ความแตกต่างของสัมมาสมาธิกับฌานสมาบัติ ๘

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 13 เมษายน 2015.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ลุงครับ

    อยากโชว์อะไร ก็โชว์ไป คงไม่มีใครว่า

    แต่อาศัยวิธีการ เอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น เป็นเรื่องน่าเศร้าจริงๆ

    เพราะปัจจุบันกลับกกลายเป็นหลักสูตรตายตัว ของพวกชอบสร้างภาพ

    ลุงไม่โง่จริงๆ พูดไม่ได้อย่างที่ลุงพูดอยู่นะ

    คนที่มีจิตใจสงบตั่งมั่นไม่หวั่นไหวได้นี่อะ เค้ารู้มั้ย? รู้แน่นอน

    ส่วนคนที่กำลังสับสนวุ่นวายอยู่หละ เค้ารู้มั้ย?

    ต้องรอให้เริ่มตั้งสติได้จึงรู้ว่าเมื่อครู่ ตนเองสับสนวุ่นวายไปใช่หรือไม่?

    ลุงไม่รู้จริงๆหรือแกล้งโง่จนเป็นนิสัยไปเสียแล้วว่า

    สติ สมาธิ ปัญญานั้น ล้วนเรื่องที่เป็นอัญญะมัญญะปัจจัย

    หนุนเนื่องกันให้เกิด ขาดตัวใดตัวหนึ่งไปไม่ได้เลย

    ขนาดพระพุทธพจน์ทรงตรัสไว้ชัดเจน

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด

    ผู้ที่มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมมีปัญญา คือรู้เห็นตามความเป็นจริงดังนี้"

    ลุงยังจะดันทุรังไปให้ได้อีกหรือ เฮ้อ!!!

    ไม่มีใครละทิ้งสัญญาไปได้หรอก เพราะเป็นหนึ่งในขันธ์๕

    แทนที่จะเปลี่ยนสัญญาให้เป็นปัญญา ยังไม่รู้จักวิธีทำเลย

    มีแต่พล่ามจนน้ำลายไหลยืดดดดดตามความรู้ที่มีมาจากตำรา

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน

     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    น้องเก่ง เล่นอยู่ที่นี่มาตั้งนาน ทำไมเบื่อง่ายจัง

    แสดงว่าชอบอะไรที่มันสบายๆ ง่ายๆ ลัดสั้นมั๊ง

    พระพุทธพจน์ไม่มีอะไรเกินตัวเลย

    ล้วนเป็นธรรมะที่อยู่ในตัวทั้งนั้น

    อยู่ที่จะเริ่มทำจริงจังหรือไม่เท่านั้น

    เริ่มง่ายๆ แค่ลมหายใจหรือภาวนา

    แต่ไม่สบายและลัดสั้นอย่างที่กิเลสคนชอบทำกัน

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  3. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +1,210
    เหนื่อยแทนลุงธรรมภูตแฮะต้องโต้วาทีกับหลายคน
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    น้องเสขะครับ

    ลุงเค้าตอบไปพอได้ ตามตำราที่รจนาไว้ในภายหลัง

    แต่พี่จะทิ้งข้อคิด ที่พอจะตริตรองตามเป็นจริงได้ไว้ลองพิจารณาดู

    รูปฌาน และอรูปฌานนั้น ใช้อารมณ์ภายนอกกายมาเป็นอารมณ์ฌาน

    ล้วนเป็นสัญญาอารมณ์ละเอียด ที่เกิดจากอารมณ์ภายนอกกายทั้งสิ้น

    แล้วน้องคิดว่า จะสามารถเข้าถึงอัปปนาสมาธิ

    คือจิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวแบบสุดๆได้หรือ?

    ส่วนสัมมาสมาธินั้น ละทิ้งทั้งรูป-ทั้งนาม จิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว

    จนจิตมีสติปาริสุทธิง ละสุข ละทุกข์ ดับโสมนัส โทมนัสแต่เก่าก่อนได้

    แบบนี่ยังจะให้หวั่นไหวกับอะไรได้ง่ายๆหรือ?

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  5. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +1,210
    อัปปนาสมาธิเริ่มนับไปตั้งแต่ฌาณ4ไปจนถึงอรูปฌาณ4ครับ
     
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    วันนี้อาจารย์ที่ห้องสำนัก ดูจิตแบบธรรมภูต ออกมาตัดสินลุงว่าพอได้ๆ

    ที่เขารจนาไว้ภายหลัง ต้องขอขอบคุณ แล้วที่พูดอยู่นี่น่ะมันคงจะรจนาไว้ภายหน้าละมั้ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 พฤษภาคม 2015
  7. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    สัมมาสมาธิ ที่พี่ภูติกล่าว หมายถึง วิมุตติ ใช่รึป่าวครับ
    หมายถึงส่วนผลโดยส่วนเดียว หรือว่าส่วนของมรรคปฏิปทาด้วยครับ

    ขอพี่ภูติขยายส่วนปฏิบัติ เพื่อเข้าถึง จิตที่เป็นอัปปนาสมาธิด้วยครับ
    ขอบคุณครับ
     
  8. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    ป่าวหรอกครับพี่ธรรมภูติ เพราะเราคุยกันมานานมากและเรื่องเดิมๆ นี่ถ้าใครไม่เข้าใจในรายละเอียด โดยจิตนั้นผู้รู้และทราบในเรื่องของกรรมอันเกิดแก่จิตนั้นย่อมรู้ดีว่ามีและเกิดขึ้นจริงในเรื่องของกรรม จึงไม่อยากประมาทกรรม ของตนและของใครๆ เท่านั้นครับ ผมไม่เก่งเรื่องนั้นเรื่องพุทธพจน์แต่ถ้าอยากหรือต้องการพิจารณาเทียบเคียงในกรณีที่เกิดความสงสัยนการปฏิบัติก็คงหาได้ไม่ยากเย็น แต่อย่างไรเสียก็ต้องใช้ความเป็นผู้สนใจในธรรมอ่านและค้นคว้าจากพระอรหันต์ที่เคยเทศนาไว้พร้อมทั้งอ่านในพระไตรปฏิฏกด้วยในกรณีสงสัย
     
  9. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร ไม่น่าจะใช่อัปปนาสมาธินะครับ พี่ลุงหมาน
     
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    คำว่าอัปปนาสมาธินั้นเป็นสมาธิที่เข้าถึงฌาน หรืออยู่ในฌาน ทุกฌาน
    ปฐมฌาน เป็นฌานเบื้องต้นที่ยังต้องอาศัย วิตก วิจาร อยู่ เพราะยังไม่ชำนาญ

    เหมือนชาวบ้านที่มีความเดือดร้อนเพื่อจะกราบทูลพระราชา ก่อนเข้าตนเองก็ไม่เคยเข้าไปในพระราชฐาน
    จำเป็นต้องถามผู้รักษาประตูวังพาเข้าไปพบอำมาตย์

    เพื่อจะได้พบกับพระราชา เพื่อถวายความเดือดร้อนตามความที่ตนได้ตั้งใจไว้
    เมื่อครั้งต่อไป คือทุติยฌาน ตนเองก็ไม่ต้องพึ่งไม่่ต้องถามผู้เฝ้าประตู กับ อำมาตย์ (วิตก วิจาร)
    สามารถที่จะเข้าไปถวายความเดือดร้อนของตนได้เลย
     
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ลุงครับ

    เรื่องแบบนี้ ลุงยังต้องมาถามอีกหรือว่า

    "เกิดขึ้น(รจนา)ในภายหลัง"

    ในมหาประเทศ๔ มีพระพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ชัดๆ

    โดยไม่ต้องตีความใดๆเลย ชัดเจนพอที่นำไปปฏิบัติตามได้

    ส่งนที่มีการเพิ่มเติมเสริมแต่งในภายหลัง เป็นการวินิจฉัยเอาเองเท่านั้น

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน

     
  12. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ใช่ครับ หมายถึงวิมุตติหลุดพ้นชั่วคราว

    ผลที่ว่าต้องเกิดจากอริยมรรคเท่านั้น

    คือทางเดินของจิตเพื่อความหลุดพ้น

    ส่วนการเข้าถึงนั้น หลักเกณฑ์ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงวางไว้ชัดเจน

    คือต้องยังสมาธิให้เกิดขึ้น โดยต้องอาศัยองค์ภาวนาที่เกิดขึ้นภายในกาย

    เช่นกายสังขาร อันมีลมหายใจ พุทโธ สัมมาอรหังฯลฯ

    ที่สำคัญคือ การหาอุบายธรรมต่างๆทำให้จิตสงบตั้งมั่นได้

    จึงมีหลายๆวิธีที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบท่านให้ไว้

    การเข้าสู่อัปปนาสมาธิได้นั้น ต้องประคองจิตให้ระลึกรู้อยู่ที่องค์ภาวนาให้สำเร็จ

    ข้อนี้ต้องฝึกฝนอบรมจิตอย่างจริงจังแบบต่อเนื่องเนืองๆอยู่ จึงจะเห็นผลได้

    เป็นแปลกแต่จริงที่ว่า เมื่อประคองจิตสำเร็จ จะรู้เห็นตามความเป็นจริง

    ให้เพียรประคองจนจิตทิ้งวิตก วิจารณาไปเอง บังคับไม่ได้

    เมื่อจิตเป็นอิสระ มีปิติ สุข ปล่อยวางกายสังขารลงได้เอง

    ก็จะปรากฏเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น(อัปปนา)

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ดีครับ อย่าประมาทในธรรมทั้งหลาย จะได้ไม่เป็นกรรม

    เมื่อได้ยิน ได้ฟังมา ควรตรวจสอบ สอบสวน เทียบเคียงดูเพื่อไม่ประมาท

    อย่างของท่านพระพุทธโฆษาจารย์

    “นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน, ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญาจ นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก” แปลว่า
    “ฌานย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีปัญญา ปัญญาย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีฌาน ผู้ที่มีทั้งฌานและปัญญา จึงจะอยู่ใกล้นิพพาน”

    ผมเองก็อาศัยการ ตรวจสอบ สอบสวน เทียบเคียงเอาเช่นกันครับ

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ธรรมภูตควรแสดงธรรมไปตามความสามารถเถิด อย่าแสดงธรรมที่ไปรบกวนมติของอาจารย์เลย อย่าใช้วาทะเหยียดหยามผู้ให้ตนเองดูดีเลย เคยเข้าไปในสำนักดูจิตแบบธรรมภูตก็เห็นพูดแบบจะไปลบล้างคนอื่นเขา นั่นไม่ใช่วิสัยที่ควรกระทำแต่อาจจะเป็นเพราะสันดาลเป็นมาแบบนั้น คงแก้ยากจริง ถามจริงเถอะที่รู้ไปหมดว่ามติของอาจารย์ภายหลังหรืออาจารย์ภายหน้านั้นเอาอะไรมาตรวจสอบตัดสิน ในเมื่อตำราสักเล่มก็ไม่มี พระไตรปิฎกก็ไม่เคยจับ เห็นตำราจะเป็นจะตายให้ได้ ไม่รู้ไปค้ำคอค้ำกระเดือกอะไร เมื่อไม่เคยศึกษาธรรมะก็อย่าใช้วาทะใส่ร้ายผู้อื่นให้ตัวดูดี มันเป็นคนขาดสำนักรับรองผล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 พฤษภาคม 2015
  15. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ขอบคุณครับ
     
  16. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    สรุป ฌาน-สมาธิ
    โดย พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
    แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
    วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๒
    คัดจากหนังสือ มณฑปอนุสรณ์แห่งวัดหินหมากเป้ง


    คัดลอกจากจาก เวบ ธรรมเทศนาแนวปฏิบัติ ของหลวงปู่เทสก์
    http://www.geocities.com/luangpu_tha...a/lesson11.HTM


    “จงละอารมณ์ที่ยังมาไม่ถึงนั้นเสีย เพราะสิ่งที่ยังมาไม่ถึงก็เป็นอนาคต อารมณ์ที่ล่วงไปแล้วก็เป็นอดีตไป
    อารมณ์ที่เกิดอยู่ในเดี๋ยวนี้ก็ไม่ควรยึดถือเอา ดังนี้”


    เรื่องกัมมัฏฐาน ๔๐ นั้น ในตำราท่านไม่ได้แยกออกว่า อันนั้นเป็นอารมณ์ของฌาน อันนั้นเป็น อารมณ์ของสมาธิ หรือท่านแยกไว้แต่ข้าพเจ้าไม่เห็นตำราก็เป็นได้ ฉะนั้น เทศนากัณฑ์นี้จะรวม กัมมัฏฐาน ๔๐ นั้นไว้เสียก่อนว่า กัมมัฏฐานใดควรเป็นอารมณ์ของฌาน และกัมมัฏฐานใดควรเป็น อารมณ์ของสมาธิ ต่อไปถ้ามีโอกาสจะเทศน์เรื่อง อัปปมัญญา ๔ อาหาเรปฏิกูล ๑ ธาตุววตฺถาน ๑ ให้ฟัง กัมมัฏฐาน ๔๐ นั้น พวกที่เป็นอารมณ์ของฌาน ได้แก่ กสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ อรูปฌาน ๔ รวมเป็น ๒๔

    ส่วนพวกที่เป็นอารมณ์ของ สมาธิ ได้แก่ อนุสสติ ๑๐ อัปปมัญญา ๔ อาหาเรปฏิกูล ๑ ธาตุววตฺถาน ๑ รวมเป็น ๑๖
    อนุสสติ ๑๐ ได้แสดงแล้ว ยังเหลือแต่ อัปปมัญญา ๔ อาหาเรปฏิกูล ๑ ธาตุววตฺถาน ๑ นี่แล เรื่องบัญญัติจำเป็นจะต้องจดจำหน่อย ความจำเรียกว่า สัญญา ถ้ามีสัญญาอยู่สมาธิก็จะไม่รวมลงได้ ถ้าสมาธิรวมได้แล้ว กัมมัฏฐาน ๔๐ เป็นอันว่าทำถูกต้องแล้ว ถึงอย่างไรบัญญัติก็ต้องเป็นบัญญัติ อยู่ดี ๆ นี่แหละ
    ทีนี้จะอธิบายถึงเรื่อง ฌาน ก่อน ฌาน แปลว่า เพ่ง เพ่งอารมณ์กัมมัฏฐานนั้น ๆ ให้เป็นไป ตามปรารถนาที่ตนประสงค์ไว้แล้ว เช่น เพ่งกสิณ หรือ เพ่งอสุภ เป็นต้น ให้เป็นไปตามประสงค์ของตน เช่น อยากจะให้เป็นไฟ แล้วก็เพ่งว่า ไฟ ๆ จนกว่าจิตนั้นจะรวมลงสู่ไฟ เกิดความร้อนขึ้นมา เป็นต้น หรือเพ่งคนให้เป็นอสุภ จนจิตรวมลงในคนนั้น แล้วเกิดอสุภขึ้นมาในบุคคลนั้นจริง ๆ ดังนี้ เป็นต้น รวมความว่า จิต กับ สังขาร ไปปรุงแต่งหลอกลวงตนเอง แล้วตนเองก็เข้าใจว่าเป็นอย่างนั้น จริง ๆ เกิดความสลดสังเวชถึงกับร้องไห้ร้องห่ม ทั้ง ๆ ที่ตัวของเราก็ยังดี ๆ อยู่ไม่เป็นอสุภเปื่อยเน่า อะไรเลย เพราะจิตรวมแล้วมัน ส่งใน คุมจิตของตัวเองไม่ได้ จึงร้องไห้ร้องห่มและเห็นเป็นอย่างนั้น จริง ๆ ก็ดีเหมือนกัน ถ้าไม่เห็นอสุภด้วยใจของตนแล้ว ก็จะประมาทมัวเมาอยู่ว่า ตัวของเรานี้สวยสด งดงาม จะไม่แก่ไม่เฒ่าไม่ตายฌาน มีองค์ห้า คือ วิตก จิตไปกำหนดเอาอารมณ์ของกัมมัฏฐานนั้น ๆ มาเป็นอารมณ์ ๑ วิจารณ์ จิตนึกคิดตรึกตรองว่า ทำอย่างไรจิตเราจะละอารมณ์นั้น ๆ แล้วรวมเข้ามาเป็นฌานได้ ๑ เมื่อจิตละอารมณ์นั้น ๆ แล้ว ก็เข้าสู่ภวังค์ เกิด ปีติ ซาบซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย หรือเบากายเบาใจ ๑ แล้วเกิดความ สุข สงบอย่างยิ่ง ๑ จิตก็เป็นอารมณ์อันเดียวเรียกว่า เอกัคคตารมณ์ ๑ อันนี้เรียกว่าได้ ปฐมฌานด้วยความคล่องตัวของการกระทำเช่นนั้นจึงไม่ต้องมีวิตก มีแต่ วิจารณ์ สุข เอกัคคตา เรียกว่า ทุติยฌานด้วยความคล่องตัวยิ่งขึ้น ตติยฌาน จึงไม่ต้องมีวิจารณ์ มีแต่ สุข กับ เอกัคคตา เท่านั้นจตุตฺถฌาน จิตมันแน่วแน่ใน เอกัคคตา จนสุขก็ไม่ปรากฏ จะปรากฏแต่ เอกัคคตา กับ อุเบกขา วางเฉยเท่านั้นฌาน เป็นเพียงแต่ข่มนิวรณ์ห้าได้ชั่วคราวเท่านั้น เพราะฌานไม่ได้ใช้ปัญญา ใช้แต่จิตสงบ อย่างเดียว จึงเป็นแต่ข่มนิวรณ์ห้าได้นิวรณ์ห้า คือ
    กามฉันทะ ความรักใคร่พอใจในกามคุณห้า มี รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ เมื่อจิตสงบแล้วไม่ต้องเกี่ยวข้องกันกับสิ่งเหล่านี้ ๑พยาบาท จิตคิดปองร้ายอยากให้ได้ตามความปรารถนาของตน ไม่ว่ากามนั้นจะอยู่ ในสภาพเช่นไร และอาการอย่างไร โดยอีกฝ่ายหนึ่งไม่ทราบเลย เปรียบเหมือนคนคิดจะทำลายคนอื่น โดยเขาไม่ทันรู้ตัวเลย ฉะนั้น ๑ถีนะมิทธะ จิตเมื่อคิดฉะนั้นแล้วก็หมกมุ่นอยู่แต่ในอารมณ์นั้น และไม่กล้าบอกแก่ ใคร จนกระทั่งซึมเซ่อและมึนงงไปหมด ๑อุทธัจจะกุกกุจจะ จิตที่ฟุ้งซ่านส่งไปในอารมณ์ของกามนั้น ไม่มีที่สิ้นสุดลงได้ ๑วิจิกิจฉา จิตที่ลังเล ไม่แน่ใจว่ากามนั้นจะสำเร็จลงได้เมื่อใดหนอ ๑
    ทั้ง ๕ นี้ เมื่อจิตสงบเข้าถึงฌานแล้วก็จะไม่ปรากฏ เมื่อออกจากฌานก็จะปรากฏอีกตามเดิมจิตของฌานมี ๓ ภูมิ หยาบและละเอียดโดยลำดับกัน คือ

    ๑. ภวังคุบาท
    ๒. ภวังคจารณะ
    ๓. ภวังคุปัจเฉทะ
    ภวังคุบาท จิตจะรวมเป็นครั้งคราว รวมแล้วถอนออกมาจะตั้งหลักไม่ได้ หรือไม่รู้ว่าจิตของ เรารวม มีได้ทั่วไปแก่คนทั้งหลาย เช่น เมื่อเห็นคนหรือสัตว์ตกทุกข์ได้ยาก เป็นต้นว่า ถูกเขาฆ่าหรือ ทรมานด้วยประการต่าง ๆ จิตจะสลดสังเวชแล้วรวมลงขณะหนึ่ง ถ้าไม่รวมก็จะไม่ สลดสังเวช เรียกว่า ภวังคุบาทภวังคจารณะ เมื่อผู้ฝึกหัดจิตแล้วจึงจะเกิด เมื่อเกิดมีอาการให้พิจารณาอารมณ์ภายใน หรือที่ เรียกว่า ส่งใน เช่น เห็นสีแสงต่าง ๆ นานา แล้วจิตจะจดจ้องมองแต่สิ่งนั้น หรืออารมณ์อื่น ๆ ก็ เหมือนกัน เป็นต้นว่า รูปพระปฏิมากร หรือพระสงฆ์สาวกทั้งหลาย ตลอดถึง เทวดา อินทร์ พรหม เป็นต้น แม้จะพิจารณาในธรรมนั้น ๆ ก็เรียกว่า ภวังคจารณะ ทั้งสิ้นภวังคุปัจเฉทะ นั้นตัดขาดเสียซึ่งอารมณ์ทั้งปวงไม่มีเหลือแม้แต่ ผู้รู้ (คือใจเดิม) ก็ไม่ปรากฏ บางท่านที่สติอ่อนย่อมนอนหลับไปเลยก็มี
    ภวังคุบาท ได้แก่ผู้ได้ ปฐมฌานภวังคจารณะ ได้แก่ผู้ได้ ทุติยฌาน และ ตติยฌานภวังคุปัจเฉทะ ได้แก่ผู้ได้ จตุตฺถฌาน
    ฌาน แปลว่า เพ่ง คือ เพ่งอารมณ์กัมมัฏฐานที่ตนต้องการอยากจะให้เป็นไปตามปรารถนา ของตน ดังอธิบายแล้วเบื้องต้น นี้เรียกว่า กสิณ ไม่ต้องพิจารณาให้เห็นตามเป็นจริงก้ได้สมาธิ คือ ทำจิตให้สงบแน่วแน่เป็นอารมณ์อันเดียวเหมือนกับฌาน แต่มีการพิจารณาให้เห็น ตามเป็นจริง มันเป็นจริงอย่างไรก็ให้เห็นตามเป็นจริงอย่างนั้น ไม่ต้องให้เกิดปฏิภาค (คือแปรสภาพ จากของเดิม) เช่น นึกคำบริกรรมว่า พุทโธ ๆ เป็นต้น เพื่อให้จิตรวมเข้ามาอยู่ในที่เดียว แล้วพิจารณา พุทโธนั้นให้เห็นว่ามีคุณวิเศษอย่างไร และใครเป็นผู้ว่าพุทโธนั้น และอยู่ ณ ที่ไหน ให้เห็นชัดลงไปตามเป็นจริง เมื่อเห็นชัดลงไปแล้วจะเกิดความอิ่มเอิบในใจ เพลินอยู่กับความรู้ของตนนั้น ใจจะไม่ส่งออกไปภายนอก และใจจะนิ่งแน่วเป็นอารมณ์อันเดียว สมาธินี้จิตจะไม่ปรุงแต่งให้เป็นอสุภเหมือนกับฌานหรือกสิณ แต่เห็นตามเป็นจริงในสิ่งนั้น ๆ จิตรวมลงได้เหมือนกัน แต่ไม่ ส่งใน คงที่อยู่ที่ใจแห่งเดียวสมาธิ ท่านไม่แสดงไว้ว่า ผู้ได้ ขณิกะ อุปจาระ และ อัปปนาสมาธิ ได้ขั้นนั้นขั้นนี้ จึงจะได้ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และ พระอรหันต์ เห็นแต่แสดงไว้ว่า องค์ของพระโสดาบันมี ๖ ดังนี้คือ

    ถึงพระพุทธเจ้า ๑
    ถึงพระธรรม ๑
    ถึงพระสงฆ์ ๑
    ไม่ถือมงคลตื่นข่าว (คือถือโชคชะตาและเครื่องรางของขลัง เป็นต้น) เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรมว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ด้วยตนเอง ๑
    ไม่ถือลัทธินอกจากพุทธศาสนา ๑
    มีศีลห้าเป็นนิจศีล ๑
    ผู้ประกอบด้วยคุณลักษณะครบ ๖ อย่างนั้นนับว่าเป็นพระโสดาบันบุคคล ส่วนสมาธิไม่ได้ กล่าวถึง แต่ สมาธิ เป็นการเดินมรรค ฌาน มิใช่เดินมรรค ถึงจะได้ฌานขั้นสูงสุด คือ นิโรธสมาบัติ ท่านก็เรียกว่า ฌานโลกิย อยู่นั่นเองพระโสดาบัน แปลว่า ผู้ตกกระแสพระนิพพานแล้ว แต่ยังไม่ทันถึงพระนิพพาน เหมือนกับคน เดินทางไปสู่พระนครอันสุขเกษมถึงต้นทางแล้ว แต่ยังไม่ทันถึงพระนครฉะนั้น และเมื่อถึงพระ โสดาบันแล้ว กิเลสทั้ง ๓ กองนี้จะต้องละได้ด้วยตนเอง คือ
    สักกายทิฏฐิ ถือว่าอันนี้เป็นของตัวเที่ยงแท้แน่นอนถือรั้นจนเกิดทิฐิ ๑วิจิกิจฉา ลังเลสงสัยในคุณพระรัตนตรัย ไม่แน่นอนว่าเป็นที่พึ่งอันแท้จริง ๑สีลัพพตปรามาส ลูบคลำในสิ่งที่ไร้สาระประโยชน์เชื่อสิ่งอื่นโดยไม่ตรึกตรองให้ถี่ถ้วน ๑
    กิเลสทั้ง ๓ กองนี้ ผู้ทำสมาธิให้มั่นคงแล้ว ย่อมเกิดปัญญาเห็นชัดในพระไตรลักษณญาณ เห็นแจ้งด้วยปัญญาว่า สิ่งทั้งสามนั้นเป็นของไร้สาระประโยชน์ไม่มีแก่นสาร แล้วละได้ท่านไม่ได้กล่าวถึงว่าสมาธิมีเท่านั้นเท่านี้ เพราะมิใช่การเพ่งอย่างฌาน จะจับเอาอะไรมา พิจารณาก็ได้ แม้ที่สุดนำอารมณ์ของฌานมาพิจารณาก็ได้ ขอแต่ให้พิจารณาเป็น พระไตรลักษณญาณ ก็แล้วกัน จิตจะรวมลงถึงสมาธิได้เหมือนกัน
    จิตของผู้ที่ได้สมาธิแล้วมี ๓ ภูมิ หยาบและละเอียดโดยลำดับ แต่ท่านไม่ได้เรียกว่า ภวังค์ เหมือนกับฌาน ท่านเรียกว่า สมาธิ เพราะพิจารณาเห็นตามเป็นจริงในอารมณ์ที่ตนพิจารณาแล้วนั้น คือ
    ๑. ขณิกสมาธิ เมื่อนักปฏิบัติกำหนดเอาอารมณ์ของสมาธิอันใดอันหนึ่งมาเป็นอารมณ์ กัมมัฏฐาน เป็นต้นว่า พุทโธ ๆ อยู่นั้น จิตส่วนหนึ่งจะแวบเข้าไปเห็น ผู้รู้ ที่ว่า พุทโธ ๆ นั้นชัดเจน เหมือนกับมีผู้มาบอกให้ฉะนั้น พร้อมกับจิตรวมเป็นสมาธิขณะหนึ่ง แล้วก็หายไป แต่จิตไม่ได้ลืมสติ รู้ตัวอยู่ดี ๆ นี่เอง เรียกว่า ขณิกสมาธิ ขณิกสมาธินี้นักปฏิบัติทั้งหลายเป็นไม่เหมือนกัน แต่ขอให้ สังเกตไว้ว่า ขณะที่จิตรวมมีสติรู้ตัวอยู่เรียกว่า สมาธิ ถ้าลืมตัวส่งไปตามอารมณ์ที่เกิดขึ้นเรียกว่า ฌาน
    ๒. อุปจารสมาธิ นักปฏิบัติมากำหนดเอาอารมณ์ของขณิกสมาธิเช่นนั้นเหมือนกัน หรือ อารมณ์อันใดที่ตนชำนิชำนาญแล้วติดอยู่ในใจของตนก็ได้ พิจารณาอยู่เฉพาะอารมณ์อันเดียว ไม่ส่ง ไปจากอารมณ์อันนั้นตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน แต่ไม่รวมลงเป็น อัปปนา เรียกว่า อุปจารสมาธิก่อนจะเข้าถึง อัปนาสมาธิ หรือเมื่อถึงอัปนาแล้ว จิตถอนออกมาอยู่ใน อุปจาระ ก็มีอาการ เช่นเดียวกัน แต่นุ่มนวลและละเอียดกว่า ตอนนี้จะทำให้เกิดปัญญาและความรู้ต่าง ๆ ที่เรียกว่า อภิญญา มีหูทิพย์ ตาทิพย์ เป็นต้น เช่น พระโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงมาจากภูเขาคิชกูฏ เห็นเปรตตัว หนึ่งมีร่างกายยาว ๓๐๐ เส้น มีปากเล็กเท่ารูเข็ม แล้วท่านหัวเราะในลำคอฮึ ๆ ลูกศิษย์ผู้ติดตามเห็น ดังนั้น เข้าใจว่าท่านเห็นนางเทพธิดา จึงถามท่าน ท่านก็ไม่บอก พอมาถึงสำนักพระพุทธเจ้า ลูกศิษย์ก็กราบทูลเหตุนั้นถวายพระองค์ให้ทรงทราบ พระองค์จึงตรัสถามพระโมคคัลลานะ พระ โมคคัลลานะก็กราบทูลพระองค์ดังกล่าวข้างต้น พระองค์ตรัสว่า “จริงอย่างโมคคัลลานะว่า เราได้เห็น แล้วแต่แรกได้ตรัสรู้ใหม่ ๆ แต่ไม่มีใครเป็นพยาน นี่โมคคัลลานะเป็นพยานของเรา”
    แต่ถ้าควบคุมจิตไว้ไม่ได้จะเตลิดเปิดเปิงไปใหญ่ นักปฏิบัติทั้งหลายจะเสียก็ตรงนี้เอง ถ้าควบ คุมจิตของตนไว้ไม่ได้
    เมื่อเกิดความรู้และปัญญาต่าง ๆ แล้วรวมเข้ามาเป็นอัปปนาสมาธิ เพราะพิจารณาเห็นว่า ความรู้และปัญญาเหล่านั้นก็เป็น อนิจฺจํ ไม่เที่ยง รู้แล้วก็หายไป ทุกฺขํ เป็นทุกข์ เพราะทนอยู่ไม่ได้ ประเดี๋ยวก็รู้ ประเดี๋ยวก็ไม่รู้ ถึงรู้และไม่รู้ สิ่งที่เราไปรู้ไปเห็นนั้น มันหากเป็นอยู่อย่างนั้นแต่ไหน แต่ไรมา รู้และไม่รู้มันก็ไม่ว่าอะไรกับใคร อนตฺตา ไม่ใช่เป็นของ ๆ เรา มันเป็นจริงอย่างไร มันก็เป็นจริงของมันอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมะทั้งหมด ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว บาปหรือบุญ ธรรมะเป็นผู้แต่ง มาทั้งนั้นเมื่อจิตรวมเข้ามาเป็น อัปปนาสมาธิ อยู่พักหนึ่ง แล้วก็จะถอนออกไปเป็น อุปจาระ ออก ๆ เข้า ๆ อยู่อย่างนี้ จิตของท่านผู้นั้นจะมีพลังแก่กล้า เดินก้าวหน้าได้อย่างดีที่สุด
    ๓. อัปปนาสมาธิ จิตจะรวมเข้าอย่างสนิท จนถอนอารมณ์ภายนอกออกหมด ไปอยู่อันหนึ่ง ของมันต่างหาก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งเป็นสมมุติบัญญัติจะไม่มี ณ ที่นั้นเลย ยังเหลือ แต่ผู้รู้อันเดียว บางทีมีคนมาเรียกได้ยินเสียง (เพราะประสาทหรือเซลล์ยังมีอยู่) แต่ไม่รู้ว่าเป็นเสียง อะไร เมื่อออกจาก อัปปนาสมาธิ แล้ว ในขณะนั้นมองดูคนและสิ่งต่าง ๆ จะเห็นเป็นสักแต่ว่าเท่านั้น ไม่มีสมมุติบัญญัติว่าคนหรือสิ่งนั้นสิ่งนี้ อาการเช่นนี้จะเป็นอยู่สักห้านาที สิบนาที แล้วจึงจะค่อย จางลง ๆ จนเป็นปกติสมมุติบัญญัติตามเคยฌาน และ สมาธิ เป็นอันเดียวกันและต่างกัน ฌาน ได้แก่การเพ่งในอารมณ์นั้น ๆ ให้เป็นไป ตามปรารถนาของตน เมื่อสังขารปรุงแต่งอยู่นั้น จิตก็จะรวมลงในอารมณ์ที่ปรุงแต่งนั้น แล้วก็เป็นไป ตามปรารถนาของตน ดังอธิบายมาแล้ว เรียกว่า ฌาน
    สมาธิ ได้แก่การพิจารณาให้เห็นเหตุผลของมันตามความเป็นจริงจนจิตหยุดนิ่งอยู่ไม่คิด ไม่นึกต่อไป ยังเหลือแต่ ผู้รู้ เรียกว่า สมาธิ
    ฌาน และ สมาธิ นี้จิตรวมเหมือนกัน ถ้าจิตไม่รวมก็ไม่เรียกว่า สมาธิ และ ฌาน มีแปลก ต่างกันที่ ฌาน นั้น เมื่อจิตรวมเข้าแล้วจะลืมสติ เพ่งพิจารณาแต่อารมณ์อันเดียว หรือมีสติอยู่ แต่ไป เพลินหลงอยู่กับภาพนิมิตและความสุขอันนั้นเสีย ไม่พิจารณาพระไตรลักษณญาณต่อไป หรือที่เรียก ว่าความเห็นไปหน้าเดียว นี่เรียกว่า ฌาน ส่วน สมาธิ นั้น เมื่อจิตรวมหรือไม่รวมก็มีสติรักษาจิตอยู่ ตลอดเวลา รู้ตัวอยู่ว่าเราอยู่ในสภาพเช่นไร พิจารณาอะไร หยาบหรือละเอียดแค่ไหน เรียกว่า สมาธิ
    บางทีเมื่อจิตถอนออกมาจากฌานแล้ว มาพิจารณาองค์ฌานนั้น หรือพิจารณาอารมณ์อันใด ก็ตาม จนจิตแน่วแน่อยู่เฉพาะอารมณ์อันนั้น หรือเพ่งอารมณ์ของฌานอยู่ แต่กลับไปพิจารณา พระไตรลักษณญาณ เสีย จิตไม่รวมลงเป็น ภวังค์ เรียกว่า ฌานกลับมาเป็นสมาธิ
    เมื่อพิจารณาอารมณ์ของสมาธิอยู่ หรือออกจากสมาธิแล้วก็ตาม จิตไปยินดีน้อมเข้าไปสู่ ความสงบสุข เลยไม่พิจารณาอารมณ์ของสมาธินั้น จิตรวมเข้าไปเป็น ภวังค์ เรียกว่า สมาธิกลับมา เป็นฌาน
    ฌานและสมาธินี้กลับเปลี่ยนกันไปกันมาอยู่อย่างนี้ เป็นธรรมดาของผู้ปฏิบัติ ไม่เป็นการเสีย หายอะไร ขอแต่ให้รู้เรื่องของมันว่า อันนี้เป็น ฌาน อันนี้เป็น สมาธิ อย่าไปติดในอารมณ์นั้น ๆ ก็แล้วกัน ทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่ว แล้วจะอยู่ในอารมณ์อันใดก็ได้ พระบรมศาสดาเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ หรือพระสาวกทั้งหลายเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ต้องเพ่งพิจารณา ฌาน นี้เป็น วิหารธรรม เครื่องอยู่ของท่าน ธรรมดาจิตจำเป็นจะต้องมีความคิดความนึกอยู่เสมอ ท่านเห็นโทษในอารมณ์นั้น ๆ ว่าเป็นไปเพื่อ วัฏฏะ เพราะฉะนั้นท่านจึงน้อมเอาจิตมาพิจารณาให้เป็น ฌาน เสีย เพื่อเป็นเครื่องอยู่ใน ทิฏฐธรรม ของท่านฌาน และ สมาธิ นี้ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน พระองค์จึงตรัสว่า ผู้ไม่มีฌานก็ไม่มีสมาธิ ผู้ไม่มี สมาธิก็ไม่มีฌาน ดังนี้ เอวํ ฯ.นั่งสมาธิ

    ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน

    อธิบายเรื่อง สัญญา มามากแล้ว คราวนี้นั่งสมาธิเพื่อลบสัญญากันเถิด ความจริงนั้นสัญญามี ประโยชน์มากถ้าใช้เป็น ถ้าใช้ไม่เป็นก็ยุ่งมากเหมือนกัน ความจดจำของเก่าหรือเรื่องเก่าไว้ได้นาน เรียกว่า สัญญา เช่น จดจำอารมณ์แต่ก่อนเก่าที่ตนได้ทำไว้นานแล้ว ไม่ว่าดีหรือชั่ว เอามาเป็นอารมณ์ ถ้าอารมณ์นั้นเป็นของดี ก็เอามาปรุงแต่งให้เป็นของดียิ่งขึ้น แล้วก็เพลิดเพลินติดอยู่ในอารมณ์นั้น ถ้า อารมณ์นั้นเป็นของชั่ว ก็ทำใจให้เศร้าหมองเดือดร้อน พระพุทธองค์จึงตรัสว่าจงละอารมณ์ที่ยังไม่มาถึงนั้นเสีย เพราะสิ่งที่ยังมาไม่ถึงก็เป็นอนาคต อารมณ์ที่ล่วงไปแล้วก็ เป็นอดีตไป อารมณ์ที่เกิดอยู่ในเดี๋ยวนี้ก็ไม่ควรยึดถือเอา ดังนี้
    สัญญาเป็นของละเอียดมาก บางทีเราอยู่ดี ๆ ก็โผล่ขึ้นมาเฉย ๆ ทั้งที่เป็นของดีและไม่ดี ถ้าใช้ เป็นก็เป็นของดี เราจดจำเอามาเทียบเคียงกับความประพฤติของตนในเดี๋ยวนี้ เราควรทำในสิ่งที่ดี หรือจะสอนคนอื่นก็ได้ให้ทำแต่สิ่งที่ดี เพราะความชั่วเราได้ทำมาแล้ว ได้รับความเดือดร้อนอย่างนั้น ๆ พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายท่านก็ได้ตรัสรู้มาแล้ว เพราะสัญญานี้เอง รู้ว่าตัวของพระองค์เองและสัตว์ ทั้งหลายในโลกนี้ ได้เคยทำกรรมดีและกรรมชั่วมาแล้วอย่างนั้น ๆ ตายไปแล้วได้เสวยกรรมอย่างนั้น ๆ ในอดีตล่วงมาแล้วนานแสนนาน เรียกว่า อดีตญาณ
    สัตว์มนุษย์ทั้งหลายที่จะเกิดมาในโลกนี้ จะต้องทำกรรมดีและกรรมชั่วด้วยกันทั้งนั้น เมื่อ ตายไปแล้วจะต้องได้รับผลกรรมที่ตนกระทำนั้นทั้งดีและชั่ว ถ้าดีก็ได้ไปเกิดในสุคติภพ ถ้าชั่วก็จะได้ ไปเกิดในทุคติภพอย่างนั้น ๆ เรียกว่า อนาคตญาณ
    พระองค์ทรงเห็นเช่นนั้นแล้ว จึงทรงกลัวภพกลัวชาตินี้หนักหนา แล้วจึงทรงละสัญญาทั้ง อดีตและอนาคต พร้อมด้วยสัญญาในปัจจุบันเสียได้ เรียกว่า อาสวกฺขยญาณ
    พวกเราทั้งหลายจะให้ได้ ญาณ ๓ อย่างพระพุทธเจ้า แล้วจึงจะละไม่ได้หรอก ญาณของพวก เราก็เห็นแล้วมิใช่หรือ สัญญาความจดจำว่า นั้นลูกกูหลานกู ภรรยาสามีของกู ทรัพย์สินเงินทอง ข้าวของทั้งปวงเป็นของกู แล้วก็ปรุงแต่งให้เป็นไปตามความปรารถนาของตน นี้เป็นญาณปุถุชนของ พวกเราทั้งหลาย ซึ่งเห็นอยู่เฉพาะหน้าจงพากันมาทำความสงบเพื่อลบล้างสัญญาเหล่านั้นเสีย อย่าให้ติดอยู่ในใจของตน ถึงแม้จะ ไม่ได้นาน ในชั่วขณะที่เราภาวนาอยู่นี้ก็เอา เมื่อถึงความสงบสุขแล้ว มันจะชอบใจ ภายหลังมันจะทำ เองของมันหรอก ไม่ต้องไปบังคับให้มันทำก็ได้.
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ลุง สงสัยลุงคงละเมอเพ้อพกอยู่มั๊ง
    มติที่แสดงทุกครั้ง มักมีพระพุทธพจน์เป็นหลัก เป็นบทนำเสมอ
    แล้วนำไมจะรู้ไม่ได้ละ เมื่อพระสูตรชั้นต้นๆรจนาไว้อย่างชัดเจนแล้ว
    แต่มีใครก็ไม่รู้ ที่ได้ชื่อว่าอรรถกถาจารย์ มีหลายหมู่ มีหลายคณะ
    ที่พยายามรจนาเพิ่มเติ่มเสริมแต่งกันเข้าไป
    มีทั้งสอดคล้องกัน ขัดแย้งกันเอง ไม่ลงกันถึงกับทะเลาะกันก็มี
    ล้วนคิดขึ้นเอง จากความรู้สึกนึกคิดที่เรียนรู้มาโดยขาดการพิสูจน์ก็มี

    การที่ธรรมภูตวิพากษ์วิจาณณ์ตามความเป็นจริงนั้น
    ต้องถือว่าเอาเหตุผลที่เป็นไปตามความเป็นจริง เป็นหลักในการเปรียบเทียบ

    แต่การเหยียดหยามตามที่ลุงใส่ความเอาไว้นั้น
    มักเป็นสันดานของพวกคนพาลสันดานหยาบที่พยายามยกตนเอง

    ส่วนการลบล้างคำสอนที่ไม่มีเหตุผลให้ตริตรองตามความเป็นจริงได้นั้น
    ต้องถือว่าเป็นสันดานโดยแท้ของธรรมภูต
    เพราะมีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่ธำรงคำสอนที่ถูกต้องถ่องแท้ไว้
    และพยายามที่จะคัดเอาของแปลกปลอมออกไป
    ให้เหลือน้อยลงเท่าที่จะทำได้

    ในเมื่อธรรมอันเป็นของแท้ยังมีหลงเหลืออยู่ให้สืบค้นได้
    แล้วจะไปใส่ใจกับธรรมะที่มีเพียงวาทะกรรมให้รู้สึกดูดี
    แค่เอาไว้เรียนกัน รู้เอาไว้อวด เอาโชว์กันเท่านั้น

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ู^
    ^
    น้องครับ

    ลองพิจารณาแบบช้าๆ และเทียบเคียงกับผลที่ผ่านๆมาดูสิครับ

    อรูปฌานนั้น มาสุดที่ เนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน

    มันก็บอกในตัวมันเองแล้วนะครับ

    จะว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ จะว่าไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

    แสดงว่ายังติดในขันธ์อย่างละเอียดอยู่ใช่หรือไม่?

    เมื่อเทียบดูกับสัมมาสมาธิฌานที่๔ดู แล้วจะเห็นชัดเจนว่า

    ในฌานที่๔นั้น จิตเป็นอิสระจากขันธ์๕

    โดยเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในขณะนั้น(ขณะแห่งจิต)

    เจริญในธรรมทุกๆท่านครับ
     
  19. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +1,210
    โดยนัยแล้วอัปปนาสมาธิตอนที่จิตรวมลงยังไงก็ยังมีสติและสัมปชัญญะครับ
    ถ้าเราชำนาญในอัปปนาสมาธิแล้วมันจะไต่ฌาณขึ้นไปปเองโดยอัตโนมัติ
    ตามที่ลุงธรรมภูติก็ถูกตามหลักปริยัติครับ
    แต่ถ้าเราชำนาญแล้วฌาณจะเลื่อนลำดับไปเองจริงๆครับ
     
  20. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +1,210
    จนกว่าจะจบกิจครับฌาณทั้งหมดจึงจะรวมลงเป็นสัญญาเวทยิตนิโรธ
     

แชร์หน้านี้

Loading...