เสียงธรรม อาการวัตตาสูตร

ในห้อง 'บทสวดมนต์' ตั้งกระทู้โดย paang, 24 มกราคม 2008.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงบทพระอาการวัตตาสูตรว่า อานิสงส์ดังนี้

    จะพ้นจากภัย ๓๐ ประการคือภัยอันเกิดแต่ งูพิษ สุนัขป่า สุนัขบ้าน โคบ้าน และโคป่า กระบือบ้านและกระบือเถื่อน

    พยัคฆะ หมู เสือ สิงห์ และภัยอันเกิดแต่คชสารอัสดรพาชี จตุรงคชาติของพระราชา ผู้เป็นจอมของ

    นรชน ภัยอันเกิดแต่น้ำและเพลิงเกิดแต่มนุษย์และอมอุษย์ภูตผีปิศาจเกิดแต่อาชญาของแผ่นดินเกิดแต่

    ยักษ์กุมภัณฑ์ และคนธรรพ์อารักขเทวตา เกิดแต่มาร ๕ ประการที่ผลาญให้วิการต่าง ๆ เกิดแต่วิชาธร

    ผู้ทรงคุณวิทยากรและภัยที่จะเกิดแต่มเหศวรเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกรวมเป็นภัย ๓๐ ประการ

    อันตรธานพินาศไป ทั้งโรคภัยที่เสียดแทงอวัยวะน้อยใหญ่ ก็จะวินาศเสื่อมคลายหายไปด้วยอำนาจ

    เคารพนับถือในพระอาการวัตตาสูตรนี้แล ดูกรสารีบุตรบุคคลผู้นั้นเมื่อยังท่องเที่ยวอยู่ในสังสรวัฏฏ์ จะเป็นผู้มีปัญญาละเอียดสุขุม มีชนมายุยืนยงคงทนนาน จนเท่าถึงอายุไขยเป็นกำหนดจึงตายจะตายด้วยอุปัททวันอันตราย นั้นหามิได้ ครั้นเมื่อสิ้นชีพแล้วจะได้ไปอุบัติขึ้นบนสวรรค์ร่างกายก็จะมีฉวีวรรณอัน
    ผ่องใจดุจทองคำธรรมชาติ จักษุประสาทก็จะรุ่งเรืองงามมองดูได้ไกลมิได้วิปริต จะได้เป็นพระอินทร์ ๓๖ กัลปเป็นประมาณ จะได้สมบัติพระยาจักรพรรดิราชาธิราช ๑๖ กัลป คับครั่งไปด้วยรัตนะ ๗ ประการก็ด้วยอานิสงส์ที่ได้สวดสาธยายอยู่เนืองนิตย์ “ทุคฺคตึ โส น คจฺฉติ” แม้แต่สดับฟังท่านอื่น
    เทศนา ด้วยจิตประสันนาการเลื่อมใสก็ไม่ไปสู่ทุคติตลอดยืดยาวนานถึง ๙๐ แสนกัลป์

    นะโม ตัสสะ ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( 3 จบ )
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะคะเห วิหะระติ คิชฌะกูเฏ ปัพพะเต
    เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ สัพพะสัตตานัง พุทธะคุโณ ธัมมะคุโณ สังฆะคุโณ
    อายัสมา อานันโท อะนุรุทโธ สารีปุตโต โมคคัลลาโน
    มะหิทธิโก มะหานุภาเวนะ สัตตานัง เอตะทะโวจะฯ

    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง
    อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
    อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
    อิติปิ โส ภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ
    อิติปิ โส ภะคะวา ภะคะวาติ
    ( พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม จบวรรคที่ 1 )

    อิติปิ โส ภะคะวา อะภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะณิธานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ชุตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
    ( อะภินิหาระวัคโค ทุติโย จบวรรคที่ 2 )

    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะหาสิริ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริณามะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน
    ( คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโย จบวรรคที่ 3 )

    อิติปิ โส ภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุตโถ จบวรรที่ 4 )

    อิติปิ โส ภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นิพเพธิกะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
    ( มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม จบวรรคที่ 5 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ขันติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะธิฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุเปกขา ปาระมิสัมปันโน
    ( ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ จบวรรคที่ 6 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะภิญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิมุตติญาณะทัสสะนะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม จบวรรคที่ 7 )

    อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิปัสสะนาญาณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อิทธิวิธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะระจิตตะปะริยะญาณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    ( วิชชาวัคโค อัฏฐะโม จบวรรคที่ 8 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริญญาปะหานะ สัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ปะริญญาวัคโค นะวะโม จบวรรคที่ 9 )

    อิติปิ โส ภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัมมัปปะธานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะหาปุริสะกิริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
    ( โพธิปักขิยะธัมมะวัคโค ทะสะโม จบวรรคที่ 10 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัตตานังนานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อินทรียะปะโรปะริยัตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จุตูปะปาตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ทะสะพะละญาณะวัคโค เอกาทะสะโม จบวรรคที่ 11 )

    อิติปิ โส ภะคะวา โกฏิสะหัสสานังปะโกฏิสะหัสสานัง หัตถีนัง พะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสะ หัสสานังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คุณะปาระมิสะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญาคุณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม จบวรรคที่ 12 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุสสาหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ถามะพะละวัคโค เตระสะโม จบวรรคที่ 13 )

    อิติปิ โส ภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปาระมิอุปะปาระมิ ปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
    ( จะริยาวัคโค จะตุททะสะโม จบวรรคที่ 14 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ ทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ อะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อายะตะเนสุ ติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐาระสะธาตู สุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิปะริณามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ลักขะณะวัคโค ปัญจะทะสะโม จบวรรคที่ 15 )

    อิติปิ โส ภะคะวา คะตัฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คะตัฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วะสีตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วะสีตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( คะตัฏฐานะวัคโค โสฬะสะโม จบวรรคที่ 16 )

    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะปะเวณิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะปะเวณิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุพรหมะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาวะระณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวะชิระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ปะเวณิวัคโค สัตตะระสะโม จบ 17 วรรค บริบูรณ์ )


    **************************************

    (คำแปล) พระสูตรว่าด้วยพระอาการที่เป็นไปแห่งพระพุทธเจ้า

    คำแปล พระพุทธคุณวรรคที่1 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงครอบงำความทุกข์ได้ ทรงไม่มีความลับ ทรงบริสุทธิ์ หมดจดดี เป็นผู้ไกลจากกิเลส ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น

    ทรงฝึกฝนจิตจนรู้ชอบ ทรงปฏิบัติจิตจนเห็นแจ้งด้วยตนเอง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

    ทรงสมบูรณ์พร้อมด้วยวิชชา การแสดงคุณค่าของจิตให้ปรากฎจรณะ เครื่องอาศัยให้วิชชาได้ปรากฎ

    ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ทรงดำเนินไปในทางดี คือ อริยมรรค-ปฏิปทา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ทรงรู้แจ้งโลก

    เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ทรงบังคับยานขึ้นจากหล่มได้อย่างยอดเยี่ยม
    เป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงนำเวไนยนิกร ออกจากแดนมนุษย์และแดนเทพ

    เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น ทรงปฏิบัติจิตจนรู้แจ้งจิต

    ทรงพลังการฝึกปรืออันถูกชอบเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม
    พระผู้ทรงธรรมเป็นผู้จำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์

    คำแปลอภินิหารวรรคที่2 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือ พระบารมีเกี่ยวกับอภินิหาร พระบารมีเกี่ยวกับอัชฌาสัยอันโอฬาร

    พระบารมีเกี่ยวกับพระปณิธาน พระบารมีเกี่ยวกับพระมหากรุณา พระบารมีเกี่ยวกับพระญาณ

    พระบารมีเกี่ยวกับการประกอบความเพียร พระบารมีเกี่ยวกับข้อยุติของข้องใจ พระบารมีเกี่ยวกับจิตใจ

    โชติช่วงชัชวาลย์ พระบารมีลงสู่พระครรภ์ พระบารมีดำรงอยู่ในพระครรภ์
    คำแปล คัพภวุฏฐานวรรคที่3 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีอยู่รอดจากพระครรภ์ พระบารมีปราศจากมลทินในการคลอด พระบารมี

    มีพระชาติอันอุดม พระบารมีที่ทรงดำเนินไป พระบารมีทรงพระรูปอันยิ่งใหญ่ พระบารมีทรงมีผิวพรรณงาม

    พระบารมีทรงมิ่งขวัญอันยิ่งใหญ่หลวง พระบารมีเจริญวัยขึ้น พระบารมีผันแปร พระบารมีในการคลอดสำเร็จ

    คำแปล อภิสัมโพธิวรรคที่4 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการตรัสรู้เองยิ่ง พระบารมีในกองศีล พระบารมีในกองสมาธิ

    พระบารมีในกองปัญญา พระบารมีในมหาปุริสลักขณะสามสิบสอง

    คำแปล มะหาปัญญาวรรคที่5 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในมหาปัญญา พระบารมีในปัญญาอันหนาแน่น พระบารมีในปัญญาอันร่าเริง

    พระบารมีในปัญญาอันแล่นเร็ว พระบารมีในปัญญาอันกล้าแข็ง พระบารมีในดวงตาทั้งห้า คือ ตาเนื้อ ทิพพจักษุ

    ปัญญาจักษุ ธรรมจักษุ พระบารมีในการทำพุทธอัฏฐารส
    คำแปล ปาระมิวรรคที่6 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการให้ปัน พระบารมีในการรักษากาย วาจา ใจ ให้เป็นปกติ

    พระบารมีในการเว้น ขาดจากความประพฤติแบบประชาชนผู้ครองเรือน พระบารมีกำกับศรัทธาคือปัญญา

    พระบารมีในความกล้าผจญทุกสิ่งด้วยความมีสติความพากเพียร พระบารมีในความต้องการเป็นพุทธะด้วยความมีสัจจะ

    ความจริงใจต่อตนเองและผู้อื่น พระบารมีในการตั้งจิตไว้ในฐานอันยิ่ง พระบารมีในความเมตตา

    พระบารมีในความอดทน พระบารมีในความวางใจตนได้
    คำแปล ทสบารมีวรรคที่7 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีสิบขั้นต้นบำเพ็ญด้วยวัตถุสิ่งของ
    พระบารมีสิบขั้นกลางบำเพ็ญด้วยอวัยวะร่างกาย พระบารมีปรมัตถ์สิบขั้นสูงบำเพ็ญด้วยชีวิต

    พระบารมีสามสิบทัศสมบูรณ์ พระบารมีในฌาน และองค์ฌานนั้นๆ พระบารมีทรงญาณอภิญญายิ่ง พระบารมี

    มีสติรักษาจิต พระบารมีทรงสมาธิมั่นคง พระบารมีในวิมุตติความหลุดพ้น
    พระบารมีที่รู้เห็นความหลุดพ้นของจิต

    คำแปล วิชชาวรรคที่8 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในวิปัสสนา วิชชาในวิชชา3 และจระณะ15 พระบารมีในวิชชามโนมยิทธิ

    พระบารมีในอิทธิวิชชา พระบารมีในทิพพโสตวิชชา พระบารมีในปรจิตตวิชชา พระบารมีในปุพพนิวาสานุสสติวิชชา

    พระบารมีในทิพพจักขุวิชชา พระบารมีในจรณวิชชา พระบารมีในวิชชาจรณธรรมวิชชา พระบารมีในอนุปุพพวิหารเก้า

    คำแปล ปริญญาณวรรคที่9 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมในพระบารมี คือ พระบารมีกำหนดรู้ทุกข์ พระบารมีละเหตุให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหา

    พระบารมีทำจิตให้แจ่มแจ้ง คือ นิโรธ พระบารมีอันเป็นมรรคภาวนา
    พระบารมีในการกำหนดรู้การละการทำให้แจ้งและการอบรมให้มีให้เป็น พระบารมีในธรรมสัจจะทั้งสี่

    พระบารมีในปฏิสัมภิทาญาณ

    คำแปล โพธิปักขิยะวรรคที่10 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในโพธิปักขิยธรรม พระบารมี มีพระปัญญาในสติปัฏ-ฐาน พระบารมี

    มีพระปัญญาในสัมมัปปธาน พระบารมี มีพระปัญญาในอิทธิบาท พระบารมี มีพระปัญญาในอินทรีย์หก พระบารมี

    มีพระปัญญาในพละห้า พระบารมี มีพระปัญญาในโพชฌงค์เจ็ด พระบารมี มีพระปัญญาในมรรคแปด

    พระบารมีในการทำแจ้งในมหาบุรุษ พระบารมีในอนาวรณวิโมกข์ พระบารมีในวิมุตติอรหัตตผล

    คำแปล ทศพลญาณวรรคที่11 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระทศพลญาณบารมีอันได้แก่ พระบารมีรู้ฐานะและอฐานะ

    พระบารมีรู้วิบากโดยฐานะโดยเหตุ พระบารมีรู้ปฏิปทายังสัตว์ไปสู่ภูมิทั้งปวง
    รู้โลกมีธาตุอย่างเดียวและมากอย่าง พระบารมีรู้อธิมุตของสัตว์ทั้งหลาย
    พระบารมีรู้อินทรีย์ยิ่งและหย่อนของสัตว์ พระบารมีรู้ความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วเป็นต้น

    แห่งธรรมมีฌานเป็นต้น พระบารมีรู้ระลึกชาติได้ พระบารมีรู้จุติและอุบัติของสัตว์

    พระบารมีรู้การกระทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้
    คำแปล กายพลวรรคที่12 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีทรงกำลังช้างทั้งหลายตั้งพันโกฏิพันปโกฏิ

    พระบารมีทรงพลังแห่งบุรุษตั้งหมื่นคน พระบารมีหยั่งรู้จักขุห้า คือ ตาเนื้อ ตาทิพย์ ตาญาณ ตาปัญญา

    ตาธรรม พระบารมีรู้การทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีในสีลคุณ พระบารมีแห่งคุณค่าและสมาบัติ

    คำแปล ถามพลวรรคที่13 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่เป็นกำลังเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีกำลังเรี่ยวแรง

    พระบารมีที่เป็นพลังภายใน พระบารมีเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีรู้กำลังเรี่ยวแรง พระบารมีที่เป็นพลังภายใน

    พระบารมีรู้กำลังภายใน พระบารมีไม่มีเครื่องชั่ง พระบารมีญาณ พระบารมีอุตสาหะ


    พระบารมีการแสวงหาทางตรัสรู้

    คำแปล จริยาวรรคที่14 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่ทรงประพฤติ พระบารมีรู้การที่ทรงประพฤติ

    พระบารมีที่ทรงประทานให้เป็นประโยชน์แก่ชาวโลก(สังคมโลก) พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติแก่ชาวโลก

    พระบารมีที่ควรประพฤติแก่ญาติวงศ์ พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่พระญาติพระวงศ์

    พระบารมีที่เป็นพุทธ-จริยา พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติโดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า พระบารมีครบทั้งสามอย่าง

    พระบารมีครบทั้งบารมีอุปบารมีและปรมัตถบารมี

    คำแปล ลักขณวรรคที่15 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีเห็นอนิจจลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้าพระบารมีเห็นทุกขลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีเห็นอนัตตลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้าพระบารมีรู้ลักษณะสามในอายตนะทั้งหลาย พระบารมีรู้ลักษณะสามในธาตุสิบแปดทั้งหลายพระบารมีรู้ลักษณะอันแปรปรวนไป

    คำแปล คตัฏฐานวรรคที่16 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในสถานที่ไปแล้ว พระบารมีหยั่งรู้สถานที่ไป

    พระบารมีอยู่จบพรหมจรรย์ แล้วพระบารมีหยั่งรู้ว่าอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว พระบารมีในการตระหนัก

    พระบารมีรู้ในการตระหนัก พระบารมีสำรวมระวังอินทรีย์ พระบารมีรู้ในการสำรวมระวังอินทรีย์

    คำแปล ปเวณิวรรคที่17 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในพุทธประเวณี พระบารมีรู้ถึงพุทธประเวณีพระบารมีในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีรู้ในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีการอยู่อย่างประเสริฐพระบารมีรู้อย่างไม่มีอะไรกั้นกาง พระบารมีรู้อย่างไม่มีขอบเขต พระบารมีรู้สรรพสิ่งทั้งปวงพระบารมีวชิรญาณประมาณยี่สิบสี่โกฏิกัปป์หนึ่งร้อย

    **************************************

    หลวงพ่อใหญ่(หลวงปู่สังวาลย์)เล่าให้ฟัง

    วันพระแรม 8 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม
    บทอาการวัตตาสูตรนี่นะ เทวดาจะหมดอายุแล้วจะต้องจุติ เสียใจก็เที่ยวถามหมู่เทพเทวดาทั้งหลายเทวดาผู้ใหญ่บอกให้เอาอาการวัตตาสูตรมาสวด สามารถอายุยืนได้ เราอยากจะช่วยรักษาบทสวดนี้เอาไว้ ไม่ให้สูญหาย พิมพ์ตัวโตๆนะ จะได้สวดกัน ก่อนนี้เราอยู่ในป่าช้า แรมค่ำหนึ่งหรือสองค่ำ เดือนยังไม่ทันพ้นยอดไม้ เรากำลังนั่งสมาธิอยู่ฝันว่ามีคนมาสวดอาการวัตตาสูตรให้กับเรา บอกจะป้องกันไว้ให้ ป่าช้าก็สะท้านหวั่นไหวเหมือนพายุพัดอึกทึกเหมือนวัวควายมันกำลังวิ่งมา หมาที่อยู่ที่นั่นมันก็เห่าแบบกลัวเลยนะ

    แต่เราก็ไม่หวั่นไหวเลย นั่งเฉย พอรุ่งเช้าเราไปดูก็เห็นกิ่งยางกับต้นไม้ในป่าช้าหักจริงๆ พออีก 2 วันก็ฝันว่าให้เราท่องมนต์บทนี้ ทั้งๆ ที่เราสวดไม่ได้ พอรุ่งขึ้นในบิณฑบาตก็มีคนมาใส่บาตร

    เอาบทสวดนี้มาให้กับเรา เราก็เลยสวด สวดจนขึ้นใจ แบบท่องปาติโมกข์ พอได้กรรมฐาน เลยไม่ได้สวดเลย

    ท่องบทนี้ไปที่ไหนไม่อดอยากนะ ใครท่องแล้วไปไหนจะไม่อดอยาก จะไม่ตายโหง หมาบ้าควายบ้าจะไม่ทำลายได้มีอานุภาพดี

    พิมพ์ตัวโตๆ นะ พิมพ์สีอะไร แบบไหนก็ดีทั้งนั้น สำหรับเราไม่มีอะไรไม่ดี ทุกอย่างดีหมด


    **************************************


    อานิสงส์พระอาการวัตตาสูตร

    เมื่อครั้งพุทธกาล

    พระสารีบุตรได้ปริวิตกในจิตว่าจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ไม่รู้จักบารมีแห่งพระพุทธเจ้าได้อย่างไร

    จึงได้กราบทูลถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า มีธรรมอันใดเล่า ที่จะลึกสุขุม

    จะห้ามเสียซึ่งหมู่อันธพาลพังกระทำบาปกรรม ทั้งปวงไม่ให้ตกไปในนรกอเวจี
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงบทพระอาการวัตตาสูตรว่า อานิสงส์ดังนี้

    ผู้ใดท่องได้ใช้สวดมนต์ปฏิบัติได้เสมอ มีอานิสงส์มากยิ่งนักหนา แม้จะปรารถนาพระพุทธภูมิ พระปัจเจกภูมิ

    พระอัครสาวกภูมิ พระสาวิกาภูมิ จะปรารถนามนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ นิพพานสมบัติ นิพพานสมบัติ

    ก็ส่งผลให้ได้สำเร็จสมความปรารถนาทั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้เป็นพระพุทธเจ้าปัญญามากเพราะเจริญพระพุทธมนต์บทนี้ ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้เจริญได้ทุกวันจะเห็นผลความสุขขึ้นเองไม่ต้องมีผู้อื่นบอกอานิสงส์ แสดงว่าผู้ที่เจริญพระสูตรนี้ ครั้งหนึ่ง จะคุ้มครองภัยอันตราย 30

    ประการได้ 4 เดือน ผู้ใดเจริญพระสูตรนี้อยู่เป็นนิจ บาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดาน

    เว้นแต่กรรมเก่าตามมาทันเท่านั้น ผู้ใดอุตสาหะ ตั้งจิตตั้งใจเล่าเรียนได้ สวดมนต์ก็ดีบอกเล่าผู้อื่นให้เลื่อมใสก็ดี เขียนเองก็ดี กระทำสักการะบูชาเคารพนับถือ พร้อมทั้งไตรทวารก็ดี

    ผู้นั้นจะปรารถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จทุกประการ ท่านผู้มีปรีชาศรัทธาความเลื่อมใสจะกระทำซึ่งอาการวัตตาสูตร

    อันจะเป็นที่พักผ่อน พึ่งพาอาศัยในวัฏฏสงสารดุจเกาะและฝั่งเป็นที่อาศัยแห่งชนทั้งหลายผู้สัญจรไปมาในชลสาครสมุทรทะเลใหญ่

    ฉะนั้น อาการวัตตาสูตรนี้ พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ปรินิพพานไปแล้วก็ดี
    พระตถาคตพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันก็ดี มิได้สละละวางทิ้งร้างให้ห่างเลยสักพระองค์เดียว

    ได้ทรงพระเจริญตามพระสูตรนี้มาทุกๆ พระองค์

    จึงมีคุณานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสูตรอื่นไม่มีธรรมอื่นจะเปรียบให้เท่าถึงเป็นธรรมอันระงับไปโดยแท้ในอนาคตกาล

    ถ้าบุคคลใดทำปาณาติบาต คือ ปลงชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไปเป็นวัชร กรรมที่ชักนำให้ปฏิสนธิในนรกใหญ่ทั้ง 8 ขุม

    คือ สัญชีพนรก อุสุทนรก สังฆาตนรก โรรุวนรก ตาปนรก มหาตาปนรก อเวจีนรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน กำเนิดไซร

    ถ้าได้ท่องบ่นทรงจำจนคล่องปากก็จะปิดบังห้ามกันไว้ไม่ให้ไปสู่ทุคติกำเนิดก่อนโดยกาลนาน 90 แสนกัลป์

    ผู้นั้นระลึกตามเนืองๆ ก็จะสำเร็จไตรวิชชาและอภิญญา 6 ประการ ยังทิพจักษุญาณให้บริสุทธิ์ดุจองค์มเหสักข์เทวราชมีการรีบร้อนออกจากบ้านไป จะไม่อดอาหารในระหว่างทางที่ผ่านไป

    จะเป็นที่พึ่งอาศัยแห่งชนทั้งหลายในเรื่องเสบียงอาหาร ภัยอันตราย ศัตรู หมู่ปัจจามิตรไม่อาจจะมาครอบงำย่ำยีได้ นี้เป็น ทิฏฐธรรมเวทนียานิสงส์ปัจจุบันทันตาในสัมปรายิกานิสงส์ ที่จะเกื้อหนุนในภพเบื้องหน้านั้น

    แสดงว่าผู้ใดได้พระสูตรนี้เมื่อสืบขันธประวัติในภพเบื้องหน้า จะบริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ

    หิรัณยรัตนมณีเหลือล้นขนขึ้นรักษาไว้ที่เรือนและที่คลังเป็นต้น ประกอบด้วยเครื่องอลังการภูษิตพรรณต่างๆ

    จะมีกำลังมากแรงขยันต่อยุทธนาข้าศึกศัตรูหมู่ไพรีไม่ย่อท้อ
    ทั้งจะมีฉวีวรรณผ่องใสบริสุทธิ์ดุจทองธรรมชาติ

    มีจักษุประสาทรุ่งเรืองงามไม่วิปริตแลเห็นทั่วทิศที่สรรพรูปทั้งปวงและจะได้เป็นพระอินทร์ปิ่นพิภพดาวดึงส

    ์อยู่ 36 กัลป์ โดยประมาณและจะได้เป็นบรมจักรพรรดิราชผู้เป็นอิสระในทวีปใหญ่ 4 มีทวีปน้อย 2000

    เป็นบริวารนานถึง 26 กัลป์ จะถึงพร้อมด้วยปราสาทอันแล้วไปด้วยทอง ควรจะปรีดา บริบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ

    เป็นของเกิดสำหรับบุญแห่งจักรพรรดิราช จะตั้งอยู่ในสุขสมบัติโดยกำหนดกาลนาน

    ยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสารอานิสงส์คงอภิบาลตามประคองไปให้มีปัญญาฉลาดเฉียบแหลมว่องไวสุขุมละเอียดลึกซึ้ง

    อาจรู้ทั่วถึงอรรถธรรมด้วยกำลังปรีชาญาณอวสานที่สุดชาติก็จะได้บรรลุพระนิพพาน

    อนึ่งถ้ายังไม่ถึงพระนิพพานก็จะไม่ไปบังเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 มี นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน

    กำเนิดและมหานรกใหญ่ทั้ง 8 ขุมช้านานถึง 90 แสนกัลป์ และจะไม่ได้ไปเกิดในตระกูลหญิงจัณฑาลเข็ญใจ

    จะไม่ไปเกิดในตระกูลมิจฉาทิฏฐิ จะไม่ไปเกิดเป็นหญิง จะไม่ไปเกิดเป็นอุตโตพยัญชนก อันมีเพศเป็น 2 ฝ่าย

    จะไม่ไปเกิดเป็นบัณเฑาะก์ เป็นกระเทยที่เป็นอภัพบุคคล บุคคลผู้นั้นเกิดในภพใดๆ

    ก็จะมีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์ จะมีรูปทรงสัณฐานงามดีดุจทองธรรมชาติ
    เป็นที่เลื่อมใสแก่มหาชนผู้ได้ทัศนาไม่เบื่อหน่าย จะเป็นผู้มีอายุคงทนจนถึงอายุขัยจึงจะตาย

    จะเป็นคนมีศีลศรัทธาธิคุณบริบูรณ์ในการบริจาคทานไม่เบื่อหน่าย จะเป็นคนไม่มีโรค-พยาธิเบียดเบียน

    สรรพอันตรายความจัญไรภัยพิบัติ สรรพอาพาธที่บังเกิดเบียดเบียนกายก็จะสงบระงับดับคลายลงด้วยคุณานิสงส์

    ผลที่ได้สวดมนต์ ได้สดับฟังพระสูตรนี้ด้วยประสาทจิตผ่องใส

    เวลามรณสมัยใกล้จะตายไม่หลงสติจะดำรงสติไว้ในทางสุคติ เสวยสุขสมบัติตามใจประสงค์

    นรชนผู้ใดเห็นตามโดยชอบซึ่งพระสูตรเจือปนด้วยพระวินัยพระปรมัตถ์มีนามบัญญัติชื่อว่า อาการวัตตาสูตร

    มีข้อความดังได้แสดงมาด้วยประการฉะนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 13538.mp3
      ขนาดไฟล์:
      9.5 MB
      เปิดดู:
      31,633
  2. อ_เอกวัฒน์

    อ_เอกวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    279
    ค่าพลัง:
    +270
    ขออนุโมทนาสาธุ ในธรรมทานนี้ ขอบุญกุศลทั้งหลายจงบันดาลให้ท่านพ้นทุกจากวัฏสงสารโดยเร็วเทอญ
     
  3. ixoxikr

    ixoxikr Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +45
    ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

    ขออนุโมทนาบุญด้วยนะคะ สาธุ
     
  4. อรวี จุฑากรณ์

    อรวี จุฑากรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +189
    ขออนุโทนาสาธุ
     
  5. kongking

    kongking Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +33
    ขอบคุณ ขออนุโมทนา ด้วย ครับ
     
  6. dangcarry

    dangcarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +4,307
    ขออนุโมทนาบุญ มา ณ โอกาสนี้
     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    โมทนาด้วยครับ บทนี้ผมใช้ประจำ
     
  8. NNnight

    NNnight Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    172
    ค่าพลัง:
    +28
    อนุโมทนา ครับ
     
  9. รักจันทร์

    รักจันทร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    554
    ค่าพลัง:
    +311
    โมทนาบุญครับ สาธุ...
     
  10. meeni04

    meeni04 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    297
    ค่าพลัง:
    +176
    ขออนุโมทนาสาธุครับ
     
  11. tui s,luangkhot

    tui s,luangkhot บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบใจ ขออนุโมทนา ด้วย เดี
     
  12. bortong

    bortong สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2009
    โพสต์:
    134
    ค่าพลัง:
    +24
    anumotana sa tu
     
  13. yohtls

    yohtls เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    336
    ค่าพลัง:
    +309
    ขออนุโมทนาสาธุครับ จะพยายามสวดให้ได้ครับ
     
  14. natspdo

    natspdo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,041
    ค่าพลัง:
    +1,505
    อนุโมทนาครับ สำหรับบทสวดมนต์อาการวัตตาสูตร
     
  15. tayanun

    tayanun สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +8
    ขออนุโมทนาสาธุด้วยค่ะ
     
  16. pugg

    pugg สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +0
    สาธุขออนุโมทนาคับ
     
  17. forestgirl

    forestgirl สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +9
    อนุโมทนา สาธุ
     
  18. Maysa&Tonkhao

    Maysa&Tonkhao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +144
    อนุโมทนา สาธุ
     
  19. pawang

    pawang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +193
    ขอขอบคุณคุณ paang ที่ได้นำบทสวดอาการวัตตาสูตร และอานิสงส์การสวดบทอาการวัตตาสูตรมาบอกกล่าวกันครับ

    จะพยายามท่องจนจำได้ครับ

    อนุโมทนาครับ
     
  20. pawang

    pawang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +193
    คัดลอกมาจาก http://www.84000.org

    อานิสงส์อาการวัตตาสูตร

    ......ในสมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฎบรรพตคีรี ใกล้ราชธานี
    ราชคฤห์มหานคร ในสมัยครั้งนั้นพระสารีบุตรพุทธสาวก เข้าไปสู่ที่เฝ้าถวายอภิวาทโดยเคารพแล้วนั่ง
    ในที่ควรส่วนข้างหนึ่งเล็กแลดูสหธัมมิกสัตว์ทั้งหลาย ก็เกิดปริวิตกในใจคิดถึงกาลต่อไปภายหน้าว่า
    “อิเม โข สตฺตา ฉินฺนมูลา อตีตสิกฺขา” สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ที่หนาไปด้วยกิเลสมีอวิชชาหุ้มห่อไว้ มี
    สันดานอันรกชัฏด้วยอกุศล คือ โลภะ โทสะ โมหะ ชื่อว่ากุศลมูลขาดแล้ว มีสิกขาอันละเสียแล้ว เที่ยง
    ที่จะไปสู่อบายทั้ง ๔ คือ นรก เปรตวิสัย อสุรกายและสัตดิรัจฉาน เมื่อสัตว์หนาไปด้วยอกุศล จะนำตน
    ให้ไปไหม้อยู่ในอบายภูมิตลอดกาลยืดยาวนาน ธรรมเครื่องกระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า คือบารมี
    ๓๐ ทัศ มีอยู่จะห้ามกันเสียได้ซึ่งจตุราบายทุกข์ทั้งมวล และธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ในพระสูตร
    พระวินัย พระปรมัตถ์ล้วนเป็นธรรมที่จะนำให้สัตว์พ้นจากสังสารทุกข์ทั้งนั้น เมื่อปริวิตกเช่นนี้เกิดมีแก่
    พระธรรมเสนาบดีพระสารีบุตรแล้ว ด้วยความเมตตากรุณาแก่ประชาชนทั้งหลายที่เกิดมาในสุดท้าย
    ภายหลังจะได้ปฏิบัติเป็นเครื่องป้องภัยในอบาย พระผู้เป็นเจ้าจึงยกอัญชลีกรถวายอภิวาทพระบรม
    โลกนาถเจ้า แล้วทูลถามว่าข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ “เย เกจิ ทุปฺปญฺญา ปถคฺคลา” บุคคลทั้ง
    หลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีปัญญายังหนาด้วยโมหะหารู้จักพุทธกรณธรรม คือบารมีแห่งพระพุทธเจ้านั้น
    ไม่เพราะเป็นคนอันธพาล กระทำซึ่งกรรมอันเป็นบาปทั้งปวงด้วยอำนาจราคะ โทสะ โมหะ เข้าครอบ
    งำกระทำกรรมตั้งแต่เบาคือ ลหุกรรม จนกระทั่งกรรมหนักคือครุกรรม โดยไม่มีความกระดากอาย
    เบื้องหน้าแต่แตกกายทำลายขันธ์ จากชีวิตอินทรีย์แล้วจะไปเกิดในอเวจีนิรยาบาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
    เจ้าข้าผู้ประเสริฐ ธรรมอันสุขุมคัมภีรภาพสามารถปราบปรามห้ามเสียซึ่งสัตว์ทั้งหลาย มิให้ตกไปสู่
    นรกใหญ่จะมีอยู่หรือพระพุทธเจ้าข้า
    ในลำดับนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงอาการวัตตาสูตร
    กำหนดด้วยวรรค ๕ วรรค มีนวราทิคุณวรรค เป็นต้น จนถึงปารมีทัตตะวรรค เป็นคำรบ ๕
    คาถาอาการวัตตาสูตรนี้ มีอานุภาพยิ่งกว่าสูตรอื่น ๆ ในการที่ป้องกันภัยอันตรายแก่ผู้มาตาม
    ระลึกอยู่เนืองนิตย์ บาปกรรมทั้งปวงจะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดานได้ด้วยอำนาจอาการวัตตาสูตรนี้
    และบุคคลผู้ใดได้ฟังก็ดีได้เขียนเองก็ดี หรือได้จ้างท่านผู้อื่นเขียนให้ก็ดีได้ท่องทรงจำไว้ก็ดี ได้กล่าว
    สอนผู้อื่นก็ดี ได้สักการบูชาเคารพนับถือก็ดี ได้สวดมนต์ภาวนาอยู่เนือง ๆ ก็ดี ก็จะได้พ้นจากภัย ๓๐
    ประการคือภัยอันเกิดแต่ งูพิษ สุนัขป่า สุนัขบ้าน โคบ้าน และโคป่า กระบือบ้านและกระบือเถื่อน
    พยัคฆะ หมู เสือ สิงห์ และภัยอันเกิดแต่คชสารอัสดรพาชี จตุรงคชาติของพระราชา ผู้เป็นจอมของ
    นรชน ภัยอันเกิดแต่น้ำและเพลิงเกิดแต่มนุษย์และอมอุษย์ภูตผีปิศาจเกิดแต่อาชญาของแผ่นดินเกิดแต่
    ยักษ์กุมภัณฑ์ และคนธรรพ์อารักขเทวตา เกิดแต่มาร ๕ ประการที่ผลาญให้วิการต่าง ๆ เกิดแต่วิชาธร
    ผู้ทรงคุณวิทยากรและภัยที่จะเกิดแต่มเหศวรเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกรวมเป็นภัย ๓๐ ประการ
    อันตรธานพินาศไป ทั้งโรคภัยที่เสียดแทงอวัยวะน้อยใหญ่ ก็จะวินาศเสื่อมคลายหายไปด้วยอำนาจ
    เคารพนับถือในพระอาการวัตตาสูตรนี้แล ดูกรสารีบุตรบุคคลผู้นั้นเมื่อยังท่องเที่ยวอยู่ในสังสรวัฏฏ์ จะ
    เป็นผู้มีปัญญาละเอียดสุขุม มีชนมายุยืนยงคงทนนาน จนเท่าถึงอายุไขยเป็นกำหนดจึงตายจะตายด้วยอุ
    ปัททวันอันตราย นั้นหามิได้ ครั้นเมื่อสิ้นชีพแล้วจะได้ไปอุบัติขึ้นบนสวรรค์ร่างกายก็จะมีฉวีวรรณอัน
    ผ่องใจดุจทองคำธรรมชาติ จักษุประสาทก็จะรุ่งเรืองงามมองดูได้ไกลมิได้วิปริต จะได้เป็นพระอินทร์
    ๓๖ กัลปเป็นประมาณ จะได้สมบัติพระยาจักรพรรดิราชาธิราช ๑๖ กัลป คับครั่งไปด้วยรัตนะ ๗
    ประการก็ด้วยอานิสงส์ที่ได้สวดสาธยายอยู่เนืองนิตย์ “ทุคฺคตึ โส น คจฺฉติ” แม้แต่สดับฟังท่านอื่น
    เทศนา ด้วยจิตประสันนาการเลื่อมใสก็ไม่ไปสู่ทุคติตลอดยืดยาวนานถึง ๙๐ แสนกัลป์
     

แชร์หน้านี้

Loading...