การใช้ฌานเป็นบาทเจริญวิปัสสนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 10 มีนาคม 2013.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ในตำราทางพระพุทธศาสาก็มีการพูดถึง
    การใช้ฌานเป็นบาทเจริญวิปัสสนากันอย่างกว้างขวาง
    ข้อนี้มิได้หมายความว่า ต้องเจริญฌานเสียก่อนวิปัสสนาจึงจะเกิดขึ้นได้
    น่าจะมีคำเฉลยดังนี้ ก่อนอื่น พึงทราบว่า
    บุคคลผู้ปฏิบัตินั้นมี ๒ จำพวก คือ สมถะ กับ วิปัสสนา

    สมถะ แปลว่า ผู้มีสมถะเป็นยาน
    หมายความว่า มีสมถะอันได้แก่ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ
    ที่เรียกว่า ฌาน ที่เรียกว่ายานนำไปสู่พระนิพพานนั่นเอง
    ท่านผู้นี้ต้องเจริญสมถะจนได้ฌานมาก่อน
    ได้ฌานแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อไป ท่านผู้ที่เจริญสมถะนี้แหละ
    ชื่อว่าใช้ฌานเป็นบาทเจริญวิปัสสนา

    แต่คำว่า ใช้ฌานเป็นบาทมิได้หมายความว่า เจริญสมถะไปจนได้ฌาน
    เมื่อได้ฌานแล้วปัญญาจะเกิดขึ้นเอง
    อย่างที่เข้าใจกันอย่างทั่วไป ที่แท้แล้วเป็นการเข้าฌานที่ได้นั้น
    แล้วออกมาพิจารณาสังขาร กล่าวคือองค์ฌานทั้งหลายเป็นระยะๆ
    ติดต่อกันไปจนกระทั่งเกิดวิปัสสนาปัญญา

    เห็นความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหล่านั้น
    เข้าฌานออกมาพิจารณาองค์ฌานอยู่อย่างนี้แบบซ้ำๆซากๆ
    วิปัสสนาก็จะถึงความแก่กล้าไปตามลำดับ จนกระทั่งเห็นโทษเห็นภัย
    เห็นความเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลาย เมื่อสามารถเห็นได้ดังนี้
    ก็ย่อมบรรลุมรรคผล กระทำนิพพานให้แจ้งได้

    ข้อสำคัญ อย่าพึงเข้าใจว่ามีการพิจารณาสังขารในขณะเข้าฌานอยู่
    ในขณะเข้าฌานจะไม่สามารถพิจารณาสังขารได้เลย ในระหว่างที่เข้าฌานอยู่นั้น
    จิตจะตั้งมั่นในอารมณ์กรรมฐานของตน มีกสิณ เป็นต้น อารมณ์เดียวเท่านั้น
    จะไม่มีการย้ายไปรู้อารมณ์อื่น กล่าวคือ การจะพิจารณาสังขารได้นั้น
    ก็ต้องออกจากฌานเสียก่อนจึงจะพิจารณาสังขารได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มีนาคม 2013
  2. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ในขณะพิจราณาสมถะ..ยกธรรมขึ้นพิจราณาจนจิตย่างเข้าสู่สมาธิโดยไม่รู้ตัวจนถึง..ฌาน.. นี่เป็นไปได้100เปอร์เซ็นต์ผมเห็นด้วยครับ อิอิ:cool:
     
  3. chuchart_11

    chuchart_11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +2,932
    ขออนุโมทนาสาธุ ธรรมใดที่ท่านสำเร็จแล้ว ขอข้าพเจ้าสำเร็จด้วยเทอญ สาธุๆๆ
     
  4. จิตเปโม

    จิตเปโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +253
    เห็นด้วยอย่างมากกันคุณลุงหมานนะครับ ผมว่าเป็นอะไรที่ดีใจกับผู้ที่เข้าใจวิถีทางของการปฏิบัตินะครับ

    และขออนุโมทนากับคุณลุงสับสนด้วย เพราะผมเห็นด้วยว่าการพิจจารณาสังขารไปเมื่อจิตเริ่มหมดกำลัง บางครั้งจิตก็จะพลิกไปเข้าสมาธิเอง อันนี้ถ้าผู้เข้าใจการปฏิบัติจริง ก็จะทำสมถะต่อไปเลย เมื่อพักเต็มที่จิตถอนออกมาจากสมาธิ ก็มาพิจจารณาธรรมต่อ

    คือมันจะสลับไป สลับมาเอง ง่ายๆ แบบธรรมะชาติมาก สบายๆ หากปฏิบัติเป็นแล้ว ที่หลือคือต้องรักษาอย่าให้ความเพียรตกครับ
     
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    การออกจากฌานเพื่อมาพิจารณาสังขารนั้น
    แค่มาใช้ขณิกสมาธิเท่านั้นจึงจะเจริญวิปัสสนาได้
    (สมาธินั้นมี ๓ ระดับ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ)

    รวมความว่าแม้เป็นผู้ได้ฌาน แต่เมื่อจะเจริญวิปัสสนาก็ต้องเข้าฌาน
    แล้วออกจากฌานนั้นต้องหวนกลับมาใช้ขณิกสมาธิ แล

    อนึ่งหากจะมีผู้สงสัยมาอย่างนี้ว่า ออกจากฌานเสียแล้วในเวลานั้น
    จะมีองค์ฌานอะไรเหลืออยู่ให้พิจารณาได้เล่า ?

    ก็ต้องพึงทราบดังนี้ว่า ตอนที่ผู้ปฏิบัติออกจาฌานใหม่ๆนั้น
    ความรู้สึกของฌานยังชัดเจนอยู่ องค์ฌานทั้งหลายก็พอปรากฏชัดอยู่ในจิตของผู้ปฏิบัติในคราวนั้น

    อุปมาเหมือนเราออกมาจากห้องปรับอากาศมาใหม่ๆ
    ก็ยังมีความรู้ว่ายังเย็นได้อยู่ ต่อมาอีกสักครู่จึงจะรู้สึกว่ามีความร้อนแทรกขึ้นมาฉะนั้น
    เพราะฉะนั้นก็ยังพอกำหนดพิจารณาได้

    เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณานานไปความรู้สึกที่เป็นสภาวะของฌานนั้นจะค่อยๆเลือนลางไป
    ผู้ปฏิบัติต้องเข้าฌานอีกครั้ง เพื่อทำให้ชัดเจนขึ้นมาอีก
    แล้วก็ออกจากฌานมาเพื่อพิจารณาอีก
    ทำอยู่อย่างนี้แหละที่เรียกว่าทำ ซ้ำๆ ซากๆ จนกระทั้งเกิดปัญญา

    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า ผู้ได้ฌานประสงค์จะเอาฌานเป็นบาทเจริญวิปัสสนา
    ต้องเป็นผู้มีวสีคือความชำนาญในฌานเกี่ยวกับการเข้าการออกจากฌานได้
    โดยฉับพลันทันทีทุกขณะที่ต้องการ เป็นต้น
    ไม่เช่นนั้นแล้วก็ไม่สามารถทำฌานให้เป็นอารมณ์กรรมฐานของวิปัสสนาได้โดยสะดวก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 มีนาคม 2013
  6. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,442
    ค่าพลัง:
    +35,042
    อนุโมทนาสาธุเห็นด้วยกับเหตุและผล
    จากบทความที่ ลุงหมาน นำมาเผยแผ่นะครับ..แต่ผมต้องขออนุญาตเพิ่มเติมเล็กน้อยนะครับ..


    อ้างอิงประโยคนี้'' ในระหว่างที่เข้าฌานอยู่นั้น
    จิตจะตั้งมั่นในอารมณ์กรรมฐานของตน มีกสิณ เป็นต้น อารมณ์เดียวเท่านั้น
    จะไม่มีการย้ายไปรู้อารมณ์อื่น กล่าวคือ การจะพิจารณาสังขารได้นั้น
    ก็ต้องออกจากฌานเสียก่อนจึงจะพิจารณาสังขารได้''


    ถ้าปกติทั่วไปจะไม่สามารถพิจารณาอะไร.ก็ต้องออกจากฌานตามบทความ
    ที่ได้นำมาลงนั่นถูกต้องแล้วครับ..

    ..
    แต่สามารถที่จะพิจารณาในจุดนี้ได้เหมือนกัน...
    ถ้าหากว่า.มีองค์ประกอบครบทั้ง ๓ ส่วนดังนีต่อไปนี้


    ๑.มีกำลังสติทางธรรมเพียงพอในการที่จะควบคุมจิตไว้ให้อยู่ในร่างกายได้
    ในขณะที่กายกับจิตเริ่มแยกกันชั่วคราว
    .โดยที่ตัดเรื่อง การส่งออกของจิตหรือการถอดจิตออกนอกร่างกายหรือไปท่องเที่ยวยังสถานที่ต่างๆ
    ให้จิตแยกจากกาย และให้อยู่อย่างนั้นเป็นการบังคับจิตให้ว่างรับรู้ในเบื้องต้น


    ๒.ตัดเรื่องการแวะเข้ามาของภพภูมิ
    ทุกกรณีที่มาจากจากภายนอก.ด้วยการเพิกเฉยทุกกรณีและยังรักษาอารมย์นี้ไว้ได้.
    จากกำลังสมาธิจากกรรมฐานของตนที่สะสมมาเพียงพอ
    เพื่อป้องกันจิตเข้าไปรับรู้ภายนอกจะทำให้จิตไม่อยู่ในอาการว่างรับรู้


    ๓.ที่สำคัญคือ ต้องรู้จักเรื่อง การวางอารมย์สำหรับเรื่องที่จะพิจารณาไว้ก่อนในเบื้องต้น
    ก่อนที่จะนั่งสมาธิ.ว่าวันนี้จะพิจารณาเรื่องอะไร.ซึ่งโดยปกติถ้าทำอย่าง
    นี้ได้จะสามารถพิจารณาได้ที่ละเรื่องและก็เป็นเรื่องๆไป.ซึ่งแล้วแต่บุคคล
    จะพิจารณาเรื่องไหนก่อน.แต่ตามหลักควรพิจารณาเรื่องในส่วนกิเลสละเอียด
    ของตนที่ยังหลงเหลืออยู่.ณ จุดนี้จะแตกต่างกันไปตามเหตุและปัจจัยของแต่ละบุคคล.
    จะทำให้เรื่องที่ผุดขึ้นมาไม่กลายเป็นนิวรณ์ที่ทำให้ออกจากอารมย์นั้นหรือเป็นสมมุติบัญญัติที่ไม่สามารถละและคลายกิเลสได้จริงๆ
    ..


    ที่กล่าวมาโดยสรุปคือ สมาธิจากกรรมฐานเพื่อรักษาระยะเวลา ณ จุดนั้นให้มากพอมีเวลาพิจารณาบวกกับ
    กำลังสติที่มากพอในการควบคุมจิตเพื่อตัดเรื่องการ
    ส่งออกและการแวะเข้ามาทุกกรณี.ป้องการเข้าไปปรุงร่วม

    และเรื่องการวางอารมย์เรื่องที่จะทำการพิจารณา
    เพื่อใช้เป็นบาทฐานในการพิจารณา ณ ช่วงอารมย์นั้นๆ
    ทั้ง ๓ ส่วนนี้เป็นองค์ประกอบ และส่วนที่ ลุงหมาน
    นำบทความมาลงในขั้นนี้เห็นชอบด้วยครับ.
    .​
     
  7. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    พิจารณาในขั้นขนิกสมาธิจริงหรือครับ...?
     
  8. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุเพราะก้าวล่วงรูปสัญญาเสียได้โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญาเพราะการไม่ใสใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าอากาสนัญจายตนะ อันมีการทำไว้ในใจว่าอากาศไม่มีที่สุด ดังนี้เเล้วแลอยู่
    ในอากาสานัญจายตนะนั้นมีธรรมคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน เธอนั้น ตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้น(นามธรรม4)โดยความเป็นของไม่เที่ยง
    เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีอากานัญจายตนะเป็นบาทฐานนั้นฯลฯ
    ( เอาย่อๆมาเท่านี้พอ จะเห็นว่า พอเข้าถึงอรูปฌาน พระองค์ยังคงยืนยันคำเดิมที่พระองค์ตรัสไว้ไม่เปลี่ยนว่า ให้ใช้ฌานมาเป็นบาทฐาน เพราะในอรูปฌาน คงไม่มีสมาธิอื่นนอกจาก สมาธิที่ไม่มีรูป มีอากาสานัญจายตนะเป็นต้น สิ่งที่เรียกว่ารูปสัญญา หรือ รูปขันธ์มันเข้ามาอยู่ในอากาสานัญจายตนะหาได้ไม่ เเล้วถ้าย้อนกลับไปในรูปฌาน พระองค์ก็ยังคงยืนยันคำเดิมว่า ขันธ์5มันยังคงทำงานอยู่ ฉนั้นไม่มีอรรถะพยัญชนะที่ผิดพลาดเเต่ประการใด ที่ต้องมาแปลอีก ทุกคำล้วนเป็นอกาลิโก ถูกต้องไม่จำกัดกาล
    เเล้วจะมีอีกสูตรที่ตรัสถึงบุคคล3จำพวก(ตรงนี้พวกศึกษาปิฏกคงเข้าใจ). ส่วน สมถะ วิปัสสนา เราไม่ควรเเยกกัน เพราะพระองค์ตรัสว่าถ้ายังไม่ได้ทั้ง2หรือถ้าได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ภิกษุพึงกระทำฉันทะ วายามะฯ อัปปฏิวานี สติ. สัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เช่นเดียวกับบุุคลที่มีไฟไหม้ที่ชุด เพื่อให้ได้ ให้เจริญธรรมทั้ง2คือ สมถะ วิปัสสนา. ต้องเคียงคู่ไม่เเยกออกจากกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มีนาคม 2013
  9. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ต้องขอความรู้จากลุงหมานอีกมากขอรับ
    กล่าวว่าท่านหายไปตั้งนาน
    ท่านคงดีขึ้นแล้วขอรับ

    กระผมเอาฟุ้งมาดับ
    พอเริ่มปฏิบัติทีใดเริ่มที่ฟุ้งทุกที
    การฟุ้งนี้ ฟุ้งในความไม่ยุติในทุกธรรมที่เกิดขึ้น
    ในวันนี้
    ในวันวาน
    ในผ่านมา
    เพราะเมื่อหยุดแล้วไม่ได้มองไปในอนาคตในระหว่างปติบัติ

    การฟุ้งนั้นฟุ้งในธรรม
    ที่เป็นกุศลธรรมและอกุศลธรรม

    ในตนเอง ในคนอื่น
    ในเหตุในปัจจัยที่มาของเหตุ
    ในอิทธิพลที่ทำให้เกิดเหตุ
    ในอารมณ์นั้นของเหตุ

    ว่าทำไมเราต้องแสดงหรือทำอย่างนั้นในธรรมที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
    และทำไมต้องจบลงอย่างนั้น
    ซึ่งเราเข้าใจว่าไม่ยุติธรรม
    แต่ธรรมนั้นยุติแล้ว
    เกิดอีกล้านครั้งด้วยเหตุด้วยปัจจัยอย่างนั้นต้องเป็นอย่างนั้น

    ธรรมเก่าพิจารณาที่เท่าไรก็ต้องจบลงอย่างนั้น
    สงบ....

    พอสงบเรื่องหนึ่งเรื่องหนึ่งมาต่อพิจารณาอีกด้วยหลักการณ์เดียวกัน
    คือวิตกวิจารณ์พิจารณาในขณะที่นั่งทำสมาธิ
    ไม่บ้า
    ไม่ปวดหัว
    ไม่ฟุ้งซ่านในขณะลืมตาหรือใช้ชีวิตบนโลกในวันต่อไป

    พอสงบแล้วทุกอย่างเริ่มสงบมากขึ้นมากขึ้น
    ไม่ได้สงบเลยในครั้งเดียว
    เป็นคนมีหลักยึดมั่นในศีลธรรมประกอบกรรมดีบ้าง....ชั่วบ้าง

    เป็นสุขทั้งทางปฎิบัติและทางโลก
    สี่สบายๆ

    ท่านสมมุติอย่างนั้น

    แล้วเรื่องทางธรรมนี้มองอย่างไรขอรับ

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้วขอรับ
     
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ส่วนวิปัสสนา แปลว่า ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน

    คือมีวิปัสสนาปัญญาอย่างเดียวเท่านั้น เป็นยานพาหนะพาไปสู่พระนิพพาน
    ความว่า เจริญวิปัสสาอย่างเดียวมาตั้งแต่ต้น มิได้เจริญสมถะมาก่อน

    แต่ถ้าหากว่าในคราวเจริญวิปัสสนามิได้ใช้ฌานนั้นให้เป็นประโยชน์ เกี่ยวกับการเข้าฌานก่อน
    แล้วจึงออกมาพิจารณา เรียกว่าไม่เอาฌานมาเป็นบาทเบื้องแรก ซึ่งใช้เพียงขณิกสมาธิเท่านั้นมาตั้งแต่ต้น

    เพราะฉะนั้น ตามที่กล่าวมานี้ท่านจะเห็นว่าการใช้ฌานเป็นบาทเจริญวิปัสสนา
    อันเป็นการทำฌานนั้นให้เป็นปัจจัยแก่การเจริญวิปัสสนา เป็นปฏิปทาสำหรับบุคคลผู้เป็นสมถะยานิกเท่านั้น

    แต่อย่างไรก็ตาม ทั้ง ๒ อย่างนี้ ต้องเจริญวิปัสสนาจนเกิดวิปัสสนาเห็นไตรลักษณ์
    กล่าวคือ ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาด้วยกันทั้งนั้น
    จึงจะหลุดพ้นจากทุกข์ได้ ถึงพระนิพพานได้ ข้อนี้แหละที่ว่าเหมือนกันอยู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 มีนาคม 2013
  11. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    ในฌานก็พิจารณาวิปัสสนาได้ ยกเว้น ฌานที่ทำให้เกิดเป็นอสัญญสัตตา (พรหมลูกฟัก)

    พิจารณา ค.เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งองค์ฌาน คือวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกคัตตา
     
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จุดที่ต่างกันของ สมถะ กับ วิปัสสนา คือ อารมณ์
    :z16- สมถะ นั้น จะคอยประคองจิต หรือบังคับจิตให้อยู่ในอารมณ์เดียว
    ซึ่งที่เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ไม่ให้จิตสอดส่ายไปรับในอารมณ์อื่น
    หากจิตสอดส่ายไปในอารมณ์อื่นก็ต้องประคองจิตให้มาอยู่ในอารมณ์กรรมฐานเดิม

    :z16- วิปัสสนา นั้น จะประคองจิตพิจารณาให้รู้ทุกขณะที่อารมณ์มากระทบ
    ทุกทวารที่เด่นชัดกว่า ที่เรียกว่ารู้ขณะปัจจุบันที่เกิดขึ้น
    เพื่อพิจารณาให้เห็นความเกิดดับของรูปนาม เพื่อหยั่งลงไตรลักษณ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 เมษายน 2013
  13. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ส่วนตัว....
    ฌาน1 - ความทรงจำ กำหนัด ในรูปรสกลิ่นเสียง ดับ -มีวิตกวิจารณ์อยู่กับลมสั้นยาว หนักเบา
    ฌาน2 - วิตกวิจารณ์ดับ -มีความปิติสุข อยู่กับลมหายใจ (อันนี้ต้องฝึกพิจารณาหาความสุขอันไม่มีอะไรมาฟุ้งซ้าน)
    ฌาน3 - ปิติดับ -มีแต่รู้สึกลมเข้าออก
    ฌาน4 - รู้สึกลมดับ - มีรูปร่างแสงสว่าง
    ฌาน5 - รูปร่างแสงสว่างดับ - สว่างไปทั่วไม่มีสิ้นสุด
    ฌาน6 - ไม่สนใจในความสว่าง แต่รู้สึกที่ตัวเองเหาะไปทั่วแสงสว่างนั้น
    ฌาน7 - ทำความรู้สึกว่า มันไม่มีอะไรเลย
    ฌาน 8 - 9 ยังไม่ทราบ

    ฌาน - เมื่ออยู่ในฌานแล้วขยับฌานขึ้นเรื่อยในแต่ละขั้น ตั้งแต่ ฌาน1-9 เอาไว้พิจารณาอารมณ์ความสุขอันละเอียดปราณีต ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เรียกว่า อารมณ์อันน้อมไปนิพพาน
    ส่วนเมื่อไหร่ที่ เดียวหลุดเดียวเข้าได้ ก็ให้พิจารณาความไม่เที่ยง บังคับบัญชาไม่ได้ของจิต
    ตอนที่ท่านอยู่ในฌาน ท่านไม่สามารถพิจารณาความไม่เที่ยง บังคับบัญชาไม่ได้ของจิต เพราะตอนนั้นท่านตั้่งมั่นอยู่กับสัญญาที่ท่านปรุงแต่งอยู่ แต่เมื่อท่านหลุดจากฌาน ท่านก็จะตกไปที่วิตกวิจารณ์เองอัติโนมัติ ช่วงนั้นใช้สติเห็น(จักษุฌาน)ความไม่เทียงบัญชาไม่ได้ เสีย

    ส่วนวิปัสสนาในปัจจุบันขณะนั้น ชั้วพริบตาที่ไหลไปเป็นสมาธิ ก็จะเห็น ปฏิจจสมุปบาท ไปในลักษณะ อริยสัจจ4 นั้น กล่าวคือ เมื่อท่านมีสติ รู้เห็น ทุกข์ ปัญญาจะเกิดพจารณาให้เห็นเหตุแห่งทุกข์ แล้วมันก็ดับลง แล้วพิจารณาอารมณ์ที่แตกต่างกันระหว่าง ช่วงที่ฟุ่งซ่านหรือ เกิดอยากจนทุกข์ นั้นกับตอนที่ อยากดับทุกข์ดับ ว่ามันสุขกว่ากันเพียงใด อันนี้เรียกว่า แจ้งนิโรธ
    หากทำจนดีแล้ว จิตจะวิ่งไปสู่ อริยสัจจ4 อยู่เรื่อยๆ เพราะจิตจะหาที่สบายและสุขแทน นั้นคือ มรรคท่านเกิด แล้ว

    การเห็นเหตุแห่งทุกข์ จะค่อยๆเห็นจากหยาบ จน ละเอียด แล้วแต่อินทรีย์พละแต่ละคน บางคน เห็นว่ากำลังทุกข์ แล้ว จึงเห็นว่า ตัณหา คือ อยาก แล้วจึงทุกข์ บางคนก้เห็นละเอียดลงไปจนเห็นว่า เพราะ เราปรุงแต่งในสิ่งที่ผัสสะ จึงไหลไปอยากตามกิเลส แล้วจึงทุกข์

    ครับ...
     
  14. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    [๘๒๙] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้ ชื่อว่า มีสติปัฏฐาน
    ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์
    บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้
    ธรรมที่ควรรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญา
    อันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า
    อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์ คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณ
    เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชา และภวตัณหา
    เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะและวิปัสสนา
    เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือวิชชาและวิมุตติ
    เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ
    ..............
    [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่าง
    เป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวย
    ประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้
    วิปัสสนาที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อม
    เสวยประโยชน์อะไรย่อมละอวิชชาได้ ฯ

    ........................................
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อม
    พยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ เป็นไฉน
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ
    ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์
    ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญสมถะมี
    วิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้นย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอเจริญสมถะ
    และวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ เจริญกระทำ ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อ
    เธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละ สังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

    อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่นสงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ เธอย่อมเสพ เจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพเจริญ กระทำ ให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด
    ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัต ในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ
     
  15. พูน

    พูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +2,479
    รอยต่อเรื่องนี้ คือ พรหมวิหาร 4 ไปลองกันดูครับ เปลี่ยนจากสมถะที่ตนทำจนคล่องมาจับพรหมวิหาร 4 ให้ทรงฌานให้ได้ และใช้อารมณ์คิดนั้น เปลี่ยนเป็นวิปัสสนาต่อ เดี๋ยวก็ได้เรื่องเอง พอถึงสังขารุเบกขาญาณรอบแรก ก็จะเห็นปฏิจจสมุทบาทๆ นี้เป็นสภาวะธรรม เป็นชื่อเรียกผลที่ได้ที่เห็น ไม่ใช่วิธีการ ไม่รู้อธิบายไงดี ลองทำดูล่ะกัน พูดไม่ถูก
     
  16. รีล มาดริด

    รีล มาดริด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +717
    เช่นนี้ การ ปฎิบัติ เพื่อ เกิด วิปัสสนา โดยไม่ต้องทำสมถะ ก็ เกิด ได้ น่ะสิ
    เรื่อง การ เกิด วิปัสสนาญาณ มี การถกเถียงกันมานาน มีการไม่ยอมรับ ด้วยว่า หาก ไม่ทำ ฌาณ ก่อน หรือ ไม่ทำ สมถะ เลย ไม่มีทาง จะเกิด วิปัาสสนา ได้

    ลุงหมาน มี หลักฐาน มั้ยครับ สำหรับ เรื่องนี้...
    เพราะ มี หลายๆคน ไม่ยอมรับ..
     
  17. รีล มาดริด

    รีล มาดริด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +717
    สมาธิ ที่เกิด จากฌาณ นั้น ทำให้ เพียง จิตสงบ และ คุ้นเคยอาการ สงบ แต่ จิต ไม่เห็นไตรลักษณ์

    สมาธิ ที่เกิด จาก เจริญสติ จิตจะสงบ เอง และ สงบเพราะ เห็นไตรลักษณ์

    คราวใด ที่ จิต เห็นไตรลักษณ๋ จิตจะสงบเอง สั้นๆ เรียกว่า ขณิก สมาธิ
    การทำ ความเพียร จึง สำคัญ ตรงนี้ เพราะ การ เจริญให้มาก นั่นเอง
    ที่เป็นตัวเร่ง จิต ให้ พบ สมาธิ จากการเห็นไตรลักษณ์ อันเป็น
    ประโยชน์ ในการ เห็น เกิด ดับ ด้วยจุดประสงค์ในการ ละ ภพ ละอุปาทาน

    แบบนี้ เรียกว่า ปัญญา นำสมาธิ
    ส่วนการ ทำฌาณ แล้ว ถอน จิตออกมาดู พิจารณาสังขารนั้น
    เรียกว่า สมาธิ นำปัญญา

     
  18. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    เจริญพรทะเลาะกันอีกแล้ว การภาวนาสามารถทำได้ควบทั้งสมถะและวิปัสสนา ผู้เิ่ริ่มใหม่ควรทำสมาธิก่อนแล้วใช้โยนิโสมนสิการให้เกิดปัญญา ส่วนการเกิดปัญญาขึ้นเองจะต้องมีเหตุ และเหตุนั้นต้องมีสติที่จับได้ไว จับได้ปุ๊บปัญญาปั๊บ ปัญญารู้ปั๊บปิ๊งเลย
     
  19. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    อนุโทนาครับ การพิจารณาจะทำได้ต้องมีสิตสัมปะชัญญะที่สมบูรณ์

    แต่ไม่ควรกระทำในขณะที่มีอารมณ์เดียว อารมณ์เดียวนั่นเป็นหน้าที่ของ การวิปัสสนา

    การดูจิต คือ การวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งแตกต่างจากการ พิจารณา ที่ต้องใช้การคบคิด

    ใตร่ตรองสิ่งที่พบเห็นให้ละเอียดถี่ถ้วน สองสิ่งนี้หาใช่สิ่งเดียวกัน

    สาธุครับ
     
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ขอเรียนให้ท่านทราบและต้องเข้าใจดังนี้ครับ...สมถะ กับ วิปัสสนา นั้นต่างกัน
    สมถะเป็นไปด้วยอำนาจของสมาธิ ตั้งแต่ ขณิกสมาธิ อุปจารสมา อัปปนาสมาธิอธิบาย
    ขณิกสมาธิ เป็นสมาธิที่เริ่มต้น (ยังไม่แนบแน่น)
    อุปจารสมา เป็นสมาธิที่เฉียดฌาน หรือใกล้ฌาน
    อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิที่เข้าถึงฌาน
    แปลความว่า ผู้ที่ได้สมาธิทั้ง ๒ คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ นี้ยังเป็นผู้ที่ยังไม่ได้เข้าถึงฌาน
    ผู้ทำฌานได้นั้นจะต้องมีสมาธิทั้ง ๓ คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมา อัปปนาสมาธิ ครับ

    สำหรับผู้ทำวิปัสสนา เป็นไปด้วยอำนาจของปัญญา ซึ่งมีสติเป็นตัวเริ่มต้น
    การทำวิปัสสนานั้นก็เพียงใช้สมาธิเริ่มต้น คือ ขณิกสมาธิ เท่านั้น
    เพื่อเป็นบาทของวิปัสสนา ถ้าจะให้เลยไปถึงอุปปจารสมาธิก็เป็นไปไม่ได้
    เพราะเป็นสมาธิที่ใกล้ฌาน คือโน้มเอียงเพื่อจะเป็นฌานเป็นอัปปนาสมาธิ(อัปปนาสมาธิคือผู้ได้ฌาน)
    การทำวิปัสสนานั้นผู้ที่ยังไม่เข้าใจก็จะเหมาเอาว่าต้องใช้สมาธิทั้งหมดโดยมิได้แบ่งเป็นขั้นตอนของสมาธิก่อน

    สมถะ มีการทำจิตให้นิ่งอยู่ในอารมณ์เดียวเป็นหนึ่งเดียว คือ สมาธิ ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก
    มีความไปฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ สมถะนั้นใช้เพียง ๓ ทวารเพื่อบริกรรมได้แก่ กายทวาร จักขุทวาร และ มโนทวาร

    วิปัสสนา ใช้ปรมัตถ์เป็นอารมณ์โดยใช้สติปัฏฐาน ๔ เป็นที่ตั้งของวิปัสสนาปัญญา
    วิปัสสนานั้นจะไม่เลือกทวารใดทวารหนึ่งแล้วแต่อารมณ์ใดจะมาปรากฏเด่นชัด ก็ได้แก่ทวารทั้ง ๖

    ถ้าจะถามหาหลักฐานนั้นต้องรอก่อน เพราะมันต้องพิมพ์กันยาว
    แต่ก็ยินดีหาให้ครับเพื่อประโยชน์แก่ผู้ใคร่ศึกษา
    จึงขออธิบายมาเพื่อความเข้าใจเพียงเท่านี้ก่อน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 เมษายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...