อารมณ์ สมาธิระดับฌาน 4

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Dewmaytung, 24 ตุลาคม 2015.

  1. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    วิตกวิจารณ์ในฌาน1 คือการพิจารณา
    ของคุณเลยมาแล้ว
     
  2. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    คุณย้ำผู้รู้กับผู้คิดว่าเป็นคนละอย่าง
    แต่ผมขอบอกอย่างที่ผมรู้มา เป็นอย่างเดียวกัน
    ที่มันรู้ว่าเป็นอะไรอย่างไรก็เพราะมันคิด
    ความคิดเป็นตัวรู้ก็ใช่ ทางปริยัติความคิดเป็นสังขารก็ได้เมื่อความคิดปรุงแต่ง เป็นวิญญาณก็ได้เมื่อความคิดรู้ตามอารมณ์
    ความคิดเป็นทั้งสังขาร วิญญาณ ทั้งสติและปัญญาล้วนแต่อยู่ในความคิดทั้งสิ้น
    ผมมีประสพการณ์ฌานที่8 ในการปฏิบัติฌานสมาบัติสิ่งที่คุณเห็นผมเห็นมาก่อน ผมชี้แจงได้ โดยไม่เปิดตำรา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  3. Dewmaytung

    Dewmaytung สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +20
    คุณเอกวีร์ ผมยอมรับโดยดุษฏีว่า สมถกรรมฐาน เทียบไม่ได้กับวิปัสนากรรมฐาน เพราะเป็นโลกีย์วิสัย คนที่เจริญวิปัสนากรรมฐาน ย่อมมีบุญบารมีมากกว่า ที่ผมยังไม่เจริญวิปัสนาเพราะบุญบารมีผมยังไม่เต็ม
    ต้องสั่งสม ทาน ศิล สมาธิ อีกหลายชาติ
     
  4. Jsus Christ

    Jsus Christ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +82
    อภิญญา6 ก็ไม่เสมอกับ วิปัสสนา รึเปล่า?

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  5. Dewmaytung

    Dewmaytung สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +20
    ดูตัวอย่างพระเทวทัตได้อภิญญา ยังต้องลงอเวจีย์มหานรกเลยครับ เพราะเป็นโลกีย์วิสัย หาใช่โลกุตรวิสัย ซึ่งไม่มีวันตกต่ำ
     
  6. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ฌานในพระไตรปิฎก(อ้างอิงตำราบ้าง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนการความเพียร เพ่ง ไม่ใช่เพียรพิจารณา)
    นี่คือข้อความในพระไตรปิฎกที่ไม่มีใครกล้านำมาแสดง ขอย้ำฌานเป็นธรรมที่่พระองค์ทรงตรัสรู้

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นแหละเป็นผู้ทรงพระอภิธรรมก่อนกว่า เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ มหาโพธิบัลลังก์ ทรงแทงตลอดแล้วซึ่งพระอภิธรรมนั้น ก็แลครั้นเป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ประทับโดยบัลลังก์เดียวตลอด ๗ วัน
    ทรงเปล่งอุทานว่า
    ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
    อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
    ฯ เป ฯ สูโรว โอภาสยมนูตลิกฺขํ.
    ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายย่อม ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่
    ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงเทียว ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมาทราบชัด
    ซึ่งธรรมพร้อมทั้งเหตุ.
    ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่
    ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงเทียว ของพราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้แล้วซึ่ง
    ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย.
    ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่
    ในกาลนั้น พราหมณ์นั้น ย่อมกำจัดมารและเสนามารได้เหมือนพระอาทิตย์ยังท้องฟ้าให้
    สว่างอยู่ ฉะนั้น.
    เราเป็นผู้ชำนาญในฌาน ถึงอภิญญาบารมีแล้ว ฤาษีทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุไม่
    เสมอเรา เราไม่มีใครเสมอในอิทธิธรรมได้ความสุขเช่นนี้
    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 90
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  7. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ๔๐ กอง

    โดย พระราชพหรมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
    ฌาน

    ขอแปลคำว่าฌานสักนิด ขอคั่นเวลาสักหน่อย ประเดี๋ยวเลยไปจะยุ่ง จะไม่รู้ว่า ฌาน
    แปลว่าอะไร คำว่า ฌาน นี้ แปลว่า เพ่ง หมายถึงการเพ่งอารมณ์ตามกฎแห่งการเจริญกรรมฐาน
    ถึงอันดับที่ ๑ เรียกว่าปฐมฌาน คือ ฌาน ๑ ถึงอันดับที่ ๒ เรียกว่าทุติยฌาน แปลว่า ฌาน ๒
    ถึงอันดับที่ ๓ เรียกว่า ตติยฌาน แปลว่าฌาน ๓ ถึงอันดับที่ ๔ เรียกว่า จตุตถฌาน แปลว่า ฌาน ๔
    ถึงอันดับที่แปด คือ ได้อรูปฌานถึงฌาน ๔ ครบทั้ง ๔ อย่าง เรียกว่า ฌาน ๘
    ถ้าจะเรียกเป็นสมาบัติก็เรียกเหมือนฌาน ฌาน ๑ ท่านก็เรียกว่า ปฐมสมาบัติ ฌานที่ ๒
    ท่านก็เรียกว่า ทุติยสมาบัติ ฌาน ๓ ท่านก็เรียก ตติยสมาบัติ ฌาน ๔ ท่านก็เรียกจตุตถสมาบัติ
    ฌาน ๘ ท่านเรียก อัฎฐสมาบัติ หรือสมาบัติแปดนั่นเอง
     
  8. Dewmaytung

    Dewmaytung สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +20
    บุคคลผู้ไม่มีลมหายใจ ๗ จำพวก

    ไม่มีในท้องทารกที่อยู่ในท้องแห่งมารดา ๑.

    ไม่มีแก่คนที่ดำลงไปในน้ำ ๑.

    ไม่มีแก่คนที่ตายแล้ว ๑.

    ไม่มีแก่คนที่เข้าจตุตถฌาน ๑.

    ไม่มีแก่รูปพรหม และ อรูปพรหม ๑.

    ไม่มีแก่ผู้เข้านิโรธสมาบัติ ๑.
     
  9. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    สิ่งที่คุณ(เจ้าของกระทู้)เห็นในฌาน5 คืออะไรรู้ไหม
    อัตตาที่จริงคือตัวไหน
    นามรูปเป็นอย่างไร
     
  10. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ใช่ครับ

    แล้วคิดว่าตัวเอง อยู่จำพวกไหนละครับ ข้อสุดท้าย นี่ ตัดออกไปได้เลย ข้อแรก ก็ตัดออกได้เลย หุๆ

    ไม่มีแก่คนที่เข้าจตุตถฌาน นี่หรือป่าวครับ



    ...จะฝึกกสิณกองไหนก่อนดี ?...


    ถาม: ถ้าเรื่องกสิณควรจะฝึกกองไหนก่อนครับ ?

    ตอบ: ตามที่หลวงพ่อท่านบอก ท่านบอกว่า เอาตำรามาอ่านดูก่อน ชอบกองไหนมากที่สุดให้ทำกองนั้น ถ้าหากว่าชอบหลายกองให้ตั้งใจจุดธูปกราบพระ อธิษฐานว่ากองไหนที่ข้าพระพุทธเจ้าทำแล้วได้ผลเร็วที่สุดให้ชอบกองนั้นมาก ที่สุด ส่วนใหญ่แล้วพวกเราจะมีพื้นฐานเดิมอยู่เยอะ เพราะฉะนั้นบางทีชอบหลายกอง

    ถาม: เคยไปถามพวกที่ฝึกมโน เขาบอกว่าชาติที่แล้วผมน่าจะได้กสิณไฟมาก่อนครับ เพราะตอนนั่งสมาธิถึงจุดหนึ่งมันเหมือนกับมันแตกเป๊ะๆ จากข้างล่างมาถึงข้างบน แล้วก็พอนั่งเป็นประจำจะได้ยินเหมือนอะไรดังปั้ง ?

    ตอบ: นั่นไม่ต้องไปใส่ใจมัน คือถ้าหากว่าเป็นกรรมฐานในอดีตที่จะได้ ถึงเวลาตัวนิมิตจะปรากฏขึ้นเอง อย่างเช่นว่าเคยได้กสิณไฟมันจะปรากฏเป็นเปลวไฟขึ้นมาเอง ถึงเวลานั้นเราก็จับภาวนาต่อไปเลย แต่ถ้าหากว่ายังไม่ถึงตรงจุดนั้นกำลังยังไม่พอ อารมณ์ใจเรายังไม่เข้าถึงที่สุดของกรรมฐานกองที่ทำอยู่ นิมิตใหม่มันก็ยังไม่มา พอมันเข้าถึงที่สุดกำลังมันเต็มแล้วได้กองใหม่ก็จะมาเอง

    ถาม: อย่างหนูไม่รู้ว่าจะชอบอะไร ไม่ต้องฝึกก็ได้ใช่ไหมคะ ?

    ตอบ: ไม่ต้องฝึก...ได้จ้ะได้ แต่คราวนี้ลุงพุฒ แกจะตกลงหรือเปล่าเท่านั้นเอง ถ้า ไม่มีอะไรเป็นเครื่องยึดโอกาสที่เราจะพลาดลงอบายภูมิมันเยอะ อย่างน้อยๆ จะต้องลมหายใจเข้าออกเป็นเครื่องยึด ลมหายใจเข้าออกป้องกันความฟุ้งซ่านได้ดีที่สุด ขณะที่จิตใจ ฟุ้งซ่านไปอารมณ์ที่อื่น ถ้าเราผูกอยู่กับลมหายใจเข้าออกมันก็ไม่ไปหาความลำบากเดือดร้อนให้กับเรา ไม่อย่างนั้นมันก็ให้เราคิดโน่นคิดนี่พาให้เราทุกข์ ไปนั่งซ้อมเอาทุกวันๆ ตรวจสอบความก้าวหน้าตัวเอง




    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนมิถุนายน ๒๕๔๕
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ


    ที่มา..
    http://palungjit.org/threads/จะฝึกก...thakhanun.com/webboard/forumdisplay.php?f=26]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  11. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    คุณผ่านฌาน4 มาแล้ว มีไหมลมหายใจ(จตุตถฌาน-ฌาน4)
    ตำราเชื่อได้เพียงใด คุณคงมีคำตอบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  12. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    สายอานาปานสติ ก็สามารถระงับการหายใจได้ครับ ลองพิจารณาดูนะ คำสอนของพระพุทธเจ้า

    [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
    ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี
    อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า
    เธอย่อมมี สติ หายใจออก มีสติหายใจเข้า
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
    หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
    หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
    ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ ปีติ หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
    ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก
    ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก
    ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก
    ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความคลายกำหนัด หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้
    ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  13. Jsus Christ

    Jsus Christ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +82
    ดับไม๊?
    รูปฌาน4 ตกลงว่า รู้รูป หรือ ไม่รู้รูป ยังไงกัน?


    ดับไม่ดับ?

    เชื่อใครดีหนอ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  14. Dewmaytung

    Dewmaytung สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +20
    แน่นอนครับเมื่อจิตเข้าสู่สมาธิ ลมหายใจจะแผ่วเบา จนดับไป คือ ไม่มีลมหายใจครับ
     
  15. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ลมหายใจยังคงมี หลวงพ่อหมายถึง ลมหายใจละเอียดไงครับ ถ้าจิตมีความละเอียด ก็จะรู้ว่าลมหายใจผ่านทางผิวหนัง

    ไม่ใช่ลมหายใจทางจมูกเหมือนคนปรกติไงครับ

    ถ้าจิตหยาบๆ ก็จะรุ้แค่ว่า ลมหายใจทางจมูกไม่มี ก็คือไม่มีลมหายใจ ก็จะเข้าใจว่าไปว่า ไม่หายใจนั้นเอง
    ลองกลับไปอ่านดูดีๆ
     
  16. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    อัสสาสะ - ลมหายใจเข้า. ปัสสาสะ - ลมหายใจออก

    แล้วคุณหมายความว่าอะไร ผิดแปลกไปจากนี้หรือป่าวละครับ ถึงได้ไม่เข้าใจว่า ดับ หรือ ไม่ดับ




    หลวงพ่อปราโมทย์ อธิบายสมาธิจนถึงฌาน จากอานาปานสติ




    สมถะ อีกชนิดหนึ่งเป็นสมถะเต็มรูปแบบ อันนั้นทำยากแล้ว ในยุคนี้ที่มาเรียนกับหลวงพ่อ หลวงพ่อเห็นอยู่ไม่กี่คน มีไม่มาก ที่ทำสมถะเต็มรูปแบบได้ เห็นมีคุณดำเกิง มีอาจารย์วิชา อาจารย์วิชาเป็นลูกศิษย์อาจารย์วิริยังค์ทำอานาปานสติ คุณดำเกิงเป็นลูกศิษย์ท่านเจ้าคุณนรฯ ท่านก็ทำอานาปานสติเหมือนกัน พวกนี้เขาฝึกสมาธิ เขาฝึกกันทุกวัน หายใจไปนะ หายใจไป หัดใหม่ๆก็จะไปรู้ลมหายใจเข้า-ลมหายใจออก ลมหายใจเนี่ยเขาเรียกว่า "บริกรรมนิมิต" ไปรู้ลมหายใจ ไม่เอาสติไปที่อื่นแล้ว มีแต่สติอยู่กับลม แต่ว่าไม่เผลอตัวนะ ไม่เคลิ้ม ไม่ลืมตัว รู้สึกตัวอยู่ แล้วก็เห็นร่างกายนี้หายใจ ใจเป็นคนดูอยู่ เห็นลมอยู่ เอาลมหายใจนี้เป็นอารมณ์

    หายใจไปนะ ทีแรกลมหายใจจะยาว หายใจเป็นธรรมชาติเนี่ย เราจะหายใจยาว หายใจลึกนะ หายใจไปถึงท้องเลย ทีนี้พอเราหายใจไปเรื่อย จนเริ่มสงบ ลมหายใจจะสั้น สั้นๆนะ จนขึ้นมาอยู่ที่ปลายจมูกนี้หน่อยเดียว เพราะฉะนั้นพอลมมันละเอียด ลมมั้นสั้นนะ ค่อยๆละเอียดๆนะ ใจนี้มันจะโล่งว่าง จะสว่าง มันจะรู้สึกสว่าง

    ทำไม รู้สึกสว่าง เวลาคนนั่งสมาธินะ เลือดจะมาเลี้ยงสมองส่วนหน้านี้เยอะ ถ้าคนฟุ้งซ่านนะ เลือดจะไปเลี้ยงที่อื่น ไปเลี้ยงมือเลี้ยงเท้ามั้ง เลี้ยงปาก แต่พอจิตเริ่มสงบนะ เลือดมาอยู่ที่ตรงนี้เยอะ จะให้ความรู้สึกว่าสว่าง สบาย แต่ไม่ใช่ว่าสว่างขึ้นมาเพราะเลือดมาอยู่ที่หัวหรอกนะ อันนี้สำหรับมนุษย์นะ เทวดาเขาไม่มีเลือดนี่ เขานั่งสมาธิเขาก็สว่างได้เหมือนกัน พอจิตมันสงบมันก็จะสว่างขึ้นมา

    ทีนี้สว่างทีแรกมันก็จะสว่างอยู่ตรง นี้ เป็นดวงขึ้นมา ให้เราดูดวงสว่างตรงนี้แทนลมหายใจ เพราะลมหายใจสั้น..จนลมหายใจหยุดไปแล้วนะ จะเป็นดวงสว่างขึ้นมา ใช้แสงสว่างตรงนี้แทนลมหายใจ ตัวนี้เรียกว่า "อุคคหนิมิต" ไม่ใช่บริกรรมนิมิตแล้ว ตัวลมเป็นแค่บริกรรมนิมิตนะ พอมันเป็นความสว่างเกิดขึ้น เป็นอุคคหนิมิต ใช้ความสว่างนี้เป็นอารมณ์กรรมฐาน หายใจไปเรื่อย..แต่มันไม่รู้สึกว่าหายใจเท่าไหร่ มันเหมือนหายใจทางผิวหนัง แต่ใจมันจะสว่าง รู้ในความสว่าง มันก็ใหญ่ๆขึ้นมาได้นะถ้าฝึกชำนาญ ถ้าไม่ชำนาญก็จะถลำลงไปในแสงแล้วก็เบลอร์ไปเลย เคลิ้มๆไป ถ้าชำนาญก็จะขยับได้ ให้ใหญ่แค่ไหนก็ได้ ให้เต็มโลกก็ได้ จิตใจก็เริ่มมีปีติมีควาสุขขึ้นมา นี่ได้สมาธิ

    พอมีสมาธิขึ้นมาแล้ว นะ ก็ยังไม่หยุดอยู่แค่นั้น จิตมันยังตรึกมันยังตรองถึงดวงสว่างนี้อยู่ เรียกว่ามีวิตกมีวิจารอยู่ จิตยังไม่ละเอียดจริง เราเฝ้ารู้ไปนะ จิตมันสงบขึ้นมาเนี่ย มันทิ้งการตรึกการตรองในตัวนิมิต ไม่เอานิมิตนะ มันกลับมารู้ที่จิตได้ จิตมันตั้งมั่นขึ้นมาเป็นตัวผู้รู้ขึ้นมา พอจิตตั้งมั่นเป็นตัวผู้รู้แล้วเนี่ยมันจะเห็นว่ามีความสุขเกิดขึ้น มันมีความสุขอยู่แล้วแหละแต่ทีแรกมันหวือหวามันไม่ดูความสุขนะ มันมัวแต่ไปดูนิมิต จิตมันเปลี่ยนจากการรู้นิมิตมาดูความสุขแทน ความสุขก็จะดับให้ดู เป็นอุเบกขาขึ้นมา มีปีติ มีสุข สุดท้ายจิตเป็นอุเบกขา แล้วทรงตัวเป็นผู้รู้อยู่นะ บางทีร่างกายหายไปเลย ไม่มีร่างกายแล้ว

    หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม บ.โค้งดารา ต.ท่าพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  17. Dewmaytung

    Dewmaytung สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +20
    จากประสบการณ์ครับ ฌาน 4 ยังมีรูป คือ จิตที่เป็นดวง ขาวนวล สว่าง ตั้งอยู่ เมื่อเข้าฌาน 5 จิตที่เป็นดวงขาวนวล สว่าง จะขยายครอบจักรวาล กว้างใหญ่ ไม่มีประมาณ นิ่งสงบ ไม่เคลท่อนไหว ทั้งหมดนี่จากประสบการณ์ผมนะครับ ถูก ผิด ตรงตามตำราหรือไม่ผมไม่รู้นะครับ
    ข้อสังเกตสำคัญ คือ ทั้งฌาน 4 และ 5 ต้องไม่รับรู้ถึงกายและลมหายใจอีกต่อไป
     
  18. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ผมก็ไม่ได้บอกว่า ฌานสี่ ไม่ได้ไม่มีรูป

    กสิน ดวงกสิณ ก็สุดแค่ฌานสี่ เท่านั้น

    ถ้าฌาน5 อรูปฌานครับ ไม่มีดวง ไม่มีรูปแล้ว เพราะเป็นอรูปฌานนั่นเอง


    เอาว่า ถ้าไปดูตามหลักกรรมฐาน 40

    จะมีแค่ ฌานสี่ และ ก็ อรูปฌานสี่ เท่านั้นครับ

    ไม่มีฌานห้า

    ฉนั้น คุณไปเอาฌานห้า ฌาน5 มาจากตำราเล่มไหนครับ

    ถ้าเอามาจากตำรา หลวงพ่อฤาษีหรือป่าวครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  19. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ฌานหนึ่งหรือปฐมฌาน มีองค์ประกอบ 5 อย่างคือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์

    ฌานสองหรือทุติยฌาน จะมีเพียงแค่ ปิติ สุข และเอกัคคตารมณ์

    ฌานสามหรือตติยฌาน จะมีเหลือเพียง สุข กับ เอกัคคตารมณ์

    ฌานสี่หรือจตุตถฌาน มีองค์ประกอบอยู่ 2 อย่างคือ อุเบกขา และเอกัคคตารมณ์


    ฌานห้าหรืออรูปฌานหนึ่ง เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ ฌานที่ไม่มีรูป

    ฌานหกหรืออรูปฌานสอง เรียกว่า วิญญาณัญจายตนะ

    ฌานเจ็ดหรืออรูปฌานสาม เรียกว่า อากิญจัญญายตนะ

    ฌานแปดหรืออรูปฌานสี่ เรียกว่า เนวะสัญญานาสัญญายตนะ


    ฉนั้น ถ้าตามหลักของกรรมฐานสี่สิบห้อง ฌานห้า คือ อรูปฌาน ในเมื่อเป็น อรูปฌาน แล้วมันจะมีรูป ได้อย่างไร ลองพิจารณาดูก็แล้วกันครับ มันตรงตัวอยู่แล้วครับ
     
  20. Dewmaytung

    Dewmaytung สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +20
    ถูกต้องครับ อรูปฌาน ไม่มีรูป จิตที่เคยมีรูป แผ่ขยาย กว้างใหญ่ ไม่มีประมาณ เป็นอนันต์ ผมถึงแค่นี้รู้แค่นี้ ไกลกว่านี้ตอบไม่ได้ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...