ขอสอบถามเรื่องการทำสมาธิหน่อยครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย [หนุมาน], 5 พฤศจิกายน 2016.

  1. [หนุมาน]

    [หนุมาน] สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2016
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +3
    ขอความเห็นจากอาจารย์ทั้งหลายหน่อยครับ
    แบบ พึ่งเริ่มอะครับ
    คือ ผม ฝึกสมาธิ โดยใช้ อานาปานสติ กำหนด ลมหายใจสั้นยาว พิจารณา ถึง ศีล ถึง เรื่องที่ มันคิด จน มันไม่คิด ถึงอะไร กำหนดลมอย่างเดียว นั่ง ได้ ซัก พัก เกิด ทุกข์กับร่างกาย ทั้ง ยุงกัด มดกัด ผมคิด ว่าเป็นการทำบุญให้พวก ยุงเพราะคิดว่า มันต้องกินเพื่ออยู่ นั่ง จน ชา กำหนดรู้ ซักพัก ร่างกายมันเกิดความเย็น เพราะอาการชา เย็นทั้ง ตัว ยุงหรือมดกัดตอนนั้นผมไม่เจ็บเพราะมันเย็นๆ ชา ตอนนั้นไม่คิดไร นั่งได้พัก นึง ผมแทบไม่รู้สึกตัว เลย ครับ เบา ไปหมด จากตอน แรก จ่ออยู่ ที่ ลมหายใจ ซักพักเหมือน หลับ ลมหายใจ เบาขึ้น ๆ แต่ เหมือน จิตมัน ปล่อยให้เบาลงประมาณ ตอนแรกกำหนด เน้นๆ ลมหายใจ เบาลงๆ ซักพัก เหมือนมันกำหนดเองไม่ต้องเน้น มันเยอะ ละ ร่างกายรู้สึกว่าเบาๆ เย็น สบายยย ไป หมด เสียง ภายนอกได้ยิน แต่มันไม่เข้าหัว นั่งด้วย อาการสบายๆ แบบนี้ นาน อยู่พักนึง พอซัก เหมือน ว่า มัน ควร พอละ เลย หายใจเข้าออกๆ ลึกๆ แล้ว ลืมตา -_- ประมาณนี้ครับ

    คำถาม ครับ คือผม มาถูกทางหรือไม่ อะครับ และ กรรมฐาน 40 กอง ผม ควร จะฝึกกอง อื่นด้วยไหม ครับ หรือ ว่า จะต้องเพิ่มไร ขอ วานผู้รู้ครูอาจารย์ ขอความเห็น ด้วยครับ ขอบคุณครับ
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ตรงนี้ หากไม่มี หลับ จนจิตลงภวังค์ หลับไปหนึ่งตื่น สองตื่น ...ให้จดจำ สภาวะนี้ไว้ให้ดีๆ

    เน้นนะว่า จะต้องเป็น สภาวะที่ไม่เป็นเหตุ พาไปหลับ ลงภวังค์ จิตหายไป

    พอจดจำได้ ....ตรงที่บอกว่า ค่อยๆ ผ่อนลมหายใจ แล้วออกจากสมาธิ ...
    อันนี้ก็ให้ จดจำสภาวะที่กำหนด ออกจากสมาธิ

    ทีนี้ ฟังให้ดีๆ

    ในระหว่างวัน ระหว่างเดิน ยืน กิน นั่ง นอน ดื่ม ทำ พูดคิด ให้ระลึก
    ถึง สภาวะธรรม เหมือนตอนที่นั่งตามรูปแบบ

    ทำจนกระทั่ง ระลึกได้ในทุกอริยาบท ไม่เกิดอวิชชา ย้อนแย้งว่า ทำไม่ได้ อย่าทำนะ
    เดี๋ยวนั่น เดี๋ยวนี้

    มันจะไม่เดี๋ยวนั่น เดี๋ยวนี้ หากเรา ฉลาดในการ ออกจากสมาธิ ทุกอริยาบทที่
    ระลึกถึง สภาวะสมาธิได้

    ดังนั้น

    สภาวะ สมาธิ เอาเข้าจริงๆ จะทำได้ตลอด

    และ หากชำนาญ จะเห็นเลยว่า มันมีอยู่กับจิต ไม่ต้องทำ ไม่ต้องเจตนา

    พอเห็นได้แบบนี้ ก็พึงทราบว่า ทำสมาธิตามรูปแบบ เรียก อารัมนูปณิชฌาณ

    ส่วนที่ สามารถเข้าออกได้อย่างรวดเร็ว มี อารมณ์สมาธินั้นๆ เป็นผัสสะ
    โดยที่ กระทบรูป เสียง กลิ่น รส มี อารมณ์กระทับ นับแสน นับหมื่น นับพัน
    แต่ก็มี สมาธินั้นๆอยู่ ประกอบในจิต ให้เรียกว่า ลักขณูปณิชฌาณ


    เอาเท่านี้ก่อน หากเข้าใจ คล่องแคล้วดีแล้ว หากจำเป็น ก็เข้ามาถามใหม่
    ว่า วิปัสสนาต่อยังไง

    ถ้าไม่จำเป็น ก็ภาวนาลำพังไปเฉพาะตน ไม่ต้องถามใคร ไม่ต้องเหมือนใคร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2016
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ตรงนี้ ให้ยกว่า คุณกำลังศึกษา สิ่งที่เรียกว่า จิต

    อย่า ยกศึกษาจิต ด้วยความเป็นเรา นะ

    ให้ยก จิต เหมือน นักบอลในสนาม โดยมี การสังเกตอยู่บนอัฒจรรย์
    แล้ว ระวังอาการจิต อยู่บนอัฒจรรย์แต่อินกับเกมส์ที่กำลังสังเกต จน
    เข้าใจผิดว่า จิตกำลังทำหน้าที่สังเกตมันเป็นเรา (จะเกิดความรู้สึกว่า
    เป็น ผู้เล่นในสนาม ลืมกาย ลืมใจ)


    จิต จะเป็นธรรมชาติรู้

    กายนั้น มันแปรปรวนของมันอยู่แล้ว ตลอดเวลา หายใจก็ต้องโคลง
    เลือดไหลในเส้นเลือด กายก็ต้องโคลง เพราะ ความดันมันทำให้เกิด
    อาการโคลง ตลอดเวลา

    กายมันโคลงของมันอยู่ตลอด เมื่อก่อน จิต ไม่เคยสังเกตเข้ามา
    เพราะ จิตมันกระจายออกไปข้างนอก จิตไม่รวม

    พอจิตมันรวม มันหดเข้ามา มันไม่ส่งออก มันก็มาเห็น กายโคลง
    กายเกิดปิติ กายเกิดความรำงับ สงบ เย็น

    ให้พิจาณาไปที่ จิต ที่มีลักษณะรู้ หากทำให้มัน รวม ไม่ส่งออก

    มันจะเข้ามาเห็น สภาวะธรรม กายไม่เที่ยง

    กายมันไม่เที่ยง เพราะกายมันอาศัยจิตเป็นตัวสะท้อนวิบากกรรม
    ในกาลก่อนๆ

    ดังนั้น กายมันไม่เที่ยง เพราะ จิตไม่เที่ยง แปรปรวนไปตามกรรม

    มีกรรมเป็นแดนเกิด

    มีกรรมเป็นทายาท

    .........

    พิจารณา กายก็เห็นจิต พิจารณาจิตก็เห็นกาย

    มีสติระลึกอยู่ จิตก็เป็นสิ่งเกิดดับ จะเรียกว่า เห็นจิตในจิต(จิตก็ไม่เที่ยง)

    แล้ว สังเกต จิตที่มันไม่ส่งออกนอก มันหดเข้ามา ใส่ใจ พิจารณา สภาวะธรรม
    เป็นแสนเป็นล้าน แต่ก็เป็นหนึ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2016
  4. [หนุมาน]

    [หนุมาน] สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2016
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +3
    ขอบคุณ ครับ ความรู้สึกตอนนี้ เข้าใจละ ประมาณ ว่า มีความเพียร ความอดทน มีสติรู้ตลอด จนกว่า ปัญญาจะเกิด ใช่ไหมครับ
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    สัมมาทิฏฐิ จะเกิดไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ รอให้ปัญญาเกิด

    สัมมาทิฏฐิ สุกงอม จะเกิดการ ประชุมกันของ ธรรม เป็น กองทัพธรรม
    แหวก อาสวะ ออกไป โดยไม่ต้องเจตนาจงใจ

    แหวกได้แบบ แหวกแล้วตก แหวกแล้วกลับมาปิด ก็ไม่ต้องไปท้อ

    เพราะ ปุถุชนไม่เคยสดับ ไม่เห็นสิ่งนี้

    หนทางประจักษ์การพ้น เห็นหนทางที่เป็นมรรค ที่ควรเจริญ บัณฑิตเท่านั้นที่รู้
     
  6. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,686
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    ลองฟัง clip นี้ดูได้ครับคุณหนุมาน clip นี้น่าจะเป็นประโยชน์กับคุณได้ด้วยเช่นกัน อนุโมทนาครับ

    <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/bZ88eUL9NpU" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  7. [หนุมาน]

    [หนุมาน] สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2016
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +3
    ขอบคุณครับ ทางมีองค์แปด เพื่อไปจากข้าศึก คือกิเลส ! ตอนนี้ผมเริ่มมาพิจารณา ถึง ดอกบัว 4 เหล่า ผมมี คำ ถาม อีกมาก มาย เลย ครับ หวัง ว่า อาจารย์ จะชี้ แนะ แบบไม่ถือ โทษ อะไร นะครับ ถ้า ผมผิดประการใด ขออภัย ผมไม่มีจิต คิด ดูหมิ่นอะไร ผม คิด ว่ามีประโยชน์ แก่ผม มาก ที่ตอบ คำถามผม ที่เกี่ยว กับ ธรรมมะ ทั้งสิ้น ผมต้อง ศึกษา ธรรมมะ และ ปฏิบัติ อีกเยอะ กราบขอบคุณ อาจารย์จริงๆครับ ที่ให้ คำปรึกษา ^^'
     
  8. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    มาถูกทางแล้วไม่ผิดหรอกครับ
    การหายใจเข้าออกลึกๆอย่างนั้นก็ถูกแล้วครับ
    เพียงแต่ให้เปลี่ยนมาทำความรู้สึกรับรู้ที่
    ปลายจมูกแทนเวลาหายใจเข้าลึกถึงท้องจนท้องพอง
    และเวลาหายใจออกจนท้องยุบก็ระลึกที่ปลายจมูก
    ไม่งั้นมันจะเผลอไปตามลมหายใจเข้าอย่างไม่รู้ตัว
    มันจะทำให้จิตเราเกิดได้อย่างคาดไม่ถึง แม้ว่าตอนนี้
    เราจะพิจารณาอะไรก็ตาม ไม่ว่าเราจะไปได้รับความรู้
    จากทางโลกมาดีแค่ไหนก็ตาม ณ เวลานี้
    มันจะยังไม่ส่งผลต่อตัวจิตจริงๆ
    อย่างที่เราพิจารณาครับ
    เพราะมันเป็นการใช้ความรู้ทางสมมุติสร้างมา
    ปิดบังตัวจิตให้ยอมรับเฉยๆ ไม่ได้เกิดจากตัวจิตเราจริงๆครับ
    และจะไม่ติดอยู่ที่ระดับสูงสุด
    ปฐมฌานอย่างที่เป็นอยู่นะปัจจุบันนี้ครับ
    กำลังสติที่ได้จากการทำความรับรู้ที่ปลายจมูกนั้น
    จะเพียงพอในการหนุนให้เราระงับความคิดทุกๆเรื่องที่มันจะผุดขึ้น
    มากวนใจเราได้เองครับ และกำลังสมาธิสะสมที่ได้จากการหายใจ
    ลึกๆก็จะหนุนส่งให้เราไต่ระดับก้าวข้ามสมาธิระดับนี้ได้ของมันเอง
    อัตโนมัติครับ ถ้าก้าวข้ามยกระดับไปได้ เด่วเราจะรู้สภาวะที่
    ควรแก่การพิจารณาได้เองครับ คือ สภาวะที่เคยพิจารณาไปแล้ว
    แต่ว่า พอลืมตาใช้ชีวิตปกติแล้วมันไม่กลับขึ้นมาอีกให้เรางงว่า
    เคยพิจารณาไปแล้วทำไมยังมีอีกนั่นหละครับ
    ปล พอเข้าใจนะครับ เอาพื้นฐานตรงนี้ให้แน่นก่อนครับ อย่าพึ่งรีบร้อน
     
  9. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    การศึกษาธรรมต้องเริ่มจากระดับที่เราอยู่ก่อนว่าเราความเข้าใจธรรมของเราเป็นปัญญาระดับใด ปัญญามี 3 ระดับ เริ่มจากการพยายามศึกษา รับฟัง พัฒนาเป็นระดับของความเข้าใจ จนถึงรู้เห็นเป็นประสบการณ์จริง หรือภาวนามยปัญญา การปฏิบัติมีหลายแบบ ลองเข้าคอร์สปฏิบัติธรรมที่สนใจน่าจะเรียนรู้ได้เร็ว
     
  10. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ อาการที่เรียกว่า "ความรู้สึกตัวทั่วถึง" มีได้หลายอย่าง เช่น อาการหนึบ ๆ อาการหยุ่น ๆ อาการคล้ายสนามพลังแม่เหล็ก อาการชา อาการอุ่น ๆ อาการซ่าน ๆ อาการแผ่ออก อาการคล้ายความดันออกไปที่ผิวหนังทั่วทุกทิศทั้งตัว เป็นต้น อาการเหล่านี้ล้วนแตกต่างกันไปตาม การใช้ภาษาของผู้ที่ต้องการอธิบายสภาวะของตน แต่สรุปออกมาได้เหมือนกันคือ เป็นอาการของ "ความรู้สึกตัว"

    +++ ตรงนี้ถูกต้องแล้ว ขณะที่ "ความรู้สึกตัวทั่วถึง" เกิดขึ้น ตอนนั้นจะไม่คิดอะไร

    +++ ตรงนี้ถูกต้องแล้วมันเป็น "ความรู้สึกตัวทั่วถึง" ที่พัฒนาไปเป็น "รู้ตัว" นั่นเอง เป็นความแตกต่างจากฐานของ "รู้สึกตัว กับ รู้ตัว" เป็นอาการระหว่าง เวทนานุปัสสนา กับ กายานุปัสสนา

    +++ เมื่อ "รู้สึกตัว" พัฒนาไปเป็น "รู้ตัว" อาการของ "กองลมหายใจทั้งปวง จะถูกรู้ ไปเอง" และอาการที่เรียกว่า "ลมหายใจไม่ใช่ตน" จะเกิดขึ้น มันเป็น อากาศธาตุที่ไหลเข้าออกไปในกายเฉย ๆ และตรงนี้แหละที่ "หายใจเข้า-ออก ยาว-สั้น หยาบ-ละเอียด" ก็จะ "รู้ทั้งหมด" และจะตรงกันกับ "อานาปานสติ" ที่มีกล่าวไว้ใน พระไตรปิฏก ทุกประการ

    +++ อาการทั้งหมดที่กล่าวมานั้น "ถูกต้อง ตามความเป็นจริง ของผู้ที่ ผ่าน ความรู้สึกตัว และ รู้ตัว ทั่วถึง" มาแล้วทั้งหมด

    +++ คำตอบคือ "มาถูกทาง" เรียบร้อยแล้ว

    +++ เรื่อง กรรมฐาน 40 กองนั้น เป็นการฝึก เพื่อตัดอุปสรรคที่ขวางกั้นการเข้าสู่ "อัปปนาสมาธิ" ทั้งสิ้น

    +++ แต่อาการของคุณที่กล่าวมานั้น คุณ "เข้าสู่ อัปปนาสมาธิ" เรียบร้อยแล้ว และ "เป็นสมาธิที่มีสติเป็นประธาน" ที่ถูกต้อง

    +++ ในกรณีของคุณนั้น เข้าถึงสิ่งที่เรียกว่า "จิตอ่อนควรแก่การงาน" ตามพระไตรปิฏกเรียบร้อยแล้ว

    +++ หากคุณสนใจที่จะ "ฝึกต่อยอดจากตรงนี้ขึ้นไป" ก็ลองเข้าไปอ่านต่อในกระทู้ "ฝึก กรรม-ฐาน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย" ในห้อง ประสบการณ์อภิญญา ได้นะครับ

    +++ แล้วคุณจะเข้าใจได้ชัดเจนเองว่า "อาการที่คุณมีประสพการณ์ผ่านมานี้" มีระบุกล่าวไว้แล้วในกระทู้นั้น นานแล้ว นะครับ
     
  11. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    ไว้ฟังก่อนนอนครับ

     
  12. SMING

    SMING เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2008
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +430
    ....การฝึกอานาปานสติ กำหนดรู้ลมเข้า ออก มีคำบริกรรม เข้า พุท ออก โธ
    ลมกระทบตรงปลายจมูกและริมฝีปาก ไม่มีการกำนดลมให้สั้น หรือ ยาว ครับ
    ต้องปล่อยให้เป็นธรรมชาติเหมือนเราหายใจปกติ ถ้าเกิดมันจะสั้น ยาว หยาบ ละเอียด
    มันจะเป็นเองครับ
    ....การพิจารณา เป็นการเจริญวิปัสสนา ครับ เช่นการเกิด การ ดับ ของสิ่งต่าง ๆ
    หรือแม้กระทั่งถึงศีล ว่ารักษาดีไหม ครบไหม หรือ รูป นาม เพื่อให้เกิดปัญญา
    ....นั่งไปเกิดเวทนา ยุงกัด มดกัน (ควรเลือกที่นั่งที่สัปปายะ ไม่มีสิ่งรบกวนถ้าหลีกเลี่ยงได้ และควรตัด ปลิโพธ ๑๐ ประการ)
    ....นั่งไปตัวเย็น ชา ไม่รู้สึก จิตเบา แสดงถึงจิตเริ่มสงบ แต่ว่า อาการของ ขณิกะสมาธิ
    คือเรามีอารมณ์จดจ่ออยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่งประเดี๋ยว ประด๋าว ตั้งมั่นได้เล็ก น้อย ซักพัก
    ก็เริ่มเผลอไปคิดปรุงแต่งอีก มีอาการ เคลิ้ม ๆวูบ วาบ เล็กน้อย
    ....การเริ่มต้นเป็นสิ่งที่ดีครับ ทำไปเรื่อย ๆครับ เดี๋ยวจะค่อย ๆ พัฒนาไปครับ
    ....กรรมฐานกองอื่นใน ๔๐ กอง นอกจาก อานาปานสติแล้ว ควรทำ อนุสสติ เพิ่มครับ
    ในหัวข้อ พุทธานุสติ ธรรมมานุสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ
    เพราะคุณเป็นคนมี ศรัทธาจริต และก็เคยทำมาในอดีตครับ...
     
  13. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ควรทำให้ได้เป็นประจำ เกือบทุกวัน ทำให้ได้ทุกอาทิตย์ และ เพิ่มเวลาปฏิบัติให้นานกว่าเดิมหน่อย

    นั่งให้ถึงสภาวะนี้บ่อยๆ จริงๆก็คือการฟอกจิตอย่างหนึ่ง และให้ดีควรพิจารณาความตายไปด้วย ง่ายๆ ให้รู้สึกทุกลมหายใจเข้า--ออกมีความตายอยู่เบื้องหน้าเสมอ ถ้าไม่หายใจเมื่อไร คนเราต้องตายแน่นอน
     
  14. ได้คับ

    ได้คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +106
    ร่างกายรู้สึกเบา เย็นสบาย นั่งได้นาน ระวังความสบายนะครับ สังเกตตรงจุดนี้ว่ามีความยินดี พอใจในความรู้สึกตรงนี้มั้ย ถ้ามีก็ให้ละความพอใจเสีย แล้วรับรู้แค่ร่างกายรู้สึกเบา เย็น สบายๆของมันไป อย่าเข้าไปเป็นด้วยกับมันก็โอเคแล้วครับ ฝึกที่จะละความยินดีพอใจในสภาวะทั้งหลาย มีสติสัมปชัญญะรู้อย่างเป็นกลางจะได้เป็นผู้ไม่เพลินอยู่ สาธุและอนุโมทนากับความเพียรของท่านครับ
     
  15. ขาจอน

    ขาจอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +470
    เรื่องสมาธิ
    ตรง เย็น สบาย ปิติ พอเราทำไปมันสงบระงับ อายตนะทำงานแต่ไม่มีการ กระทบจิต ต่างอันต่างทำงานตามปัจจัย
    ให้สังเกต ตรงเย็น ซาบซ่านทั่ว ว่ามันเสียดแทงสมาธิ ทำให้
    กายเกิด เป็น แข็ง อ่อน ร้อน เย็น ตึง ไหว ซาบซ่าน แปรปรวน ตามปัจจัยของ ภพ
    สังเกตการปรากฏขึ้นของกายสังขาร ตา หู ตัว แขน ขา หน้า สังขารเหล่านี้ ทำให้พลัดตกจากความสมาธิ
    รู้ไปตามที่มันเป็น จมภพสุข ซาบซ่าน เพ่งมือเท้า แข็งตึง อยู่ก็รู้ หลงไปตามสังขารก็รู้ ไม่ประครองรักษา
    หัดสังเกตความต่างของสังขาร กับ สัญญา ที่ปรากฏ จะค่อยแยก สมมติ กับ ปรมัตถ์ ได้ชัดเจนขึ้น
    การทำสมาธิก็จะควบคู่ปัญญา อาศัยระลึกรสสัมผัสของความต่างใน กองสัญญา ที่เป็นปรมัตถ์ธรรม ตามเห็นการแปรปรวน เกิดดับ ของสัญญา สังขาร เพื่อ ถอดถอน ความหมายรู้ผิดต่อสภาวะธรรมต่างๆ ว่ามีตัวกูของกูอยู่ ในนั้น
     
  16. [หนุมาน]

    [หนุมาน] สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2016
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +3
    ขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านครับ
    ถ้า ผมใช้ อารมณ์ เป็น ที่ ตั้ง ในการ อ่าน ย่อม มองไม่เห็น หรือ เห็นน้อย เป็นแน่
    ที่ อาจารย์ หลายท่าน ได้ บอก ได้ สอนผม มา ผม เข้า ใจ และ จะนำปฎิบัติ ตาม ครับ
    และ อาจารย์ พอ จะ แนะ นำ ที่ ปฎิบัติ ตามธรรมชาติ ที่ มี ครูอาจารย์ แนะนำ แบบไกล้ชิด หน่อย พอจะ ทราบไหมครับ
     
  17. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    หากชอบทางภาคอิสาน แนะนำ
    ตามลิ้งค์ครับ

    หลวงปู่อว้าน เขมโก
    เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

     
  18. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    หากอยู่ กทม. แนะนำตามลิ้งค์ครับ

    ต้องรีบหน่อยและตั้งใจมากๆ

    สำนักสงฆ์สวนทิพย์ หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต

    กราบนมัสการ หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต สำนักสงฆ์สวนทิพย์ นนทบุรี | FaithThaistory ภารกิจเที่ยววัด
     
  19. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,686
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    ฝากบทเรียนข้างล่างนี้ให้คุณ [หนุมาน] download ไปอ่านดูครับ ลองอ่านที่ผมแนะนําดู แล้วจะเข้าใจวิธีปฏิบัติอย่างถูกทางได้ครับ ตามนี้ครับ อนุโมทนาครับ ขอให้โชคดีครับ

    พระอภิธรรม on line บทที่ 2 ชีวิต, ขันธ์ 5, รูปนาม, จิต

    พระอภิธรรม on line บทที่ 6 ชีวิตมาจากไหน ?

    พระอภิธรรม on line บทที่ 7 กรรม และผลของกรรม

    สําหรับเรื่องของการทําสมาธิที่คุณ [หนุมาน] กําลังสงสัย ก็อ่านบทที่ 9 ได้เลยครับ และถ้าคุณ [หนุมาน] ต้องการปฏิบัติสู่นิพพาน ก็ต้องฝึกวิปัสสนาไปด้วยในบทที่ 10 ยังไงลองอ่านดูครับ

    พระอภิธรรม on line บทที่ 9 สมถกรรมฐาน 40

    บทที่ 10 วิปัสสนากรรมฐาน

    http://palungjit.org/threads/downlo...ียนดีมาก-ๆ-เป็นแก่นหลักของธรรมะโดยตรง.561649/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2016
  20. [หนุมาน]

    [หนุมาน] สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2016
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +3
    อาจารย์ครับ ผมมีเรื่อง ถามอีกหน่อย
    คือ ผม เจริญสมาธิ ด้วย อานาปานสติ ดูลมหายใจ มันสงบไวมาก ซัก พัก ไม่รู้สึกตัว ไม่ได้ยินเสียง ไม่มีอาการใดเลย ลมหายใจที่ จับอยู่ ละเอียดๆ ขึ้นๆ จนจับลมหายใจไม่ได้ จนลมหายใจ หายไป แต่รู้ว่ามันหายใจเองอยู่ อาการอะไรไม่มีเลย รู้ว่าว่างๆ

    ถามครับ คือ ผมไปไม่ถูกละ คือลมหายใจ มันจับไม่ได้ละ มันหายไป อาการอะไรก็ไม่มีเลย มันว่างๆ ไงแปลกๆ ยังมีสติไปรับ รู้ ว่ามัน ว่างๆ และ รู้ว่ามันหายใจเองอยู่ คือมันจะรู้แค่นี้หรอครับ หรือ ว่า มันจะต้องรู้อะไร ใน สภาวะ ตรงนี้ อีก
     

แชร์หน้านี้

Loading...