พบปะ พูดคุย ประสาเพื่อนพ้องน้องพี่ แบบกันเอง

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย tiger-k007, 6 มิถุนายน 2011.

  1. ทหารเก่า

    ทหารเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    3,027
    ค่าพลัง:
    +19,019
    ขอบพระคุณมากครับ พี่เสือ:cool:
     
  2. ทหารเก่า

    ทหารเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    3,027
    ค่าพลัง:
    +19,019
    ขอบพระคุณครับพี่รุ่ง:cool:
     
  3. ทหารเก่า

    ทหารเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    3,027
    ค่าพลัง:
    +19,019
    องค์นี้ห้อยประจำครับ หลวงพ่อทาบวัดกระบกผึ้ง ปี 2505
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC00280.JPG
      DSC00280.JPG
      ขนาดไฟล์:
      3.5 MB
      เปิดดู:
      32
    • DSC00281.JPG
      DSC00281.JPG
      ขนาดไฟล์:
      3.6 MB
      เปิดดู:
      45
  4. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    สวัสดียามเช้าค่ะ พี่เสือ พี่รุ่ง น้องหนุ่ย และทุกท่าน

    อ่านเจอมา
    บางช่วงบางตอน

    นุชนาฏ:
    พระยาอนุมานราชธน (2531, หน้า 27) อธิบายว่า ความเชื่อเรื่องผี และวิญญาณเป็นระยะเริ่มต้นของศาสนา และเป็นพื้นฐานแห่งความเชื่อดั้งเดิมของมนุษย์ เพราะศาสนาต่าง ๆ ย่อมกล่าวถึงเรื่องเมืองนรก เมืองสวรรค์ มีรูปเคารพบูชา มีเครื่องเซ่นสังเวย และมีพิธีรีตองเกี่ยวกับการนี้ ตลอดจนการขอคุ้มครองป้องกันอันตรายจากสิ่งซึ่งมองไม่เห็นตัว เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์เป็นมงคลสวัสดี
    เรื่องภูตผีปีศาจที่มีพลังอำนาจ จนสามารถเข้าสิงมนุษย์ได้ (ทรงเจ้าเข้าผี) หรือสามารถติดต่อกับมนุษย์ได้มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกเช่นเดียวกัน ดังแสดงไว้ดังนี้
    พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 1 ข้อที่ 188 มีความว่า "สมัยนั้นภิกษุรูปหนึ่งถูกผีเข้า ภิกษุอีกรูปหนึ่งทุบตีท่านจนถึงแก่มรณภาพ" (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539ก, หน้า 172)
    พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 4 ข้อที่ 150 ของ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2539ข) มีความว่า
    อันตราย 10 ประการ . . . สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อ เมื่อไม่มีอันตราย . . . พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีอันตราย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อ ภิกษุสงฆ์หมู่ใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฎ ภิกษุทั้งหลายเมื่อมีอันตราย เราอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อ" อันตรายทั้งหลายมีดังต่อไปนี้ (1) พระราชาเสด็จมา (2) โจรมาปล้น (3) ไฟไหม้ (4) น้ำหลากมา (5) คนมามาก และ (6) ผีเข้าภิกษุ (หน้า 230)
    พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 5 ข้อที่ 264 ของ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2539ค) มีความว่า
    สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้เพราะถูกอมนุษย์เข้าสิง อาจารย์ และอุปัชฌาย์ช่วยกันรักษาภิกษุนั้น แต่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ภิกษุนั้นเดินไปที่ร้านขายหมูแล้ว กินเนื้อดิบ ๆ ดื่มเลือดสด ๆ โรคอมนุษย์เข้าสิงของภิกษุนั้นจึงสงบ ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ พระผู้พระภาครับสั่งว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเนื้อดิบ เลือดสด ในเมื่อมีโรคอมนุษย์เข้าสิง" (หน้า 49)
    ข้อความที่ได้ยกมาแสดงตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเรื่องผี จัดว่าเป็นพลังอำนาจภายนอก และมีอิทธิพลต่อมนุษย์ได้
    พระพุทธเจ้ากับผีสางเทวดา (โลกวิญญาณ/โอปปาติกะ) ปรากฏในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 5 ของ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2539ค) ความว่า
    พระพุทธเจ้าได้สัมผัสพบเห็น พูดคุย ถกปัญหาธรรมะ สอนธรรมะ ต่อสู้กับมารที่มาผจญ บวชให้วิญญาณที่มาฝากตัวเป็นสานุศิษย์ ดังนี้ เป็นตน ในโอกาสนี้จะกล่าวถึงเฉพาะที่ปรากฏในพระไตรปิฎก เช่น ท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลพระพุทธเจ้า เพื่อขอให้พระพุทธเจ้าแสดงธรรมอนุเคราะห์แก่หมู่สัตว์โลกทั้งหลายคำกราบทูลก็ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นคำอาราธนาธรรมว่า พรหมา จะ โลกาธิปติ สหัมปะติกัตอัญชะลี ฯลฯ (หน้า 229-232)
    พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 10 ของ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2539ง) ความว่า
    เทวดา เทพ พรหม เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าก่อนปรินิพพาน ในระหว่างนั้นมีพระเถระเจ้าชื่ออุปวาณะ อยู่ถวายงานพัดเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าได้สั่งให้พระอุปวาณะหลีกออกไปอย่ายืนขวางทาง เพราะเทวดาเทพ พรหม ขอร้องจะเข้ามาเฝ้ากับพระพุทธเจ้าบ้าง พระอานนทเถรเจ้าอยู่ด้วย ณ ที่นั้น เมื่อได้ยินพระพุทธเจ้าตรัสเช่นนั้น จึงสงสัย และทูลถามพระพุทธเจ้าว่า เทพยดา มีจิตเป็นอย่างไร มีสภาวะเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าตอบว่า เทพยดา จากหมื่นจักรวาล (10 โลกธาตุ) มาขอเข้าเฝ้า ต่างก็กล่าวว่าพระพุทธเจ้าจะปรินิพพานเร็วนักน่าเสียดาย สำหรับเทพยดาที่ปราศจากกิเลสตัณหาแล้ว ผู้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน สกทาคามี หรือพระอนาคามี ย่อมมีสติสัมปชัญญะอดกลั้น และกล่าวว่า สังขารธรรมทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ พระพุทธเจ้าทรงแสดงประวัติแห่งเทพยดาที่มาประชุมในครั้งนั้นแก่พระอานนท์ (หน้า 149)
    จากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น เป็นการยกตัวอย่าง เรื่องวิญญาณ (เป็นความหมายของวิญญาณตามหลักพระพุทธศาสนา เป็น 1 ในขันธ์ 5 ที่ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ หมายถึง การรู้แจ้งทางอารมณ์) ที่มีความสัมพันธ์กับ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีเทพ พรหม เทวดา และมาร และยังมีปรากฏในอีกหลายเล่ม ตัวอย่างเช่น พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 15 ของ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2539จ, หน้า 10-12, 18-19) อธิบายเรื่อง สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ว่า มีหลายตอนได้ระบุถึงวิญญาณที่สัมผัส พระพุทธเจ้าโดยการพูดคุย โดยการให้เห็นด้วยตาเนื้อ หูเนื้อ และญาณ ดังนี้
    1. เทวตาสังยุตต์ ประมวลเรื่องเทวดา (วิญญาณ) ที่ไปเฝ้าทูลถามปัญหาต่อพระพุทธเจ้า มีทั้งหมด 81 สูตร หรือ 81 ครั้ง และได้แสดงคำถามคำตอบไว้ด้วย
    2. เทวปุตตสังยุตต์ ประมวลเรื่องเทพบุตร (วิญญาณ) ที่ไปเฝ้าทูลถามปัญหาต่อพระพุทธเจ้า มีทั้งหมด 30 สูตร หรือ 30 ครั้ง และได้แสดงคำถามคำตอบไว้ด้วย
    3. มารสังยุตต์ ประมวลเรื่องมาร (วิญญาณ) ซึ่งไปปรากฏกายในลักษณะต่าง ๆ กันบางครั้งได้มีการโต้ตอบกับพระพุทธเจ้า บางครั้งไม่ได้พูดจากัน บางครั้งได้กล่าวภาษิตมีทั้งหมด 25 สูตร หรือ 25 ครั้ง
    4. พรหมสังยุตต์ ประมวลเรื่องพรหม (วิญญาณ) แสดงการที่พระพรหมมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสภาษิตโต้ตอบกัน มีทั้งสิ้น 15 สูตร หรือ 15 ครั้ง
    5. ยักขสังยุตต์ ประมวลเรื่องยักษ์ (วิญญาณ) ที่มาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสโต้ตอบมีทั้งสิ้น 12 สูตร หรือ 12 ครั้ง
    6. สักกสังยุตต์ ประมวลเรื่องท้าวสักกะ (พระอินทร์) จอมเทพชั้นดาวดึงส์ที่มาเฝ้าพระพุทธเจ้ามีทั้งสิ้น 25 สูตร หรือ 25 ครั้ง

    ประเภทของผี สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะในด้านของความเชื่อที่ปรากฏในสังคมไทยนั้น โดยส่วนมากจะเป็นความเชื่อที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของภูตผี หรือวิญญาณต่าง ๆ คนในสังคมไทยเมื่อจะกระทำสิ่งใด ส่วนมากจะมีความเกี่ยวพันกับผีทั้งที่เจตนา และไม่เจตนา เช่น การเซ่นไหว้พระภูมิ เจ้าที่ ผีเจ้าทุ่ง ผีเจ้าป่า ผีเจ้าเขา ผีบ้าน ผีเรือน ผีปู่ย่าตายาย ฯลฯ
    ความเชื่อเรื่องผีในสังคมไทยมีหลายประเภท โดยจะแยกตามลักษณะของอาการของคนถูกผีสิง หรือจากคำบอกเล่าของคนในสังคมนั้น ๆ แต่สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท ได้แก่ (อนุมานราชธน, 2512, หน้า 1-5)
    1. ผีดี เป็นผีที่มีจิตพัวพันอยู่กับชีวิตมนุษย์ ซึ่งตามปกติแล้วจะมีสภาพที่เป็นกลางคือ ไม่ให้ดี หรือร้ายแก่ใคร เว้นเสียแต่ว่าจะมีใครทำให้โกรธเคือง และที่สำคัญคือ สามารถให้การคุ้มครอง หรือขออะไรก็ได้หากแต่ต้องทำพิธีขอตามที่มีกำหนดไว้ และต้องทำอย่างถูกต้องด้วย ส่วนมากจะคอยให้คุณในด้านต่าง ๆ รวมถึงลาภผล คอยให้ความคุ้มครองแก่ผู้คนที่ให้ความเคารพรักโดยทั่วไป มีมากมายหลายจำพวกด้วยกัน เช่น แถน ผีเรือน ผีป่า ผีฟ้า ผีปู่ตา ผีมเหสักข์ เป็นต้น
    2. ผีร้าย คือ ผีที่เที่ยวหลอกหลอน และทำให้คนทั่วไปหวาดกลัว เช่น ผีตายโหง ผีปอบ ผีกระสือ ผีโขมด ผีกองกอย เปรต ฯลฯ ผีบางชนิดอาจทำอันตรายแก่คน จนทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หรือบางทีต้องมีการเซ่นไหว้เพื่อขอไม่ให้ทำอันตราย การป้องกันผีดุร้ายต้องใช้กรรมวิธีทางไสยศาสตร์ เช่น คาถาอาคม พระพุทธรูปต่าง ๆ รวมทั้งการทำพิธีกรรมขับไล่

    นอกจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีกล่าวถึงผีที่คนไทยนับถือไว้ด้วย ซึ่งผีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคนไทยมีอยู่ 4 ประเภทด้วยกัน คือ (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2527, หน้า 11-15)
    1. เจ้าพ่อ ใช้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพเจ้าตามศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู เช่น ท้าวมหาพรหม เจ้าพ่อขุนตาน เจ้าพ่อพญาแล เป็นต้น เจ้าพ่อเหล่านี้ประชาชนสร้างสถานที่สักการะเซ่นไหว้ เพื่อขอความช่วยเหลือ
    2. หลักเมือง เป็นคติความเชื่อว่า เมื่อสร้างเมืองต้องอาศัยหลักบ้านหลักเมือง เพื่อปกปัก ดูแลรักษาบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง
    3. ผีเสื้อเมือง หมายถึง ภูตผีที่คุ้มครองหมู่บ้านมีมากทางภาคเหนือ และภาคกลาง ส่วนภาคอีสาน เรียกว่า "ศาลปู่ตา" ที่สร้างขึ้นตามหมู่บ้านทั่วไป
    4. ผีเรือน คนส่วนมากเชื่อว่า ผีเรือนจะดูแลลูกหลานให้ร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งจะปรากฏในภาคเหนือและภาคอีสาน ส่วนในภาคกลางเรียกว่า "พระภูมิเจ้าที่"

    ในทัศนะของพระยาอนุมานราชธน ผีก็มีชั้นวรรณะเหมือนอย่างคน ถ้าคนชั้นสามัญตายไป วิญญาณของคนเหล่านั้นก็ไปเป็นผีสามัญ เป็นที่เกรงกลัวของคนเป็น หากว่าเป็นผีอันธพาล หรือคนที่หัวหน้าครอบครัวหรือหมู่คณะ เมื่อตายไปก็เป็นผีชั้นหัวหน้า เป็นผีเจ้านาย อย่างเช่น ผีเสื้อเมือง และผีมเหสักข์ ฉะนั้นผีชั้นนี้คนกลัวมาก เกรงมาก ถึงแม้จะไม่ระรานรังแกใครเหมือนผีสามัญก็จริง แต่ถ้าทำให้ไม่ชอบใจก็โกรธง่าย ดีไม่ดี อาจทำให้ได้รับความเดือดร้อนได้ ถ้าไม่รู้จักประจบประแจง และพินอบพิเทาให้ถูกใจ มีถวายเครื่องเซ่นสังเวยบูชาก็จะทำให้ร้ายกลับกลายเป็นดีได้ (พระยาอนุมานราชธน, 2532, หน้า 32)
    ความเข้าใจเรื่องธรรมชาติของวิญญาณ ซึ่ง ธนู แก้วโอภาส (2542, หน้า 22-26) ได้อธิบายว่า มนุษย์ในดินแดนต่าง ๆ มีความเชื่อเรื่องธรรมชาติของวิญญาณแตกต่างกัน ชาวพื้นเมืองเดิมในทวีปออสเตรเลีย ซึ่งถือกันว่าเป็นคนป่าที่มีสติปัญญาต่ำที่สุด มีความเชื่อว่า วิญญาณจะออกจากร่างกายไปเมื่อถึงแก่ความตาย และวิญญาณเดินทางไปในดินแดนของวิญญาณ แล้วก็จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก
    ชาวพื้นเมืองของออสเตรเลียเผ่า Pennefather มีความเชื่อว่ามนุษย์มีวิญญาณ 2 ดวง และเรียกวิญญาณดวงที่ 2 ว่า "ไง" (ngai) วิญญาณไงมีที่อยู่ในหัวใจมนุษย์ เมื่อผู้ใดตายไป วิญญาณจะเข้าไปอยู่ในเด็กที่เกิดใหม่ ส่วนชาวเมืองเผ่า Buandik แห่งทวีปออสเตรเลีย มีความเชื่อว่า มนุษย์แต่ละคนมีวิญญาณอยู่ 2 ดวง เมื่อถึงแก่กรรมวิญญาณดวงหนึ่ง จะเดินทางไปสู่ท้องทะเล แล้วกลับมาเกิดใหม่เป็นชาวผิวขาว (เพราะคนพวกนี้เห็นคนผิวขาวเดินทางมาอยู่บนเกาะออสเตรเลียจากทางทะเล) ส่วนวิญญาณที่ไม่เดินทางไปทะเลก็จะกลับมาเกิดเป็นพวกตนอีก และวิญญาณอีกดวงหนึ่งจะเดินทางไปยังเมฆบนท้องฟ้าแล้วกลับมาเกิดอีก
    ความเชื่อว่ามนุษย์มี 2 วิญญาณในร่างเดียวกันนั้นไม่ได้มีอยู่เฉพาะในหมู่ชาวพื้นเมืองทวีปออสเตรเลียเท่านั้น ชาวทามิ บนเกาะนิวกินี (New Guinea) ก็มีความเห็นว่ามนุษย์มีวิญญาณ 2 ดวงเช่นกัน โดยเชื่อว่า วิญญาณดวงหนึ่งยาว อีกดวงหนึ่งสั้น วิญญาณดวงยาว คือ เงา วิญญาณดวงสั้นจะไม่ออกไปจากร่างของมนุษย์เลยจนกว่าจะตาย ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีความเชื่อว่า วิญญาณที่ออกไปจากร่างจะวนเวียนอยู่ใกล้ ๆ ศพของผู้ตาย ขณะหนึ่ง ภายหลังจากนั้นจะเดินทางไปยังแลมโบม (Lamboam) ซึ่งเป็นอาณาจักรของดวงวิญญาณชั่วคราว ชาวพื้นเมืองเผ่าวินเดสซี (Windessi) บนเกาะนิวกินีอีกเผ่าหนึ่งก็มีความเชื่อว่า มนุษย์มี 2 วิญญาณ และเชื่อว่า วิญญาณหนึ่งในจำนวน 2 ดวงของคนใดก็ตาม เมื่อถึงแก่ความตาย อาจเดินทางเข้าไปอยู่ในร่างของคนใดคนหนึ่งก็ได้ ซึ่งจะทำให้คนที่ถูกวิญญาณเข้ามาสิงสู่มีอำนาจแปลกประหลาด ผิดไปจากคนอื่น ๆ

    ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อกับวิญญาณ ความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากวิถีชีวิตของคนไทยได้และมีผลต่อพฤติกรรมตลอดจนความคิดของคนในยุคต่อมา พระยาอนุมานราชธน (2531, หน้า 26) เสนอความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณ และชีวิตหลังความตายว่า มนุษย์มีความเชื่อว่า คนตลอดจนสิ่งที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิตก็ตาม ย่อมมีสิ่งหนึ่งซึ่งมองไม่เห็นสิงอยู่ในนั้น สิ่งนี้เรียกกันว่า ผี หรือวิญญาณ
    นอกจากนี้ พระยาอนุมานราชธน (2515, หน้า 352-354) ยังอธิบายว่า วิญญาณ หมายถึง คนที่ตายไปแล้วแต่ยังไม่เกิด โดยมีลักษณะร่างเหมือนอย่างเดิม แบบลาง ๆ และโปร่งเห็นได้แต่เงา ๆ เป็นลม ๆ เท่านั้น เรียกในภาษาสันสกฤตว่า "อาตมัน" เดิมแปลว่า ลมหายใจ แต่มักเรียกว่า "วิญญาณ" เพราะฉะนั้นเมื่อวิญญาณยังไม่ไปเกิดเป็นคนก็เป็นผีไปก่อน ด้วยเหตุนี้ ผีจึงไม่มีรูปร่างเป็นเพียงลาง ๆ แต่ถ้าต้องการให้มีรูปร่างก็จะบันดาลให้เห็น
    สนิท สมัครการ (2539, หน้า 53-55) อธิบายว่า คนไทยเชื่อว่าในร่างกายประกอบด้วยสิ่งที่มองเห็น และมองไม่เห็น สิ่งที่มองไม่เห็น เรียกว่า "ขวัญ" เมื่อตายไปแล้วขวัญก็คือวิญญาณ หรือภูตผี ซึ่งอาจจะล่องลอยอยู่ในโลกมนุษย์ หรืออาจจะขึ้นไปบนสวรรค์กลายเป็นเทวดา ผี หรือวิญญาณ ตามคติชาวพุทธแบ่งผีออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือผีดีกับผีร้าย ผีดีตามปกติจะไม่หลอกหล่อนใคร แต่ถ้าถูกรบกวนมาก หรือคนปฏิบัติไม่ถูกต้อง เช่น ไม่เซ่นไหว้ตามประเพณีก็จะสำแดงตนให้ปรากฏ หรือแสดงอาการให้เห็นว่าโกรธเคืองได้ ผีดีมีหลายชั้น หรือหลายระดับที่ใกล้ชิดกับมนุษย์มาก ๆ ได้แก่ ผีเรือน ผีบรรพบุรุษ และผีวีรบุรุษ ซึ่งมักอยู่ตามศาล ส่วนผีร้าย คือ ผีที่หลอกหลอนสร้างความหวาดกลัวให้กับคนทั่วไป ผีร้ายแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น ผีตายโหง ผีปอบ ผีกระสือ ผีโขมด ผีกองกอย เป็นต้น
    คนไทยสมัยก่อนมักเชื่อว่า ความผิดปกติทั้งหลายที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากการกระทำของมนุษย์โดยตรง แต่เป็นการกระทำของผี หรือวิญญาณต่าง ๆ ดังนั้น วิธีการแก้ไขปัดเป่าจึงต้องทำพิธีกรรมให้ถูกต้อง

    อ้างอิง
    การวิเคราะห์สิ่งเหนือธรรมชาติในเรื่องสั้นของเหม เวชกร
     
  5. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    นุชนาฏ:
    ราชบัณฑิตยสถาน (2524, หน้า 212) อธิบายคำว่า "Magic" ซึ่งบัญญัติเป็นภาษาไทยว่า "มายิก" หรือ "มายาการ" หมายถึง ความเชื่อ และการปฏิบัติที่มุ่งให้เกิดผลด้วยการบังคับพลัง หรืออำนาจเหนือธรรมชาติ เช่น ด้วยการใช้ของขลัง พิธีกรรม ด้วยอาศัยหลักลี้ลับ เช่น การทำเสน่ห์ยาแฝด หรือหลักการเกี่ยวโยงของความคิด เช่น การฝังรูปฝังรอย โดยใช้รูปแทนตัวคน หรือปลูกต้นมะยมไว้หน้าบ้าน เพื่อให้เกิดความนิยมตามเสียงที่พ้องกัน
    สมฤทธี บัวระมวล (2537, หน้า 11) อธิบายว่า มายิก คือ สิ่งลี้ลับ และมีพลังอันแรงกล้าต่อความเชื่อของผู้คน จึงมีพลังอำนาจ และต้นกำเนิดเหมือนกับปรากฏการณ์ธรรมชาติอันน่าเกรงขามทั้งหลาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว มายิก มีกำเนิดจากมนุษย์ดึกดำบรรพ์ยุคก่อนประวัติศาสตร์
    คำว่า "Magic" หรือ "มายิก" หรือ "มายาการ" เป็นชื่อที่ชาวตะวันตกใช้ ซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า "ไสยศาสตร์" ในที่นี้ผู้วิจัยเลือกใช้คำว่า "ไสยศาสตร์" เพื่อความเข้าใจที่สอดคล้องกับความเชื่อในสังคมไทย
    พุทธทาสภิกขุ (2529, หน้า 24-26) อธิบายว่า ไสยศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่เกิดจากความกลัวในสิ่งที่ไม่รู้มอง ไม่เห็น หรือลึกลับกว่าจะมองเห็น
    ราชบัณฑิตยสถาน (2546, หน้า 1236) อธิบายว่า ไสย หมายถึง ลัทธิอันเนื่องด้วยเวทมนตร์คาถาซึ่งได้มาจากพราหมณ์ ไสยเวทหรือไสยศาสตร์ หมายถึง ตำราไสย วิชาทางไสย
    สรุปได้ว่า ไสยศาสตร์ เป็นเวทมนตร์ที่เกี่ยวกับคาถา ซึ่งผูกพันกับความหลงเชื่อ ใช้เพื่อปกป้องตนเองให้พ้นจากภัยอันตราย หรือใช้เพื่อทำอันตรายต่อผู้อื่น

    ประเภทของไสยศาสตร์ ไสยศาสตร์ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ (สมศักดิ์ ตันติวิวัทน์, 2536, หน้า 179-180)
    ไสยศาสตร์ขาว (white magic) หมายถึง วิชาลึกลับใช้เวทมนตร์ไปในทางที่ดี ทำหน้าที่แก้ไข หรือช่วยเหลือผู้อื่นที่ได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำของฝ่ายไสยดำ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้บุคคลอื่น เช่น ทำเครื่องรางของขลังป้องกันภัยอันตรายแก่อาถรรพณ์ปัดรังควาน หรือปลุกเสกเมตตามหานิยม การเสริมสิริมงคลด้วยพระพุทธมนต์ การสร้างวัตถุไว้ป้องกันตัว โดยไม่ปิด หรือฝืนกฎแห่งกรรม
    ไสยศาสตร์ดำ (black magic) หมายถึง วิชาลึกลับใช้เวทมนตร์ไปในทางชั่วร้าย สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น มักเป็นการกระทำที่ขัด หรือฝืนกับหลักศาสนา เช่น ทำเสน่ห์ยาแฝด ฝังรูปฝังรอย ปล่อยคุณ บังคับวิญญาณ เช่น เลี้ยงผี เวทมนตร์ของฝ่ายไสยดำ เรียกว่า "มนต์ดำ" แม้ว่าเครื่องรางของขลังที่ปลุกเสกด้วยมนต์ดำจะมีคุณก็ตาม แต่ก็มีโอกาสให้โทษด้วย

    เสรี พงศ์พิศ (2537, หน้า 37) อธิบายเพิ่มเติมว่า ลักษณะเฉพาะของไสยศาสตร์ คือ การใช้เวทมนตร์คาถา วัตถุสิ่งของ และพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อใช้อำนาจที่เร้นลับให้เป็นประโยชน์ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ การดูฤกษ์ยาม การสะเดาะเคราะห์ การทำเสน่ห์ยาแฝด สักลงยันต์ วัตถุมงคล ด้วยเวทมนตร์คาถา เพื่อให้เกิดอานุภาพเป็นผลให้มหาอุด เมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ตลอดจนการใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อให้โทษแก่ผู้อื่นที่เรียกว่า ยาสั่ง ของคุณ หรือคุณไสย เป็นต้น

    ขนิษฐา จิตชินะกุล (2545, หน้า 43-44) สรุปความเชื่อทางไสยศาสตร์ตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ได้ 3 ลักษณะ คือ
    1. การกระทำเพื่อให้เกิดความรักใคร่ หรือให้ผู้อื่นมีความพอใจ เช่น การทำเสน่ห์ เมตตามหานิยม เสกขี้ผึ้งทาริมฝีปาก เป็นต้น
    2. การกระทำเพื่อทำร้ายผู้อื่น หรือให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่น เช่น การทำคุณไสย เสกตะปูเข้าท้อง ทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต การฝังรูปฝังรอยเพื่อให้เกิดความแตกแยก เป็นต้น
    3. การกระทำเพื่อป้องกันตนเอง เช่น การทำให้อยู่ยงคงกระพัน การใช้คาถาอาคม ทำให้ยิงไม่เข้า การใช้เครื่องรางของขลัง เป็นต้น
    ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ เป็นความเชื่อที่เร้นลับยากแก่การพิสูจน์ และผู้ที่มีความรู้ทางไสยศาสตร์ คือ ผู้ที่รู้เวทมนตร์คาถาอาคม มีเครื่องรางของขลังที่มีอำนาจลึกลับ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ตามที่ต้องการได้

    แนวคิดเรื่องเครื่องรางของขลัง

    เครื่องรางของขลัง เป็นความเชื่อดั้งเดิมของมนุษย์ที่ต้องการจะอยู่ยงคงกระพัน และสามารถใช้ป้องกันอันตรายต่าง ๆ ได้ โดยใช้คาถาอาคมเข้ามาปลุกเสกสิ่งของต่าง ๆ ให้มีความขลังศักดิ์สิทธิ์

    ราชบัณฑิตยสถาน (2524, หน้า 18, 149, 393) อธิบายคำว่า Amulet, Fetish และ Talisman ดังนี้

    Amulet เครื่องรางของขลัง หมายถึง วัตถุ หรือเครื่องประดับที่สวมไว้เป็นมายิก หรือของขลัง เพื่อป้องกันโรคภัย ป้องกันการทำคุณทำไสย หรือป้องกันผีปีศาจอื่น ๆ

    Fetish ของขลัง หมายถึง วัตถุซึ่งเป็นธรรมชาติ หรือที่ทำเทียมขึ้น จะมีชีวิต หรือไม่มีชีวิตก็ตาม ซึ่งเชื่อกันว่ามีอำนาจเหนือธรรมชาติ หรือมีวิญญาณสิงอยู่ และสามารถบันดาลให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งได้

    Talisman เครื่องรางของขลัง หมายถึง วัตถุที่ชื่อกันว่าสามารถป้องกันให้พ้นอันตรายจากสิ่งชั่วร้าย หรือช่วยนำโชคดีมาให้ ความขลังนั้นอาจผูกพันกับเรื่องดวงดาวและโชคชะตาด้วย

    Leach (อ้างถึงใน เสาวลักษณ์ อนันตศานต์, 2546, หน้า 432) อธิบายว่า Amulet คือ วัตถุที่ทนทาน พกติดตัวไปไหน ๆ ได้ หรือประดิษฐ์ไว้ในบ้าน ใช้ป้องกันอันตราย เช่น อุบัติเหตุ โจรปล้น หรือทำร้าย วิญญาณผีร้าย คุณไสย และการทำคุณไสย ทั้งยังช่วยเจ้าของให้โชคดี ร่ำรวย มีพละกำลังแข็งแรง มีพลังอำนาจ ตลอดจนประสบความสำเร็จ การล่าสัตว์ การค้า การต่อสู้ หรือความรัก

    Jobes (อ้างถึงใน เสาวลักษณ์ อนันตศานต์, 2546, หน้า 433) อธิบายว่า Fetish วัตถุที่เชื่อกันว่ามีพลังอำนาจความขลังเช่นเดียวกัน วัตถุนี้จะเป็นอะไรก็ได้ที่ได้รับความนิยมจากคนที่ศรัทธาอย่างไม่ต้องมีเหตุผล ในสังคมดั้งเดิม ถ้าหากมีวัตถุซึ่งไร้ชีวิตได้รับการยกย่องบูชาก็แสดงว่า คนที่นับถือวัตถุนั้น เชื่อว่าวัตถุนั้นมีพระเจ้าหรือวิญญาณสิงสถิตอยู่ในนั้น หรือวัตถุนั้นมีพลังความขลังโดยธรรมชาติของมันเอง เจ้าของวัตถุ สามารถขอให้วัตถุนี้ช่วยให้ตนบรรลุจุดประสงค์ที่ต้องการ ให้ปกป้องคุ้มครองจากโรคภัยและอันตราย ให้คุ้มภัยจากศัตรู วัตถุที่มีคุณสมบัติแบบ Fetish นี้ มีหลายอย่าง เช่น กระดูก วัตถุที่เปล่งแสง รูปภาพ พืช ก้อนหิน ฟัน ต้นไม้ น้ำ ไม้ ฯลฯ

    Leach (อ้างถึงใน เสาวลักษณ์ อนันตศานต์, 2546, หน้า 434) อธิบายว่า Talisman คือ วัตถุมหัศจรรย์ เป็นเครื่องรางที่มีคุณสมบัติประจำตัว และสามารถถ่ายทอดคุณสมบัตินั้น ซึ่งตรงข้ามกับ Amulet ตรงที่ Amulet เป็นเครื่องรางแบบป้องกันคุ้มครอง Leach ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนว่า พลอยสีม่วง ที่เรียกว่า "Amethyst" จะป้องกันผู้สวมใส่จากพิษของแอลกอฮอล์ พลอยสีม่วงนี้ คือ Amulet ส่วนไม้พลองของอารอน ไม้เท้าของผู้วิเศษ และไม้เท้าวิเศษของนางฟ้าที่เนรมิตสิ่งต่าง ๆ ได้ คือ Talisman ดังนั้น Leach จึงสรุปว่า Talisman ต่างจากเครื่องรางอย่างอื่นตรงที่มีบทบาทในเชิงรุก ทั้ง Amulet และ Talisman โดยทั่วไปจะมีขนาดเล็กสามารถพกพาได้สะดวก แต่ถ้า Talisman มีอำนาจเด็ดขาดในตัวเองแล้ว ของวิเศษในนิทานหลายอย่างจัดเป็น Talisman ได้

    สรุปได้ว่า เครื่องรางของขลังมีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเกิดจากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ในการดลบันดาลให้ผู้ครอบครองประสบความสำเร็จแคล้วคลาดจากภัยอันตราย
     
  6. ภณนาวิน

    ภณนาวิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,277
    ค่าพลัง:
    +647
    พ่อท้านเส้ง วัดแหลมทราย สักองค์ครับ แรงทางเมตตามหานิยม

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  7. DHAMMAPHOL

    DHAMMAPHOL เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,744
    ค่าพลัง:
    +2,105
    [​IMG]
    "พระฤาษี ครับ"
     
  8. rungaran

    rungaran เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    15,573
    ค่าพลัง:
    +57,321
    :cool:***ชอบๆๆ...........รักเลย.....รักเลย***
     
  9. rungaran

    rungaran เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    15,573
    ค่าพลัง:
    +57,321
    :cool:***แถม เหนียว อีกด้วยครับ แหะๆ***
     
  10. rungaran

    rungaran เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    15,573
    ค่าพลัง:
    +57,321
    :cool:***สวัสดีครับ คุณ นวล ภณ อั๋น หนุ่บ โอ๊ค โอ๊ต พี่เสือ ทิดพล ทิดสุข
    บอลและ ทุกๆท่านครับ***
     
  11. nuanhadyai@hotmail

    nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204
    สวัสดีค่ะพี่รุ่ง
     
  12. puedpunon

    puedpunon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    7,130
    ค่าพลัง:
    +16,090
    คิดว่าท่านมีแต่พระปิดตาและพระกริ่ง เพิ่งเคยเห็นพิมพ์นี้ของท่านครับ บุญตา ครับ บูญตา:cool:
     
  13. พลศิริ

    พลศิริ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    7,978
    ค่าพลัง:
    +18,982
    แม่นครับอ้ายปึ๊ด บุญตาบักอย่างหลายครับผม:cool:
     
  14. อั๋นวัดสาม

    อั๋นวัดสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    4,259
    ค่าพลัง:
    +9,022
    อรุณสวัสดิ์ครับ ..... คุณพลนี้ตื่นแต่เช้าเลย
     
  15. พลศิริ

    พลศิริ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    7,978
    ค่าพลัง:
    +18,982
    อ้ายปึ๊ดมาก่อนผมอีกครับ อ้ายอั๋น:cool:
     
  16. อั๋นวัดสาม

    อั๋นวัดสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    4,259
    ค่าพลัง:
    +9,022
    คุณปี๊ดมาก่อนหรือว่าค้างอยู่ตั้งแต่เมื่อคืนครับ...........555555555555
     
  17. พลศิริ

    พลศิริ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    7,978
    ค่าพลัง:
    +18,982
    ฝากไว้อีกที่ ฝากไว้พิจารณาเด้อครับ:cool:

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  18. พลศิริ

    พลศิริ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    7,978
    ค่าพลัง:
    +18,982
    อีกรูปครับ มรดกจากท่านพระอาจารย์:cool:

    [​IMG]
     
  19. ทหารเก่า

    ทหารเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    3,027
    ค่าพลัง:
    +19,019
    โอ้....อ้ายพล ซิหลายแท้:cool:
     
  20. ทหารเก่า

    ทหารเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    3,027
    ค่าพลัง:
    +19,019
    สวัสดีครับพี่ รุ่ง พี่เสือ และทุกท่าน ขอให้โชคดีมีสุขมีเงิน กันทั่วหน้านะครับ:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...