คาถา แก่ช้า ครองอายุได้ยืนนาน(พระผู้มีพระภาค)

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย thepkere, 31 พฤษภาคม 2013.

  1. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449

    [​IMG]

    โทณปากสูตรที่ ๓
    [๓๖๔]
    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตพระนครสาวัตถี ฯ
    ก็สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระสุธาหารหุงด้วยข้าวสารหนึ่งทะนาน ครั้งนั้น
    พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยแล้วทรงอึดอัด เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว
    ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
    [๓๖๕]
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลนั้นเสวยแล้วทรง
    อึดอัด จึงได้ทรงภาษิตพระคาถานี้ในเวลานั้นว่า
    มนุษย์ผู้มีสติอยู่ทุกเมื่อ รู้จักประมาณในโภชนะที่ได้มา
    ย่อมมีเวทนาเบาบาง เขาย่อมแก่ช้า ครองอายุได้ยืนนาน ฯ

    [๓๖๖]
    ก็สมัยนั้น มาณพชื่อสุทัศนะ ยืนอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ พระเจ้าปเสนทิโกศล ฯ
    ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงตรัสเรียกสุทัสสนมาณพมารับสั่งว่า
    มาเถิด เจ้าสุทัศนะ เจ้าจงเรียนคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค แล้วจงกล่าวใน
    เวลาเราบริโภคอาหาร อนึ่งเราจะให้นิตยภัตแก่เจ้าวันละ ๑๐๐ กหาปณะทุกวัน ฯ

    สุทัสสนมาณพรับสนองพระดำรัสพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า เป็นพระมหากรุณาอย่างยิ่งพระพุทธเจ้าข้า
    ดังนี้ แล้วเรียนคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค กล่าวในเวลาที่พระเจ้าปเสนทิโกศล
    เสวยพระกระยาหารว่า
    มนุษย์ผู้มีสติอยู่ทุกเมื่อ รู้จักประมาณในโภชนะที่ได้มา
    ย่อมมีเวทนาเบาบาง เขาย่อมแก่ช้า ครองอายุได้ยืนนาน ฯ

    [๓๖๗]
    ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงดำรงอยู่โดยมีพระกระยาหารหนึ่งทะนาน
    ข้าวสุกเป็นอย่างมากเป็นลำดับมา ฯ
    ในลำดับต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลมีพระวรกายกระปรี้กระเปร่าดี ทรงลูบพระวรกาย
    ด้วยฝ่าพระหัตถ์ ทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้นว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงอนุเคราะห์
    เราด้วยประโยชน์ทั้ง ๒ คือ ประโยชน์ภพนี้ และ ประโยชน์ภพหน้าหนอ ฯ


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๕
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
    หน้าที่ ๑๐๓/๒๘๙
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครู
    บางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียน
    มาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร


    ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
    เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
    ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม

    ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว
    ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว
    ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ ...

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    หน้าที่ ๒๑/๔๐๗
     
  3. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะอุคคเทพบุตรด้วยพระคาถาความว่า

    ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ
    ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ
    ผู้ให้ของที่ดี ย่อมได้ของที่ดี และ
    ผู้ให้ของที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงสถานที่ประเสริฐ
    นรชนใดให้ของที่เลิศ ให้ของที่ดี และให้ของที่ประเสริฐ
    นรชนนั้นจะบังเกิด ณ ที่ใดๆ ย่อมมีอายุยืน มียศ ดังนี้ ฯ

    จบสูตรที่ ๔
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    หน้าที่ ๔๔/๔๐๗
     
  4. Jindamunee

    Jindamunee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +1,190
    คาถาพระอรหันต์

    พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ นามะรูปัง อะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา
    (ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง นามรูป ( ใจ-กาย ) ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน )
    ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ นามะรูปัง อะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา
    (ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง นามรูป ( ใจ-กาย ) ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน )
    สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ นามะรูปัง อะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา
    ( ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง นามรูป ( ใจ-กาย ) ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน )
    พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ นามะรูปัง อะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา

    (ข้าพเจ้าขอถึง พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง)
    (ข้าพเจ้าขอถึง พระธรรมเป็นที่พึ่ง)
    (ข้าพเจ้าขอถึง พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง นามรูป ( ใจ-กาย ) ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน)
    อะนันตัง พะละวัง พุทธัง
    (พระพุทธเจ้ามีพระกำลังหาที่สุดมิได้)
    อะนันตัง โคจะรัง ธัมมัง
    (พระธรรมคำสอนเป็นอารมณ์หาที่สุดมิได้)
    อะนันตัง อะริยัง สังฆัง
    (พระสงฆ์สาวกมีจำนวนหาที่สุดมิได้)
    อะนันตัง โพธิมุตตะมังฯ
    (พระโพธิญาณอันสูงสุดก็หาที่สุดมิได้)


    ( ภาวนาสวดมนต์ประจำ วันละ ๓-๕-๗ จบ หรือเท่าอายุประจำจะดีมาก )
    จะทำให้ทำมาค้าคล่อง มีทรัพย์ ปราศจากโรค ดูอ่อนกว่าวัย มีอายุยืน ไม่แก่ง่าย มีสุขภาพแข็งแรง
     
  5. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    มีที่มาไหมครับ ใครแต่ง แต่การเรียงคำไม่น่าจะใช่ พระผู้มีพระภาค ตรัส
     
  6. Jindamunee

    Jindamunee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +1,190
    คาถาครับ ผมทำผมก็ได้ผล
    ไม่ใช่ธรรม ถ้าจะให้ธรรมควรเข้าไปกระทู้หมวดสุขภาพ
    แต่ถ้าจะพิจารณาธรรมในคาถานี้ก็มีอยู่
    เรื่องการโพสคาถานี้ขอความกรุณาทุกท่านว่าควรพิจารณาให้ถูก
    คนเข้ามาหาคาถาจริงๆก่อนเมื่อเขามาอ่านเจอแต่ข้อปฏิบัติ
    แต่คาถาไม่มีผมจึงแนบคาถาให้
     
  7. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    [๓๖๕]
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลนั้นเสวยแล้วทรง
    อึดอัด จึงได้ทรงภาษิตพระคาถานี้ในเวลานั้นว่า

    มนุษย์ผู้มีสติอยู่ทุกเมื่อ รู้จักประมาณในโภชนะที่ได้มา
    ย่อมมีเวทนาเบาบาง เขาย่อมแก่ช้า ครองอายุได้ยืนนาน

    (ขอโอกาส นะครับ ถ้าผิดพลาดตรงไหน ขออภัยไว้ก่อน คาถาพระผู้มีพระภาค ท่านตรัสอย่างนี้)

    คาถา แก่ช้า ครองอายุได้ยืนนาน(พระผู้มีพระภาค)
     
  8. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ทึ่ง!5ขวบท่องพุทธวจนคล่องปรื๋อ : ศาสนาพระเครื่อง : ข่าวทั่วไป : คมชัดลึกออนไลน์

    “น้องเก้า” ด.ช.สิรวิชญ์ งามอนันต์ประทีป อายุ 5 ขวบ แต่สามารถท่องบทพุทธวจน ได้ถึง 14 พระสูตร และ “น้องน้ำวุ้น” ด.ญ.ภัณณิต์ตา ทั่งทอง อายุ 9 ขวบ ที่มีความสามารถในการท่องบทพุทธวจน มาร่วมแถลงข่าวด้วย เมื่อผู้สื่อข่าวทดลองให้น้องเก้า และน้องน้ำวุ้น ท่องบทพุทธวจนในบทที่ 10 “เรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสแก่พระอานนท์ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้เป็นศาสดาแทนต่อไป” และบทพุทธวจนในบทที่ 1 “เรื่องที่พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิ เมื่อจะพูด ทุกถ้อยคำจึงไม่ผิดพลาด” ทั้ง น้องเก้า และน้องน้ำวุ้น สามารถท่องได้อย่างถูกต้อง ไม่ผิดแม้แต่คำเดียว

    เมื่อถามน้องเก้าว่า ทำไมถึงชอบท่องบทพุทธวจน น้องเก้า กล่าวว่า รักพระพุทธเจ้า และอยากจำคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งยังอยากท่องพระสูตรต่างๆ ให้ได้มากที่สุด
     
  9. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    มหาศีล
    ติรัจฉานวิชา
    [๑๙]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต พึงกล่าวเช่นนี้ว่า
    ๑. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายอุปบาต ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ
    ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัดรำ
    บูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่า
    บูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอ
    ปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษ เป็น
    หมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทางเสียงกา เป็น
    หมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์.
    [๒๐]
    ๒.
    พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น
    อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด
    ด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะผ้า
    ทายลักษณะศาตรา ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู ทายลักษณะอาวุธ
    ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส
    ทายลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ
    ทายลักษณะโค ทายลักษณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนกกระทา
    ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า ทายลักษณะมฤค.
    [๒๑]
    ๓.
    พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น
    อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด
    ด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก
    พระราชาภายในจักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด
    พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัยพระราชาภายนอก
    จักมีชัย พระราชาภายในจักปราชัย พระราชาพระองค์นี้จักมีชัย พระราชาพระองค์นี้จักปราชัย
    เพราะเหตุนี้ๆ.
    [๒๒]
    ๔.
    พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น
    อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด
    ด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส
    ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง
    ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง
    ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก ดวงจันทร์
    ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักมัวหมอง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักกระจ่าง จันทร
    คราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์
    ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
    ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีอุกกาบาต
    จักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้ ฟ้าร้องจักมีผล
    เป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
    และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมองจักมีผลเป็น
    อย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้.
    [๒๓]
    ๕.
    พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น
    อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด
    ด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีภิกษาหาได้ง่าย
    จักมีภิกษาหาได้ยาก จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรคมิได้ หรือ
    นับคะแนนคำนวณ นับประมวล แต่งกาพย์ โลกายตศาสตร์
    [๒๔]
    ๖.
    พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น
    อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด
    ด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน
    ดูฤกษ์หย่าร้าง ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย ให้ยาผดุงครรภ์
    ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง ร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง
    เป็นหมอทรงกระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวง
    ท้าวมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ.
    [๒๕]
    ๗.
    พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น
    อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด
    ด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
    ทำพิธีบนบาน
    ทำพิธีแก้บน
    ร่ายมนต์ขับผี
    สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน
    ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย
    ทำชายให้กลายเป็นกะเทย
    ทำพิธีปลูกเรือน
    ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่
    พ่นน้ำมนต์
    รดน้ำมนต์
    ทำพิธีบูชาไฟ
    ปรุงยาสำรอก
    ปรุงยาถ่าย
    ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน
    ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง
    ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ
    หุงน้ำมันหยอดหู
    ปรุงยาตา
    ปรุงยานัดถุ์
    ปรุงยาทากัด
    ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา
    ทำการผ่าตัดรักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปุถุชนกล่าวชมตถาคต จะพึงกล่าวด้วยประการใด ซึ่งมีประมาณ
    น้อย ยังต่ำนัก เป็นเพียงศีลนั้นเท่านี้แล.

    จบมหาศีล.

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
    หน้าที่ ๘/๓๘๓
     
  10. Jindamunee

    Jindamunee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +1,190
    แล้วทำไมไม่เข้าไปโพสหมวดศาสนาธรรมะครับจะได้ตรงต่อเหตุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...