วิปัสสนา...

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jabb2541, 13 พฤษภาคม 2013.

  1. jabb2541

    jabb2541 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +71
    วิปัสสนาผมควรเริ่มจากอ่ะไร(เอาเป็นว่าเริ่มจากเว็ปไหนดีกว่าครับ)

    ที่ผมรู้ตอนนี้ก็คือ เข้าฌานตามกำลัง แล้วลดกำลังมา วิปัสสนา

    ถ้าผมจะฝึก กสิณ ผมก็ต้องจำนิมิตของกสิณนั้นๆ

    ถ้าอย่างเช่น ผมจะฝึกพวก พรหมวิหาร4 อะไรแบบนี้

    คือยังไงครับ ต้องคิดในใจว่า เมตตา ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ........

    แล้วระลึกตามไปเหรอครับว่า เมตตา คืออะไรยังไง

    หรือว่า คิดในใจว่า เมตตา ๆ ๆ ๆ .... ไปอย่างเดียวเลย
     
  2. จิ๊กซอ

    จิ๊กซอ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,062
    ค่าพลัง:
    +2,356
    :cool: วิปัสสนาคนละเรื่องกันกับเข้าฌานเลยครับ...เอาเป็นว่า ฝึกจิตให้ตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่านให้มากเกินไป จากนั้นก็มีสติรู้การปรุ่งแต่งของจิต(ความคิด) ให้เป็นปัจจุันขณะ บ่อยๆ...จิตเห็นความจริงจึงจะเป็นวิปัสสนา ความจริงของกายและใจ ถ้าจิตคิดนึกเอาอันนี้ไม่เรียกวิปัสสนาครับ ลองค้นหาแนวของพระป่าดูครับอีเยอะมาก
     
  3. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    จะเจริญเมตตาได้ ก็ต้องเห็นโทษของความโกรธ ความพยายาบาท และเห็นคุณความของเมตตา

    จะเจริญกรุณา ก็ต้องเห็นโทษของความเบียดเบียน และเห็นคุณของความไม่เบียดเบียน

    ส่วน มุทิตา และอุเบกขา

    ลองไล่อ่านในวิสุทธิมรรค จะเข้าใจแนวทางยิ่งขึ้น

    เพราะหากเข้าใจอย่างที่คิด ว่าต้องคิดในใจว่าเมตตาๆ
    ซำชุง แกแลคซี่ หมัดตรง ล่ะชอบเลย ลืมไปเลยคำว่าเมตตาๆ น๊อคเอ๊าะเย๊าะ เสียประโยชน์ไปเลย

    ลองอ่านดู จะได้แนวทาง การเจริญพรหมวิหาร ยิ่งขึ้น

    ส่วนวิปัสนานั้น ซึ่งอยู่ในส่วนของภาคปัญญา (ตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค)
    แต่ลองมาดูในภาคของสมาธิก่อน ก่อนที่จะข้ามไปวิปัสสนา เพราะเห็นบอกว่าชอบทำฌาน

    วิสุทธิมรรค เล่ม ๒ ภาคสมาธิ ปริเฉทที่ ๙ พรหมวิหารนิเทศ - วิกิซอร์ซ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 พฤษภาคม 2013
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ขี้โลภกรรมฐาน

    [​IMG]

    หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
    ตอบปัญหาธรรมะ (หมวดสมาธิและปัญญา)​


    1. คำถาม

    ขณะนี้ผมเพิ่งหัดทำสมาธิ ก่อนทำสมาธิจะสวดมนต์ครึ่งชั่วโมงมีบทสวดชินบัญชร, ชัยมงคลคาถา, คาถาเมตตาหลวงของหลวงพ่อเมตตาหลวง หลังจากนั้นก็แผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศลแล้วนั่งสมาธินาน 5 -25 นาที แล้วแต่วัน โดยใช้บทบริกรรมพุทโธพร้อม ลมหายใจเข้าออก พุทธเข้า-โธออก ปัญหาของผมคือว่าจิตของผมยังฟุ้งซ่านคิดโน่นนี่ ตลอดไม่ค่อยจะอยู่กับลมหายใจ และคำบริกรรมน้อยมากที่จะอยู่หลายอยากจะขอคำแนะนำว่าควรจะทำอย่างไร การฝึกสมาธิก็คือสติใช่ไหมครับ แต่นี่มันคล้ายๆไม่มีสติกับงานที่ทำอยู่

    คำตอบ

    ก่อนทำสมาธิได้สวดมนต์ชินบัญชร, ชัยมงคล และบริกรรมเมตตาหลวงแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลแล้วนั่งสมาธิตั้งแต่ 5 -25 นาที ใช้บทบริกรรมพุทโธพร้อมลมหายใจเข้า ออก พุทธเข้า-โธออก แต่จิตยังฟุ้งซ่าน คิดโน้นคิดนี้ก็จริงอยู่ เมื่อเป็นดังนี้ ก็อย่าได้ เอามากนัก จะเอาแต่เมตตาก็ต้องให้เห็นคุณชั้นนี้ก่อน หรือจะเอาแต่พุทเข้า-โธออก ก็ต้องให้เห็นคุณชั้นนี้ไปเสียก่อน อย่าจับๆ จดๆ คว้านั้น คว้านี่มากมายนัก มันจะกลายเป็นขี้โลภกรรมฐาน งานชิ้นนั้นก็จะทำ งานชิ้นนี้ก็จะทำ ตกลงไม่ได้เห็นผลซักงานเลย ถ้าเราภาวนาอันใดจิตรวมลงไป รสชาติของจิตรวมก็เป็นรสชาติอันเดียวกันกับเราภาวนาอันอื่นๆ


    ที่มา...
    แสดงกระทู้ - หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ตอบปัญหาธรรมะ (หมวดสมาธิและปัญญา) • ลานธรรมจักร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2013
  5. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    มีพื้นฐานอะไรมาบ้างละครับ
     
  6. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    มีโจทย์ว่า ดับทุกข์
    มีสมมติฐานว่า การยึดมั่นถือตัวตน เราเขา นี่เองที่ทำให้ทุกข์
    วิปัสสนากรรมฐาน คือ กลไกที่จะถอดถอนการถือมั่นตัวตน ก็ฝึกสมาธิจิตมีกำลัง แล้วก็พิจารณาแยกส่วน นี่ขน เล็บ ฟัน หนัง ลำไส้ใหญ่ อ้าวแยกแล้ว นายกอ นายขอ ยังมีอยู่ไหม
     
  7. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,441
    ค่าพลัง:
    +35,042
    ค่อยๆเป็น...ค่อยๆไปครับ..และเป็นธรรมดาครับ...การที่เราตั้งใจปฏิบัติธรรมนะดีครับไม่ใช่ว่าไม่ดี แต่ว่ามันจะเป็นการปิดกั้นตัวเองนั่นก็คือใจ ทำให้เรามองไม่เห็นตรงนี้.และมองข้ามไปโดยที่เราคาดไม่ถึง..
    เป็นเหตุให้เรามองแต่ภายนอก.อยากจะได้หรือพูดแต่ธรรมขั้นสูง..

    ให้เปลี่ยนความตั้งใจตรงจุดนี้
    เพื่อมามองดูตัวเอง มาดูใจตัวเอง อยู่ในกายตัวเองนี่หละครับ...ด้วยการฝึกสร้างสติในชีวิตประจำวันให้ได้ต่อเนื่องก่อนเป็นอย่างน้อย.
    เพื่อคอยเข้าไปควบคุมความคิด เพื่อให้ละ ให้คลายความคิดออกจากใจ ...ออกจากขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรมก่อน
    และเป็นการสะสมกำลังสมาธิเล็กๆน้อยๆไปในตัว.ร่วมกับการสร้างบารมีต่างๆให้ตัวเองด้วยไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ได้ในทานบารมีทั้ง ๑o
    ..ฝึกสมาธิด้วย.ร่วมกับมีสัจจะในการลดกิเลสต่างๆด้วยครับ..

    จนแยกได้ เห็นได้ ทราบกิริยาต่างๆ ทราบอาการต่างๆ ว่าอะไรเป็นจิต อะไรเป็นความคิดที่เกิดจากจิต อะไร
    เป็นความคิดที่เกิดจากขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรม ถึงไปพูดเรื่องวิปัสสนา.
    ส่วนพรหมวิหาร ๔ ควรมีในใจให้เป็นทุนเดิมและเป็นปกติไว้.

    ส่วนเรื่องกสิณถ้าคุณอยากฝึกจริงๆ.ถ้าวัดจากความเข้าใจเริ่มต้นตอนนี้
    บอกได้เลยว่าเส้นทางนี้อีกยาวไกลอาจทำให้ท้อก่อนได้.แม้จะมีคนมาแนะนำคุณในตอนนี้ก็ตาม.
    .และถ้าวาระมาถึงจริงๆรับรองว่ามีคนหรือครูบาร์อาจารย์ทางภพภูมิมาคอยแนะนำและควบคุมการฝึกให้แน่นอน.
    จุดนี้เค้าดูออกว่าใครที่ควรจะแนะนำได้หรือพร้อมแล้วที่จะเรียนหากจะเรียนเพื่อต่อยอดไปมากกว่านี้

    ..ตอนนี้เอาพื้นฐานความดีเริ่มต้น
    ให้มันได้ก่อน ให้อริยมรรค ๘ เรื่องความเห็นชอบเปิดทางให้คุณก่อน
    แล้วทุกสิ่งทุกอย่างจะตามมา หากยังสร้างบารมิให้ตนเองอยู่อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง....
    เป็นกำลังใจให้นะครับ..

    ไม่งั้นจะเป็นแค่ปัญญาทางโลก ที่ไม่สามารถตัดกิเลสได้จริง หรือ กลายเป็นไปเผลอนึกว่า ความคิด
    เป็นตัวสติและปัญญาและอาจเผลอนำไปพิจารณาได้ จนกลายเป็นวิปัสสนึก
    เป็นเหตุให้กลายเป็นมิจฉาทิฐิได้แบบไม่รู้ตัวถึงตอนนั้นคงไม่มีใครช่วยได้
    หวังว่าจะเข้าใจที่แนะนำนะครับ..สุดท้ายยังไงก็ขอให้โชคดีครับ​
     
  8. อยู่ร่ำไป™

    อยู่ร่ำไป™ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +42
    แนวทางวิปัสนา ต้องรู้สึก ทันต่ออาการของจิต เอาฐานอาการสมาธิมาใช้เป็นสิ่งพิจารณา

    ใช้สติระลึก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ ทันต่ออาการทางอายตนะ

    ทั้งเวทนาภายนอก ภายใน ยินดี ยินร้าย เฉยๆ ที่เข้ามาสัมผัส ทั้งฟุ้งซ่าน ปิติสุขต่างๆ

    มีสติเห็นความรู้สึก มีความต่อเนื่องรับรู้อาการต่างๆ โดยไม่เพ่ง ไม่กำหนด

    เพราะรู้ทันอาการเพ่ง อาการกำหนด ความเป็นปัสสิทธิ ความสงัดจะชัดเข้ามา

    และเมื่อรู้ทันต่อการปรุงแต่งต่างๆ

    ตัวสัมปชัญญะความรู้สึก จะช่วยคลายความหลงไปได้ กับอาการที่ยึดมาเป็นเรา

    อะไรเป็นสัมปชัญญะ ซึ่งก็คือความรู้สึกที่มีสติต่อเนื่อง

    เมื่อถึงตรงนี้จะรู้ถึงความว่าง อะไรมากระทบก็รู้ๆ เบากาย เบาใจ แก้ความกระด้างขึ้นมาได้ ผ่อนคลาย

    จิตจะตื่นขึ้นมา และย่อมรู้ถึงวิถีแห่งพุทธะ แต่กิจอื่นยังมีอยู่ รู้ๆร่ำไป...เพราะต้องเข้าไปรู้ในไตรลักษณะ
     
  9. Allymcbe222

    Allymcbe222 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +1,445

    วิปัสสนา คือ เมื่อเข้าสมาธิเต็มกำลังแล้ว ถอยมาใคร่ครวญ ว่าขันธ์ 5 ธาตุ4 เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    เพื่อจะได้เห็นแจ้งและรู้เท่าทันว่า ขันธ์ 5 ธาตุ4 เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ควรยึดติด และไม่ใช่ตัวเรา

    การระลึกตามคำภาวนา การระลึกตามอิริยาบถของร่างกาย เช่น ตอนนี้นั่ง ตอนนี้เดิน ตอนนี้เอื้อมมือไปหยิบแก้ว หรือการระลึกตามสภาพจิตว่าตอนนั้นรู้สึกอย่างไร เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ เพื่อให้รู้เท่าทันปัจจุบันในขณะนั้น
    เป็นสมถะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2013
  10. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    250
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,771
    แนะนำ googgle ครับ
    serch หาสมาธิ 40 วิธีของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ในนั้นจะมี concept การทำวิปัสนาตบท้ายอยู่น่าจะทุกกรรมฐานเลยครับ
    รวมถึงการเจริญพรหมวิหาร 4 ด้วย
     
  11. rattanamatee

    rattanamatee สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +20
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=LCdYW8wisq0]สาธิตอิริยาบถย่อย(ตาณังฯ).mp4 - YouTube[/ame]
     
  12. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ปรมัตถ์ จะไม่ใช่ความจริงปรมัตถ์หากไร้ซึ่งการหยั่งถึง

    ควรมีความรู้เรื่องวิปัสสนาภูมิบ้าง เพื่อเป็นอารมณ์กำหนด ระลึกสภาวะลักษณะธรรมปรมัตต์

    เน้นปัญญามากกว่าสมาธิ เพราะสมาธิมีอยู่แล้วในขณะจิตหน่วงพิจารณา จดจ่อต่อเนื่อง ใส่ใจลักษณะธรรมที่เกิดขณะนั้น

    เน้นลืมตามากกว่าหลับตา หมายความว่า กิเลสเกิดอยู่ตลอดเวลาไม่ใช่ในสมาธิอย่างเดียว

    เป็นการสร้างเหตุสำรวมอินทรีย์ และยั้งกิเลสที่กระทบได้ด้วยปัญญาเห็นตามจริง

    เพื่อคลายอัตตสัญญา ความติดข้อง ความเห็นผิด ในสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยิน สิ่งที่สัมผัส ฯลฯ เนืองๆ

    ให้ใส่ใจอิริยาบถย่อย ในชีวิตประจำวัน เพราะเป็นธรรมชาติที่เสพคุ้นอยู่ทุกวัน

    คำว่า อนุวิปัสสนา นั้น แปลว่า ตามรู้เนืองๆ รู้บ่อยๆ ไม่ขาดสาย เพื่อสร้างเหตุให้ วิริยะอินทรีย์กล้า สติอินทรีย์กล้า

    การเดิน การก้าว การเอื้อม การคู้ พิจารณาโดยความเป็นธาตุ ไม่ใช่เห็นเป็นรูปย่าง รูปก้าว

    เพราะถ้าเห็นเป็นรูปก้าว รูปย่าง เท้าก้าว เท้าย่าง ไม่สามาถรเพิกความเป็นเราได้

    การเดินจงกรม ให้สังเกตุต้นจิต จิตที่คิดจะก้าว จิตที่อยากจะเคลื่อน

    เป็นปัจจัยให้ความสั่นสะเทือนเกิด หรือจิตชวาโยธาตุปรากฏให้เกิดการเคลื่อนไหว

    อาการยก มีลักษณะเบาปรากฏแล้วดับไป

    อาการย่าง มีลักษณะเคลื่อนไปปรากฏแล้วดับไป

    อาการลง มีลักษณะหนักปรากฏแล้วดับไป

    อาการกด มีอาการแข็ง หรือเย็นปรากฏแล้วดับไป

    หากใส่ใจเฝ้าสังเกตุ จะเห็นการเกิดดับแตกสลายเป็นขณะๆตามจริง

    เมื่อเห็นรูปไม่นาน นามก็ปรากฏ เป็นของที่ถูกรู้ได้ คือ ความรู้สึกสบาย ไม่สบาย เป็นกิจของเวทนา

    ความชอบ พอใจ ไม่พอใจ ติดข้องในอารมณ์ เป็นกิจของสังขาร

    ใส่ใจสิ่งที่รู้ เป็นคนละลักษณะกับสิ่งที่ถูกรู้ เช่นรู้ทางตากับเห็น รู้ทางหูกับเสียง รู้ร้อนแข็ง รู้ทางใจ

    ตรงนี้ให้ใส่ใจ ความมีแล้วไม่มีเนืองๆ คือความไม่เที่ยงของสิ่งที่ถูกรู้ และ ผู้รู้เอง

    ไม่ใช่ตัวตน คนสัตว์ ความเป็นเราในนั้นตามปัญญาเห็นอนัตตลักษณะ


    สำคัญคือ หลักมัชฌิมาปฎิปทา ไม่เข้าไปเสพคุ้น ข้องแวะ ตัดสินสภาวะธรรม

    เป็นแต่ผู้ดู ไม่ใช่ผู้เสพ ไม่ตัดสิน ไม่ติดผู้รู้
     
  13. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    เจริญเมตตาก็ดี จิตจะได้ไม่แห้งแล้ง ไว้เป็นเครื่องอยู่ได้เหมือนกัน

    เห็นคนสัตว์ หมา แมว นึกน้อม ปราถนาดีให้เขามีความสุข เนืองๆ

    ให้จิตอ่อนโยนพอเหมาะ สลับมาพิจารณาสภาวะธรรมที่ปรากฏ ด้วยความมีแล้วไม่มีก็ได้

    ส่วนรายละเอียดข้อปฏิบัติเมตตา ผู้รู้ในนี้แสดงไว้ดีแล้ว ^^
     
  14. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    หลวงพี่สิงห์สงบจุงเบย
     
  15. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    น่าสนใจครับหลวงพี่ ตรงนี้ผมอ่านยังไงก็ยังแบ่งอารมณ์เป็นสองอยู่
    เหมือนหลวงพี่จะเริ่มด้วยสมาธิแต่มาปัดออกเสียตรงเน้นปัญญามากกว่าสมาธิ
    ตรงนี้ผมเห็นว่ามันน่าจะไปขวางอยู่ พอความเห็นตรงนี้ปรากฏสมาธิตกทันที
    ก็ไม่สามารถขึ้นวิปัสสนาได้เลย
    หลังจากนั้นจะกลายเป็นคิดพิจารณา กลายเป็นแตกฉานด้านความคิดไปครับ มันจะไม่เห็นใจตามจริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 มิถุนายน 2013
  16. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687

    ใช้ปัญญานำสมาธิ

    เวลาสนใจอะไรเป็นพิเศษ

    เช่นขณะเดิน อาจไม่รู้ตัวว่าเดิน เพราะไปมุ่งลุ่มหลงภาพที่เห็น จนเมื่อเหยียบแก้ว

    จิตก็หน่วงไปใส่ใจที่เท้าเจ็บเป็นพิเศษ

    ระลึกได้คือ สติ

    รู้เวทนา เป็น ปัญญา

    เพียรใส่ใจเฝ้าดู คือ วิริยะ

    ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่รู้ คือ สมาธิ

    ฉนั้น สมาธิไม่ใช่ตัวนำ แต่เป็นตัวหนุน

    หากสมาธินำ สมาธิมาก จะเลยเขตวิปัสสนา

    เพราะอารมณ์ตั่งมั่นจนเป็นอารมณ์เดียว จะมองไม่เห็นไตรลักษ์

    ผู้ทำสมาธิมาก เอาสมาธินำ ไปได้ถึงปัญจมฌาณ อรูปฌาณ แต่สุดท้ายต้องถอยออกมาเพื่อพิจารณาวิปัสสนา

    ในสติปัฏฐานสี่ เป็นเรื่องปกติธรรมดาในชีวิตประจำวัน ใช้กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นที่ระลึก

    ขณะเอื้อม ขณะคู้ ขณะย่าง ขณะนั่ง ตากระทบ กายรู้สัมผัส

    พวกนี้มีองค์ธรรม อาตาปี สติมา สัมปชาโน ส่วนสมาธิเป็นตัวหนุนเท่านั้น ^^


    ส่วน พิจารณานั้น หมายถึงพิจารณาลักษณะสภาวะธรรม โดยวิเสสลักษณะ และ สามัญลักษณะ

    พูดให้เข้าใจง่าย คือ พิจารณาสภาวะธรรมที่ปรากฏ ( เห็นปรมัตถ์ )

    ด้วยการรู้ที่ลักษณะรูปนาม เห็นความไม่เที่ยง ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ใครเกิดดับไปตามเหตุปัจจัย

    วิปัสสนาก็ขึ้นตรงนี้แล ความดับก็ดับตรงนี้แล




    ยังเห็นอย่างนี้อยู่รึเปล่า
     
  17. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ขยายอีกหน่อย

    วางมือลงบนโต๊ะ!

    ธรรมเกิดทันที สภาวะะธรรมปรากฏ กระทบเกิดแล้วดับทันที แข็งปรากฏทันที

    ขณะนั้นมีรู้ และถูกรู้ ( จิตหน่วงไปรู้อารมณ์ )

    ของที่ถูกรู้ คือสภาวะแข็ง ไม่ใช่โต๊ะ ไม่ใช่มือ เป็นแต่สภาวะแข็ง ( สติระลึก )

    ในสภาวะแข็งนั้น ไม่มีคน สัตว์ ห้ามให้ไม่เกิดก็ไม่ได้ ( สัมมาสังกัปปะ ดำริออกจากกาม )

    กระบวนการนี้ เริ่มจากมัมมาทิฏฐิ คือ เห็นชอบ เห็นถูกต้อง ไม่ได้เห็นวิปลาส

    สมาธิ เป็นเพียง เป็นตัวหนุน เป็นขณิกสมาธิ แต่เป็นขณะที่มีกำลังมากชั่วขณะ


    ปรียบไว้ดุจ ถือมีด

    ความคมคือปัญญา นำหน้า ความเพียร คือการประคองมีด สมาธิ คือการถือด้ามมีด

    ทุกอย่างล้วนมีหน้าที่ เกื้อหนุนกัน

    เมื่อเสือกมีดไปข้างหน้า ความคมก็จะตัด ความไปข้างหน้าคือความเพียร ความไม่แส่ส่าย คือ สมาธิ
     
  18. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ยังเห็นอยู่ครับ หลวงพี่
    เข้าใจว่า ต้องถอยออกมาดูที่อานาปานสติบริบูรณ์ยังให้สติปัฏฐาน 4 บริบูรณ์ ครับ
    เป็นข้อที่ลองพิจารณาดู แล้วลองปฏิบัติมาในส่วนของการฝึกสติในชีวิตประจำวัน
    พบว่ากำลังของสมาธิยังไม่พอครับ เลยลองหันกลับมาอ่านฟังอีก ว่ามีส่วนใดในความเห็นที่ติดขัด ข้องอยู่ ก็พอจะเห็นได้ว่า ความตั้งมั่นในการพิจารณาไม่ต่อเนื่องพอเพียง ไหลไปกับความฟุ้งซ่านเสียมาก
    *อาตาปี สติมา สัมปชาโน *
    ส่วนนี้กำลังพิจารณาอยู่บ่อยๆนะครับ
     
  19. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ทีนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่ กล่าวว่ายังเห็นเป็นสองอยู่
    ความเห็นลงใจไม่เป็นดั่งที่หลวงพี่กล่าวมาครับ มันขาดส่วนสำคัญไป
    ปล.เข้าใจที่หลวงพี่กล่าวมาครับ ผมเองก็เคยคิดเห็นแบบหลวงพี่ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 มิถุนายน 2013
  20. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ลองสังเกตุใส่ใจสภาวะธรรมอะไรก็ได้ที่เกิดอยู่

    ดูให้เหมือน กำลังร้อยด้ายเข้ารูเข็ม

    ยิ่งใส่ใจ ยิ่งตามรู้ ความตั้งมั่นก็มีกำลังตามไปด้วย เป็นเงาตามตัวในขณะนั้น

    อุปมาส่องกล้องจุลทัศน ขยายมาก็เห็นรายละเอียดมาก อำนาจสมาธิก็มีอยู่ในสมัยนั้น

    เพียงแต่ปัญญาเป็นผู้นำทาง
     

แชร์หน้านี้

Loading...