พระพุทธเจ้า สอนวิธีการปฎิบัติตามลำดับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย chura, 11 เมษายน 2014.

  1. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    คุณ chura ครับ คุณปฏิบัติอานาปานสติอยู่หรือเปล่าครับ ถ้าปฏิบัติอยู่ผมชวนคุยด้วยครับเรื่อง ทั้ง16ลำดับ ตอนปฏิบัติจริง แลกเปลี่ยนความเห็นกันครับ ขอบคุณครับ
     
  2. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    ผมใช้อานาปานสติ หรือลมหายใจเพื่อความรู้สึกตัวทั่วพร้อม สัมประยุต์กับ
    การใชสติเห็น กาย เวทนา เป็นหลักครับ ผมไม่ได้ดูลมหายใจเป็นหลักครับ
    แต่คงใช้ลมหายใจร่วมไปกับการเห็นกาย ใจ ตลอดทางเช่นกันน๊ะครับ...


    แต่ถ้าคุณ First ot the North Star จะแจงวิธีอานาปานสติทั้ง 16 ลำดับ
    โดยละเอียดเป็นวิทยาทาน ก็ขอขอบคุณครับ..
     
  3. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    อานาปานสติบริบูรณ์ ย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว
    ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ?
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด ภิกษุ
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”;

    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
    เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เราย่อมกล่าวลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
    ว่าเป็นกายอย่างหนึ่ง ๆ ในบรรดากายทั้งหลาย.
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ ภิกษุนั้น
    ย่อมชื่อว่า เป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส
    มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด ภิกษุ
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”;
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุขหายใจออก”;
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่” หายใจออก”;

    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
    เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เราย่อมกล่าวว่า
    การทำในใจเป็นอย่างดีถึงลมหายใจเข้า และลมหายใจออก
    ว่าเป็นเวทนาอย่างหนึ่งๆ ในบรรดาเวทนาทั้งหลาย.
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะ
    เหตุนั้น ในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด ภิกษุ
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตหายใจออก”;
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก”;
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่หายใจออก”;
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่หายใจออก”;

    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ
    เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เราไม่กล่าวว่าอานาปานสติ
    เป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ.
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ ภิกษุนั้น
    ย่อมชื่อว่า เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด ภิกษุ
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
    ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว
    เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้
    ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว
    ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้.
     
  4. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    อนุโมทนากับคุณ chura ด้วยครับที่เจริญอานาปานสติ อานาปาสติเป็นวิธีที่มหัศจรรย์มาก ใครปฏิบัติอยู่จะรู้ถึงความน่าทึ่ง ถ้าให้ผมแจงอานาปาสติทั้ง 16 ลำดับผมว่ามันจะยาวไป ตอนนี้กำลังเขียนหนังสือเกี่ยวกับการปฏิบัติและอานาปาสติอยู่ครับ ถ้าเสร็จจะเอามาแชร์นะครับ แต่ในที่สุดต้องยึดพุทธวจนนั่นแหละครับถูกต้องที่สุด คำของพระองค์ถูกต้องตรงจริงทุกคำครับ
     
  5. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    คุณ chura ครับ โพส#23 คำของพระพุทธเจ้าบัญญัติอานาปานสตินี่ เป็นเหมือนคัมภีร์ปฏิบัติที่มีค่าเลยนะครับ ผมดูหนังจีน มีจอมยุทธแย่งชิงคัมภีร์สูงสุดกัน คนได้ไปเปิดมีเนื้อหาอยู่หน้าเดียว ตอนเด็กๆก็แปลกใจทำไมคัมภีร์แค่นั้นฝึกแล้วจะมีวรยุทธสูงสุดได้ไง พอมาเจอคำพระพุทธเจ้า ถึงบางอ้อเลยครับว่า บางทีแค่วรรคเดียว ท่อนเดียวก็พอ นี่ถ้าโพส#23 ใครเอาไปปฏิบัตินี่ พ้นทุกข์ได้เลยนะครับ ยิ่งใหญ่มาก คัมภีร์ปฏิบัติสูงสุดหาได้แพร่หลายมากในยุคเรา หาง่ายไม่ต้องต่อสู้แย่งชิงกัน แต่ไหงไม่ค่อยมีคนเอาคัมภีร์ปฏิบัตินี้ไปปฏิบัติกันนะครับ
     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ลมหายใจ(หรือคำภาวนา)ก็คือกายสังขาร(สิ่งที่ปรุงแต่ง)

    เมื่อพิจารณาไปด้วยความไม่ประมาทรอบคอบ รู้ตัวทั่วพร้อม

    จะเห็นความเปลี่ยนที่เกิดขึ้นที่กาย เวทนา จิต ธรรมได้อย่างชัดเจน

    เป็นภายใน เรียกว่า พิจารณากายในกายอันเป็นภายใน

    ขั้นตอนนี้สำคัญเป็นที่สุด เพราะทำให้สติปัฏฐาน๔บริบูรณ์ อย่าใจเร็วด่วนได้

    ควรปรับพื้นฐานในขั้นตอนนี้จนชำนาญเป็นวสี อย่าย่อท้อ

    ส่วนขั้นตอนอื่นนั้น พิจารณากายในกายเป็นภายนอกบ้าง

    พิจารณากายในกายทั้งภายในและภายนอกบ้างฯ

    เมื่อรู้จักขั้นตอนกายในกายดีแล้ว ก็จะรู้เองว่าควรดำเนินต่อไปอย่างไร?

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน

     
  7. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    คุณ ธรรมภูต ครับ ที่ว่า --- พิจารณากายในกายเป็นภายนอกบ้าง พิจารณากายในกายทั้งภายในและภายนอกบ้างฯ --- นี้เป็นอย่างไรครับ ช่วยขยายความด้วยครับ ขอบคุณครับ
     
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^

    การพิจารณากายในกายเป็นภายนอก(ลืมตา) คือ สภาวะที่ต้องดำรงชีวิตประจำวัน

    เอาผลที่ได้จากการพิจารณากายในกายเป็นภายใน (หลับตา)มาใช้

    ขณะที่นั่งสมาธิภาวนา(พิจารณากายในกายเป็นภายใน) ธรรมารมณ์มักผุดขึ้นมาให้ได้พิจารณา

    ส่วนการดำรงชีวิตประจำวัน(พิจารณากายในกายเป็นภายนอก) ธรรมารมณ์มักเข้ามากระทบให้ได้พิจารณาปล่อยวาง

    สมาธิไม่ได้ให้ใช้ตอนหลับตาเท่านั้น แม้ตอนลืมตาก็ต้องมีจิตที่สงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวได้

    เมื่อกระทบธรรมารมณ์ที่เข้ามาเยือน ทำจิตให้สงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  9. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    พระพุทธเจ้าสอน พระนันทาเถรี ให้พิจารณารูป(กาย)กระทั่งบรรลุธรรม

    เอตทัคคะผู้ยินดีในฌาน



    เจ้าหญิงในศากยวงศ์ที่ชื่อนันทา นั้นมีปรากฏอยู่หลายองค์ เรียกว่า “นันทา” บ้าง “รูปนันทา” บ้าง สุนทรีนันทา” บ้าง “อภิรูปนันทา” บ้าง แต่เมื่อวิเคราะห์ดูแล้ว จะเหลือเพียง ๒ องค์ คือ เจ้าหญิงรูปนันทา และเจ้าหญิงอภิรูปนันทา

    เจ้าหญิงทั้งสองนั้น เจ้าหญิงรูปนันทา เป็นพระธิดาของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ และพระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นพระขนิษฐภคินีของเจ้าชายนันทะ ส่วนเจ้าหญิงอภิรูปนันทา นั้น อรรถกถากล่าวว่า เป็นพระธิดาของพระเจ้าเขมกศากยะ มีคู่หมั้นชื่อ เจ้าชายสัจจกุมาร แต่พระคู่หมั้นก็ได้สิ้นพระชนม์ลงในวันหมั้นนั่นเอง

    เรื่องราวของ เจ้าหญิงรูปนันทา และ เจ้าหญิงอภิรูปนันทานี้ ตามอรรถกถาได้กล่าวไว้คล้ายคลึงกันมาก ตั้งแต่ เป็นเจ้าหญิงในศากยวงศ์เหมือนกัน ชื่อคล้ายกัน เป็นผู้มีความงามอย่างยิ่งเหมือนกัน เป็นผู้หลงในความงามของตนเองเหมือนกัน ออกบวชเป็นภิกษุณีโดยไม่ศรัทธาเหมือนกัน และพระบรมศาสดาได้ทรงใช้อุบายในการแสดงธรรมในลักษณะอย่างเดียวกัน จนกระทั่งพระนางทั้งสองบรรลุพระอรหันต์

    ประวัติที่จะกล่าวต่อไปนี้ จะเป็นประวัติของ เจ้าหญิงรูปนันทา ซึ่งต่อมาได้ออกบวชเป็นพระภิกษุณี และได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นยอดของภิกษุณีทั้งหลายผู้ยินดีในฌาน ทั้งนี้ก็โดยเหตุที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปดังนี้

    ตั้งความปรารถนาไว้ในอดีต

    ดังได้สดับมา พระนันทาเถรีนั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้ถือปฏิสนธิในสกุลเศรษฐี กรุงหังสวดี ต่อมา ขณะเมื่อกำลังฟังธรรมกถาอยู่ เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกา ผู้ยินดียิ่งในฌาน จึงได้นิมนต์พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกพร้อมด้วยพระสงฆ์ ได้ถวายมหาทานแด่พระองค์ด้วยมือของตน แล้วตั้งความปรารถนาในตำแหน่งนั้นบ้างในสมัยแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นในอนาคต

    ครั้งนั้นพระสุคตเจ้าทรงพยากรณ์ว่า นางจักได้ตำแหน่งที่ปรารถนาดีแล้วนั้น ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้พระศาสดาพระนามว่าโคดม มีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก นางจักได้เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักเป็นสาวิกาของพระองค์ มีนามชื่อว่านันทา

    เมื่อได้ฟังพระพุทธพจน์นั้นแล้วนางก็มีใจยินดีมีจิตประกอบด้วยเมตตา บำรุงพระพิชิตมาร ด้วยปัจจัยทั้งหลายตลอดชีวิต ด้วยกุศลกรรมที่ได้ทำไว้ดีนั้นและด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ เมื่อละร่างกายมนุษย์แล้ว ก็ได้เวียนว่ายอยู่ในภพภูมิเทวดาและมนุษย์ ตลอดแสนกัป

    ในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

    ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมหาปชาบดีโคตมี พระมเหสีในพระเจ้าสุทโธทนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ มีพระเชษฐาชื่อเจ้าชายนันทะ ทั้งสองพระองค์มีฐานะเป็นน้องต่างพระมารดากับเจ้าชายสิทธัตถะ พระประยูรญาติได้เฉลิมพระนามพระนางว่า รูปนันทา ต่อมาเมื่อทรงเติบใหญ่ขึ้น ก็ทรงพระสิริโฉมเป็นอย่างยิ่ง จนได้ชื่อว่า ชนบทกัลยาณี

    ศากยวงศ์นั้นได้ชื่อว่าเป็นวงศ์ที่มีความบริสุทธิ์แห่งชาติเป็นอย่างยิ่ง จะไม่ยอมอภิเษกกับราชวงศ์อื่นที่ต่ำกว่าเป็นอันขาด และเมื่อเจ้าชายนันทะโตพอที่จะอภิเษกได้แล้ว เมื่อในขณะนั้นไม่มีราชธิดาของราชวงศ์ที่เสมอกันแล้วจึงให้ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงรูปนันทา ผู้เป็นพระกนิษฐภคินีเพื่อรักษาพระวงศ์ให้บริสุทธิ์

    วันที่กำหนดให้เป็นวันวิวาหมงคลของเจ้าชายนันทะ และเจ้าหญิงรูปนันทา นั้น เป็นวันที่ ๓ นับแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อโปรดพระพุทธบิดาและหมู่พระญาติ

    ในวันวิวาหมงคลนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จไปในงาน เมื่อไปถึงจึงเสด็จเข้าไปบิณฑบาต จากนั้นเมื่อจะเสด็จกลับ ได้ทรงประทานบาตรในหัตถ์ของนันทกุมาร ตรัสอวยพรแล้วเสด็จลุกจากอาสนะ โดยหาได้ทรงรับบาตรจากหัตถ์ของนันทกุมารคืนมาไม่

    นันทะพุทธอนุชาออกบวช

    ฝ่ายนันทกุมารนั้น ด้วยความเคารพในพระตถาคต จึงมิอาจทูลว่า “ ขอพระองค์รับบาตรไปเถิด พระเจ้าข้า ” แต่คิดว่า “ พระศาสดา คงจักทรงรับบาตรคืนที่หัวบันได ” แต่เมื่อถึงที่นั้นพระศาสดาก็มิได้ทรงรับ นันทกุมารจึงคิดว่า “ คงจักทรงรับที่ริมเชิงบันได ” แม้ถึงที่นั้นแล้ว พระศาสดา ก็ไม่ทรงรับ นันทกุมารก็คิดว่า “ จักทรงรับที่พระลานหลวง ” แม้ถึงที่นั้นแล้วพระศาสดาก็ไม่ทรงรับ

    พระกุมารปรารถนาจะเสด็จกลับ แต่จำเสด็จไปด้วยความไม่เต็มพระทัย เพราะด้วยความเคารพในพระตถาคต จึงไม่กล้าทูลว่า “ ขอพระองค์ทรงรับบาตรเถิด ” ทรงเดินก็นึกเอาว่า “ พระองค์จักทรงรับในที่นี้ พระองค์จักทรงรับในที่นี้ ” ในขณะนั้นพวกนางข้าหลวงของเจ้าหญิงรูปนันทาเห็นอาการนั้นแล้ว จึงบอกแก่เจ้าหญิงว่า “ พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพานันทกุมารเสด็จไปแล้ว คงจักพรากนันทกุมารจากพระแม่เจ้า ”

    ฝ่ายพระนางรูปนันทาเมื่อได้ยินดังนั้น ทั้งที่ยังทรงเกล้าพระเกศาค้างอยู่ ก็รีบเสด็จไปที่พระบัญชร ทูลกับพระกุมารนั้นว่า “ ข้าแต่พระลูกเจ้า ขอพระองค์พึงด่วนเสด็จกลับ ” คำของนางนั้น ประหนึ่งตกไปขวางตั้งอยู่ในหทัยของนันทกุมาร

    แม้พระศาสดา ก็ยังไม่ทรงรับบาตรจากหัตถ์ของนันทกุมารนั้นเลย ทรงนำนันทกุมารนั้นไปสู่วิหารแล้วตรัสว่า “ นันทะ เธออยากบวชไหม ? ” นันทกุมารนั้น ด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า จึงไม่กล้าทูลว่า “ จักไม่บวช ”จึงทูลรับว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จักบวชพระเจ้าข้า ”พระศาสดารับสั่งว่า “ ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้น เธอทั้งหลายจงให้นันทะบวชเถิด ”

    ต่อมาพระนันทเถระก็ได้บำเพ็ญเพียรจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ ภายหลังพระผู้มีพระภาคได้ทรงแต่งตั้งให้ท่านได้เป็น เอตทัคคะผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์

    พระนางรูปนันทาออกทรงผนวช

    ต่อมา เมื่อพระเจ้าสุทโธทนมหาราชเสด็จปรินิพพานแล้ว และเมื่อพระมหาปชาบดีโคตมีและพระนางพิมพาบวชแล้ว พระนางก็คิดว่า พระเชษฐภาดาของเราทรงละความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิออกบวชเป็นพระพุทธเจ้าผู้อัครบุคคลในโลก แม้ราหุลกุมารผู้เป็นพระโอรสของพระองค์ก็บวช เจ้าชายนันทราชภัสดาของเราก็ดี พระมหาปชาบดีโคตมีพระมารดาก็ดี พระนางพิมพาพระภคินีก็ดี ก็บวชกันหมดแล้ว บัดนี้ตัวเราจักทำอะไรอยู่ในวังเล่า เราก็ควรจักบวชด้วยเหมือนกัน เธอจึงไปยังสำนักพระมหาปชาบดีโคตมี และทรงผนวช

    พระนางไม่เข้าเฝ้าพระศาสดาเพราะเกรงถูกตำหนิ

    แต่การบวชของพระนางเป็นบวชด้วยความรักพวกพระญาติ ไม่ได้บวชด้วยศรัทธาฉะนั้น ถึงบวชแล้วก็ยังหลงใหลด้วยความเจริญแห่งรูป จึงไม่ไปเฝ้าพระศาสดา ด้วยคิดว่าพระศาสดาทรงตำหนิติเตียนรูป ทรงแสดงโทษในรูปโดยอเนกปริยาย เมื่อพระศาสดาเห็นรูปของเราซึ่งน่าดู น่าเลื่อมใสอย่างนี้แล้ว จะพึงตรัสโทษในรูป

    เมื่อถึงวาระที่จะต้องไปรับพระโอวาท ก็สั่งภิกษุณีรูปอื่นไปแล้วให้นำพระโอวาทมาแสดงแก่พระนาง

    พระนางรูปนันทาเถรีเข้าเฝ้าทรงสดับธรรม

    ในสมัยนั้น พวกชาวพระนครสาวัตถี ถวายทานแต่เช้าตรู่ สมาทานอุโบสถแล้วห่มผ้าสะอาด มีมือถือของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น พอตกเวลาเย็น ก็ประชุมกันฟังธรรมในพระเชตวัน แม้ภิกษุณีสงฆ์ผู้เกิดฉันทะในพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ก็ย่อมไปวิหารฟังธรรม ชาวพระนครสาวัตถีเหล่านั้นครั้นฟังธรรมแล้ว เมื่อกลับเข้าไปสู่พระนคร ก็กล่าวแต่คุณกถาของพระศาสดาเท่านั้นกันอยู่ทั่วไป

    พระนางรูปนันทา ได้สดับคำพรรณนาคุณของพระตถาคตเหล่านั้นจากพวกภิกษุณีและพวกอุบาสิกา จึงทรงดำริว่า "ชนทั้งหลาย ย่อมกล่าวชมเจ้าพี่ของเรานักหนาทีเดียว แม้ในวันหนึ่ง พระองค์เมื่อจะตรัสโทษในรูปของเรา จะตรัสได้สักเท่าไร ? ถ้ากระไร เราพึงไปกับพวกภิกษุณี แต่จะไม่แสดงตนเลย เฝ้าพระตถาคตฟังธรรมแล้วค่อยกลับมา."

    พระนางจึงตรัสบอกแก่พวกภิกษุณีว่า "วันนี้ ฉันจักไปสู่ที่ฟังธรรม."

    พวกภิกษุณีมีใจยินดีว่า "นานนักหนา การที่พระนางรูปนันทาทรงมีพระประสงค์จะเสด็จไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว วันนี้พระศาสดา ทรงอาศัยพระนางรูปนันทานี้แล้ว จักทรงแสดงพระธรรมเทศนาอันวิจิตร" ดังนี้แล้วก็พาพระนางออกไป ตั้งแต่เวลาที่ออกไป พระนางก็ทรงดำริว่าจะไม่แสดงพระองค์เลย

    พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พระนาง

    พระศาสดาทรงดำริว่า "วันนี้ รูปนันทาจักมาที่บำรุงของเรา ธรรมเทศนาเช่นไรหนอแล ? จักเป็นที่สบายของเธอ" ทรงทำความตกลงพระหฤทัยว่า "รูปนันทานั่น หนักในรูป มีความเยื่อใยในอัตภาพอย่างรุนแรง การบรรเทาความเมาในรูปด้วยรูปนั่นแล เป็นที่สบายของเธอ ดุจการบ่งหนามด้วยหนามฉะนั้น"

    ในเวลาที่พระนางเข้าไปสู่วิหารจึงทรงนิรมิตหญิงมีรูปสวยพริ้งผู้หนึ่ง อายุราว ๑๖ปี นุ่งผ้าแดง ประดับแล้วด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง ถือพัด ยืนถวายงานพัดอยู่ในที่ใกล้พระองค์ด้วยกำลังพระฤทธิ์

    ก็แล พระศาสดาและพระนางรูปนันทาเท่านั้น ทรงเห็นรูปหญิงนั้น

    พระนางเสด็จเข้าไปวิหารพร้อมกับภิกษุณีทั้งหลาย ทรงยืนข้างหลังพวกภิกษุณี ถวายบังคมพระศาสดาด้วยเบญจางคประดิษฐ์ นั่งในระหว่างพวกภิกษุณี ทรงแลดูพระศาสดาตั้งแต่พระบาท ทรงเห็นพระสรีระของพระศาสดาวิจิตรแล้วด้วยพระลักษณะ รุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะ อันพระรัศมีวาหนึ่งแวดล้อมแล้ว ทรงแลดูพระพักตร์อันมีสิริดุจพระจันทร์เพ็ญ ได้ทรงเห็นรูปหญิงยืนอยู่ในที่ใกล้แล้ว

    พระนางทรงแลดูหญิงนั้นแล้ว ทรงแลดูอัตภาพของตน รู้สึกว่าตนเหมือนนางกา ซึ่งอยู่ข้างหน้านางพระยาหงส์ทอง ก็นับแต่เวลาที่พระนางทรงเห็นรูปอันสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์นั้น พระเนตรทั้งสองของพระนางก็วิงเวียน พระนางมีจิตอันสิริโฉมแห่งสรีรประเทศทั้งหมดดึงดูดไปแล้วว่า "โอ ผมของหญิงนี้ก็งาม โอ หน้าผากก็งาม" ดังนี้ ได้มีสิเนหาในรูปนั้นอย่างรุนแรง

    พระศาสดาทรงทราบความยินดีอย่างสุดซึ้งในรูปนั้นของพระนาง พอเมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงทรงแสดงรูปนั้นให้ล่วงภาวะของผู้มีอายุ ๑๖ ปี มีอายุราว ๒๐ ปี พระนางรูปนันทาได้ทอดพระเนตรมีจิตเบื่อหน่ายหน่อยหนึ่งว่า "รูปนี้ไม่เหมือนรูปก่อนหนอ."

    พระศาสดาทรงแสดงความแปรเปลี่ยนของหญิงนั้นโดยลำดับเทียว คือ เพศหญิงคลอดบุตรครั้งเดียว เพศหญิงกลางคน เพศหญิงแก่ เพศหญิงแก่คร่ำคร่าแล้วเพราะชรา แม้พระนางก็ทรงเบื่อหน่ายรูปนั้น ในเวลาที่ทรุดโทรมเพราะชราโดยลำดับเหมือนกัน ว่า "โอ รูปนี้ หายไปแล้วๆ"

    ครั้นทรงเห็นรูปนั้นมีฟันหัก ผมหงอก หลังโกง มีซี่โครงขึ้นดุจกลอน มีไม้เท้ายันข้างหน้า งกงันอยู่ ก็ทรงเบื่อหน่ายเหลือเกิน

    ลำดับนั้น พระศาสดาทรงแสดงรูปหญิงนั้นให้เป็นรูปอันพยาธิครอบงำ ในขณะนั้นเอง หญิงนั้นทิ้งไม้เท้าและพัดใบตาล ร้องเสียงขรม ล้มลงที่ภาคพื้น จมลงในอุจจาระและปัสสาวะของตน กลิ้งเกลือกไปมา

    พระนางรูปนันทา ทรงเห็นหญิงนั้นแล้ว ทรงเบื่อหน่ายเต็มที

    พระศาสดา ทรงแสดงมรณะของหญิงนั้นแล้ว

    หญิงนั้นกลายเป็นศพพองขึ้นในขณะนั้นเอง สายแห่งหนองและหมู่หนอนไหลออกจากทวารทั้ง ๙ ฝูงสัตว์มีกาเป็นต้นรุมแย่งกันกินแล้ว

    พระนางรูปนันทา ทรงพิจารณาซากศพนั้นแล้ว ทรงเห็นอัตภาพโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงว่า "หญิงนี้ถึงความแก่ ถึงความเจ็บ ถึงความตาย ในที่นี้เอง ความแก่ ความเจ็บและความตาย จักมาถึงแก่อัตภาพแม้นี้อย่างนั้นเหมือนกัน."

    และเพราะความที่อัตภาพเป็นสภาพอันพระนางทรงเห็นแล้ว โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงนั่นเอง อัตภาพนั้น จึงเป็นอันทรงเห็นแล้วโดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตาทีเดียว

    ลำดับนั้น ภพทั้งสามปรากฏแก่พระนางดุจถูกไฟเผาลนแล้ว และดุจซากศพอันเขาผูกไว้ที่พระศอ จิตมุ่งตรงต่อกรรมฐานแล้ว

    พระศาสดาทรงทราบว่า พระนางทรงคิดเห็นอัตภาพโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงแล้ว จึงทรงพิจารณาดูว่า "พระนางจักสามารถทำที่พึ่งแก่ตนได้เองทีเดียวหรือไม่หนอแล ?"

    ทรงเห็นว่า "จักไม่อาจ การที่พระนางได้ปัจจัยภายนอกเสียก่อน จึงจะเหมาะ" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม ด้วยอำนาจธรรมเป็นที่สบายแห่งพระนาง ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

    "นันทา เธอจงดูกายอันกรรมยกขึ้น อันอาดูร

    ไม่สะอาด เปื่อยเน่า ไหลออกอยู่ข้างบน ไหลออก

    อยู่ข้างล่าง ที่พาลชนทั้งหลายปรารถนากันนัก;

    สรีระของเธอนี้ ฉันใด สรีระของหญิงนั่น ก็ฉันนั้น,

    สรีระของหญิงนั่น ฉันใด สรีระของเธอนี้ ก็ฉันนั้น:

    เธอจงเห็นธาตุทั้งหลายโดยความเป็นของสูญ อย่า

    กลับมาสู่โลกนี้อีก เธอคลี่คลายความพอใจในภพ

    เสียแล้ว จักเป็นบุคคลผู้สงบเที่ยวไป."

    พระนางนันทาสำเร็จโสดาปัตติผล

    ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรารภพระนางนันทาภิกษุณี ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล พระนางนันทา ทรงส่งญาณไปตามกระแสเทศนา บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว

    พระศาสดาทรงแสดงวิปัสสนา

    ลำดับนั้น พระศาสดาเพื่อจะตรัสสุญญตกรรมฐาน เพื่อต้องการอบรมวิปัสสนาเพื่อมรรคผลทั้งสามยิ่งขึ้นไปแก่พระนาง จึงตรัสว่า

    "แน่ะนันทา ในสรีระนี้ไม่มีสาระแม้มีประมาณน้อยเลย กายนี้มีเนื้อและเลือดฉาบทาไว้ เป็นที่อยู่ของชราเป็นต้น เป็นเพียงกองกระดูกเท่านั้น ดังนี้" แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า

    "สรีระอันกรรมทำให้เป็นนครแห่งกระดูกทั้งหลาย

    ฉาบด้วยเนื้อและโลหิต เป็นที่ตั้งลงแห่งชรา มรณะ

    มานะ และมักขะ."

    ในกาลจบเทศนา พระนางรูปนันทาเถรีได้บรรลุพระอรหัตผล.พระธรรมเทศนาได้เป็นกถามีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล

    ทรงแต่งตั้งเป็นเอตทัคคะผู้ยินดีในฌาน

    ภายหลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาพวก ภิกษุณีไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระนันทเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้เลิศกว่า ภิกษุณีทั้งหลายผู้ยินดีในฌาน
     
  10. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    331 ขันธ์ ๕ เป็นฐานสังโยชน์-อุปาทาน

    ปัญหา สังโยชน์และธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ คืออะไร อุปาทานและธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คืออะไร?

    พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ความกำหนัดยินดีในรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ชื่อว่าสังโยชน์.....
    “รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ชื่อว่าธรรม เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความกำหนัดยินดีในรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณนั้นชื่อว่าอุปาทาน”

    สังโยชน์สูตร (๓๐๘) อุปาทานสูตร (๓๐๙) ขันธ. สํ.
    ตบ. ๑๗ : ๒๐๒-๒๐๓ ตท. ๑๗ : ๑๗๗
    ตอ. K.S. ๓ : ๑๔๒-๑๔๓
     
  11. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    476 วิธีละสังโยชน์เบื้องสูง

    ปัญหา ทำอย่างไรจึงจะละสังโยชน์เบื้องสูงทั้ง ๕ ได้?

    พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๕ เหล่านี้ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้รอบ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องสุง ๕ เหล่านี้แล...”

    คังคาทิเปยยาลแห่งสติปัฏฐานสังยุตต์ที่ ๖ มหา. สํ. (๘๔๒)
    ตบ. ๑๙ : ๒๕๔-๒๕๕ ตท. ๑๙ : ๒๔๐-๒๔๑
    ตอ. K.S. ๕ : ๑๖๓-๑๖๘
     
  12. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    524 อริยสัจจ์ ๔ โดยย่อ

    ปัญหา อริยสัจจ์ ๔ โดยย่อนั้นได้แก่อะไร?

    พุทธดำรัสตอบ “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจจ์ก็คือความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความประจวบกับบุคคลและสิ่งอันไม่น่ารัก ความพลัดพรากจากบุคคลหรือสิ่งอันเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้ก็เป็นทุกข์ เมื่อสรุปแล้วขันธ์ ๕ ที่คนเข้าไปยึดถือเป็นทุกข์
    “อริยสัจจ์ คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ คือความอยากอันเป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดยินดี ความเพลิดเพลินในภาพนั้นๆ ได้แก่ ความอยากในกาม (กามตัณหา) ความอยากในภพ (ภวตัณหา) ความอยากในความสูญ (วิภวตัณหา)
    “อริยสัจจ์ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ความดับเพราะความกำหนัดอย่างสิ้นเชิง ความสละ ความสลัดออก ความหลุดพ้น ความไม่มีเยื่อใยในตัณหานั้นแล
    “อริยสัจจ์ คือ ทางไปสู่ความดับทุกข์ ก็คืออริยมรรคอันประกอบด้วย องค์ ๘ ประการ...”

    ตถาคตสูตร ที่ ๑ มหา. สํ. (๑๖๖๕ )
    ตบ. ๑๙ : ๕๒๘-๕๒๙ ตท. ๑๙ : ๔๗๗-๔๗๘
    ตอ. K.S. ๕ : ๓๕๗-๓๕๘
     
  13. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    532 อริยสัจจ์เป็นเรื่องด่วน

    ปัญหา อริยสัจจ์ ๔ เป็นเรื่องเร่งรีบที่ควรจะตรัสรู้และเป็นเรื่องที่มีค่า ควรกระทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อตรัสรู้ แม้จะลำบากแสนสาหัสก็ตามอย่างไร ?

    พุทธดำรัสตอบ “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อผ้าโพกศีรษะหรือศีรษะถูกไฟไหม้ ควรจะทำอย่างไร ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ควรกระทำความต้องการอย่างรุนแรง ความพยายาม ความอุตสาหะ.... เพื่อจะดับผ้าโพกและศีรษะนั้น
    “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเฉยเสีย ไม่เอาใจใส่ต่อผ้าโพกหรือศีรษะที่ถูกไฟไหม้อยู่ โดยที่แท้ควรสร้างความต้องการอย่างรุนแรง ความพยายาม ความอุตสาหะ...เพื่อจะตรัสรู้ อริยสัจจ์ ๔ ที่ยังมิได้ตรัสรู้....
    “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีอายุหนึ่งร้อยปี พึงกล่าวกับบุรุษผู้มีชีวิตร้อยปีอย่างนี้ว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ คนทั้งหลายจักเอาหอกทิ่มแทงท่านในเวลาเช้า...เวลาเที่ยง....เวลาเย็น เวลาละร้อยเล่ม ท่านนั้นถูกเขาเอาหอกสามร้อยเล่มทิ่มแทงอยู่ทุก ๆ วัน จักมีชีวิตอยู่ร้อยปี และเมื่อเวลาล่วงไปครบหนึ่งร้อยปี จักได้ตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔ ที่ยังไม่ได้ตรัสรู้
    “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มุ่งประโยชน์ควรจะรับเอาการลงทัณฑ์นั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าการท่องเที่ยวไปในวัฏฏะนี้ ไม่มีใครรู้ที่สุดได้ การประหารด้วยหอก ดาบ หลาว และควาน ย่อมไม่ปรากฏมีเบื้องต้นหรือที่สุดถ้าแม้นว่า จะถูกประหารในวาระสุดท้ายเช่นนั้นจริง เราก็ไม่กล่าวว่าการตรัสรู้ อริยสัจจ์ ๔ นั้น เกิดขึ้นพร้อมด้วยความทุกข์ ความโทมนัส แต่เรากล่าวการอริยสัจจ์ ๔ นั้นว่าเกิดพร้อมด้วยความ สุขและโสมนัส...”


    เจลสูตและสัตติสตสูตร มหา. สํ. (๑๗๑๗-๑๗๑๘ )
    ตบ. ๑๙ : ๕๕๐-๕๕๑ ตท. ๑๙ : ๔๙๕-๔๙๖
    ตอ. K.S. ๕ : ๓๗๒-๓๗๓
     
  14. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    305 วิธีคิดเกี่ยวกับขันธ์ ๕

    ปัญหา บุคคลควรคิดและปฏิบัติเกี่ยวกับขันธ์ ๕ อย่างไรบ้าง ?

    พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุ รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มิใช่ของตน ล้วนจูงใจให้กำหนัด ควรละความพอใจในสิ่งนั้น ๆ เสีย....”

    อนิจจสูตร ฯลฯ ขันธ. สํ. (๑๔๒, ๑๔๓ ,๑๔๔ , ๑๔๕ , ๑๔๖)
    ตบ. ๑๗ : ๙๔-๙๗ ตท. ๑๗ : ๘๓-๘๗
    ตอ. K.S. ๓ : ๖๕-๖๖
     
  15. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    302 ความหมายของอนัตตา

    ปัญหา คำว่า “อนัตตา” มีความหมายว่าอย่างไร

    พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นอนัตตา (ไม่ใช่ตัวตนอันเป็นอมตภาพตามทัศนะของฮินดู) ถ้าหากว่า... จักเป็นอัตตาไซร้ รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ นี้คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่า ขอรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ก็เพราะเหตุที่รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นอนัตตา ฉะนั้น.... จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนา....”

    ปัญจวัคคิยสูตร ขันธ. สํ. (๑๒๗)
    ตบ. ๑๗ : ๘๒-๘๓ ตท. ๑๗ : ๗๑-๗๒
    ตอ. K.S. ๓ : ๕๙-๖๐
     
  16. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    310 วิธีสร้างความหน่ายในขันธ์

    ปัญหา เราควรจะพิจารณาขันธ์ ๕ อย่างไร จึงจะเกิดความเบื่อหน่ายในขันธ์ ๕?

    พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราถูก รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เคี้ยวกินอยู่ แม้ในอดีตกาลเราก็ถูกรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ กินแล้วถ้าเราชื่นชมรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ในอนาคต.... เราก็ถึงถูกรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ กิน เหมือนกับที่ถูกกินอยู่ในปัจจุบันนี้ เธอพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมไม่มีความอาลัยในรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ที่เป็นอดีต ย่อมไม่ชื่นชมรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพ่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ปัจจุบัน”

    ขัชชนิสูตร ขันธ. สํ. (๑๖๐)
    ตบ. ๑๗ : ๑๐๖-๑๐๗ ตท. ๑๗ : ๙๕-๙๖
    ตอ. K.S. ๓ : ๗๔
     
  17. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    315 รู้อย่างไร อาสวะจึงจะสิ้น

    ปัญหา ทางพุทธศาสนาถือว่า ความรู้เห็นแจ้งจะทำให้อาสวะ ทั้งหลายสิ้นไปได้ รู้อย่างไร เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงจะสิ้นไป?

    พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ผู้มิได้รับรู้แล้ว....ย่อมพิจารณาเห็น รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตน.... ก็การพิจารณาเห็นดังนั้นและเป็นสังขาร... สังขาร... สังขารนั้นเกิดจากตัณหา ตัณหานั้นเกิดจากเวทนา เวทนานั้นเกิดจากการถูกต้องแห่งอวิชชา...
    “ปุถุชน ย่อมไม่พิจารณาเห็น รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตน.... แต่พิจารณาเห็นว่าตนมีรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ การพิจารณาเห็นดังนั้นก็เป็นสังขาร
    “ปุถุชน ย่อมไม่พิจารณาเห็น รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตน.... ย่อมไม่พิจารณาเห็นว่าตนมีรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ แต่พิจารณาเห็นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ก็การพิจารณาเห็นดังนั้นก็เป็นสังขาร
    “ปุถุชน ย่อมไม่พิจารณาเห็น รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตน.... ย่อมไม่พิจารณาเห็นว่าตนมีรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ย่อมไม่พิจารณาเห็นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ แต่ว่าพิจารณาเห็นตนในรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ก็การตามเห็นดังนั้นแลเป็นสังขาร
    “ปุถุชน ย่อมไม่พิจารณาเห็น รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตน.... แต่มีความเห็นอย่างนี้ว่า ตนก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา... ก็มีความเห็นว่าเที่ยงแท้เช่นนั้นก็เป็นสังขาร...
    “ปุถุชน ย่อมไม่พิจารณาเห็น รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตน.... เป็นผู้ไม่มีความเห็นเช่นนี้ว่า ตนก็อันนั้น โลกก็อันนั้น แต่ว่าเป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ถ้าเราพึงมีของ ของเราก็ไม่พึงมี เราจักไม่มีของ ของเราก็จักไม่มี.... ก็ความเห็นว่าขาดสูญเช่นนั้นก็เป็นสังขาร...
    “ปุถุชน... เป็นผู้ไม่มีความเห็นว่า ถ้าเราไม่พึงมีของของเราก็ไม่พึงเรา
    เราจักไม่มีของ ของเราก็จักไม่มี.... แต่ว่ายังเป็นผู้มีความสงสัยเคลือบแคลง ไม่แน่ใจสัทธรรม.... ก็ความเห็นผู้มีความสงสัยเคลือบแคลง...เช่นนั้นก็เป็นสังขาร....
    “ก็สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ? สังขารนั้นเกิดจากตัณหา ตัณหาเกิดจากเวทนา เวทนาเกิดจากการถูกต้องแห่งอวิชชา ด้วยประการฉะนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้นแม้ ตัณหา เวทนา ผัสสะ อวิชชา นั้นไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปโดยลำดับ”

    ปาลิเลยยสูตร ขันธ. สํ. (๑๗๔-๑๘๑)
    ตบ. ๑๗ : ๑๑๖-๑๒๑ ตท. ๑๗ : ๑๐๓-๑๐๗
    ตอ. K.S. ๓ : ๘๒-๘๔
     
  18. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    327 ควรเจริญอนิจจสัญญา

    ปัญหา การเจริญอนิจสัญญา (ความหมายรู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอนิจจัง) ก่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างไร? มีอุปมาด้วยอะไรบ้าง?

    พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวง.... รูปราคะทั้งปวง...ภวราคะทั้งปวง.... อวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้ เปรียบเหมือนในถูดูใบไม้ร่วง ชาวนาไถนาด้วยไถคันใหญ่ ย่อมไถทำลายความสืบต่อแห่งราก....เหมือนคนเกี่ยวหญ้ามุงกระต่าย เกี่ยวแล้วจับปลายเขย่า ฟาดสลัดออก เหมือนเมื่อพวงมะม่วงหลุดจากขั้ว มะม่วงทั้งหมดที่ติดอยู่กับขั้ว ย่อมหยุดไปตามขั้วนั้น เหมือนไม้กลอนแห่งเรือนยอดทุกอันชี้ไปสู่ยอด ทอดไปสู่ยอดประชุมลงที่ยอด เหมือนไม้กระลำพัก ชนทั้งหลายกล่าวว่าเลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่รากใด ๆ เหมือนไม้จันทน์แดง ชนทั้งหลายกล่าวว่าเลิศกว่าไม้มีกลิ่นมีกลิ่นที่แก่นใคร ๆ เหมือนมะลิ ชนทั้งหลายกล่าวว่าเลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่ดอกใด ๆ เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ เลิศกว่าแสงดาวทั้งปวง เหมือนแสงพระจันทร์ เลิศกว่าแสงดาวทั้งปวง เหมือนในฤดูใบไม้ร่วงท้องฝ้าบริสุทธิ์ปราศจากเมฆ พระอาทิตย์ขึ้นสู่ท้องฟ้าย่อมส่องแสงและเปล่งแสงไพโรจน์กำจัดความมืดในอากาศทั่วไป....”

    สัญญาสูตร ขันธ. สํ. (๒๗๒)
    ตบ. ๑๗ : ๑๘๙-๑๙๐ ตท. ๑๗ : ๑๖๒-๑๖๔
    ตอ. K.S. ๓ : ๑๓๒-๑๓๓
     
  19. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    344 อายตนะกับไตรลักษณ์

    ปัญหา อายตนะภายในและภายนอกเกี่ยวข้องกับไตรลักษณ์อย่างไร ?

    พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา....
    “ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา....
    “ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา ท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา....
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา....
    “รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา....
    “รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า มันไม่ใช่ของเรา....
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึง ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...ที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้วเห็นอยู่อย่างนี้ย่อมไม่มีเยื่อใยในตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...ที่เป็นอดีตย่อมไม่เพลิดเพลินตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...ที่เป็นอนาคตย่อมปฏิบัติเพื่อดับตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... ที่เป็นปัจจุบัน
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์
    ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึง รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้วเห็นอยู่อย่างนี้ย่อมไม่มีเยื่อใยในรูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ที่เป็นอนาคตย่อมปฏิบัติเพื่อดับรูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ที่เป็นปัจจุบัน...”


    อนิจจวรรคที่ ๑ สฬา. สํ. (๑-๑๒)
    ตบ. ๑๘ : ๑-๗ ตท. ๑๘ : ๑-๖
    ตอ. K.S. ๔ : ๑-๔
     
  20. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    235 เจริญมรณัสสติอย่างไร

    ปัญหา ทางพระพุทธศาสนาสนให้หมั่นเจริญมรณัสสติ คือ การระลึกถึงความตายเพื่อความไม่ประมาท อยากทราบว่าจะเจริญมรณัสสติโดยวิธีใด?

    พุทธดำรัสตอบ “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุใดย่อมเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่ง (อาจจะมีชีวิตอยู่เพียงวันหนึ่งกับคืนหนึ่งเท่านั้น) (หรือ)... เราพึงเป็นอยู่ได้ตลอดวันหนึ่ง (หรือ).... เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่ฉันบิณฑบาตมื้อหนึ่ง (หรือ).... เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่เคี้ยวคำข้าวสี่ห้าคำกลืนกิน เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านี้ เรากล่าวว่าเป็นผู้ประมาท เจริญมรณัสสติ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายช้า
    “ส่วนภิกษุใด ย่อมเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่เคี้ยวคำกลืนกิน (หรือ).... เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่หายใจเข้าแล้วหายใจออก หรือหายใจออกแล้วหายใจเข้า เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านี้เรากล่าวว่าเป็นผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญมรณัสสติ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย แรงกล้า...เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

    มรณัสสติสูตร ที่ ๑ ฉ. อํ. (๒๙๐)
    ตบ. ๒๒ : ๓๓๘-๓๔๑ ตท. ๒๒ : ๓๑๕-๓๑๘
    ตอ. G.S. III : ๒๑๗-๒๑๙


    “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวันผ่านไป กลางคืนย่างเข้ามา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เหตุแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งูพึงกันเรา แมงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เราพึงพลาดล้มลง อาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อมดี.... เสมหะ... หรือลมที่มีพิษเพียงดังศัสตราของเราพึงกำเริบ เราพึงตายเพราะเหตุนั้น.... ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละ (ตาย) ในกลางคืนมีอยู่หรือหน ถ้าภิกษุพิจาณาอยู่ย่อมราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปเพียรความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีปริมาณยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปกุศลนั้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าโพกศีรษะ ถูกไฟไหม้ พึงทำฉันทะ.... เมื่อดับผ้าโพกศีรษะหรือศีรษะนั้น.... ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศล... ไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์ ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันกลางคืนอยู่เถิด...ฯ”

    มรณัสสติสูตร ที่ ๒ ฉ. อํ. (๒๙๑)
     

แชร์หน้านี้

Loading...