เหตุที่บรรลุธรรม -หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เสขะ บุคคล, 21 เมษายน 2015.

  1. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    [​IMG]



    เหตุที่บรรลุธรรม


    ท่านผู้อ่านทั้งหลายคงเคยได้ทราบเรื่องของพระสาวกบางรูปมาแล้วว่า ท่านได้บรรลุพระอรหัตตผลในขณะที่ท่านนั่งฟังพระธรรมเทศนาเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธองค์นั่นเอง แล้วท่านเคยคิดบ้างไหมว่าทำไมท่านจึงสำเร็จง่ายดายนัก ท่านไม่ได้เจริญ ฌาน-สมาธิ-วิปัสสนา และมรรค ๘ บ้างหรือ


    หากท่านตั้งใจคิดและพิจารณาด้วยใจอันเป็นธรรมแล้ว คงจะเห็นชัดด้วยใจของตนเองว่า ท่านเหล่านั้นในขณะนั้นท่านไม่ได้เจริญฌาน หรือหากบางท่านจะเคยได้เจริญฌานมาก่อนแล้วก็ตาม แต่ในขณะที่ท่านนั่งฟังพระธรรมเทศนาอยู่นั้น ท่านไม่ได้เจริญฌาน ท่านเจริญสัมมาทิฏฐิ อันมีสัมมาสมาธิเป็นรากฐาน คือดำเนินตามองค์มรรค ๘ ทีเดียว มีวิปัสสนาคือ พระไตรลักษณญาณเป็นผู้อุดหนุน


    หากจะมีความสงสัยว่าสมาธิในขณะนั้นจะมีได้อย่างไร ขอเฉลยไว้ ณ โอกาสนี้เลยว่า สมาธิ ไม่ต้องดับรูป-เสียง-กลิ่น-รส-สัมผัส เหมือนฌาน แต่สมาธิจะยึดเอาอารมณ์ทั้ง ๖ นั่นแหละมาเป็นเครื่องพิจารณาจนเห็นอารมณ์ทั้ง ๖ นั้นชัดตามเป็นจริงว่า อายตนะ ๖ มีตาเป็นต้น เป็นบ่อเกิดของอารมณ์ ๖ มีรูปเป็นต้น กิเลสจะเกิดขึ้นที่อายตนะ ๖ นี้เพราะความไม่รู้ตามเป็นจริง แล้วเข้าไปยึดอารมณ์ ๖ นั้นมาไว้เป็นของตัวจึงเดือดร้อนเป็นทุกข์


    ความจริงแล้ว อายตนะ ๖ ก็มีไว้สำหรับรับรู้ทำหน้าที่ของตนๆเป็นธรรมดาอยู่แล้ว อายตนะมิได้มาไหว้วอนหรือร้องขอให้ใครๆ มาหลงรักหลงชอบหรือเกลียดชังอะไร แต่ใจของเราต่างหาก แส่ไปยึดไปถือเอาอารมณ์นั้นมาเป็นตน เป็นของตน ทั้งๆที่อารมณ์เหล่านั้นก็หาได้เป็นไปตามปรารถนาไม่ มันเกิดขึ้น ณ ที่ใด มันก็ดับลง ณ ที่นั้น มันเกิดๆ ดับๆ อยู่อย่างนี้ตลอดกาล


    ผู้มาพิจารณาเห็นชัดแจ้งอย่างนี้ด้วยใจด้วยปัญญาอันชอบแล้ว จิตจะไม่แส่ส่ายลังเลไปในอารมณ์นั้นๆ แล้วจะตั้งมั่นแน่แน่วอยู่ในความจริงใจว่า อายตนะทั้ง ๖ จะเป็นกิเลส และเป็นภัยก็แต่ผู้ที่ไม่เข้าใจตามเป็นจริง แล้วเข้าไปยึดถือ เอามาเป็นตนเป็นของตนเท่านั้น ผู้ที่รู้เห็นตามเป็นจริงแล้วอายตนะทั้งหลายก็จะเป็นอายตนะอยู่ตามเดิม และทำหน้าที่อยู่ตามเคย ใจก็จะไม่หลงเข้าไปยึดเอามาเป็นตนของตนเลย ที่เรียกว่าสมาธิเกิดขึ้นเพราะเอาความเห็นอันเป็นจริงในสัจจธรรมมาเป็นอารมณ์ ต่อนั้นไป หากมีผู้มาแสดงสัจจธรรมอันเนื่องมาจากอายตนะ-ขันธ์ เป็นต้น อันมีมูลฐานอันเดียวกัน ท่านผู้นั้นก็จะส่องแสงปัญญาตามรู้ตามเห็นไปตามทุกแง่ทุกมุมจนสิ้นสงสัยในธรรมนั้นๆ ที่เรียกว่าได้บรรลุธรรม



    สมมติว่า หากท่านผู้อ่านสนใจในธรรมอยู่ ได้ไปเฝ้าฟังธรรมของพระพุทธเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาฉลาดเฉียบแหลมลึกล้ำ สรรเอาแต่ถ้อยคำที่เป็นอรรถเป็นธรรมนำมาซึ่งประโยชน์ เสียงก็ไพเราะเพราะพริ้ง ตรัสคำใดออกมาก็เป็นที่น่าจับใจ พระรูปพระโฉมผิวก็ผุดผ่อง นิ่มนวลชวนให้เกิดความเลื่อมใส จรณธรรมทั้งหลายของพระองค์ไม่มีบกพร่อง ทั้งด้านน้ำพระทัยของพระองค์เล่าก็เปี่ยมไปด้วยพรหมวิหารทั้งสี่เช่นนี้แล้ว ท่านจะทำอย่างไร หากท่านไปเฝ้าพระพุทธเจ้าดังนั้นเข้าแล้วท่านจะนั่งภาวนากรรมฐาน เจริญฌานกสิณ ดับอารมณ์ภายนอก มีรูปเป็นต้น เสวยความสุขยึดเอาเอกัคคตารมณ์ชมไม่รู้อิ่มไม่รู้เบื่อ จนเกิดวิปัสสนาญาณ ๙ แล้วจึงจะเข้าถึงมรรคผลนิพพานอย่างนั้นหรือ หากท่านมัวทำเช่นนั้นอยู่ เข้าใจว่าพระพุทธเจ้าคงจะต้องเสด็จหนีก่อนเป็นแน่


    แต่ถ้าท่านไม่ดับอารมณ์เหล่านั้น แต่มายึดเอาอารมณ์เหล่านั้นขึ้นมาพิจารณาให้เห็นตามเป็นจริงดังแสดงมาแล้ว เมื่อพระพุทธเจ้าเป็นผู้มีจิตใจอันบริสุทธิ์ กลั่นกรองเอาธรรมที่เป็นของบริสุทธิ์มาแสดงให้ท่านผู้มีความเห็นอันบริสุทธิ์ คือสัมมาทิฏฐิและมีสัมมาสมาธิ เป็นผู้อุดหนุนนั่งฟังธรรมอยู่นั้น เมื่อถึงพร้อมเช่นนั้น ขอให้ท่านพิจารณาดูว่าจะมีอะไรเกิดตามมา เท่าที่แสดงมานี้ เข้าใจว่าท่านผู้อ่านทั้งหลาย พอจะเข้าใจเนื้อความที่ว่า ผู้นั่งฟังธรรมของพระพุทธเจ้าได้บรรลุมรรคผลนิพพานในขณะนั้นจะมี ฌาน-สมาธิ หรือไม่


    ขอเฉลยว่า ฌานเป็นของเล็กน้อย ฌานเป็นเครื่องอยู่เครื่องเล่นของท่านผู้ที่ได้บรรลุธรรมชั้นสูงสุดแล้ว ท่านจะเจริญให้เกิดให้มีขึ้นเมื่อไรก็ได้ไม่เป็นของยาก เหมือนคนผู้มีความฉลาดเฉียบแหลมสมบูรณ์แล้ว จะทำตนเป็นคนโง่ย่อมง่ายดาย แต่ถ้าคนโง่นี่ซิ จะทำตนให้เป็นคนฉลาดเปรื่องปราดมันยากนัก ถึงจะทำได้ก็ไม่เหมือน ขอย้ำอีกว่า ถ้าหากท่านยังเห็นว่า ฌาน สมาธิเป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว ข้อความที่แสดงมาข้างต้นนั้นก็จะไม่สามารถซึมซาบเข้าไปถึงใจของท่านได้เลย


    อนึ่ง มติของบางท่านยึดเอาตัวหนังสือเป็นหลักว่าพระอรหันต์สุขวิปัสสกไม่มีสมถะ เจริญวิปัสสนาล้วนๆ คำว่า สมถะใครๆ ก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ได้แก่ฌานหรือสมาธิ ถ้าพระสุขวิปัสสกไม่มีสมถะ มันจะไม่ขัดกันกับพระพุทธพจน์ที่ว่า ผู้เจริญสมาธิดีแล้วย่อมมีปัญญาเป็นผลเป็นอานิสงส์ใหญ่หรือ ที่ว่าผู้ที่จะถึงมรรคผลนิพพานต้องดำเนินอัฏฐังคิกมรรค มรรค ๘ ก็มีสมาธิอยู่ด้วย มรรค ๘ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เท่านั้น เป็นทางเอกอันจะนำสัตว์ให้ถึงซึ่งความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสได้


    ท่านผู้รู้ทั้งหลายทำไมไม่หยิบยกเอาคำเหล่านั้นขึ้นมาพิจารณาดูบ้าง หรือมิฉะนั้นก็ขอให้ลงมือปฏิบัติจนให้จิตเป็นสมถะ วางความยึดมั่นถือมั่นตัวหนังสือแล้วเกิดความรู้จากสมถะนั้น ภายหลังจึงเอาความรู้ทั้งสองอย่างนั้นมาเทียบเคียงกัน ท่านก็จะหายความสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างน่าอัศจรรย์


    น้ำใสแสนใสถ้าไม่นิ่งจะเห็นตัวปลาและเม็ดทรายอยู่ใต้น้ำได้อย่างไร ใจไม่สงบจะเห็นกิเลสและอารมณ์ภายในของตนได้อย่างไร


    ที่มา..http://tesray.com/three-dhamma-forces
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _3_736.jpg
      _3_736.jpg
      ขนาดไฟล์:
      102.4 KB
      เปิดดู:
      2,193
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 สิงหาคม 2015
  2. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    เข้าใจง่าย..แต่ทำไม่ได้ ทำความรู้สึกตามไม่ได้เลย พี่เสขะใ.ของน้องเอาอะไรมาลองของรึ:'(
     
  3. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ทำได้ ได้ธรรมแล้วมาสอนน้องด้วยละกันเน้อพี่เน้อ..:cool:
     
  4. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    เกินปัญญา เพราะยังไม่ถึง
     
  5. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    จะมีอะไรเกิดตามมา

    วรรคที่๒
    วรรคที่๗

    สมาธิที่แฝดกับปัญญา มรดกข้อที่106 ของ ท่านอาจารย์พุทธทาส

    มรดกที่ 106 อนันตริกสมาธิ เป็นสิ่งที่ควรรู้จัก

    ในฐานะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองอย่างเพียงพอทุกคราวที่เรามีความต้องการ และทำอะไรด้วยสติปัญญาสัมมาทิฏฐิอย่างเต็มที่ แต่ไม่มีใครสนใจ


    ___________________________________________________________

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
    รัตนสูตร ในขุททกปาฐะ
    [๗] ภูตเหล่าใด ประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี
    ขอหมู่ภูตทั้งปวงจงเป็น ผู้มีใจดีและจงฟังภาษิตโดยเคารพ
    ดูกรภูตทั้งปวง เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟัง
    ขอจงแผ่เมตตาจิต ในหมู่มนุษย์ มนุษย์เหล่าใด นำพลีกรรมไปทั้งกลางวันทั้งกลางคืน
    เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ ประมาทรักษามนุษย์เหล่านั้น

    (อธิฐานสัจจะบทที่๑)
    ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใด อย่างหนึ่งในโลกนี้ หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีต ในสวรรค์
    ทรัพย์และรัตนะนั้น เสมอด้วยพระตถาคตไม่มีเลย
    พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
    ด้วยสัจจวาจานี้ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

    (อธิฐานสัจจะบทที่๒)
    พระศากยมุนีมีพระหฤทัยดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมอันใดเป็นที่สิ้นกิเลส
    เป็นที่สำรอกกิเลส เป็นอมฤตธรรมอันประณีต
    ธรรมชาติอะไรๆ เสมอด้วยพระธรรมนั้นย่อมไม่มี
    ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
    ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

    (อธิฐานสัจจะบทที่๓)
    พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญแล้วซึ่งสมาธิใดว่าเป็นธรรมอันสะอาด
    บัณฑิตทั้งหลายกล่าวซึ่งสมาธิใด ว่าให้ผลในลำดับสมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้นย่อมไม่มี
    ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
    ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
    ....
    รัตนสูตร พระสูตรเต็ม โดย84000
    ����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� ��

    อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ รัตนสูตรในขุททกปาฐะ หน้าต่างที่๒
    ....

    บทว่า สุจึ ได้แก่ ผ่องแผ้วสิ้นเชิง เพราะทำการตัดมลทินคือกิเลสได้เด็ดขาด.
    บทว่า สมาธิมานนฺตริกญฺญมาหุ ความว่า
    บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงสมาธิอันใดว่า อนันตริกสมาธิ สมาธิเกิดในลำดับ
    เพราะอำนวยผลแน่นอนในลำดับการดำเนินการปฏิบัติของตน.
    อันตรายใดๆ ที่ห้ามกันความเกิดผลแห่งอนันตริกสมาธินั้น เมื่อสมาธิอันเป็นตัวมรรคเกิดขึ้นแล้ว หามีไม่.

    เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
    ก็บุคคลนี้ พึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดา-
    ปัตติผล และพึงเป็นเวลาที่กัปไหม้ กัปก็จะยังไม่พึง
    ไหม้ตราบเท่าที่บุคคลนี้ ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
    บุคคลผู้นี้เรียกว่า ฐิตกัปปี ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัป บุคคลผู้มี
    มรรคพรั่งพร้อมทั้งหมด ก็เป็นฐิตกัปปี ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัป.
    อภิ. ปุ. ๓๖/๓๓/๒๐๘
    ___________________________________________________________

    มังคละมุนี วิตก-วิจารณ์

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอธิฐานสัจจะ ใน รัตนสูตรไว้ ๑๒ บท
    อ้างถึง คุณ ของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในแง่มุมต่างๆได้อย่างอัศจรรย์
    ในการอธิฐานสัจจะ ข้อที่ ๓ องค์พุทธะท่านได้อ้างถึงคุณของ พระธรรม ในแง่ของ ธรรมสมาธิ
    โดยเป็น สมาธิที่ให้ผลในลำดับ(แห่งมรรค) ว่าเป็นสมาธิที่ยอดเยี่ยมที่สุด
    ไม่มีสมาธิใดๆมาเสมอเท่า ไม่มีสมาธิใดๆมาเทียบเทียมได้ จะเรียก ว่าสมาธิไร้เทียมทาน ก็ว่าได้
    เป็นสุดยอดแห่งสมาธิ เหนือกว่าสมาธิอื่นๆทั้งปวง เรียกว่า อนันตริกสมาธิ

    และ

    มรดกข้อที่ 106 ของ ท่านอาจาย์พุทธทาส กล่าวถึง อนันตริกสมาธิ ท่านเคยให้ความหมายไว้ว่า เป็น
    สมาธิที่แฝดกับปัญญา
    พวกนักบวชนิกายเซน ชอบใช้สมาธิแบบนี้อบรมลูกศิษย์ ผ่านทางโกอัน(ปัญหายากๆ ยียวนกวนประสาท)

    และ

    ในเทศน์นี้ ของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ท่านได้ตั้งคำถามไว้ว่า

    "เมื่อพระพุทธเจ้าเป็นผู้มีจิตใจอันบริสุทธิ์ กลั่นกรองเอาธรรมที่เป็นของบริสุทธิ์มาแสดงให้
    ท่านผู้มีความเห็นอันบริสุทธิ์ คือสัมมาทิฏฐิและมีสัมมาสมาธิ เป็นผู้อุดหนุนนั่งฟังธรรมอยู่นั้น
    เมื่อถึงพร้อมเช่นนั้น ขอให้ท่านพิจารณาดูว่าจะมีอะไรเกิดตามมา"

    ตามที่ท่านหลวงปู่เทสส์ ถามว่า
    จะมีอะไรเกิดตามมานั้น
    มังคละมุนี ผู้เรียนธรรมรุ่นหลาน อย่างผมจะขอตอบว่า
    จะมี อนันตริกสมาธิ เกิดตามมาครับผม..หลวงปู่
    มันทำให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน
    เคยฟังธรรมเรื่องความไม่เที่ยงมาไม่รู้กี่ร้อย กี่พันหน
    แต่ความไม่เที่ยง ที่เจอในขณะสมาธิแบบนี้ มันไม่เที่ยง อย่างหมดหัวใจ จริงๆ ครับผม!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มกราคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...