นั่งสมาธิแล้วไม่หายใจ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Pei-panwad, 23 ตุลาคม 2014.

  1. Pei-panwad

    Pei-panwad Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +78
    ขอบคุณค่ะ ​
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    อานาปานสติ

    พระธรรมเทศนาของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช มาให้อ่านกัน

    [​IMG]

    พอจิตมันสงบมันก็จะสว่างขึ้นมา

    ที นี้สว่างทีแรกมันก็จะสว่างอยู่ตรงนี้ เป็นดวงขึ้นมา ให้เราดูดวงสว่างตรงนี้แทนลมหายใจ เพราะลมหายใจสั้น..จนลมหายใจหยุดไปแล้วนะ จะเป็นดวงสว่างขึ้นมา


    หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม บ.โค้งดารา ต.ท่าพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ทีนี้

    เจ้าของกระทู้ พิจารณาดีๆ

    ธรรมใดก็ตาม ที่เราปฏิบัติมา หรือ คนอื่นปฏิบัติมา หากเรา ไม่ยึด ไม่เกาะ ไม่เอาเข้าตัว

    ฟังธรรมให้เข้าใจ จะค่อยๆเห็นว่า

    เนื้อหาสาระของธรรม

    เน้นนะว่า

    เนื้อหาสาระของ " ธรรมะ " ที่ จิตอันเป็นธาตุพระกรรมฐาน เขาไม่ได้ ฟังเอา
    จาก คำพูดของเรา หรือ คำพูดของใคร

    จิต จะเฝ้นหา ธรรม ด้วยตัวจิต สดับด้วยจิต นมสิการธรรมนั้นอยู่ ด้วยจิต

    เล็งให้ดีๆ แล้วจะ ค่อยๆเข้าใจ " ธรรมที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังจากใครมาก่อน "
    ปรากฏอยู่ ในขณะที่ สนทนาธรรม หรือ แม้แต่ ปฏิบัติธรรม

    เนี่ยะ ฟังธรรมๆ ต้อง เล็งกันดีๆ ธรรมะนั้น ฟังกันโดยไม่ได้ใช้ อยาตนะ6

    ธรรมใด อาศัย อยาตนะ6 ตั้งขึ้น นั่นไม่ใช่ธรรม [ มันแค่ กองสังขาร อย่าให้ สังขาร มันหลอกเอา ]

    ธรรมใด อาศัย เข้าสำนักนู้น ออกสำนักนี้ เอาพระด่ากัน มายกเป็น สิ่งประดับ
    อยาตนะ6 ของตน เหมือนคนบางคนที่ " เซเบลอ " เน้น พระกัดกัน เป็นงาน
    ภาวนาของมัน โอยยย.... เราอย่าไป ทำอย่างนั้น

    ฟังธรรม ฟังให้ดีๆ ไอ้ที่พูดๆ กันนี้ หรือ ปฏิบัติล้มลุกคลุกคลานกันก็ดี มันแค่ อุบาย
    ในการ สดับธรรมอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ได้อาศัย อยาตนะ6 ตั้งขึ้น ธรรมอย่างนั้นมีอยู่

    นมสิการ โยนสิมนสิการ ให้ดีๆ วิญญูชนพึงรู้ได้ด้วยตัวเอง
     
  4. Pei-panwad

    Pei-panwad Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +78
    ขอบคุณค่ะ เดี๋ยวนี้นั่งสมาธิไม่ได้คิดว่าต้องได้แบบวันนั้น แแบบคนนั้นพูด หรือที่อ่านมาเป็นแบบนั้น แล้วค่ะ เน้นเอาความสงบเป็นหลัก ก็สบายใจดี แล้วพยายามดูอาการต่างๆแบบเป็นจริงเป็นกลาง ก็ดีนะคะ สมาธิจะตกหรือไม่ก็ไม่กังวลแล้วค่ะทำให้ดีที่สุดในช่วงที่นั่่งก็พอแล้วค่ะ อิอิ
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เนียะ ยังไม่เข้าใจ การ สดับธรรม การเพียรในธรรม ที่เป็น อกาลิโก

    ตราบใด ยังแบ่ง เวลาการปฏิบัติ เป็น คาบๆ เมื่อนั้น ยังฟังธรรม แบบจับไปกระเดียด

    เป็นการ คิด ด้น เด้า เดา ธรรม ไปเรื่อยๆเปือย ตายเปล่า !!!
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อย่าประมาท ในธรรม หน่าคร้าบ

    การที่ ดำริว่า " ทำแค่เป็นคาบๆ ก็พอแล้ว " มันคือ อนุสัยอย่างหนึ่ง ที่ทำให้
    เป็นเชื้อเกิดเป็น " ...ว์ "

    เรามาภาวนา ก็เพื่อ ถอดถอน รากเง้าของ เชื้อเกิด

    หากฟังธรรมไม่เข้าใจ ไม่มีจิตโน้มเอียงไปในทางที่ถูกต้อง การดำริว่า " เท่านี้ก็พอ
    แล้ว " จะกลายเป็น นิสัยไปชั่วกลาปวสาน ต่อให้เจอ พระพุทธเจ้าตรงหน้า ก็จะ
    บำเพ็ญว่า " ปฏิบัติเป็นคาบก็พอแล้ว " แล้วก็ ตายเปล่าไปจาก พระพุทธศาสนา ไม่จบไม่สิ้น

    ดังเช่น

    ภิกษุ อุปฐากของพระพุทธเจ้า รูปหนึ่ง มี ดำริแค่ว่า " ทำเป็น คาบๆ ก็พอแล้ว "

    พระพุทธองค์ ทัดทานว่า " อย่าเลย อย่าพึ่งไป ทำเป็น คาบๆ ตอนนี้เลย "

    ภิกษุนั้นก็ มีความดำริว่า " อะไรกัน คนจะ ทำกุศล กลับมาห้าม " พอดำริแบบ
    นั้นท่านก็ไม่สนใจ ปลิกตัวออกไป นั่งจุมปุ๊กใน " กาลที่เห็นว่าควรแก่ตน " พอเข้า
    ป่าไป ก็ " ตายเปล่าไป " ไม่ได้อะไรเลย ได้แค่ว่า

    ได้เป็นผู้หนึ่งที่เกิดมา " สนับสนุนการมีอยู่ของพระศาสดา พระศาสนา " ได้วางลีลา
    ว่า " ปฏิบัติก็แล้วนะเว้ยเฮ้ย " จะมา ตำหนิ คัดค้าน ว่า ไม่รู้จักพระศาสนา ไม่ได้
     
  7. Pei-panwad

    Pei-panwad Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +78
    นั่งสมาธิทำเฉพาะตอนก่อนนอนกับตอนเช้าค่ะ ก็ถือว่าเป็นคาบจริงด้วย
    แต่ระหว่างวันเพิ่งมากำหนด ยุบหนอ พองหนอ ทั้งวันตั้งแต่ตื่นไปจนนอน วันนี้เป็นวัน ที่ 4 เองค่ะ คิดว่าจะลองทำไปเรื่อยๆ เริ่มชินละคะ
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    แหม ไม่ปรารภ สัจจ อธิษฐานสัจจ ตรงนี้แต่แรก หละคร้าบ

    เอา ตรงนี้ตั้งเป็น อธิษฐานบารมี เข้ามาเลย

    พอวันไหน ชิน แบบไม่คิดเอา เวลา " นอนหลับอยู่ " นอนหลับคร๊อกฟี้ๆ นี่
    จิตมัน ภาวนา ของมันได้หน่าคร้าบ ไม่มัวมาขึ้นกับความเป็น ...ว์ ที่นอนป่ำ
    อยู่ในถ้วยหรือ ไม่อยู่ในถ้วย หรอก

    เอาละ ขี้เกียจเข็ญ ปรารภ สัจจะ โพสสุดท้ายออกมา ค่อยเป็น นักฟังธรรม เข้ามาหน่อย

    กราบลา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2014
  9. Pei-panwad

    Pei-panwad Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +78
    แต่แปลกใจตรงที่ ทำไมเวลาตื่นนอนมันจะรู้ว่า หายใจเข้าหรือออกแล้วก็พองหนอ ยุบหนอ มันจะมาเองเลยย แปลกดี หรือว่ามันเคยชินก็ไม่รู้
    ปล. อย่าเพิ่งไปสิค่ะ คุณนิวรณ์
     
  10. หมูดิน1

    หมูดิน1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2011
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +863
    [​IMG]

    สวัสดีครับ คุณ เป้ย ปานวาด สบายดีนะครับ
     
  11. Pei-panwad

    Pei-panwad Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +78
    สบายดีค่ะ แต่คนละเป้ยแล้วค่ะ 55
     
  12. Supop

    Supop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    586
    ค่าพลัง:
    +3,152
    แหม่ เห็น เป้ย ปานวาด ข้าพเจ้าก็รีบเข้ามาร่วมแจมด้วยเลยทันที

    ข้าพเจ้าขออนุญาติร่วมเสวนาด้วยคนนะครับ

    เรื่องของ ฌาณ จะมี วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกคตา ในองค์ฌาณที่ หนึ่ง นั้น จะมีครบทั้งห้า แบบเสมอกัน กำลังเท่าๆกัน แต่เมื่อสมาธิเราไต่ระดับไปสู่ฌาณที่ละเอียดเข้าไปอีก วิตก วิจารณ์ จะจางลง แต่ ปิติ สุข เอกคตา จะชัดเจนขึ้นตามลำดับ หรือก็คือเป็นการไล่ระดับไปตามกำลังของฌาณ ฌาณหนึ่งถึงสี่ กับ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกคตา ไล่ลำดับกันอย่างนี้ ในช่วงที่ระดับสมาธิของเรากำลังไล่ระดับละเอียดเข้าไปเรื่อยๆ เราจะรู้สึกถึงสิ่งที่เราเพ่งอยู่ชัดขึ้นชัดขึ้น หรือรู้สึกถึงสิ่งหนึ่งที่มันชัดเจนขึ้นมาเรื่อยๆ จนเราไม่สนสิ่งต่างๆเอง อย่างนั้นใช่ไหม

    ส่วนเรื่องสภาวะอื่นๆในแต่ละระดับขององค์ฌาณนั้น มันเป็นธรรมชาติธรรมดาของมันเอง คำภาวนาหาย ได้ทันสังเกตไหม ว่ามันไม่ได้หาย แต่เราไม่ได้นึกถึงมันเลยต่างหาก จะว่าลืมก็ไม่ใช่ เพราะสติเรายังชัดเจนอยู่ แต่มันชัดเจนอยู่กับองค์สมาธิหรือสิ่งที่เพ่งอยู่ จิตมันตัดขาดจากสมองส่วนความคิดไปหน่ะเอง ที่ลมหายใจหายนั้น มันไม่ได้หายแวบไปใช่มั้ย แต่มันค่อยจางลง บางลง จนจับลมไม่ได้ และความรู้สึกอึดอัดเหมือนคนจะขาดใจตายก็ไม่มี แต่มันกลับมีความสุขที่ละเอียดชัดเจนอยู่ จิตมันมีความมั่นคงกับสิ่งนั้นๆได้อย่างชัดเจนมากขึ้นอยู่ และการรับรู้ทางกายเริ่มจะเบาบางลงเพราะจิตมันมารู้อยู่ตรงนี้เอง และในตอนนี้เอง ที่จิตกำลังจะตัดขาดการรับรู้จากกายสังขารทั้งหมด ถ้าเรายังเป็นผู้ไม่ชำนาญ ยังมีความรักตัวกลัวตายอยู่ มันจะตกใจ มันจะควานหาชีวิต มันจะควานหาความเป็นตัวตนของมัน เพราะมันไม่รู้ว่า สิ่งที่มันกำลังรู้กำลังปรากฏอยู่ตรงหน้าคืออะไร นี่เองจิตมันจึงออกจากฐานขององค์สมาธิกลับมาหาตัวตนของตัวเอง

    ข้าพเจ้าเองก็เคยประสบมาเช่นกัน เมื่อตอนนั้น ลมหายใจกำลังบางลงไปเรื่อยๆ สภาวะที่รู้สึกมันละเอียดขึ้นเรื่อยๆ แต่ ณ.ขณะนั้นจิตยังไม่ตัดจากกายสังขารอย่างเด็ดขาด ยังรับรู้อยู่ แต่เบาบางมากแล้ว ทันใดนั้น ด้วยที่ในขณะนั้น ปากของข้าพเจ้ามันอ้าอยู่นานแล้ว น้ำลายไม่มีมาตั้งแต่เริ่มในครั้งนั้น แต่อยู่ๆมันดันผลิตน้ำลายออกมาซะมากจนเริ่มจะย้อยออกจากปาก แล้วมันจะหยดลงไปอยู่แล้ว ตอนนั้นเองจิตของข้าพเจ้าถอนตัวออกจากฐานโดยทันที ความรู้สึกของกายสังขารชัดขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เพราะความเป็นห่วงเสื้อผ้าที่ใส่อยู่ ว่าจะโดนน้ำลายแล้วเหม็น เพราะเดี๋ยวต้องออกไปพบปะผู้คนอีก เสื้อผ้าก็ไม่มีเปลี่ยนแล้วด้วย แล้วข้าพเจ้าก็ออกมาสูดน้ำลายซู้ดใหญ่ ไม่มีหยดลงไปเลอะเสื้อผ้าแม้แต่หยดเดียว แต่สมาธิข้าพเจ้ากลับมาอยู่ที่เดิม แล้วจะเอาให้ถึงต่อก็ทำไม่ได้เสียแล้ว โอหนอ นี่ขนาดแค่น้ำลายจะหยดเลอะเสื้อผ้านะเรา หวงตัวเสียจริงเรา....

    อีกเรื่องหนึ่ง เรื่องของ สัมมาสมาธิ ข้าพเจ้าอยากขอร่วมออกความเห็น

    สัมมา คือ ชอบ(หรือถูกต้อง) หรือ ดี
    สมาธิ คือ ที่ตั้งมั่นของจิต หรือ ความตั้งมั่นของจิต

    ถ้าจะบอกว่าต้องได้ถึงฌาณสี่ จึงจะเป็น สัมมาสมาธิ ก็คงจะไม่ใช่ เพราะ พระอรหันต์ในสาย สุกขวิปัสโก ท่านใช้อย่างมากแค่กำลังของฌาณหนึ่งก็สำเร็จได้ หรืออย่างในพระไตรปิฎกที่มีบันทึกไว้ เทวทัต ท่านก็เป็นผู้มีฤทธิ์ ฉะนั้น เรื่องฌาณไม่ต้องพูดถึงว่าท่านจะได้ถึงขั้นไหน
    อุปจารสมาธิไม่ใช่สัมมาสมาธิ ฌาณหนึ่งไม่ใช่สัมมาสมาธิ ฌาณสองไม่ใช่สัมมาสมาธิ ฌาณสามไม่ใช่สัมมาสมาธิ ฌาณสี่ไม่ใช่สัมมาสมาธิ ฌาณห้า หก เจ็ด แปด หรือเก้า ก็ไม่ใช่สัมมาสมาธิ แต่สัมมาสมาธิคือ การตั้งมั่นชอบ ตั้งมั่นไว้ดี หรือจิตเราตั้งมั่นไว้ถูก ก็คือ เราตั้งมั่นอยู่กับลมเราก็รู้อยู่กับลม ไม่ไปเที่ยวนู่นดูนี่ เราอยู่ที่อุปจาร แต่ก็หลงคิดไปเองว่าเราอยู่ในองค์ฌาณ มีสภาวะใดเกิดขึ้นมาเราก็รู้ชัดว่ามีสภาวะใดเกิดขึ้นมา สภาวะใดยังคงดำรงอยู่เราก็รู้ชัดว่าสภาวะใดยังคงดำรงค์อยู่ สภาวะใดดับไปเราก็รู้ชัดว่าสภาวะใดดับไป และเราตั้งจิตไว้ในความดี คือการทำของเราจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อโทษ ทุกข์ เพื่อเบียดเบียน

    อย่างนี้จึงจะเป็น สัมมาสมาธิ

    สิ่งสุดท้ายและละเอียดที่สุดใน มรรค 8

    1. สัมมาทิฏฐิ – มีปัญญาเห็นชอบ เห็นดี
    2. สัมมาสังกัปปะ – ดำริชอบ ดำริดี
    3. สัมมาวาจา – วาจาชอบ วาจาดี
    4. สัมมากัมมันตะ – ความประพฤติชอบ ประพฤติดี
    5. สัมมาอาชีวะ – การมีอาชีพชอบ อาชีพดี
    6. สัมมาวายามะ – การมีมานะชอบ มานะดี
    7. สัมมาสติ – การระลึกชอบ ระลึกดี
    8. สัมมาสมาธิ – การตั้งมั่นชอบ ตั้งมั่นดี

    แล้วสิ่งเหล่านี้จึงหล่อหลอมรวมกัน จนเกิดเป็น ปัญญาอันยิ่ง

    ขออย่าได้เชื่อถือหรือยึดมั่นในสิ่งใดที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปเลย แค่เพ้อเจ้อไปเรื่อยๆ

    ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2014
  13. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ จริง ๆ แล้วควร "อยู่" อย่างนั้นไปก่อน เมื่อ "อยู่" อย่างนั้นได้ ไม่นานก็จะรู้ได้เองว่า "สภาวะที่ไม่ต้องมีลมหายใจ" นั้น "มีอยู่จริง" และก็จะรู้ได้ว่า "ไม่ต้องมีลมหายใจ ก็อยู่ได้ ถ้าอยู่เป็น"

    +++ "ตั้งกายตรง ดำรงค์สติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า" เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า อาการเหมือน "ตัวเองลอยได้ รู้สึกว่าตัวเองตัวโตมาก แล้วค่อยๆยุบจนเล็กมาก" ตรงนี้ ในปัจจุบันขณะ ณ ขณะนั้น ๆ "เป็น ตัวเราเอง" ที่ ลอย-โต-เล็ก สภาวะธรรมในขณะนั้น ๆ บ่งระบุชัดเจนว่า "เรา เป็นกายอื่น" นอกเหนือจาก "กายมนุษย์" และในขณะนั้น ๆ "เราไม่ใช่กายมนุษย์" ประสพการณ์ตรงนี้ชี้ระบุชัดว่า "กายอื่น อันไม่ใช่กายมนุษย์ ที่เราเป็นอยู่นั้น ยังมี" และเราในขณะนั้น "เป็นกายนั้น" นั่นเอง

    +++ กายตรงนี้ "เป็น กายแห่งความรู้สึก" ผมเรียก กายตัวนี้ว่า "กายเวทนา" กายนี้ เป็น กายพลังงาน กายหนึ่งที่ซ้อนทับกันอยู่กับ กายมนุษย์ทุกขณะ หากทำ "ความรู้สึกตัว" จนได้เป็นนิสัยแล้ว เวลานั่งสมาธิ จะปรากฏ "อาการนิ่งๆเฉยๆสว่างสงบแต่ ลมหายใจแผ่วลงๆจนไม่มีลมหายใจพร้อมกับคำภาวนาหาย" ตรงนี้จะเกิดขึ้น "เร็วมาก" หาากชำนาญในอาการเมื่อไร ก็สามารถ "เดินจิต" เข้าสู่อาการนี้ได้ทันที โดยไม่ยุ่งยากอะไร

    +++ อาการที่กล่าวมานั้น "ถูกต้องทุกประการ" คือ "ไม่มีลมหายใจ ก็อยู่ได้" และ "ความคิด ไม่สามารถก่อกำเนิด ในสภาวะนั้นได้เลย" สิ่งที่เกิดได้ในขณะนั้น ๆ จะเป็น "การเดินจิต" ล้วน ๆ เท่านั้น หากคุ้นเคยกับ "การเดินจิต" ตรงนี้เมื่อไรก็จะรู้ได้ด้วยตนเองว่า "การเดินจิต ไม่ใช่ความคิด" แต่เป็นการเปลี่ยนจาก "สภาวะหนึ่ง สู่ สภาวะหนึ่ง" และแต่ละสภาวะที่ "เดินจิตผ่านไป" นั้น จะมีอารมณ์เด่นได้เพียง อารมณ์เดียวเท่านั้น ตรงนี้ผมเรียกมันว่า "เอกัคตา สู่ เอกัคตา" หรือ "การเดินจิตใน ฌาน 4" ก็ได้ เพราะอาการมันเป็นแบบนั้น

    +++ หากต้องการ "ฝึก" ต่อจากอาการที่กล่าวมานั้น สิ่งที่ควรฝึกมากที่สุดคือ ฝึก "ถอนออก แล้ว กลับเข้าสู่อาการเก่า ทันที" หากทำได้แคล่วคล่องแล้ว ก็ให้ฝึกในขณะที่ "ใช้ชีวิตประจำวัน ตามปกติ" โดยไม่มีการจำกัดเวลา เหมือนกับการ "เล่นกับมัน" จนได้เป็นนิสัย นั่นเอง

    +++ สรุปคือ "ถูกแล้ว" เพียงแต่ขาดการ "เล่น" กับมันจนเป็นเรื่อง "ปกติ" เท่านั้นเอง

    +++ อย่างอื่นอาจ "วางได้" แต่ตรงนี้ "ห้ามวาง" เพราะมันเป็นเรื่องของ "ความเป็นกาย" ของเราเอง และวิวัฒนาการจากตรงนี้ออกไปเท่านั้น จะทำให้ไปถึงความรู้แจ้งที่ว่า "อะไรเป็นกาย และ อะไรไม่ใช่กาย" ซึ่งเรียกกันว่า "สักกายะทิฐิ" และตรงนี้ ควรฝึกจน "สิ้นสงสัย" ว่าอะไรเป็นอะไร

    +++ สิ่งที่กล่าวมานี้ "ไม่เห็นเสียเลย จะดีกว่า" ในขณะนี้ เพราะมันเป็น "ความคิดละเอียด" ภาษาปัจจุบันเรียกว่า "จิตใต้สำนึก" ภาษาของนักปฏิบัติเรียกว่า "ภวังค์จรณะ" เพียงแต่ให้รับรู้ไว้ว่า โลกในภวังค์นั้น มีอยู่จริง เหมือนกับ "โลกส่วนตัว ของใครของมัน" แบบเดียวกับที่เห็นกันโดยทั่วไปคือ "แต่ละคน ดู แต่ในเฉพาะ โทรศัพท์มือถือของตนเท่านั้น" เสียตังเท่าไรก็ยอม แต่ไม่ยอมเสียโลกส่วนตัว แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า หลายคน "หลงมือถือ จน ปฏิเสธโลกแห่งความเป็นจริงไป" ตรงนี้กล่าวได้ว่าเป็นพวก "หลงภพภูมิ" ซึ่งตรงกับคำศัพท์ว่า "สัมภเวสี" อะไรทำนองนั้น

    +++ แต่ไม่ว่าอะไรก็ตาม "อะไรเกิดขึ้นจริง มีอยู่จริง" ก็ให้ยอมรับไว้ก่อนว่า "มันมีอยู่ มันเป็นอยู่" ตามความเป็นจริง เท่านั้น อย่าไปคิด ต่อเติมอะไรเข้าไปอีก ก็พอ

    +++ สภาวะ ย่อมเหมือนกัน เพราะมันเป็นความจริง ส่วน "ความคิด" ย่อมไม่เหมือนกัน เพราะมันเป็น "ความคิด" ดังนั้น "ความสามารถในการ แยกแยะ ความจริง ออกจาก ความคิด" ตรงนี้ เราต้องรับผิดชอบตัวเราเอง เท่านั้น

    +++ ถูกแล้ว ฤทธิ์ และ ฌาณ ไม่ได้เป็นไปตาม "ความอยาก" ของใคร แต่สิ่งเหล่านี้ มีขึ้นมาได้จาก "การลงมือทำ และ ความเข้าใจ" เท่านั้น

    +++ สิ่งที่ จขกท ปฏิบัติมาถึงตรงนี้นั้น "มาไกลกว่า" สิ่งที่เรียกว่า นิมิต หรือ ภาพอะไรต่าง ๆ มานานแล้ว พวกที่ยังวนเวียนอยู่ใน "ภาพนิมิตต่าง ๆ" นั้น ยังอยู่ในระดับ "อุปจาระสมาธิ" (ต่ำกว่า ฌาน) เท่านั้น ส่วนตรงที่ จขกท ทำอยู่ในปัจจุบันขณะนี้ คือ "อัปปนาสมาธิ" ที่เรียกว่า อยู่ในระดับ "ฌาน" ไปนานแล้ว

    +++ สภาวะแบบนี้ คือ "อัปปนาสมาธิ" ต้อง "อยู่" กับมันให้เป็น และ "เล่น" กับมันให้คล่อง จนกว่าจะเกิดอาการ "ตัวเราซ้อนตัวเรา" ที่เรียกว่า "กายในกาย" จากนั้นก็จะเข้าใจไปเรื่อย ๆ จนถึง "สิ้นสุดแห่งกาย" ให้รู้ให้เข้าใจ "การฝึกของตน" เท่านั้นก็พอ

    +++ อีกประการหนึ่งก็คือ "เรารู้ตัวเราเองชัดเจน" ใครที่ผ่านตรงนี้มาแล้ว จะรู้จักอาการ "รู้ตน" ได้เด่นชัดมาก และถ้าหาก สามารถเข้าสู่ การอยู่กับ "อาการรู้" ตรงนี้ได้้ โดยไม่ต้องมี "ตน" ก็จะพัฒนาไปอีกระดับหนึ่ง ได้ไม่ยาก เพียงแต่ว่า "ให้ลองทำเล่น ๆ เท่านั้น" หากยังทำไม่ได้ก็ไม่ต้องไป ซีเรียส อะไรกับมัน นะครับ
     
  14. Pei-panwad

    Pei-panwad Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +78
    ขอบคุณค่ะ
     
  15. noawarat pakdee

    noawarat pakdee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +682
    ดิฉันเห็นด้วยต่อข้อธรรมของท่าน ทั้งที่เคยปฏิบัติมา และที่เคยศึกษาจากตำรา อันนี้ใช่เลยจ๊ะ ไม่อยากให้สับสนค่อยปฏิบัติไปนะคะ บางครั้งอ่านมาหลายที่ คนก็บอกหลายคน อาจจะทำให้ไขว่เคว้ ขอให้ใช้สติดีพิจารณาค่ะ อนุโมทนาด้วยค่ะ
     
  16. Pei-panwad

    Pei-panwad Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +78
    ขอบคุณค่ะ
     
  17. Pei-panwad

    Pei-panwad Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +78
    คุณนิวรณ์ ไปไหนแล้ววว
     
  18. Apollo14

    Apollo14 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +199
    แล้วเราจะแก้อาการ 1-11 ได้ยังไงครับ ขอวิธีการแบบละเอียดครับ ขอบคุณมากครับพี่
     
  19. THE_NOP

    THE_NOP Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +33
    ต้องขอโทษ จขกท ด้วยนะครับ ขอแจมกระทู้หน่อยนะครับ
    คือผมอยากจะทราบสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นกับผมน่ะครับ
    คือ
    1ผมก็นั่งกรรมฐานจนตัวหาย ลมหายใจไม่มีเหมือน จขกท ครับแต่คำภาวนายังอยู่ ทำไมไม่เหมือนกับจขกทล่ะครับ(ผมภาวนากรรมฐาน5ครับ)
    2เมื่อผมทำกรรมฐานมันก็จะเข้าไปตรงนี้ตลอด(ตัวหาย)บ่อยๆเข้า ตอนแรกมันจะเป็นความรู้สึกก่อนว่ามีก้อนกลมๆลอย
    อยู่กลางตัวเรา(ทั้งๆที่ไม่รู้สึกถึงตัวเราแล้ว) ต่อมามันเห็นเป็นดวงกลมๆลอยอยู่ สภาวะนี้คืออะไรครับ
    แต่ทุกวันนี้ทำไม่ได้แล้วครับเพราะขาดความเพียรทำบาง
    ไม่ทำบาง ก็อยากจะรู้ว่าคืออะไรขอบคุณล่วงหน้าครับ
     
  20. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    ขออนุญาตเจ้าของกระทู้นะครับ...วิธีที่จะแก้ปัญหาได้ทั้ง ๑๑ ข้อนะครับ
    แยกรูปนามให้ได้ครับ ถ้ายังแยกไม่ได้หรือเข้าใจจริงๆให้วางๆการพูดถึง
    การเดินปัญญาไว้ก่อนครับ เพราะจะยังไม่พ้นความรู้ทางสมมุติครับ
    เพราะจิตจะยังไม่ได้ว่าอะไรเป็นจิต อะไรเป็นความคิดที่เกิดจากจิต
    อะไรเป็นความคิดที่เกิดจากขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรมครับ..
    พวกนี้ต้องระวังนิดหนึ่งเพราะเป็นเรื่องนามธรรม เป็นฝ่ายอารมย์ครับ.
    ..แยกยังไงลองอ่านดูพื้นฐานก่อนนะครับ..เขียนเชิงเล่าให้ฟังนะครับ..

    ปกติแล้วการตั้งใจปฎิบัติธรรม.ไม่ใช่ไม่ดีแต่ว่าจะเป็นการปิดตัวเอง..
    นั้นก็คือใจ..ให้เปลี่ยนเป็นการตั้งสติเข้าไปทำความเข้าใจกับใจ.
    จุดนี้ที่หลายๆคนที่ตั้งใจยังเข้าใจคลาดเคลื่อนกันมากอยู่ครับ...

    การตั้งสติไปทำความเข้าใจกับใจคือ การสร้างสติ(ในทางธรรม)
    หรือที่เราเรียกว่าการเจริญสติ(คือการตามรู้ลมหายใจเข้าและออก
    ไม่ว่าจะด้วยคำภาวนาอะไรก็ได้แล้วแต่จริตของแต่ละคนขอให้ฐานอยู่ที่กาย)
    เข้าไปสำรวจใจ(ณ จุดนี้คือความคิดที่เกิดจากจิต)
    ในช่วงแรกอาจยังไม่ทัน.ให้ดับ.ให้ควบคุมไว้ก่อน.
    จนกว่าจะคลายจิตออกจากความคิดที่เกิดจากจิต.
    และตัวจิตคลายออกจากความคิดที่เกิดจากขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรม
    (คือ ความคิดที่ผุดขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ควบคุมไม่ได้ แทรกแซงไม่ได้)

    ไม่งั้นจะไปเผลอไปคิดว่าความคิดที่เกิดจากจิตเป็นตัวสติเป็นตัวปัญญา
    ซีงเค้าเกิดอยู่ตลอดเวลาแล้วเผลอนำไปพิจารณา.จนกลายเป็นวิปัสสนึกได้ครับ
    ถึงตรงนี้จิตจะเห็นเป็นจะเห็นเป็น ๓ ส่วนครับคือ ๑.ตัวจิต ๒.ความคิดที่เกิดจากจิต
    และ ๓.ความคิดที่เกิดจากขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรม...พอมาถึงตรงนี้อริยมรรค ๘ ข้อแรก
    คือความเห็นชอบถึงจะเปิดทางให้เราเริ่มเดินปัญญาเพื่อเป้าหมายในการลดละกิเลสได้ครับ
    และเราจะเริ่มแยกได้ว่า อะไรคือสติทางธรรม ที่ไม่สติแบบทางโลกๆครับ..และพอเราเริ่ม
    สังเกตุตัวสติทางธรรมตัวนี้เมื่อไร.และสังเหตุได้ในขณะในขณะที่จิตเรานิ่งๆ เนื่องจากตัด
    อารมย์ไม่ว่าจะเกิดจากภายนอกหรือภายในที่เข้ามากระทบกับจิตได้แล้ว และเพิ่มเวลา
    ตรงนี้ได้นานขึ้นแล้วนะครับ..
    ตัวจิตมันจะสร้างสติจนเป็นมหาสติได้ครับ เพื่อเข้าไปสำรวจจิต
    ควบคุมพฤติกรรมของจิตได้..โดยที่ไม่ต้องไปแทรกแซงเค้า.
    ถ้าจิดเค้าเกิดแม้แต่นิดเดียวให้ดับให้ควบคุม.
    .ให้จิตเค้ารู้เห็นตามความเป็นจริง.ด้วยความเป็นกลาง..
    .แล้วก็ให้ละ ให้วาง..
    มาถึงตรงนี้จิตจะเกิดภูมิความรู้ขึ้นมาได้ครับ..
    ที่เราเรียกว่าปัญญาทางธรรมครับ.
    โดยที่เราไม่จำเป็นต้องค้นคว้าตำราอะไรเพื่อมาหาเหตุ หาผลในการวางกิเลสตัวนั้นๆครับ
    และต่อไปถ้าเรามีชำนาญขึ้น
    ปัญญาทางธรรมตัวนี้จะมานำหน้าที่แทนความคิดของเราครับ
    ในทางปฏิบัติก็จะเกิดองค์ความรู้ต่างๆขึ้นมากมาย ตามแต่ระดับปัญญาทางธรรม
    ของบุคคลผู้นั้น ที่ชอบเรียกกันง่ายๆว่า ปิ้งแว๊บ การปิ้งแว๊บ แค่เพียงเสี้ยววินาทีนั้น
    บางครั้งในการอธิบายหรือเขียนอาจจะต้องเขียนถึง ๒ ถึง ๓ หน้ากระดาษแต่จิต
    จะมีเครื่องรู้ภายในเสี้ยววินาทีเดียวครับ..ทุกเรื่องๆที่เกี่ยวกับการปฏิบัติ
    ตามจริตของเราเลยครับ..
    ที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นร่วมกับการสร้างบารมีให้ตัวเอง.
    .คือสัจจะบารมี สัจจะในการลดกิเลส ในเรื่อง ความตระหนี่ถี่เหนียว
    สัจจะในการลดความโกรธ ลดความโลภ ลดความหลง ลดความอิจฉาริษยา

    และเพิ่มความเสียสละต่อตนเองและส่วนรวม.มีเมตตาต่อผู้อื่นไม่ว่าคนหรือสัตว์.
    เพิ่มความยินดีด้วยความเต็มใจกับความสำเร็จของผู้อื่นประกอบกันกับเรื่องดังกล่าวข้างต้นที่เล่ามา
    ก็จะเป็นเหตุให้จิตดวงนั้นมีกำลังสติทางธรรมเพียงพอที่จะถูกควบคุม
    จากสิ่งไม่ดีภายนอกต่างๆได้ครับ และสติทางปัญญาทางธรรมตัวนี้ต่อไปจะคอยเป็นเพื่อน
    ที่จะคอยป้องกันคอยเตือนเรา.ไม่ให้หลงใหลไปในเรื่องของความสามารถทางจิตต่างๆ
    ที่ถูกหลอกหล่อจากภายนอกต่างๆว่าจะมีเกิดขึ้นได้ง่ายๆหากเข้าร่วมหรือฝึกแบบเค้า
    ปัญญาทางธรรมตัวนี้จะทำให้เราเห็นถึงความเป็นจริงและสิ่งที่ควรจะเป็น ช่วยดึงเราให้
    อยู่ในทาง ให้เราเคารพพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง..และการสร้างบารมีจะเป็นเหตุให้เรา
    มีพันธ์มิตรมีฤิทธิ์ทางภพภูมิที่เข้ามาคอยเป็นเสมือนเกราะป้องกันตัวเราให้พ้นจากฝ่าย
    ภพภูมิมีฤิทธิ์ที่เป็นมิจฉาทิฐิทั้งหลาย ที่มีเป้าหมายเพื่อจะเข้ามาครอบคลุมจิตของเรา
    โดยเอาเรื่องสัมผัสเรื่องความสามารถต่างๆมาหลอกหล่อเราได้ครับ เนื่องจากเราจะมี
    สายตาที่เกิดจากระดับกิเลสที่น้อยลงเรื่อยๆจากการที่เราเดินปัญญาครับ..
    องค์ประกอบต่างๆที่เล่ามานี้จะเป็นเหตุให้เกิดผล
    แห่งความละเอียดและความหลุดพ้นจากอกุศลทั้งปวงได้เร็วขี้นครับ..
    ที่นี้ถ้าเราเกิดสนใจกรรมฐานพิเศษกองใดๆก็ตาม
    เพื่อน้ำกำลังสมาธิที่ได้ เพื่อมาขึ้นวิปัสสนาในระดับสูงสำหรับกิเลสส่วนละเอียดๆๆ
    ต่อไปในอนาคตข้างหน้าได้ครับ หากเรามีความเพียรพอ และเมตตาที่เพียงพอ
    และการเข้าถึงกรรมฐานพิเศษต่างๆของเราจะบังเกิดผลสำเร็จได้ง่าย
    ได้เร็วขึ้น เพราะจะได้รับการสนับสนุนจากครูบาร์อาจารย์
    หรือพันธิมิตรที่มีความชำนาญในกรรมฐานกองที่เราฝึกอยู่
    เข้ามาแนะนำเทคนิคต่างๆตลอดจนวิธีการใช้งาน เทคนิคการใช้งานต่างๆ แต่ทั้ง
    นี้ทั้งนั้นเราต้องตั้งเป้าไว้ด้วยว่าในระหว่างทางเราจะทำอะไรที่ก่อให้เกิดประโยชน์
    ต่อบุคคลอื่นๆมากกว่าส่วนตน และมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์เฉพาะในทางธรรม
    โดยจะมีการโน้ม ให้เราได้รู้ ได้เจอ หนทางเองไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง
    โดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปค้นคว้าตำราเพื่อมาฝึกครับ.
    หากวาระเวลามาถึงเนื่องจากองค์ประกอบพร้อม ต่อให้จิตไม่อยากว่าง
    มันก็ว่างของมันเองได้ครับ หากเราสร้างองค์ประกอบต่างๆเพื่อความสำเร็จ
    มายังไม่เพียงพอ.ก็ให้สร้างสะสมเรื่อยๆครับ.หากถึงเวลาที่เราทำอะไรจริงๆ
    ที่ทำให้บุคคลอื่นๆสัมผัสได้ ไม่ใช่รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเองในนิมิตร
    มีปัญญาทางธรรมมากจริงๆ ในระดับที่ปิ้งแว๊บได้.เราจะเข้าใจได้ด้วยตัวเรา
    เองซึ่งเป็นเรื่องปกติและทุกๆคนสามารถถึงจุดที่ว่านี้ได้ทุกๆคนครับ..
    ปล.แค่นี้หละครับ แค่เพียงแต่เล่าให้ฟัง
    และขอบคุณสำหรับพื้นที่ตรงนี้ครับ.......
     

แชร์หน้านี้

Loading...