เราไม่พัก ไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แลฯ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 18 มิถุนายน 2014.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    <font size="3"><font color="#0000ff">ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ข้าพระองค์ขอทูลถาม พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร ฯ <br><br>พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามโอฆะได้แล้ว ฯ <br><br>ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ไม่พักไม่เพียร ข้ามโอฆะได้อย่างไรเล่า ฯ <br><br><b>ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดเรายังพักอยู่ เมื่อนั้นเรายังจมอยู่โดยแท้ <br>เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้นเรายังลอยอยู่โดยแท้ <br><br>ท่านผู้มีอายุ เราไม่พัก ไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แลฯ</b></font> <br><br><font color="#666666">(โอฆตรณสูตรที่ ๑)</font><br><br><img src = http://palungjit.org/attachments/a.3185651/><br><br><br><font color="#0000ff"><b>"โยโว อานนฺท ธมฺโม จ เทสิโต วินโย จ ปญฺญตฺโต โส มม อจฺจเยน สตฺถา<br><br>ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใดที่เราได้แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย<br>ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดาแทนเรา ปกครองท่านแทน เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว"</b></font><br><br>พระพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้ว หมายถึงพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ที่เราน้อมนำมาปฏิบัติบูชา ย่อมต้องเชื่อมโยงลงกันได้เป็นเนื้อเดียวกันหมด ไม่อาจขัดแย้งกันเองได้ <br><br>ในปัจจุบันกลับมีการแอบอ้าง นำเอา เลือกเอา เฉพาะพระพุทธพจน์ที่ยังมีความกำกวมอยู่ มาตีความกันเองโดยมติที่ถูกใจ และชอบใจตนเอง โดยไม่นำพาว่าจะขัดแย้งกับพระพุทธพจน์ในส่วนอื่นหรือไม่ กลับไม่ฉวยเอามาตรวจสอบ สอบสวน เทียบเคียงกับพระสูตรอื่นๆให้รอบคอบโดยดีเสียก่อน <br><br>โดยความเป็นจริงแล้ว ตำราหรือที่เราเรียกว่า "ปิฏก" ที่มีอยู่นั้น ได้ผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนานหลายพันปี ย่อมต้องมีการขาดตก บกพร่อง ตกหล่น ยกเว้น ผิดพลาดไปได้เช่นกันตามแต่กาลสมัยนั้นๆ <br><br>แค่เรื่อง "อัสสาสะ ปัสสาสะ" ที่มีมาในมหาสติปัฏฐานสี่ ท่านพระอรรถกถาจารย์แต่ละคณะยังรจนาไปคนละทิศคนละทาง บางคณะรจนาว่าหายใจออกก่อน บางคณะรจนาว่าต้องหายใจเข้าก่อน เพราะรจนาไปตามหลักฐานที่คณะตนเองมีอยู่ ถึงกับมีการกล่าวว่า "เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงแปลกันได้ตามชอบใจ ไม่ต้องเกรงว่าจะผิด" หรือที่เรียกว่า "พระพุทธพจน์กิเลสอ้าง ตามมติที่ตนเองชอบใจ"<br><br>พระพุทธพจน์ที่มีปัญหาเรื่อง <b>"เราไม่พัก ไม่เพียร"</b> ก็เช่นเดียวกัน ที่มีมาในโอฆตรณสูตรที่ ๑ มีความกำกวมขัดแย้งในพระสูตรเอง ได้มีผู้แอบอ้างนำมาตีความ เพื่อให้ลงกับมติตามใจชอบของตน<br><br>เพื่อให้พุทธสาวกที่ยังหลงใหล ศรัทธา เสียเวลาเนิ่นช้าไปกับคำพูดที่ฟังสวยหรู ให้เกิดความรู้สึกว่าการปฏิบัติธรรมนั้น ควรเป็นเรื่องสบายๆ ง่ายๆ ไม่ต้องฝืนหรือบังคับใดๆทั้งสิ้น โดยสอนว่า "ความเพียร" ที่กล่าวถึงในโอฆตรณสูตรที่ ๑ นั้นเป็น "อัตตกิลมถานุโยค" คือเป็นการปฏิบัติธรรมที่เหนื่อยเปล่า ภพภูมิที่ไปได้ก็แค่มนุษย์ เทวดาและพรหมทั่วๆไป <br><br>ทั้งที่จริงแล้ว ในโอฆตรณสูตรที่ ๑ พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ชัดว่า <br><font color="#0000ff"><b>"เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้นเรายังลอยอยู่โดยแท้"</b> (ข้ามโอฆะ)</font><br><br>เมื่อนำ "พระพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้ว" ฉวยเอามาตรวจสอบ สอบสวน เทียบเคียงกับพระสูตรอื่นๆให้ดีๆแล้ว จะเห็นได้ว่า เรื่อง <b>"ความเพียร"</b> นั้น สอดคล้องกัน และเชื่อมโยงลงกันได้ด้วยดี กับพระพุทธพจน์ในส่วนอื่นๆ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสเรื่อง <b>"ความเพียร"</b> ไว้มากมายหลายแห่ง อาทิเช่น <br><br><font color="#0000ff"><b>"วิริเยนะ ทุกขะมัจเจติ <br>บุคคลจะล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร"</b></font><br><br><img src = http://palungjit.org/attachments/a.3185652/><br><br><br><font color="#0000ff"><b>"พวกเธอ(ภิกษุทั้งหลาย)จงเพ่งฌาน อย่าได้เกียจคร้าน <br>นี่เป็นอนุสาสนีย์ของเรา(ตถาคต) ที่พร่ำสอนแก่พวกเธอ"</b></font> <br><font color="#666666">คำว่า "อย่าได้เกียจคร้าน" ชัดๆว่า จงขยันหมั่นเพียรเพ่ง <br>อย่าได้เกียจคร้านในการภาวนา(เพ่งฌาน)</font><br><br><img src = http://palungjit.org/attachments/a.3185653/><br><br><br><font color="#0000ff"><b>"เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ <br>เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป <br>เพราะมารู้ธรรมพร้อมทั้งเหตุ"</b></font><br><font color="#666666">(พุทธอุทานคาถาที่ ๑)</font><br><br><img src = http://palungjit.org/attachments/a.3185654/><br><br><br>ในทางพระพุทธศาสนานั้น คำว่า "พัก" คือ การ ละ หยุด วางลงชั่วคราว เป็นคำที่ใช้กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกเสียส่วนใหญ่ และคำว่า "ไม่เพียร" นั้น จะไม่ค่อยพบเจอในพระสูตรอื่นใด <br><br>เพราะการปฏิบัติธรรมในทางพระพุทธศาสนานั้น เป็นการปฏิบัติทาน ศีล ภาวนา อาทิเช่น "การอดนอน ผ่อนอาหาร เพียรเพ่งภาวนา เดินจงกรม เพียรเพื่อเผากิเลส" ดังมีพระพุทธพจน์ในพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้มากมาย ล้วนเชื่อมโยงลงกันได้หมด...<br><br>แต่กลับมีผู้สอนโดยหลงเข้าใจผิด อรรถาธิบายคำว่า "ไม่เพียร" ที่มีมาในโอฆตรณสูตรที่ ๑ นั้น ไปตามมติของตนเอง โดยได้อ้างเอาเองว่า การทำ "ความเพียร" ในพระสูตรนั้นเป็นทางที่ผิด โดยอธิบายไว้ว่า<br><br><font color="#666666">"เมื่อพวกเราคิดถึงการเดินจงกรม เราก็เริ่มบังคับกาย เริ่มบังคับใจ เวลาเราคิดถึงเรื่องการนั่งสมาธิ เราก็บังคับกาย บังคับใจ มีแต่บังคับจนมัน นิ่งๆ แข็งๆ ทื่อๆ ไม่แสดงไตรลักษณ์...การทำความเพียรดังกล่าว เดินจงกรม นั่งภาวนา ไปได้แค่สุคติ มีตั้งแต่เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหมเท่านั้น"</font><br><br>เป็นความเข้าใจผิดแบบผิดฝาผิดตัว อย่างไม่น่าให้อภัยเลยจริงๆ เนื่องเพราะผู้สอนนั้นไม่รู้จัก และไม่เคยผ่านการปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนามาอย่างจริงจัง ในแบบเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อบรรลุธรรมมาก่อน ผู้สอนนั้นเป็นเพียงมโนเอาเองตามตำราที่ได้เคยอ่านมา และนำมาคิดเองเออเองตามมติ จนมโนนั้นตกผลึกว่าควรเป็นเช่นนั้น <br><br><br><font color="#6600ff"><b>ทำไมการเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนามันจึงได้ นิ่งๆ แข็งๆ ทื่อๆ ล่ะ?</b><br>เพราะอาการที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากผู้ปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนา ยังใหม่อยู่ในขั้นปรารภความเพียรพยายามระลึกรู้ เมื่อยังระลึกรู้ไม่ได้ จึงได้มีอาการดังกล่าว <br><br>เปรียบเหมือนคนที่ฝึกหัดขี่จักรยานใหม่ๆ ทุกคนล้วน นิ่งๆ แข็งๆ ทื่อๆ ทั้งนั้น ครั้นเมื่อเพียรพยายามจนกระทั่งเริ่มทรงตัวเป็น อาการนิ่งๆ แข็งๆ ทื่อๆ ย่อมค่อยจางหายไปเองตามลำดับความคล่องแคล่วชำนาญที่เกิดขึ้นนั้นแล <br><br>เมื่อเพียรเพ่งภาวนาจนระลึกรู้ได้แล้ว จนกระทั่งจิตกับองค์ภาวนาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ย่อมเข้าถึงพระไตรลักษณ์ รู้เห็นตามความเป็นจริงว่า ที่นี่สงบหนอ ที่นี่ประณีตหนอ รู้ว่าที่นี่ละเอียดประณีต นี่สบาย นี่สงบ นี่วางเฉย นั่นวุ่นวาย นั่นสับสน นั่นยึดมั่นถือมั่นเอา นี่ใช่ นั่นไม่ใช่ เพราะระลึกรู้ได้แล้ว</font><br> <br><br>ส่วนผู้สอนคนนั้น กลับสอนเพื่อนำพวกที่ยังระลึกรู้ไม่ได้ ให้ไปดูกาย ดูจิต ดูรูปนามได้เลย สบายๆ ง่ายๆไม่ต้องมาเสียเวลากับการเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ให้นิ่งๆ แข็งๆ ทื่อๆ ทำให้ต้องลำบากเหนื่อยเปล่า <br><br>โดยสอนว่า ความเพียรเป็น "อัตตกิลมถานุโยค" พวกที่ยังระลึกรู้ไม่ได้ หลงเชื่อทำตาม ก็จะเห็นได้แต่เพียงกายสังขาร จิตสังขาร อุปาทานขันธ์ ที่ปรากฎออกมาหลอกล่อเอาเท่านั้น ไม่สามารถเข้าถึงธรรมอันละเอียดประณีต <b>(เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ)</b> อันเป็นธรรมอันเอกที่ผุดขึ้นมาให้ตนประจักษ์ชัดได้<br><br>อุปมาเหมือนคนที่มีกำลังยังไม่มากพอ เพราะยังสะสมกำลังมาไม่ถึง กลับถูกใช้ให้ไปทำงานที่ยากยิ่ง หนักหนาสาหัสเกินกำลังตน ก็น่าจะคาดเดาได้ว่าผลจะออกมาเป็นยังไง แทนที่จะโทษตนเองว่า "กำลังไม่ถึง" กลับไพล่ไปโทษงานที่ตนเอง "ทำไม่เสร็จ" ว่าเป็นงานที่ไม่เหมาะสมกับตนเอง <br><br><br>แล้วจะทำอย่างไรล่ะ <b>"เราไม่พัก มีหรือเราไม่เพียร"</b> แบบถูกฝาถูกตัว แบบไม่มโนเอาเอง ตรงตามคำสอนของพระพุทธองค์ที่ทรงตรัสไว้ดีแล้ว <br><br>พระพุทธองค์ทรงเน้นให้พระสาวกปรารภเรื่อง <b>ความเพียร</b> เพราะความเพียรเป็นองค์ธรรมอันสำคัญยิ่งในทางพระพุทธศาสนา ทรงแสดงไว้ใน <b>"อริยสัจสี่"</b> หรือที่เรียกว่า <b>"อริยมรรคมีองค์แปด"</b> หรือ อีกชื่อที่เรียกว่า <b>"มหาสติปัฏฐานสี่" (อานาปานสติ)</b> อันเป็นทางดำเนินไปเพื่อความพ้นทุกข์<br><br><b>สมาธิ</b> ใน <b>อริยมรรคมีองค์ ๘</b> ประกอบด้วย <b>สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ</b> <br><br><b>"สัมมาวายามะ" ความเพียร</b> <br>เพียรละอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิด <br>เพียรละอกุศลธรรมที่เกิดแล้วให้หมดไป <br>เพียรสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น <br>เพียรสร้างกุศลธรรมที่เกิดแล้วให้ยิ่งขึ้นไป <br><br>โดยประกอบด้วย <b>"สัมมาสติ"</b> คอยระลึกรู้อยู่ที่องค์ภาวนา เมื่อประคองจิตไม่ให้หลุดจากองค์ภาวนา อกุศลธรรมที่กล่าวมาย่อมต้องจืดจางไปเอง กุศลธรรมที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนา เดินจงกรม ที่ได้มานั้นย่อมต้องเจริญยิ่งๆขึ้นไป <br><br>เมื่อระลึกรู้ได้แล้ว จิตย่อมรวมลงเป็นสมาธิ <b>"สัมมาสมาธิ"</b> เป็นธรรมอันเอก อ่อนควรแก่การงาน ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริงดังนี้ <br><br>มีพระพุทธพจน์รองรับไว้โดยไม่ต้องตีความใดๆเลย <br><br><font color="#0000ff"><b>"สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ <br><br>ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด <br>ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง ดังนี้"</b></font><br><br><img src = http://palungjit.org/attachments/a.3185655/><br><br><b>การรู้เห็นตามความจริง</b> ดังกล่าว ก็คือตัว <b>ปัญญาในทางพระพุทธศาสนา</b> เป็นความสามารถของจิตในการปล่อยวางอารมณ์กิเลสความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ที่เข้ามาหลอกล่อ ครอบงำจิตของเราเอาไว้ ให้อุปกิเลสดังกล่าวออกไปจากจิต หรือที่เรียกว่า <b>สลัดออก สลัดคืน เบื่อหน่าย คลายละ</b> ปล่อยวางอารมณ์กิเลสต่างๆออกไปได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเวลาเลย<br><br>หากปราศจากความเพียรเพ่งประกอบภาวนานุโยคเสียแล้ว จิตจะไปเอาพลังที่ไหนมาปล่อยวางอารมณ์กิเลสความรู้สึกนึกคิดออกไปจากจิตของตนได้ ใช้เพียงมโนเอาหรือที่เรียกว่า"คิดเองเออเอง" ก็ย่อมไปฉวยเอามานะติดมาด้วยโดยไม่รู้ตัว<br><br>ท้ายนี้ขอฝาก คำสอนของท่านพระอาจารย์ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตะเถระ ดังนี้<br><br><font color="#ff0066"><b>"หวังพระนิพพาน ด้วยความเพียรเท่าฝ่ามือ<br>ลองคิดดู กิเลสเท่ามหาสมุทร<br>แต่ความเพียรเท่าฝ่ามือ มันห่างไกลกันขนาดไหน<br><br>คนสมัยนี้ เพียงใช้ฝ่ามือแตะมหาสมุทร <br>ทำความเพียรเพียงเล็กน้อย<br>แต่หมายมั่นปั้นมือว่าจะข้ามโลกสงสาร"</b></font><br><br><img src = http://palungjit.org/attachments/a.3185656/><br><br>พ่อแม่ครูบาอาจารย์ฝ่ายปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ในสายของหลวงปู่มั่นทุกรูป ล้วนเพียรเพ่งภาวนาปฏิบัติธรรมกรรมฐานตามคำสอนของท่าน คือ "อดนอน ผ่อนอาหาร นั่งภาวนายันรุ่ง เดินจงกรมจนเท้าแตก" ไม่เกียจคร้าน ดังนี้ </font><br><br><br><font color="#0000ff" size="3"><b>เจริญในธรรมที่สมควรแก่ธรรมทุกๆท่าน<br>ธรรมภูต</b></font>​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • buddha-025.jpg
      buddha-025.jpg
      ขนาดไฟล์:
      147.9 KB
      เปิดดู:
      768
    • 1403045479.jpg
      1403045479.jpg
      ขนาดไฟล์:
      148.1 KB
      เปิดดู:
      1,088
    • 1403045786.jpg
      1403045786.jpg
      ขนาดไฟล์:
      142.3 KB
      เปิดดู:
      974
    • 1403045848.jpg
      1403045848.jpg
      ขนาดไฟล์:
      148 KB
      เปิดดู:
      1,022
    • 1403045397.jpg
      1403045397.jpg
      ขนาดไฟล์:
      147.6 KB
      เปิดดู:
      1,176
    • 1403054572.jpg
      1403054572.jpg
      ขนาดไฟล์:
      62 KB
      เปิดดู:
      721
  2. testewer

    testewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +758
    พระพุทธพจน์นี้ไม่ได้มีปัญหาอย่างที่เจ้าของกระทู้เข้าใจ

    คำว่า " เราไม่พัก ไม่เพียร " เป็นความหมายของสภาวะจิตที่เข้าถึง วิมุตติ คือความหลุดพ้นแล้ว

    ความหมายที่ถูกต้องของพระพุทธพจน์ " .... เราไม่พัก ไม่เพียร (สภาวะจิตวิมุตติ - ความหลุดพ้นแล้วจึง) ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แลฯ "

    ถ้ายังเข้าไม่ถึง วิมุตติ อย่าไปขยายความพุทธวจนะเลย ขยายความอย่างไรก็ผิด เพราะจิตเข้าไม่ถึงจะเป็นการปิดกั้นมรรคผลตนเองเสียเปล่า


    ไม่ขยายความหรือตอบคำถามต่อจากนี้ อธิบายไปจิตผู้ถามเข้าไม่ถึงก็เท่านั้น

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 มิถุนายน 2014
  3. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ คือ สงสาร คือ การเวียนว่ายตายเกิด คือ กิเลสประดุจกระแสน้ำหลากท่วมใจสัตว์มี ๔ ได้แก่ ถาม,ภพ,ทิฏฐิ,อวิชชา (คัดลอกจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)

    ข้าพเจ้าสงสัย อยู่อย่างเดียว ที่ว่า การก้าวข้ามโอฆะนั้น มันก้าวข้ามอะไร กันแน่ ถ้าก้าวข้าม กิเลสตัณหา ก็คงพอฟังได้เข้าใจ

    แต่ถ้า การก้าวข้ามโอฆะ คือ การก้าวข้ามการเวียนว่ายตายเกิด อันนี้สงสัยขอรับ ถ้าก้าวข้ามการเวียนว่ายตายเกิด ก็ต้องอยู่นอกเหนือวัฏจักร หรือ วัฏสงสาร คือ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย คือ ไม่เวียนว่ายตายเกิด แสดงว่า ต้องมีอายุยืน นับอสงขัย ชั่วกัปชั่วกัล น่าสนใจนะขอรับถ้าเป็นอย่างนั้นจริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2014
  4. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ......ก็ สามารถ ทำการละ ทุกขยสมุทัยได้แล้ว...ทำอริยสัจปริวัฎสามมีอาการสิบสอง ครบถ้วน:cool:
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ตามความเป็นจริงเกิดความสับสนกันเองของผู้ที่พยายามจะอรรถาธิบาย"พระสูตร"นั้น

    โดยไม่ฉวยเอามาตรวจสอบ สอบสวน เทียงเคียงให้ดีเสียก่อนเท่านั้นเอง

    แม้พระอริยเจ้าชั้นสูงสุดเอง ท่านพระอาจารย์เหล่านั้น มีหรือจะไม่เพียร

    เมื่อความเพียรทางจิตได้สิ้นสุดลง แต่ความเพียรในเรื่องอื่นหาได้สิ้นสุดตามไปด้วยไม่

    เช่น เพียรเผยแผ่พระศาสนาให้กว้างไกลออกไป เพียรบริหารกายด้วยการบิณฑบาตเป็นวัตร ฯลฯ

    เพราะความเพียรเป็นรากฐานอันสำคัญประการหนึ่งในทางพระพุทธศาสนา

    @พระพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้ว หมายถึงพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์
    ที่เราน้อมนำมาปฏิบัติบูชา ย่อมต้องเชื่อมโยงลงกันได้เป็นเนื้อเดียวกันหมด ไม่อาจขัดแย้งกันเองได้....@


    เจริญในธรรมทุกๆท่าน



     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านผู้มีอายุ เราไม่พัก ไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แลฯ
    สรุปพระสูตรเขียนว่า เราไม่พัก เราไม่เพียร จึงข้ามโอฆะได้แล้ว คือจิตจึงวิมุตติหลุดพ้นได้

    แต่พวกชอบตีความตามมติตนเอง สรุปว่า
    คำว่า "เราไม่พัก ไม่เพียร" เป็นความหมายของสภาวะจิตที่เข้าถึง วิมุตติ คือความหลุดพ้นแล้ว

    สรุปในสรุปคือ จิตที่วิมุตติหลุดพ้นแล้ว จึงไม่พัก ไม่เพียรอย่างนั้นหรือ? ขัดแย้งกันเองมั๊ย?

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    [​IMG]

    โกสชฺชํ ภยโต ทิสฺวา วิริยารมฺภญฺจ เขมโต
    อารทฺธวิริยา โหถ เอสา พุทฺธานุสาสนี

    ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านว่าเป็นภัย
    และเห็นการปรารถความเพียรว่าเป็นความปลอดภัย
    แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุสาสนี


    จากพระธรรมบทที่ยกมา
    จะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ได้ทรงตำหนิความเกียจคร้าน(ไม่เพียร)

    ทรงเชิดเอาความเพียรเป็นใหญ่ในทุกๆที่ๆมีการปฏิบัติธรรม
    ไม่ทรงตรัสพระธรรมเพื่อมาขัดแย้งกันเอง

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1403054573.jpg
      1403054573.jpg
      ขนาดไฟล์:
      342.7 KB
      เปิดดู:
      703
  8. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    ไม่พัก ไม่เพียร คือ ใช้ความเพียร จนเลยจุดที่เราี่ไม่ต้องเพียร

    เหมือนอย่างเราฝึกหัดมวย แรกๆเราเพียรฝึกซ้อม ใหม่วิ่งรอบหมู่บ้าน 10 รอบ ร่างกายและจิตใจ มันยังไม่พร้อม ก็ต้องพยายาม พอถึงจุดที่เพียรพยายามจนร่างกายจิตใจ ถึงจุดนึงแล้วที่ร่างกายและจิตใจรับสภาพไว้แล้ว ก็ไม่ต้องใช้เพียร วิ่งรอบหมู่บ้าน 10 รอบก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาของร่างกายจิตใจที่พร้อม จึงเป็นการไม่พัก และไม่เพียร
     
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ยังไงพระสูตรนี้ก็มีความลึกซึ้ง อยู่ดี ไม่ว่า คุณอาว์จะพยามอธิบายอย่างไรก็ ตาม อิ อิ:cool:
     
  10. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .....ถ้า คุณอาว์เก่งภาษาบาลี...ยกพระสูตรมาสิครับ...พระสูตรไม่ได้ใช้คำว่า "วิริเยนะ"แทนคำว่า เพียร ในความหมายเดียวกันหรือ เปล่า ครับ? อันนี้ถาม จริง:cool: "จิรสสํ วตปสสามิ พรามณํ ปรินิพพตํ อปปติฎฐํ อนายหํ ติณณํ โลเกวิสตติกนติ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2014
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เป็นธรรมดาหลานรัก คำว่า"เพียร" ในภาษาบาลีที่เรารู้ๆกัน คือวิริเย วิริยะ

    แล้ว"สัมมาวายามะ"หละ ความเพียรชอบเช่นกัน

    ใครที่กล้าคุยว่าเก่งพระบาลีแล้ว สมควรพิจารณาตนเองนะ

    ขนาดท่านอรรถกถาจารย์เอง แต่ละคณะยังแปลไม่เหมือนกันเลย

    ถึงขนาดมีอดีตพระสังฆราชบ้านเราเคยกล่าวไว้ว่า(มีในตำราเรียนธรรมะ)

    "ท่านพระอรรถกถาจารย์แปลกันแบบนี้ มีหวังได้ตกนรกกันบ้าง"

    ส่วนพระสูตรที่นำมาอ้างอิงนั้น ไม่มีตรงไหนเลย ที่ลึกซึ้งมากมาย(ตรงไปตรงมา)

    สรุปว่า "เทวดาถามพระพุทธองค์ ทำอย่างไรจึงข้ามโอฆะได้ใช่มั้ย?

    ไม่ได้ถามว่า เมื่อข้ามโอฆะแล้วเป็นอย่างไรใช่มั้ย?"

    อย่าให้พระพุทธพจน์กิเลสอ้างเลย ไม่งามหนะ

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน

    ปล.ไม่มีคำว่าเลยความเพียรแล้ว มีแต่คุ้นเคยกับความเพียร(ไม่ต้องฝืนเพียรแล้ว)เพราะเพียรเป็นนิสัย

     
  12. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .....ผม ก็ ใฝ่ รู้ นะครับ...ไม่มีเจตนาใด..ส่วนใหญ่ ผู้รู้หรือ ผู้ศึกษาในบ้านเรา จะ ตีความหมายเป็นนัยว่า....เป็นทางสายกลาง สำหรับพระสูตรนี้ "มัชฌิมาปฎิปทา" เป็น่หลัก นะครับ...อ้างอิง "บ้านธัมมะ":cool: อย่างไรก็ตาม จึงชี้ให้เห็นว่า "โยนิโสมนสิการ" คือ สิ่งที่อธิบายไม่ง่ายเหมือนกัน
     
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คำว่า "ทางสายกลาง" ในทางพระพุทธศาสนา คือ "อริยมรรคมีองค์๘"ชัดเจน

    ส่วน "ทางสายกลาง" (มัชฌิมาปฎิปทา)ของนักตีความตามกิเลส

    หรือพวกพระพุทธพจน์กิเลสอ้าง เป็นคนละเรื่องกันอย่างสิ้นเชิง

    พวกชอบแอบอ้างมักยกเอาเรื่อง "ความพอดีมาพูด" ไม่ต้องเพียรมากเอาแต่พอดีๆ

    แบบนี้เมื่อไหร่จึงละอกุศลให้หมดไปได้หละ ไม่เพียรสร้าง "สติจะเกิดขึ้นได้หรือ"

    แล้วเรื่องความพอดีของแต่ละคนหละ เหมือนกันตรงไหน? ล้วนเป็นเรื่องราวในโลกทั้งนั้น

    ทางสายกลางของพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้เองนั้น ชัดเจนในภาษาที่ทรงตรัสไว้

    เป็นทางที่ไม่เข้าไปใกล้ ส่วนที่สุดทั้งสองฝั่ง ที่มีอยู่ก่อนพระพุทธองค์จะอุบัติขึ้น

    ไม่ใช่อยู่ตรงกลางเป๊ะพอดีเลย คำว่าไม่เข้าใกล้ เป็นภาษาที่สละสลวยชัดเจนอย่างยิ่งในตัว

    โดยเฉพาะ"อย่างยิ่งเรื่องความเพียร"ด้วยแล้ว พระพุทธองค์ทรงเน้นนักเน้นหนา

    ในอริยมรรคมีองค์๘ หรือทางสายกลาง ชัดเจน "เพียรละอกุศล เพียรสร้างกุศล"

    พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้อย่างชัดเจนรอบคอบแล้วว่า

    ทางที่เกิดขึ้นนั้น ไม่เข้าใกล้ส่วนที่สุดทั้ง 2 ฝั่งเป็นทางที่มีสอนกันอยู่ก่อนแล้ว

    ส่วนทางที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เองนั้น "เกิดขึ้นในระหว่างทางทั้งสอง"

    จึงเรียกว่า"ทางสายที่เกิดชึ้นระหว่างทางทั้งสอง"(อยู่ในระหว่างกลาง)

    ไม่ใช่ทางที่อยู่ตรงกลางเป๊ะพอดี ของแบบนี้ อย่ามโนกันเอาเอง "ต้องพิสูจน์"

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  14. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    คุณธรรมภูตครับ "เพียรละอกุศล เพียรสร้างกุศล" ในอริยมรรคมีองค์8 พระพุทธเจ้าต้องการสื่ออะไรกับสาวกครับ ช่วยขยายให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ
     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    พระพุทธองค์ทรงได้สื่อให้เห็นว่า องค์แห่งสมาธิ

    อันมี สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จิตรวมลงเป็น"สมาธิ"

    ดังมีพระพุทธพจน์รับรองไว้ดังนี้

    "สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
    ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง ดังนี้"

    เมื่อย้อนมาพิจารณา"สัมมาวายามะ"

    การละอกุศลได้ดีที่สุด และการสร้างกุศลได้ยิ่งๆขึ้นที่สุด

    นั่นคือ การ "ภาวนามยปัญญา"

    เพราะขณะที่จิตเกาะอยู่กับองค์ภาวนานั้น อกุศลที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดไม่ได้

    เมื่อเผลอหลุดจากองค์ภาวนาไปคิดที่เรื่องราวต่างๆ อกุศลที่มีอยู่ก็โผล่ขึ้นมาได้

    พอระลึกได้ นำจิตมาเกาะที่องค์ภาวนา อกุศลที่มีอยู่ก็จะดับไป

    เป็นการสร้างกุศลที่ปรมัติให้เกิดขึ้นที่จิตของตน

    ยิ่งเพียรประคองจิต(วิจาร)ได้ต่อเนื่องเนื่องๆอยู่ด้วยแล้ว

    กุศลก็ย่อมเจริญยิ่งๆขึ้น จนกระทั่งเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้นมา(รู้เห็นตามความเป็นจริง)

    สรุปได้ว่า การภาวนามยปัญญาโดยอาศัยกายสังขารเป็นองค์แห่งการภาวนา

    ย่อมเป็นทางอันเอกในการเพียรละอกุศล พร้อมทั้งสร้างกุศลในเวลาเดียวกัน

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน

     
  16. Apotamkin

    Apotamkin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +119
    พระพุทธพจน์"เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามโอฆะได้อย่างนี้แล"
    เข้าใจอย่างง่ายคือ เราไม่พักอยู่(ที่โลก) เราไม่เพียรอยู่(ที่สวรรค์) เราจึงข้ามโอฆะเสียได้

    อ.ชัชวาล เพ่งวรรธนะ
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ู^
    ^
    เข้าใจง่าย คือเข้าใจแบบตีความกันเอาเองตามชอบใจ

    แบบนี้กลายเป็นเอาพระพุทธพจน์กิเลสอ้างตามมติตนไป

    ใจความในพระสูตร คือ มีเทวดาได้ทูลถามพระพุทธองค์ว่า

    "ทำอย่างไรจึงข้ามโอฆะได้ใช่หรือไม่?"

    ไม่ได้ทูลถามว่า "อยู่บนโลกจะข้ามโอฆะอย่างไร?

    และเป็นเทวดาจะข้ามโอฆะอย่างไร?"

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน

     
  18. Apotamkin

    Apotamkin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +119
    สื่อว่าเข้าใจอย่างง่ายไงครับ เหมือนความเข้าใจพื้นฐานแต่ถ้าอยากเข้าใจอย่างยากนั่นก็ต้อง พิจารณาลงไปอีกว่า "ทำไมพระพุทธเจ้าถึง ไม่อยากพักอยู่(ที่โลก) ไม่เพียรอยู่(ที่สวรรค์)" พระพุทธเจ้ามีวิธีการอย่างไรจึงไม่ได้พักอยู่ที่โลกและไม่ได้มีความต้องการที่จะอยู่บนสววรค์ เมื่อเรารู้เหตุผลและวิธีการที่จะไม่ได้อยู่ในโลกและสววรค์แล้วนำไปปฏิบัติเปรียบเสมือนการข้ามโอฆะ สาธุ
     
  19. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เวลาสื่อที่คุณบอกว่าง่ายๆ แต่พอนำไปพิจารณาว่า"ทำไม"

    จึงได้กลายเป็นยากไปได้ "สื่อง่ายทำจริงได้ยาก"

    การสื่อให้เข้าใจง่ายๆ คือ การสื่อแบบตรงไปตรงมา ไม่มีลัดสั้น

    พร้อมนำไปปฏิบัติ เพื่อให้ห็นผลหลุดพ้นได้จริง(พร้อมให้เข้ามาพิสูจน์)

    ส่วนการสื่อที่คิดเองว่าง่ายๆนั้น แท้จริงแล้วปฏิบัติตาม เพื่อผลหลุดพ้นจริงได้ยาก

    ปัจจุบันมักตีความพระพุทธพจน์เอาเอง เพื่อให้รู้สึกว่าง่ายๆ สบายๆนั้น

    ล้วนเป็นไปเพื่อสร้างกำลังใจ ก็ไม่เสียหาย

    แต่อย่านำพระพุทธพจน์มาตีความเอาเอง

    ควรนำมาพิจารณาตรวจสอบ สอบสวน เทียบเคียง เพื่อการสรุปใจความ

    ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง(มีเหตุมีผล) พร้อมนำไปปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นได้จริง

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน



     
  20. Apotamkin

    Apotamkin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +119
    ประเด็นเป็นอย่างนั้นแล สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...