ทำไมนั่งสมาธิที่วัดนั่งได้นานกว่าที่บ้าน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nite, 27 พฤษภาคม 2015.

  1. nite

    nite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +611
    คือผมสงสัยว่าทำไมนั่งสมาธิที่วัด นั่งได้นานกว่าที่บ้าน
    แล้วนั่งเป็นเวลา 3-4 ชั่วโมงถือว่าเป็นสมาธิระดับไหน
    อยู่กับพุทโธ ไปเรื่อยๆ ไม่เห็นอะไรใดๆทั้งสิ้น รู้แต่ว่าสบายไม่ปวดไม่เมื่อย
    ไม่อยากออกแต่ต้องออก เพราะเหมือนเรารับรู้เวลาข้างนอกด้วยว่ามันเย็นแล้วเดี๋ยววัดจะปิด
    ลืมตามาสบายเหมือนเราพึ่งตื่นนอน
    ผมอยากกลับไปเข้าไปอยู่ในอารมณ์นั้นอีกครั้ง แต่อยู่บ้านรู้สึกว่านั่งนานๆไม่ได้ มากสุดก็ 30นาที เกือบๆชั่วโมง เพราะต้องปวดเมื่อยบ้างไม่มีสมาธิคิดนู้นนี้บ้างบลาๆ.. แบบนี้ ใครพอจะแนะนำวิธี หรือ แนะเทคนิคไรได้บ้างมัยครับ ด้วยความที่เวลานั่งสมาธิผมไม่มีวิธีหรืออะไรตายตัวรู้แต่ว่าอะไรที่มัน ดึงสติ ดึงสมาธิได้นานก็ใช้วิธีนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 พฤษภาคม 2015
  2. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    โอ้โห นั่งได้นานตั้ง 3 - 4 ชั่วโมง นั่งขัดสมาธิชั้นเดียวผมยังนั่งไม่ถึงเลยครับ ถ้านั่งขัดสมาธิสองชั้น แค่ 1 ชัวโมง กว่า ก็ทนเวทนาไม่ไหวล่ะ

    การนั่งนานไม่ได้บ่งบอกระดับสมาธิ ระดับฌาณครับ บางทีบ่งว่า มีความอดทนสูง หรือมีความสงบสูง แต่ยังไม่อาจบ่งบอกระดับสมาธิ ระดับฌาณ เหมือนทหาร ยิ่งบางหน่วยนี้ ต้องนิ่ง ต้องอดทนสูง บางทียืนรอนายรับนายตั้ง 4 ชั่วโมง ยืนกันได้กันทน พอนายบอกว่า อิริยาบถสบายได้แล้ว นายมาเลื่อนเวลาแน่ๆ แค่นั้น ลมจับกันเป็นแถบๆ แทบล้มทั้งยืน ประสบการณ์ตอนเป็นทหารนะครับ

    ไม่มีข้อมูลประกอบ บ่งบอกระดับสมาธิ ระดับฌาณ ผมก็เดาไม่ได้ (เดา คือ ผมผิดได้นะครับ)ลองอ่านความรู้เบื้องต้นของเว็ปต์นี้ เกี่ยวกับพื้นฐาน ดูตรงพวกอารมณ์สมาธิ อารมณ์ฌาณก็คงบอกตัวเองได้ ถ้าให้ดีก็หาอาจารย์กรรมฐานนะครับ ถ้าทำถึง พระท่านก็จะแนะนำ แล้วแต่การปฏิบัติ ลองค้นหาวัดดูครับ

    เดาจากท่าน สงสัยท่านจับลมหายใจเป็นหลัก ถ้าหายใจเป็นมันสงบได้นาน ยิ่งเผลอได้ฌาณไม่รู้ตัว จะติดสุขก็จะยิ่งอยากนั่งนานๆ จนไม่อยากลุกเอาได้ ท่านไม่ให้ติดใจในความสงบแบบนั้นนะครับ เอาว่าเพื่อพักกายพักใจพอประมาณนะครับ ลุกเดินจงกรมสลับทุกชั่วโมง ชั่วโมงครึ่ง สองชั่วโมง สามชั่วโมง ในเวลาเท่ากัน จะได้ทดสอบว่าเราไม่ติดสงบ ติดสุข

    ถ้าจะนั่งนานขนาดนั้น น่าจะถึงเวลาใช้สมาธิพิจารณา ธรรม ได้แล้วนะครับ แต่ถ้านั่งจนนิ่ง เป็นสุข กลัวว่าท่านจะเสวยสุขจากฌาณ ไปแล้ว การติดสุข จะแสดงว่า เราไม่มีสติ เหมือนเรานั่งทานข้าวบางคนนั่งทานกันเป็นชั่วโมง มันเลยสาระการกินเพื่อประคองสังขารนะครับ การนั่งนานจิตสงบนิ่งนานอยู่อย่างนั้น มันจะเหมือนเกินจำเป็นนะครับสำหรับการปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น
     
  3. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    อธิบายตรงไปตรงมาดี

    สังเกตนะ คุณใช้คำว่า " เป็นอะไรที่ ดึงสติ ดึงสมาธิ "

    สภาวะธรรมที่เป็นอาการ ดึง ถ่วง หน่วง เหนี่ยว เหนียว หนัก แน่น มีเคลื่อน
    มีผลัก เหล่านี้คือ สภาวะธรรมของ " ตัณหา "

    ตัณหาชั้นดีเราจะเรียกใหม่ว่า " ฉันทะราคะ " ชื่อของมัน ก็บอกอยู่ในตัวว่า
    เป็น สมาธิที่เจือด้วยสมุทัย .....แต่เราไม่ว่ากัน เพราะมันดีกว่าไปเสพ "กามราคะ"

    ฉันทราคะ กามราคะ ล้วนเป็นกิเลส แต่ตัวหนึ่งชักนำเราไปทางกุศล ส่วน
    อีกอันนั้น ชักนำให้เดินไต่ขอบเหว


    เราต้องยก อาการ "ดึง" นั้นขึ้น เป็นสิ่งถุกรู้ ถูกดู เอาไว้ด้วย เพื่อให้มันห่าง
    ออกจากจิต ไม่มีเราเข้าไปมีส่วนร่วม เห็นาภวะธรรม "ดึง" มันเกิด แต่ไม่ใช่
    เราดึง แต่เกิดจากจิตที่กำลังอบรมมันทำของมันเอง เพราะอำนาจ "ฉันทะราคะ"

    พอกำหนดรู้ ฉันทราคะ จะถูกยกขึ้นทำการแจ้ง อรรถรส ของมัน แจ้งกิจ
    ของมันคือชักนำ หรือ สนตพายจิตเราไป

    หากมัน สนตพายเราสำเร็จ ครอบงำจิตทั้งหมด จะเกิดอาการ ติดสงบ ติดวัด
    พอกลับมาบ้าน ก็หงุดหงิด รำคาญ ทำอะไรนิดอะไรหน่อย ก็ขัดใจไปหมด

    แต่ถ้าเรา ทัน คือ ยก ฉันทราคะ ขึ้นเป็นสิ่งถูกรู้ถูกดูได้ มันจะห่างออกไป
    จากจิต ทำให้เห็น จิตผู้รู้ อยู่ส่วนหนึ่ง จิตที่เกิดด้วยอำนาจฉันทราคะ ก็เป็น
    อีกส่วนหนึ่ง จิตจะปัก หรือ ยึดถือส่วนไหน ก็ขึ้นกับ ความพอใจ ปักใจเชื่อ
    ด้วยอำนาจเวทนา

    ยกเวทนา ขึ้นเป็นสิ่งถูกรู้ ถูกดูอีก ชั้นหนึ่ง ให้เวทนามันแยกออกไป เราก็จะ
    ภาวนาเข้ามาที่ สติปัฏฐาน4 " กาย เวทนา จิต ธรรม " หรือที่เรียกว่า
    ภาวนาแบบแยกธาตุแยกขันธ์

    พอภาวนาแบบแยกธาตุแยกขันธ์ได้แล้ว ก็ รวบอาการทั้งหมด ที่ปฏิบัติยกขึ้น
    เป็นการเห็น " ปฏิปทา " อะไรใช่ทาง อะไรไม่ใช่ทาง ตามเห็น ปฏิปทา
    นี้เป็นสิ่งถูกรู้ถูกดู อีกชั้นหนึ่ง จิตจะสำรอกออกแม้นตัวปัญญา จิตก็จะถึงฐาน

    จิตถึงฐานตรงนี้ จะเป็น สมาธิในพระพุทธศาสนา เป็นสมาธิที่ไม่มี สมุทัย เจือปน

    ถ้าตั้งมั่น แนบแน่นดี ก็จะ พยากรณ์ถึง ปฐมฌาณ มีแก่จิต หรือไม่มี มีก็ไม่ใช่
    ว่าจะต้องไปเอาถาวร เราภาวนาแบบ ขณิกสมาธิ ช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น แบบ
    นี้ก็ทำให้ถึง อรหันต์ได้

    โดยที่ไม่ต้องเลือก วัด หรือ บ้าน หรือ เดิน หรือ นั่ง หรือ ยืน ดื่ม ทำ พูด คิด
     
  4. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    นั่งอยู่ในอารมย์นั้นนานๆเค้าเรียกว่า การแช่ หรือ จมอยู่ในอารมย์
    ข้อดีคือมันได้สมาธิสะสม พอออกมาก็ได้ภูมิต้านทานต่อสิ่งกระทบ
    ภายนอก..แต่นานๆเข้าจิตมันจะฟูและเกิดความอยากได้ครับ..
    และข้อดีก็คือตัวจิตมันก็จะนิ่งๆของมันอยู่อย่างนั้นถ้านั่งได้นานๆ
    และก็นิ่งๆแบบที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสมองและร่างกายของเราครับ
    แต่สิ่งที่น่าเสียได้ก็คือเรื่องของสัมผัสหรือเครื่องรู้ที่มันน่าจะเกิด
    ทั้งๆที่มันมีกระแสตัวนี้วิ่งๆวนอยู่ภายในท้องของเราเตรียมอยู่แล้ว
    แม้ว่าเราจะไม่คิดเรื่องนี้มาก่อนนะครับ.
    ถ้ากลับมาบ้านอยากนั่งได้นาน ในระหว่างวันก็ควรหลับตาทำสมาธิ
    ในระดับให้จิตมันสงบก็พอเอาแค่ไม่กี่นาที เพื่อเป็นอุบายให้จิตมันคุ้นชิน
    และถ้านั่งไปแล้วจิตมันฟุ้งเรื่องโน้นเรื่องนี้แล้
    วไม่ยอมวาง
    ให้มาสลับกับการเดินจงกลมแล้วถึงมานั่งหรือไม่ก็ลุกไปหาอะไรทำก่อน
    เพียงแต่ว่าให้รักษาระบบการหายใจให้เหมือนกับตอนนั่งหรือ
    ถ้านั่งๆแล้วเผลอลืมตา สะอึก หรือร่างกายกระตุกก็ให้แผ่เมตตา
    จะนั่งต่อได้ หรือถ้าร่างกายกระตุกแต่ไม่ลืมตา ก็ให้ค่อยๆขยับร่างกาย
    ขึ้นมาในท่าเดิมก็จะนั่งต่อได้นาน..ที่เล่าให้ฟังเป็นเพียงอุบายถ้าอยาก
    จะนั่งๆนานๆนะครับ..เพียงแต่ว่า ตัวจิตมันจะไม่พัฒนายกระดับกำลัง
    สมาธิและไม่เกิดปัญญาทางธรรม มันจะเข้าสภาวะเฉยๆ
    เนื่องจากมีตัวสมาธิสะสมมาบิดบังตัวจิตอยู่ครับ..
    ถ้าจะยกพัฒนาระดับปัญญาทางธรรมก็ต้อง มาเจริญสติในชีวิตประจำวัน
    ด้วยครับ.จะทำให้ทราบว่าเรายังมีกิเลสตัวไหนที่เรายังอ่อนอยู่ แล้วทำการ
    รักษาอารมย์กิเลสเรื่องนั้นๆไว้ ด้วยการคิดไว้ระหว่างวันและก็ลืมๆไปซะ
    เด่วพอเค้าอารมย์เดิมได้..เรื่องที่รักษาอารมย์ไว้มันจะผุดขึ้นมาให้เราวิปัสสนาได้
    โดยที่ไม่กลายเป็นนิวรณ์และไม่ทำให้หลุดจากอารมย์...
    หรือถ้าอยากจะพัฒนาความสามารถของตัวจิต.จำเป็นต้องหาตัวล่อให้จิตสร้าง
    ภาพขึ้นมาไม่ว่าจะภาพอะไรก็ได้ เช่น ภาพพระที่เราชอบ หรือจะกสิณอะไรก็ได้
    แต่ควรเป็นกสิณที่ช่วยหนุนเรื่องทิพยจักขุ.แต่ถ้ามาแบบนี้ให้หายใจให้ลึก
    ทำความรู้สึกรับรู้ว่ามีลมกระทบเข้าและออกที่ปลายจมูกก็พอ
    เพื่อสร้างกำลังสติทางธรรม และสายตาปกติมองลงมาที่ลิ้นปี่เพื่อตัดระบบ
    ความคิดต่างที่เกิดจากสมอง ก็จะมีความรู้สึกว่าเรามีตาเดียว ที่มองผ่าน
    ระหว่างคิ้วโดยอัตโนมัติ เพื่อให้มองออกไปรอจนกระทั้งเห็นภาพที่
    เราตั้งต้นไว้ตั้งแต่ตอนแรกๆ และปกติภาพจะไม่ค่อยชัดถ้าสร้างจากจิตโดยตรง
    ต่อมาภาพจะเริ่มชัดและนิ่งได้เอง ระดับสมาธิเราก็จะไม่แช่ ไม่จม อยู่กับระดับ
    เดิมๆตรงนี้ครับ มันก็มีพัฒนาการไปได้เองอีก ๓ ระดับครับ.
    และตัวกระแสที่ออกจากจิตเรามันถึงจะขึ้นทะลุศรีษะเราขึ้นไปข้างบนได้
    จะไม่วนเวียนๆเป็นกระแสเบาๆอยู่ภายใต้กระโหลกศรีษะเหมือนเวลานี้
    และกระแสเกี่ยวกับเรื่องสัมผัสเรามันถึงจะหนุนขึ้นมาส่งเสริมได้ถ้ากระแส
    ที่ออกจากจิตเรามันขึ้นข้างบน..จะเป็นผลให้เรารับรู้เกี่ยวกับเรื่องทางด้าน
    นามธรรมได้ดีขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลให้เราเห็นตัวกิเลสต่างๆในระหว่างวันได้
    ดีขึ้นตามมา.ซึ่งเป็นประหลักๆมากกว่าการเห็นทางด้านอื่นๆ
    ซึ่งมันเกิดขึ้นได้เป็นปกติตามแต่ลักษณะของจิตเราเดิมๆ
    ที่เคยทำมาก่อนนั่นเองครับ

    ปล.เอาประมาณนี้ก่อนนะครับ..เด่วจะงงครับ
     
  5. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,084
    ลองดูนะครับ ถ้าจะเน้น เพิ่มสมาธิ เวทนาเกิด ก็กำหนดรู้ว่าเกิด แล้วก็ไม่สนใจ

    ความคิดฟุ้งซ่าน ก็กำหนดรู้ว่าฟุ้งซ่าน แล้วก็ไม่ต้องสนใจ ภาวนาต่อไป



    ถ้าจะเน้นวิปัสสนา เวทนาเกิด ก็กำหนดรู้ว่าเวทนาเกิด แล้วตามรู้เวทนาตลอด

    แล้วจะมีความคิดเกิดขึ้น ก็ตามดูความคิดนั้น โดยไม่ต้องมีอารมณ์ร่วม ดูอย่างเดียว

    ส่วนนั่งแล้วไม่มีเวทนา มีความคิดเกิด ก็ตามดูความคิด ดูอย่างเดียว

    ถ้าความคิดเกิดตลอดจนฟุ้งซ่าน ก็ลองเปลี่ยนอริยาบท ไปเดินจงกลม
     
  6. mcusys

    mcusys เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +106
    เป็นอารมณ์แบบนี้เหมือนกันนะครับ แต่เป็นตอนที่นั่งสมาธิหลังจากสวดมนต์เสร็จทุกครั้ง
    หลายครั้งเวลานั่งจะเกิดความรู้สึกหายใจน้อยลง แต่ยังรับรู้ได้ไม่ถึงกับลมขาด ยังใช้คำภาวนาได้ และยังได้ยินเสียงภายนอก และพอนั่งไปซักพักจะรู้สึกตึงๆที่ต้นคอ บางครั้งรู้สึกอึดอัดเหมือนหายใจไม่ออก ได้อ่านหลายๆข้อความที่ท่าน นพคุณเขียนไว้ ให้ลองมองลงต่ำที่ลิ้นปี่ อาการบางอย่างหายไปเช่น อึดอัดเหมือนหายใจไม่ออก แต่อาการเกิดขึ้นเปลี่ยนไปเช่น รู้สึกตัวเองตัวเล็กมาก หรือบางทีเหมือนตัวเบา พยายามตัดทุกอย่างวางเฉย
    กับอาการต่างๆ และจะนั่งได้อย่างนี้นานๆ แต่ก็ไม่ได้เห็นอะไรนะครับ ยังไม่เคยลองฝึกกสิณแบบจริงจัง จริงๆลึกๆในใจอยากเห็นอะไรบ้าง แต่มาคิดๆดูอีกถ้าเห็นแล้วเราจะใช้ชีวิตอย่างปกติสุขหรือเปล่า อันนี้ตอบไม่ได้ เห็นแล้วคงเล่าให้ใครฟังไม่ได้เดี๋ยวเค้าจะให้เราไปหาหมอ แต่ก็มีอีกความรู้สึกอยากจะพัฒนาสมาธิไปให้ไกลกว่านี้ อยากเกิดปัญญาทางธรรมมากกว่านี้ ตอนนี้ได้แค่นี้ก็คิดว่าพอใจแล้ว

    พอออกจากสมาธิอาการของเวทนาก็มาทันที ปวดหลัง ขาเป็นเหน็บชา
    แต่ตั้งแต่ปฏิบัติทำสมาธิมา ไม่เคยปวดหัวไมเกรนอีกเลย เมื่อก่อนนี้แค่เครียดนิดเดียวปวดหัวแทบระเบิด ผมว่าผมคงได้แค่นี้...
     
  7. nite

    nite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +611
    อ่านๆๆๆมา มาติดตรง ยก นี้ละครับคุณทำไม่เป็น
     
  8. nite

    nite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +611
    ถ้านั่งเกิน 1-2 ชั่วโมงไป อาการ ขาเป็นเหน็บชาอะไรของผมไม่มีครับ มันเหมือนเราหลับร่างกายพักผ่อน แต่จิต ยังรับรู้สภาวะภายนอก แต่จดจ่อกับลมหายใจเข้าออก อาจมีบ้างความคิดแว๊บมาแต่เราไม่สนใจ คงเป็นอาการจม แช่ เหมือนที่ คุณนพ พูดละครับ แต่อยู่วัดจะนั่งได้ไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง
     
  9. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    " ยก " ก็เป็น บัญญัติคำหนึ่ง เป็นภาษาปฏิบัติ ที่ได้หมายว่า จะไปยกสิ่งของ ยกจิต ยกใจ

    " ยก " บางที่ บางจังหวะ เราก็แทนด้วยคำว่า " เพียรเพ่ง " " นำตนส่งเพียรเผา "
    " กำหนดรู้ " " สำเนียก " " นมสิการ " " รำพึง " " รื้อค้น " " ทวนกระแส "
    " สาวไปหาเหตุ "

    ทั้งหมด คือ ภาษาปฏิบัติที่สื่อถึง นัยยทางปฏิบัติบางประการ โดยอาศัย บัญญัติ
    กล่าวออกมา ตามแต่จะมี ฉันทะธรรม ชอบคำไหนแล้ว ใจมันสู้ แม้นไม่เห็นทาง

    ดังนั้น

    " ยก " ก็จะมี รสโน้มน้อมไป ด้วยความเลื่อมใสใน ความสงัด สงบ โดยไม่มีเจตนา

    " ยก " ก็จะมี รสโน้มน้อมไป ในนามรูปบางอย่าง รับรู้เหมือนจับต้องได้ แล้วอนุโลม
    ไปตามสภาพธรรมนั้นๆ อย่างเป็นอุเบกขา [ ไม่มีการตื่นเงา ตื่นเต้น ต่อการน้อม การเห็น ]


    อธิบายละเอียดมากก็ไม่ดี บัญญัติมันจะไป ทับการภาวนา


    นะ ลองไป "ยก" ดู
     
  10. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ถ้า ยก ถูกต้อง ราคะ โทษะ โมหะ จะต้องกระเด็น จิตจะเกิดปิติ แต่มีปัสสัทธิ รำงับ
    ไม่ใช่ไป สุข แล้ว อุเบกขา ซึ่งจะถือว่า ภาวนาผิดฝาก ฟ้า กับ เหว


    และ เพราะความสิ้นไปของ โลภะ โทษะ โมหะ ปรากฏ จึงเชื่อมขนมกินได้ว่า นี่ไม่ใช่
    การภาวนาแบบ ทำตามๆกันไป ไม่ใช่การเปรียบเทียบ หรือ อาศัยเชื่อเดาสุ่มส่งสวด
    เหมือนพวก ณchat ทำกรรมฐานเสร็จ เสือกทะลึ่ง ต้องวิ่งไปถาม ครู
     
  11. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    ถ้านั่งสมาธิระดับได้สมาธิสูงขึ้น ระดับฌาณ นอกจากว่า ใจจะไม่สนใจเวทนาทางกาย ไม่ใส่ใจเวทนาทางกาย เพิกเฉยต่อเวทนาทางกาย ไม่รับรู้เวทนาทางกาย ตามลำดับไป ถ้าเข้าถึงระดับดับลมหายใจหรือระดับลมหายใจไม่มี เวทนาทางร่างกายมันดับไปเลยครับ ถ้าสมาธิท่านได้ระดับฌาณมันจะสบายกายและสบายใจ ออกจากการนั่งสมาธิมาสบายกายสบายใจ อาการทุกขเวทนาทางกายต่างๆ ไม่มีนะครับ

    สันนิษฐานนะครับ ท่านว่าท่านทำสมาธิโดยใช้ลมหายใจ พอจิตเป็นสมาธิเร็วไป โดยร่างกายยังปรับธาตุตามไม่ทัน ท่านควรชะลอจิตสมาธิอย่าให้ดิ่งไปที่ความสงบเร็วเกินไป คืออย่าเพิ่งไปจับจุดกรรมฐาน ที่จุดเล็กๆ ทันที อย่าเอาแค่ปลายจมูกครับ เอายาวๆ ก่อนตั้งแต่ลมปะทะจมูกลากยาวจนถึงท้องที่พองยุบ ทั้งเข้าและออกอย่างยาวๆ ไป รอให้ลมหายใจละเอียดไปเอง จิตมันจะลดจุดเอง จนเหลือที่ปลายจมูก เพื่อให้เวลาร่างกายปรับทันตามจิตที่สงบ ร่างกายมันจะเก็บอ็อกซิเจนไว้ก่อน พอจิตใจสงบมากๆ ขึ้นร่างกายจะไม่มีความต้องการอ็อกซิเจนมากเกินไป ลมหายใจจะละเอียดเอง
    ปัญหาความอึดอัดแน่นจะไม่มีครับ
     
  12. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    เวลา คือ พื้นที่ชนิดหนึ่ง
    สุญญตาต้องการเวลา
    อุเบกขาต้องการเวลา
    ขอคืนพื้นที่
     
  13. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ตัวเล็กตัวใหญ่เป็นอาการของปีติขณิกสมาธิตอนปลายก่อนเข้าสู่อุปจารสมาธิครับ
    ส่วนที่นั่งได้นานก็ขออนุโมทนาด้วยครับ
    ส่วนที่อึดอัดหายใจไม่ออกเกิดจากอาการเพ่งโดยส่วนใหญ่
    จะมีน้อยที่ลมหายใจขาดแล้วเข้าอัปปนาสมาธิ
    แต่รายของคุณก็ไม่แน่ครับ
     
  14. nite

    nite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +611
    อาการที่ คุณmcusys เป็นผมก็เคยเป็นครับ แต่ตอนนี้ไม่มีอาการแบบนั้นแล้ว บ้างรุูสึกเหมือน ลมหายใจแผ่วลงๆ บ้างตัวหนักๆๆแล้วก็เบาจนเหมือนตัวเองลอย ก้นไม่ติดพื้น บ้างก็ หูอื้อเหมือนโดนบีบให้เล็กลงๆจนไม่ได้ยินเสียงของข้างนอก รับรู้ได้แต่ลม ผ่านกระหม่อมบ้าง แบบนี้ก็เคยเป็น ......... ก็อยากกลับไปให้รู้สึกแบบนั้นดูอีกเหมือนกัน
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    นั่งน้อย นั่งนาน ไม่ได้ว่ามีสมาธิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...