อาการขณะนั่งสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย phun, 26 สิงหาคม 2015.

  1. phun

    phun สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +6
    ในขณะที่นั่งสมาธิเกิดมวลสีขาวนวลกลางลำตัวและมีความสงบมาก ขอผู้รู้ช่วยแนะนำว่าควรพิจารณาไปต่อยังไง, อาการขนลุกขนพองนี่เป็นอาการปรกติของสมาธิใหมคะ ขอขอบคุณผู้ชี้แนะทุกท่านค่ะ
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    อย่าไปสนใจ

    เราทำสมาธิเพื่อทำให้จิตสงบจากนิวรณ์5 ให้จิตเข้าสมาธิ พิจารณาในกรรมฐาน 40 ห้องที่เราปฏิบัติกรรมฐาน

    ไม่ได้ทำสมาธิเพื่ออาการต่างๆนาๆ

    อาการพวกนี้ เป็นอาการเบื้องต้น เรียกว่า ปิติ เกิดก่อนที่จิตจะสงบลงสู่สมาธิ

    ไม่ต้องไปสนใจอาการพวกนี้ เพราะมันจะคอยขวางผลการปฏิบัติ ถ้าไปสนใจมากๆ จะติดอยู่แค่นี้ ไม่ไปไหนครับ

    อาการพวกนี้ หรือ สีต่าง สิ่งต่างๆที่เกิด เราไม่ต้องไปสนใจ สักแต่ว่ารู้ แล้วปล่อยวาง
    ให้มีสติจดจ่ออยู่กับกรรมฐาน ที่ตัวเองปฏิบัติ ไม่ให้เผลอ ฟุ้งซ่าน หลุดจากกรรมฐานที่เราปฏิบัติ ไปสนใจเรื่องพวกนี้เข้ามาแทน
    เพราะจะทำให้ติดอยู่แค่เรื่องพื้นๆเบื้องต้นพวกนี้ อาการพวกนี้ ขวางผลการปฏิบัติ ไม่ให้จิตสงบลงสู่สมาธิ
    หรือถ้าหนักๆเข้าอาจจะหลงผิด คิดว่าเป็นของดี เมื่อปฏิบัติแล้วติดอยู่แค่นี้ ก็จะไม่ก้าวหน้าไปไหน
    ผ่านไป 1 2 3ปี ทำสมาธิทีไรก็จะติดอยู่แค่นี้ได้ ถ้าหลงเข้าใจว่าสิ่งอาการพวกนี้เป็นของทีได้ครับ


    ควรจะพิจารณา จะไปต่ออย่างไร

    ก็ต้องให้ จขกท กลับไปถามตัวเองว่า ปฏิบัติกรรมฐานกองไหนอยู่
    ก็ให้กลับไปอ่านดูผลของกรรมฐานกองนั้นๆ ว่าที่สุดของกรรมฐานกองนั้น ผลของกรรมฐานกองนั้นคืออะไร ครับ



    เช่น เราปฏิบัติกรรมฐานภาวนา พุธโธ อยู่กับอานาปานสติ

    เราก็ต้องอยู่กับคำภาวนา อย่าให้หลุดเผลอฟุ้งซ่าน ลืมคำภาวนา เผลอสติไปฟุ้งซ่านเรื่องอื่นๆ เข้ามาแทนคำภาวนา
    ให้มีสติ อยู่กับลมหายใจอานาปานสติ จดจ่ออยู่กับคำภาวนาในกรรมฐาน ที่ตัวเองปฏิบัติอยู่ นั้นเองครับ

    จนกว่าจิตจะสงบจากนิวรณ์5 จิตสงบลงสมาธิ จิตเป็นสมาธิ นั้นเองครับ

    เพราะเราปฏิบัติ เราปฏิบัติเพื่อให้จิตมีกำลัง เพื่อให้จิตเป็นสมาธิ จิตเข้าสมาธิ เป็นพื่นฐานให้จิตมีกำลัง เพื่อในอนาคต จิตมีกำลังแล้วก็จะทำให้ มีกำลังจิต พิจารณาวิปัสสนา ต่อไปนั้นเองครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 สิงหาคม 2015
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819


    ขณิกสมาธิ


    ขณิกสมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่นได้เล็กน้อย หรือนิดๆ หน่อยๆ คำว่า สมาธิ แปลว่า
    ตั้งใจมั่น ต้องมั่นได้นิดหน่อย เช่น กำหนดจิตคิดตามคำภาวนา ภาวนาได้ประเดี่ยวประด๋าว
    จิตก็ไปคว้าเอาความรู้สึกนึกคิดอารมณ์ภายนอกคำภาวนามาคิด ทิ้งองค์ภาวนาเสียแล้ว กว่าจะรู้ตัวว่า
    จิตซ่าน ก็คิดตั้งบ้านสร้างเรือนเสียพอใจ อารมณ์ตั้งอยู่ในองค์ภาวนาไม่ได้นานอย่างนี้ ตั้งอยู่ได้
    ประเดี๋ยวประด๋าว อารมณ์จิตก็ยังไม่สว่างแจ่มใส ภาวนาไปตามอาจารย์สั่งขาดๆ เกินๆ อย่างนี้แหละ
    ที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ ท่านยังไม่เรียก ฌาน เพราะอารมณ์ยังไม่เป็นฌาน ท่านจึงไม่เรียกว่า
    สมาบัติ
    เพราะยังไม่เข้าถึงกฎที่ท่านกำหนดไว้

    ฌาน


    ขอแปลคำว่าฌานสักนิด ขอคั่นเวลาสักหน่อย ประเดี๋ยวเลยไปจะยุ่ง จะไม่รู้ว่า ฌาน
    แปลว่าอะไร คำว่า ฌาน นี้ แปลว่า เพ่ง หมายถึงการเพ่งอารมณ์ตามกฎแห่งการเจริญกรรมฐาน
    ถึงอันดับที่ ๑ เรียกว่าปฐมฌาน คือ ฌาน ๑ ถึงอันดับที่ ๒ เรียกว่าทุติยฌาน แปลว่า ฌาน ๒
    ถึงอันดับที่ ๓ เรียกว่า ตติยฌาน แปลว่าฌาน ๓ ถึงอันดับที่ ๔ เรียกว่า จตุตถฌาน แปลว่า ฌาน ๔
    ถึงอันดับที่แปด คือ ได้อรูปฌานถึงฌาน ๔ ครบทั้ง ๔ อย่าง เรียกว่า ฌาน ๘
    ถ้าจะเรียกเป็นสมาบัติก็เรียกเหมือนฌาน ฌาน ๑ ท่านก็เรียกว่า ปฐมสมาบัติ ฌานที่ ๒
    ท่านก็เรียกว่า ทุติยสมาบัติ ฌาน ๓ ท่านก็เรียก ตติยสมาบัติ ฌาน ๔ ท่านก็เรียกจตุตถสมาบัติ
    ฌาน ๘ ท่านเรียก อัฎฐสมาบัติ หรือสมาบัติแปดนั่นเอง

    อุปจารสมาธิ


    อุปจารสมาธินี้เรียกอุปจารฌานก็เรียก เป็นสมาธิที่มีความตั้งมั่นใกล้จะถึงปฐมฌานหรือ
    ปฐมสมาบัตินั่นเอง อุปจารสมาธิคุมอารมณ์สมาธิไว้ได้นานพอสมควร มีอารมณ์ใสสว่างพอใช้ได้
    เป็นพื้นฐานเดิมที่จะฝึกทิพยจักษุญาณได้ อารมณ์ที่อุปจารสมาธิเข้าถึงนั้นมีอาการดังนี้
    ๑. วิตก คือความกำหนดจิตนึกคิดองค์ภาวนาหรือกำหนดรูปกสิณ จิตกำหนดอยู่ได้
    ไม่คลาดเคลื่อน ในเวลานานพอสมควร
    ๒. วิจาร การใคร่ครวญในรูปกสิณนิมิต ที่จิตถือเอาเป็นนิมิตที่กำหนด มีอาการเคลื่อนไหว
    หรือคงที่ มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร เล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ จิตกำหนดรู้ไว้ได้ ถ้าเป็นองค์ภาวนา
    ภาวนาครบถ้วนไหม ผิดถูกอย่างไร กำหนดรู้เสมอ ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็กำหนดรู้ว่า หายใจเข้า
    ออกยาวหรือสั้น เบาหรือแรง รู้อยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ เรียกว่าวิจาร
    ๓. ปีติ ความปลาบปลื้มเอิบอิ่มใจ มีจิตใจชุ่มชื่นเบิกบาน ไม่อิ่มไม่เบื่อในการเจริญภาวนา
    อารมณ์ผ่องใส ปรากฏว่าเมื่อหลับตาภาวนานั้นไม่มืดเหมือนเดิม มีความสว่างปรากฏคล้ายใคร
    นำแสงสว่างมาวางไว้ใกล้ๆ บางคราวก็เห็นภาพและแสงสีปรากฏเป็นครั้งคราว แต่ปรากฏอยู่ไม่นาน
    ก็หายไป อาการของปีติมีห้าอย่างคือ
    ๓.๑ มีการขนลุกขนชัน ท่านเรียกว่าขนพองสยองเกล้า
    ๓.๒ มีน้ำตาไหลจากตาโดยไม่มีอะไรไปทำให้ตาระคายเคือง
    ๓.๓ ร่างกายโยกโคลง คล้ายเรือกระทบคลื่น
    ๓.๔ ร่างกายลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่ง บางรายลอยไปได้ไกลๆ และลอยสูงมาก
    ๓.๕ อาการกายซู่ซ่า คล้ายร่างกายโปร่ง และใหญ่โตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ
    อาการทั้งห้าอย่างนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอาการของปีติ ข้อที่ควรสังเกตก็คือ
    อารมณ์จิตชุ่มชื่นเบิกบานแม้ร่างกายจะสั่นหวั่นไหว บางรายตัวหมุนเหมือนลูกข่างแต่จิตใจก็เป็นสมาธิ
    แนบแน่นไม่หวั่นไหว มีสมาธิตั้งมั่นอยู่เสมอ การกำหนดจิตเข้าสมาธิก็ง่าย คล่อง ทำเมื่อไร เข้าสมาธิได้
    ทันที อาการของสมาธิเป็นอย่างนี้
    ๔. สุข ความสุขชื่นบาน เป็นความสุขที่ละเอียดอ่อน ไม่เคยปรากฏการณ์มาก่อนเลยในชีวิต
    จะนั่งสมาธินานแสนนานก็ไม่รู้สึกปวดเมื่อย อาการปวดเมื่อยจะมีก็ต่อเมื่อคลายสมาธิแล้ว ส่วนจิตใจ
    มีความสุขสำราญตลอดเวลา สมาธิก็ตั้งมั่นมากขึ้น อารมณ์วิตกคือการกำหนดภาวนา ก็ภาวนาได้ตลอด
    เวลา การกำหนดรู้ความภาวนาว่าจะถูกต้องครบถ้วนหรือไม่เป็นต้น ก็เป็นไปด้วยดี มีธรรมปีติชุ่มชื่น
    ผ่องใส ความสุขใจมีตลอดเวลา สมาธิตั้งมั่น ความสว่างทางใจปรากฏขึ้นในขณะหลับตาภาวนา อาการ
    ตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แหละ ที่เรียกว่า อุปจารสมาธิ หรือเรียกว่า อุปจารฌาน คือเฉียดๆ จะถึง
    ปฐมฌานอยู่แล้ว ห่างปฐมฌานเพียงเส้นยาแดงผ่า ๓๒ เท่านั้นเอง ตอนนี้ท่านยังไม่เรียกฌานโดยตรง
    เพราะอารมณ์ยังไม่ครบองค์ฌาน ท่านจึงยังไม่ยอมเรียกว่าสมาบัติ เพราะยังไม่ถึงฌาน


    คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ๔๐ กอง
    โดย พระราชพหรมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
     
  4. phun

    phun สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +6
    ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ อ่านตรงอุปจารสมาธิแล้วช่วยไขข้อข้องใจได้เยอะเลยค่ะ จะได้ปฎิบัติต่อไป
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    จขกท. ทำสมาธิเพื่อจุดประสงค์ใดครับ

    นอกนั้นๆ เป็นอาการเร่ิ่มต้นที่จิตมีสมาธิเอง ไม่มีอะไรผิดปรกติ
     
  6. phun

    phun สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +6
    จขกท. ทำสมาธิเพื่อจุดประสงค์ใดครับ
    เริ่มต้นด้วยมีความสนใจในการทำสมาธิเท่านั้นค่ะ เลยปฎิบัติดู แต่ตอนนี้น่าจะบอกได้ว่าจุดประสงค์การทำสมาธิคือทำให้จิตสงบค่ะ
     
  7. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    มันสงบครับ แต่ว่าจิตมันยังไม่คลายตัวครับ.
    คือมันไม่โปร่ง ไม่ขยายกว้างออกไปครับ เพราะมีตัวสมาธิมันมาบิดบังจิตอยู่คับ
    แต่ว่ามันส่งผลในเรื่องของความสงบได้ แต่ว่าไม่นานอารมย์ก็จะฟูได้อีกครับ
    แต่ก็ถือว่าดีครับ ที่ทำได้ อารมย์แบบนี้ควรทำให้ได้ในขณะลืมตาปกติด้วยจะดีมาก
    ส่วนที่เห็นเป็นสีขาวได้นั้น
    แต่ว่าแสงสีขาวนั้นจะยังไม่เย็นครับ..บางทีเราก็รูสึกว่า เราพอจะนึก
    คิดอะไรได้ แต่ว่าก็ยังไม่หลุดจากอารมย์สมาธิตรงนี้..
    ระดับอารมย์ระดับนี้ คือ มันจะเริ่มเข้าปฐมฌานแล้วครับ..
    ถ้าอารมย์สูงกว่านี้จะไม่เห็นสีคับ หรือถ้าอารมย์ต่ำกว่านี้จิตจะมี
    ความเป็นทิยพ์แต่ว่าจะไม่รู้สึกว่า จิตสงบอะไรนะครับ..
    ถ้าจะพัฒนาต่อไปจากนี้ เพื่อเอากำลังสมาธิที่ได้มาเพื่อสำหรับ
    เดินปัญญาลดละกิเลส ในอนาคต หรือเพื่อให้มีกำลังพอในการ
    ตัดกิเลสได้ง่ายในขณะที่เราลืมตาปกติ ก็ให้เฉยๆไม่ต้องสนใจอะไรนะครับ
    ถ้าถ้าไม่สนใจจะพัฒนาต่อ ก็ไม่ต้องสนใจที่นำมาลงให้อ่านครับ
    ถ้าสนใจการพัฒนาต่อจากนี้ มันจะไปแบบพรวดพลาดและสามารถ
    ที่จะไปถึงระดับฌาน ๔ ได้ครับซึ่งถ้าเข้าถึงกำลังในระดับนี้ได้
    และสามารถควบคุมจิตให้อยู่นิ่งๆในกายได้ จะเกิดผลทางด้าน
    มรรคผลในเรื่องต่างๆที่ส่งผลให้จิตเราคลายกิเลสได้ถึงขั้น
    ที่ละเอียดครับ.และถ้าจะไปถึงระดับนั้นได้นั้นให้ระวังกิริยาต่างๆ
    ที่จะเกิดขึ้นดังต่อไปนี้นะครับ คือ ไม่ต้องสนใจนั่นเอง

    ๑.การลืมทิ้งความรู้ทางสมมุติของกิริยาลักษณ์ต่างๆของจิต
    ที่สื่อไปในทางความสามารถพิเศษที่ไปอ่านมาจากตำรา
    เช่น พอเริ่มสงบแล้วไปกำหนดว่าร่างกายเราเป็นโพรง อะไรทำนองนี้หรืออื่นๆ..
    ๒.อาการนั่งๆไปแล้วเหมือนศรีษะล้มไปข้างหน้าจะฟาดพื้น
    ๓.การได้ยินเสียงภายนอกต่างๆ ในระยะใกล้ๆบริเวณหน้าฝาก
    เช่น อาจได้ยินเสียงกระดิ่งที่อยู่ห่าง 100 เมตร ดังชัดเจน
    หรือ เสียงระฆัง ทำนองนี้..
    ๔.เสียงคนเหยียบใบไม้ในตำแหน่งไม่แน่นอน
    ส่วนมากจะมาจากทางด้านหลัง ในระยะที่ค่อยๆขยับเข้ามาใกล้เรื่อยๆ

    ๕. เสียงลมพัด หรือ แม้กระทั้งสายลมมากระทบลำตัวแล้วทำให้ตัวเอียง
    ๖. กลิ่นต่างๆ ไม่ว่าจะเหม็นแตะจมูก หรือ หอมขนาดไหนก็ตาม
    ๗. นิมิตรต่างๆ.ที่ปรากฏในสมาธิ ที่ลอยมาจากด้านขวาของศรีษะ
    ในลักษณะโค้งๆ พอถึงกลางศรีษะ
    แล้วลอยตรงๆออกไปด้านซ้ายของศรีษะ
    รวมทั้งความฝันทุกชนิดไม่ว่าจะฝันอะไร ไม่ต้องเก็บมาคิด ไม่ต้องเก็บมาใส่ใจ
    ๘.แสงสีขาวสว่างๆ บริเวณศรีษะด้านขวา
    รู้สึกสว่างๆ พอเอาจิตไปเพ่งสามารถเคลื่อนที่ได้ ตัวนี้อันตรายมากๆ
    ๙.ความรู้สึกอุ่นๆเวลานั่งสมาธิ ที่มาจากด้านล่าง

    ๑๐.เสียงเรียกชื่อเล่น ถ้ามั่นใจว่าบริเวณนั้นปลอดผู้คน ห้ามทักไม่ว่ากรณีใดๆ
    ๑๑.คลื่นเสียงแหลมๆ ลักษณะเป็นเส้นตรงที่ได้ยินทางหูด้านขวา
    ๑๒.ลูกกลมๆที่หมุนขึ้นมาจากบริเวณลิ้นปี่ ให้รีบดับหรือทำอย่างอื่น อย่าให้เลยทะลุศรีษะ
    ๑๓.อาการเผลอแล้วจิตหลุด จะไปในบริเวณสถานที่ใกล้ๆ
    จะเป็นอย่างนี้ 2 ถึง 3 ครั้ง ไม่ต้องสนใจ
    ๑๔.อาการเหมือนๆจะแยกกายกับจิตได้ชั่วคราว
    ให้สังเกตุดูว่าเราสามารถนึกคิดปรุงแต่ง แล้วยังรักษาอารมย์เหมือนเดิมได้ ไม่กลับสู่ปกติ

    ๑๕.อาการที่จิตหลุดออกไปอีก ถ้าทำได้อย่าคิดอะไรเด็ดขาดให้
    รักษาอารมย์ไว้ให้ได้นานทีสุด รอจนกว่าจะมีอะไรก็ตาม(ยังไม่ควรบอก)
    ที่วิ่งมาจากด้านขวาของศรีษะในลักษณะโค้งๆ.
    ตอนนั้นจะมีเสียงดังกึกก้องพอสมควร
    ๑๖.ให้ทำเหมือนข้อ ๑๕ จนกว่าจะได้ยินตั้งแต่ต้นเสียง

    พอผ่านมาถึงขั้นตอนที่ 15 โดยไม่จำเป็นผ่านทุกขั้นตอนต่อไปกายกับจิตจะแยกกัน
    แบบชั่วคราวเด็ดขาดชั่วคราว และสามารถอยู่ในร่างกายเราได้
    อย่าตกใจถ้ามองเห็นผนังสีเขียวๆออกนิ่มๆ...


    มาถึงจุดนี้ได้ก็พร้อมที่จะ มาเริ่มคลาน
    มาเริ่มฝึกหัดเดินปัญญา หรือถ้าชอบพวกความสามารถพิเศษ
    ก็สามารถมาเริ่มฝึกวิชาพิเศษได้ หลังจากที่เดินปัญญาไปได้แล้วพอสมควร
    โดยไม่ต้องกลัวว่าจะนำไปใช้ในทางที่่ไม่ควรได้แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น.
    .ต้องทำร่วมกับการเจริญสติควบคู่กันไปด้วยนะครับ...

    ปล.ประมาณนี้ครับ
     
  8. phun

    phun สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +6
    มันสงบครับ แต่ว่าจิตมันยังไม่คลายตัวครับ.
    คือมันไม่โปร่ง ไม่ขยายกว้างออกไปครับ เพราะมีตัวสมาธิมันมาบิดบังจิตอยู่คับ
    แต่ว่ามันส่งผลในเรื่องของความสงบได้ แต่ว่าไม่นานอารมย์ก็จะฟูได้อีกครับ
    แต่ก็ถือว่าดีครับ ที่ทำได้ อารมย์แบบนี้ควรทำให้ได้ในขณะลืมตาปกติด้วยจะดีมาก
    ส่วนที่เห็นเป็นสีขาวได้นั้น
    แต่ว่าแสงสีขาวนั้นจะยังไม่เย็นครับ..บางทีเราก็รูสึกว่า เราพอจะนึก
    คิดอะไรได้ แต่ว่าก็ยังไม่หลุดจากอารมย์สมาธิตรงนี้..
    ระดับอารมย์ระดับนี้ คือ มันจะเริ่มเข้าปฐมฌานแล้วครับ..
    ถ้าอารมย์สูงกว่านี้จะไม่เห็นสีคับ หรือถ้าอารมย์ต่ำกว่านี้จิตจะมี
    ความเป็นทิยพ์แต่ว่าจะไม่รู้สึกว่า จิตสงบอะไรนะครับ..
    ถ้าจะพัฒนาต่อไปจากนี้ เพื่อเอากำลังสมาธิที่ได้มาเพื่อสำหรับ
    เดินปัญญาลดละกิเลส ในอนาคต หรือเพื่อให้มีกำลังพอในการ
    ตัดกิเลสได้ง่ายในขณะที่เราลืมตาปกติ ก็ให้เฉยๆไม่ต้องสนใจอะไรนะครับ
    ถ้าถ้าไม่สนใจจะพัฒนาต่อ ก็ไม่ต้องสนใจที่นำมาลงให้อ่านครับ
    ถ้าสนใจการพัฒนาต่อจากนี้ มันจะไปแบบพรวดพลาดและสามารถ
    ที่จะไปถึงระดับฌาน ๔ ได้ครับซึ่งถ้าเข้าถึงกำลังในระดับนี้ได้
    และสามารถควบคุมจิตให้อยู่นิ่งๆในกายได้ จะเกิดผลทางด้าน
    มรรคผลในเรื่องต่างๆที่ส่งผลให้จิตเราคลายกิเลสได้ถึงขั้น
    ที่ละเอียดครับ.และถ้าจะไปถึงระดับนั้นได้นั้นให้ระวังกิริยาต่างๆ
    ที่จะเกิดขึ้นดังต่อไปนี้นะครับ คือ ไม่ต้องสนใจนั่นเอง
    -----------------------------------------------------------------------
    * สามวันไม่รู้สึกหิวเลยแต่ถึงเวลาทานข้าวเที่ยงก็ทานกับเพื่อนได้ปลกติในระหว่างวันที่ทำงานรู้สึกง่วงระหว่างล้มตัวลงจะนอนแต่หลับตาแล้วมีลมพายุแรงมากออกจากหูสองข้างแต่ก็ไม่ลืมตาเพราะรู้สึกสบายตัวมาก พอดีเป็นคริสแต่ได้ปฎิบัติเงียบๆคนเดียวแล้วได้ถามเพื่อนๆบอกว่าระดับลึกๆต้องมีครูคอยสอนเพราะอาจเป็นบ้าได้ แต่ในใจลึกๆก็ไม่เคยมีความคิดกลัวหรือบ้าเลยค่ะ รู้สึกมีแต่ความใสสะอาจเย็นๆข้างใน แต่พอมีคนบอกมาก็เลยหยูดก่อนเพื่อหาข้อมูลก่อน
    -------------------------------------------------------------------------

    ๑.การลืมทิ้งความรู้ทางสมมุติของกิริยาลักษณ์ต่างๆของจิต
    ที่สื่อไปในทางความสามารถพิเศษที่ไปอ่านมาจากตำรา
    เช่น พอเริ่มสงบแล้วไปกำหนดว่าร่างกายเราเป็นโพรง อะไรทำนองนี้หรืออื่นๆ..
    ๒.อาการนั่งๆไปแล้วเหมือนศรีษะล้มไปข้างหน้าจะฟาดพื้น
    ๓.การได้ยินเสียงภายนอกต่างๆ ในระยะใกล้ๆบริเวณหน้าฝาก
    เช่น อาจได้ยินเสียงกระดิ่งที่อยู่ห่าง 100 เมตร ดังชัดเจน
    หรือ เสียงระฆัง ทำนองนี้..
    ๔.เสียงคนเหยียบใบไม้ในตำแหน่งไม่แน่นอน
    ส่วนมากจะมาจากทางด้านหลัง ในระยะที่ค่อยๆขยับเข้ามาใกล้เรื่อยๆ

    ๕. เสียงลมพัด หรือ แม้กระทั้งสายลมมากระทบลำตัวแล้วทำให้ตัวเอียง
    ๖. กลิ่นต่างๆ ไม่ว่าจะเหม็นแตะจมูก หรือ หอมขนาดไหนก็ตาม
    ๗. นิมิตรต่างๆ.ที่ปรากฏในสมาธิ ที่ลอยมาจากด้านขวาของศรีษะ
    ในลักษณะโค้งๆ พอถึงกลางศรีษะ
    แล้วลอยตรงๆออกไปด้านซ้ายของศรีษะ
    รวมทั้งความฝันทุกชนิดไม่ว่าจะฝันอะไร ไม่ต้องเก็บมาคิด ไม่ต้องเก็บมาใส่ใจ
    ๘.แสงสีขาวสว่างๆ บริเวณศรีษะด้านขวา
    รู้สึกสว่างๆ พอเอาจิตไปเพ่งสามารถเคลื่อนที่ได้ ตัวนี้อันตรายมากๆ
    ๙.ความรู้สึกอุ่นๆเวลานั่งสมาธิ ที่มาจากด้านล่าง
    ๑๐.เสียงเรียกชื่อเล่น ถ้ามั่นใจว่าบริเวณนั้นปลอดผู้คน ห้ามทักไม่ว่ากรณีใดๆ
    ๑๑.คลื่นเสียงแหลมๆ ลักษณะเป็นเส้นตรงที่ได้ยินทางหูด้านขวา
    ๑๒.ลูกกลมๆที่หมุนขึ้นมาจากบริเวณลิ้นปี่ ให้รีบดับหรือทำอย่างอื่น อย่าให้เลยทะลุศรีษะ
    ๑๓.อาการเผลอแล้วจิตหลุด จะไปในบริเวณสถานที่ใกล้ๆ
    จะเป็นอย่างนี้ 2 ถึง 3 ครั้ง ไม่ต้องสนใจ
    ๑๔.อาการเหมือนๆจะแยกกายกับจิตได้ชั่วคราว
    ให้สังเกตุดูว่าเราสามารถนึกคิดปรุงแต่ง แล้วยังรักษาอารมย์เหมือนเดิมได้ ไม่กลับสู่ปกติ

    ๑๕.อาการที่จิตหลุดออกไปอีก ถ้าทำได้อย่าคิดอะไรเด็ดขาดให้
    รักษาอารมย์ไว้ให้ได้นานทีสุด รอจนกว่าจะมีอะไรก็ตาม(ยังไม่ควรบอก)
    ที่วิ่งมาจากด้านขวาของศรีษะในลักษณะโค้งๆ.
    ตอนนั้นจะมีเสียงดังกึกก้องพอสมควร
    ๑๖.ให้ทำเหมือนข้อ ๑๕ จนกว่าจะได้ยินตั้งแต่ต้นเสียง

    พอผ่านมาถึงขั้นตอนที่ 15 โดยไม่จำเป็นผ่านทุกขั้นตอนต่อไปกายกับจิตจะแยกกัน
    แบบชั่วคราวเด็ดขาดชั่วคราว และสามารถอยู่ในร่างกายเราได้
    อย่าตกใจถ้ามองเห็นผนังสีเขียวๆออกนิ่มๆ...


    มาถึงจุดนี้ได้ก็พร้อมที่จะ มาเริ่มคลาน
    มาเริ่มฝึกหัดเดินปัญญา หรือถ้าชอบพวกความสามารถพิเศษ
    ก็สามารถมาเริ่มฝึกวิชาพิเศษได้ หลังจากที่เดินปัญญาไปได้แล้วพอสมควร
    โดยไม่ต้องกลัวว่าจะนำไปใช้ในทางที่่ไม่ควรได้แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น.
    .ต้องทำร่วมกับการเจริญสติควบคู่กันไปด้วยนะครับ...
    ปล.ประมาณนี้ครับ
    --------------------------------------------------------------------
    ขอขอบคุณคำชี้แนะทั้งหมดค่ะ
     
  9. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    กิริยาที่เล่ามาถือว่าเป็นเรื่องปกติครับ..เรื่องลมก็เช่น ร่างกายไม่ได้ผิดปกติครับ
    แสดงว่าเป็นผลของสมาธิครับ..กิริยาพวกนี้ไม่ใช่ว่าไม่ดี และมันก็บอกว่า
    เราปฏิบัติได้ดี..เพียงแต่ในเวลาปกติ ตัวจิตเรามันจะต้องวางให้ได้คับ..
    คุณพอนึกๆอารมย์ ช่วงที่เราอยู่ในสมาธิแล้วมันเย็นๆ โล่งๆได้ไหมคับ
    สภาวะนี้นี่หละครับ ที่จิตมันคลายตัวได้ครับ และควรเป็นสภาวะที่ควรให้เกิด
    ในระหว่างลืมตาใช้ชีวิตปกติประจำวันให้ได้ครับ..เพียงแต่ว่าเราต้องรู้จักวาง
    สมาธิของเราด้วยครับ ไม่งั้นตัวสมาธิมันจะไปปกปิดตัวจิตเราอยู่ครับ
    เป็นเหตุให้จิตไม่คลายตัว ซึ่งมันจะส่งผลสามวันเราไม่หิวอะไรนั้นหละคับ.
    ที่ผมรู้จักไม่ทานอาหาร ๒๔ วันทานแต่น้ำก็เคยมีคับ แต่มันพูดสื่อทั่วๆไปยากคับ.
    ส่วนเรื่องครูบาร์อาจารย์ มี ๒ อย่างคือ ทางโลก กับทางภพภูมิครับ..
    ทางภพภูมิขึ้นอยู่กับสัมผัสในอดีตที่ผ่านมาของเรา และพฤติกรรมทางจิตของเราคับ
    ขึ้นอยู่กับ จริตและประโยชน์ในการที่เราจะนำสิ่งที่ท่านสอนไปใช้งานด้วยครับ
    โดยมากต้องทำเพื่อคนอื่นๆ มากกว่าทำเพื่อตัวเอง ถึงจะมีโอกาสที่ข้างบน
    จะมาสอนเราครับ..
    ส่วนการที่จะเพี้ยนหรือสัญญาวิปลาส ก็อยู่ที่การยึดติดของเราคับ
    ไม่ว่าสิ่งที่เราเห็น สิ่งที่เกินภูมิวิสัย ที่พระพุทธฯท่านห้าม ในเรื่องอจิณไตร
    ต่างๆ ที่เราไม่ได้รู้ไม่ได้เห็นด้วยการปฏิบัติเอง แล้วไปพยายามคิดอย่างนี้
    จะเพี้ยนและสัญญาวิปลาสได้ครับ..
    แต่ถ้าจิตเรามันคลายตัวได้ มันแยกรูปแยกนามได้แล้ว ความเห็นชอบจะเปิด
    ทางให้เราเดินปัญญาได้ ตรงนี้จะเป็นเสมือนการพิจารณา และสร้างความ
    เข้าใจทางด้านนามธรรมซึ่งจะเป็นเกราะป้องกันเราไม่ให้หลงทางหรือใช้งาน
    ไปในทางที่ผิดไปในตัวครับ...เอาง่ายๆ ถ้าคิดอะไรไม่ออก ให้มาดูว่า ใน
    ระหว่างวัน กิเลสแต่ละตัวของเรามันลดลงไหม บวกกับมาดูว่า จิตเรามัน
    คลายตัวได้หรือไม่ในระหว่างวัน และได้นานแค่ไหน เป็นหลักสังเกตุได้ครับ
     
  10. คุณกันฌามี

    คุณกันฌามี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +65
    ...

    ขอถามเรื่องที่สงสัยหน่อยครับ

    ๑๒.ลูกกลมๆที่หมุนขึ้นมาจากบริเวณลิ้นปี่ ให้รีบดับหรือทำอย่างอื่น อย่าให้เลยทะลุศรีษะ


    เคยมีอาการคล้ายๆแบบนี้หลายที มันมีพลังเป็นก้อนเข้มข้นมากไม่แน่ใจมันเริ่มตรงไหนแต่มันเหมือนจะระเบิดเลย ถามว่าแบบนี้ใช่หรือป่าวแล้วให้ข่มจิตให้ดับเหรอ ผมดันให้มันออกทะลุไปอย่างงี้ผิดหรือป่าวครับ
     
  11. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    ไม่ผิดครับแต่ไม่ควรครับ
    ดับได้ไม่ได้อยู่ที่กำลังสติครับ
    มันเริ่มตรงลิ้นปี่ เรียกว่าจิตมันรวมตัวเป็นวงกลมคับ
    เป็นได้แม้กำลังสมาธิไม่มาก ถ้าเราไม่กำหนดดับมันจะพุ่ง
    ขึ้นออกทางศรีษะได้ครับ มันจะกลายเป็นว่าทำให้เราไปติด
    ในโหมดท่องเที่ยวจากการได้ไปเห็นโน้นนี่นั่นได้
    ยกเว้นว่าเราจะมาพิจารณาตัดร่างกายบ่อยๆๆๆๆๆไม่เป็นไรครับ
    แต่ว่ามันก็ยังเสี่ยงต่อการยึดติดแบบไม่รู้ตัวเหมือนเดิมครับ
    คือมั่นใจตัวเอวมั่นใจแนวทางตัวเองมากจนยึดครับ
    และแม้ว่ามันดูเหมือนไม่ยึดแต่ว่ามันเป็นกิเลสอย่างหนึ่ง
    เรียกว่ากิเลสธรรมครับ คือจะส่งผลให้จิตเราเน้นไปทางเรื่องสัมผัสภายใน
    และเรื่องการไปรู้สิ่งต่างๆในนิมิต
    มากกว่าการมาเจริญสติและการเดินปัญญาลดละกิเลส
    และอาจทำให้เรากลายเป็นคนหลงตัวเองได้อย่างคาดไม่ถึง
    เพราะไปยึดติดกับสิ่งที่เห็นที่รับรู้นั้นเองคับ
    ให้เราดับด้วยการอยู่กับลมหายใจ ดับบ่อยๆ อย่าให้มันก่อตัว
    สุดท้ายเราก็จะเห็นจนกะทั่งจิตเริ่มก่อตัวได้เองคับ
    กิริยามันเป็นอย่างนี้คับ ๑.รวมเป็นวงกลม ๒.กำลัง
    รวมเป็นวงกลม ๓.หมุนแบบก้นหอยเหวี่ยงไปมา
    ๔.กำลังผุดขึ้นมา
    ถ้าเราปฏิบัติจะเห็นกิริยาจาก ๑ มา ๔ คับ
    แต่ถ้าอายุมากๆหรือผ่านโลกมามากจะไม่เห็น ๓ กับ ๔ ครับ
    เห็น ๔ให้ได้ก่อนแล้วเดินปัญญาไปซักระยะ
    ต่อไปฝึกกรรมฐานอะไรจะง่ายและไม่ยึดติดครับ

    ปล.ประมานนี้ครับ
     
  12. คุณกันฌามี

    คุณกันฌามี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +65

    ขอบคุณครับ อาการนี้วันดีคืนดีถึงจะเป็น นานๆที ตอนเป็นผมลองให้จิตทำให้ดับแต่มันจะยิ่งมีพลังมากขึ้น หัวจะระเบิดละ เลยปล่อยมันออกมา :cool:
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อาการ (สภาวะ) ที่เล่าๆมานั่นแหละจุดเริ่มต้นที่จิตสงบๆ แต่จะให้สงบจริงๆอาการทั้งหลายแหล่ต้องหมดไป กำหนดรู้ในใจว่ามันเป็นอย่างนั้นก็อย่างนั้น ไม่ควรคิดวิพากษ์วิจารณ์สภาวธรรม ถ้าไปคิดวิพากษ์นี่นั่นโน่น เท่ากับเสริมความคิดปรุงแต่งซ้ำเข้าไปอีก
     
  14. phun

    phun สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +6
    กิริยาที่เล่ามาถือว่าเป็นเรื่องปกติครับ..เรื่องลมก็เช่น ร่างกายไม่ได้ผิดปกติครับ
    แสดงว่าเป็นผลของสมาธิครับ..กิริยาพวกนี้ไม่ใช่ว่าไม่ดี และมันก็บอกว่า
    เราปฏิบัติได้ดี..เพียงแต่ในเวลาปกติ ตัวจิตเรามันจะต้องวางให้ได้คับ..
    คุณพอนึกๆอารมย์ ช่วงที่เราอยู่ในสมาธิแล้วมันเย็นๆ โล่งๆได้ไหมคับ
    สภาวะนี้นี่หละครับ ที่จิตมันคลายตัวได้ครับ และควรเป็นสภาวะที่ควรให้เกิด
    ในระหว่างลืมตาใช้ชีวิตปกติประจำวันให้ได้ครับ..เพียงแต่ว่าเราต้องรู้จักวาง
    สมาธิของเราด้วยครับ ไม่งั้นตัวสมาธิมันจะไปปกปิดตัวจิตเราอยู่ครับ
    เป็นเหตุให้จิตไม่คลายตัว ซึ่งมันจะส่งผลสามวันเราไม่หิวอะไรนั้นหละคับ.
    ที่ผมรู้จักไม่ทานอาหาร ๒๔ วันทานแต่น้ำก็เคยมีคับ แต่มันพูดสื่อทั่วๆไปยากคับ.
    ส่วนเรื่องครูบาร์อาจารย์ มี ๒ อย่างคือ ทางโลก กับทางภพภูมิครับ..
    ทางภพภูมิขึ้นอยู่กับสัมผัสในอดีตที่ผ่านมาของเรา และพฤติกรรมทางจิตของเราคับ
    ขึ้นอยู่กับ จริตและประโยชน์ในการที่เราจะนำสิ่งที่ท่านสอนไปใช้งานด้วยครับ
    โดยมากต้องทำเพื่อคนอื่นๆ มากกว่าทำเพื่อตัวเอง ถึงจะมีโอกาสที่ข้างบน
    จะมาสอนเราครับ..
    ส่วนการที่จะเพี้ยนหรือสัญญาวิปลาส ก็อยู่ที่การยึดติดของเราคับ
    ไม่ว่าสิ่งที่เราเห็น สิ่งที่เกินภูมิวิสัย ที่พระพุทธฯท่านห้าม ในเรื่องอจิณไตร
    ต่างๆ ที่เราไม่ได้รู้ไม่ได้เห็นด้วยการปฏิบัติเอง แล้วไปพยายามคิดอย่างนี้
    จะเพี้ยนและสัญญาวิปลาสได้ครับ..
    แต่ถ้าจิตเรามันคลายตัวได้ มันแยกรูปแยกนามได้แล้ว ความเห็นชอบจะเปิด
    ทางให้เราเดินปัญญาได้ ตรงนี้จะเป็นเสมือนการพิจารณา และสร้างความ
    เข้าใจทางด้านนามธรรมซึ่งจะเป็นเกราะป้องกันเราไม่ให้หลงทางหรือใช้งาน
    ไปในทางที่ผิดไปในตัวครับ...เอาง่ายๆ ถ้าคิดอะไรไม่ออก ให้มาดูว่า ใน
    ระหว่างวัน กิเลสแต่ละตัวของเรามันลดลงไหม บวกกับมาดูว่า จิตเรามัน
    คลายตัวได้หรือไม่ในระหว่างวัน และได้นานแค่ไหน เป็นหลักสังเกตุได้ครั

    ****************************************************
    ต้องขอบคุณอย่างสูงค่ะ อ่านที่คุณชี้แนะแล้วเข้าใจสภาวะที่จิตคลายตัวเลยค่ะ
     
  15. phun

    phun สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +6
    อาการ (สภาวะ) ที่เล่าๆมานั่นแหละจุดเริ่มต้นที่จิตสงบๆ แต่จะให้สงบจริงๆอาการทั้งหลายแหล่ต้องหมดไป กำหนดรู้ในใจว่ามันเป็นอย่างนั้นก็อย่างนั้น ไม่ควรคิดวิพากษ์วิจารณ์สภาวธรรม ถ้าไปคิดวิพากษ์นี่นั่นโน่น เท่ากับเสริมความคิดปรุงแต่งซ้ำเข้าไปอีก

    ******************************************************
    ขอบคุณที่ช่วยชี้แนะค่ะ
     
  16. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    https://archive.org/details/VenAjahnChah

    ดูหัวข้อที่7 "การทำจิตให้สงบ" ฟังตั้งแต่นาทีที่15 เป็นต้นไปครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...