วัฏสงสาร เราสามารถหลุดออกจากวงโคจรนี้ได้อย่างไรครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ์NLife, 15 พฤศจิกายน 2016.

  1. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    ออกตัวว่า ไม่ไช่พระนะครับ เป็นชาวบ้านปุถุชน


    ยกมาจาก 84000 โดยตรงครับในเครื่องหมาย" "

    "บาทพระคาถาว่า วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ความว่า บัดนี้ จิตของเราถึง คือเข้าไปถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว คือพระนิพพาน ด้วยสามารถแห่งอันกระทำให้เป็นอารมณ์"

    ตรงนี้ ผมว่าชาวบ้านทั่วไปที่อ่าน แปลว่า จิตได้ถึงสภาวะที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้แล้วเพราะความดับไปของตัณหา (ลากยาวถึง อวิชชา)

    ผมอ่านface book ที่แชร์กันว่า เคยมีหลายคนถามพระท่านหนึ่ง ว่าเมื่อนิพพานแล้ว จิตมันดับ ไม่มีจิตแล้ว แล้วมันจะไม่มีอะไร ใช่ไหม (แปลอย่างนี้เท่ากับตีความว่า นิพพาน คือ สภาวะที่ไม่ต่างกับตายแล้วสูญ)

    พระท่าน(ท่านเดียวนะครับ ผมไม่ออกนามท่านเพื่อลดปัญหาปรามาสหรือไม่ปรามาสเสีย) ท่านเขียนตอบทำนองให้เข้าใจสั้นๆ ง่ายๆ ได้ว่า ก็จิตนั้นแหละเข้านิพพาน

    ตอนนั้น ผมแย้งท่านนิดๆ ในใจว่า มัน ไม่มีมา ไม่มีไป ไม่มีเคลื่อน นะเพราะเคยอ่านมาหลายจุดว่า นิพพานคืออย่างนั้น

    กลับมาพิจารณาบาทคาถา

    วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ความว่า บัดนี้ จิตของเราถึง คือเข้าไปถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว คือพระนิพพาน

    เป็นคำตรัสอุทานของพระพุทธองค์โดยตรง

    ผมก็เห็นด้วยกับพระนะครับ จิตถึงสภาวะอันอะไรปรุงแต่งไม่ได้อีก ก็คือ นิพพาน

    จิต เข้าไปในนิพพาน ก็ไม่มีอะไรปรุงแต่งจิตได้อีก

    ผมจึงขอแย้งครับว่า

    จิต ก็คือ จิต นั้นแหละ ส่วนสัมปชัญญะ ญาณ เป็นกุศลธรรม ทั้งสาม เป็น สังขาร ครับ

    แต่เมื่อ สัมปชัญญะ ญาณเกิด จนดับอวิชชา หน้าที่เรือแพก็ไม่จำเป็นครับ ตรงวางไว้ที่ฝั่งสังขาร

    เรือแพ(สติ สัมปชัญญะ ญาณ และกุศลธรรมอื่นๆ ในการตรัสรู้) ส่งอะไรไปที่ฝั่งแดนนิพพาน (คิดแบบรูปธรรม) คือ ส่งจิตให้ถึงสภาวะที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้ คือ นิพพานครับ

    แต่จิตนั้น ไม่อาจเรียกว่า จิต เพราะถึงสภาวะที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้ อยู่ในฝั่งวิสังขารแล้ว สภาวะธรรมนั้นทำให้ ไม่อาจเรียกว่า จิต แล้วครับ ต้องเรียกว่า นิพพาน

    ผมว่าน่าจะตรงกับ คำตรัสอุทานในบทนี้ ครับ

    ผิดถูกเชิญตำหนิติเตียนได้ครับ ผมยังต้องศึกษาอีกมากครับ
     
  2. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    มันขึ้นอยู่ว่า สำนักไหน เอาคำว่าพระนิพพานไปใช้

    ในสำนักตน ทำให้ชื่อเหมือนกัน แต่สภาวะจิตต่างกัน...
     
  3. somkiatfem

    somkiatfem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2016
    โพสต์:
    324
    ค่าพลัง:
    +195
    เมื่อเห็นถึงสิ่งที่ดีกว่า เราก็จะเลิกจากสิ่งที่เลวกว่า

    ทุกข์ สุข คือ สมดุล ของ กาม กิเลสต่างๆ เพื่อให้ร่างกายทรงตัวได้ เเต่เมื่อพิจาราณาเเล้ว จะเห็นว่า ทุกข์มากกว่า

    ละ ทุกข์ เเละสุข ละ บุญ บาป เเละอารมณ์ในโลกธาตุ ทุกอย่างอันเป็นห่วงให้ เวียนว่ายตายเกิด ก็พ้น ไปสู้อารมณ์ของนิพพาน คือ ว่าง เฉย ทุกสิ่งเป็นไปตามกฏธรรมชาติ เราต้องเข้าใจเพราะเี่ราคือ หน่วยเล็กๆในธรรมชาติ อยู่ที่เราจะเลือกอะไร
     
  4. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ครับ พอดียังไม่บรรลุธรรม เลยไม่เข้าใจ
    ขอถามท่านnilakarn
    เวลาบรรลุธรรมแล้ว สภาวะจิตเป็นอย่างไร?
     
  5. ไม่มีเพศ

    ไม่มีเพศ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    134
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +66
    วิปัสสนาคับผม สั้นๆแต่กว่าจะถึงแต่ละขั้นยากแสนยาก แค่ข่มใจให้รักษาศีลก็ยากแล้ว
     
  6. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228

    .....ผมก็เหมือนคุณนั้นแหละ ถ้าเราโพสมีคนมี ค้าน ด้วยเหตุด้วยผล ก็ถือว่าได้เพื่อนที่ดี ถ้าไปเจอบางคนใช้อารมณ์ คุยไปก็ไม่เกิดอรรถรสเลย เอาเป็นว่า ขอคุยด้วยคนนะครับ


    .....คืออย่างนี้นะผมเข้าใจว่า คณณฉัตร ต้องเป็นผู้รู้ธรรม ไม่ว่าจะเป็นพระไตรปิฏก , หนังสือมิลินทปัญหา ,วิสุทธิมรรค ซึ่งเป็นหลักในการศึกษาแก่นพระพุทธศาสนา

    ....ผมจะถามคุณณฉัตรว่า การที่มีกิเลสสังโยชน์ ท่านหมายถึง เชือกที่เป็นกิเลส ยึดเอาสัตว์โลก กับ ขันธ์ห้า

    ....ถ้าเรามาพูดตามภาษาคนนักปฏิบัติ ท่านคิดว่า สัตว์โลกกับ ขันธ์ห้า เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่

    ....กิเลสสังโยชน์ จะยึดอะไรกับอะไร ยึดจิตกับจิต หรือเปล่า เป็นไปไม่ได้ หรือมันจะเป็นเหมือน การผูกตัวเองเหมือน เขามันตัวนักโทษหรือไง

    ....เท่าที่ผมอ่าน ที่คุณณฉัตรอธิบาย ผมจะสรูป อย่างนี้ได้หรือเปล่า เริ่มต้นด้วยจิต เมื่อเริ่มปฏิบัติ ไปตามขบวนการแล้ว สุดท้าย จิตก็จะเปลี่ยนไป เป็นนิพพานใช่หรือเปล่า ก็คือจิตเปลี่ยน เป็น นามธรรมอีกอันหนึ่ง และมีสภาพปราศจากกิเลส และเรียกเจ้าสิ่งนี้ว่านิพพาน ใช่หรือไม่

    ....ผมบอกตรงๆ มันแย้ง ก้นอย่างมหาศาล กับที่ว่า จิตก็เป็นส่วนหนึ่งในขันธ์ห้า เป็นไตรลักษณ์ ถ้าจิต(นามธาตุ) สามารถเปลี่ยน ไปเป็นนิพพาน(นามธาตุ) แล้ว เมื่อ พระอรหันต์ตาย ก็จะเหลืออะไรครับ

    ....." วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ความว่า บัดนี้ จิตของเราถึง คือเข้าไปถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว คือพระนิพพาน" บทนี้ ไม่ได้กล่าวว่าจิตคือนิพพานธาตุ เพียงแต่บอกว่า จิตเข้าถึงนิพพาน บอกว่าเข้าถึง มิได้บอกว่า เป็น นิพพาน ต้องเข้าใจอีกอย่างหนึ่งเมื่อ ตัวสังโยชน์ถูกตัดหมด จิต ก็จะเป็นสภาพไม่มีสิ่งปรุงแต่ง

    ......ผมบอกว่า ตัวจิต ถูกยึดกับ นิพพานธาตุ ด้วยกิเลสสังโยชน์ เมื่อกิเลสสังโยชน์ถูกตัด จิตจะอยู่ในสภาพ อย่างที่อ้างข้างบนนั้นแหละ นิพพานธาตุเป็นอสังขตะธรรม เป็นนามธรรมคงที่ เที่ยง ไม่่เป็นไปตามกฏไตรลักษณ์

    ....อีกอย่างหนี่ง สัมปชัญญะ กับญาณ ท่านยอมรับว่าไม่ใช่จิตใช่หรือไม่ แล้ว สองตัวนี้ เป็นนามธาตุหรือ เป็นกริยาของนามธาตุ แล้วเป็นกริยาของนามธรรมอันได

    ....ลองยกพระสูตร มาสักบทสิครับ

    ...บางท่านบอกว่าผมไม่ใช่นักปฏิบัติ เป็นแค่ศึกษาแล้วเอาตรรกศาสตร์มาจับ หลักตรรกศาสตร์ ก็จำเป็นนะครับ เช่นหลักมีอยู่ว่า สิ่งที่เราเข้าใจ ไม่ควรแย้งกับคำสอนหลักในพระไตรปิฏก ต้องสอดคล้องกัน

    ...เอาแค่นี้ก่อน มีเวลาหรือเปล่าครับอยากคุยเรื่องนี้ให้กระจ่างนะครับ ผมอยากรู้ว่าผมคิดผิดหรือไม่ ผมอยากฟังคนที่เห็นแย้ง จะได้ปรับทัศนะตนเอง ยินดีมากๆเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2016
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456

    จิต เปน ธาตุ ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์

    พระพุทธองค์ ท้าให้พิสูจน์ จิตที่เสวยอารมณ์รูรสทางลิ้น

    ถามว่า จะเอาจิตที่มีหน้าที่ได้ยินเสียง ไปรู้รสที่กำเสวยทางลิ้น ได้ไหม

    ย่อมเปนไปไม่ได้

    จิตที่เกิดทางลิ้น ก้ดับไปที่ลิ้น

    จิตที่เกืดทางหู ก้ดับไปที่หู

    เมื่อกำหนดเหน จิต ด้วยอุบายแบบนั้ ได้สักครั้ง
    จะได้ความเปนโสดาบัน

    แต่ส่วนใหญ่สังโยชน์ไม่ขาด สันตติไม่ขาด ฆนะสัญญาไม่แตก สัญญาจึงคลาด กำหนดรู้ไม่ได้
    จึง อุปทานเหนจิตเปน สัตว์ ร่ำไป


    ถ้ากำหนดเหนจิต เกิดดับ ขาดจากกัน ไม่
    ใช่ ดวงเดียวกันชัดๆ

    จะทราบถึงไฟ วิบาก สังขารที่กำลังให้ผล
    สืบเนื่องเปน รูปหู รูปตา จะทราบชัดใน
    กัมมันสัตตา สภาพสัตว์อันกรรมเวรกำลังให้ผล
    เฉพาะตน ใครก้ควบคุมสิ่งนี้ไม่ได้ ทำให้เมาหมก
    สัมปชัญญะเจตสิก(แค่สิ่งประกอบจิต)ว่า นิพพาน

    การกำหนดหนทางพ้น ก็อยู่ที่ เหนจิต เกิดดับ ทางทวาร เปนคนละดวง ไม่ใช่ดวงเดียวกัน
    ไม่เสวยข้ามทวารกัน นั่นแหละ ซึ่งจะเหนได้
    ก้จำเพาะผู้มีปัญญา ผู้มีปัญญาทราม รู้ไม่ได้
    ได้แต่คาดเดา พยักหน้าทับความอับจน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2016
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    สัมปชัญญะ จึงเปน อาการภาวนา ที่ไม่ส่งจิตออกนอก ไปตามทวารต่างๆ

    แต่จะสำรวม อินทรีย์ เหมือนพิจารณาอยู่ ทวารเดียว

    แต่ก้ไม่ส่งใน จมไปในทวารเดียว จนไม่เหน
    สภาวะเกิดดับของจิต ตามทวารหก

    เมื่อไม่ส่งนอก ไม่ส่งใน จะเหน จิตแสดงไตรลักษณ์ โดยไม่ต้องอาสัยการพยักหน้า
    กระดักกระเดิด ปฏิภาณทำท่าเข้าใจ

    ความเหนผิดจิตเปนตน กายเปนตน จะไม่มี

    เพราะผัสสะที่เกิดทางใจ จะไม่ไปปะปนกับ
    ผัสสะที่เกิดทางหู ผัสสะที่เกิดทางตา ไม่
    ปะปนผัสสะที่เกิดทางลิ้น เมือ่ผัสสะเปนเพียง
    ผัสสะ เหนหนทางไม่เสวยอารมณ์ โดยใช้
    อุบายเหน จิตเสวยอารมณ์ทางตา ย่อมไม่
    ส่งผลเสวยอารมณ์นั้นทางลิ้น จึงเหนจิตที่
    ไม่เสวยอารมณ์นั้นมีอยู่ เว้นแต่ อุปทานไป
    คว้าเอาสัญญาที่เสวยอารมณ์ทางจิตดวงก่อน
    แล้วละเมอว่า กำลังเสวยอารมณ์ด้วยจิตดวงเดิม

    จึงไปสืบ วัฏสงสารขึ้นมาเอง เพราะขาดสิกขาบทที่ถูกวิธี จิตจึงเกิดจุติ(เคลื่อนไปคว้าอดีต)ไปสืบ
    ปฏิสนธิอุบาทเปนภพใหม่ สำคัญว่าชาติมี ตนมี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2016
  9. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ครับ ขอบคุณ

    คืออยากทราบการบรรลุธรรมของตัวคุณเองนะครับ
    ใช้หลักข้อ? เกิดขึ้นเมื่อช่วงไหน?

    ตัดสังโยชน์ ตัวไหนบ้าง..
     
  10. Pause_1987

    Pause_1987 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +7
    วัฏสงสารคือ กิเลส กรรม วิบากครับ สามสิ่งนี้ทำให้ทุกสรรพสิ่งที่ยังไม่หลุดพ้นยังคงวนเวียนอยู่ในวัฏทั้ง 31 ภพ แต่การจะไปเกิด ณ ที่ใดนั้น ก็แล้วแต่ผลของบุญหรือบาปที่ส่งให้ไปเกิดครับ ส่วนการจะหลุดพ้นได้นั้น พระพุทธเจ้าก็ตรัสลงในอริยสัจสี่ประการข้อที่สี่แล้วครับคือมรรค 8 ประการ ผู้ปฏิบัติต้องปฏิบัตให้สมควรตามเหตุ เมื่อเหตุสมควรแล้ว ผลแหง่การปฏิบัติก็จะแจ้งเอง เป็นเวทิตัปโพิ วิญญูหิ ครับ
     
  11. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    บรรลุอรหันต์ ครับ
     
  12. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    สั้นๆ ก่อนครับ ไม่ค่อยมีเวลา

    เมื่อสังสารวัฏฏ์หายไป ก็คือวิวัฏฏ์ ทันที

    หรือ กิเลสดับ ก็คือนิพพานทันที

    ว่างๆ จะมาตอบต่อครับ
     
  13. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    จิต ก็อย่างที่มีผู้รู้ข้างบนตอบไว้ตรงแล้วครับ ผมขอขยายและยกพระสูตร(copy paste 84000) เป็นการสนทนากันต่อครับ

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค มหาวรรคที่ ๗ ๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑

    "แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ
    [๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล ฯ"

    ผมขอตอบที่ท่านถามผมดังนี้ (ผมตอบตามที่เข้าใจนะครับ ถ้าผิดพลาดท่านผู้ใดมาแก้ไขความเข้าใจผมได้ครับ)

    ๑. สัตว์โลกกับ ขันธ์ห้า เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ ?

    ผมขอแปลคำถามท่านว่า ท่านจะถามว่า ทุกสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลก แต่ละชีวิตล้วนประกอบด้วย ขันธ์ ๕ ใช่หรือไม่

    ถ้าแปลคำถามอย่างนี้ ตอบว่า ใช่ครับ ตามบทที่ยกมา พูดสั้นว่า มหาภูตรูป ๔ คือ รูปขันธ์ ส่วนจิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง คือ นามขันธ์ ๔ (เวทนา สัญญา สังขาร(ทั้งสาม คือ เจตสิก) และวิญญาณ(คือ จิต) รวมความ ชีวิตแต่ละชีวิตประกอบด้วย ขันธ์ ๕ (กรณีที่สัตว์ที่มีขันธ์น้อยกว่านี้ เราจะไม่พูดกันนะครับ ไม่ใช่ประเด็นครับ)


    ๒. กิเลสสังโยชน์ ท่านหมายถึง เชือกที่เป็นกิเลส ยึดเอาสัตว์โลก กับ ขันธ์ห้า


    ผมขอแปลคำถามนะครับ คือ ท่านจะถามว่า กิเลสสังโยชน์ อุปมา เชือก สัตว์โลกในที่นี้ของคำถาม หมายถึง จิต(วิญญาณขันธ์) อปุมา คือ สัตว์ ตัวตน บุคคล เราเขา

    เพราะเชือกมันมัดสัตว์อยู่ จึงอยู่ในโลกนี้(สังสาร) เมื่อปลดเชือกทิ้ง สัตว์จึงเป็นอิสระ

    หรือ กิเลสมัดจิต เมื่อเชือกกิเลสถูกตัดจิตก็อิสระไปไหนก็ได้

    ตรงนี้ ผิดครับ

    เพราะพระสูตรบทนี้ มีความต่อว่า

    "[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับ ย่อมใส่ใจโดยแยบคาย
    ด้วยดีถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข-*โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ อนึ่ง เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

    นี่คือ ที่ตอบไปก่อนหน้าว่า เมื่อสังสารวัฏฏ์หายไป ก็คือวิวัฏฏ์ ทันที หรือ กิเลสดับ ก็คือนิพพานทันที เสริมคือ ตามตัวเน้นหนาดำ "ปฏิจจสมุปบาทธรรม"

    ๓. " วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ความว่า บัดนี้ จิตของเราถึง คือเข้าไปถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว คือพระนิพพาน" บทนี้ ไม่ได้กล่าวว่าจิตคือนิพพานธาตุ เพียงแต่บอกว่า จิตเข้าถึงนิพพาน บอกว่าเข้าถึง มิได้บอกว่า เป็น นิพพาน ต้องเข้าใจอีกอย่างหนึ่งเมื่อ ตัวสังโยชน์ถูกตัดหมด จิต ก็จะเป็นสภาพไม่มีสิ่งปรุงแต่ง

    .....ผมบอกว่า ตัวจิต ถูกยึดกับ นิพพานธาตุ ด้วยกิเลสสังโยชน์ เมื่อกิเลสสังโยชน์ถูกตัด จิตจะอยู่ในสภาพ อย่างที่อ้างข้างบนนั้นแหละ นิพพานธาตุเป็นอสังขตะธรรม เป็นนามธรรมคงที่ เที่ยง ไม่่เป็นไปตามกฏไตรลักษณ์


    อันนี้ ตอนที่ตอบท่านครั้งแรก เป็นการที่เห็นว่า ถ้อยในกระทู้ของท่าน แสดงว่าท่านมีคำถาม และสรุปเกี่ยวกับ เรื่องจิตก่อนนิพพาน และจิตหลังนิพพาน ซึ่งเหมือนคำถามของชาวบ้านที่ไปถามพระ ว่าพอนิพพานแล้ว จิตไปไหน พระท่านที่ตอบว่า ไม่มีจิต เพราะจิตดับไป ชาวบ้านก็คิดและพูดไปว่า มันจะต่างกับตายแล้วสูญตรงไหน นิพพานเป็นอะไรที่ลอยอยู่อย่างนั้น ไม่เกี่ยวกับจิต แค่จิตดับไป ในความเข้าใจของผม ถ้าพระอธิบายให้คนฟัง แล้วคนเข้าใจว่า นิพพาน คือ จิตดับ ทุกอย่างดับหมด เหมือนคนตายแล้วสูญ ถึงแม้พระจะไม่ได้อธิบายว่านิพพานเหมือนคนตายแล้วสุญ แต่ถ้าชาวบ้านเข้าใจผิด ก็ไม่ถูกต้องที่จะให้ชาวบ้านเข้าใจอย่างนั้น

    ทีนี้ พระอีกท่าน ก็เลยบอกว่า ก็จิตนั้นแหละถึงนิพพาน ซึ่งมันตรงกับคำตรัสของพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นบาทคาถาที่ค่อนข้างจะ 100 เปอร์เซ้นต์ ที่ท่านตรัสอุทานไว้จริง และอ่านแล้วไม่เกิดความรุ้สึกว่า ตายแล้วสูญด้วย แต่นัยของคำ (ผมแปลความเฉพาะ ภาษาไทยนะครับ ถ้าผิดพลาดก็เพราะผมรู้แต่ภาษาไทย)

    คำว่า จิตของเราถึง คือเข้าไปถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว คือพระนิพพาน

    แปลได้สองนัย

    นัยแรก จิตถึงนิพพาน อันนี้ ค่อนข้างตรงและเป็นภาษาง่าย จิตเข้าไปจริงๆ

    นัยสอง จิตมีสภาวะเปลี่ยนแปลงไป(เข้าไปถึงธรรม) จนไม่เหมือนเดิม ที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้แล้ว ต้องแปลย้อนว่า ที่ผ่านมา จิตเป็นสภาวะที่ถูกปรุงแต่งได้ แต่เมื่อถึงนิพพาน จิตได้เปลี่ยนไป เปลี่ยนเป็นนิพพาน

    แต่การอ่านบาทคาถา "วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ" เป็นพระอุทาน แต่บทที่กล่าวเรื่องนี้ชัดเจน คือ ที่ยกมา อัสสุตวตาสูตรที่ ๑ มาประกอบกัน

    "วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล"

    คือ จิต มันเกิดดับตามเหตุปัจจัย ตามปกติอยู่แล้ว เมื่อกิเลสดับก็ไม่มีอะไรปรุงแต่งจิตได้อีก จิตเป็นสิ่งที่เกิดดับตามเหตุปัจจัย ในเมื่อเหตุปัจจัยแห่งการเกิดดับของจิตสิ้น จิตก็สิ้นไป วัฏฏสงสาร ก็ยุติทันที คือ นิพพานทันที

    บทอัสสุตวตาสูตรที่ ๑ แสดงให้เห็นว่า สัตว์โลก หรือ ขันธ์ ๕ เป็นแค่ธาตุธรรมเท่านั้น ไม่มีตัวตน บุคคลเราเขา ไม่มีปัญหาเรื่องจิต จะไปไหน มีสถานะอย่างไร เพราะก็ไม่ใช่ตัวตน บุคคล เราเขาอยู่แล้ว จึงกล่าวได้ว่า ไม่มีสัตว์ บุคคล เราเขา เข้านิพพาน แต่อย่างไร มีแต่ความสิ้นไป ดับไปแห่งธาตุเท่านั้น

    นิพพาน จึงถูกกล่าวว่า ธรรมธาตุของนิพพานนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิด ไม่ดับ ไม่สกปรก ไม่บริสุทธิ์ ไม่แปดเปื้อน ไม่แปรปรวน ไม่มีผู้ใดดับได้ จึงไม่มีผู้ใดเกิด (ยกมาจากวิกิ)

    ๔. อีกอย่างหนี่ง สัมปชัญญะ กับญาณ ท่านยอมรับว่าไม่ใช่จิตใช่หรือไม่ แล้ว สองตัวนี้ เป็นนามธาตุหรือ เป็นกริยาของนามธาตุ แล้วเป็นกริยาของนามธรรมอันได

    อันนี้ เห็นมีคนถกอภิปรายกันไปแล้ว ตามหลักฐานในพระไตรปิฎก ผมไม่ได้อ่านลึกซึ้งจนจำได้ทุกเรื่อง ผมอ่านแค่งูปลาๆ ตอนนี้ ก็อ่าน 84000 ซึ่งบางทีภาษามันเข้าใจยากนะครับ

    มีคนตอบในพันทิปว่า

    "ทั้ง สติ และ สัมปชัญญะ ก็เป็นเจตสิกทั้ง ๒ ตัว นั่นแหละ จัดอยู่ในกลุ่มของ โสภณเจตสิก ๒๕

    พูดตามภาษาตำราตรงๆคือ สติ ก็คือ สติเจตสิก , สัมปชัญญะ ก็คือ ปัญญินทรีย์เจตสิก(หรืออาจจะเรียกง่ายๆว่า ปัญญาเจตสิก)"

    ผมนั้นที่แสดงความเห็นไปครั้งแรก นั้น ผมจำได้แค่ว่า สติ เป็นเจตสิก สักหมวดหนึ่ง เพราะเคยผ่านตาเท่านั้นครับ

    ส่วนญาณ ผมหาไม่เจอ แต่คิดเอาเองว่า ญาณปัญญา ก็เลยคิดว่า ปัญญา เป็นเจตสิกอย่างหนึ่ง
     
  14. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ผมว่า ปัญหาใหญ่ของนักปริยัติ

    ยังไม่เคยเห็นดวงจิตตัวเอง...หน้าตามันเป็นอย่างไร?
     
  15. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    เห็นด้วยครับ คือ ไม่เห็นของตัวเอง และไม่เห็นของคนอื่นด้วย

    ที่เห็นภายในจากการหลับตา ผมต้องพิจารณาว่า ช่วงแรก เป็นรูป คือ ความมืด เมื่อผ่านไปก็เห็นแสงสว่างมากๆ และจากนั้นบางครั้งจะเห็นเป็นห้วงอวกาศรูปทรงกลมเปิดกว้าง มีลักษณะคล้ายห้วงอวกาศนั้นแหละ แต่บางครั้งจะเห็นเป็นห้วงอวกาศที่เต็มไปด้วยแสงสว่าง(ค่อนข้างจะสีเหลืองทอง) แต่ก็มีหลายครั้งที่ไม่เป็นห้วงอวกาศแต่มันก็เหมือนรู้ไปทั่วสุดทุกทิศทาง

    บางครั้งในหลายครั้ง ไม่รับรู้ร่างกาย เหลือแต่เป็นดวงกลมตั้งอยู่อย่างนั้น

    ผมก็คิดว่า เหล่านี้ มันไม่ใช่จิต ผมตีเป็นนิมิตเสียมาก แต่ก็มีหลายครั้งผมว่ามันคือ สภาวะที่เรียกว่า ดวงจิตได้

    กล่าวเฉพาะการ "เห็น" สภาวะที่อาจเรียกว่า ดวงจิต ผมก็ลองหาจิตของตนดู ก็หามันในดวงนั้นแหละ แต่ผมก็ว่า ตอนนั้น มันเห็นด้วยมโน หรือเห็นด้วยจักขุ ก็พบว่า มันก็เหมือนการรับรู้มันซ้อนการรับรู้ แต่เมื่อพิจารณาองค์สภาวะธรรม บางทีมันซ้อนหรือมันเร็วมาก ผมคิดว่าผมจนตามไม่ทันตรงนี้ หลายจุด เมื่อผมพิจารณาองค์สภาวะธรรม ที่เข้าใจว่าจิต หรืออาจเรียกว่า จิต ผมสังเกตเห็น ตัวผู้รู้ ที่เป็นประธาน มันเป็นตัวรุู้ ซึ่งไม่มีรูปร่าง ผมจึงพยายามหาตัวประธานตัวนั้น เพราะผมคิดว่า นั้นคือ จิตของเรา ก้เลยจะหาว่า มันอยู่ในตำแหน่งตรงไหน มันเป็นตำแหน่งแห่งที่ในดวง ดวงนั้น แต่ก็แปลกว่า มันก็ไม่ใช่ตัวรู้ ผมเลยเจาะหาตำแหน่งตัวรู้ ก็พบว่า มันเคลื่อน

    หมายถึง ตอนที่สังเกตเห็นว่า ตัวประธาน ที่เป็นประธานแห่งการคิด การนึก และการตัดสินใจ เมื่อส่องตัวรู้ไปดู ก็พบว่า ตัวประธานมันเคลื่อน ในขณะเดียวกันตัวรู้มันก็เคลื่อนอีก มันเคลื่อนตำแหน่งทั้งสองตัว

    ซึ่งหมายถึง สภาวะของนามธรรม ที่ผมเห็นด้วยใจ(แต่ขอบอกว่า มันซ้อนกับการที่จักขุก็ยังเห็นรูปภายนอกของกายทิพย์ไปด้วย

    การที่ผมเห็นว่า มันเคลื่อนทั้งตัวรู้ และตัวตัดสินใจ ผมคาดหมายได้อย่างเดียว คือ มันดับ มันเกิด มันดับ ต่อเนื่องกันไป แต่ผมตามการเกิดดับของสภาวะเหล่านั้นไม่ทัน มันจึงกลายเป็นว่า เมื่อจะจับตัวรู้ ก็มีตัวรู้อีกตัว และเมื่อจะจับตัวรู้ตัวนั้น ก็มีตัวรู้อีกตัว ตกลงว่า ผมจับอดีตของตัวรู้ซึ่งกลายเป็นอะไรไปแล้ว ผมเดาเอาว่า เมื่อผมไปยึดตัวรู้ในสภาวะและเวลาหนึ่ง มันกลายเป็นสัญญา ส่วนตัวรู้ที่ดับไปก็เกิดใหม่มารู้สัญญาที่กำหนดตำแหน่ง

    นั้นหมายถึง ผมไม่ได้พิจารณาตัวรู้โดยตรง แต่ไปหาตำแหน่งในนามธรรมซึ่งนามธรรมเป็นสิ่งที่ไม่กินที่ และไม่ต้องมีกาลและเทศะอยู่ จึงเป็นการหาตัวรู้ ผิดที่ เพราะตัวรู้มันเกิดดับตลอด สภาวะที่เปลี่ยนไปจึงไม่อาจหาตำแหน่งหรือจับตัวมันให้อยู่กับที่ได้

    เมื่ออ่านพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค มหาวรรคที่ ๗ ๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑

    "แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ
    [๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล ฯ"

    ผมจึงเข้าใจว่า ผมจับตัวรู้ หรือจิตประธานที่เป็นองค์สภาวะธรรมที่รับรู้ คิด นึก และตัดสินใจไม่ได้ มันเคลื่อนไปเรื่อย จิตตัวรุ้ก็เหมือนวานร วานรในแต่ละขณะในแต่ละกิ่งไม้ ก็มีกาลเทศะแตกต่างกันไป สภาวะธรรมต่างๆ ที่ปรุงแต่ง(เจตสิก)แปรปรวนเสมอก็คือกิ่งไม้แต่ละกิ่ง ซึ่งแต่ละกิ่งมันอยู่ในที่ที่ต่่าางกันไป สภาวะของแต่ละกิ่งจะไม่เหมือนกันเลย ในกาลและเทศะ
     
  16. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    มีอีกพระสูตร ที่เณรสอนพระเถระ

    พระโปฐิละปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสามเณร
    ลำดับนั้น สามเณรจึงแสดงสระๆ หนึ่งในที่ไม่ไกล แล้วกล่าวกะท่านว่า "ท่านขอรับ ท่านนุ่งห่มตามเดิมนั่นแหละ จงลงไปสู่สระนี้."
    จริงอยู่ สามเณรนั้น แม้รู้ความที่จีวรสองชั้นซึ่งมีราคามาก อันพระเถระนั้นนุ่งห่มแล้ว เมื่อจะทดลองว่า "พระเถระจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้หรือไม่" จึงกล่าวอย่างนั้น.
    แม้พระเถระก็ลงไปด้วยคำๆ เดียวเท่านั้น.
    ลำดับนั้น ในเวลาที่ชายจีวรเปียก สามเณรจึงกล่าวกะท่านว่า "มาเถิด ท่านขอรับ" แล้วกล่าวกะท่านผู้มายืนอยู่ด้วยคำๆ เดียวเท่านั้นว่า "ท่านผู้เจริญ ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง มีช่องอยู่ ๖ ช่อง, ในช่องเหล่านั้น เหี้ยเข้าไปภายในโดยช่องๆ หนึ่ง บุคคลประสงค์จะจับมัน จึงอุดช่องทั้ง ๕ นอกนี้ ทำลายช่องที่ ๖ แล้ว จึงจับเอาโดยช่องที่มันเข้าไปนั่นเอง, บรรดาทวารทั้งหก แม้ท่านจงปิดทวารทั้ง ๕ อย่างนั้นแล้ว จงเริ่มตั้งกรรม๑- นี้ไว้ในมโนทวาร."
    ด้วยนัยมีประมาณเท่านี้ ความแจ่มแจ้งได้มีแก่ภิกษุผู้เป็นพหูสูต ดุจการลุกโพลงขึ้นแห่งดวงประทีปฉะนั้น.
     
  17. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    "ท่านผู้เจริญ ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง มีช่องอยู่ ๖ ช่อง, ในช่องเหล่านั้น เหี้ยเข้าไปภายในโดยช่องๆ หนึ่ง บุคคลประสงค์จะจับมัน จึงอุดช่องทั้ง ๕ นอกนี้ ทำลายช่องที่ ๖ แล้ว จึงจับเอาโดยช่องที่มันเข้าไปนั่นเอง, บรรดาทวารทั้งหก แม้ท่านจงปิดทวารทั้ง ๕ อย่างนั้นแล้ว จงเริ่มตั้งกรรม๑- นี้ไว้ในมโนทวาร."

    เอาตอนที่เณรพูด พบว่ามีเหี้ยตัวเดียว

    แต่ทางเดิน(ทวาร)มีหกทาง

    ผมสังเกตุจากประสบการณ์ จิตรวมลงฐานจริงๆ(ตาในปรากฎเหมือนมองภาพ)
    จะพบว่า มีดวงสว่างหนึ่งดวงสว่างอยู่ แล้วมีคล้าย
    ก้อนเมฆบางๆ ลอยๆไปมา ดำบ้าง ขาวบ้าง
    นี้เคยพบครั้งหนึ่ง

    แต่ส่วนใหญ่ จิตรวมไม่ถึงฐาน ตาในปรากฎขึ้นมาจะเห็นแสง
    แล้วเปลี่ยนเป็นภาพนิมิตบ้าง เห็นตัวเองเหาะไปสถานที่ต่างๆบ้าง

    ถ้าจิตไม่รวม แต่มีกำลังสติมาก ทันความคิด เห็นความคิด เกิด ดับ เร็วมาก..
     
  18. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    .....ขอบคุณ คุณณฉัตรมากครับที่ให้เกียรติ์ คุยกับผม ผมอ่านทุกคำและพยายามทำความเข้าใจ สิ่งที่ท่านโพส

    .....ผมขอโพสตามประสาที่ผมเข้าใจ และจะไม่ทำนองตอบโต้กันเดี๋ยวจะรำคาญผม ส่วนสิ่งที่ผมโพส อยากให้มีคนแย้ง แต่มิได้มีคนมาโกรธมาด่า แย้งแบบประสานักปราชญ์คุยกัน(คือผมก็ไม่ได้เป็นนักปราชญ์)

    .....พูดถึงนักปริยัติ กับนักปฏิบัติ ดูจากภาษาที่ใช้ก็รู้ จะกล่าวไม่เหมือนกัน แม้แต่ คนที่มาอ่านโพส ถ้าไม่เคยปฏิบัติก็เข้าใจสิ่งที่คุยกันยากอยู่

    ......หัวใจของพระพุทธศาสนา ก็คือการบรรลุธรรมหรือจะเรียกว่า การตรัสรู้ธรรม ก็คือคำๆเดียวกัน ถ้าไม่มีการบรรลุธรรม พระพุทธเจ้า ก็ไม่มีในโลก คนที่ยังไม่ได้บรรลุธรรม กิเลส ก็ยังมีอยู่ครบ ถึงจะกดข่มก็ได้ชั่วคราว เมื่อถูกสิ่งเร้า ก็เกิดกิเลสได้เสมอ

    .....การบรรลุธรรม คือ เป้าหมายที่เรากำลังคุยกันว่า จะบรรลุธรรมได้อย่างไร

    .....การบรรลุธรรมคืออะไร คือการตรัสรู้ธรรม ถ้าให้ผมพูดแบบ สรูปๆ ผมว่าคือ ตัวญาณมีการรับรู้ ความเป็นไตรลักษณ์ ของขันธ์ห้า ตัวญาณเป็นตัวรู้ ตัวจิตเป็นตัวบังคับให้รู้ ตัวจิตเป็นผู้จัดการให้ตัวญาณรู้ ผมจะยกพระสูตรดังนี้

    ......."ปัญญาวรรค อภิสมยกถา
    [๖๙๖] ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะแห่งโลกุตรมรรค
    อย่างไร ฯ
    ในขณะโลกุตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น และเป็นเหตุ
    เป็นปัจจัยแห่งญาณ จิตอันสัมปยุตด้วยญาณนั้น มีนิโรธเป็นโคจร ญาณเป็นใหญ่
    ในการเห็น และเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต ญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น มีนิโรธ
    เป็นโคจร ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและด้วยญาณ ในขณะแห่งโลกุตรมรรค
    อย่างนี้ ฯ"

    ........พระสูตรนี้ยาว ในพระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ ซึ่งสรูป ขบวนการ ว่าจะตรัสรู้ได้อย่างไร

    .....ตัวจิต เป็นตัวบังคับให้ตัวญาณเกิด จะเห็นได้ว่า ตัวญาณ กับตัวจิต เป็นคนละตัวกันอย่างแน่นอน

    .....การละกิเลสได้ต้องผ่านการตรัสรู้มาก่อน อย่างน้อยหนึ่งครั้งดังในพระสูตรบทนี้อธิบายในท่อนปลาย

    ......" [๗๐๐] บุคคลย่อมละกิเลสที่เป็นอดีตหาได้ไม่ ละกิเลสที่เป็นอนาคต
    หาได้ไม่ ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันหาได้ไม่ หรือ ถ้าอย่างนั้น มรรคภาวนาก็ไม่มี
    การทำให้แจ้งซึ่งผลก็ไม่มี การละกิเลสก็ไม่มี ธรรมาภิสมัยก็ไม่มี ฯ
    หามิได้ มรรคภาวนามีอยู่ การทำให้แจ้งซึ่งผลมีอยู่ การละกิเลสมีอยู่
    ธรรมาภิสมัยมีอยู่ เหมือนอะไร เหมือนต้นไม้กำลังรุ่น ยังไม่เกิดผล บุรุษพึงตัด
    ต้นไม้นั้นที่ราก ผลที่ยังไม่เกิดแห่งต้นไม้นั้นก็ไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่
    บังเกิดเลย ที่ไม่เกิดขึ้น....."

    .....ซึ่งเป็นผลมาจากการบรรลุธรรม หรือการตรัสรู้ธรรมนั้นเอง

    .....มนุษย์ หรือสัตว์ ทุกผู้ทุกนาม มิได้มีแต่ขันธ์ห้าเท่านั้น พระอภิธรรม กล่าวว่า มี จิต เจตสิค รูป นิพพาน
    .....จิต เจตสิค รูป ก็คือขันธ์ห้า ส่วนนิพพาน ก็คือ นามธาตุอีกอันหนึ่ง

    .....การที่บอกว่า จิต เข้าสู้นิพพาน ในพระสูตรท่านก็กล่าวเช่น
    ......" [๗๐๐] บุคคลย่อมละกิเลสที่เป็นอดีตหาได้ไม่ ละกิเลสที่เป็นอนาคต
    หาได้ไม่ ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันหาได้ไม่ หรือ ถ้าอย่างนั้น มรรคภาวนาก็ไม่มี
    การทำให้แจ้งซึ่งผลก็ไม่มี การละกิเลสก็ไม่มี ธรรมาภิสมัยก็ไม่มี ฯ
    หามิได้ มรรคภาวนามีอยู่ การทำให้แจ้งซึ่งผลมีอยู่ การละกิเลสมีอยู่
    ธรรมาภิสมัยมีอยู่ เหมือนอะไร เหมือนต้นไม้กำลังรุ่น ยังไม่เกิดผล บุรุษพึงตัด
    ต้นไม้นั้นที่ราก ผลที่ยังไม่เกิดแห่งต้นไม้นั้นก็ไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่
    บังเกิดเลย ที่ไม่เกิดขึ้น แล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏเลย
    ฉันใด ความเกิดขึ้น เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งความบังเกิดแห่งกิเลสทั้งหลาย
    จิตเห็นโทษในความเกิดขึ้นแล้ว จึงแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น เพราะ
    ความที่จิตเป็นธรรมชาติแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น กิเลสเหล่าใด
    พึงบังเกิด เพราะความเกิดขึ้นเป็นปัจจัย กิเลสเหล่านั้นที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดเลย
    ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิดเลย ที่ไม่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่
    ปรากฏเลย ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดับ ทุกข์ก็ดับ ด้วยประการฉะนี้


    ......คำว่านิพพาน มีบางท่านแปรว่า ดับเย็น นิพพานจึงเป็น คำเรียก สภาวะ ที่ปราศจากกิเลส
    .....นิพพานจึงเป็นคำเรียกสภาวะ ที่ปราศจากกิเลส การที่จิตเห็นโทษ แล้ว แล่นไปสู นิพพาน อย่าลืมว่า ต้องมีการตรัสรู้ ก่อน
    .....นิพพานธาตุ เป็นคำเรียกธาตุ ที่เป็นอสังคตะธรรม ที่ มีอยู่ใน กลุ่มปรมัตถธรรม มี 4 ประเภท คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน.
    .....ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร ว่า นิพพานธาตุ กับ สภาวะนิพพาน
    ......ถ้าผมบอกว่า พระอรหันตุ มีนิพานธาตุ กับ จิตที่มีสภาวะนิพพาน ท่านว่า จิตที่มีสภาวะนิพพานคือจิตที่ไม่มีกิเลส กับนิพพานธาตุ ต่างกันใหม
    ....ผมจะอธิบายอย่างไรดี มันมี สองอัน คือ จิต กับนิพพานธาตุ


    .....พระเอกที่สำคัญต้องมีการตรัสรู้ก่อน การตรัสรู้ ถือว่า เป็นการรับปริญญาทางศาสนาพุทธเลยทีเดียว ถ้าใครยังไม่ตรัสรู้ ก็ยังอยู่ในกลุ่มเดียว

    ......พระอรหันต์ตาย ก็ต้องเหลือ นิพพานธาตุ ส่วนจิตเจตสิค รูป ก็ดับไป นิพพานธาตุตัวนี้ก็ยังมีสภาพรับรู้ ที่เรียกว่าอายตนะนิพพาน

    ....ความเข้าใจเรื่อง การตรัสรู้ถือว่า สำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักปฏิบัติ

    ....นักปฏิบัติ จะปฏิบัติ เพื่ออะไร ถ้าไม่ปฏิบัติ เพื่อบรรลุธรรม
    ....ความเข้าใจเรื่อง สติ กับสัมปชัญญะ
    ....ความเข้าใจเรื่อง จิต กับ ญาณ

    ....ความเข้าใจเรื่อง กิเลสสังโยชน์ ว่า ยึด อะไรกับอะไร

    ....ความเข้าใจ ว่า นิพพานธาตุ กับ สภาวะนิพพาน คืออันเดียวกัน

    ....ทำไมถึงเข้าใจว่า ญาณ คือ เจตสิค เจตสิคคือสภาวะประกอบจิต ทำให้จิตเปลี่ยนเป็น 108 รูปแบบ พระอภิธรรมสอนใว้อย่างนั้น แล้วทำไมพระสูตรถึงกล่าวว่า ขณะตรัสรู้ ตัวญาณ จะเป็นรู้รับรู้ ตัวจิต เป็นตัวบังคับให้รู้ " ในขณะโลกุตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น และเป็นเหตุ
    เป็นปัจจัยแห่งญาณ จิตอันสัมปยุตด้วยญาณนั้น มีนิโรธเป็นโคจร ญาณเป็นใหญ่ ในการเห็น และเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต ญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น มีนิโรธเป็นโคจร"

    ....จิต เป็นใหญ่ในการเกิด จิตเป็นตัวบังคับให้เกิด ตัวญาณ เป็นใหญ่ในการเห็น ไม่เข้าใจว่าทำไมมีคนเข้าใจว่า ตัวญาณ เป็นเจตสิค ตัวญาณคือพระเอกแท้ๆ มองเป็นแค่คนรับใช้


    .....ญาณ กับสัมปชัญญะ กับนิพพานธาตุ คือ อันเดียวกันแหละ เหมือน สติ กับจิต ก็คืออันเดียวกันแหละ

    ....การตรัสรู้ คือการเกิดญาณเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของขันธ์ห้า อันไดอันหนึ่งก็ได้ ก็คือตัวนิพพานธาตุนั้นแหละเป็นตัวเห็น
    ...ตัวสัมปชัญญะ คือการรูสึกตัว ของอะไรก็ของนิพพานธาตุนั้นแหละ เมื่อสัมปชัญญะเกิดต่อเนื่อง ก็จะเกิดญาณ ส่วน ตัวสติ ก็คือจิต เกิดสติ เพื่อให้เกิดสัมปชัญญะ

    ....การภาวนา ถ้าตั้งจิตไม่ถูก โอกาสเกิด การตรัสรู้ก็ยาก ถ้าไม่เข้าใจหลักการ ภาวนาให้ตายก็ไม่มีทางตรัสรู้

    ...." [๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลี หรือเดือยข้าวยวะที่บุคคลตั้ง
    ไว้ถูก มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้ห้อเลือด ข้อนี้เป็นฐานะที่มี
    ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเดือยบุคคลตั้งไว้ถูก ฉันใดก็ดี ภิกษุนั้นแล ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ถูก ด้วยการ
    เจริญมรรคที่ตั้งไว้ถูก ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะความเห็นตั้งไว้ถูก.

    ....การตั้งจิตใว้ถูก การภาวนาจึงจะทำให้เกิดการตรัสรู้ได้


    .....มีคนดูถูกคน ศึกษาปริยัติ ว่าสู้นักปฏิบัติไม่ได้

    .....อย่าลืมว่าพระไตรปิฏก เรียบเรียงโดย พระอรหันต์ ห้าร้อยรูป แปรโดยมือหนี่งแห่งกรุงสยาม พระอาจารย์รุ่นหลัง ที่บัญญัติ คำสอนใหม่ๆ หรือจะสู้ของต้นฉบับได้

    ....การปฏิบัติ ควรศึกษาจากต้นฉบับด้วย ถึงจะถือว่า ดี นะครับผมว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2016
  19. เมิ่งเต๋อ

    เมิ่งเต๋อ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2016
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    เมื่อไหร่หมดความรู้สึกว่า สิ่งต่างๆเป็น ของเรา เป็นตัวเรา ก็จะพ้นไปจากวัฏสงสาร เรื่องมีแค่นี้ครับ
     
  20. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    .....วันนี้อยากถามเกี่ยวกับการบรรลุธรรมในกลุ่มดูจิต

    ....กลุ่มดูจิต กล่าวใว้ว่าอย่างไร มีคำคำหนึ่งที่ว่า "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ" ไม่ได้กล่าวให้ร้ายท่านนะครับ การบรรลุธรรม จะเอาตอน จิตเห็นจิตแจ่มแจ้ง ถือว่าเป็นการบรรลุธรรมหรือเปล่า

    .....การดูจิต ก็คือสร้างสติ จากที่จิตเกิด โลภะ โทสะ โมหะ เช่นใจลอย ก็เป็นโมหะ อยากได้โน้นนี้ก็เป็น โลภะ ขณะโกรธ ไม่พอใจก็เป็น โทสะ ผมก็ฝึกมา เป็นปีๆ สมัย ปี 51 โน้นแหละ ผมก็ทำเป็น

    .....การดูจิต จะเอาส่วนใหนที่เรียกว่า บรรลุธรรม อย่าง ที่ท่านว่า จิตเห็นจิตแจ่มแจ้ง อันนี้หรือเปล่า เห็นอย่างไร เห็นว่าจิตเป็นอนัตตา ถ้าจิตเห็นจิตเป็นอนัตตา

    ....การที่จิตเห็นจิตเป็นอนัตตา เพราะจิต คิดได้เอง เกิด โลภะ โทสะ โมหะได้เองใช่หรือเปล่า อันนี้ผมก็เห็นด้วย แล้วการบรรลุธรรม คือจิตเห็นจิตแจ่มแจ้ง ใช่หรือเปล่า

    .....ถ้าเป็นเช่นนั้น ถ้าปราถนาการบรรลุธรรม ก็พุ่งเป้าไปที่ การเอาจิตไปเห็นจิตแจ่มแจ้ง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เมื่อใหร่จิตจะเห็นจิตแจ่มแจ้ง
    ...... ต่างจากคำสอนในพระสูตร พระสูตรกล่าวว่า ตัวจิต เป็นตัวบริหารจัดการให้ บังคับให้ตัวญาณ เกิดการรับรู้ อย่างที่ผมอธิบายข้างบน

    ....ทำไม การดูจิต จึง กล่าวแต่จิต ไม่กล่าวเรื่องญาณ หรือท่านคิดว่า ญาณไม่สำคัญ แม้แต่การสร้างสติจากการดูจิต ก็ไม่กล่าวถึงสัมปชัญญะเลย

    ....การดูจิต ท่านคงคิดว่า นิพพานธาตุไม่สำคัญ หรือคิดว่าไม่มี

    ....แล้วทำไมมีคนสอนเรื่อง ญาณ 16 เริ่มที่ ญาณที่ ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นต้น

    ....การบรรลุธรรม ต้องมีญาณมาเกี่ยวข้องแน่นอน การตรัสรู้หนึ่งครั้งต้องเกิดญาณถึง 16 ขั้น ผมก็งงเหมือนกันนะท่านว่าใหม

    ....ในสมัยพุทธกาล มีการบรรลุธรรม เพียงได้ฟัง พระพุทธองค์ เทศนา สักครั้ง ก็บรรลุ อย่างน้อยก็พระโสดาบันบุคคล หรือการเกิดญาณ 16 จะเกิดพรวดเดียวเร็วมาก

    .....ถ้าสำนักใหนสอนวิปัสสนา กรรมฐาน ต้องบอกด้วยว่าจะบรรลุธรรมได้อย่างไร มันต้องมีเหตุมีผล ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีเหตุมีผล

    ....จะมีใครโกรธผมหรือเปล่า ขอโทษล่วงหน้าก็แล้วกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...