ยุคก่อนมีพระพุทธรูป

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 6 ธันวาคม 2012.

  1. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    ผมมีผู้ใหญ่ที่นับถือท่านหนึ่งท่านก็ศึกษามาหมดเหมือนคุณเหมือนกันครับ ท่านบอกว่าแม้ภายนอกจะดูต่างกัน แต่เอ็งเชื่อลุงเถอะเนื้อในเขาสอนเหมือนกันมันต่างกรรมต่างวาระเท่านั้นแหละ ไปพูดให้คนต่างถิ่นต่างประเทศกันฟังเอ็งไปสอนแบบเดียวกันเขาจะเข้าใจไหมล่ะ คิดดุ
    อนุโมทนาครับ
     
  2. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    นิพพานเป็นอนัตตา ไม่ใช่การอธิบาย ครับ ผมไม่ได้อธิบายความหมายเลยคุณบ้าเปล่า
    ผมรู้ว่าธรรมแท้อธิบายไม่ได้ แต่เมื่อคุณพูดถึงนิพพาน พูดนั้นพูดนี้คุณก็จำเป็นต้องอธิบายมันในแง่สมมติครับ
    เพื่อเข้าใจระหว่างกัน แต่ผมยังไม่ได้อธิบายนิพพานเลยนะ คุณบ้าเปล่า
    ฟร์อมจัดอยู่เรื่อยนะคุณนะหน้าแตกแล้วแตกอีก ยังจะวางท่า
    สำนักไหนจะสอนอย่างไรไม่สนใจ พระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างไรในพระไตรปิฏก
    นี่ที่ผมสนใจ ช่างหัวมันสิครับสำนักบ้าบอมันจะพูดว่าอะไร เขาให้คุณมาแค่นี้คุณก็โพสต์มาแค่นี้ พูดเหมือนคนปัญญาอ่อนก็ถ้าผมเติมข้อความเขาผมก็โดนข้อหาบิดเบือนข้อมูลสิ
    ผมไม่ได้เถียงกับคุณ คุณมั่วแล้วไม่ยอมรับความจริง ก็ช่างหัวคุณเถอะวันหลังใครถามกช่วยตอบให้มันถูกๆๆหน่อย จะได้ไม่อายเขา
    ผมก็แค่บอกคุณ คุณจะเก็บไปใช้หรือไม่ตามใจ
    ทำเป็นผมให้สังขตสูตรและอสังขตสูตร คุณ ไปคิด
    คุณรู้ความหมายของสูตรหรอครับ ไม่รู้ัอย่าทำมาเป็นพูดคุณเคยจับใจความอะไรได้บ้างละ
    ไม่ต้อง
    เอามาหรอกผมอ่านแล้วถึงมาสอนคุณได้ไง ว่าคุณเข้าใจผิดและเป็นมิจฉาทิฏฐิ


    พระไตรปิฏกตรัสไว้ชัดแล้วสมบรูณ์แล้ว
    ก็จะเห็นว่า ท่านไม่ได้พูดประโยคเดียวนะครับ
    ที่ยกมานี่บางส่วน(จริงๆๆไม่ใช่ผมยกมาหรอกมีคนไปหามาให้แล้วผมก็ลอกเขามาอีกที)
    ไม่ใช่มีแค่ในพระวินัยเล่มแปดเล่มเดียว ในพระสูตรก็มี
    ในชั้นอรรถกถาก็มี ส่วนใครจะเชื่ออย่างไรเป็น
    เรื่องของเขาครับ
    ผมศึกษา ผมถามผู้รู้ ผมอ่านเจอมันก็สอนอย่างงี้
    ในคัมภีร์ก็พูดอย่างงี้
    เว้นแต่จะมีใครหามาได้ว่านิพพานเป็นอัตตา หรือ นิพพานไม่ใช่อนัตตา ในพระไตรปิฏกบาลี
    เอาแบบพระพุทธเจ้าตรัสชัดๆๆเลย
    ผมถึงจะถือว่ายังสรุปไม่ๆได้
    แต่ขอโทษครับตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยเจอเลย
    ขนาดธรรมกายหามาหลายสิบปีแล้ว ยังหามาสนับสนุนความเชื่อตัวเองไม่ได้เลย
    นอกจากเอกสารบิดเบือนพระธรรม แปลมั่วๆๆ หลอกคนไม่รู้้บาลีเท่านั้นเอง
    คิดดูเถอะ ถ้าธรรมกายหาเจอ มีหรือจะปล่อยให้ลอยนวล

    เดี๋ยวผมจะพูดเรื่องนี้บรรยายแบบสำนวนพระอภิธรรม ผมเคยเอามาลงไว้ในเว็ปเว็ปหนึ่งนานแล้ว ขอยกคำของตัวเองมาดังนี้
    "สภาพธรรมที่มีจริง คือ จิต เจตสิก รูปและนิพพาน ซึ่งสภาพธรรมที่มีจริงทั้งหมดนี้ ก็
    ไม่พ้นกฎธรรมชาติที่เป็นไป คือ เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา
    ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ไม่ใช่เรา แต่เป็นธรรม
    สำหรับ จิต เจตสิกและรูป เป็นสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง เป็นอนิจจังเกิดขึ้นและดับไป
    เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้และเป็นอนัตตาด้วยคือ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา และไม่ใช่
    เรา แต่เป็นธรรม จึงเป็นอนัตตา เป็นสุญญตา คือ ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน
    ส่วนพระนิพพานเป็นสภาพธรรมที่แท้เป็นปรมัตถ์ แต่ แน่นอนครับว่า นิพพานต้องเป็นพระนิพพานมันก็แค่การเล่นคำเหมือนไก่ก็ต้องเป็นไก่
    ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ไม่เป็น จิต เจตสิกและรูปตามการแบ่งในพระอภิธรรมคัมภีร์ แต่เป็นพระนิพพาน เป็นสภาพธรรมที่ไม่มี
    ปัจจัยปรุงแต่ง คือ ไม่มี จิต เจตสกิและรูป จึงไม่เกิดขึ้นและดับไปเลย เป็นสภาพธรรม
    ที่เที่ยง และเป็นสภาพธรรมที่เป็นสุขด้วย แต่ที่สำคัญ พระนิพพาน แม้จะเที่ยง เป็นสุข
    แต่พระนิพพานก็เป็นอนัตตาด้วย ไม่ใช่อัตตา เพราะพระนิพพาน เป็นสภาพธรรมที่ว่าง
    ว่างในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าไม่มีอะไรเลย แต่ว่างจากความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นสัตว์ บุคคล คือ ไม่มี
    เรา ไม่มีสัตว์บุคคลให้ยึดถือในพระนิพพาน พระนิพพานจึงไม่ใช่สัตว์ บุคคล แต่เป็น
    สภาพธรรมที่มีจริง และที่สำคัญ บังคับบัญชาไม่ได้ด้วยครับจึงเป็นอนัตตา ตามที่กล่าว
    มา ไม่ใช่อัตตา ดังนั้น เรียกพระนิพพานว่าพระนิพพานได้ และพระนิพพานก็เป็นอนัตตา
    ด้วยครับ จากศิษย์สำนักอภิธรรมหลงยุคแล้วคนหนึ่ง"


    ดั้งนั้นผมไม่ได้ปฏิเสธว่าคนที่บอกนิพพานคือนิพพานพูดผิด ผมปฏิเสธคนที่บอกนิพพานไม่ใช่อนัตตา ต่างหาก
    มันขัดกับพระบาลี คัมถีร์ อรรถกถา ฏีกา ทั้งหลายคุณ ตอนผมไปเรียนอภิธรรมที่พม่ากับพระกัมมัฏฐานาจริยะ อูบัณฑิตาภิวังสะ (Sayadaw U Pandita) ท่านก็สอนนี้

    แถม พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 305บทว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ความว่า "ธรรมทั้งหลายที่เป็นไป ในภูมิ ๔ ทั้งหมด เป็นอนัตตา"

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

    "อัสสาสะปัสสาสะ - ลมหายใจเข้าออก ย่อมตกแต่งกาย ฉะนั้นจึงชื่อว่า กายสังขาร.
    สัญญาด้วย เวทนาด้วย ย่อมตกแต่งจิต ฉะนั้น จึงชื่อว่าจิตตสังขาร. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอา สังขตสังขาร.ชื่อว่า อนิจจา - ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า มีแล้วกลับไม่มี. ชื่อว่า ทุกขา - เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า เบียดเบียน.คำว่า สพฺเพ ธมฺมา - ธรรมทั้งปวง ท่านกล่าวรวมเอาพระ-นิพพานเข้าไว้ด้วย. ชื่อว่า อนัตตา เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปในอำนาจ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2012
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    เรื่องประวัติพระไตรปิฎกหาอ่านได้ในห้องพระไตรปิฎกครับ มีหลายตำรา หลายที่มา พิจารณาเอาครับ
    ผมไม่ได้อ่านทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นข้อสันนิฐาน หลากหลายที่มา ที่ตรงกันเฉพาะการสังคนาครั้งที่ ๓
    ต่างนิกายต่างเขียน ไม่แน่ใจนะครับไปอ่านเอาเองครับ

    คุณตันติปาละครับ ภาพแกะสลักหินถูกค้นพบที่ประเทศอินเดีย ประมาณปี พ.ศ.300- พ.ศ.600
    ท่านพระพุทธทาสรวบรวมและอธิบาย ผมอ่านหมดแล้ว ผมไม่ได้บอกว่าผมเชื่อทั้งหมดนะครับ
    ท่านพระพุทธทาสก็ตั้งข้อสังเกตเป็นจุดๆ ไว้ให้ศึกษา แต่ผมไม่ศึกษาแล้ว พอแล้วครับ
    คุณถามเรื่องพระปรางค์ผมไม่ได้สนใจศึกษา ผมไม่ตอบครับ
     
  4. ลมสุริยะ

    ลมสุริยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    365
    ค่าพลัง:
    +215
    นึกถึงเด็กเกรียน เที่ยวไปแกล้งกดออดบ้านคนอื่นแล้ววิ่งหนี

    catt3
     
  5. ลมสุริยะ

    ลมสุริยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    365
    ค่าพลัง:
    +215
    ไม่ได้หมายถึงท่านครับ และไม่ได้เครียดด้วย ผมก็มากระทุ้งแกเล่นประจำ
    อย่าไปต้อนเค้าให้เสียเวลาเลยครับ
    เค้าถูกโปรแกรมมาให้ทำแบบนี้
    พระทำผิดท่านยังปลงอาบัติ แต่แกเจ็บตัวแกก็นอนกลืนเลือดครับ


    catt3
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2012
  6. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕
    พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
    สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

    สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา
    ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

    ข้อนี้ อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้
    เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ
    สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
    สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ
    วิญญาณไม่เที่ยง
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
    สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
    สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา
    ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
    ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้
    อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
    ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๒๑/๓๑๐
     
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    นิพพานคือนิพพาน

    ทีนี้เวลาถึงขั้นนั้นแล้ว นั่นละท่านเรียกว่าขั้นอัศจรรย์ อัศจรรย์โลกสมมุติเรานี้เป็นอันหนึ่งนะ ที่ว่าอัศจรรย์ของธรรมแท้จิตแท้ เรียกว่าจิตเป็นธรรม ธรรมเป็นจิต เรียกว่าธรรมธาตุก็ไม่ผิด ท่านให้ชื่อว่านิพพาน ธรรมธาตุ จิตกับธรรมเป็นอันเดียวกันแล้วพระพุทธเจ้าทรงให้ชื่อว่านิพพาน จะแยกเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ คำว่านิพพานเป็นคำเดียวเท่านั้น อันไหนไม่เหมือน อันไหนไม่ถูก

    อย่างที่ว่าไว้ มีผู้มาอ้างในพระไตรปิฎกก็มีนี่นะ ว่าพระไตรปิฎกท่านแสดงไว้ว่านิพพานเป็นอนัตตา หึย ว่าอย่างนี้เลยเรานะ อ้าวจริง ๆ มันยันกันเลยทันที มันเดินให้เห็นอยู่ชัด ๆ นี่นะ นิพพานเป็นอนัตตาได้ยังไง นิพพานคือนิพพานเป็นอนัตตาได้ยังไง อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา นี้เรียกว่าไตรลักษณ์เข้าใจไหม

    เราพิจารณาเพื่อพระนิพพาน ต้องเดินไปตาม อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เมื่อพิจารณาอันนี้รอบแล้วปล่อย ๆ พอถึงขั้น อนัตตา เต็มส่วนแล้วปล่อย อนัตตา ปุ๊บถึงนิพพาน แล้ว อนัตตา ทำไมจะไปเป็นนิพพาน ถ้า อนัตตาเป็นนิพพาน นิพพานก็เป็นไตรลักษณ์ล่ะซีเข้าใจไหม นี่ละว่าเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ อัตตา ก็เป็นส่วนสมมุติ อัตตา คือความยึดถือ อัตตา ตนจะไปเป็นนิพพานได้ยังไง อัตตา ความถือตนถือตัว อตฺตานุทิฏฺฐึ อูหจฺจ

    พระองค์แสดงไว้แล้วว่า สุญฺญโต โลกํ อเวกฺขสฺสุ โมฆราช สทา สโต แล้วก็ อตฺตานุทิฏฺฐึ อูหจฺจ เอวํ มจฺจุตฺตโร สิยา เอวํ โลกํ อเวกฺขนฺตํ มจฺจุราชา น ปสฺสติ คือ ดูก่อนโมฆราช เธอจงเป็นผู้มีสติ ดูโลกให้เห็นเป็นของว่างเปล่า ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียได้ อัตตาฟังซิ ถอนอัตตานุทิฏฐิ อัตตานุทิฏฐิก็เป็นทางเดิน ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว พญามัจจุราชจะติดตามเธอไม่ทันอีกแล้ว นั่นท่านให้ถอนอัตตานุทิฏฐิ แล้วยังทำไม อัตตา จะมาเป็นนิพพานเสียเอง เอาพิจารณาซิ ยันกันอย่างนั้นซิ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ก็เป็นทางเดินเพื่อก้าวสู่พระนิพพาน อัตตาความยึดมั่นถือมั่น ก็ต้องพิจารณาอัตตานี้เพื่อให้ผ่านอัตตานี้ไปได้แล้วจึงไปเป็นพระนิพพานได้ เหตุใดพระนิพพานจึงจะมาเป็นอัตตาเป็นอนัตตาเสียเอง เอาพิจารณาซิ

    อย่าเอาหนอนแทะกระดาษมาอวดนะ ให้เอาภาคปฏิบัติจับกันทันทีไม่ต้องทูลถามพระพุทธเจ้า นี้จริง ๆ นะ เราพูดอย่างนี้มันคึกคัก มันหากเป็นของมันนี่นะ ก็มันจัง ๆ อยู่นั่นเห็นประจักษ์ ทูลถามพระพุทธเจ้าทำไมว่างั้นเลย ของอันเดียวกัน รู้อย่างเดียวกัน เห็นอย่างเดียวกัน ถามกันหาอะไร นี่ละคำว่านิพพานต้องเป็นนิพพานเท่านั้นเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ จะเอาอัตตา อนัตตา เข้าไปใส่ อย่าเอามูตรเอาคูถไปโปะพระนิพพานว่างั้นเลย นิพพานคือนิพพานเลิศเลอสุดยอดแล้ว พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเอง มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ แสดงไว้แล้ว นี่มีในพระไตรปิฎก แล้วพระไตรปิฎกไหนจะมาว่านิพพานเป็นอนัตตาได้อีก เอาอย่างนี้ซิ

    มี พระเจ้าฟ้าเจ้าคุณท่านมาพูดถึงเรื่องว่า ในพระไตรปิฎกท่านว่านิพพานเป็นอนัตตา ชึ่ย ว่างี้เลยเรา ดีไม่ดีมันส่อให้เห็นผู้ไปจดจารึกพระไตรปิฎกมาเป็นคนประเภทใดอีกด้วยนะ ถ้าเป็นคนประเภทพระพุทธเจ้าพระอรหันต์แล้วจะว่านิพพานเป็นอนัตตาไม่ได้เป็นอันขาด นอกจากพวกคลังกิเลสมันเข้าไปจดจารึก ได้คำบอกเล่าอะไรมาก็มาว่าผิด ๆ ถูก ๆ ไปอย่างนั้น เพราะฉะนั้นจึงส่อให้เห็นว่าผู้ไปจดพระไตรปิฎกมานี้เป็นคนประเภทใด มันบอกด้วยนะ อ่านไปในพระไตรปิฎกบอกไปในตัวเสร็จ ว่าผู้จดจารึกพระไตรปิฎกเป็นคนประเภทใด ถ้าเป็นคนประเภทเป็นพระอรหันต์จดจารึกมาแล้ว จะมีเน้นมีหนัก นี่เรียบ ๆ ไป พูดไปที่ไหนส่งเสริมแต่กิเลสเรื่อยไป ตีกิเลสไม่มีนี่บอกแล้ว ความจริงมีนี่

    เหมือนเราถากไม้นี่สมมุติว่าต้นเสานี่นะ ต้นเสาตรงนี้มันเรียบ ๆ ตรงไป เขาก็ถากเสมอ ๆ พอไปถึงจุดคดจุดงอเขาจะถากหนักมือ คดงอที่ไหนจะต้องถากอย่างหนักมือเพื่อให้ราบเสมอกัน อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าเป็นพระอรหันต์ท่านจดจารึกตามหลักความจริง หลักความจริงมีชื่อนี่นะ พอไปเจอหลักความจริงก็เน้นหนักลงไปจุดนั้น ๆ พอเรียบ ๆ ถึงจุดไหนที่เป็นบทหนักที่ควรจะเน้นหนัก ก็ต้องเน้นหนัก ๆ นั่นเรียกว่าหลักความจริง อันนี้มีแต่เรียบ ๆ ไปพูดที่ไหนยกมือไหว้กิเลสไปเรื่อย ๆ จดจารึกไปที่ไหนไหว้กิเลสไปเรื่อย ๆ มันอดคิดไม่ได้นะ เรายกให้หลักใหญ่ที่นำมาเป็นแบบเป็นฉบับของพวกเราชาวพุทธนี้นะ เราไม่ได้ปฏิเสธไปหมดนะ ไอ้กิ่งก้านสาขาไปนั่นซิ ไปเอากิ่งไหนมาทับกับกิ่งไหนผสมกับกิ่งไหนก็ไม่รู้ สุดท้ายก็ยกยอกิเลส

    ยกยอมันเท่าไร โคตรพ่อโคตรแม่ของกิเลสมันไม่เคยทำประโยชน์ให้แก่ใคร มีแต่เอาไฟมาเผาโลก จะไปยกยอมันหาอะไร ธรรมต่างหากเป็นเครื่องเชิดชูสัตวโลก ควรจะยกยอธรรม เหยียบกิเลสลงไปมันถึงจะถูกว่างั้น พูดต้องขออภัยนะ นี่ละเรียกว่าพูดตามหลักความจริงต้องพูดอย่างนั้น ให้ตรงไปตรงมา เรื่องกิเลส โอ๋ย ไม่ได้นะ ปลิ้นปล้อนหลอกลวง ไพเราะเพราะพริ้งนิ่มนวลอ่อนหวาน แต่ความโกหกอยู่ในนั้นหมดเลย ธรรมะนี้ไม่ ตรงไปตรงมา ผิดว่าผิด ถูกว่าถูก ดีว่าดี ชั่วว่าชั่วไปเลย จึงเรียกว่าภาษาของธรรมเป็นภาษาที่สะอาดมากที่สุด ไม่มีเล่ห์มีเหลี่ยม ตรงไปตรงมา ภาษาของกิเลสเป็นภาษาที่สกปรกมากที่สุดเลย ต่างกันอย่างนี้นะ

    นี่เราพูดถึงเรื่อง อัตตา อนัตตา ก่อนจะถึงพระนิพพาน ถึงธรรมชาติที่ให้ชื่อว่านิพพานนั้นต้องผ่านไตรลักษณ์ไปเสียก่อน ไม่ผ่านไตรลักษณ์ไปจะถึงความบริสุทธิ์ไม่ได้ จะถึงนิพพานไม่ได้ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เรียกว่าไตรลักษณ์ พิจารณา ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา อะไรก็ตาม ๓ ประเภทนี้จนพอแล้วมันปล่อยของมัน ถ้าไม่พออันนี้ยังไม่ปล่อย ยังต้องพิจารณา อัตตา อนัตตา เหล่านี้อยู่ในวงเดียวกันของการดำเนินเพื่อก้าว ๆ ผ่านไป อัตตาก็เป็นตัวกิเลสอันสำคัญจึงถอนด้วย อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ถอนอันนี้อีกทีหนึ่ง อัตตานุทิฏฐิ ความถือว่าเป็นตนเป็นตัว เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เหล่านี้ ถอนอันนี้ออก แล้วจากนั้นก็ ทั้งหมดนี้เป็น อนัตตา นะ ปล่อย เมื่อถึงขั้นสุดยอดแล้วทั้งหมดเหล่านี้เป็นสมมุติทั้งนั้นนะ เป็น อนัตตา ทั้งนั้น จิตถอนปึ๋งออกจากนี้ ถอนจากนี้แล้วเรียกว่าอะไรตรงนั้น

    นั่นละพระพุทธเจ้าเลิศเลิศจากการถอนทั้งสามนี้แล้วนะ อยู่ใน อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา อัตตาเหล่านี้ถอนไม่ได้ตายอยู่นั่น ถอนจากนี้แล้วจึงจะเป็นนิพพาน แล้วนิพพานอะไรถึงจะมาแอบซ่อนอยู่ในไตรลักษณ์ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา และ อัตตา นิพพานก็ไม่มีที่พึ่งเที่ยวไปเกาะไตรลักษณ์อยู่นั้น เป็นอิสระได้ยังไง พูดแล้วเราคันฟันนะ โอ๋ย เถียงกันตาดำตาแดงจนกลายเป็นหมากัดกัน เถียงว่านิพพานเป็นอัตตาเป็นอนัตตา เถียงยุ่งกันไปหมดเลย คนหนึ่งยันว่านิพพานเป็นอัตตา คนหนึ่งยันว่านิพพานเป็นอนัตตา เอ้า กัดกันไปเราว่างั้น เฉย เอ้ากัดกันไป

    คัดลอกมาบางส่วนจาก
    เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด
    เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๒
    นิพพานคือนิพพาน
    Luangta.Com -
     
  8. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    ไม่เลิกแถอีก คราวก่อนบอกผมเชื่อพระไตรคราวนี้ไงไม่เชื่อละหามาสิ พระพุทธเจ้าตรัสว่า นิพพานไม่ใช่อนัตตาหามาสิหาเจอขอกราบถือว่าเก่งกว่าแก็งส์ธรรมกายอีกนะ ทีนิพพานเป็นอนัตตายังหาได้ตั้งเยอะเลย
    นิพพานคือนิพพานก็ใช่สิก็เหมือนไก่คือไก่นั้นแหละ
    แต่นิพพานเป็นอนัตตาด้วยใครปฎิเสธก็เท่ากับเป็นพวกทำให้วิปริต อย่าไปเชื่อตำราขำว่ะก็ถ้าไม่มีตำราเอ็งจะเคยได้ยินขันธ์ นิพพาน อนัตตาอะไรทำนองนี้ไหม พอขัดทิฎฐิตนทำเป็นไม่เชื่อตำราขึ้นมาเชียว ถ้าไม่มีตำราจะรู้จักกาลามะสูตรหรือเกสปุตติยสูตร ที่ชอบอ้างกันไหมขำจริงๆๆ
    อ้างหลวงตาบ้านตากทำไมอีกก็ไม่รู้ทั้งๆๆที่หลวงตาให้ศิษย์มาแก้ข่าวนานแล้วว่า อาตมาไม่ได้พูด อาตมาไม่เคยบอกเจ้าคุณพระพรหมคุณากรณ์ไปขอขมาที่สอนนิพานเป็นอนัตตา ไม่เคยพูดนะอาตมาไม่เคยพูดว่านิพพานไม่ใช่อนัตตา ศิษย์ตีความเองท้้้งนั้นข่าวดังจะตายอุรุไม่เคยตามข่าวเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2012
  9. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ...
    เงี่ยโสตลงสดับธรรม ลำดับนั้นแลพระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว
    ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้วอันปัจจัย
    กระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้วเป็นแล้ว
    อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่
    ฉะนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้วจึงปรากฏ ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๔๓/๔๑๘

    -คนไม่เข้าใจ "อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺต" เข้าใจว่านิพพานเป็นอนัตตาก็ถูกแล้ว
    -คนที่เข้าใจ "อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺต" เข้าใจว่านิพพานไม่เป็นอนัตตาก็ถูกแล้ว
    -คนไม่เคารพพระพุทธเจ้า ไม่เคารพธรรม ไม่เคารพพระสงฆ์ อธิบายไปมันเหมือนคนบอดคลำช้าง
     
  10. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    คนที่ยังเอาแก้วเหล้ามาใส่ปากอยู่อย่างนี้ คนยังนั้นไม่เห็นปฏิจจสมุปบาท ไม่เห็นธรรมะ แม้แต่ในระดับต่ำ ๆ ตื้น ๆ.
    คนชนิดนี้ไม่เห็นธรรมะ แม้แต่ระดับต่ำ ๆ ตื้น ๆ , ไม่เห็นปฏิจจสมุปบาท ก็ไม่เห็นพระพุทธเจ้า ไม่มีพระพุทธเจ้า ;
    เพราะมีความเป็นอันธพาล ชอบกินเหล้า มันก็กินเหล้า กินแล้ว กินอีก ;
    แล้วก็ไปซื้อพระเครื่องมาแขวนคอ ด้วยหวังว่าจะให้รวย ให้สวย ให้มีอะไรต่าง ๆ มันก็หมดความหมาย.

    พระเครื่องนั้น ก็เป็นแต่สักว่าพระเครื่อง , แล้วยิ่งเอามารับการดูหมิ่นดูถูก
    โดยยกแก้วเหล้าข้ามไปข้ามมาด้วยมันก็ยิ่งไม่มีความหมาย ;
    จะพุทธาภิเษกกันสักกี่ร้อยครั้งหรือจะซื้อมาตั้งหลายหมื่นบาท มันก็ไม่มีความหมาย.

    พุทธทาสภิกขุ
     
  11. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    แม้แต่พระพุทธองค์เองก็ยังตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม
    หรือ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาทผู้นั้นเห็นธรรม
    ส่วนผู้ที่เห็นเพียงร่างกายของพระองค์หาใช่การเห็นไม่

    พุทธทาสภิกขุ
     
  12. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    กึสุกสูตร
    [๓๓๙] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ถามภิกษุ
    รูปนั้นว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุรูป
    นั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และ
    ความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ที่นั้นแล ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์
    ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของ
    ภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะ
    ของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ตาม
    ความเป็นจริง ที่นั้นแล ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุ
    อีกรูปหนึ่งแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร
    หนอแล ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุที่ภิกษุ
    รู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งมหาภูตรูป ๔ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วย
    การพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะ
    ของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่าดูกรท่านผู้มีอายุ
    ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ
    เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฯ
    [๓๔๐] ที่นั้นแล ภิกษุไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้
    มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มี
    พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์เข้าไปหา
    ภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่าดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุ
    เพียงเท่าไรหนอแลข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะ
    ข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และ
    ความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์
    ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของ
    ภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรเมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะ
    ข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และ
    ความดับแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์
    ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของ
    ภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะ
    ข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด เหตุเกิด
    และความดับแห่งมหาภูตรูป ๔ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์
    ปัญหาของภิกษุนั้นจึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของ
    ภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะ
    ข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด ตามความ
    เป็นจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
    ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
    ที่ประทับ ขอทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี
    ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ฯ
    [๓๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุรุษยังไม่เคยเห็นต้นทองกวาว บุรุษนั้น
    พึงเข้าไปหาบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ
    ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวดำเหมือนตอไม้
    ไหม้ ก็สมัยนั้นแล ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วยการพยา
    กรณ์ปัญหาของบุรุษนั้นพึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามว่า ดูกร
    บุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่า ต้นทองกวาวแดงเหมือนชิ้นเนื้อ ก็
    สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหา
    ของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามอย่างนี้ว่า ดูกร
    บุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาว
    ที่เกิดนานมีฝักเหมือนต้นซึก ก็สมัยนั้นแล ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษ
    นั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึง
    ที่อยู่ แล้วถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่า ดูกรบุรุษ
    ผู้เจริญ ต้นทองกวาวมีใบแก่และใบอ่อนหนาแน่น มีร่มทึบเหมือนต้นไทร ก็สมัยนั้น ต้นทอง
    กวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ ทัศนะของสัตบุรุษเหล่านั้น ผู้น้อมไปแล้ว
    เป็นอันหมดจดดีด้วยประการใดๆ เป็นอันสัตบุรุษทั้งหลายผู้ฉลาด พยากรณ์แล้วด้วยประการ
    นั้นๆ ฉันนั้นแล ฯ
    [๓๔๒] ดูกรภิกษุ เหมือนอย่างว่า เมืองชายแดนของพระราชาเป็นเมืองที่มั่นคง มี
    กำแพงและเชิงเทิน มีประตู ๖ ประตู นายประตูเมืองนั้นเป็นคนฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา
    คอยห้ามคนที่ตนไม่รู้จัก อนุญาตให้คนที่ตนรู้จักเข้าไปในเมืองนั้น ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน
    มาแต่ทิศบูรพา พึงถามนายประตูนั้นว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน นายประตูนั้น
    ตอบว่า แน่ะท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง ทีนั้นแล ราชทูตคู่
    นั้นมอบถ้อยคำตามความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนินกลับไปตามทางที่มาแล้ว ราชทูตคู่
    หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศปัจจิม... ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศอุดร... ราชทูตคู่หนึ่ง
    มีราชการด่วนมาแต่ทิศทักษิณ แล้วถามนายประตูนั้นอย่างนี้ว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่ที่
    ไหน นายประตูนั้นพึงตอบว่า แน่ะท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง
    ทีนั้นแล ราชทูตคู่หนึ่งนั้นมอบถ้อยคำตามความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนินกลับไปทาง
    ตามที่มาแล้ว ดูกรภิกษุ อุปมานี้แล เรากระทำแล้วเพื่อจะให้เนื้อความแจ่มแจ้ง ก็ในอุปมานั้นมี
    เนื้อความดังต่อไปนี้
    คำว่าเมือง เป็นชื่อของกายนี้ที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ ซึ่งมีมารดาและบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้น
    ด้วยข้าวสุกและขนมสด มีอันต้องอบ ต้องนวดฟั้นเป็นนิตย์ มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา
    คำว่าประตู ๖ ประตู เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖
    คำว่านายประตูเป็นชื่อของสติ
    คำว่าราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน เป็นชื่อของสมถะและวิปัสนา
    คำว่าเจ้าเมืองเป็นชื่อของวิญญาณ
    คำว่าทางสามแพร่งกลางเมือง เป็นชื่อของมหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ
    คำว่าถ้อยคำตามความเป็นจริง เป็นชื่อของนิพพาน
    คำว่าทางตามที่มาแล้ว เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือสัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ฯ
    จบสูตรที่ ๘

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๐๘/๔๐๒
     
  13. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    เบื่อพวกแถจริงๆๆๆ นิพพานเป็นอนัตตามันก็ยังจะบอกไม่เป็นอนัตตาก็ถูก ก็ถูกสำหรับพวกทำพระธรรมให้วิปริต ตั้งตัวเป็นศาสดาปฎิเสธพระธรรมสนองตัญหาตนมีแต่ทิฎฐิ มานะ จตัญหาอวดดีพระสูตรตรัสชัดแล้วเต็มพระไตรไปหมดยังพูดว่าเป็น
    ของปลอมสร้างการบิดเบือนสับสน แล้วไปเอาพระไตรมาลงทำซากอะไร ปลอมทั้งบั้นไม่ใช่หรือทำเป็นยกพระสูตรเขาหมายความว่าอะไรยังอ่านไม่เข้าใจเลย
    ทำเป็นไม่อยากอธิบาย อธิบายไม่ได้จนด้วยหลักฐานก็พูดมาฟอร์มจัดนะเอ็งนะ
    อย่ามาน่าสมเพสแถวนี้ เหมือนคนไม่รู้จักโตผิดก็ยอมรับผิดแบบลูกผู้ชายอย่าใจตุ๊ด
    เวลาพระพุทธเจ้าสอนไตรลักษณ์ท่านจะสอนว่า สังขารทั้งหลายเป็นอนิจจัง สังขารทั้งหลายเป็นทุกขัง และธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา สังเกตว่าใช้คำว่าธรรมทั้งหลาย
    สังขารใช้แทนสังขตธรรม ส่วนธรรมใช้แทนสังขตธรรมและอสังขตธรรมนี่คือธรรมทั้งปวงในความหมายของพระพุทธเจ้า ดังนั้นนิพพานจึ่งไม่ตกอยู่ในอำนาจของอนิจจัง และทุุกขังก็จริง แต่ก็ไม่พ้นอนัตตาหรือความไม่มีตัวตนแก่นสารใดๆ มีแต่สูตรที่ตรัสแบบนี้ไม่เคยมีสูตรตรัสว่านิพพานเป็นอัตตา หรือตรัสว่านิพพานไม่ใช่อนัตตา เมื่อวานเห็นพูดว่าใครสอนนิพพานเป็นอนัตตาเป็นมิจฉาทิฎิฐิ ก็ท่านพุทธทาสนี่ก็ด้วยนะครับแล้วคุณไปลอกคำสอนท่านมาทำไมคำสอนพระมิจฉาทิฏฐิ ขำว่ะ อีก อย่างเอาคำสอนหลวงตาบ้านตากมาวางทำเป็นหลวงตาว่างี้นะท่านเป็นอรหันต์นะ คุณรู้ได้ไงคุณเป็นพระพุทธเจ้าหรอครับ เพราะชาวบ้านพูดคุณเลยว่างั้นตามใช่ไหมแล้วชาวบ้านเป็นอรหันต์เป็นพระพุทธเจ้าหรอครับ คุณเป็นพระอรหันต์คุณยังไม่มีสิทธิ์พูดแบบนี้เลยพระวินัยมี อาบัติเลยนะคุณ อีกอย่างเขามีแต่ใช้พระไตรปิฎกตรวจสอบคำสอนพระว่าสอนถูกไหม ปฏิบัติถูกไหม ไม่มีประเทศไหนเขาใช้คำพูดพระตรวจสอบพระไตรปฏิกหรอก ใครสอนขัดกับพระไตรปิฎกเขาก็ยังเลือกที่จะเชื่อพระไตรปิฏกก่อนเลย
    เพราะเป็นที่สถิตของธรรมวินัยของศาสดา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2012
  14. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    พระไตรปิฏกยาวๆๆ ไปยกมาทำไมถ้าคุณไม่เข้าใจความหมาย
    คนอื่นเข้าไปหาอ่านเองได้อย่ามาเนียนกลบเกลื่อนเลยสมเพสลูกตา
     
  15. ลมสุริยะ

    ลมสุริยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    365
    ค่าพลัง:
    +215
    ชื่อกระทู้น่าจะตั้งผิดนะครับ
    ภาพหินแกะสลักที่คุณอุรุฯ เอามาแสดงล้วนสร้างหลังจากมีพระพุทธรูปแล้วทั้งสิ้น

    (kiss)
     
  16. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    น่าจะเชื่อกระทู้แถของปลาไหลน้อยมากกว่าครับ แถไปเรื่อย
     
  17. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ที่ว่าเป็นครั้งแรกในโลกนั้น หมายความว่า ก่อนหน้าพุทธประวัติชุดนี้ ยังไม่เคยมีใครที่ไหนได้ทำภาพพุทธประวัติขึ้น ไม่ว่าในประเทศไหนในโลก. พุทธประวัติชุดที่กล่าวนี้ เริ่มทำขึ้นในประเทศอินเดีย ระหว่าง พ.ศ. ๓๐๐ เศษ ถึง พ.ศ. ๖๐๐ เศษ เป็นระยะเวลาสามร้อยปีเท่านั้น โดยเป็นภาพพุทธประวัติที่ไม่ยอมทำรูปพระพุทธองค์อยู่ยุคหนึ่ง, หลังจาก พ.ศ. ๖๐๐ เศษเป็นต้นมาก็มีการทำภาพพุทธประวัติในยุคที่สอง คือมีพระพุทธรูปและมีเรื่อยมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ก่อนหน้า พ.ศ.๓๐๐ เศษขึ้นไปทางหลัง ก็ยังค้นไม่พบว่าได้มีการสลักภาพพุทธประวัติไว้ ณ ที่ใดเลย.

    หลักฐานเท่าที่ปรากฏอยู่จริงในหินสลักต่าง ๆ นั้น ค้นพบได้จากที่ ๓ แห่งคือ ที่สถูปภารหุต ค่อนไปทางทิศเหนือ, ที่กลุ่มสถูปสาญจี ทางภาคกลาง, และกลุ่มสถูปอมราวดี ทางอินเดียใต้, ซึ่งมีหินสลักภาพพุทธประวัติอยู่ด้วยกันมากมาย สำหรับสถูปภารหุตนั้น ถูกทำลายสูญหายไปเสียมาก เมื่อเจ้าหน้าที่ทางโบราณคดีไปพบ เหลืออยู่ประมาณ ๑ ใน ๔ และได้นำมาเก็บรักษาไว้ใน Indian Museum ที่กัลกัตตาทั้งหมด แม้แต่ชิ้นใหญ่ ๆ เช่นซุ้มประตูขนาดมีความสูงตั้ง ๓ วา, จึงไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องไปดูที่ในป่า ณ ที่เดิม สำหรับสถูปสาญจีนั้น นับว่าโชคดีมาก ที่อะไร ๆ ก็ยังคงอยู่ในที่เดิม จนกระทั่งสามารถจัดเป็นพิพิธภัณฑ์สถานขึ้นโดยเฉพาะ ณ ที่นั้นเอง ควรจะไปดูอย่างยิ่ง สำหรับสถูปกลุ่มอมราวดีทางอินเดียใต้นั้น น่าสังเวชที่ชาวบ้านพบก่อนเจ้าหน้าที่ รื้อแผ่นสวยงามไปขาย จนกระทั่งกระจัดกระจายไปตามที่ต่าง ๆ กระทั่งในต่างประเทศ และตกเป็นของบริษัทการค้าของฝรั่งก็มิใช่น้อย แต่ในที่สุดชิ้นที่สวยงามประมาณ ๒๐๐ ชิ้น ก็ไปรวมกันอยู่ได้ที่บริติชมิวเซียม ในประเทศอังกฤษ โดยความพยายามของเจ้าหน้าที่ทางโบราณคดีประเทศนั้น, ส่วนที่เหลืออีกมากมายนั้นถูกนำไปรวมรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐมัดราส, จัดเป็นอมราวดีแก็ลเลอรี่ที่ใหญ่โตทีเดียว มีทั้งยุคที่ยังไม่มีพระพุทธรูปเลย, และยุคที่มีบ้างไม่มีบ้าง กระทั่งยุคที่มีพระพุทธรูปเต็มที่ เพราะอาณาจักรอันธระแห่งยุคอมราวดีนี้ ตั้งอยู่นานถึง ๗๐๐ ปี จึงได้มีภาพพุทธประวัติทุกยุค และทุกแบบ ซึ่งน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง สำหรับที่ภารหุตนั้นมีแต่ยุคที่ไม่ทำพระพุทธรูป, ส่วนที่สาญจีนั้นโดยส่วนใหญ่ต้องถือว่าเป็นยุคก่อนมีพระพุทธรูปด้วยเหมือนกัน เพิ่งจะมีพระพุทธรูปและสิ่งต่าง ๆ ในสมัยคุปตะเพิ่มขึ้นบ้าง ไม่เป็นส่วนสำคัญอะไรเลย และไม่มีใครเรียกพระพุทธรูปเหล่านั้นว่าพระพุทธรูปแบบสาญจีกันเลย, ถือว่าเป็นศิลปกรรมแบบสาญจีกันแต่เฉพาะที่ทำในสมัยก่อนมีพระพุทธรูป หรือสมัยสุงคะ กันทั้งนั้น

    จากความใหญ่โตมโหฬาร, ความมากมาย, และความประณีตบรรจงในการกระทำ ตลอดถึงความเสียสละอดทน อันจะสังเกตเห็นได้จากศิลปวัตถุนั้น ๆ ทำให้รู้สึกว่าพุทธบริษัทแห่งสมัยนั้น (พ.ศ. ๐๐๑-๖๐๐ ) ไม่มีความรู้เรื่องพระพุทธรูปกันเสียเลยจริง ๆ และไม่มีใครเคยทำพระพุทธรูปขึ้นเลยในระยะนี้ ประชาชนทั่วไปก็ดี พวกช่างหรือศิลปินก็ดี, กษัตริย์หรืออิสรชนก็ดี ตลอดถึงคณะสงฆ์และพุทธบริษัททั่วไปก็ดี มั่นคงอยู่ในคติที่ว่าองค์พระศาสดาหรือ "พระภควัน" นั้น ไม่ใช่สิ่งที่อาจจะแสดงได้ด้วยรูปของมนุษย์, สิ่งที่อาจจะแสดงได้ด้วยรูปของมนุษย์นั้น เป็นเพียงเปลือกนอกของสิ่งที่เรียกว่าพระศาสดาที่แท้จริง อันจะเป็นที่พึ่งของเราได้ ถ้าเราแสดงภาพของพระภควันด้วยรูปร่างมนุษย์เช่นนั้น เราก็เป็นคนตู่พระภควัน หรือแสดงพระภควันในลักษณะที่เป็นของเท็จหรือของปลอมออกมา, เพราะว่าใครจะไปทำภาพของหน้าตาแขนแมนของพระองค์ให้เหมือนของจริงได้, หรือว่าใครจะแสดงอารมณ์ (mood) อันแท้จริงที่พระพักตร์ของพระพุทธรูปนั้นให้เหมือนของจริงหรือถูกต้องได้, ย่อมทำไปตามอารมณ์ของผู้ทำเอง จนมีมากแบบมากชนิด น่าเกลียดน่าชังก็มี เป็นเจ้าชู้ไปก็มี, บูดบึ้งไม่สมกับความเป็นพระภควันไปก็มี มากมายเหลือที่จะกล่าวได้, ยิ่งพยายามยิ่งขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งไกลไปเท่านั้น เพราะทำด้วยมานะทิฏฐิของตนเอง ไม่ได้ทำด้วยจิตว่างเหมือนจิตของพระภควันเอง, และโดยแท้จริงนั้น สิ่งที่เรียกว่าอารมณ์ในลักษณะที่เป็น mood นั้น จะมีไม่ได้เลยแก่องค์พระภควันที่แท้จริง, จะมีแม้เพียงบางอย่างก็ที่นามรูปอันเป็นชั้นผิวนอกเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับพระภควันที่แท้จริงเลย เมื่อเขารู้จักแยกพระภควันองค์จริง ที่เขาถือเอาเป็นที่พึ่ง ออกจากเปลือกนอกที่ปรากฏแก่คนทั่วไปได้ดังนี้ เขาจึงไม่ทำพระภควันนั้นให้เป็นรูปมนุษย์ มีหน้าตาแขนแมนอย่างนั้น อย่างนี้แต่ประการใด
    คุณมีหลักฐานไหมครับ นอกจากคำพูดลอยๆ

    พุทธทาสภิกขุ รวบรวมและอธิบาย
    http://www.buddhadasa.org/html/life-work/theatre/sculpture/sculpture-pre.html
     
  18. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892

    แล้วคุณล่ะ มีหลักฐานจากพระไตรปิฏกไหมครับว่า นิพพานไม่ใช่อนัตตานอกจากคำพูดลอยๆ ของคุณของหลวงตาบ้านตากที่ออกสือปฏิเสธไปแล้วว่า อตามาไม่ได้พูดนะ พวกลุกศิษย์ที่ทำเอกสารเข้าใจผิดไปเอง
    ว่าแต่คุณบอกใครบอกว่านิพพานเป็นอนัตตา เป็นมิจฉาทิฏฐิ
    แล้วอันนี้ล่ะ


    "นิพพาน หมายถึง เย็นหรือดับลง เย็นเหมือนไฟที่เย็นลง หรือของร้อนๆอะไรก็ตามมันเย็นลง นั่นแหละคืออาการที่นิพพานล่ะ......เพราะฉนั้นคําว่านิพพานนั้นที่เป็นภาษาชาวบ้านแท้ๆ มันหมายถึงของที่ร้อนให้เย็นลงเท่านั้น แต่แล้วเราจะหมายความเพียงเท่านั้นไม่ได้ นั่นมันเป็นเรื่องของวัตถุ ส่วนนิพพานในเรื่องของธรรมะหรือทางศาสนามันหมายถึง เย็นลงแห่งไฟกิเลส ไฟกิเลสคือ ราคะ โทสะ โมหะ จนเย็นสนิท จึงจะเรียกว่านิพพาน."

    ดังนั้นก่อนอื่นจึงควรทำความเข้าใจในพระนิพพานอย่างถูกต้องดีงามเสียก่อนว่า เป็นสภาวะที่ดับกิเลสหรือกองทุกข์ หรือกล่าวเน้นลงไปได้ว่า สภาวะที่ปราศจากอุปาทานทุกข์อันเร่าร้อนเผาลน อันเกิดขึ้นเนื่องแต่อาสวะกิเลส,ตัณหา,อุปาทานนั่นเอง จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความสุข สงบ สงัด อันบริสุทธิ์ยิ่ง ส่วนอื่นๆเป็นเพียงผลข้างเคียงอันพึงบังเกิดขึ้นเท่านั้น

    ตามกฎพระไตรลักษณ์ จากพุทธพจน์ ที่ตรัสว่า

    "สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง ( อนิจจตา )

    สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ ( ทุกขตา )

    ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา" ( อนัตตตา )

    สังขาร สิ่งที่เกิดแต่เหตุปัจจัยปรุงแต่ง ในไตรลักษณ์จึงหมายรวมถึงทุกสรรพสิ่ง ทั้งรูปธรรม, นามธรรม, กุศลธรรม, อกุศลธรรม, ทั้งโลกียธรรม และโลกุตรธรรม ขันธ์ ๕ ฯลฯ. อันล้วนแต่เกิดแต่เหตุปัจจัยทั้งสิ้น ยกเว้นเพียง สภาวธรรมหรือสภาวธรรมชาติ ดังมี "พระนิพพาน" อันเป็น"สภาวธรรม"อย่างหนึ่งที่เรียกว่าเป็น อสังขตธรรม คือสิ่งที่ไม่มีปัจจัยไปปรุงแต่ง, หรือสิ่งที่มิได้เกิดแต่เหตุปัจจัยใดๆนั่นเอง หรือก็คือ สภาวธรรมชาติ ทั้งหลายนั่นเอง
    ที่นี้ในท่อนที่ว่า "ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา"
    คำว่าธรรม นี้ในพระไตรลักษณ์ในข้อพระอนัตตานั้น ย่อมหมายถึง สภาวธรรมหรือธรรมชาติอันครอบคลุมทุกสรรพสิ่งอันย่อมหมายรวม พระนิพพาน ด้วย ดังกล่าวข้างต้น
    ท่านพุทธทาสภิกขุ ในหัวข้อเรื่อง หลักธรรมสําคัญในพุทธศาสนา หน้า๑๘๔

    คุณจะไปเอา ความเห็นผิดๆๆของพระมิจฉาทิฏฐิ ที่ชื่อพุทธทาสที่สอนว่า นิพพานเป็นอนัตตามาทำไมครับ... เอารูปออกสิ คุณจะใช้รูปพระมิจฉาทิฏฐิีรูปนี้ที่คุณอ้างว่า ใครที่ไม่เข้าใจเรื่องไตรลักษณ์ย่อมสอนพระนิพพานเป็นอนัตตาไปทำไม? เลิกอ้างข้อมูลท่านได้แล้วก็ในเมื่อคุณไม่นับถือท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2012
  19. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    มี พระเจ้าฟ้าเจ้าคุณท่านมาพูดถึงเรื่องว่า ในพระไตรปิฎกท่านว่านิพพานเป็นอนัตตา ชึ่ย ว่างี้เลยเรา ดีไม่ดีมันส่อให้เห็นผู้ไปจดจารึกพระไตรปิฎกมาเป็นคนประเภทใดอีกด้วยนะ ถ้าเป็นคนประเภทพระพุทธเจ้าพระอรหันต์แล้วจะว่านิพพานเป็นอนัตตาไม่ได้เป็นอันขาด นอกจากพวกคลังกิเลสมันเข้าไปจดจารึก ได้คำบอกเล่าอะไรมาก็มาว่าผิด ๆ ถูก ๆ ไปอย่างนั้น เพราะฉะนั้นจึงส่อให้เห็นว่าผู้ไปจดพระไตรปิฎกมานี้เป็นคนประเภทใด มันบอกด้วยนะ อ่านไปในพระไตรปิฎกบอกไปในตัวเสร็จ ว่าผู้จดจารึกพระไตรปิฎกเป็นคนประเภทใด ถ้าเป็นคนประเภทเป็นพระอรหันต์จดจารึกมาแล้ว จะมีเน้นมีหนัก นี่เรียบ ๆ ไป พูดไปที่ไหนส่งเสริมแต่กิเลสเรื่อยไป ตีกิเลสไม่มีนี่บอกแล้ว ความจริงมีนี่

    นี่ชัดเจน พระเจ้าฟ้าเจ้าคุณ หมายถึง พระพรหมคุณากรณ์ แต่ไม่กล้าพูดออกชื่อมาตรงๆๆ
    และทั้งข้อความก็มีแต่ กล่าวตรู่ขึ้นมาลอยๆๆว่า พระไตรปิฏกทั้งหลายที่มีข้อความว่าพระนิพพานเป็นอนัตตานั้นผิด คนจดเป็นมิจฉาทิฏฐิ งั้นพระอรหันต์ทั้งหลายที่ร่วมสังคายนามานับพันปีก็เป็น พวกกิเลสหนาพวกไม่รู้ความหมดสิ กว่าเขาจะบันทึกเขาต้องได้มติก่อน ชำระเป็นนิกายๆๆไป

    เป็นคนประเภทพระพุทธเจ้าพระอรหันต์แล้วจะว่านิพพานเป็นอนัตตาไม่ได้เป็นอันขาด คล้ายๆๆจะเป็นการพูดเป็นนัยยะว่าเรานะเป็นพระอรหันต์พวกแกเห็นไหมล่ะมีแต่อรหันต์เท่านั้นที่รู้แบบนี้ ซึ่งอรหันต์ของจริงเขาจะพูดทำนองนี้หรือหรือท่านจะนิ่งสงบเจียมตัวไม่สื่อนัยยะใดๆๆทั้งสิ้นให้คนรู้ เพราะท่านไม่มีความต้องการใดๆๆอีก

    อย่าเอาหนอนแทะกระดาษมาอวดนะ ให้เอาภาคปฏิบัติจับกันทันทีไม่ต้องทูลถามพระพุทธเจ้า นี่ก็คล้ายๆๆจะพูดว่าตัวเองปฏิบัติได้โดยไม่ต้องตรวจสอบไม่ต้องใช้พระไตรปิฏก ถามหน่อยว่าเราจะเรียกว่าชาวพุทธได้ไหม? เรียกพระสาวกได้ไหม? เพราะท่านผู้ปฏิบัติศึกษาธรรมเอง ค้นพบธรรมเอง ไม่ต้องมาศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า นี่ก็เข้าตำราศาสดาศาสนาอื่นที่ค้นพบธรรมเองโดยไม่รู้จักพระพุทธเจ้า ไม่ได้อยู่ในศาสนาพุทธ ไม่เคยอ่านพระไตรปิฏกหรืออ้างอิงรู้ด้วยประสบการณ์ตัวเอง
    แค่น้ำจิ้มนะเนี่ย มีอีกหลายเอกสาร....อย่างไรก็ตาม หลวงตาบ้านตาก พระคุณเจ้าท่านนี้ได้ออกมาพูดว่า ท่านไม่เคยสอนแบบนี้ เป็นลูกศิษย์ท่านเข้าใจผิด พิมพ์เอกสารถอดเทปคำสอนสับสนเอง เมื่อหลายปีที่แล้ว ดังนั้นก็ ช่างมันเถอะครับ เพราะอาจจะเป็นตัวลูกศิษย์นี่แหละที่จะส่งเสริมครูอ.ตัวเองเลยเถิดไปเอง...เป็นการทำร้ายหลวงตาโดยไม่รู้ตัว เหมือนพวกม็อบทั้งหลายที่อ้างว่าทำเพื่อสถาบันไงครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2012
  20. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    พระไทย ใช่เขาใช่เรา นิพพาน - อนัตตา
    ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท

    ทีนี้ ที่ว่าเขียนความนี้ไว้เพียงเพื่อเป็นการไม่ประมาทนั้น ก็ดังที่กล่าวแล้ว คือ จะต้องไม่ละเลยการส่งเสริมและรักษาประโยชน์ทางธรรมทางปัญญาของประชาชน อย่างน้อยก็ไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดที่จะทำให้เขวในการศึกษาปฏิบัติธรรม

    ความเข้าใจผิดตามข้อเขียนที่กล่าวถึงพระพรหมคุณาภรณ์โดยโยงไปถึงหลักธรรมนั้น ก็ยังเป็นเรื่องกว้าง* แต่ในกรณีนี้ มีความเข้าใจผิดที่จำเพาะเจาะจงกว่านั้น

    เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ขอเล่าเรื่องให้รู้และตระหนักกันไว้

    เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๔๙ วันหนึ่ง ได้รับเอกสารส่งมาทางไปรษณีย์ (คงสอดใส่มาในซองจดหมาย) เป็นใบบันทึก "เทศน์อบรมฆราวาส ที่วัดป่าบ้านตาด" มีเพียงใบบันทึกคำเทศน์นั้น ไม่บอกว่าใครส่งมา แต่แน่ใจว่าเป็นผู้หวังดีส่งมาเพื่อให้ทราบเรื่อง

    ใบบันทึกนั้น ซึ่งมีข้อความ ที่แสดงว่าเป็นเอกสารของวัดหรือองค์กรที่สนองงานของหลวงตามหาบัวนั่นเอง (เช่นบอกสถานีวิทยุ และ web site ที่จะชมจะฟังพระธรรมเทศนาของหลวงตา) ดังที่บอกแล้วว่า เป็นบันทึก "เทศน์อบรมฆราวาส ที่วัดป่าบ้านตาด" มีคำเล่าของหลวงตา พร้อมทั้งคำแทรกเสริมของผู้ฟัง

    ในบันทึกเทศน์นั้น ตอนหนึ่ง (ท่านที่ส่ง ปณ. มา ทำเครื่องหมายไว้เป็นพิเศษ) บอกความทำนองว่าพระพรหมคุณาภรณ์ได้ไปหาที่วัดหลวงตา และไปยอมรับคำเทศน์ของหลวงตาที่ว่านิพพานเป็นนิพพาน ไม่เป็นอัตตา ไม่เป็นอนัตตา โดยมีข้อความดังนี้ เป็นเอกสารระบุว่าเป็นคำเทศน์เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๙ว่า
    "เพราะฉะนั้นคำว่าอัตตาอนัตตาจึงหมด แต่ก่อนเข้าไปแทรกไปแอบไปเป็นนิพพาน อัตตาก็แอบไปเป็นนิพพาน อนัตตาก็แอบไปเป็นนิพพานเข้าใจไหม ใครก็แอบเป็นนิพพาน พอตีลงผางทีนี้นิพพานคือนิพพานเป็นอื่นไปไม่ได้ แล้วอัตตาอนัตตาจะเข้าถึงได้ยังไง เป็นอื่นไปไม่ได้ อัตตาอนัตตามันก็เป็นอื่นใช่ไหมล่ะ มันก็เข้าไม่ถึงได้ นั่น ถอดออกจากนี้ซิ (ธรรมกายเขาบอกเป็นอัตตา ท่านเจ้าคุณประยุทธ์บอกเป็นอนัตตา) เอ๊ ใคร ๙ ประโยคก็ไปหาเรา (เจ้าคุณประยุทธ์ ปยุตฺโต นี่ละครับ) พอเราตอบอันนี้เสร็จประกาศลั่นออกไปไม่กี่วัน พอดีเจ้าคุณ ๙ ประโยคนี้ไปหาเรา แสดงมารยาทว่ายอมรับเข้าใจไหม แต่พอดีไม่เจอเราเสีย ไม่เจอก็ไม่เป็นไร นิพพานคือนิพพานเป็นอื่นไปไม่ได้ก็พูดแล้วนี่ เจ้าของอยู่เจ้าของไปมีปัญหาอะไรเข้าใจเหรอ ไปละ""

    เนื่องจากข้อความในบันทึกเทศน์นั้น บอกเรื่องราวที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง ที่ว่า "เจ้าคุณประยุทธ์" ไปหาที่วัดหลวงตา ในปี ๔๙ ก็ไม่เป็นจริงและที่ว่า "เจ้าคุณประยุทธ์" ยอมรับตามที่หลวงตากล่าว ก็ไม่เป็นความจริง เพราะัตั้งแต่ปีถัดจากรับการผ่าตัดใหญ่ใน พ.ศ. ๒๕๔๐ แล้ว พระพรหมคุณาภรณ์ มีสภาพร่างกายที่ทำให้ไม่ได้ไปในสถานที่สำคัญนอกวัดเลย แม้แต่พระมหาเถระที่เคารพนับถือ ซึ่งเคยไปนมัสการอย่างน้อยเมื่อเข้าสู่เทศกาลพรรษาทุกปี ก็หยุดหมดตั้งแต่นั้นมา จึงไม่มีทางเป็นไปได้ ที่จะไปหาที่วัดหลวงตามหาบัว หรือไปหาหลวงตามหาบัวในที่ไหนๆ เข้าใจว่าหลวงตาคงเผลอหรือว่าเอาเองหรือคงเชื่อ หรือว่าไปตามลูกศิษย์

    เพื่อไม่ประมาท ไม่ควรปล่อยให้คนเข้าใจผิด ถึงจะไม่ต้องการให้เป็นเรื่องราวเอะอะไป อย่างน้อยก็ควรทำอะไรให้มีเป็นหลักฐานแสดงความจริงไว้

    จึงตกลงว่าให้ทำคำ "ชี้แจงข่าว" พิมพ์ไว้ใน ข่าวสารญาณเวศก์ ซึ่งเผยแพร่อยู่ในวงแคบๆ ดังความในเอกสารนั้น ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๗ (มกราคม ๒๕๔๙) ดังนี้

    ------------------------------

    * หนังสือเรื่อง พระไทย ใช่เขาใช่เราฯ ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ เขียนขึ้นเพื่ออธิบายเรื่องนิพพาน และแก้ความเข้าใจผิดบางประการที่พระคึกฤทธิ์ โสตถิพโล อ้างว่า ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์บอกว่า นิพพานเป็นอนัตตา โดยท่านเจ้าคุณชี้แจงว่า ท่านไม่เคยพูดว่านิพพานเป็นอนัตตา(ในเชิงที่เป็นความเห็นของท่านขึ้นมาเองลอยๆๆ) มีแต่ท่านค้นคว้าและอ้างอิงหลักที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกมา

    สรุปว่าเอกสารที่อุรุเวลาไปหลับหูหลับตาเอามาแบบไมู่้รู้เรื่องจึ่งเป็นเอกสารที่มีแต่ความเท็จนั้นเอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...