วิปัสสนา...

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jabb2541, 13 พฤษภาคม 2013.

  1. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ตรงนี้ล่ะครับ จะชัดและซัดเข้าอานาปานสติกรรมฐานได้ เพื่อนำเข้าสู่กาย เวทนา จิต ธรรม
    ทีนี้ความไหลของอิริยาบท ทำให้ความตั้งมั่นส่าย หากเพียรตรงนี้ก็สามารถเห็นความจริงได้อ่อนๆ พอเห็นทาง ที่จะเข้าสู่ อาตาปี สติมา สัมปชาโน
    ซึ่งผมว่า หลวงพี่น่าจะทราบจึงหันเข้าสู่ทางที่กว้างครับ
     
  2. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ตามลม เป็นเรื่องจิตวิสุทธิ เพื่อให้จิตอ่อนโยน จิตตั้งมั่น

    จนกว่าเห็นลมต้นเกิด ลมต้นดับ กลางลมเกิด กลางลงเสื่อม กลางลมดับ ปลายลมเกิด ปลายลมดับ

    แล้วปัญญาประจักษ์ในสภาวะ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่มีใช่ตัวตน รู้จักลักษณะสภาวะธรรมจึงเริ่มเข้าวิปัสสนา

    เป็นทิฏฐิวิสุทธิ
     
  3. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    เวลาธรรมปรากฏ กระทบอารมณ์เฉพาะหน้า สตืก็รู้อารมณ์เฉพาะหน้าที่เป็นปัจจุบัน

    ไม่ได้สวนทางไปรู้ลมหายใจ มันไม่ตรงเหตุ สำหรับกำหนดอิริยาบถในชีวิตประจำวัน

    เช่น เวลากายกระทบ ก็ไปรู้โดยความเป็นธาตุ เป็นปฐวี เป็นเตโช ไม่ได้ไปรู้ที่อัสสาสะ ปัสสาสะ ( หมายถึง ธรรมเกิดทวารใดทวารหนึ่ง )

    แม้อาการลมเข้าลมออก ก็รู้ตรงจุดกระทบ ผัสสะก็เกิดตรงนั้น ฆานวิญญาณก็เกิดตรงนั้น

    ความเคลื่อน ความเย็นเข้า ความร้อนออกก็ปรากฏตรงนั้น มีแล้วไม่มีก็ปราฏกขณะนั้น ปัญญาก็รู้สิ่งนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2013
  4. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่าง
    เป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวย
    ประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้
    วิปัสสนาที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อม
    เสวยประโยชน์อะไรย่อมละอวิชชาได้ ฯ
    ........................................
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อม
    พยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ เป็นไฉน

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
    เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ
    ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

    อีกประการหนึ่ง

    ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
    เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้นย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

    อีกประการหนึ่ง

    ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
    เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ เจริญกระทำ ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อ
    เธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละ สังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

    อีกประการหนึ่ง

    ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่นสงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ เธอย่อมเสพ เจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพเจริญ กระทำ ให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด

    ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัต ในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ
     
  5. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ที่จริง วิปัสสนาสติปัฏฐาน มุ่งรู้อารมณ์ที่กระทบ สิ่งใดเด่นชัด สิ่งนั้นเป็นอารมณ์ให้กำหนดรู้

    วิปัสสนาเป็นไปตามธรรมชาติ ต้องการเข้าไปรู้ธรรมชาติตามจริง

    ไม่พยายามไปบังคับ ฝืน เบี่ยงสภาวะ หรือใส่อัตตาเข้าไป

    วิปัสสนาต้องการทำความเข้าใจสภาวะธรรมนั้นๆตามที่เกิดตามความเป็นจริง

    การตั่งมั่นในอารมณ์เดียวทำให้พลาดโอกาสในการเรียนรู้ธรรมชาตินั้น

    หากการตั้งมั่นเขยิบตัวเป็นพละแกร่งกล้า นิวรณ์ย่อมถูกระงับ ผู้เจริญย่อมสุข อยู่กับปิดิ

    เมื่อเข้าไปเสพสุด โอกาสที่จะเลยมัชฌิมา เข้าไปอยู่ในกามสุขนุโยค คือจมดิ่งในอารมณ์ที่น่ายินดีย่อมมี

    ตรงนี้ก็ต้องแตกไปในเรื่อง สัมมาสมาธิอีก ซึ่งจะไม่ขอกล่าวในที่นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2013
  6. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    การตามดูอิริยบถย่อย

    สำหรับมือใหม่ ให้กำหนดรู้ดูการเคลื่อนไหวช้าๆ ชัดๆ ให้ใส่ใจอย่างต่อเนื่อง แต่ให้เป็นธรรมชาติ

    เรียกว่า ทุกๆมิลลิเมตรที่ขยับ มันมีสภาวะให้รู้อยู่ทุกขณะ

    ตรงนี้ใส่ใจอาการของรูปก่อน โดยความเป็นธาตุสี่

    เพราะธรรมชาติของรูปมีการแตกสลายเป็นลักษณะ

    กำหนดเช่นนี้ สติ วิริยะ จะมีกำลัง สมาธิก็ปรากฏในสมัยนั้น
     
  7. สันดุสิต

    สันดุสิต Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +86
    มีสติ...ตามดูลมหายใจเข้า-ออก
     
  8. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    สงสัยต้องให้พี่ป.ปราบมาวัดซะแล้ว มิลลิเมตร
    มันไม่เห็นภาวะตามจริงที่หลวงพี่กล่าวมาหรอกครับ
     
  9. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    อย่าเพิ่งตัดสินอะไร โดยที่ยังไม่รู้ว่าอะไรคืออะไร ^^

    อาการสั่นสะเทือน ที่เกิดจากจิตคิดจะขยับ

    ขณะเคลื่อนไป สติที่ตามรู้อย่างต่อเนื่อง

    สภาวะธาตุเกิดดับเป็นขณะๆติดต่อกันไม่ขาดสาย ไม่มีความเป็นเราอยู่ในแต่ละขณะ

    มีแต่รู้และถูกรู้ การเคลื่อน ที่เคลื่อนได้ ก็เกิดจากปัจจัย ไม่มีอะไรไปสั่งไปบังคับให้เคลื่อนเลย ^^

    ตรงกับอรรถกถา ว่าการเดิน เดินของใคร ไม่ได้หมายเอาคนสัตว์ บุคคลเดิน
     
  10. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ตรงนี้ปรากฏขณะจิดมีสมาธิครับ
    จึงจะมีความต่อเนื่องได้ จากการเดินจงกลม หรือสมาธิเคลื่อนไหว หรือนั่งสมาธิกำหนดดูลมหายใจ
     
  11. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ว่ากันใน วิปัสสนากำหนดอิริยาบถ หัวใจคือ มีสติ กำหนดรู้อาการต่อเนื่อง ไม่ขาดสาย

    สังเกตุดีๆ เช่น ขณะเดินจงกรม

    ขณะก้าว สติมีอยู่ที่ลักษณะอาการ วิริยะประคองต่อเนื่อง ปัญญาเห็นสภาวะธรรม

    มันประชุมอยู่ในขณะนั้น ขณะเคลื่อนไม่ถึงขณะลง

    แม้สมาธิก็หนุนอยู่ในขณะนั้น

    สังเกตุไหมว่าเขาไม่เอาสมาธินำ

    มี สติ วิริยะ สมัยใด สมัยนั้น สมาธิก็มีด้วย ยิ่งใส่ใจมาก สมาธิยิ่งมีกำลังมาก

    แต่มีสมาธิ สมัยใด สมัยนั้น สติ วิริยะ อาจไม่มีด้วยก็ได้ ยิ่งสมาธิมาก ไม่ได้หมายความว่า ความเพียรมาก สติมากตามไปด้วย^^
     
  12. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    อย่าเพิ่งไปดูแคลนสมาธิครับ สมัยใดที่พอเพียงก็พอเพียง
    สมัยใดที่ต้องเสพกำลังสมาธิก็ต้องเสพ
    สำคัญอยู่ที่การรู้ ดูอยู่
    ผมเพียงเห็นว่าไม่ควรไปเน้นสมาธิอย่างนั้นอย่างนี้ครับ
     
  13. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ไม่ได้ดูแคลน เข้าใจคนละอย่างแล้ว

    เอางี้สิ ลองทำอะไรโดยเป็นธรรมชาติ แต่ให้ช้าลงหน่อย และใส่ใจให้อาการให้มากหน่อย

    ที่จริงหลักการนี้ ไปตรงอยู่หลายสายที่เน้นอิริยาบถในบ้านเรา

    เช่น สายหลวงพ่อเทียน สายยุบหนอพองหนอ สายวิปัสสนาพม่า ซึ่งเป็นสายดูกาย ดูอิริยาบถ

    เรื่องสมาธินำ นั้นเข้าใจนานแล้ว ไม่ได้ดูแคลน

    แต่ที่พูดอยู่ขณะนี้ เพื่อให้เอาไปใช้ในชีวิตจริงได้ เพราะเคลื่อนไหวกันอยู่ทุกวัน

    ตรงนี้สังเกตุให้ดี หากอารมณ์ทางทวาร ๕ เด่นชัด ตาเห็น หูได้ยิน กายสัมผัส

    เป็นเหตุให้อินทรีย์สังวร เป็นเหตุให้สุจริต๓เกิด เป็นเหตุให้สติปัฏฐานเกิด
     
  14. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ผมเองฝึกมาทางด้านดูอิริยาบทครับ
    ทีนี้ภาวะที่หลวงพี่กล่าวมานั้น จะปรากฏก็ต่อเมื่อรู้จักกำลังสมาธิที่พอเพียงในการยกขึ้นวิปัสสนาอย่างอ่อนๆ ไม่อย่างนั้นจะไม่เข้าใจ จนจับเอามาเป็นความคิดนึกเอาได้ครับ
    ผมเห็นว่าจะต้องกำกับด้วยการฝึกสมาธิตามแบบแผนด้วยจึงจะปรากฏผลการฝึกได้ครับ
     
  15. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    สังเกตุไหม ว่าวิปัสสนา ใช้แค่ขณิกะสมาธิ แต่เป็นขณิกะที่คมกล้า

    และก็อธิบายไปแล้ว ว่ากระบวนการสมาธิทางวิปัสสนาเกิดขึ้นอย่างไร

    ต่างจากการทำสมถะอย่างไร


    วิปัสสนา เป็นเรื่องของ ปัญญา ไม่ใช่ สมาธิ เป็นเรื่องสูงขึ้นไปอีกขั้นนึง

    ทั้งนี้ก็ไม่ได้ปฏิเสธสมาธิ เพียงแต่เดินตามมรรค คือ สัมมาทิฏฐิเป็นประธาน

    หรือ ก็กำหนดตรงก็ได้ แล้วแต่จริต ^^
     
  16. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    มองคนละมุมกับหลวงพี่ ครับ หากเดินตามมรรค
    อันนี้ฟังท่านพุทธทาสมา (คัดลอกมาจากหน้า 83 ปฏิจจสมุปบาทกับอานาปานสติ)คุณปฏิบัติอานาปานสติถึงที่สุดแล้ว มันจะไปลงที่อริยสัมมาสมาธิ มีบริวาร 7 มีบริวาร 7 จบที่นั่นแหละ อย่าเข้าใจผิดเอาสัมมาทิฏฐิเป็นแม่ทัพนะ แม่ทัพมันคือสมาธิ นอกนั้นเป็นตัวบริวาร เป็นเครื่องประกอบ เป็นที่ปรึกษา เป็นอะไรทั้งหมดของแม่ทัพ เมื่อแม่ทัพได้สิ่งทั้ง 7 มาเป็นบริวารแล้วมันก็ครบ ชนะข้าศึกแน่
     
  17. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    จริงๆผมว่าหากกล่าวที่อานาปานสติ ก็ครอบแต่ต้นได้หมดแล้ว ^_^
     
  18. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    [๒๕๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมา-
    *สมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล
    เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ

    [๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
    ประธาน
    ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิ
    รู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ



    คำว่า อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ ในที่นี้ หมายกล่าวถึงเหตุให้เกิดถูกไหม ซึ่งสัมมาสมาธิก็จัดเป็นผลทันที

    แปลว่า เหตุของสมาธิ คือ มรรค ๗ อันมีสัมมาทิฏฐิเป็นประธาน


    ถ้าเข้าใจอย่างนี้ ก็ตรงกับที่ได้อธิบายมา ว่า สติ ความเพียร มีอยู่สมัยใด สมาธิก็มีในสมัยนั้น

    เมื่อพิจารณาอย่างนี้ สมาธิย่อมประกอบด้วยปัญญา


    หากแปลตามความเข้าใจจิตตินนท์ ว่า สมาธิเป็นเหตุ เป็นตัวนำ มรรคที่เหลือเป็นผล เป็นบริวาร

    ก็ไม่แน่ว่า สมาธินั้นจะเป็นสมาธิประกอบด้วยปัญญาหรือไม่

    ทำให้นึกถึง โยคีก่อนพุทธกาล


    ก็เป็นเพียงทัศนะเท่านั้น
     
  19. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    หลวงพี่อย่าเพิ่งข้ามไปสิครับ
    *คุณปฏิบัติอานาปานสติถึงที่สุดแล้ว*
     
  20. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    อานาปาก็ดี เป็นได้ทั้งสมถะ และ วิปัสสนา

    เหมาะเป็นเครื่องอยู่ เป็นวิหารธรรมที่สุด

    และก็เหมาะ ที่จะเป็นบันไดในการเจริญสติปัฏฐานด้วย

    อนิสงค์เยอะ :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...