยอแสงสาดส่องทั่วพื้นพิภพไม่นานนัก สายลมที่แผ่วไหวพัดเฉื่อยฉิวหอบเอากลิ่นดอกไม้ธรรมชาติติดมาด้วย นกตัวเล็กๆ กระโดดโลดเต้นด้วยความสำราญเบิกบานใจ บินจากต้นนี้ไปสู่ต้นโน้น บินจากต้นโน้นไปสู่ต้นนั้น อันธรรมชาติของสัตว์นั้นเป็นธรรมชาติซื่อตรงไม่คดโกง นกตัวเล็กๆ พลางร้องเหมือนทักทายกันด้วยความสดชื่นในเวลาอรุณรุ่ง

    ท้องฟ้าสางแล้ว แสงสว่างสาดไปทั่วไพรสณฑ์ โน้มน้อมดวงหทัยของนางภิกษุณีให้แจ่มใสชื่นบาน แลแล้ววิปัสสนาปัญญาก็โพลงขึ้น ชำแรกกิเลสแทงทะลุบาปธรรมทั้งมวลที่หุ้มห่อจิต แหวกอวิชชาและโมหะเป็นประดุจตาข่ายด้วยศัสตราคือวิปัสสนาปัญญา พิจารณาเห็นสภาวธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากกิเลสทั้งมวล บรรลุอรหัตผลพร้อมด้วยวิชชา 3 ในวันที่ 7 แห่งการอุปสมบท

    นางลงจากที่จงกรมผินพักตร์ไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ กราบถวายบังคมพระศาสดาด้วยความเห็นบุญเห็นคุณอันสุดจะประมาณได้

    "อา ! นางอุทานเบาๆ จิตนี้เป็นธรรมชาติผ่องใสมีรัศมีเหมือนจันทร์เจ้า แต่อาศัยกิเลสที่จรมาเป็นครั้งคราว จิตนี้จึงเศร้าหมอง เหมือนก้อนเมฆบดบังดวงจันทร์ให้อับแสง

    จิตอันเป็นบาปใดที่เราเคยกระทำแล้ว แต่ภายหลังมาละได้ด้วยวิปัสสนาญาณ เป็นเหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆหมอกส่องแสงสว่างจ้าได้ฉะนั้น"


    นางเตรียมนุ่งอันตรวาสก ครองอุตราสงค์ให้เป็นปริมณฑลเรียบร้อยถือบาตรเข้าสู่นครปาฏลีเพื่อบิณฑบาต ในระหว่างทางนั้นนางได้เจอกับเพื่อนภิกษุณีนางหนึ่ง สนทนากันพอประมาณได้ทราบชื่อว่า "โพธิ" เธอทั้ง 2 ได้ร่วมโคจรเที่ยวบิณฑบาตในสายทางเดียวกัน มีผู้คนคอยดักถวายอาหารเป็นแห่งๆ ภิกษุณีพุทธสาวิกาเหล่านี้เป็นที่คุ้นตาของประชาชนชาวเมืองปาฏลีอยู่แล้ว เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้วฉันอาหารท่ามกลางหาดทรายที่ศรัทธานำมาถวายด้วยอาการสามีบริโภค อันเป็นแบบอย่างแห่งพระอรหันต์ทั้งหลาย ทำภัตตกิจเสร็จแล้วภิกษุณีทั้ง 2 ก็ยับยั้งอยู่ ณ ที่นั้น สนทนาธรรมด้วยวิหารธรรมอันประเสริฐ

    "ข้าแต่แม่อิสิทาสีผู้ประพฤติพรหมจารีย์" โพธิภิกษุณีกล่าวถามขึ้น ท่านเป็นผู้หลับน้อยตื่นนานเร่งความเพียรรื่นเริงในธรรม มุ่งสันติวรบทคือพระนิพพาน ไม่คลุกคลีอยู่เดียวดาย ปรารถนาวิเวก มักน้อยและตั้งจิตไว้ชอบ ท่านทำประการใดหรือ ? ท่านจึงตามรักษาจิตของท่านไว้ในอำนาจได้

    "แนะแม่โพธิผู้บำเพ็ญตบะ" อิสิทาสีภิกษุณีกล่าวตอบ "ข้าพเจ้าปฏิบัติตามพระดำรัสของพระศาสดาที่ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่วัดเชตวัน พระองค์ตรัสว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายเห็นท่อนไม้ใหญ่อันกระแสลมพัดลอยมาในแม่น้ำคงคาบ้างหรือไม่ พระพุทธองค์ตรัสแล้วทรงชี้พระหัตถ์ไปทางฝั่งแม่น้ำคงคา ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าท่อนไม้นี้จะไม่ลอยมาติดฝั่งข้างนี้หรือข้างโน้น จะไม่จมเสียในท่ามกลางแม่น้ำ ไม่เกยบก ไม่ถูกผู้คนลากเข้าฝั่ง ไม่ถูกน้ำวนวนเอาไว้ และไม่ผุเน่าในภายใน ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยประการดังกล่าวมาเช่นนี้แล ไม้ท่อนนั้นจะลอยไหลเรื่อยลงไปสู่มหาสมุทรได้ เพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่ากระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลเทลงไปสู่มหาสมุทรฉันใด

    ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าเธอทั้งหลายประพฤติธรรมมีความเห็นชอบ จะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้ หรือแวะเข้าฝั่งข้างโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้ พวกเธอไม่ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้ ไม่เป็นผู้เน่าเสียภายในไซร้ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ พวกเธอทั้งหลายจักโน้มเอียงไปสู่พระนิพพานอันเป็นแดนเกษม เหมือนขอนไม้นั้นเข้าถึงฝั่งได้ฉันนั้น ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า ความเห็นชอบย่อมโน้มเอียงโอนเทลาดไหลลงไปสู่พระนิพพานฉันนั้นเหมือนกัน

    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ 'ฝั่งนี้และฝั่งโน้น' ได้แก่อะไรพระเจ้าข้า" ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามขึ้นด้วยความสนใจเป็นที่ยิ่ง

    ภิกษุทั้งหลาย ! พระศาสดาตรัสด้วยพระสุรเสียงอันกังวาล

    คำว่า "ฝั่งนี้" ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    คำว่า "ฝั่งโน้น" ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพผะ ธรรมารมณ์ที่เข้ามาสัมผัส
    คำว่า "จมลงในท่ามกลาง" ได้แก่ นันทิราคะ คือความเพลิดเพลินหลงใหลมัวเมา
    คำว่า "เกยบก" ได้แก่ อัสมิมานะ คือความถือตัวถือตน หลงตัวหลงตน

    คำว่า "ถูกมนุษย์จับไว้" ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้คลุกคลีเพลิดเพลินเศร้าโศกอยู่กับพวกคฤหัสถ์ เมื่อเขาสุขก็สุขด้วยเมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ยอมรับใช้เขาเป็นต้น

    คำว่า "ถูกอมนุษย์จับไว้" คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยศีลด้วยตบะโดยหวังเป็นเทวดาหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง

    คำว่า "เกลียวน้ำวนๆ ไว้" ได้แก่ การลุ่มหลงในกามคุณทั้งห้า

    คำว่า "เน่าในภายใน" ได้แก่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ทุศีลมีธรรมอันลามกไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานชั่วแต่ปกปิดไว้ ไม่เป็นสมณะก็ปฏิญาณตนว่าเป็นสมณะ เป็นผู้เน่าในภายในมีใจชุ่มไปด้วยกาม และเป็นประดุจถังขยะ

    ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอทั้งหลายประกอบด้วยความเห็นชอบ ย่อมโน้มเอียงและโอนไปสู่พระนิพพาน เหมือนท่อนไม้ไม่มีสิ่งกีดขวางย่อมไหลลาดเทลงไปสู่ทะเลลึกได้ฉะนั้น

    พระพุทธพจน์อันลึกซึ้งนี้ทำให้โพธิภิกษุณีหยุดชะงักและนิ่งงันไปชั่วครู่หนึ่ง อาจจะเป็นเพราะความลึกซึ้งแห่งบทธรรมอันกินใจที่นางไม่เคยได้ยินได้ฟังจากที่ใดมาก่อน "ข้าแต่แม่อิสิ" นางกล่าวชื่อสั้นๆ ของอิสิทาสีภิกษุณี ข้าแต่แม่อิสิ ! บทธรรมเหล่านี้ข้าพเจ้าใคร่กระหายอยากฟังมานานแล้ว นับเป็นบุญของข้าพเจ้าจริงๆ ที่ท่านได้โปรดอนุเคราะห์เล่าธรรมะภาษิตของพระศาสดา ข้าพเจ้าจึงเป็นเสมือนโคตัวกระหายนมแม่ เมื่อได้ดื่มนมแม่ก็สดชื่น ถึงซึ่งการโลดคนอง เมื่อข้าพเจ้าได้ฟังพระธรรมที่ท่านเล่า ก็รื่นเริงเป็นประดุจลูกโคน้อยตัวนั้น

    "แนะแม่โพธิผู้ยินดีในการเพ่งฌาณ !" อิสิทาสีภิกษุณีกล่าวขึ้น อันจิตที่เห็นชอบนั้นเหมือนลูกโคตัวดื้อรั้นวิ่งออกนอกทางแล้วก็กลับเข้ามาสู่ทาง อันจิตเข้าสู่ทางอันประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น เป็นจิตตรง คำว่า "ตรง" นั้น คือตรงต่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว จิตที่ตรงนั้นไม่สามารถจะกลับมาทำความชั่วโดยเจตนาได้อีกแม้แต่น้อย มีอยู่ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าจำได้ว่า พระพุทธองค์ทรงตรัสพระธรรมเทศนาอันเปรียบด้วยเลื่อยไว้ดังนี้ว่า

    ภิกษุทั้งหลาย ! แม้นพวกโจรใจบาปผู้มีความประพฤติต่ำช้า พึงตัดทอนอวัยวะน้อยใหญ่ของพวกเธอทั้งหลายด้วยเลื่อยอันคมกริบ อันมีด้ามสองข้างไซร้ ภิกษุผู้มีใจคิดประทุษร้ายตอบในโจรนั้น ย่อมไม่ชื่อว่า "ทำตามคำสอนของเราตถาคต"

    "ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้นควรตั้งจิตไว้ชอบอย่างนี้ว่า ความเพียรอันเราบำเพ็ญแล้ว จักไม่ย่อหย่อน สติอันเราตั้งมั่นไว้ดีแล้ว จักไม่หลงลืม กายอันเราให้สงบแล้วจักไม่กระวนกระวาย จิตอันเราฝึกตั้งมั่นไว้ดีแล้ว จักมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว การประทุษร้ายด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนหิน ด้วยท่อนไม้ ด้วยศัสตราทั้งหลายที่เหล่าโจรกระทำจงเป็นไปในกายนี้เถิด คำสอนของพระพุทธเจ้า เราจะตั้งไว้ชอบและทำให้จงได้ดังนี้"

    นี่แหละแม่โพธิ พวกเราจึงควรเห็นพระธรรมะวินัยอันเป็นคำสอนสำคัญยิ่งกว่าอย่างอื่นที่จะมาถึงเข้า


     
  3. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ข้าแต่แม่อิสิ ข้าพเจ้าเห็นท่านเคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ ทั้งก็เป็นผู้มีชาติตระกูลดี รูปร่างและวัยก็ยังไม่เสื่อมโทรม แม้แต่ข้าพเจ้าเป็นผู้หญิงยังต้องนึกชมว่า ท่านเป็นผู้มีรูปร่างผิวพรรณอันบุญหนุนส่ง ท่านเห็นประโยชน์หรือโทษอะไร ถึงได้ออกบวช ขอท่านเล่าความเป็นมาให้ข้าพเจ้าฟังเถิด

    ท่านเอย...อันความมีผิวพรรณดี ความมีเสียงไพเราะ ความมีสันฐานรูปร่างสมส่วน ความเป็นคนมีรูปงามมองดูไม่จืดไม่น่าเบื่อหน่าย เหล่านี้ได้มาด้วยบุญทั้งนั้น อันรูปร่างนี้ข้าพเจ้าอาจได้มาด้วยบุญ แต่บุญนี้ก็เหมือนมีกรรมบัง กรรมมันคงบังไว้ อิสิทาสีภิกษุณีย้ำ "แนะแม่โพธิ" ข้าพเจ้าก่อนจะออกบวชก็เหมือนผู้หญิงทั่วๆ ไป ชอบงมงายทายดวงชะตาราศีและการบูชาไฟ ไม่มีอะไรจะทำให้มีโชควาสนาเท่ากับการบูชาเพลิง ศาสดาของศาสนาพราหมณ์ท่านสอนว่า คน 3 ประเภทต่อไปนี้จะไม่ได้ไปสวรรค์แน่นอนคือ

    1. พราหมณ์ที่กลัวความหนาวไม่กล้าอาบน้ำลอยบาปในแม่น้ำคงคา
    2. คนในวรรณะกษัตริย์ที่กลัวสงคราม
    3. ภรรยาที่กลัวไฟไม่กล้าเผาตัวตายตามสามี

    ข้าพเจ้ากลัว กลัวจะไม่ได้ไปสวรรค์ จึงต้องบูชาไฟและงมงายกับดวงดาว

    วันหนึ่ง ข้าพเจ้าเห็นผู้คนเดินมุ่งหน้าสู่ชินทัตตารามเพื่อกราบฟังพระธรรมเทศนาจากพระแม่ชินทัตตาเถรี ก็ลองมาฟังดูบ้าง แต่มันเหมือนท่านแม่ชินทัตตารู้ใจ แสดงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่ท่านอุรุเวลกัสสปะให้ข้าพเจ้าฟัง มีอยู่ตอนหนึ่งข้าพเจ้าฟังแล้วติดใจมาจนทุกวันนี้ เป็นบทความสั้นๆ ว่า

    "ดูก่อนอุรุเวลกัสสปะ ท่านเองและบริวารบำเพ็ญตบะด้วยการบูชาไฟมาหลายปีแล้วหรือ"

    "ท่านสมณะโคดม พวกข้าพเจ้าทำมาหลายปีดีดักแล้ว"

    "แนะอุรุเวลกัสสปะ ท่านมีความมุ่งหมายอะไรในการบูชาเพลิง และท่านได้รับผลอะไรเป็นเครื่องตอบแทนบ้าง"

    "ท่านสมณะ" อุรุเวลกัสสปะกล่าวขึ้นด้วยน้ำเสียงเย้ยหยัน "ท่านสมณะโคดม เพลิงนั้นมีควันพลวยพรุ่งไปสู่อากาศ ข้าพเจ้าทราบมานานแล้วว่า สิ่งนั้นเป็นสื่อไปถึงเทพเจ้า แล้วท่านก็จะโปรดปรานประทานพรสิ่งที่เราพึงประสงค์ให้ได้"

    "อุรุเวลกัสสปะเอย พระพุทธองค์ทรงถามขึ้นแบบบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น ตัวท่านเคยได้รับอะไรตอบแทนบ้าง จากการที่ท่านเฝ้าบูชาอยู่เป็นเวลานาน ตถาคต หมายถึง ท่านเคยได้เห็นหรือเคยได้รับรางวัลอะไรจากเทพเจ้าที่ท่านบูชาอยู่บ้าง ขอให้ท่านตอบตามความเป็นจริง"

    "ไม่เคยเลยพระโคดม" อุรุเวลกัสสปะตอบหลังจากตรึกตรองเป็นอย่างดี

    "ถ้าอย่างนั้นการบูชาไฟของท่านก็ไม่ได้ผลใช่หรือไม่ การบูชาไฟของท่านก็เหมือนแมงเม่าบินเข้ากองไฟมีแต่จะตายไปเปล่าๆ"

    "ข้าพเจ้าก็สงสัยเหมือนกันพระโคดม แต่นี่เป็นจารีตที่โบราณาจารย์พาดำเนินมา ข้าพเจ้าไม่กล้าละทิ้ง"

    "อุรุเวลกัสสปะเอย ถ้าบุคคลสามารถได้สิ่งที่ตนปรารถนาด้วยกิจเพียงง่ายๆ เพียงเพราะถวายเพลิงฆ่าสัตว์บูชาเทพเจ้าแล้วในโลกนี้ ใครเล่า ! จะเป็นผู้ยากจนแร้นแค้นระทมทุกข์ ใครเล่า ! จะพลาดจากสิ่งที่ตนประสงค์ ท่านอาจพิสูจน์ด้วยตัวของท่านเองก็ได้ว่า หากใครสักคนหนึ่งกระโจนลงไปในกองเพลิง เพื่อนำเอาชีวิตตัวเองเป็นเครื่องสังเวยเทพเจ้า คนนั้นก็ต้องตายไปเปล่าๆ เทพเจ้าจะช่วยอะไรไม่ได้เลยแม้สักเล็กน้อย เมื่อเป็นเช่นนี้อะไรเล่า จะช่วยให้เราบรรลุจุดประสงค์ได้ นอกจากตัวของเราเอง ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งของตน เมื่อปรารถนาสิ่งใดก็เอาตนนั้นแหละเป็นที่พึ่ง พยายามบากบั่นในทางที่ชอบเพื่อให้ได้มาซึ่งผลที่ต้องการนั้น"

    "แม่โพธิเอย !" อิสิทาสีภิกษุณีกล่าวขึ้นเหมือนเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ ข้าพเจ้าเป็นผู้หลงระทมทุกข์มา เมื่อได้ฟังพระธรรมคำสอนที่คมคายเช่นนั้น ก็อัศจรรย์ใจว่า เป็นทางพอที่จะนำพาเราออกจากทุกข์ได้

    "ข้าแต่แม่อิสิทาสี ท่านเป็นอะไรหรือ ? ท่านถึงได้รับทุกข์" โพธิภิกษุณีกล่าวขึ้นด้วยความอยากรู้

    "พูดถึงชาติตระกูลแล้วข้าพเจ้าไม่ทุกข์หรอกนะ" อิสิทาสีภิกษุณีกล่าวขึ้น ข้าพเจ้าเกิดในกรุงอุชเชนี เมืองหลวงแห่งแคว้นอวันตี บิดาของข้าพเจ้าเป็นคนมีศีล ข้าพเจ้าเป็นธิดาคนเดียวของท่าน จึงเป็นที่รักที่โปรดปรานที่เอ็นดู

    อยู่มาวันหนึ่ง พวกคนสนิทของบิดาเป็นเศรษฐีมีตระกูลสูงมาจากเมืองสาเกตุมาขอข้าพเจ้าเป็นสะใภ้ บิดาจึงยกข้าพเจ้าให้ ข้าพเจ้านั้นปฏิบัติสามีและพ่อผัวแม่ผัวประดุจนางทาส ทำตัวเป็นภรรยาประดุจทาสดั่งที่บิดาสั่งสอน เข้าไปกระทำความนอบน้อมด้วยเศียรเกล้า กราบเท้าเช้าเย็น เป็นหญิงดีบำรุงสามีตามเวลา เข้าเรือนไปที่ประตูห้องต้องล้างมือล้างเท้า ประณตประนมมือเข้าไปหาสามี ข้าพเจ้าต้องถือหวีเครื่องลูบไล้ ยาหยอดตาและกระจก แต่งตัวให้สามีเองทีเดียวเหมือนหญิงรับใช้ หุงต้มแกงเอง ล้างภาชนะเอง ปรนนิบัติสามีเสมือนมารดาปรนนิบัติบุตรสุดที่รักคนเดียวฉะนั้น

    กิจอันใดที่คนเขาว่าดี ข้าพเจ้าทำให้สามีด้วยกิจนั้นทั้งหมด จงรักภักดี ทำหน้าที่ครบถ้วน เลิกมานะถือตัว ขยันไม่เกียจคร้าน มีศีลธรรมอย่างนี้สามีก็ยังเกลียด แล้วเขาก็ทิ้งข้าพเจ้าไปแบบไม่ใยดี แม้แต่พ่อผัวแม่ผัวนั้นยังอาลัยอาวรณ์เป็นทุกข์ แต่สามีนั้นทิ้งข้าพเจ้าไปไม่ใยดีเหมือนวัตถุสิ่งของที่ควรทิ้ง ข้าพเจ้าเป็นทุกข์ไม่มีที่พึ่งสุดที่จะพรรณา

    ท่านเอย...อันหม้ายสาวสามีร้างนั้นจะระทมขมขื่นสักปานใด เราทำความดีสักเท่าใดเวลาทุกข์ใจไม่เห็นความดีใด มาช่วยเราได้บ้าง ข้าพเจ้าน้อยใจและปลอบใจตัวเองไปวันๆ

    ท่านเอย...บุคคลบางคนเดือดร้อนเพราะไม่มีบุตร บางพวกเดือดร้อนเพราะมีบุตรมากเกินไป บุคคลบางคนเดือดร้อนเพราะไม่มีสามี บางพวกเดือดร้อนเพราะมีสามี แต่พระศาสดาตรัสว่า ผู้มีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร ผู้มีโคย่อมเศร้าโศกเพราะโค ผู้มีความรักย่อมเศร้าโศกเพราะสิ่งที่รัก บุคคลย่อมเศร้าโศกเพราะมีสิ่งยึดมั่นถือมั่น เมื่อปล่อยวางได้แล้วไม่ยึดมั่นถือมั่น ความทุกข์ก็ไม่มี ความโศกก็สิ้นสูญ

    อยู่มาวันหนึ่งท่านบิดาได้ยกข้าพเจ้าให้กุลบุตรผู้มีทรัพย์น้อยกว่าสามีคนแรก อยู่กับสามีคนที่สองได้เพียงเดือนเดียว เขาก็ขับไล่ข้าพเจ้าออกจากบ้านนั้นเหมือนหมา ทั้งๆ ที่มีความประพฤติดี จนจะหาที่ต้องติมิได้

    "แนะแม่โพธิผู้แสวงหาสัจจะ" อิสิทาสีภิกษุณีกล่าวขึ้นด้วยการเห็นโทษในการครองเรือน "มีคนจำนวนไม่น้อยที่เหมือนกับข้าพเจ้า พยายามแบกก้อนหินแห่งชีวิตคือความหนักอกหนักใจ วิ่งฝ่ากองไฟคือความทะยานอยากไปสู่ภูเขาแห่งความว่างเปล่า"

    สมมติว่ามีใครสักคนหนึ่ง กลิ้งก้อนหินอันแสนหนักหน่วงขึ้นสู่ยอดเขา แล้วก็ปล่อยให้หินนั้นตกลงมา และก็กลิ้งกลับขึ้นไปอีกอยู่อย่างนี้ ปีแล้วปีเล่า ท่านจะรู้สึกอย่างไรต่อบุคคลนั้น บุคคลสมมติดังกล่าวนั้นฉันใด คนในโลกนี้ส่วนมากก็เป็นฉันนั้น ได้ลงทุนลงแรงไปเป็นอย่างมาก เข็นก้อนหินคือชีวิตอันเป็นภาระหนักของตน เพื่อไปสู่ยอดเขาแห่งความว่างเปล่า ต่างคนก็ต่างกลิ้งขึ้นไป ถูกความทะยานอยากแห่งตนผลักดันให้กลิ้งขึ้นไป ด้วยเข้าใจว่า บนยอดเขานั้นจะมีอะไร เมื่อถึงยอดเขาแล้วจึงได้รู้ว่า มันไม่มีอะไร คนทั้งหมดนั้นต้องนั่งกอดเข่าเฝ้ารำพึงรำพันว่า "เหน็ดเหนื่อยและเสียแรงเปล่าๆ"

    มนุษย์โดยส่วนมากจึงถูกลงทัณฑ์ ให้ประสบชะตากรรม คือการลงแรงที่สิ้นหวังและไร้ผลตอบแทนอันคุ้มเหนื่อย ก็เพราะความเขลาของมนุษย์เอง ที่ไม่รู้ความจริงแห่งชีวิตและสิ่งอันเป็นแก่นสารที่ตนเองพึงหวังเอาได้ มนุษย์จึงเหนื่อยหน่ายตรากตรำท่ามกลางแสงแดดสายลม เพื่อสมบัติอันไร้ค่า ที่ตนพึ่งพาอาศัยไม่ได้ ท้ายสุดแล้วก็นำตนไปสู่ความว่างเปล่า คือเขาจะไม่ได้อะไรติดกายติดใจที่แท้จริงไปเลย คือเขาสูญเปล่าจากความดี แต่เต็มตื้นไปด้วยความชั่วเสียหาย

    ท่านเอย คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตมิใช่เพราะความเป็นใหญ่เป็นโต แต่เป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตของตนมีความสุขสงบเยือกเย็นปราศจากความเร่าร้อนกระวนกระวาย ท่านลองคิดดูเถิดจะเอาอย่างไหนคือ คนพวกหนึ่งต่ำต้อยกว่า แต่มีความสุขมากกว่า อีกพวกหนึ่ง ยิ่งใหญ่กว่าแต่มีความสุขน้อยกว่า

    "แนะแม่โพธิผู้เป็นพุทธสาวิกาเอย !" อิสิทาสีภิกษุณีกล่าวขึ้นท่ามกลางแสงแดดอุ่นๆ ในยามเช้าแห่งเหมันตฤดู "กว่าที่ข้าพเจ้าจะได้มานั่งบนหาดทรายขาวสนทนาธรรมกับท่านนี้ ข้าพเจ้าแทบเป็นแทบตาย หลังจากเป็นหม้ายร้างสามีคนที่สองแล้ว ท่านบิดามีความสงสารอยากให้ข้าพเจ้ามีความสุขอบอุ่น ท่านพยายามหาชายหนุ่มที่ดีมาเป็นสามีของข้าพเจ้าอีก"

    อยู่มาวันหนึ่งมีบุรุษหนุ่มผู้หนึ่งเดินบากหน้าขอทาน ผ่านมาทางหน้าบ้านของบิดา ลักษณะเป็นประดุจนักบวชแต่มิใช่นักบวช มีกายวาจาที่สงบระงับ เที่ยวสั่งสอนผู้คนให้รู้จักฝึกจิต ท่านบิดาจึงเชื้อเชิญมาว่า "ท่านพ่อหนุ่ม ท่านจงทิ้งผ้าเก่าที่นุ่งห่มเสีย จงทิ้งภาชนะขอทานเสียเถิดนะ มาเป็นบุตรเขยของเราผู้เป็นเศรษฐีมีทรัพย์มาก"

    แม้บุรุษหนุ่มผู้นั้นอยู่กับข้าพเจ้าได้ครึ่งเดือนก็พูดขึ้นว่า "ข้าแต่ท่านพ่อตา โปรดคืนผ้าเก่าและภาชนะขอทานแก่ข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าจะไปขอทานต่อดีกว่าอยู่กับอิสิทาสีบุตรีของท่าน"

    "ท่านเอย เมื่อข้าพเจ้าได้ยินเช่นนั้น จึงเสียใจเป็นที่สุด" น้ำตาเท่านั้นจริงๆ ที่เป็นเพื่อนในยามยาก เพื่อนที่ดีสำหรับผู้หญิงในยามทุกข์ก็คือน้ำตา เราเป็นคนไร้ค่าไร้ราคาถึงเพียงนั้นเชียวหรือ แม้แต่สามีที่เป็นขอทานเราไม่เคยดูหมิ่น พูดแต่วาจาเป็นเครื่องรักษาน้ำใจ แต่สามีผู้เป็นขอทานนั้นกลับดูหมิ่นข้าพเจ้า แม้พวกญาติๆ จะปลอบโยนให้เขาอยู่ด้วยถ้อยคำต่างๆ และไม่ต้องทำกิจอะไรทั้งมวลเขาก็หาพอใจยินดีไม่ ซ้ำยังพูดขึ้นว่า "ไม่มีประโยชน์ที่จะอยู่กับผู้หญิงเช่นนี้" ในที่สุดเขาก็จากไปแบบไม่ใยดี

    ท่านเอย ชีวิตเช่นนี้มันมีอะไรที่ต้องหวังอีกมั๊ย การพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นเรื่องทรมานอยู่แล้ว แต่การถูกเย้ยหยันเหยียดหยามจากคนที่รักเป็นการทรมานยิ่งกว่า ข้าพเจ้าเป็นทุกข์เพราะสิ่งที่ตนเองรักนักรักหนา ในท่ามกลางหมู่ญาติที่ร่ำรวยมากไปด้วยทรัพย์นั้น ข้าพเจ้าจึงคิดไว้ในใจว่า ถ้าไม่ลาบิดามารดาไปตายก็จะบ่ายหน้าไปบวช

    แนะแม่โพธิผู้แสวงหาสัจจะ สนิมที่เกิดจากเหล็กย่อมกัดเหล็กนั่นแหละให้กร่อนไป ใจที่ไม่ดีนั่นแหละย่อมกระทำใจให้เสียหาย ข้าพเจ้าก็ย้อนคิดถึงพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้ากระตุ้นเตือนอยู่เสมอว่า

    คนที่ไร้ยางอายกล้าเหมือนดั่งกา ชอบทำลายคนอื่นลับหลัง ชอบเอาหน้าอวดดี และมีพฤติกรรมสกปรกมักมีชีวิตอยู่อย่างสบาย ส่วนคนที่มีความละอายแก่ใจ ใฝ่ความบริสุทธิ์เป็นนิตย์ ไม่เกียจคร้าน อ่อนน้อมถ่อมตน มีอาชีพบริสุทธิ์ และมีปัญญา มักมีชีวิตอยู่อย่างลำบาก

    บุคคลผู้อาศัยความสะดวกสบายเป็นทางดำเนินของชีวิต มักจะประสบทุกข์ ส่วนบุคคลผู้อาศัยความทุกข์ยากลำบากเป็นทางดำเนินของชีวิต ก็มักจะประสบสุข

    การอยู่คนเดียวประเสริฐกว่า ความเป็นเพื่อนที่แท้จริงไม่มีในหมู่คนพาล พึงอยู่คนเดียว ไม่พึงทำความชั่ว และไม่พึงกังวลใจ ควรทำตัวเป็นประดุจช้างโทนอยู่ในป่าเพียงตัวเดียว ฉะนั้น พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้พอชโลมจิตใจของข้าพเจ้า ให้คลายทุกข์คลายโศกลงไปได้บ้าง

    วันหนึ่งข้าพเจ้านั่งอยู่หน้าบ้านด้วยความเหม่อลอย มองไปข้างหน้าอย่างไร้จุดหมาย มองไปเห็นภิกษุณีมีผ้าสีเหลืองหม่นคลุมกาย ผิวขาวละเอียดอ่อนลักษณะแสดงว่ามาจากวรรณะสูง นามว่า "พระแม่เจ้าชินทัตตาเถรี" ท่านเป็นภิกษุณีผู้ทรงวินัย เป็นพหูสูตรสมบูรณ์ด้วยศีล โคจรมาเพื่อเที่ยวบิณฑบาต เข้ามายังบ้านตระกูลของบิดา ข้าพเจ้าเห็นท่านแล้วจึงเข้าไปจัดอาสนะถวาย ผิวพรรณของท่านผ่องใสยิ่งนัก มีอินทรีย์สงบ ท่านมีจักษุทอดลงต่ำ จะเหลียวซ้ายแลขวาก็มีแต่ความสำรวมระวัง

    "อา...ผ้ากาสาวพัสตร์ สัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์" ข้าพเจ้าน้อมนึกภายในใจด้วยความทราบซึ้ง พระบรมศาสดาตรัสว่า "ผู้ใดคลายกิเลสที่เหนียวแน่นอันเป็นประดุจน้ำฝาดได้แล้ว มั่นคงในศีลประกอบด้วยการฝึกอินทรีย์และมีสัจจะ ผู้นั้นสมควรห่มผ้ากาสายะ" พระดำรัสนี้เราเคยได้ฟังเมื่อคราวพระพุทธองค์เสด็จผ่านนครแห่งดอกไม้นามว่า ปาฏลีนี้เอง

    เมื่อข้าพเจ้าจัดขาทนียโภชนียาหารแก่พระแม่เจ้าชินทัตตาเถรีแล้ว จึงคลานเข้าไปใกล้ๆ แล้วกราบเรียนท่านว่า "ข้าแต่พระแม่เจ้า ลูกมีทุกข์มีโศกเบื่อโลกเหลือเกิน เห็นภัยในการเกิดแก่เจ็บตาย และไม่ประสงค์จะเกิดอีก อยากจะบวชมากเจ้าข้าฯ"

    อิสิทาสี ! พระแม่เจ้าชินทัตตาเถรีกล่าวขึ้นด้วยความเมตตา พระศาสดาของเราตรัสว่า "ผู้ใดไม่เศร้าโศกถึงอดีต ไม่กังวลหวังอย่างเร่าร้อนถึงอนาคต มีชีวิตอยู่ด้วยปัจจุบันธรรม แม้จะบริโภคอาหารมื้อเดียวต่อวัน ประพฤติพรหมจรรย์สงบนิ่งอยู่ในป่า ผิวพรรณของผู้นั้นย่อมผ่องใส ส่วนผู้ที่มัวเมาเศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว กังวลหวังอย่างเร่าร้อนถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ย่อมซูบซีดเศร้าหมอง เหมือนไม้สดที่ถูกตัดแล้วย่อมเหี่ยวเฉาไปฉะนั้น"

    อิสิทาสีเอย ! ร่มเงาของต้นไม้ย่อมอำนวยความสุขให้ได้บ้าง ร่มเงาแห่งญาติย่อมอำนวยความสุขให้ได้ยิ่งกว่าร่มเงาแห่งต้นไม้นั้น ร่มเงาแห่งบิดามารดาย่อมอำนวยความสุขให้ยิ่งกว่าร่มเงาแห่งญาติ ร่มเงาแห่งอาจารย์ย่อมอำนวยความสุขให้ยิ่งกว่าร่มเงาแห่งบิดามารดา ร่มเงาแห่งพระราชาย่อมอำนวยความสุขให้ยิ่งกว่าร่มเงาแห่งอาจารย์ แต่ร่มเงาแห่งคำสอนของพระบรมศาสดา ย่อมอำนวยความสุขให้ยิ่งกว่าร่มเงาทั้งมวล

    แนะอิสิทาสีผู้มีหน้าชุ่มไปด้วยน้ำตา นกทั้งหลายย่อมละทิ้งต้นไม้ที่มีผลวายแล้ว นกกินปลาแล้วย่อมละทิ้งสระน้ำที่แห้งขอด ชายรักสนุกทั้งหลายย่อมละทิ้งหญิงที่แสนดี อำมาตย์ราชมนตรีย่อมละทิ้งพระราชาราชินีที่หมดอำนาจ ผึ้งทั้งหลายย่อมละทิ้งดอกไม้ที่เหี่ยวเฉา สัตว์ทั้งหลายย่อมละทิ้งป่าที่ถูกไฟเผาผลาญ คนโดยส่วนมากย่อมรักกันเพราะเห็นแก่ประโยชน์ทั้งนั้น อิสิทาสีเอย ! ก็ใครเล่าจะพึงเป็นที่รักของใครจริงๆ

    อิสิทาสีเอย มิใช่แต่เพียงบุรุษเท่านั้นที่จะพึงเป็นบัณฑิตได้ แม้สตรีที่มีสติปัญญาเห็นประจักษ์คิดความได้ฉับพลัน ก็พึงเป็นบัณฑิตได้เหมือนกัน พระบรมศาสดาตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ! สังสารวัฏฏ์คือการเทียวเกิดเทียวตายนี้ มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายที่เราไม่สามารถจะตามไปรู้ได้ สังสารวัฏฏ์นี้มีเงื่อนต้นไม่ปรากฏ สำหรับเหล่าสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นฝ้าบังปัญญา มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ซึ่งโลดแล่นท่องเที่ยวไปในภพต่างๆ ภิกษุทั้งหลาย ! น้ำตาที่ไหลพรากอาบแก้มของเหล่าสัตว์ผู้ครวญคร่ำร่ำไห้ เพราะประสบกับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ หรือเพราะพรัดพรากจากอารมณ์ที่น่าพอใจ โลดแล่นท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏฏ์ด้วยกาลอันยาวนานนี้ น้ำในมหาสมุทรทั้ง 4 นี้มิอาจเทียมเท่าได้ ภิกษุทั้งหลาย ! กองกระดูกของบุคคลหนึ่งๆ ที่เทียวเกิดเทียวตายนั้นใหญ่ยิ่งกว่าภูเขาเวปุลบรรพต อันภูเขาเวปุลบรรพตนั้นใหญ่กว่าภูเขาคิชฌกูฏเสียอีก

    แนะอิสิทาสี อันคนเรานี้ถ้าไม่รู้จักสำรวจใจของตนเองบ้างแล้ว แม้จะอยู่มีอายุยืนเป็นหมื่นปีก็จะไม่ประเสริฐอะไร สู้ทารกน้อยที่เกิดเพียงหนึ่งราตรีก็ไม่ได้ อันคนเรานี้ถึงจะมี 1000 ลิ้น 1000 ปาก และอายุ 1000 ปี แต่ถ้าคนเหล่านี้มามัวแต่สาธยายชั่วดีของบุคคลอื่น โดยไม่มองดูจิตใจของตนเองบ้างแล้ว 1000 ลิ้น 1000 ปาก และอายุ 1000 ปีนี้ คงไม่เพียงพอต่อการสาธยายหรอก แต่ถ้าเขามองดูใจของเขาเองด้วยความมีสติ นั่นแหละจะมีที่ยุติและจบลงได้ อันเรื่องคนชั่วสัตว์ชั่วนั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้อย่างนี้ว่า "อันสัตว์มีเขาตัวดุร้ายพึงหลีกให้ห่างสัก 5 ศอก อันม้าตัวดุร้ายพึงหลีกให้ห่างสัก 100 ศอก อันช้างตัวตกมันพึงหลีกให้ห่างสัก 1000 ศอก แต่สำหรับคนชั่วนั้นพึงหลีกให้ห่าง โดยยอมทิ้งถิ่นฐานหนีไปเลยทีเดียว"

    "อิสิทาสีเอย !" พระชินทัตตาเถรีกล่าวต่อไปด้วยความเมตตา "เธอได้ทำหน้าที่ในการครองเรือนสมบูรณ์แล้ว อันน้ำที่อยู่ใต้ดินนั้นนับว่าเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ ส่วนภรรยาที่ซื่อสัตย์ต่อสามีพระพุทธองค์ตรัสว่า "เป็นภรรยาที่บริสุทธิ์" เธอเป็นภรรยาที่บริสุทธิ์และซื่อจนเกินไป เธอซื่อเสียจนเซ่อ จงดูป่าไม้นั้นเป็นตัวอย่างเถิด ต้นไม้ที่มีลำต้นตรงๆ เท่านั้นที่ถูกตัด ส่วนต้นที่คดๆ งอๆ บิดๆ เบี้ยวๆ จะคงอยู่และไม่ค่อยมีใครสนใจมากนัก"

    อิสิทาสี ! มนุษย์ในโลกนี้โดยส่วนมากมักติดอยู่ในบ่วง คือ บุตร ภรรยา สามี ทรัพย์สมบัติ และกามคุณอันเป็นเครื่องล่อลวง ส่วนบ่วงคือภพชาตินั้นเป็นบ่วงที่เราทั้งหลายละได้โดยยากยิ่ง เราจะนำคำภาษิตที่เคยสดับต่อพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้ามาเล่าให้เธอฟังบ้าง

    พระพุทธองค์ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ! เนื้อป่าที่ติดบ่วงแล้ว นอนทับบ่วงอยู่ ย่อมถึงความเสื่อมความพินาศ หนีไปไม่ได้ตามปรารถนา ถูกพรานเนื้อกระทำเอาได้ตามความต้องการฉันใด สมณะพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งที่ยังหลงใหลใฝ่ฝันติดพันมัวเมา เข้าไปเกี่ยวข้องกับกามคุณ 5 โดยไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดตนออก สมณะพราหมณ์พวกนั้นย่อมถึงความเสื่อมความพินาศ ถูกมารผู้มีใจบาปกระทำเอาได้ตามความต้องการฉันนั้น"

    ส่วนสมณะพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งไม่หลงใหลใฝ่ฝันไม่ติดพันมัวเมา ไม่เอาใจเข้าไปข้องเกี่ยวกับกามคุณ 5 เพราะพิจารณาเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดตนออก สมณะพราหมณ์พวกนั้น ย่อมไม่เข้าถึงความเสื่อมความพินาศ ไม่ถูกมารผู้มีใจบาปกระทำเอาได้ตามความต้องการเหมือนเนื้อป่าที่ไม่ติดบ่วง แม้จะนอนทับบ่วงอยู่ย่อมไม่ถึงความเสื่อมความพินาศ เมื่อนายพรานเดินเข้ามา ก็หนีไปได้ดังปรารถนาตามความต้องการฉันนั้นเหมือนกัน"

    "แนะแม่โพธิผู้มีอินทรีย์ผ่องใส !" อิสิทาสีภิกษุณีกล่าวขึ้น "เมื่อพระแม่เจ้าชินทัตตาเถรีแสดงพระธรรมเทศนาจบลง ข้าพเจ้ามีปีติซาบซ่านเป็นที่ยิ่ง เสมือนพระธรรมของพระศาสดาสว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีปภายในจิตใจ และแยกแยะพระธรรมเทศนานั้นเป็นเอนกปริยาย พิจารณาเห็นสัตว์โลกผู้ยังติดอยู่ในความหลง ต้องตกอยู่ในความมืด มีน้อยคนนักที่จะรู้เห็นตามความเป็นจริง ยิ่งพิจารณาเห็นว่า มีน้อยคนนักที่จะไปสู่สวรรค์ พรหมโลกและพระนิพพาน เหมือนนกที่ติดตาข่ายของนายพรานแล้ว มีน้อยตัวนักที่จะรอดพ้นไปได้"

    ข้าพเจ้าขอบิดาบวช ท่านบิดาจึงพูดขึ้นว่า "ลูกเอ๊ย ! จงประพฤติธรรมอยู่ในเรือนก็แล้วกันจงทำบุญใส่บาตรเลี้ยงดูสมณะพราหมณ์ด้วยข้าวน้ำไปเถิด" ข้าพเจ้าร้องไห้พร้อมๆ กับประคองมือประนมพูดว่า "ท่านพ่อคะ ความจริงลูกก็ทำบาปมามากแล้วลูกจักชำระบาปให้สิ้นไปเสียที ชาตินี้มีกรรมอะไรนัก จักชำระสะสางให้สิ้นสุด ด้วยพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นดวงตาของโลก"

    ท่านบิดาจึงพูดขึ้นว่า "ลูกรักผู้เป็นดั่งดวงตาของพ่อเอย ขอลูกจงบรรลุโพธิญาณอันเป็นธรรมที่เลิศ และขอให้ได้พระนิพพานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดแห่งสัตว์สองเท้า ทรงกระทำให้แจ้งแล้ว พ่อขออวยพร"

    "แนะแม่โพธิผู้เป็นเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์" อิสิทาสีภิกษุณีกล่าวขึ้นพร้อมกันกับสะบัดสไบน้อยผืนบางขึ้นบนบ่า "ข้าพเจ้ากราบลาบิดามารดาและหมู่ญาติออกบวช บวชได้ 7 วันก็บรรลุวิชชา 3 ได้ครองบรมธรรมไม่มีความอาลัยกับสิ่งใดๆ เพิกถอนกิเลสทั้งมวลด้วยอรหัตมรรค และระลึกชาติได้ 7 ชาติ"

    "แม่อิสิทาสีภิกษุณีผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น" โพธิภิกษุณีกล่าวขึ้นด้วยความอยากรู้ "ขอท่านจงเล่าวิบากกรรมให้ข้าพเจ้าฟังด้วย คงจะเป็นบุญแก่โสตของข้าพเจ้าหาน้อยไม่"



     
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    อิสิทาสีภิกษุณีผู้ประเสริฐนิ่งไปครู่หนึ่งแล้วกล่าวขึ้นว่า "แม่โพธิ ข้าพเจ้าจักเล่าวิบากกรรมให้ท่านฟัง ในชาติที่ข้าพเจ้าระลึกได้ทั้ง 7 ชาตินั้น ขอท่านโปรดมีใจเป็นอันหนึ่งฟังวิบากกรรมนั้นเถิด

    ชาติที่ 1 ข้าพเจ้าระลึกได้ด้วยอตีตังสญาณว่าตนเองเกิดในนครเอระกัจฉะ เป็นนายช่างทองมีทรัพย์มากมัวเมาในวัยหนุ่มเป็นชู้กับภรรยาของบุคคลอื่น

    เมื่อตายลงต้องหมกไหม้อยู่ในนรกเป็นเวลาช้านาน ชาติที่ตกในนรกนี้เป็นชาติที่ 2 ข้าพเจ้าระลึกชาติที่ตกอยู่ในนรกนั้นได้ รู้สึกสงสารสัตวโลกผู้ไม่รู้ความจริงเป็นอย่างยิ่ง พระบรมศาสดาตรัสว่า คนพาลทำกรรมชั่วอยู่ ย่อมไม่รู้สึกว่าตนเองกำลังทำชั่ว กลับเข้าใจว่าเป็นกรรมดี คนพาลนั้นย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมชั่วนั้นที่ตนกระทำแล้วประดุจถูกไฟนรกเผาไหม้อยู่ ข้อความนี้ช่างเป็นความจริงเสียนี่กระไร

    "แนะแม่โพธิเอย !" ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่จะน่าหัวเราะยิ่งไปกว่านี้อีกแล้วคือ คนชั่วๆ มักเรียกคนดีว่าเป็นคนชั่ว ส่วนคนชั่วๆ นั้นมักเรียกตนเองว่าเป็นคนดี ในชาติที่เกิดเป็นนายช่างทองนั้นข้าพเจ้าก็เป็นทำนองเช่นนี้

    ครั้นออกจากนรกนั้นแล้วก็เข้ามาเกิดในท้องนางวานรอันเป็นชาติที่ 3 ที่ข้าพเจ้าระลึกได้ด้วยอตีตังสญาณ เมื่อเป็นลูกวานรมีอายุได้เพียง 7 วัน ก็ถูกวานรใหญ่จ่าฝูงกัดอวัยวะสืบพันธุ์อันเป็นเครื่องหมายของเพศผู้ขาดเสีย นี่เป็นผลกรรมที่ข้าพเจ้าทำชู้กับภรรยาผู้อื่น ข้าพเจ้าตายเพราะโรคเน่าฟอนเฟะแห่งอวัยวะสืบพันธุ์นั้นแล้ว

    ในชาติที่ 4 ก็มาเกิดในท้องแม่แพะที่ตาบอดทั้งเป็นง่อยในแคว้นสินธพ เมื่ออายุได้ 12 ปี ถูกเด็กขี่หลังแล้วเดินโซเซไปกระแทกไม้มีคมเกิดเป็นโรคหนอนฟอนที่อวัยวะเพศ นี่ก็เป็นผลกรรมที่ทำชู้กับภรรยาผู้อื่น

    ชาติที่ 5 ข้าพเจ้าระลึกได้ด้วยอตีตังสญาณว่า ตนเองได้มาถือกำเนิดในท้องแม่โคของพ่อค้าโค เป็นลูกโคขนแดงดั่งน้ำครั่ง อายุ 12 เดือน ก็ถูกตอน ถูกใช้ลากไถลากเกวียน แล้วก็ป่วยเป็นโรคตาบอดตาย นี่ก็เป็นผลกรรมที่ทำชู้กับภรรยาผู้อื่น

    ชาติที่ 6 ไปเกิดในท้องนางทาสี ณ ริมถนน เกิดมาร่างกายและจิตใจวิปริตผิดแปลกจากมนุษย์ทั้งหลาย จะว่าชายก็ไม่ใช่หญิงก็ไม่เชิง มีรูปร่างไม่สมส่วนแห่งการจะเป็นชายหรือเป็นหญิง มีอายุได้ 30 ปีก็ตาย นี่ก็เป็นผลกรรมแห่งการทำชู้กับภรรยาผู้อื่น

    ส่วนในชาติที่ 7 นี้ ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลช่างทำเกวียนผู้ตกทุกข์ได้ยาก มีโภคะน้อยขัดสน บิดามีหนี้สินสะสมรุงรัง ข้าพเจ้าเป็นลูกสาวของช่างทำเกวียนนั้น เมื่อบิดาไม่มีเงินใช้หนี้นายกองเกวียน นายกองเกวียนก็ฉุดเอาข้าพเจ้าผู้ยังอยู่ในวัยรุ่นสาวอายุ 16 ปีมาอยู่ในบ้านด้วย เมื่อบุตรของนายกองเกวียนนามว่า คิริทาสเห็นเข้าก็เกิดจิตปฏิพัทธ์หลงรัก และขอไปเป็นภรรยา

    แต่นายคิริทาสนั้นมีภรรยาอยู่ก่อนคนหนึ่งแล้ว เธอเป็นคนมีศีล มียศ มีคุณ จงรักภักดีต่อสามี ข้าพเจ้าได้ทำให้สามีเกลียดนาง ข้อที่สามีทั้งหลายเลิกร้างกับข้าพเจ้าซึ่งปรนนิบัติประดุจทาส ก็เป็นเพราะผลของกรรมนั้น ในที่สุดกรรมนั้นข้าพเจ้าก็สะสางได้หมดแล้ว ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว ภพนี้เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าจะไม่กลับมาเป็นบ่อแห่งน้ำตาให้ใครอีก

    "แม่โพธิเอย !" โดยที่สุดแล้วมนุษย์ล้วนไม่ได้ตามสิ่งที่ตนพึงหวัง แต่ถ้าเรามาทราบตามความเป็นจริงในข้อนี้แล้ว จะแจ่มจ้าภายในใจเบิกบานอยู่ มนุษย์โดยส่วนมากคลุกกรุ่นอยู่กับสิ่งต่างๆ โดยไม่ทราบตามความเป็นจริง

    กามทั้งหลายที่มนุษย์หลงใหลคลั่งไคล้นั้น อุปมาเหมือนหอกและหลาว มีขันธ์ทั้งหลายเป็นเขียงรองสับ บัดนี้ความยินดีในกามไม่มีแก่ข้าพเจ้าแล้ว กำจัดความเพลิดเพลินในกามทั้งปวงได้แล้ว ทำลายความมืดคืออวิชชาเสียแล้ว

    "แม่โพธิ" อิสิทาสีภิกษุณีกล่าวขึ้นด้วยความซาบซึ้งในรสพระธรรม "พวกคนเขลาทั้งหลายเมื่อไม่รู้ตามความเป็นจริง ย่อมพากันนอบน้อมดวงดาวทั้งหลาย ทายโชคชะตาราศี บูชาเพลิงและทำพิธีตัดเวรตัดกรรม โดยหาเข้าถึงสัจจะแห่งชีวิตไม่ แล้วก็สำคัญตนเองว่า "เป็นคนบริสุทธิ์"

    บทธรรมที่มนุษย์ควรคิดให้มากในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ก็คือ ความมีสติ ไม่ประมาท หมั่นระลึกถึงความตายอันเป็นมรณัสสติ อันนี้แก้ความหลงได้ชะงัดนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์อันกินใจไว้ว่า

    ทหรา จ มหนตา จ เย พาลา เย จ ปณฑิตา
    สพเพ มจจุวสํ ยนติ สพเพ มจจุปรายนา ฯ

    ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนเขลาและคนฉลาด ต่างบ่ายหน้าไปสู่ความตาย ต้องตกอยู่ใต้อำนาจของมฤตยู อนึ่งเล่า ! ความไม่มีโรคจบสิ้นลงด้วยโรค ความเป็นหนุ่มเป็นสาวจบสิ้นลงเพราะชรา ชีวิตทั้งมวลจบสิ้นลงเพราะความตาย ความแก่และความตายเป็นเสมือนภูเขาศิลาใหญ่ สูงตระหง่านระฟ้า กลิ้งหมุนมาจากทิศทั้ง 4 ย่อมบดขยี้สัตว์ทั้งหลายมิให้หลงเหลือเล็ดลอดไปได้เลย เราจะเอาชนะด้วยกองทัพใดๆ ด้วยเวทมนต์ใดๆ ด้วยทรัพย์ใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ ก็ไม่ได้ทั้งนั้น ทุกชีวิตจบลงด้วยความตาย

    เมื่อรู้ดังนี้บัณฑิตมองเห็นประโยชน์อยู่ พึงตั้งศรัทธาลงให้มั่นในพระรัตนตรัย ประพฤติธรรมปฏิบัติชอบด้วยกายวาจาจิต บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้ แม้ละโลกนี้ไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์เป็นอย่างน้อย ส่วนพุทธสาวกผู้มีอาสวะสิ้นแล้วย่อมบ่ายหน้าไปสู่พระนิพพานอันเป็นบรมธรรม

    "แม่โพธิ !" ธรรมวิสัชนาที่ข้าพเจ้ากล่าวมานี้ท่านคงเป็นที่เข้าใจ เพลานี้พระอาทิตย์ใกล้จะถึงกึ่งฟ้าสายมากแล้ว เราควรจะรีบกลับภิกขุนูปัสสะยะ (สำนักนางภิกษุณี) เดี๋ยวพระแม่เจ้าจะเป็นห่วง ข้าพเจ้าขอสรุปใจความบทธรรมสั้นๆ ให้ท่านฟังได้เลยว่า

    "เมื่อใดก็ตามเรามาทราบว่าบาปโดยความเป็นบาปแล้ว เมื่อเห็นโทษว่าบาปโดยความเป็นบาปแล้ว จงเบื่อหน่ายคลายความติดในบาปนั้น ด้วยปัญญาที่พิจารณาเห็นตามความเป็นจริง จิตก็จะหลุดพ้นไปได้ กรรมอันทารุณเผ็ดร้อนที่จะทำให้ข้าพเจ้ายินดียินร้ายไม่มีอีกแล้ว ทุกข์อะไรต่อไปนี้ไม่มีกันอีกหล่ะ เพราะพระอรหัตมรรคแจ่มชัดในใจแล้ว คำสอนของพระศาสดาข้าพเจ้าทำเต็มบริบูรณ์แล้ว

    คำว่า "อิสิทาสี" อันเป็นนามที่ติดกายติดใจของข้าพเจ้านี้ จะเป็นชื่อที่จะพึงมีในชาติสุดท้าย"

    เมื่ออิสิทาสีภิกษุณีและโพธิภิกษุณี สนทนาธรรมกันจบลงด้วยดวงใจชื่นบานดุจดวงตะวันและจันทราที่ส่องแสงประกาย หาดทรายขาวในฤดูใบไม้ร่วงช่างวิเวกเสียนี่กระไร ! ลมหนาวในเหมันตกาลยามพระอาทิตย์กึ่งฟ้าช่างอบอุ่นเสียเหลือเกิน แต่สำหรับดวงใจของภิกษุณีทั้ง 2 นางนั้น ยากที่บุคคลสามัญจะเอื้อมอาจคาดเดาได้

    เสียงวายุโบกสะบัดพัดหอบเอาเม็ดทรายลอยละลิ่ว เสียงดังหวีดหวิว ขับกล่อมเหมือนดั่งคีตะลีลาของนักดนตรีผู้สุนทรีย์ โอ...ธรรมชาตินี้ช่างดูดีงามนัก สำหรับบุคคลผู้โง่เขลาเบาปัญญาพึงเพ่งมองด้วยความเพลิดเพลินใจที่ไหลหลง แต่สำหรับผู้มีปัญญาแล้วไซร้ พึงพิจารณาเห็นความเป็นไปว่า "ไม่เที่ยง...เป็นอนิจจา" อิสิทาสีภิกษุณีออกอุทานขึ้นมาเบาๆ เพราะรู้ชัดตามความเป็นจริง

    ภิกษุณีทั้ง 2 นาง ย่างเท้าก้าวย่างสะพายบาตรประดุจวิลาสวิไลแห่งสีหไกรสร มุ่งหน้าเดินดุ่มสู่ภิกขุนูปัสสะยะ...กว่าจะถึงชินทัตตาราม ทินกรคงลาลับขอบฟ้าไปแล้ว เหมือนม่านดำธรรมชาติถูกดึงปิดฉากลงยังความมืดให้แผ่ปกคลุมไปทั่ว แต่ดวงใจของภิกษุณีผู้ประเสริฐทั้ง 2 นั้น สว่างสดใสด้วยแสงสว่างคือปัญญา อันไม่มีแสงสว่างอื่นยิ่งไปกว่า




    คัดลอกจาก

    ::
     
  5. F-5E

    F-5E เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +964
  6. dangcarry

    dangcarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +4,307
    อนุโมทนาสาธุ
     
  7. tong2496

    tong2496 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +29
    อนุโมทนาสาธุ
     
  8. ธรรมานุสติ

    ธรรมานุสติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +26
    ขอ............อนุโมทนา ด้วยครับ
     
  9. เพียงพบ

    เพียงพบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    932
    ค่าพลัง:
    +1,275
    อนุโมทนาค่ะ
     
  10. nui08

    nui08 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    297
    ค่าพลัง:
    +55
    ขออนุโมทนาครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  11. somkiatdhana

    somkiatdhana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +619
    อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธู ด้วยครับ
    ------------------------------------------
    พุทธวจน

    ความจริงที่ต้องรู้<O:p</O:p

    (Watnapahpong.net)<O:p</O:p

    ความจริงที่ต้องรู้ ๙ ประการ เมื่อศึกษาพุทธศาสนา<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ทรงสามารถ<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    1. พระองค์สามารถกำหนดสมาธินิมิตในขณะที่ทรงแสดงธรรมทุกคำจึงไม่ผิดพลาด<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    อัคคิเวสนะ! เรานั้นหรือ, จำเดิมแต่เริ่มแสดง กระทั่งคำสุดท้ายแห่งการกล่าวเรื่องนั้นๆ ย่อม ตั้งไว้ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิตดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีความเป็น จิตเอก ดังเช่นที่คน ท. เคยได้ยินว่าเรากระทำอยู่เป็นประจำ ดังนี้ <O:p</O:p
    มหาสัจจกสูตร ม.ม. ๑๒/๔๖๐/๔๓๐.<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    2. แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโก ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาล<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย เป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็นธรรมที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง(สนฺทิฏฐิโก), เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล (อกาลิโก), เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก), ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก), อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ เวทตพฺโพ วิญฺญูหิ). มหาตัณหาสังขยสูตร ม.ม. ๑๒/๔๘๕/๔๕๑,<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    3. คำของพระองค์ ตรงเป็นอันเดียวกันหมด<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ภิกษุ ท. ! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนกระทั่งถึงราตรี ที่ตถาคตปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, ตลอดเวลาระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใดถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย. อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓.<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ทรงห่วงใย<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    4. ทรงบอกเหตุแห่งความอันตรธานของคำสอนเปรียบเหมือนกลองศึก<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ภิกษุ ท. ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ ๒ เรียกว่า อานกะ มีอยู่. เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ, พวกกษัตริย์ทสารหะได้หาเนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป ) <O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ภิกษุ ท. ! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้นนานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น ;<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย, สุตตันตะ (คำสอน) เหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ่ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่. เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะเหล่าใด มีนักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสรวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่,เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตน ควรศึกษาเล่าเรียนไป.<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ภิกษุ ท. ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของตถาคตเป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล. นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓.<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    ทรงแนะนำ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    5. ทรงกำชับให้ศึกษาคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคำผู้อื่น<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ภิกษุ ท. ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตรเป็นเรื่องแนวนอก เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ภิกษุ ท. ! ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟังย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนจึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ? ” ดังนี้. ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทาลงได้.<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ภิกษุ ท. ! ภิกษุบริษัทเหล่านี้ เราเรียกว่า บริษัทที่มีการลุล่วงไปได้ด้วยการสอบถามแก่กันและกันเอาเอง, หาใช่ด้วยการชี้แจงโดยกระจ่างของบุคคล ภายนอกเหล่าอื่นไม่; จัดเป็นบริษัทที่เลิศแล.-ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒,<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ภิกษุ ท. ! บริษัทสองจำพวกเหล่านี้ มีอยู่, สองจำพวกเหล่าไหนเล่า? สองจำพวก คือ อุกกาจิตวินีตาปริสา ( บริษัทอาศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป ) โนปฏิปุจฉาวินีตา ( ไม่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป ) นี้อย่างหนึ่ง, และ ปฏิปุจฉาวินีตาปริสา ( บริษัทอาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป ) โนอุกกาจิตวินีตา ( ไม่อาศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป ) นี้อีกอย่างหนึ่ง.<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ภิกษุ ท. ! บริษัทชื่อ อุกกาจิตวินีตาปริสาโนปฏิปุจฉาวินีตา เป็นอย่างไรเล่า? <O:p></O:p>
    ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุ ทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ตถาคตภาสิตา - อันเป็นตถาคตภาษิต คมฺภีรา - อันลึกซึ้ง คมฺภีรตฺถา - มีอรรถอันลึกซึ้ง โลกุตฺตรา - เป็นโลกุตตระ สุญฺ ญตปฏิสํยุตฺตา - ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟังไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำ กล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี เงี่ยหูฟังตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่นั้นแล้ว ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน ไม่ทำ ให้ เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้. เธอเหล่านั้น เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้ ไม่หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่าง ๆ ได้. ภิกษุ ท.! นี้เราเรียกว่า อุกกาจิตวินีตาปริสาโนปฏิปุจฉาวินีตา.<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ภิกษุ ท. ! บริษัทชื่อ ปฏิปุจฉาวินีตาปริสาโนอุกกาจิตวินีตา เป็นอย่างไรเล่า ? <O:p></O:p>
    ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำ ร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำ กล่าวของสาวก อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วน สุตตันตะเหล่าใด อันเป็นตถาคตภาษิต อันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็นโลกุตตระประกอบด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเล่าเรียน. พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว ก็สอบถามซึ่งกันและกัน ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้. เธอเหล่านั้น เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้ หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่าง ๆ ได้. <O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ปฏิปุจฉาวินีตาปริสาโนอุกกาจิตวินีตา.<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แลบริษัท ๒ จําพวกนั้น . ภิกษุ ท. ! บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้น คือ บริษัทปฏิปุจฉาวินีตาปริสาโน - อุกกาจิตวินีตา ( บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป : ไม่อาศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป ) แล. - ทุก. อํ. ๒๐/๙๑/๒๙๒.<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ระวัง<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    6. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่ทรงบัญญัติไว้<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ภิกษุ ท. ! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติ ไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น. สตฺตก. อํ. ๒๓/๒๑/๒๑.<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    อย่าหลง<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    7. สำนึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้น ถึงแม้จะเป็นพระอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ภิกษุ ท. ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้ เป็นมรรคที่กล่าวกันแล้ว ตถาคตเป็นมัคคัญญู ( รู้มรรค ) เป็นมัคควิทู ( รู้แจ้งมรรค ) เป็นมัคคโกวิโท ( ฉลาดในมมรค ). <O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ภิกษุ ท. ! ส่วน สาวกทั้งหลายในกาลนี้ เป็นมัคคานุคา ( ผู้เดินตามมรรค ) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมาย ที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์. ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๑/๑๒๕.<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    คงคำสอน<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    8. ทรงตรัสไว้ว่าให้ทรงจำบทพยัญชนะและคำอธิบาย อย่างถูกต้อง อีกทั้งขยันถ่ายทอดบอกสอนกันต่อ ๆ ไป<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ภิกษุ ท. ! พวกภิกษุเล่าเรียนสูตร อันถือกันมาผิด ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันผิด ; เมื่อบทและพยัญชนะใช้กันผิดแล้ว แม้ความหมายก็มีนัยอันคลาดเคลื่อน. ภิกษุ ท.! นี้ มูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือน จนเสื่อมสูญไป <O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ภิกษุ ท. ! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่วในหลักพระพุทธวจนะ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ( แม่บท ). ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เอาใจใส่บอกสอนใจความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่น ๆ ; เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับดับไป สูตรทั้งหลาย ก็เลยขาดผู้เป็นมูลราก ( อาจารย์ ) ไม่มีที่อาศัยสืบไป. ภิกษุ ท. ! นี้ มูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือน จนเสื่อมสูญไป.จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๘/๑๖๐<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    ป้องกัน<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    9. ทรงบอกวิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในคำสอน ( อันเกิดจาก จำผิด อธิบายผิด ความลางเลือน ความบิดเบือนไปจากเดิม ว่าต้องทำอย่างไร )<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุในธรรมวินัยนี้ จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าฟังมาแล้วได้รับมาแล้ว เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา, ดังนี้, พวกเธออย่าเพิ่งรับรอง, อย่าเพิ่งคัดค้าน.เธอกำหนดเนื้อความนั้นให้ดีแล้วนำไปสอบสวนในสูตร นำไปเทียบเคียงในวินัย, ถ้าลงกันไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ พึงแน่ใจว่า นั้นไม่ใช่คำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน ภิกษุรูปนั้นจำมาผิด, พวกเธอพึงทิ้งคำเหล่านั้นเสีย; ถ้าลงกันได้ เทียบเคียงกันได้ พึงแน่ใจว่า นั่นเป็นคำของพระผู้มีพระภาคเจ้าแน่แล้ว ภิกษุรูปนั้นจำมาอย่างดีแล้ว, พวกเธอพึงรับเอาไว้. นี่เป็นมหาปเทส ข้อที่หนึ่ง,<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ( ข้อต่อไปความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่คำอ้าง, ข้อที่สองอ้างว่า รับฟังมาจากสงฆ์ พร้อมทั้งเถระหัวหน้า เป็นพหุสูตอยู่ในอาวาสโน้น ๆ , ข้อที่สามรับฟังมาจากพวกเถระ พหุสูต ในอารามโน้น ๆ , ข้อที่สี่รับฟังมาจากพวกเถระพหุสูต พักอยู่อาศัยอยู่ในอาวาสโน้น ๆ. แล้วทรงแสดงศีล สมาธิ - ปัญญา โดยนัยเดียวกับที่สวนอัมพลัฏฐิกาอีกเป็นอันมาก ). มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐/๑๔๔/๑๑๒<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    ————————————--------------<O:p</O:p
    อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่าธรรมวินัยของพวกเรามีพระศาสดาล่วงลับไปเสียแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา ดังนี้. อานนท์!พวกเธออย่าคิดดังนั้น. อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้วบัญญัติแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นองค์ศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาลที่เราล่วงลับไปแล้ว.<O:p</O:p
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 เมษายน 2010
  12. koymoo

    koymoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    2,066
    ค่าพลัง:
    +7,067
    โมทนาค่ะ
     
  13. 파사라

    파사라 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2010
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +35
    ขออนุโมทนาสาธุค่ะ
     
  14. โยมฝน

    โยมฝน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,238
    ค่าพลัง:
    +7,780
    โมทนาค่ะ
    เป็นปประโยชน์เหลือเกิน
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,420
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    อนุโมทนาสาธุค่ะ
    ขอบพระคุณในธรรมทานค่ะ
     
  16. Tirkkk

    Tirkkk สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +0
    อนุโมทนา สาธุ
     
  17. พระประดับ

    พระประดับ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +35
    เจตนาในกุศลกรรมนี้ขอให้ท่านได้ดวงตาเห็นธรรมด้วยเทอญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...