อารมณ์ สมาธิระดับฌาน 4

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Dewmaytung, 24 ตุลาคม 2015.

  1. Dewmaytung

    Dewmaytung สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +20
    เข้าใจดีครับ ให้ทำวิปัสนาทันที ที่จิตหลุดจากอัปนาสมาธิ ตกกลับมาที่อุปจารสมาธิโดยที่ยังมีผู้รู้อยู่ เพราาราะสมาธิระดับนี้สามารถคิดพิจารณาได้
     
  2. Dewmaytung

    Dewmaytung สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +20
    การทำสมาธิ ไม่ใช่การนอนหลับ ถ้าไม่มีผู้รู้หรือสติก็คือ การนอนหลับครับ ถ้าไม่มีผู้รู้คนที่เข้าฌาน 8 ได้จะมาเล่าหรือสอนอาการสมาธิได้อย่างไร ขอเน้นย้ำผู้รู้ไม่ใช่ผู้คิด ผู้รู้สักแต่ว่ารู้ โดยมีสติและอุเบกขา 100% ครับ
     
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ผมไม่ได้บอกว่าให้ไปวิปัสสนาทันทีครับ

    เพราะ การที่จะออก วิปัสสนา ในสมาธิได้นั้น จิตต้องมีกำลัง

    จิตมีกำลัง ถึงจะออกวิปัสสนาได้ครับ

    ถ้าจิตไม่มีกำลัง ก็จะวิปัสนาไม่ออก ไม่สามารถกำหนด นิมิตในองค์กรรมฐานของวิปัสสนาขึ้นมาได้นั้นเอง


    ฉนั้น จะทำให้จิตมีกำลัง ก็คือ การทำสมถะกรรมฐานนั้นเองครับ

    .
     
  4. Dewmaytung

    Dewmaytung สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +20
    เมื่อจิตเป็นสมาธิ ผู้คิดจะดับไป เกิดเป็นผู้ขึ้นมาแทน ผู้รู้สักแต่ว่ารู้ โดยมีอุเบกขาและสติวางเฉย 100% ลองปฏิบัติจะเข้าใจที่ผมพูดครับ อุปมาเหมือนพูดให้ฟังว่าช้างเป็นอย่างไร ยังไม่เคยเห็นของจริงก็ยากที่จะเข้าใจครับ
     
  5. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819


    การทำสมาธิ ไม่ใช่การนอนหลับ ก็ถูกต้องแล้วครับ ผมก็ไม่ได้บอกว่าหลับ

    ทำสมาธิ ไม่มีสติ ไม่มีผู้รู้ ก็ไม่เรียกว่าสมาธิหรอกครับ

    ส่วนคนสอนเข้าฌาน8 อะไรนั้นก็เป็นเรื่องของเค้า ไม่ใช่ผลของเรา



    ส่วน ผู้รู้ นั้น ถ้าพูดว่าไม่ใช่ผู้คิด ก็ลองถามตัวเองดูครับ ว่าผู้คิด ทำไมถึงใช้คำว่า ผู้คิด


    จริงๆผู้คิด เค้าไม่เรียกไม่แยกหรอกว่าผู้คิด เพราะความคิด คือ อาการของจิต ไม่ใช่จิต ดังนั้นไม่มีทางที่จะเป็นผู้คิด หรอกครับ

    เพราะผู้รู้ ความคิดก็คือ อาการของจิต ที่ออกมาจากผู้รู้นั้นเอง หรือก็คือ วิตก วิจาร นั้นเอง

    ในเมื่อ จิต ก็คือ ผู้รู้ วิตก วิจาร ก็คือ ออกมาจากจิต จิตก็คือ ผู้คิด นั้นเองครับ

    ฉนั้น ถ้าจะมาแยกร่างออกเป็น ผู้รู้ หรือ ผู้คิด ผู้คิดดับไปอะไรนี่ ผมว่าลองทำความเข้าใจใหม่ดีกว่าครับ

    เพราะ ความคิด คือ อาการของจิต การที่ความคิดจะระงับลงไปนั้น มันระงับความคิดเพราะการปฏิบัติเข้าถึงระดับ ฌานสองขึ้นไปนั้นเองครับ


    ถ้าไม่มีผู้รู้คนที่เข้าฌาน 8 ได้จะมาเล่าหรือสอนอาการสมาธิได้อย่างไร

    หรือ เข้าใจว่า ผู้รู้คนที่เข้าฌาน 8 มาสอน ว่ามีผุ้รู้ ผู้คิดอะไรแบบนี้ สอนว่ามีผู้คิดอีกนี่ คลาดเคลื่อนแน่อน




    หนังสือเรื่องหลวงปู่ฝากไว้ของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล


    จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย
    ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
    จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
    ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ


    [​IMG]

    [​IMG]



    สรุปสั้นๆเพื่อบางคนอ่านไม่รู้เรื่อง ถ้าผิดพลาดก็ขออภัย มีภูมิเท่านี้ครับ

    ความคิดเป็นแค่อาการของจิต ความคิดที่ส่งออกทั้งหมดเป็นสมุทัย

    หลวงปู่ดูลย์ เทศน์ไว้ชัดเจนครับ หวังว่าคงเคยได้ยินได้ฟังได้อ่านมาบ้างนะคับ


    ความคิดไม่ใช่จิต

    ความคิดไม่ใช่จิต



    [​IMG]


    โยม : ถามว่าจิตกับความคิดใช่อันเดียวกันหรือไม่ครับ

    หลวงตา : ไม่ใช่อันเดียวกัน

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  6. Dewmaytung

    Dewmaytung สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +20
    ผู้รู้ ต่างจากผู้คิด คือ ผู้คิด คิดแล้วจิตฟุ้งซ่าน ไม่หยุดนิ่ง แต่ผู้รู้ คือ รู้ทุกความเป็นไป สักแต่ว่ารู้ โดยที่จิตยังตั้งมั่นในองค์สมาธิครับ
     
  7. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ผู้รู้ ก็คือตัวจิต ครับ ผู้คิดเป็นตัวเป็นตน ไม่มีหรอกครับ มีแต่ความคิด คือ อาการของจิต จิตนั้นและที่เป็นผู้คิด คิดออกมาจากจิต

    คิดแล้วฟุ้งซ่าน ก็เพราะว่า จิตมันฟุ่งซ่าน ครับ

    จะมาแยก เป้นผู้รู้ ผู้คิดออกมาแบบนี้ ผมว่าเข้าใจผิดแน่นอนครับ

    จิตมีหนึ่งเดียว ไม่มีสอง ครับ

    สรุปว่า จิตนั้นละ คือ ผู้รู้ นั้นเองครับ จะเข้าสมาธิระดับไหน ต้องต้องมีจิต ก็คือ ผู้รู้ นั้นเอง ในสมาธิ ในฌาน

    องค์ของสมาธิ ก็คือ องค์สมาธิ อารมณ์ในสมาธิ ที่จิตไปเสวยอารมณ์องค์ในสมาธิ ในฌาน ไงครับ

    จิตเป็นตัวรับรุ้นั้นเองครับ


    การที่จิตฟุ้งซ่าน มันก็คือ จิตที่ไม่สงบ ไงครับ เมื่อจิตไม่สงบ มันก็ฟุ้งซ่านออกไป ไม่หยุดนิ่ง เพราะขาดสติ ในการระงับความคิด ที่ออกมาจากจิต นั้นเอง

    แค่หลุดความคิด ระงับความคิด ที่ออกมาจากจิตได้ มันก็หายฟุ้งซ่าน ได้แล้วครับ

    ถ้าปฏิบัติถึง ไม่ต้องเข้าสมาธิหรอก แค่ในชีวิตประจำวัน ก็สามารถระงับความคิดได้ ไม่ฟุ้งซ่าน หรอกครับ ไม่ต้องไปมีผู้คิดอะไรหรอกครับ เพราะความคิด มันเป็นอาการของจิต ที่ส่งออก มีสติระงับความคิดได้ก่อนที่จะเกิด มันก็หยุดไปเอง มันก็แค่เรื่องพื้นๆ เองครับ ของผู้ปฏิบัติที่ไม่ฟุ้งซ่าน




    กดเบาๆ http://www.sa-ngob.com/media/audio/y41/03/a22-03-41.mp3

    สักแต่ว่ารู้-เห็น
    พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

    เทศน์เช้า วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๑
    ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

    บ้าน เรานี่ ในวัดเรา เรารู้หมดเลย เห็นไหม พวกเรานี่คนวัด พวกเราเคยมาวัดนี้ ในบริเวณเขตวัดนี้พวกเราจะรู้หมดเลย ตรงไหนๆ ต้นไม้นี่เรารดน้ำมาเอง ต้นมันจะโตขนาดไหน แต่คนนอกมาไม่รู้เรื่องเลย บอกว่าวัดเราจะเป็นอย่างนั้นๆๆ แล้วเราไปเชื่อเขาได้อย่างไร? ในวัดนั้นมีต้นไม้ ต้นขนุนนะปลูกตรงหน้าวัดเลย อยู่ตรงศาลาเลยนะ ตรงบันไดเลย ขึ้นไปจะเห็นต้นขนุนก่อน นี้เราก็ฟังแล้วก็เชื่อ เชื่อเขาไหม?
    เรา ต้องไม่เชื่อ ถ้าคนในวัดต้องไม่เชื่อเลย คือจะเปรียบเหมือนใจเราไง ใจเรานี่ เราเข้าใจว่าเรารู้ เพราะเราเป็นคนวัดนี้ เราอยู่ในวัดนี้ เรารู้ว่าสภาพวัดนี้เป็นอย่างไร? แล้วมีคนอื่นมาบอกเราว่าวัดนี้มีต้นขนุนปลูกอยู่ตรงศาลาเลย เราไม่เชื่อหรอก แต่เราไม่เชื่อนี่เราจะพูดให้ใครฟังมันก็แปลก มันก็พูดไม่ได้ ฉะนั้น พูดอะไรไม่ได้หรอก เพราะอะไร? เพราะว่าคนวัดเราก็ดูสิ นี่อยู่กี่คน? แล้วดูคนอำเภอโพธารามมีเท่าไหร่? คนในอำเภอโพธารามเป็นแสน แล้วคนวัดนี้กี่คน?
    นี่ ก็เหมือนกัน คนที่รู้จริงมันน้อยไง คนที่ตามสภาวะความเป็นจริงมันมีกี่คน? แล้วคนนั้นเอามาพูด คนนี้เอามาพูด บางทีมันก็อึดอัดนะ แล้วเวลาถ้าเป็นประชาธิปไตย เสียงนิดเดียวไง นี่มีกี่คน? ๘ คน ข้างนอกมีเสียงเป็นแสน แล้วเราจะเอาอะไรไปรบกับเขา แพ้เขาทุกที รบทีไรแพ้ทุกที แพ้ทุกที ก็ไอ้ความแพ้อันนี้มันทำให้น้อยใจไง เอ๊ะ ทำไมถ้าเราทำดี ยกขึ้นมานี่เขาแสน เราต้อง ๒ แสนสิ เขายกมาแสน เราต้อง ๕ แสนสิ ทำไมยกมา ๘ เขายกกันเป็นแสนทุกทีเลย
    อัน นี้เขาว่าโลก เห็นไหม นี่สมมุติ แต่ความเป็นจริงเราเข้าถึงธรรมไง เข้าถึงธรรมเป็นปัจจัตตัง พระพุทธเจ้าถึงเอาคำนี้มายัน เป็นปัจจัตตัง รู้ตามสภาวะความจริงของคนๆ นั้น แล้วไม่ถามแม้แต่พระพุทธเจ้า ไม่ถามแม้แต่พระพุทธเจ้านะ เพราะมันต้องเป็นปัจจัตตังแท้ ถ้ายังถามอยู่มันถึงไม่ใช่ปัจจัตตังจริง ปัจจัตตังอันนั้นไม่จริง ปัจจัตตังอันนั้นเป็นปัจจัตตังแบบจินตมยปัญญา สุตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา ปัจจัตตังจริงต้องจริงแบบมั่นคง จริงแบบพระอริยเจ้าเลย จริงแบบของจริงเลย ฉะนั้น ใครถึงโกหกไม่ได้
    กลัว ไม่อยากให้คนอื่นเข้ามายุ่งไง วันนี้บิณฑบาตมา พระเทศน์ออกทีวีไง ว่า “สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น” สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น ให้ทำอย่างนั้น ให้ทำว่าสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น นี่ชาวพุทธคิดไง สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็นหนึ่ง แล้วพอปล่อยว่างวางเฉย ปล่อยว่างๆ ปล่อยวาง มันเป็นผลของการปฏิบัตินะ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น รู้แล้วไม่รับรู้
    พูด ถึงคนที่จิตมันสะอาดแล้วนะ ถ้าคนที่จิตไม่สะอาดเป็นไปไม่ได้เลย เพราะตัวกิเลสเป็นตัวยางเหนียวไง มันจะสักแต่ว่ารู้ได้อย่างไร? มันจะสักแต่ว่ารู้มันเหมือนกับอวิชชาไง สักแต่ว่ารู้ แบบว่าเราเห็นภาพแล้วเราไม่รับรู้ นี่สักแต่ว่ารู้ แต่เราฟังเสียงแล้วไม่รู้เรื่อง เพราะเราส่งจิตไปทางอื่น สักแต่ว่ารู้อย่างนั้น สักแต่ว่ารู้ไร้ความหมาย แต่สักแต่ว่ารู้ของพระพุทธเจ้าสิ รับรู้ รู้ตามความเป็นจริงทั้งหมดเลย แล้วปล่อยไว้ตามความเป็นจริงไง
    รู้ แต่จะบอกว่าถ้ารู้แบบโลก รู้ต้องรับรู้สิ อย่างเช่นคนว่าเราว่าเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ บอกว่าเราไม่ดี ต้องรู้ว่าไม่ดีสิ แต่นี่เขาบอกเราไม่ดี รู้ว่าเขาว่าไม่ดี แต่ไม่เดือดร้อน เห็นไหม รู้ สักแต่ว่ารู้ แต่ไม่เจ็บปวดไม่เดือดร้อนไปกับเขา สักแต่ว่ารู้มันหมายความว่าอย่างนี้ มันเลยอธิบายไม่ได้ เลยใช้คำว่าสักแต่ว่ารู้ไง
    เรา ทำสมาธิเข้าไปจิตสงบเลยนะ จิตสงบเลย แม้แต่มันจะปล่อยวางทั้งหมดเลย เห็นไหม มันรู้อยู่ รู้อยู่ แต่เขาใช้คำว่ารู้อยู่ แต่ไม่รู้เรื่องกาย คือใช้คำว่า “สักแต่ว่ารู้” สักแต่ว่ารู้ไง แต่ความจริงแล้วใช้คำว่าสักแต่ว่ารู้ไม่ได้ มันรู้เต็มที่เลย แต่รู้ในตัวมันเอง นี่การอธิบายไง
    ที นี้ว่าสักแต่ว่ารู้ เขาว่าให้ทำสักแต่ว่ารู้ ถ้าอย่างนี้ปั๊บพวกเราก็ทำสักแต่ว่ารู้ มันเหมือนกับเป็นการลัดขั้นตอนไง เราลัดเทคนิคการปฏิบัติขึ้นไป ไปทำให้สักแต่ว่ารู้ก่อน มันทำให้เรานอนเนื่องไปไง แบบว่าเรานี่ เราควรจะอาบน้ำ แต่งตัว อาบน้ำชำระขี้ไคลขึ้นมาจากน้ำ แสดงว่าเราก็อาบน้ำเสร็จสะอาดใช่ไหม? ถ้าสักแต่ว่ารู้ คือว่าเราก็นอนในน้ำ แล้วเราก็ปล่อยให้น้ำพัดลอยไปตามกระแสน้ำไง สักแต่ว่ารู้ คำว่าลัดขั้นตอน
    ฟัง ให้ดีนะ คำว่าลัดขั้นตอนคือว่าเราไปในแม่น้ำ แล้วเราก็ปล่อยให้น้ำพัดลงทะเลไปเลย ไปตามน้ำไง นี่สักแต่ว่ารู้ แล้วเราได้อะไรขึ้นมา? แต่ถ้าเราลงไปในแม่น้ำใช่ไหม? เราอาบน้ำ เราขัดเนื้อขัดตัวขึ้นมา ขัดความสกปรกออกไป แล้วเราขึ้นมาจากน้ำ เห็นไหม เราได้ความสะอาด จะสักแต่ว่ารู้เราต้องทำสมาธิก่อน ต้องทำให้จิตสงบ ทำให้จิตสงบแล้วค่อยมาชำระที่ว่ายางเหนียวในหัวใจไง มันจะสักแต่ว่ารู้ไม่ได้
    เพราะ ตรงนี้มันเป็นยาง มันแปะ เห็นไหม มันติดไง ยางที่มันติด ทุกอย่างมันติดหมด พอติดหมดมันก็จะรู้ไปหมด ทีนี้ทำอย่างไร? ต้องทำตรงนี้ก่อน กลับมาทำจนกว่ามันจะเป็นสักแต่ว่ารู้ แต่ถ้าเราไปสักแต่ว่ารู้ก่อน สักแต่ว่ารู้ก่อน ปล่อยว่าง วางเฉยก่อน ปล่อยว่าง เราชาวพุทธไม่ยึด ไม่ติด ไม่ว่าเขานะ ใครจะว่าอะไรก็ปล่อยวางๆ คำว่าปล่อยวางมันเป็นการฝึกสมาธิอันหนึ่ง มันเป็นการทำขันติบารมี
    ถ้า เป็นพูดอย่างนี้เห็นด้วย ว่าเป็นการทำขันติบารมี แต่มันไม่ใช่ตามความเป็นจริงสักแต่ว่ารู้ที่เป็นความหมายของพระพุทธเจ้า เราเอาน้ำไปตั้งบนไฟ ถ้าน้ำมันเดือดขึ้นมา น้ำมันต้องเดือด แต่สักแต่ว่ารู้ของพระพุทธเจ้า น้ำตั้งบนไฟจุดเท่าไหร่มันก็ไม่เดือด มันต่างกันตรงนั้นไง ถ้าตั้งน้ำมีไฟ มีความร้อนอยู่มันจะไม่เดือดได้อย่างไร? มันต้องเดือด น้ำต้องเดือดเด็ดขาดเลย แล้วจะบอกว่าพอเอาน้ำไปตั้งไฟแล้วบอกว่าไม่เดือดๆ แต่ถ้าเป็นเราบอกว่าไม่เดือดๆ เป็นไปได้ไหม?
    นี่ ก็เหมือนกัน สักแต่ว่ารู้ก่อนมันเป็นอย่างนั้นไง แต่ถ้าตามความเป็นจริงแล้วใช่ไหม น้ำไม่เดือดไง น้ำร้อนปลาเป็น น้ำร้อน น้ำเดือดพล่านเลย แต่ไม่รู้ สักแต่ว่ารู้ แต่มันต้องตามความเป็นจริง มันจะสักแต่ว่ารู้ได้เพราะว่ามันต้องเอาสารนั้นออกก่อน สารคือตัวกิเลสในหัวใจนั้นออกก่อน มันเป็นความว่าง ต้มแล้วมันไม่โดนอะไรไง สักแต่ว่ารู้ แต่มันไม่ใช่สักแต่ว่ารู้อย่างที่พวกเรานี่ พอพวกเราฟังสักแต่ว่ารู้เราก็จะปล่อยกัน สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่ารู้
    ก็ เหมือนกับเราปล่อยตัวเราลอยออกทะเลไปไง สักแต่ว่ารู้ มันเป็นสักแต่ว่ารู้เหมือนกับอวิชชาไง อวิชชาคือความไม่รู้เท่า ไม่รู้จริง สักแต่ว่ารู้คือรู้ ทำไมจะไม่รู้ แต่แกล้งไม่รู้ ทำให้มันมึนชาไง ปล่อยว่าง ปล่อยให้มึนชา ให้เรามึนชาในความรับรู้อันนั้น แล้วมันชำระกิเลสไหม? มันไม่ชำระกิเลส ชำระกิเลสมันต้องกำจัด คือการวิปัสสนาให้ตัวนี้ออกไปสิ ไอ้ตัวที่จะไปรับรู้ ไอ้ตัวทุกข์ออกไป แต่สักแต่ว่ารู้ก่อนนี่มันไม่ใช่วิปัสสนาให้ออกไป มันเป็นการเอาเศษขยะกวาดเข้าใต้พรมไว้ไง ไปหมกเอาไว้ในพรมไง ให้มันเป็นสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่ารู้
    มัน ไม่สักแต่ว่ารู้ มันรู้นี่ เพียงแต่แกล้งไง พอแกล้งแล้วมันก็เหมือนกับชั่วคราว มันข่มได้ชั่วคราว เพราะตรงยังของที่เราไม่รักอยู่ ของอะไรก็ได้ที่เราไม่ค่อยรัก ไม่ค่อยหวง ใครทำอะไรเสียหาย แต่ก็รู้ได้ ลองของที่มันรักสุดหัวใจสิ สักแต่ว่ารู้ได้ไหม? มันจะเต้นผางๆ เลย สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่ารู้ไม่ได้หรอก เพราะมันไม่จี้กระตุกใจดำ
    ฉะนั้น เวลาเราวิปัสสนากัน เราทำใจกันก็ตรงนี้ไง ตรงที่สักแต่ว่ารู้เลย เพราะมันเกิดจากใจ เหตุมันเกิดจากตัวนั้น ทุกข์เกิดจากตัวนั้น ทุกข์เกิดเริ่มต้นจากความคิด ทีนี้พอจิตเริ่มเป็นสมาธิ เห็นไหม จิตแก้จิต จุดและต่อมของจิตที่อยู่ภายใน นี่มันจะวนกลับมา วนกลับมาตรงนั้น พอชนะตรงนั้นมันก็กลายเป็นรู้ รู้ตามความเป็นจริง แต่เป็นสักแต่ว่ารู้ อันนั้นถึงเป็นสักแต่ว่ารู้จริงไง สักแต่ว่ารู้ที่พระพุทธเจ้าบอกให้ประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะให้ถึงตรงสักแต่ว่ารู้อันนี้ต่างหากทีนี้เพียงแต่มันเป็นคำพูด เป็นคำสมมุติว่าสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่ารู้ รู้ไม่ทุกข์ รู้ตามความเป็นจริง
    พอ เรียนมาสักแต่ว่ารู้ แล้วคนมันเป็นอย่างนี้ด้วย มันจินตนาการไง ความจินตนาการคำว่าสักแต่ว่ารู้ ก็เหมือนกับที่ว่าเวลาเราพูดถึงพุทธศาสนาไง เข้าถึงพระไตรปิฎกนะ พระไตรปิฎกนี่เป็นทางผ่าน เห็นไหม ก็เป็นตัวเริ่มต้นของปริยัติ คือปริยัตินี่ไปศึกษาพระไตรปิฎก แล้วก็ย้อนกลับมา จินตนาการจากตรงนั้นออกมา แต่ความจริงของพระพุทธเจ้าเข้าถึงพระไตรปิฎกใช่ไหม? แล้วปฏิบัติตามนะ แล้วมันทะลุเข้าไปพระไตรปิฎกไง ทะลุออกไปเป็นความรู้ไง มันเป็นฝ่ายตรงข้ามเข้าไป
    ฉะนั้น มันถึงบอกว่า ไอ้ที่ว่าทะลุเข้าไปถึงปฏิเวธ แต่นี้พอเราใช้ความจินตนาการของพวกเรา ที่พวกเราจินตนาการสักแต่ว่ารู้ไง แต่ถ้ามันพิจารณาดูสิมันเป็นการมึนชาเลยนะ เป็นการมึนชา เป็นการจะไม่ได้ประโยชน์เอาซะด้วย คือว่าเป็นเทคนิค ลัดขั้นตอนของเทคนิคไง อย่างเช่นการประพฤติปฏิบัติ ต้องการทางลัดๆ ทางลัดเป็นอย่างไร? ทางลัด พยายามจะเป็นทางลัด แต่ทางลัดมันไม่มี มีแต่ทางตรง จะลัดให้ได้ ลัดให้ได้ ลัดไปลัดมาสิ
    เว้น ไว้แต่! เว้นไว้แต่ผู้ที่มีบารมี เห็นไหม ผู้ที่ปฏิบัติง่ายรู้ง่ายนะ แต่ส่วนใหญ่มันปฏิบัติยากน่ะสิ เพราะอะไร? เพราะกึ่งพุทธกาลไง ไม่ได้เกิดสหชาติ เกิดสมัยพระพุทธเจ้า ปฏิบัติง่ายรู้ง่ายด้วย แล้วสำคัญที่ครูบาอาจารย์เก่งด้วย รู้เลยว่าคนๆ นี้มีนิสัยอย่างไร? จะเอายาอย่างไร? เหมือนกับรู้โรคไง โรคกับยามันตรงกัน ผลัวะ! ผลัวะ! ผลัวะ! กับคนๆ นั้นเลย
    จูฬ ปันถกนั่นน่ะเห็นชัดๆ เลยนะ จูฬปันถก พี่ชายเป็นพระอรหันต์ สอนพระจูฬปันถกไม่ได้ จนแบบว่าให้ไปสึกไง พอจะไปสึก บอกให้ไปสึก แล้วพระพุทธเจ้าไปดักหน้าเลยล่ะ
    “จูฬปันถกจะไปไหน?”
    “จะไปสึก”
    “ใครให้สึก?”
    “พี่ชายให้สึก”
    “เธอบวชเพื่อใคร?”
    “บวชเพื่อพระพุทธเจ้า บวชเพื่อตถาคต”
    “อย่างนั้นมานี่”
    สอน เลยนะ ให้ลูบผ้าขาว เห็นไหม เพราะว่าลูบผ้าขาวมันตรงกับจริตไง ตรงกันยากับโรคตรงกันเปี๊ยะเลย แล้วพอลูบไปๆ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าเทศน์สอนพระด้วยนะ ว่านี่เหตุเพราะมีอยู่ชาติหนึ่งท่านเป็นกษัตริย์ ออกตรวจพลสวนสนามไง แล้วกษัตริย์มันจะมีความประณีตมากใช้ผ้าขาวเช็ดหน้า พอเช็ดหน้าคนมันแบบนึกว่าตัวเองสะอาดตลอดเวลาไง ทีนี้เวลาไปตรวจพลมันโดนฝุ่น โดนอะไร เพราะรถม้า พอเช็ดแล้วมันเป็นฝุ่น โอ้โฮ หน้าดำขนาดนั้นเชียวหรือ?
    เพราะ ตัวเองเข้าใจว่าตัวเองหน้าสะอาดไง เข้าใจว่าตัวเองสะอาดเพราะตัวเองเป็นกษัตริย์ พอเช็ดออกมามันสะเทือนใจ มันสะเทือน นี่มันฝังใจมา ทีนี้มันมีเชื้ออยู่ เห็นไหม ทีนี้ยาเข้าไปพอดีเลย ยาก็บอกลูบผ้าขาว มันตรงกันไง ลูบๆๆๆ ก็ผ้ามันขาวเอามือไปลูบ ก็ผ้ามันขาวอยู่ ขาวหนอๆ แล้วมันจะขาวได้ไหม? ในมือเรามีเหงื่อ มีขี้ไคล ลูบไปนี่ผ้าดำ
    ลูบ ผ้าขาว ผ้านี่ขาวใครๆ ก็รู้ว่าผ้ามันขาว แล้วมือลูบผ้าขาว ลูบจนผ้าขาวเลอะ มันจะเลอะจากผ้าขาวได้อย่างไร? มันต้องเลอะจากมือเราสิ ถ้าเลอะจากมือเรานี่คนมันต้อง โอ้โฮ ร่างกายนั้นสกปรก ความสกปรกมันอยู่ที่ใจเรา เห็นไหม มันย้อนกลับมา ความสกปรกอยู่ที่มือเรานี่แหละ เหงื่อไคลออกจากมือเราไป ผ้าขาวนั้นมันสะอาดอยู่แล้ว มันก็ย้อนกลับมาสิ มันไม่ใช่สำเร็จที่ผ้าขาวนั้น มันสำเร็จที่หัวใจความหลงผิด แล้วมันจะย้อนกลับๆๆ ย้อนกลับเข้าไปจนถึงกับ อ๋อ
    เพราะ ฝังใจมาจากชาติที่แล้ว มันอยู่ที่หัวใจ มันเป็นมโนวิญญาณ เห็นไหม มโนนะ มโนวิญญาณ ไม่ใช่วิญญาณกระทบนี่ มโนวิญญาณภายใน มันฝังอยู่ที่นั่น แล้วทีนี้พอย้อนกลับเข้าไปตรงนั้น ไปชำระกันตรงนั้นไง นี่มันถึงว่าผู้ที่ปฏิบัติง่ายรู้ง่าย เพราะปฏิบัติง่ายรู้ง่ายด้วย เป็นบารมีของตัวเองหนึ่ง เป็นเพราะเจอพระพุทธเจ้าด้วยหนึ่ง เจอครูอาจารย์ที่เยี่ยมไง เจอคนสอนที่เยี่ยมไง แต่ปัจจุบันนี้ครูบาอาจารย์เราก็มี แต่จะรู้ตรงตัวอย่างนั้น มันก็ต้องเอาบารมีของผู้สอนไง บารมีของผู้จะสอนหนึ่ง แล้วยังบารมีของพวกเราที่เจอครูบาอาจารย์อีกหนึ่ง เราจะเจอใครล่ะ?
    นี่ มันถึงว่าปฏิบัติง่ายรู้ง่าย ฉะนั้น ปริยัติถึงว่าออกไปตรงนั้น ถ้าเขาไม่เชื่อตรงนั้นด้วย แล้วจินตนาการไปสักแต่ว่ารู้ของเขา สักแต่ว่ารู้นะ สักแต่ว่ารู้คือไม่ทำกันเลยไง ถ้าจะทำสมาธิก่อนนี่เสียเวลา ถึงให้ทำสักแต่ว่ารู้เลย นี่มองอะไรก็มองไม่รู้เรื่อง ก็กลายเป็นคนบ้ากันหมดเนาะ มองอะไรก็สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่ารู้ เดี๋ยวรถชนกันเนาะ มองป้ายก็ไม่ออกไง เวลาขับรถไป เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา สักแต่ว่าเลี้ยว ฉันจะเลี้ยวขวา ป้ายบอกให้เลี้ยวซ้าย ฉันจะเลี้ยวขวาไง สักแต่ว่ารู้ไง เดี๋ยวได้ประสานงากัน สักแต่ว่ารู้
    เพราะ อย่างนี้ มันลัดขั้นตอนอย่างนี้มันถึงปฏิบัติแล้วไม่ได้ผล ปฏิบัติมันต้องมีสเต็ปของมันไง ทำใจให้สงบก่อน สักแต่ว่ารู้ให้มันสักแต่ว่ารู้จริงจากภายใน แล้วก็ย้อนกลับเข้าไปชำระกิเลสภายในไง กิเลสจากภายในของมันเอง ทำให้ได้ มันก็จะเป็นประโยชน์ของคนๆ นั้น เป็นปัจจัตตัง เห็นไหม เป็นประโยชน์ของเรา นี่ถึงว่าเวลาสอน สอนกันผิดๆ เวลาทำก็จะทำผิดๆ ไง เทคนิคไง ลัดขั้นตอนเป็นเทคนิค


    [MUSIC]http://www.sa-ngob.com/media/audio/y41/03/a22-03-41.mp3[/MUSIC]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  8. Dewmaytung

    Dewmaytung สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +20
    ผมไม่เคยอ่านตำรานะครับ ปฏิบัติอย่างเดียวไม่รู้ว่าอารมณ์จากการปฏิบัติจะเหมือนในตำราหรือไม่
     
  9. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ถาม : เดี๋ยวนี้มีการบอกว่ามีครูบาอาจารย์มาสอนในนิมิต เราจะรู้ได้อย่างไรว่าจริงหรือไม่จริง ?
    ตอบ : เทียบกับหนังสือวิสุทธิมรรค เทียบกับพระไตรปิฏก เทียบกับตำราของหลวงพ่อวัดท่าซุง แหกคอกไปเมื่อไรก็เลิกเชื่อ เมื่อครู่โยมก็เพิ่งจะถามเรื่องวิริยาธิกะพิเศษ ขนาดเรื่องนี้ยังไม่มีในพระไตรปิฎกเลย แต่ว่าอรรถกถาพุทธวงศ์ท่านเขียนเอาไว้ เขาถึงได้แยกประเภทเอาผู้ที่ปรารถนาพระโพธิญาณมาเป็น ๓ ประเภท

    แสดงว่าระดับพระพุทธเจ้ายังไม่สอนเลย เพราะทราบว่าคนจะเอาไปทะเลาะกัน อรรถกถาจารย์ท่านทราบก็อธิบายเพิ่มเติมมา พวกเราดันมีคนเก่งกว่า อธิบายเพิ่มขึ้นมาอีก

    เพราะฉะนั้น..ถ้าไม่ตรงกับพระไตรปิฎก ไม่ตรงกับวิสุทธิมรรค หรือไม่ตรงกับตำราหลวงพ่อวัดท่าซุง ก็ละไว้ก่อนว่าอย่าเพิ่งเชื่อ ต่อให้ตรงเลยก็อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะบางทีเท่าที่เจอมา เขาบอกตรงตั้ง ๘๐ - ๙๐% แล้วมาหลอกไว้ตอนท้ายนิดเดียว ทำให้เกิดผลก่อนแล้วค่อยเชื่อ แต่ผลนั้นก็เชื่อไม่ได้ เพราะหลายครั้งเขาเป็นคนทำให้ผลนั้นเกิดเอง พอถึงเวลาเขาถอนกำลังคืน เราก็กลายเป็นหมาเหมือนเดิม..!



    อ้างอิง...เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๕
     
  10. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    .ถ้าไม่ตรงกับพระไตรปิฎก ไม่ตรงกับวิสุทธิมรรค หรือไม่ตรงกับตำราหลวงพ่อวัดท่าซุง

    ตามนี้ครับ เป็นเครื่องวัดผลการปฏิบัติกรรมฐานสี่สิบ ของพุทธศาสนา
     
  11. Jsus Christ

    Jsus Christ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +82



    มหาวรรค วิหารสูตรที่ ๑


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่น ชมยินดีคำสอนว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ

    เรากล่าวว่า อุเบกขาและสุขดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับอุเบกขา และสุขได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้าม ได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่

    ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า ก็อุเบกขา และสุขย่อมดับในที่ไหน และใครดับอุเบกขาและสุขได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า

    ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัย นี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อุเบกขาและสุขดับในองค์ฌานนี้แล ท่านเหล่านั้นดับอุเบกขาและสุขได้แล้วๆ อยู่



    อุเบกขาและสุขดับในองค์ฌานนี้แล
    องค์ฌาน นี้ คือ อะไร?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  12. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ถ้าอ่านภาษาพระไตรปิฏกไม่เข้าใจ ก็เชิญอ่าน คำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ที่ได้อธิบาย สมาธิ ฌาน ในการปฏิบัติ ให้เข้าใจนะครับ

    จะได้เลิก งง เลิก สงสัยหรือไม่เข้าใจ นะครับ
    <table id="table1" border="0" cellpadding="3" cellspacing="3" width="100%"><tbody><tr><td style="font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: normal; font-size: 12pt; font-family: verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif" align="left" valign="top"> - ฌาน สมาบัติ
    ขณิกสมาธิ, ฌาน, อุปจารสมาธิ, ปฐมฌาน,
    นิวรณ์ ๕, ทุติยฌาน, ตติยฌาน (ฌาณ๓),
    จตุตถฌาน (ฌาน ๔) รูปฌาน, อรูปฌาน,
    สมาบัติ ๘, นิโรธสมาบัติ, เข้าผลสมาบัติ
    -
    นิมิต, -จริต ๖, -อิทธิบาท ๔, -สมาทาน
    - กฎการปฏิบัติกรรมฐาน

    อธิศีลสิกขา, ระงับนิวรณ์ ๕ ,
    เจริญพรหมวิหาร ๔, บารมี ๑๐,
    อุปกิเลสของวิปัสสนาญาณ ๑๐</td> <td style="font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: normal; font-size: 12pt; font-family: verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif" align="left" valign="top"> - วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตัวเองแบบง่ายๆ
    -
    เร่งรัดการปฏิบัติ - อริยะบุคคล
    -
    ทางสายเข้าสู่พระนิพพาน

    -
    สังโยชน์ 10
    - มหาสติปัฏฐานสูตร
    - คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
    -
    รวมคำสอนหนังสือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    เสียงพระธรรมเทศนา
    -
    พระกรรมฐาน (เรื่องการทำสมาธิ)
    -
    แนวปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหันต์ทั้ง ๔ แบบ</td> </tr> </tbody></table>
    <table style="border-collapse: collapse" id="AutoNumber15" bgcolor="#F9F9F9" border="0" cellpadding="4" cellspacing="4" width="100%"> <tbody><tr> <td colspan="3" height="23" valign="top"> <hr color="#CCCCCC" size="1"></td> </tr> <tr> <td valign="top" width="30%"> </td> <td valign="top" width="30%"> </td> <td valign="top" width="30%"> </td></tr></tbody></table>​
     
  13. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819


    <center>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต</center></pre> <table align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="90%"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" bgcolor="darkblue" width="100%">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    <center>วิหารสูตรที่ ๒ </center> [๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการ นี้ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการ เป็นไฉน เรากล่าวว่า กามทั้งหลายย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับกาม ทั้งหลายได้แล้วๆ อยู่ ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับแล้ว ข้ามได้ แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า กามทั้งหลายย่อม ดับในที่ไหน และใครดับกามทั้งหลายได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ กามทั้งหลายย่อมดับในปฐมฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับกามได้แล้วๆ อยู่ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เธอไม่เป็นผู้โอ้อวดไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ เรากล่าวว่า วิตกและวิจารย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับวิตกวิจาร ได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า วิตกและวิจารย่อมดับ ในที่ไหน และใครดับวิตกวิจารแล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอ ทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะ วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแก่สมาธิอยู่ วิตกวิจารย่อมดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับวิตกวิจารได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่ โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้วพึงนมัสการ กระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ เรากล่าวว่า ปีติย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับปีติได้แล้วๆ อยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌาน นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า ก็ปีติดับในที่ไหน และใครดับปีติได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ ไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะ ปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้ มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ปีติย่อมดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับปีติ ได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่น ชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ เรากล่าวว่า อุเบกขาและสุขดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับอุเบกขา และสุขได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้าม ได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า ก็อุเบกขา และสุขย่อมดับในที่ไหน และใครดับอุเบกขาและสุขได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัย นี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อุเบกขาและสุขดับในองค์ ฌานนี้แล ท่านเหล่านั้นดับอุเบกขาและสุขได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ เรากล่าวว่า รูปสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับรูปสัญญาได้ แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่ง แล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า รูปสัญญาดับในที่ไหน และใครดับรูปสัญญาได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลาย พึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดย ประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุ อากาสานัญจายตนฌาน เพราะคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด รูปสัญญา ย่อมดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับรูปสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ เรากล่าวว่า อากาสานัญจายตนสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ อากาสานัญจายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า อากาสานัญจายตนสัญญาดับในที่ไหน และใครดับอากาสานัญจายตนสัญญาได้ แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการ ทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด อากาสานัญจายตนสัญญาดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับอากาสานัญจายตน- *สัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็น แน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้า ไปนั่งใกล้ ฯ เรากล่าวว่า วิญญาณัญจายตนสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ วิญญาณัญจายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิท แล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนี้เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า วิญญาณัญจายตนสัญญาดับในที่ไหน และใครดับวิญญาณัญจายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับวิญญาณัญ- *จายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลี เข้าไปนั่งใกล้ ฯ เรากล่าวว่า อากิญจัญญายตนสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ อากิญจัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิวดับสนิท แล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนี้เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า อากิญจัญญาตนสัญญาดับในที่ไหน และใครดับอากิญจัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาดับในองค์ฌานนี้ และท่าน เหล่านั้นดับอากิญจัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่ โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการ กระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ เรากล่าวว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่า ใดดับเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนี้เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาดับในที่ไหน และใครดับเนวสัญญานาสัญญายตน สัญญาได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่าง นี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ดับในนิโรธนี้ และท่านเหล่านั้นดับเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้แล ฯ <center>จบสูตรที่ ๒

    </center></pre>
     
  14. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    เรากล่าวว่า อุเบกขาและสุขดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับอุเบกขาและสุขได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า ก็อุเบกขาและสุขย่อมดับในที่ไหน และใครดับอุเบกขาและสุขได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้เราไม่เห็นผู้นี้

    เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อุเบกขาและสุขดับในองค์ฌานนี้แล ท่านเหล่านั้นดับอุเบกขาและสุขได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้วพึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ


    .

    อุเบกขาในองค์ฌาน คือ อุเบกขา ของฌาน ครับ

    อุเบกขาที่ดับ ดับอุเบกขา นั้น คือ ที่ไม่ใช่ อุเบกขาขององค์ฌาน

    อุเบกขา10ประเภท


    1. ฉฬงฺคุเปกขา อุเบกขาประกอบด้วย องค์ 6 คือ การวางเฉยในอายตนะทั้ง 6
    2. พฺรหฺมวิหารุเปกฺขา อุเบกขาในพรหมวิหาร
    3. โพชฺฌงฺคุเปกฺขา อุเบกขาในโพชฌงค์ คือ อุเบกขาซึ่งอิงวิราคะ อิงวิเวก
    4. วิริยุเปกฺขา อุเบกขาใน วิริยะ คือ ทางสายกลางในการทำความเพียร ไม่หย่อนเกินไป ไม่ตึงเกินไป
    5. สงฺขารุเปกขา อุเบกขาในสังขาร คือการไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5
    6. เวทนูเปกฺขา อุเบกขาในเวทนา ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข
    7. วิปสฺสนูเปกขา อุเบกขาในวิปัสสนา อันเกิดจากเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    8. ตตฺรมชูฌตฺตุเปกขา อุเบกขาในเจตสิก หรืออุเบกขา ที่ยังธรรมทั้งหลาย ที่เกิดพร้อมกันให้เป็นไปเสมอกัน
    9. ฌานุเปกฺขา อุเบกขาในฌาน
    10. ปาริสุทฺธุเปกฺขา อุเบกขาบริสุทธิ์จากข้าศึก คือมีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา<sup id="cite_ref-1" class="reference">[1]</sup>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  15. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ฌานมีองทั้ง 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา


    จำแนกองค์แห่งฌาณ
    เมื่อผู้ปฏิบัติสามารถทำให้อัปปนาสมาธิเกิดได้แล้ว เป็นอันว่าท่านได้บรรลุ ปฐมฌานอันมี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สามารถข่มนิวรณ์ธรรม ๕ ลงได้ คือ


    ๑. เอกัคคตา

    ๒. ปีติ

    ๓. วิตก

    ๔. สุข

    ๕. วิจาร

    (พุทธโฆษจารย์, วิสุทธิมรรค. หน้า ๒๒๗)

    ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/215510


    องค์ฌาน นี้ คือ อะไร?

    กดเบาๆ https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B2&ie=utf-8&oe=utf-8&gws_rd=cr&ei=P28rVqKvH8niuQTJ3ICoDg#q=%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD


    องค์ฌาน หมายถึง กดเบาๆ
    https://www.google.co.th/search?q=อ...r&ei=P28rVqKvH8niuQTJ3ICoDg#q=องค์ฌาน+หมายถึง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  16. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    องค์ฌาน นี้ คือ อะไร?

    บรรลุจตุตถฌาน
     
  17. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    คุณเจ้าของกระทู้คร้าบ เปนยังไงบ้าง

    หลังจากเหน ยุคคลเซเบลอ ผู้มากไปด้วยอริยูปวาโท ธรรมขักสะพานแล้ว
    ไม่อาจเข้าถึงธรรมได้ ทำไดแค่ก๊อปปี้ สู้กับ สาสสสสสสดานอกศาสนา
    ที่ตั้งคำามมาถึงส่วนสุดที่ ไม่มีทางเข้าใจได้หากยังลงลายเซนลายามอยุ่

    สติ ในทางปฏิบัต จะต้องมีนัยยะ เล็งความเกิดความดับ. แม้สติด้วย แม้การรู้แจ้งอรรถรั้นด้วย จึง นิยามว่า. อาสัยระลึกไม่ข้องอยุ่ สติบริสุทธิก็เรียก

    งงไหมฮับ. ทีพยายามออกตัวเข้าใจ ธรรมที่หยั่งลงไม่ได้ในพวกเขา


    ยิ่งเข้าใจสิ่งที่พวกนี้อธิบาย. ก็ยิ่งชี้ได้ว่า. ยิ่งมัว ไม่มีไม้เอกน๊า
     
  18. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    กลับมาดุประเดน จขกท

    สังเกตไหม จั่วไว้ว่า. ไม่เอาวิปัสสนา แต่สุดท้าย. ครูที่สอนคุณท่านให้คุณวิปัสสนา
    อย่าไปเอานิมิต

    วิปัสสนาธุระ. หมายถึง การภาวนามุ่งเอาตนพ้นทุกข์ คุณต้องเข้าใจให้ดีว่า
    คุณกำลังวิปัสสนา มุ่งพ้นทุกข์


    วิปัสสนาของพุทธ จึงเหาะเหิรดำดินระลึกชาติและอีกหลายๆอย่างได้หมด
    แต่ทั้งหมดมุ่งประโยชน์ตนพ้นทุกข์ จะใช้ไดหมด

    ต่างจากสมาธินอกศาสนา. ทำสารพัดได้ แต่เพื่อฉ้อฉล. เมาสังสารวัฏ


    ดังนั้น หากใคบอกคุณว่า. อย่าวิปัสสนานะ เดี๋ยวอดฤทธิ์

    เอาสันตีประเคนไปได้เลย. มันชี้ได้ว่า คนนั้นภาวนามุ่งออกจากทุกจ์
    กำหนดสติที่มัไตรลักษณ์ญานสัมปยุต ไม่เปน

    และจะไม่มัฐานะจะเปนได้ หากยัง. หวงศาสดาอื่นอยู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015
  19. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ขออภัยตัวภาษานะฮัป ใช้มือถือจิ้ม. เลยผิดๆถืกๆ แก้ก็ยาก
     
  20. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    อนึงพึงทราบว่า

    บุคคลที่มีฐานะ. วุฒิภาวะเหร อุเบกขาธรรมแสดงไตรลักษณ ยกขึ้นเปนบริกรรม
    จะมีแต่พวก. โพธิสัตว์ที่ได้รับพยากรณ์แล้ว. หรือก็พร้อมจะรับ

    ส่วนสาวกนั้น. ไม่มีฐานะจะเหนอุเบกขาเกิดดับ. จะอาสัยสุตมัยยปัญญา
    นมสิการด้วยศรัทธาเอาจากศาสาดาของตนในสมันนั้นๆเท่านั้น

    เพราะหากสาวกยกได้ จะต้องละนิสัยสันดานได้หมดซึ่งจะทำให้เปน
    สัพพัญญ. ไม่มีอะไรพร่อง


    ดังนั้น. อุเบกขาเกิดดับ สาวกจะเหนได้ก็ต่อเมื่อ. ภาวนาไม่หยุดไม่ประมาท
    ไปเอาความว่างชนิดต่างๆมาเปนนิพพาน. จะต้องภาวนาโดนไม่ใส่ใจ
    ความสว่าง ความมืด จุดแบะต่อมรู้ จึงจะแหวกสาสวะ อาสวะออกไปได้

    สาวกจึงเกิดจิตรวม อัปปนาได้แค่สี่หน มรรคสี่ผลสี่

    อธิบายด้วอภิธรรม. คือ อาสัยนับเอาตามองค์ฌาณ. คนเลยมั่วจับชนแกะได้ฌาณสี่

    มันเหมือนฌาณสี่ เพราะอาสัย สิ่งที่พอจะบัญญัติได้ แต่ข้อเท้จจริง ฟ้ากับเหว

    ฌาณ๔ ไม่ใช่นิพพาน

    เหมือนเราอธิบายผีเปรต. มันมีองค์ชาม สองตาสองจมูก เหมือนอริยะสงฆ์

    แต่ความเปนจริง. ฟ้ากับเหว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...