"จุดของการตั้งจิต" และ "ถอดจิตหรือแค่ฝันไป" (ขอคำแนะนำ)

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย Totoro24, 24 เมษายน 2016.

  1. Totoro24

    Totoro24 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +25
    "จุดของการตั้งจิต"
    เพื่อนๆเวลาทำสมาธิ ไม่ว่านั่งหรือนอนจะตั้งสมาธิไว้ที่ไหนครับ ถ้าตั้งตามความถนัดหรือความชอบเราได้ไหม ส่วนตัวผมมักจะนอนสมาธิแล้วตั้งจิตไว้ตรงกึ่งกลางอกเวลานอนเพราะรู้สึกสงบ ไม่ชอบภาวนาครับชอบจับความรู้สึกตัวว่าเรากำลังนอนหายใจอยู่แต่รู้สึกไว้ที่กลางอกสบายๆ ไม่นึกอะไรทั้งสิ้น ให้มันว่างๆ เบาๆ ไปเรื่อยไม่รู้ว่าจะใช้คำพูดยังไง
    ***ถาม***
    ผมทำผิดหรือบกพร่องตรงไหน หรือควรปรับตรงไหนไหมครับเพราะทำเองไม่มีครูแนะนำ


    "ถอดจิตหรือแค่ฝันไป"
    ผมเป็นคนที่นั่งสมาธิไม่ก้าวหน้าเลย นั่งได้ไม่นาน อยากได้คำแนะนำ เวลานั่งมักจะรู้สึกเครียด นั่งไปนานๆจะรู้สึกหายใจไม่เต็มปอด หายใจไมาสะดวกจึงชอบตั้งสมาธิท่านอน ถ้าหลับก็หลับไปเลย แต่ถ้าไม่หลับมักจะเกิดอาการแขนขาเคลื่อนไหวเอง ถาง บิด หักเอง ร่างกายหมุนพลิกไปมาบนที่นอนเอง ผมชอบดูอาการไปเรื่อยๆ มันสนุกดีแปลกๆ สักพักหนึ่งก็รู้สึกว่าร่างกายหมุนดีดขึ้นรู้สึกถึงลมที่ผ่านตัว บางครั้งก็ไหลออกมาลุกขึ้นนั่งเองแบบไม่ตั้งใจเหมือนเราลุกขึ้นเอง รู้สึกตัวเองทุกอย่าง ไม่เห็นร่างกายตัวเองที่นอน แต่สภาพแวดล้อมเป็นแบบสภาพแวดล้อม ณ เวลานั้นทุกอย่าง ทั้งความมืด ทั้งข้าวของต่างๆในห้อง เป็นแบบนี้มา สิบกว่าครั้งแล้วในช่วง 5-7 เดือนที่เริ่มฝึกสมาธิ บางครั้งสงสัยตัวเองก็จับผิดตัวเอง เมื่อฝันว่าลุกมาเดิน เช่น
    -เดิน ลอย (ผลคือ ตอนเป็นใหม่ๆ เดินไม่ค่อยได้เดินเซ เดินแบบลอยๆ เบาๆ ช่วงหลังๆที่เป็นเริ่มบังคับตัวเองได้ นึกอยากลอบก็ลอยได้แบบงงๆ)
    -พยายามจะออกจากห้อง (ผลคือออกไม่ได้รู้สึกตื่นก่อน)
    -ทะลุกำแพง (เข้าไปได้แค่หัว ก็มืดๆ มองไม่เห็นอะไร)
    -สังเกตที่นอน (มองไม่เห็นร่างกายตัวเอง บางครั้งก็ลืมสังเกต)
    -มองดูสภาพแวดล้อมรอบตัว (เหมือนจริง มืดช่วงตีสอง ก็เป็นแบบนั้นจริงๆ)
    -จำกัดเวลาไม่ได้ สักพักก็จะตื่นรู้สึกตัวที่ๆนอนเอง ถ้าจำความรู้สึกนั้นได้ก็ตั้งสมาธิอีกทันทีจะสามารถฝันว่าออกมาเดินในห้องได้อีก 1-4 ครั้งต่อเนื่องกันในคืนนั้นๆ
    ***สังเกตุว่าเมื่อไหร่ที่เราตั้งใจให้ เป็นก็จะไม่เป็น แต่เมื่อไหร่ที่จิตสงบ สภาพแวดล้อมสงบเป็นใจ เวลาช่องตีสอง และไม่หวังให้เป็น ก็มักจะเป็นและการเป็นแบบนี้มันไม่ได้อะไรเลย แค่สนุก และมีความสุขเฉยๆ เหมือนเด็กกำลังอยากเล่น อยากทำ มันแปลกดี
    ***ถาม***
    การนอนสมาธิจะเป็นการทำให้ติดความสบายเกินไปไหมครับ เพราะนั่งแล้วรู้สึกไม่สบายรู้สึกเมื่อย เครียด

    ***ถาม***ช่วยตอบให้หายสงสัยหน่อยครับว่าเขาเรียกว่าฝันใช่ไหม แล้วจะสามารถเอาไปต่อยอดในทางธรรมได้อย่างไร เพราะทุกครั้งรู้สึกไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย แค่ได้ความสนุก และแปลกใจ ยินดีรับคำแนะนำ และแชร์ประสบการณ์กันได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2016
  2. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,611
    ค่าพลัง:
    +3,015




    1 การนอนสมาธิ เป็นสิ่งที่ทำได้ครับ
    ทั้งยังถูกต้องตามหลักวิธีอีกด้วย
    แต่ส่วนมาก จะเป็นพวกที่เคยเป็น พญานาค มาก่อน
    พอมาในชาตินี้ จึงชอบอยู่ในท่านอน
    เพราะเป็นท่าที่สบายที่สุด

    2 การฝัน อย่างนั้น จะมีแต่กับผู้ที่ฝึกใหม่ๆ เท่านั้น
    เป็นเหมือนอาการ ฝันในฝัน ของวัดธรรมกาย
    คือเหมือนจริงมากๆ ถ้าจะบอกว่า จริง ก็ใช่
    แต่จะบอกว่า ไม่จริง ก็ได้เช่นกัน
    ผู้ฝึกใหม่ ยังไม่คล่องในอภิญญา
    จะล้มลุกคลุกคลาน คล้ายๆ เด็กหัดเดิน
    หัดเหาะ แต่จะเหาะไม่ค่อยได้
    เพราะยังติดกลัวตายอยู่
    กลัวว่า ถ้าเหาะไปแล้วตกตายขึ้นมา
    ผลสุดท้ายจึงเหาะไม่ได้
    ช่วงนี้ จะเป็นที่ เทวดา และ สัมภเวสี ชอบมาก
    จะมาประลองฤทธิ์เป็นประจำ
    มาขอส่วนบุญก็มาก

    ต่อไปให้ ฝึกฝัน ให้ได้บ่อยๆ
    แล้วอภิญญาต่างๆ จะเกิดขึ้น
    ใครจะว่ายังไง ก็อย่าพึ่งไปสนใจ
    สนใจแต่ การฝึกใช้อภิญญา อย่างเดียว
    เพราะคนส่วนมาที่ฝึกสมาธิ
    จะไม่ได้ฝันอย่างนี้ทุกคน
    มันเป็นของเก่า ตั้งแต่อดีตชาติ
    ของคนๆ นั้น ที่มีมาก่อนแล้ว
     
  3. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,611
    ค่าพลัง:
    +3,015
    การได้อภิญญาของผู้ที่ได้ฝึกทำสมาธิ
    จะทำให้ เห็น นรก สวรรค์ นิพพานได้
    เมื่อต้องการตัด วงจรปกิจจสมุปบาท หรือ
    วงจรชาติภพ ผู้ที่ได้อภิญญา ก็จะรู้ได้ว่า
    นรกที่เขาว่าทุกข์ ทุกข์อย่างไร ด้วยการไปเห็นเอง เจอเอง
    และ สวรรค์ ที่เขาว่า สุข นั้น สุขอย่างไร ด้วยการไปดูสวรรค์
    เมื่อเอามาพิจารณา ร่วมกับ ไตรลักษณ์
    จะทำให้เบื่อหน่าย ในการเกิด ไม่อยากเกิดอีก
    จิต ก็จะสามารถ ตัดวงจรนี้ให้ขาดได้
     
  4. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,611
    ค่าพลัง:
    +3,015
    จุดกลางหน้าอก
    เป็นจุดทำสมาธิของวัดธรรมกาย
    ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
    ท่านสอนไว้ ไม่ได้นอกตำราแต่อย่างใด

    จุดนี้ เนื่องจาก ตั้งมั่นไว้ที่ลิ้นปี่ หรือ กลางหน้าอก
    ดังนั้น จึงเป็นที่ทำให้ผู้ฝึก เกิด โภคทรัพย์
    คือ จะไปเร่งให้ทรัพย์ของเราที่เราเคยทำบุญเอาไว้
    มาส่งผลให้เราได้ใช้เร็วขึ้น

    ทั้งยังเป็นจุดมโนทวาร หรือ จิต หรือ ใจ
    ซึ่งนำไปสู่ อรูปญานที่สาม
    ดังนั้น ผู้ฝึกอาจจะสำเร็จอรูปญานได้ด้วย
    หากตั้งใจได้ถูกต้อง

    และอีกอย่างนึงที่ต้องระวังให้ดี ก็คือ
    จุดนี้อยู่ใกล้หัวใจ
    ดังนั้น จุดนี้จะใช้รักษาโรคได้ด้วย
    ด้วยการกระตุ้นให้เต้นเร็วขึ้น หรือ อ่อนลงได้
     
  5. Totoro24

    Totoro24 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +25
    ขอบคุณมากๆนะครับคุณnilakarn ที่ช่วยแนะนำผมจะลองไปศึกษาเพิ่มและทำตามคำแนะนำนะครับ ส่วนตัวติดตามกระทู้เกี่ยวกับอรูปญาณของคุณเสมอรู้สึกชอบและสนใจมากๆครับ :cool:
     
  6. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    ถ้าจะพัฒนาต่อจากนี้ได้ ก็ให้ขยับมาตรงลิ้นปี่ครับ..
    เพราะฐานของจิตมันอยู่ตรงนั้นครับ..
    การย้ายจิตไปที่อื่นๆนอกจากนี้ เราย้ายไปไว้ตรงไหน
    เราก็จะตึงตรงนั้นครับ..ส่วนการหายใจเข้าออกก็ปรับ
    ให้ลึกถึงท้องด้วยครับ หายใจเข้าท้องยุบ หายใจออกท้องพอ
    ถ้าเรานั่งสมาธิสายตาปกติเราให้หลับไปเลยครับ..
    ส่วนลมหายใจนั้นไม่ต้องไปตามครับเพราะจะเป๊กที่ปฐมฌานได้
    ให้ทำความรู้สึกรับรู้ว่ามีลมเข้าและลมออกกระทบที่ปลายจมูกก็พอครับ
    จะเป็นการตัดการใช้ระบบความคิดที่มาจากสมอง และป้องกัน
    ตัวจิตย้ายจากฐานเป็นผลทำให้จิตเกิด ขาดกำลังสมาธิสะสมได้
    อย่างที่เราคาดไม่ถึงครับ...

    ส่วนกิริยาที่เกิดเป็นที่เหมือนคล้ายๆกึ่งหลับกึ่งตื่น เป็นผลจากกำลัง
    สมาธิที่ตกลงมาจากระดับปฐมญานครับ จิตเลยพอมีความเป็นทิพย์บ้าง...
    ก็จะเป็นกิริยาอย่างที่เป็นนั่นหละครับ แต่ก็ไม่มีประโยชน์อะไรครับ
    ไม่ทำให้เกิดความสามารถหรือว่าช่วยตัดกิเลสอะไรได้เลย..
    อีกอย่างถ้ายึดติดจะทำให้หลงตัวเองได้อย่างคาดไม่ถึงอีกด้วยครับ...
    และต้องเข้าใจไว้อย่างหนึ่งว่า สภาวะที่คุณเข้าได้นั้น
    แม้แต่ผู้ที่ไม่เคยฝึกสมาธิมาก็สามารถทำได้ครับ...

    แต่ว่าสภาวะนี้ไม่ใช่ว่ามันไม่มีประโยชน์ครับ วิธีแก้มี ๒ แนวทาง
    ๑..ถ้าเราจะใช้ท่านอนสมาธินะครับ..
    อย่างน้อยลมหายใจเราจะต้องมากระทบอวัยวะร่างกายของเรา
    ส่วนใดส่วนหนึ่งครับ จะเป็นนิ้วมือก็ได้ครับ.
    ไม่งั้นเราจะหลับแน่นอนล้านเปอร์เซนต์ครับ
    และก็ไปสู่สภาวะที่เห็นโน้นนี่นั้น
    ที่ไม่มีประโยชน์อีกครับ..
    ลืมตาออกมาตัวจิตก็ไม่เห็นจะมีความสามารถอะไร
    กิเลสต่างๆก็ยังอยู่เท่าเดิมอีก ประมาณนี้ครับ

    ๒.ถ้าเราเข้าสภาวะที่เห็นโน้นนี่นั้นได้แล้ว
    อย่าไปพยายามฝืนที่จะทำโน้นนี่นั้นหรือไปคาดหวัง
    ว่าจะเห็นโน้นนี่นั้นอะไรได้นานๆนะครับ...
    เพราะว่าการที่เราอยู่ในสภาวะแบบนั้น
    แล้วเราไม่เข้าใจ มันฟ้องว่ากำลังสติทางธรรม
    ที่จะทำให้เราเข้าใจนามธรรมของเรามันยังไม่ดีพอครับ
    เราต้องมาเจริญสติในชีวิตประจำวันให้ต่อเนื่องจะด้วย
    วิธีอะไรก็ตามขอให้ฐานอยู่ที่กายเราครับ...

    และถ้าเราเข้าสภาวะนั้นอีก..
    ให้เราระลึกและเลิกสนใจมันทันทีครับ..
    และให้เราออกมาสู่สภาวะปกติแต่ว่า เราอย่าลืมตานะครับ...
    ให้เราทำแบบนี้ ถ้ามันเข้าไปอีก เราก็ระลึกออกมาอีกครับ..
    เป้าหมายเพื่อให้มันเข้าออกได้บ่อยๆครับ...
    อย่างนี้ถึงจะเป็นรูปแบบการปฏิบัติที่จะใช้อารมย์
    ตรงนี้ให้เกิดประโยชน์ได้ในอนาคตครับ...
    พอเราเข้าออกได้บ่อยๆ นอกจากจะตัดความอยากลึกๆ
    ในการทำโน้นนี่นั้นที่มันมักจะทำให้เรา
    หลุดออกจากอารมย์ตรงนั้นเป็นปกติแล้ว
    การฝึกเข้าออกบ่อยๆ จะช่วยเพิ่มกำลังสมาธิสะสม
    และเพิ่มความคุ้นเคยให้กับตัวจิต..
    ที่สำคัญก็คือ ไอ้ตัวสติที่ระลึกรู้ตอนที่เราเข้าไปเหมือน
    เมื่อก่อนนั้น เมื่อมันรวมกับสมาธิสะสมที่ได้ตรงนี้
    จะทำให้เราอยู่ในสภาวะอารมย์นั้นได้นานขึ้นอย่างน่าประหลาดใจครับ....

    เมื่อผ่านตามที่แนะนำมาแล้ว..ประโยชน์ของสภาวะนี้ที่ควรใช้
    ก็คือ การพิจารณาเพื่อเดินปัญญา สำหรับการลด ละ กิเลสตัวที่
    เรารู้ตัวเราเองดีว่าเรายังอ่อนครับ..เช่น เราติดเรื่องอยากมีสัมผัส
    หรืออยากมีความสามารถพิเศษ ในระหว่างวันก็ให้เรานึกๆไว้ว่า
    เรายังติดเรื่องนี้อยู่ และก็ให้ลืมๆมันไป ทำเฉยๆ
    พอเราเข้าสภาวะนี้ได้อีกรอบหนึ่ง เรื่องนี้มันจะผุดขึ้นมาให้เรา
    สามารถพิจารณาได้อัตโนมัติครับ และเราจะพิจารณาได้ว่า
    มันควรหรือไม่ควรอย่างไร
    มันมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์อย่างไร
    มันเป็นกุศลหรืออกุศลอย่างไร
    ถ้าไม่ทำอย่างนี้ เราจะหลุดออกจากอารมย์
    นั้นทันทีครับ ตรงนี้เป็นทริกควรจำไว้ด้วยครับ...

    แต่ด้วยสภาวะอารมย์ระดับนี้ ใช้กำลังสมาธิไม่มาก
    ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ ที่เราจะพิจารณาอะไรแล้ว
    ตัวจิตเรามันจะคลายได้ทันทีครับ...
    เวลาเรากลับสู่สภาวะปกติแล้ว
    เราจะรู้สึกว่า จิตเรามันยังฟู หรือว่าจิตมันยังเกิดอยู่
    หากนึกถึงเรื่องที่เราพิจารณา แต่ให้เข้าใจเอาไว้ว่า
    มันเป็นเรื่องปกติครับ ดังนั้นไม่ว่าเรื่องอะไรเราควร
    เข้าสู่สภาวะในการพิจารณาให้ได้ หลายๆครั้ง..
    กิริยาที่จิตเกิดเมื่อนึกถึงเรื่องนี้ ก็จะค่อยๆเบาบางลง
    จนถ้าหากเราพิจารณาได้บ่อยๆแล้ว ต่อมาในสภาวะปกติ
    ตัวจิตก็จะแทบไม่นึกถึงเรื่องนี้เลยครับ..
    วิธีสังเกตุ ถ้าตัวจิตมันตัดอะไรได้แล้ว
    ต่อให้เรานึกอย่างไรมันก็จะนึกไม่ออกครับ
    และถ้าไปเจอสถานะการณ์อะไรก็ตาม
    ที่เคยทำให้จิตเราเกิดเหมือนเมื่อก่อน
    เราก็จะรู้สึกเฉยๆครับ..
    สภาวะนี้ ต้องพิจารณาซ้ำให้ได้ ประมาณ รอบ
    ที่ ๔ หรือ ๕ นะครับถึงจะได้ผลครับ....

    ส่วนถ้าจะพัฒนายกระดับสมาธิแล้วนั้น..
    ยังก็ต้องมาเปลี่ยนมาเป็นท่านั่งครับ
    นั่งทิ้งขาก็ได้ครับ...ไม่งั้นถ้าอยู่ในท่านอนต่อไป
    ตัวจิตมันจะก้าวกระโดดขึ้นไปสู่อรูปฌานไร้สาระ
    หรืออรูปฌานที่มักจะทำให้นักปฏิบัติหลงตัวเอง
    คิดว่าตัวเองเก่งกว่าใครได้ครับ..
    เพราะสภาวะอรูปฌานแบบนี้
    ต่อให้ไม่เคยฝึกสมาธิอะไรมาก็สามารถเข้าถึงได้ครับ..
    สภาวะที่เหมือนไปอยู่ในอากาศ อยู่ในอวกาศ
    บางทีมันก็สามารถเกิดแสงสว่างสีขาว
    ไปทั่วทั้งบริเวณที่เรานั่งสมาธิได้ครับ
    แต่แสงนี้ ให้เข้าใจเอาไว้ว่า มันเกิดได้ปกติครับ
    และสังเกตุดีๆก็คือ มันจะไม่เย็นครับ
    แต่ถ้าไปยึดตรงนี้ จะหลงคิดว่าตัวเองบรรลุธรรมได้เลยครับ
    บางทีก็มโนไปเลยว่า มีระดับโน้นนี่นั้นเข้ามาคุย
    เข้ามาสอนธรรมะเราครับ..อันตรายมากๆนะครับ ถ้าติดไปแล้ว
    นี้ทีหละ กู๋ไม่กลับ เพราะใครก็จะสอนไม่ได้
    เพราะคิดว่าตัวเองบรรลุครับ ความเข้าใจทางนามธรรมจะอ่อน
    และจะดูไม่ออกว่า อะไรเป็นอะไรครับ..
    ทั้งๆที่ไม่มีความสามารถทำอะไรได้เลยจริงๆ
    ในสภาวะลืมตาปกติ แต่ก็ยังหลงตัวเองได้
    เพราะฉนั้นให้ระวังให้ดีๆครับ
    ถ้าเกิดขึ้นให้เราเฉยๆเอาไว้ครับ
    นี่คือบอกๆเตือนๆกันไว้เฉยๆนะครับ

    และถ้าทราบว่าตัวจิตเราทำอะไรไม่ได้เลย
    สภาวะนี้ต้องบอก ต้องเตือนไว้ก่อนอีกรอบครับ
    เพราะถ้าหลงไปแล้ว โอกาจะกลับมาคงยากครับ....
    สภาวะนี้ก็คล้ายๆกับ กึ่งหลับกึ่งตื่นอย่างหนึ่ง
    คือ พอลืมตาขึ้นมา เราก็ยัง ติด ในลาภ ยศ สุข สรรเสริญอยู่
    พูดง่ายๆว่า ยังอยากดี อยากเด่น อยากดัง
    อยากได้รับการยอมรับ สรรเสริญอยู่นั่นหละครับ..
    และที่สำคัญก็คือ ไม่มีความสามารถทางจิตอะไร
    ที่จะสามารถพิสูจน์ หรือ แสดงให้บุคคลอื่นๆรับรู้ได้...
    แต่เป็นที่น่าประหลาดใจมาก. ว่า หากยึดติดไปแล้ว
    สิ่งที่เห็นได้เฉพาะในนิมิต รู้เห็นได้คนเดียว
    จะสามารถทำให้หลงตัวเองได้อย่างคาดไม่ถึงเช่นกันครับ..
    เพราะจะเผลอไปยึด สิ่งที่เห็นในนิมิตว่าเป็นเรื่องจริง
    เป็นจริงๆเป็นจัง จนบ้างครั้งจนกลายเป็นตัวเองไปเลย
    เพราะฉนั้น ควรระมัดระวังเรื่องนี้ให้ดีๆด้วยครับ


    และถ้าจะยกรับดับพัฒนาสมาธิต่อไป ก็ให้ปรับระบบหายใจ
    ปกติในชีวิตประจำวันเราให้มันลึกก่อนครับ
    แล้วค่อย ไปต่อยอดด้วยการขึ้นรูปกรรมฐานกองอื่นๆครับ..
    เพราะว่ามันเป็นพื้นฐานที่สำคัญครับ
    ไม่งั้นเราจะฝึกกรรมฐานอะไรก็จะเข้าถึงความสำเร็จได้ช้าคับ
    จะเป็นภาพพระหรือกสิณก็ได้ แล้วแต่จะชอบครับ..
    อรูปฌานนั้น ยังไงเราก็ต้องสร้างรูปให้ได้ก่อน
    จากตัวจิต ด้วยมองผ่านจุดเหนือระหว่างคิ้วครับ
    ถึงจะเป็นการสร้างจากตัวจิตเราจริงๆ
    ไม่ใช่สร้างจากความคิด หรือจากขันธ์ ๕ นามธรรม
    หรือสร้างจากกิเลสลึกๆในใจเราแบบคาดไม่ถึงครับ..
    และมันก็ต้องฟิตพอสมควรนะครับ..

    และถ้าสร้างรูปได้แล้ว ถึงจะเกิดผลต่อตัวจิตเราได้
    หากเราสามารถปั่นปฏิภาคนิมิตได้ แล้ว
    ตัวจิตเราถึงจะพอมีกำลังจิตและสมาธิสะสมครับ..
    ความสามารถต่างๆแม้เราไม่ต้องการมันก็จะเกิดได้
    ของมันเองอัตโนมัตครับ..ไม่ว่าการจะเข้าถึงอากาศธาตุ
    เข้าถึงวิญญานธาตุ หรือความว่าง มันจะเริ่มมาเองครับ
    พวกความสามารถที่พูดๆไว้ก่อนหน้า แม้ไม่อยากให้มันเกิด
    มันก็จะเกิดและรับรู้ ทำได้เองครับ เพราะมันเป็นผลที่ได้
    จากการฝึกที่จะเกิดขึ้นเป็นปกติ แต่ไม่ควรให้ความสำคัญกับมันครับ
    ส่วนจะไปต่ออรูปฌานขั้นไหนเพื่อพิจารณานั่นก็ต้องฟิต
    เพราะต้องใช้กำลังสมาธิในระดับสูงพอสมควรครับ....

    ประเด็นนี้บอกไว้ก่อน ถือว่าเตือนๆกันครับ...
    ถ้าหากว่าในอนาคตคิดว่า ตัวเองสร้างรูปได้
    และถึงอรูปฌานได้..ต้องตอบตัวเองด้วยว่า
    ณ เวลานั้น เราสามารถเล่นกับพลังงานรอบๆตัว
    เราต่างๆ ไม่ว่าจะจากกสิณกองอะไรก็ตาม
    หรือพลังงานร้อนหรือเย็นที่มีโดยธรรมชาติได้เป็นปกติไหม
    และเราสามารถถ่ายเทพลังงาน เคลื่อนย้ายพลังงาน
    จากวัตถุต่างๆได้ไหม...
    และที่สำคัญก็คือ สามารถทำให้คนอื่นๆรับรู้เหมือนที่เรา
    รับรู้ได้หรือไม่.


    สมมุติว่า ในอนาคตคุณไปเจอบุคคลที่เค้าบอกว่า เค้าได้อรูปฌาน
    ให้คุณลองให้เค้า พิสูจน์ให้คุณดูซิว่า เค้าสามารถเรียก
    พลังงานต่างๆ ขึ้นมาให้คุณรับรู้และสัมผัสได้ไหม
    ถ้าเค้าบอกว่า ฝึกกสิณมา เค้าจะต้องเรียกพลังงานกสิณกองไหน
    ก็ได้ให้คุณรับรู้ได้ ถ้าเค้าบอกว่า มาทางมโนยิทธิ
    เค้าก็จะต้องเพียงแค่ เอานิ้วแตะตัวคุณ
    คุณก็จะต้องเห็นอย่างที่เค้าเห็นได้..
    ตรงนี้บอกไว้เฉยๆครับ จะได้เอาไว้
    พิจารณาประกอบ ว่าเราควรรับรู้ใน
    ส่วนไหนที่มีประโยชน์กับเราครับ...
    เพราะความสามารถที่เล่าให้ฟังนั้น
    เป็นเพียงแค่ระดับพื้นๆที่คนเข้าถึง
    อรูปฌานจะเกิดมีเป็นปกติครับ
    แต่มันจะเป็นภัยและไม่พื้นๆทันที
    หากว่าเราไปยึดติดกับมันครับ..

    และถ้าหากว่าเราทำอย่างที่พูดไม่ได้ภายในเสี้ยวนาที
    ให้พึ่งระลึกเอาไว้เสมอว่า ไอ้รูปที่เราปั่นได้ มันเป็นเพียงแค่
    ระดับสมาธิไม่มากที่ไม่มีประโยชน์กับตัวจิต...
    และสภาวะอรูปฌานที่เราเข้าถึงนั้น มันเป็นสภาวะที่ตัวจิต
    เราทิ้งรูปได้ ในอารมย์สมาธิไม่มากเช่นกัน....
    เพราะพวกปั่นๆภาพอะไรพวกนี้
    แค่เพียงจิตเคยสัมผัสความเป็นทิพย์มาบ้าง
    คือพอเห็นผี เห็นวิญญานได้
    มันก็สามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติทุกคน
    โดยที่ไม่ต้องฝึกครับ..พึ่งเข้าใจเอาไว้ด้วยครับ


    พึ่งระลึกและพิจารณาเอาไว้ร่วมด้วย
    ก็จะป้องการ หลงเข้าใจผิด คิดว่าตัวเองนั้นเก่งได้
    อย่างคาดไม่ถึงในอนาคตครับ...
    ท้ายสุดนี้ อย่าลืม ที่สำคัญที่สุดคือ เน้นเอากำลังสมาธิที่ได้
    ไม่ว่าระดับไหน เพื่อยกขึ้นวิปัสนาเป็นประเด็นหลักนะครับ (^_^)
    ปล.คนที่ถอดจิต ส่งจิตไปที่โน้น นี่นั้นได้ ไม่ว่าจะในโลกนี้
    หรือภพไหนได้ก็ตามนั้น มันเป็นเพียงแค่นิสัยเดิมของจิต
    ที่มันชอบท่องเที่ยวครับ และยิ่งถ้าหากว่า ไปถึงแล้ว ไปได้แล้ว
    ไม่รู้ว่าที่ๆไปมันคืออะไร ไม่เข้าใจอะไร นั่นก็แปลว่า สติทางธรรม
    ของเรามันยังอ่อนครับ..และลืมตามาครั้งแรกก็ไม่เข้าวัตถุประสงค์
    นี่ก็บอกได้ว่า กำลังสติทางธรรมเรามันยังอ่อน..
    และยิ่งไปแล้ว ไปร่วมด้วยกับเหตุการณ์ แต่แสดงนิสัยแย่ๆต่างๆ
    แสดงว่า กิเลสส่วนนั้นของเรายังมีอยู่ในจิตเราครับ...
    ถ้าเราไม่เลิกสนใจ แม้ว่ามันจะดูเหมือนเป็นธรรมและเราไม่ยึด
    แต่ว่ามันเป็นกิเลสธรรมอย่างหนึ่งครับ
    มันจะทำให้เราไม่สนใจสร้างสติและเดินปัญญา
    จะยึดติดแต่เรื่อง พวกความสามารถพิเศษต่างๆ
    อยากจะทำโน้นนี่นั้นได้เกี่ยวกับอะไรที่พิเศษๆครับ..

    ตัวจิตนั้น ถ้าเราจะเป็นนักปฏิบัติที่ไม่หลงตัวเองในอนาคต
    เน้นเพื่อนำกำลังสมาธิที่ได้มาเดินปัญญาซึ่งเป็นหลักสำคัญ
    ของพุทธศานานแล้วนั้น จิตมันจะออกเราต้องบังคับไม่ให้มันออกครับ
    และถ้ามันจะไปไหน เราต้องตามไปด้วยตลอดครับ..
    ตัวที่จะตามได้ ก็คือ สติทางธรรมที่เราสร้างจากการ
    เจริญสติในชีวิตประจำวันนั่นหละครับ
    ซึ่งถ้าเรามีสติ เราจะรู้จะเห็น ในขณะที่มันกำลังเดิน
    ทางไปยังสถานที่นั้นๆได้ครับ..
    ถ้าไปถึงแล้วพึ่งรู้ว่ามาถึงได้ ให้ระวังเรื่องการสร้างสติให้ดีๆ
    ดังที่ได้เตือนไปแล้วข้างบนครับ..

    หวังว่าจะพอได้ฉุกคิดอะไรๆได้ จากอ่านบทความนี้นะครับ
     
  7. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ แรก ๆ 20 กว่าปีมาแล้ว ผมตั้งที่ "ความรู้สึกตัวทั่วถึง"

    +++ หลังจากที่รู้ว่า "อาการของสติ" ที่แท้จริงเป็นอย่างไร ก็ไม่ได้ตั้งจิตอีกเลย เป็น "อาการรู้ของสติ" เฉย ๆ นอกนั้น "อะไรจะมี ก็คือมี อะไรไม่มี ก็คือไม่มี" ทั้งหมดที่ มี-ไม่มี เป็นแค่ถูกรู้ แค่นี้เอง

    +++ สมาธิแบบ "นั่งนาน นั่งทน" ผมไม่แนะนำ ที่จะแนะนำ คือ "นั่งให้เป็นนิสัย และ รู้ปรากฏการณ์ทุกชนิด ในปัจจุบัณขณะ ณ ขณะนั้น ๆ" ตรงนี้คือ "ตั้งสติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า" ของพระพุทธเจ้า

    +++ ตรงนี้ทั้งหมด เป็นผลลัพธ์มาจาก "ความรู้สึกตัวทั่วถึง" และตรงนี้เรียกว่า "ถอดกาย" แต่กายที่ถอดออกมานั้น ยังอยู่ในระดับของ "เวทนานุปัสสนา" ตรงนี้ผมเรียกมันว่า "กายเวทนา"

    +++ คำว่า "กาย" หมายถึง "สภาวะใดก็ตามที่ จิตยึดถือเอาเป็นตน สภาวะนั้นเรียกว่า กาย" และตาม "มหาสติปัฏฐาน 4" นั้น จิตมักจะยึดเอา 1. กายเนื้อเป็นตน 2. กายเวทนาเป็นตน 3. กายจิตเป็นตน 4. กายธรรมารมณ์เป็นตน

    +++ ตรงนี้ คุณ อาจไม่เคยได้ยินหรืออ่านมาจากที่อื่น แต่ให้อ่านต่อไปให้ดี จะเข้าใจได้ดีมากขึ้นเอง

    +++ ในยามที่คุณ "ถอดกาย" ออกไปนั้น 1. คุณรู้ตัวเอง "ชัดเจน" 2. มีสติสัมปชัญญะ "รู้สถานการณ์ (ธรรมเฉพาะหน้า)" ตลอดเวลา 3. คุณ "ไม่ใช่กายเนื้อ" และยังมีอื่น ๆ อีกมาก

    +++ ให้คุณลองเทียบกับอาการของ "สัมปชัญญะ 4 ปิติ 5 อภิญญา 6" ในพระไตรปิฏกดูว่า "กายเวทนา" ของคุณตรงนี้ ใช่เป็น "กายสัมปชัญญะ และ กายแห่งปิติ" หรือไม่ และในขณะที่เป็นกายนี้นั้น "อาการของ อารมณ์เด่นอารมณ์เดียว มีปรากฏอยู่ตลอดเวลาหรือไม่ (ปิติตัวไหนเด่นที่สุด)" รวมทั้งขีดความสามารถของ กายนี้ สามารถทำในหมวดของ อภิญญา 6 หรือได้ไม่ ก่อนที่จะ "ก้าวผ่านด่านนี้ไปยัง กายที่ละเอียดกว่านี้"

    +++ ประโยชน์ของตรงนี้คือ "คุณเป็น กายอื่นที่ไม่ใช่ กายเนื้อ ได้" ดังนั้น คุณ สามารถชัดเจนได้ประการหนึ่ง คือ "กาย ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็น กายเนื้อ เท่านั้น" กายอื่น ๆ ยังมีอยู่ และ ย่อมไม่ประมาทในเรื่องของ "ภพภูมิอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์" และ เมื่อคุณ ตระหนักใจในเรื่องตรงนี้ได้ ต่อไปมันจะทำให้คุณเริ่ม สืบสาวราวเรื่องไปถึง "การเรียนรู้ในกฏแห่งกรรมได้เอง"

    +++ เมื่อคุณ "เรียนรู้" กายตัวนี้ได้ชัดเจนแล้ว หากคุณทำทุกวัน "ไม่น่าจะเกิน 1 เดือน" ก็จะเริ่มรู้สึก "เบื่อ" เพราะมันไม่มีอะไรจะให้ "เล่น" อีก

    +++ หากถึงตรงนี้แล้ว ผมแนะนำให้ "อยู่กับความรู้สึกตัวทั่วถึง" นี้ไว้ตลอดเวลา จากนั้น "ในยามที่อยู่คนเดียว หรือไม่มีใครเห็น" ให้ตั้งใจให้ดี ๆ ว่า "จะไม่ใช้กำลังจาก กายเนื้อหรือกล้ามเนื้อเลย แม้แต่นิดเดียว" แล้วใช้ การกำหนดจิต "เคลื่อนกายเวทนาอย่างเดียว" หาก "กายเนื้อกระตุกตาม" อย่าแทรกแซงเป็นอันขาด ปล่อยให้ "กายเวทนา มันเคลื่อน กายเนื้อ" ไปตามธรรมชาติของมันเอง

    +++ ตรงนี้ คุณ จะเป็น กายเวทนา อย่างเต็มตัว และจะรู้จักอาการของ "จิตเคลื่อนร่าง" ได้เป็นอย่างดี และก็เหมือนเดิมคือ "ไม่น่าจะเกิน 1 เดือน" อาการเบื่อก็จะ กลับมาเยือนอีก

    +++ อาการ "เบื่อ" ตรงนี้ ทั้งกายเนื้อ และ กายเวทนา จะเริ่ม "ถูกวาง" ไปเองตามสภาวะของจิต คือ "ไม่มีอะไรที่น่าสนใจ หรือ น่าเล่นอีกแล้ว"

    +++ ตรงนี้จะทำให้คุณ เริ่มหันมา สนใจกับ จิตและปรากฏการณ์ในขณะที่เป็น จิตล้วน ๆ ที่ผมเรียกมันว่า "กายจิต" ไปจนถึง "การเดินจิต" ตลอดจน "เจตนาจิต (ตัวจะ)" จนไปถึง "กำเนิดของสิ่งที่เรียกว่า ผู้รู้" จากนั้นก็จะ "ผ่านด่านกายจิต" ออกไปได้ จนถึงสภาวะ "พลังงานที่ก่อกำเนิดจิต" ตรงนี้แล... ผมเรียกว่า "กายธรรมารมณ์" ตรงนี้เป็น "อรูป" ทั้งหมด

    +++ ในชั้นนี้ จะมีแต่ "ปรากฏการณ์ของธรรมารมณ์เป็นหลัก" และที่สำคัญที่สุด คุณ จะเริ่มสำเหนียกได้เองว่า "ทำไมบางครั้ง คุณ เป็นตัวนี้เลยตรง ๆ แต่ทำไมบางครั้ง ไม่เป็น"

    +++ หากถึงตรงนี้เมื่อไร ให้เดินจิตให้ละเอียด ไป-มา ว่า "ขณะที่เป็นธรรมารมณ์ สภาวะที่เรียกว่าตน มีหรือไม่" และในขณะที่ "ไม่เป็นธรรมารมณ์ สภาวะแห่งตน หายไปไหน"

    +++ ให้หา "รอยต่อ ระหว่าง เป็น-ไม่เป็น" นี้จนกว่าจะ "รู้แจ้งสิ้นสงสัย" จากนั้นก็จะกลับมาเป็น "คนธรรมดา" ดังเดิม แต่สิ่งที่จะต้อง ระวังและเรียนรู้ให้ดีและละเอียดมาก ๆ คือ "เจตนาจิต (ตัวจะ)" เพราะตรงนี้ เป็น การกำเนิดของ "วจีจิตตะสังขารขันธ์ (ปฏิสัมภิทาญาน) และ มโนจิตตะสังขารขันธ์ (มโนมยิทธิ)" เรียนรู้ได้ละเอียดเท่าไร "ขีดความสามารถในการ ใช้ขันธ์" ก็จะละเอียดเท่านั้น

    +++ ในยามใดที่ "ไม่ใช่" สังขารขันธ์ของเรา มันก็ย่อมเป็น สังขารขันธ์ของผู้อื่น ตรงนี้เป็นเรื่องของ "จิตสื่อสาร (เจโตปริยะญาณ)" ยามใดก็ตามที่ "ตัวจะ" ถูกรู้จน "เป็นนิสัย" ยามนั้น "การหลงในอาการของจิตทุกชนิด" ก็จะไม่มี จนกว่าจะมาถึง "อะไรจะมี ก็คือมี อะไรไม่มี ก็คือไม่มี" ทั้งหมดที่ มี-ไม่มี เป็นแค่ถูกรู้ เท่านั้นเอง

    +++ อาการ "เบื่อ" เริ่มมาเยือนแล้ว ไม่นาน "การผ่านด่าน" ก็จะเกิดขึ้น ลองอ่านทวนสัก 2-3 รอบก็จะชัดเจนขึ้น ยินดีด้วยนะครับ
     
  8. somkiatfem

    somkiatfem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2016
    โพสต์:
    324
    ค่าพลัง:
    +195
    ผมเคยเป็นเหมือนกันแบบไม่ได้ตั่งใจ 2 ที นอนๆอยู่ฝันว่า ตัวลอยเลื่อนออกจากร่างชัดเจนมาก(พยายามไม่ให้เคลื่อนออกเเต่ไหลสะงั้น)เเต่มองอะไรไม่เห็นตัวเอง ฝันว่าเลื่อนไปในบ้าน บังคับตัวเองไม่ได้ พยายามให้มันกลับมาที่เดิมยากมากรู้สึกเหนื่อยมากครับ สุดท้ายพยายามตื่นขึ้นมาดีใจมาก
     
  9. Totoro24

    Totoro24 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +25
    ขอบคุณที่เมตตาแนะนำแนวทางและช่วยเตือนสตินะครับ ขอบคุณที่สละเวลาพิมพ์ให้อ่านด้วยครับ จะนำไปปฏิบัติครับ:cool::cool::cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2016
  10. Totoro24

    Totoro24 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +25
    ผมอ่านซ้ำ 5-6 รอบแล้วครับ พอเกิดอาการอีก ก็เเวะเขามาอ่านซ้ำอีก เริ่มจะเข้าใจไปที่ละเสต็ป ขอบพระคุณมากๆครับที่ช่วยชี้แนะแนวทางและวิธีปฏิบัติให้ แต่ผมไม่เข้าใจคำพูดสุดท้ายของกระทู้ที่ท่านตอบครับ

    ผมได้เอาคำแนะนำไปลองเอาปรับใช้ดู หลังจากที่ได้ตั้งกระทู้ไป เมื่อตื่นนอนตอนเช้ามืด ก็เริ่มดูอาการร่างกาย ปรากฏว่าเมื่อดูร่างกายที่เรานอนอยู่ ดูอาการของ.....ตามคำแนะนำ(ข้างในเราเวลาที่มันเคลื่อนที่ ไม่รู้เรียกว่าอะไร ถ้าเรียกวิญญาณได้ไหม เหมือนคนตายแล้ว คนเป็นสภาวะแบบนี้ใช่ไหมครับ) มันเคลื่อนออกจริง ชัวร์ๆๆๆๆๆ1000000% เวลามีสติมากๆมันจับได้ชัดเจนมากๆครับ _/|\_

    2 ครั้งล่าสุดที่เกิดอาการอีก เป็นประสบการณ์ที่ไม่เหมือนเคยเคยเขียนลงไปในกระทู้ คือออกไปแล้วได้เห็นเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆในห้องตัวเอง เหมือนเด็กธรรมดาๆ แต่มองเห็นไม่ถนัดเพราะห้องมันมืดหรือด้วยเด็กคนนั้นมืดก็ไม่รู้ มองหน้าก็ไม่เห็นหน้า รู้แต่ว่าคือเป็นร่างกายเด็กแต่พยายามมองยังไงมันก็มัว และไม่ได้ไปสัมผัสตัว

    พอตกอีกคืนที่ผ่านมานี้ล่าสุดนี้ พอกายมันเคลื่อนออกอีกก็เจอกับเด็กผู้หญิงคนเดิม แต่เขามาอยู่ใกล้ๆตรงข้างที่นอนพอดี จะด้วยอะไรก็ไม่รู้ใจเรามันสั่งให้ลองสัมผัส ลองจับดู คว้าหมับ ปรากฏว่าจับได้ เกิดมาไม่เคยฝันว่าจะจับจะสัมผัสหรือเตะต้องใครเลย พอคว้าตัวได้เด็กร้องว่าอย่าๆ อย่าทำร้ายหนู รู้สึกถึงอารมณ์กลัวของเด็ก แต่ไม่เห็นหน้า แล้วก็ตื่นขึ้นมาเหมือนฝันไป แต่ตอนที่กายมันเคลื่อนออก มนไปจริงนะครับ แต่ตอนกายเคลื่อนกลับผมอยากทราบว่าทำอย่างไรเราถึงจะทราบได้ว่ากายกำลังจะเคลื่อนกลับ เพราะทุกครั้งจู่ๆจะกลับก็กลับจู่ๆก็ตื่น กำหนดเวลากลับหรือกอาการจะกลับไม่ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2016
  11. Totoro24

    Totoro24 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +25

    สู้ๆนะครับ ตอนครั้งแรกทีผมเป็นอาการเหมือนกับคุณ ผมก็บังคับตัวเองไม่ได้มันเบามาก แต่รู้สึกดีครับ กายที่เคลื่อนมานี้ไม่มีความรู้สึกอะไร ไม่มีแม้แต่ความรู้สึกเจ็บเช่น เวลาเดินแล้วเราล้ม หรือเวลาที่กายเราจะเคลื่อนออกจากร่าง มันขึ้นบนฟ้าร่วงลงมาจากฟ้าก็ไม่เจ็บเลย เวลาจะเดิน จะยืน จะทรงตัวแรกลำบากมากครับ แต่สนุกดีนะครับ หลังๆพอเราเริ่มเดินได้แล้วก็จะมีอะไรแปลกๆ ชวนให้เราสงสัยอีกเรื่อยๆ สู้ๆนะครับ
     
  12. Totoro24

    Totoro24 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +25
    หึ๊ยยยยยย 0_0
     
  13. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ให้สังเกตุตรงคำว่า "ฝัน" ให้ดี ๆ ณ ขณะนั้น ๆ ณ ตรงเวลานั้น

    +++ เป็น "ตัวเรา ออกมาจาก ตัวเรา" และเราเอง "เป็น" ตัวที่เลื่อนออกมา ใช่หรือไม่ และตรงนี้ "รู้ชัดเจน มีสติสัมปชัญญะเต็มตัว ในขณะที่เลื่อนออก" ใช่หรือไม่

    +++ ณ ขณะนั้น ๆ "เราไม่ใช่ กายเนื้อมนุษย์" ใช่หรือไม่ และในขณะนั้น ๆ ทุกอย่าง "เป็นอย่างที่มันเป็น จริงอย่างที่มันจริง" ใช่หรือไม่

    +++ ผู้ที่ตกอยู่ใน "ความประมาท" ย่อมปฏิเสธปรากฏการณ์ตรงนี้ แต่ผู้ที่ "ไม่ประมาท" ย่อม "ฝึกทบทวน" ตรงนี้จน "รู้แจ้งชัด" ว่าแท้จริงแล้ว "ความเป็นตน" มีอยู่ได้ในสถานการณ์แบบใด

    +++ สิ่งที่เรียกกันว่า "ชีวิตหลังความตาย" นั้นเลื่อนลอยแบบนี้หรือไม่ แต่ถ้าหาก "สติสัมปชัญญะ" ของเรามีเต็มตัวในทุกขณะล่ะ อาการ "เลื่อนลอย เพราะสัมปชัญญะ ไม่พร้อมสมบูรณ์" จะไม่มีเลย

    +++ ตรงนี้ หากทำได้ "จิตย่อมไม่ ตกต่ำ เป็นธรรมดา" และจะไม่ตกสู่ อบายภูมิ แน่นอน

    +++ ทุกคนที่ "เกิดมาแล้วย่อมตาย เป็นธรรมดา" ดังนั้นควร "ฝึกตายตรงนี้ให้ชำนาญ" แล้วมันจะวิวัฒนาการไปสู่ "สภาวะธรรม" ที่สูงกว่าได้เอง

    +++ คราวหน้า หากเกิดเหตุการณ์นี้อีก ให้ "ถอดออกมานอกตัว แล้ว ฝึกมหาสติปัฏฐาน 4" ในขณะที่ไร้กายเนื้อดู ว่าอะไรจะเป็นอะไร ไม่นาน จะเข้าใจชัดเจนเองว่า "ความตายที่แท้จริงนั้น ไม่มี ทุกอย่างมีแต่ หลงเกิด หลงตาย" เท่านั้นเอง
     
  14. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ประโยคสุดท้ายคือ (+++ อาการ "เบื่อ" เริ่มมาเยือนแล้ว ไม่นาน "การผ่านด่าน" ก็จะเกิดขึ้น ลองอ่านทวนสัก 2-3 รอบก็จะชัดเจนขึ้น ยินดีด้วยนะครับ)

    +++ อาการ "เบื่อ" เป็นอาการเบื้องต้น ก่อนที่ข้ามขั้นไปสู่สภาวะที่ละเอียดกว่า ทุกครั้งก่อนที่จะ ผ่านด่านแต่ละด่าน อาการเบื่อจะเกิดก่อนทุกครั้ง ตรงนี้จัดว่าเป็น จุดสังเกตุที่ดี ภาษาบาลีเรียกตรงนี้ว่า นิพพิทาญาณ เป็นการเบื่อใน สภาวะของจิต ในแต่ละระดับเป็นขั้น ๆ ไป

    +++ แม่นเป๊ะ ใช่เลยครับ ตรงนี้เป็นมาตรฐานที่ชัดเจนมาก ไม่ว่าใครที่ฝึกมาในระดับบริเวณนี้ ย่อมเกิดปรากฏการณ์แบบนี้ "ทุกคน" ไม่มีข้อยกเว้น

    +++ นั่นแล เป็นเรื่องของ "จิตอื่น กายอย่างอื่น" ณ ขณะนั้น ๆ ไม่ใช่เรื่องของมนุษย์ และ "ในภูมินั้น มันก็สลัว ๆ อย่างนั้นเอง" บางภูมิก็สว่างไสว บางภูมิก็มืดทึบ

    +++ เรื่องของมนุษย์นั้น "แป็ปเดียวก็ตายแล้ว" พอตายไปเมื่อไร "ก็เอาตัวไม่รอด หลังจากตายไปแล้ว" ทั้งนั้น

    +++ ภูมินี้ อยู่ติดกันกับ ภูมิมนุษย์ ชนิด Dimension Wall ติดกันแบบตึกแถวห้องถัดไปกันเลยทีเดียว

    +++ ทุกคนที่ไม่เคยฝึกแล้ว "ตายใหม่ ๆ" จะต้องเข้ามาตรง Twilight Zone ตรงนี้ทุกคน ยกเว้นพวกที่มีคนมารับเท่านั้น

    +++ ใช่อีกตามเคย "ทุกภูมิ" สามารถ "จับและสัมผัสได้" ทั้งหมด (ยินดีด้วยที่ กล้าลอง เพราะส่วนใหญ่จะเป็น ขวัญสยอง หุหุ) ไม่ว่า "ภูมินั้นจะ หยาบหรือละเอียดแคไหนก็ตาม" หากสามารถ "ม้างกายเป็น" คือทำกายให้ Compatible (สัมปะยุตตาธรรมา) กับภูมินั้น ๆ จิตทุกดวงย่อม "จับและสัมผัสได้" ยินดีด้วย 555 ตรงนี้ "เรื่องจริง" แบบไม่สนว่า ใครจะเชื่อหรือไม่

    +++ คราวหน้า "ต้องมีมารยาทหน่อย" ควรบอกเขาว่า "ขอสัมผัสเพื่อ การเรียนรู้ในเรื่อง กาย ที่นอกเหนือจาก กายมนุษย์ สักหน่อย" พวกเขาจะไม่ว่าอะไรหรอก บางรายก็ยินดีด้วยซ้ำ

    +++ ออกบ่อย ๆ ก็จะ "รู้แจ้ง" ได้เอง

    +++ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากฝึกแบบ ออกด้วยกายเวทนา สัก 1-2 เดือนก็จะ "เบื่อ ๆ ไปเอง" เพราะมันก็เหมือนกันนั่นแหละ ถึงเวลาแล้วก็จะ เข้าใจที่ผมพูดเอง

    +++ ถูก นั่นแหละ "ความเป็นตน หรือ อัตตาจิต" มันไปมาได้

    +++ เวลาออก มันไปแบบ "ถอดกาย" แต่เวลาเข้า หรือ เสร็จธุระแล้ว มันจะเป็นแบบ "ล่องหน (Teleportation)" หากจับเคล็ดของขากลับได้ ก็จะรู้ชัดเจนถึงคำว่า "ประดุจบุรุษ คู้แขนเข้า แล้ว เหยียดออก ด้วยกำลัง" ผู้ที่เล่นได้ ก็ควร เล่นไปเรื่อย ๆ สลับเล่นกันกับ "จิตเคลื่อนร่าง" ที่ระบุไว้แล้วข้างบนนั้น

    +++ ความเข้าใจ และ ความมันส์... ย่อมมีแด่ "ผู้ที่ทำได้" เท่านั้น นะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...